Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีพัฒนาการทางจิต- สังคม Erik Erickson - Coggle Diagram
ทฤษฎีพัฒนาการทางจิต- สังคม
Erik Erickson
ประวัติErik Erickson
เกิดที่เมืองแฟรงเฟิต
ประเทศเยอรมัน
เป็นผู้วิเคราะห์เกี่ยวกับเด็กเป็นคนแรกในนครบอสตัน
แนวคิดพัฒนาการทฤษฎีจิตสังคมของอีริคสัน
ขั้นที่ 1
อายุ 1-2 ขวบ
ความอบอุ่นที่เกิดจากครอบครัว ทำให้เด็กเชื่อถือไว้ใจต่อโลก ไว้ใจคนอื่น ทำให้กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่
ไว้ใจ หรือไม่ไว้ใจ (Trust vs Mistrust)
ขั้นที่ 2
อายุ 2-3 ขวบ
ระยะที่เด็กพยายามใช้คำพูดของตัวเองและสำรวจโลกรอบๆตัว ถ้าพ่อแม่สนับสนุนจะทำให้เด็กรู้จักช่วยตนเองและมีอิสระ ส่งเสริมความสามารถของเด็ก
เป็นอิสระหรือละอายสงสัย
(Autonomous vs Shame and Doubt)
ขั้นที่ 3
อายุ 4-5 ขวบ
บทบาทของสังคม ริเริ่มทางความคิดจากการเล่น เด็กที่ถูกห้ามไม่ให้ทำอะไรในสิ่งที่เขาอยากทำ เป็นเหตุให้เด็กรู้สึกผิด ตลอดเวลา บิดามารดาควรพิจารณาร่วมกันว่ากิจกรรมใดที่ปล่อยให้เด็กทำได้ ก็ให้เด็กทำ จะได้เกิดคุณค่าในตัวเอง ลดความรู้สึกผิดลงได้
คิดริเริ่ม หรือรู้จักผิด(Initiative vs Guilt)
ขั้นที่ 4
อายุ 6-11 ขวบ
เด็กจะเริ่มมีทักษะทางด้านร่างกายและสังคมมากขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่เด็กเริ่มมีการแข่งขันกันในการทำงาน เด็กวัยนี้จะชอบให้คนชม ถ้าขาดการสนับสนุนอาจทำให้เกิดความรู้สึกมีปมด้อย
ขยัน หรือมีปมด้อย (Industry vs Inferiority)
ขั้นที่ 5
อายุ 11-18 ปี
มีเอกลักษณ์ของตนเองกับความไม่เข้าใจตนเอง : เป็นระยะที่เด็กเริ่มสนใจเพศตรงข้ามรู้จักตนเอง ว่าเป็นใคร ถนัดด้านใด สนใจอะไร และถ้าเด็กมีความรู้สึกไม่เข้าใจตนเองก็จะเกิดความสับสน ในตนเอง และล้มเหลวในชีวิตได้
เข้าใจ หรือ สับสนในบทบาทของตัวเอง (Ego Identity vs Role Confusion)
ขั้นที่ 6
อายุ 20-35 ปี
เป็นวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ใช้ชีวิตแบบผู้ใหญ่ทำงานเพื่อประกอบอาชีพ สร้างหลักฐาน มีความรักความผูกพัน
ผูกพัน หรือตีตัวออกห่าง(Intimacy vs Isolation)
ขั้นที่ 7
อายุ 36-45 ปี
ระยะให้กำเนิดและเลี้ยงดูบุตร วัยผู้ใหญ่ถึงวัยกลางคน มีครอบครัวมีบุตร ได้ทำหน้าที่ของพ่อและแม่
ให้กำเนิด หรือหมกมุ่นในตัวเอง
(Generativity vs Stagnation)
ขั้นที่ 8
อายุ 45 ขึ้นไป
วัยที่ต้องยอมรับความจริงของชีวิต ระลึกถึงความทรงจำในอดีต ถ้าอดีตที่ผ่านมาแล้วประสบความสำเร็จจะทำให้มีความมั่นคงทางจิตใจ
มีศักดิ์ศรี หรือหมดหวัง (Ego Integrity vs Despair)
ประยุกต์ใช้ทฤษฎีของอีริค อีริคสัน
ในการจัดการเรียนการสอนครูควรให้จัดให้มีกิจกรรมให้เด็กได้แสดงออกทั้งในด้านของความคิด ด้านสติปัญญา ด้านความสามารถ ให้อิสระทางความคิดต่อเด็ก ให้เด็กได้สร้างผลงานต่างๆ ด้วยตนเอง
ให้เด็กเกิดความภูมิใจในตัวเอง ครูต้องให้ความเชื่อใจและไว้วางใจในตัวเด็ก
เพื่อให้เด็กมีความมั่นใจในตัวเอง มีความเชื่อว่าตัวเองสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้
ครูควรคอยส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาในสิ่งที่ตนชอบ ในการอยู่ร่วมกันในสังคมครูควรมีการจัดให้เด็กใช้กิจกรรมกลุ่มโดยให้เด็กแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบของตนเอง
เพื่อให้เด็กรู้สึกมีส่วนร่วม ในสังคม