Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัด การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย -…
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัด การเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
เป็นการประเมินความพร้อมทั้งด้านร่างกาย และสภาพจิตใจของผู้ป่วย เพื่อลดความเสี่ยงของการผ่าตัดและการให้ยาระงับความรู้สึก
การซักประวัติ
ประวัติโรคประจำตัว
ควรครอบคลุมถึงอาการ ความรุนแรงของโรค ภาวะแทรกซ้อนของโรค และประวัติการรักษา ยาที่ใช้ประจำ
ประวัติการผ่าตัด และการได้รับยาระงับความรู้สึกก่อนหน้านี้
โดยคลอบคลุมถึงวิธีการให้ยารังับความรู้สึก และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
ประวัติการแพ้ยาหรืออาหาร
การใช้ยา สารเสพติด การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
ประวัติของคนในครอบครัวหรือญาติที่มีปัณหาเกี่ยวกับการได้รับยาระงับความรู้สึก ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคทางพันธุกรรมที่มีผลต่อการได้รับยารังับความรู้สึก
ประวัติเกี่ยวกับโรคของระบบต่างๆของร่างกาย
การตรวจร่างกาย
สัญญาณชีพ
การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
การตรวจประเมินทางระบบหายใจ
การตรวจร่างกายตามระบบ
เน้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคหรือบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Complete blood count
Urinalysis
Electrolytes
BUN/Creatinine
Blood sugar
Liver function tests
Coagulogram
Chest X-ray
ECG
การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
ด้านร่างกาย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ระบบทางเดินหายใจ
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ประเมินความสมบูรณ์ของร่างกายในการได้รับอาหารที่พอเหมาะ
ภาวะสารน้ำและอิเล็กโทรลัยต์ในร่างกาย
การพักผ่อนและการออกกำลังกาย
ให้คำแนะนำและข้อมูลต่างๆที่ผู้ป่วยควรทราบเพื่อลดความวิตกกังวล
ด้านจิตใจ
การให้คำแนะนำการปฏิบัติหลังผ่าตัด รวมทั้งการฝึกทักษะการปฏิบัติตัวในระยะหลังผ่าตัด เพื่อทำให้การพักฟื้นหลังผ่าตัดเร็วขึ้น และช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดที่อาจเกิดขึ้นได้
การให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด
Early ambulation
Quadriceps Setting Exercise (QSE)
Straght Leg Raising Exercise (SLRE)
Range of Motion (ROM)
Deep-breathing exercises
Effective cough
Abdominal breathing
Turning and ambulation
Extremity exercise
Pain management
การเตรียมผู้ป่วยก่อนวันที่ผ่าตัด
อาหารและน้ำดื่ม
: งดอาหารผู้ป่วยก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง สำหรับอาหารเหลวใสให้ได้ 6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด ถ้าผู้ป่วยปากแห้งให้บ้วนปากบ่อยๆ หากผู้ป่วยได้รับอาหารหรือน้ำในระยะเวลาห้ามนี้ ต้องรีบรายงานแพทย์
การขับถ่าย
ถ้าเป็นการผ่าตัดเล็ก หรือการผ่าตัดที่ไม่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในช่องท้อง
แพทย์อาจให้สวนอุจจาระหรือไม่ก็ได้ หรือรับประทานยาระบายก่อนวันผ่าตัด
ถ้าเป็นการผ่าตัดใหญ่หรือการผ่าตัดเปิดสู่ช่องท้อง
แพทย์จะให้มีการสวนอุจจาระก่อนผ่าตัด สำหรับกระเพาะปัสสาวะควรว่างเมื่อจะเข้าห้องผ่าตัดโดยให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะก่อนผ่าตัด หรือคาสายสวนปัสสาวะไว้ตามแผนการรักษา
การเตรียมผิวหนังก่อนผ่าตัด
เพื่อเป็นการลดจำนวนจุลินทรีย์ การเตรียมบริเวณที่จะผ่าตัดต้องเตรียมให้กว้างกว่าบริเวณผ่าตัดจริง กำจัดขนและสิ่งสกปรกต่างๆ
หากผิวหนังบริเวณที่ผ่าตัดมีเม็ดผื่นหรือมีการติดเชื้อเกิดขึ้น แพทย์อาจต้องเลื่อนการผ่าตัดออกไป
บริเวณผิวหนังก่อนผ่าตัด: คอ อก ท้อง แขน ขา หลัง หรือบริเวณที่ได้รับการผ่าตัด
การดูแลสภาพร่างกายทั่วไป
ในคืนก่อนวันผ่าตัด
ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดปาก ฟัน
: ถ้ามีฟันปลอมให้ถอดออก เพราะขณะที่ดมยากล้ามเนื้อจะคลายตัว ฟันปลอมอาจจะหลุดและตกลงไปในหลอดลมได้
ของปลอม ของมีค่าต่างๆ
ถอดเก็บไว้ให้ญาติดูแลรักษา
สื่อไฟฟ้าต่างๆ
ให้ถอดออก เนื่องจากสื่อไฟฟ้าต่างๆ จะทำให้เกิดไฟฟ้าสปาร์คขึ้นขณะทำการผ่าตัด
ไม่ให้ผู้ป่วยแต่งหน้า ทาปาก ทาเล็บ
เพราะบริเวณเหล่านี้จะเป็นที่สังเกตอาการเขียวคล้ำ
ในเช้าวันที่ผ่าตัด
ให้ผู้ป่วยทำความสะอากร่างกาย เตรียมตัวให้พร้อมกับการผ่าตัด
สังเกตภาวะทางอารมณ์ของผู้ป่วย ความกลัวการผ่าตัด
สังเกตสภาพร่างกายทั่วไป วัดสัญญาณชีพ อาการของผู้ป่วยลงในใบแบบฟอร์มผ่าตัด ถ้าผิดปกติให้รีบรายงานแพทย์
การให้ยาแก่ผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
: แพทย์มักจะให้ยาผู้ป่วยก่อนวันผ่าตัดเพื่อให้ผู้ป่วยคลายกังวลและนอนหลับพักผ่อนดี และก่อนผ่าตัดประมาณ 45-90 นาที
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆที่พิเศษ
: เช่น ชุดให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ สายใส่จมูกถึงกระเพาะอาหาร ฯลฯ พยาบาลต้องเตรียมให้พร้อมเพื่อที่จะใช้หรือนำไปห้องผ่าตัด
แผ่นบันทึกรายงานต่างๆ
: ต้องบันทึกให้ครบ และรวบรวมให้เรียบร้อยเพื่อส่งเข้าห้องผ่าตัด
การส่งผู้ป่วยไปห้องผ่าตัด
: ให้ผู้ป่วยนอนบนรถนอน ห่มผ้า และยกไม่กั้นเตียงขึ้น เจ้าหน้าที่เข็นรถด้วยความนุ่มนวลและระมัดระวัง ควรมีพยาบาลไปส่งที่ห้องผ่าตัดด้วย พยาบาลควรอยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลาจนกว่าเจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัดมารับเข้าห้องผ่าตัด
การดูแลครอบครัวผู้ป่วย
: พยาบาลต้องแจ้งให้ครอบครัวทราบถึงเวลาที่ผู้ป่วยจะเข้าห้องผ่าตัด ควรให้ญาติมาดูแล คอยรับผู้ป่วยเมื่อออกจากห้องผ่าตัด พยาบาลควรพูดปลอบโยนญาติในกรณีที่ญาติมีความวิตกกังวล
การเตรียมผ่าตัดผู้ป่วยฉุกเฉิน
เจาะเลือดเพื่อส่งตรวจ CBC และ Blood group ทันที ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ใส่สายยางจมูกเข้ากระเพาะอาหาร ตามแผนรักษา
ให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อตรวจปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะว่าง ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถปัสสาวะได้ แพทย์อาจให้สวนปัสสาวะ
ทำความสะอาดและเตรียมผิวหนังบริเวณที่ผ่าตัดให้เรียบร้อย ถอดฟันปลอม อวัยวะปลอมต่างๆ ของมีค่า เครื่องประดับ สื่อไฟฟ้าออก ล้างสีเล็บออกให้หมด
ให้ผู้ป่วยหรือญาติที่มีสิทธิ์ทางกฎหมายเซ็นใบยินยอมผ่าตัด
ถ้าผู้ป่วยไม่มีญาติมาด้วย พยาบาลต้องถามหนือกาที่อยู่ของครอบครัว เบอร์โทรศัพท์ของครอบครัว และรีบแจ้งให้ครอบครัวให้ทราบโดยเร็วที่สุด
วัดและบันถึงอาการ สัญญาณชีพ รวมทั้งการให้ยาก่อนผ่าตัด ลงไปในแบบฟอร์มก่อนผ่าตัด และใบแบบฟอร์มบันทึกทางการพยาบาลให้เรียบร้อย
สังเกตสภาพร่างกายทั่วไป อาการ และสัญญาณชีพ ถ้าผิดปกติให้รีบรายงานแพทย์ทราบ
การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
การประเมินสภาพผู้ป่วย
แบบแผนกิจกรรมและการออกกำลังกาย
แบบแผนอาหารปละการเผาผลาญ
แบบแผนการขับถ่าย
แบบแผนการรับรู้และการดูแลสุขภาพ
แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญกับความเครียด
กิจกรรมการพยาบาลหลังผ่าตัด
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายใจให้โล่ง และคงไว้ซึ่งการทำงานระบบหายใจ
•
การจัดท่านอน
นอนราบไม่หนุนหมอน ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งป้องกันลิ้นตก และการสำลักอาเจียน ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวดีให้หนุนหมอนได้
ยกเว้น
รายที่ได้รับยาชาเข้าทางไขสันหลังให้นอนราบอย่างน้อย 6-12 ชม.
•
สังเกตการหายใจผู้ป่วย
•
กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจเข้า-ออกลึกๆ และไออย่างมีประสิทธิภาพ
•
เปลี่ยนท่านอนหรือพลิกตะแคงตัวบ่อยๆ
ควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการลุกนั่งบนเตียงโดยเร็วและลุกขึ้นเดินได้ภายใน 24 ชม.
•
กระตุ้นให้ทำกิจวัตรประจำวันด้วยตัวเอง
•
ดูแลให้ได้ยาตามแผนรักษา
•
สังเกตอาการบ่งชี้ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้น สัญญาณชีพ รวมถึงค่าออกซิเจนในเลือด
•
ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติให้รายงานแพทย์
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการทำงานของระบบหัวใจและไหลเวียน
• ตรวจวัดสัญญาณชีพ15 นาที 4 ครั้ง ทุก 30 นาที 2 ครั้ง และทุก 1 ชั่วโมงจนสัญญาณชีพสม่ำเสมอ
• สังเกตลักษณะบาดแผลและปริมาณสิ่งคัดหลั่งต่างๆ ที่ออกมาจากร่างกายผู้ป่วย
• ดูแลให้ได้รับสารน้ำ เลือด หรือพลาสมามาทดแทนทางหลอดเลือดดำ ตามแผนการรักษา และติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
• ควรให้ผู้ป่วยนอนพักนิ่งๆในบริเวณที่มีเลือดออกมากๆ
• เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นให้พร้อมในรายที่มีภาวะช็อค
• สังเกต บันทึก และติดตามผลการตรวจคลื่นหัวใจโดยเฉพาะในรายที่มีการเต้นหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจตายหลังผ่าตัด
• ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนทั้งร่างกาย และจิตใจ
การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด
ประเมินการเจ็บปวดของผู้ป่วยโดยใช้ Pain scale ดูและให้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษา แนะนำให้ทำกิจกรรมที่เบี่ยงเบนความสยใจและเป็นกิจกรรมที่เป็นการกระตุ้นให้มีการหลั่งเอนโดรฟินเพื่อลดความรู้สึกเจ็บปวด
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วย
• กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกออกจากเตียง หรือจัดท่านอนศีรษะสูง เพื่อลดอาการท้องอืด แน่นท้อง
• ดูแลให้ได้รับสารอาหารและพลังงานอย่างเพียงพอ
• สังเกตและบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ถึงการย่อยและดูดซึมอาหารผิดปกติ
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสุขสบายและความปลอดภัยของผู้ป่วย
• ดูแลความสุขสบายทั่วไป เช่น การนอนหลับ อาการคลื่นไส้ ควรถามหาสาเหตุความไม่สุขสบายที่เกิดขึ้นด้วย
• การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลเกี่ยวกับความสะอาดของร่างกายทั่วไปโดยเฉพาะช่องปาก อวัยวะสืบพันธ์ุ และระบบขับถ่าย
• ดูแลความปลอดภัยในรายที่ยังไม่ฟื้นจากยาสลบ หรือระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ควรยกราวกั้นเตียงผู้ป่วยขึ้นก่อนออกจากเตียงผู้ป่วย
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายของแผล
• สังเกตและประเมินปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการหายของแผล ภาวะโภชนาการของผู้ป่วย ภาวะโรค เพื่อให้การดูแลมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับผู้ป่วย
• สังเกตลักษณะแผลที่ผิดปกติ โดยเฉพาะแผลมีการติดเชื้อ
• ทำความสะอาดแผลด้วยหลักปราศจากเชื้อ
• สอนและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลแผล และวิธีการส่งเสริมการหายของแผล
การให้คำแนะนำก่อนกลับบ้านสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด
• เรื่องการดูแลแผล การสังเกตอาการ และอาการแสดงของการติดเชื้อ
• การเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นข้อจำกัดหลังผ่าตัด
• การส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วย อาหารที่ควรรับประทานหรือควรงด การรับประทานยา การสังเกตอาการข้างเคียงของยาที่ได้รับ
• การดูแลความสะอาดของร่างกาย
• การมาตรวจตามแพทย์นัด
การฟื้นฟูสมรรถภาพ
เพื่อป้องกันความพิการหรือความด้อยสมรรถภาพที่อาจเกิดขึ้น
การช่วยเหลือผู้ป่วยเคลื่อนไหวบนเตียง
การประเมินผู้ป่วย
ความสามารถของผู้ป่วยในการช่วยเหลือตนเอง
ท่าที่เหมาะสม และระยะเวลาที่ผู้ป่วยจะคงอยู่ในท่าที่เปลี่ยนให้ใหม่
ความยากลำบากและไม่สุขสบายในขณะเปลี่ยนท่าหรืออยู่ในท่าที่จัดให้
ปัญหาอื่นๆ ที่พบในผู้ป่วย เช่น ความผิดปกติเกี่ยวกับผิวหนัง กระดูก หลอดเลือด
ปฏิบัติการพยาบาลในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยบนเตียง
การเตรียมผู้ป่วย
: เอาหมอนหนุนออก วางหมอนไว้ที่พนักหัวเตียง ปรับเตียงให้อยู่ในแนวราบพร้อมทั้งดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วย
การเตรียมตัวพยาบาล
: พยาบาลให้ยืนอยู่ในท่าที่ถูกต้อง พยุงผู้ป่วยด้วยความนุ่มนวลและมั่นคง ถ้าต้องใช้พยาบาลมากกว่า 1 คน ควรให้สัญญาณเพื่อทำพร้อมกัน
การจัดท่าผู้ป่วย
: เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความสุขสบายหรือเตรียมหัตถการ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากท่านอนที่ไม่ถูกต้อง
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
หลักการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
จัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบอยู่ในท่าที่สบาย
หันหน้าเข้าหาผู้ป่วยและไปในทิศทางที่เคลื่อนย้าย
ยืนในท่าที่ถูกต้องและมั่นคง
ยืนแยกเท้าทั้งสองข้างห่างกันพอสมควร และเฉียงปลายเท้าไปตามทิศทางที่ต้องการเคลื่อนย้ายและอยู่ในสมดุลเมื่อต้องการเคลื่อนไปทางหัวเตียงหรือปลายเตียง
หลังตรง ป้องกันการปวดหลัง
ย่อเข่าและสะโพก
หาวิธีที่เหมาะสมเพื่อผ่อนแรงในการยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
ผู้ป่วยควรอยู่ใกล้พยาบาลมากที่สุด
ยกตัวผู้ป่วยให้พ้นจากที่นอนเล็กน้อยเพื่อลดแรงเสียดทาน
ใช้ผ้าขวางเตียงช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแทนการเลื่อนผู้ป่วย
ให้สัญญาณเพื่อความพร้อมเพรียง
ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวองไม่ได้ ควรหาผู้ช่วยเหลือตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปและให้สัญญาณยก
การประเมินผู้ป่วยก่อนการเคลื่อนย้าย
ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง
ท่าที่เป็นข้อห้ามของผู้ป่วย
ส่วนที่อ่อนแรงหรือพิการ
ความมั่นคงในการคงท่าของผู้ป่วย
ส่วนที่จำเป็นต้องให้อยู่นิ่งๆ
ผู้ป่วยอ่อนเพลียมากน้อยแค่ไหน
ความต้องการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนท่าและความสุขสบายของผู้ป่วย
วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
แจ้งให้ผู้ป่วยทราบและบอกวิธีการให้ความร่วมมือถ้าทำได้
นำหมอนหนุนศีรษะของผู้ป่วยออก วางหมอนที่ผนักหัวเตียง อุปกรณที่ไม่จำเป็นเอาออกจากเตียง
พยาบาลยืนในท่าที่ถูกต้องมั่นคงและใช้หลักการของกลไกเคลื่อนไหวของร่างกาย
พยุงผู้ป่วยด้วยความนุ่มนวลและมั่นคง
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
การออกกำลังกายเพื่อเตรียมตัวผู้ป่วยเดิน
1
ให้ผู้ป่วยงอและเหยียดข้อสะโพก โดยให้ผู้ป่วยนอนบนเตียง เหยียดขาออกและยกขาขึ้นแล้วงอเข่าและยกเข่าเข้าหาอกพร้อมงอเท้าให้นิ้วเท้าโค้งเข้าหาปลายขา เสร็จแล้วจึงเหยียดเข่าและสะโพกออกให้อยู่ในท่าขาเหยียด
2
หมุนข้อสะโพก เหยียดขาทั้งสองข้างหมุนเข้าหาตัว และหมุนออกจากตัวแล้วให้หมุนขาทั้งสองข้างเข้าหาตัวจนนิ้วหัวแม่เท้าชนกัน แล้วหมุนขาออกนอกตัวจนส้นเท้าทั้งสองข้างชนกัน
3
กางและหุบสะโพก เหยียดข้อเข้าและให้ข้อเท้างอเข้าหาปลายขา ยกขาข้างที่ทำไปที่ข้างเตียงทั้งสองด้าน สลับกับอีกขาหนึ่ง
4
เหยียดข้อเข่า เหยียดขาพร้อมกับดข้อเข่าลงกับที่นอน และส้นเท้าขึ้นจากเตียงสูงเท่าที่จะทำได้ สลับกับขาอีกข้างหนึ่ง
5
งอข้อเท้า หมุนข้อเท้าเข้าหาตัวและออกจากตัว โดยวิธีหมุนข้อเท้าเป็นวงรอบตามเข็มนาฬิกาและหมุนทวนตามเข็มนาฬิกา
6
งอและเหยียดนิ้วเท้า
7
เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง สะโพก ต้นขา โดยการเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องและคลายออก แล้วหายใจเข้าลึกๆให้กล้ามเนื้อหน้าท้องขยายมากที่สุด และเกร็งกล้ามเนื้อสะโพกพร้อมยกขาขึ้น
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินโดยพยาบาล 1 คน
กรณีใช้เข็มขัดหรือผ้าคาดเอว
เมื่อผู้ปวยลงจากเตียงแล้ว พยาบาลยืนเยื้องด้านหลังผู้ป่วย ใช้มือ 2 ข้างยืดเข็มขัดหรือผ้าคาดเอวเพื่อพยุงผู้ป่วยขณะผู้ป่วยเดิน วิธีนี้จะช่วยคงจุดศูนย์ถ่วงหรือใช้มือหนึ่งจับเข็มขัดบริเวณกึ่งกลางเอว อีกมือหนึ่งจับบริิเวณต้นแขนของผู้ป่วยก้าวเดินช้าๆพร้อมกัน
กรณีไม่ใช้เข็มขัด
ให้ใช้มือที่ใกล้ตัวจับที่ต้นแขนของผู้ป่วย มือที่ไกลตัวจับที่ปลายแขนของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยเป็นลมให้สอดแขนเข้าใต้รักแร้รับน้ำหนักผู้ป่วยและแยกเท้ากว้าง ดึงตัวผู้ป่วยขึ้นมาข้างตัวพยาบาลโดยใช้สะโพกรับน้ำหนักผู้ป่วย และค่อยๆวางตัวผู้ป่วยลงพื้น
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินโดยพยาบาล 2 คน
ให้พยาบาลยืนข้างผู้ป่วยคนละด้าน มือพยาบาลข้างใกล้ตัวผู้ป่วยสอดใต้รักแร้ผู้ป่วย อีกข้างจับปลายแขนหรือมือผู้ป่วยข้างเดิม ผู้ป่วยและพยาบาลทั้ง 2 คนเดินพร้อมกัน ถ้าผู้ป่วยเป็นลมพยาบาลทั้ง 2 คนเลื่อนมือที่พยุงใต้รักแร้ไปข้างหน้าให้ลำแขนสอดอยู่ใต้รักแร้ น้ำหนักผู้ป่วยไว้พร้อมใช้สะโพกยันผู้ป่วยไว้แล้วค่อยๆพยุงผู้ป่วยลงบนพื้น
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน
ชนิดของอุปกรณ์ช่วยเดิน
Walker หรือ Pick up frames
เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมากและการทรงตัวไม่ดีนัก
Cane
เป็นการเดินด้วยไม้เท้าอันเดียว ผู้ป่วยต้องมีความมั่นคงในการเดิน มักใช้ในผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
Parallel bar
เหมาะสำหรับการฝึกเดินครั้งแรกของผู้ป่วยและปรับความสูงของราวตามความสูงของผู้ป่วย
Crutches (ไม้ยันรักแร้, ไม้ค้ำยัน)
ใช้ได้กับผู้ป่วยที่ค่อนข้างแข็งแรง หรือการทรงตัวดี
ประโยชน์ของอุปรกรณ์ช่วนเดิน
ช่วยแบ่งเบาหรือรับน้ำหนักแขนขา 1 หรือ 2 ข้าง เมื่อมีข้อห้ามในการรับน้ำหนักเต็มทั้งขาข้างนั้น
ช่วยแบ่งเบาหรือรับน้ำหนักแทนขา 1 หรือ 2 ข้าง เมื่อมีข้อห้ามหรือมีการอ่อนแรงจนขาไม่สามารถรับน้ำหนักได้
เพิ่มการพยุงตัวเพื่อให้สามารถทรงตัวได้
การเตรียมผู้ป่วยก่อนการฝึกอุปรณ์ช่วยเดิน
การฝึกความแข็งแรง ความทนทาน และการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน
การฝึกท่าตั้งตรงบนเตียงหรือเบาะ
การฝึกในราวคู่ขนาน เช่น ฝึกยืน ฝึกทรงตัว ฝึกท่าทาง เป็นตัน
การลงน้ำหนักที่ขาเวลาเดิน
Non weight bearing
ไม่ลงน้ำหนักของขาข้างที่เจ็บ
Toe touch weight baring
เดินโดยเอาปลายเท้าข้างที่เจ็บแตะพื้น
Partial weight bearing
เดินโดยลงน้ำหนักข้างที่เจ็บได้บางส่วน
Full weight bearing
เดินโดยขาข้างที่เจ็บลงน้ำหนักได้เต็มที่
Weight bearing as tolerated
เดินโดยขาข้างที่เจ็บลงน้ำหนักเท่าที่ทนไหว
รูปแบบการเดิน
Four-point gait
เป็นรูปแบบการเดินที่มีความมั่นคงมากที่สุด
Two-point gait
ต้องใช้การทรงตัวและมั่นคงมากกว่า Four-point gait รูปแบบการเดินนี้มีการเคลื่อนไหวของแขนขาเหมือนธรรมชาติ
Three-point gait
เป็นรูปแบบการเดินที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของขา 1 ข้าง การเดินแบบนี้ใช้ได้ทั้งในกรณีที่ขาข้างนั้นไม่สามารถรับน้ำหนักได้และรับน้ำหนักได้บางส่วน
Swing-to gait
เหมาะที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่มีการจำกัดในการใช้ขาทั้ง 2 ข้างร่วมกับความไม่มั่นคงของลำตัว
Swing-through gait
มีความมั่นคงน้อยที่สุดในรูปแบบการเดินทั้งหมด ดังนั้นเพื่อให้เดินได้อย่างปลอดภัย ผู้ป่วยจะต้องมีความแข็งแรงและการทรงตัวที่ดี
การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกาย
การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายชนิดให้ผู้ป่วยทำเอง(Active or Isotonic Exercise)
: ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายของตนเอง ผลดีต่อข้อต่างๆ ของร่างกายมีการเคลื่อนไหวและกล้ามเนื้อหดตัว ทำให้กล้ามเนื้อมีความตึงตัวและแข็งแรง การไหลเวียนโลหิตดี
การออกกำลังกายโดยให้ผู้อื่นทำให้ผู้ป่วย(Passive exercise)
: เป็นการออกกำลังกายโดยการเคลื่อนไหวข้อต่างๆให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายด้วยตนเองได้หรือมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว ผลดี คือ มีการเคลื่อนไหวและช่วยป้องกันการหดรั้งของกล้ามเนื้อผิดรูป
การออกกำลังกายชนิดที่ให้ผู้ป่วยทำร่วมกับความช่วยเหลือของผู้อื่น(Active assistive exercise)
: ดีกว่าวิธีที่ให้ผู้อื่นทำให้ผู้อื่น เพราะเป็นการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมีการทำงานร่วมด้วย
การออกกำลังกายโดยให้กล้ามเนื้อทำงานโดยข้อไม่เคลื่อน(Isometric or Static exercise)
: เพื่อเพิ่มความตึงตัวและแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ป้องกันกล้ามเนื้อลีบ โดยให้ผู้ป่วยเกร็งกล้ามเนื้อ เพื่อให้กล้ามเนื้อมีการหดรัดตัวชั่วระยะหนึ่ง
การออกำลังกายให้ผู้ป่วยออกแรงต้านกับแรงอื่น(Resistive exercise)
: เป็นการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ให้ผู้ป่วยออกแรงต้าน วิธีนี้ช่วยให้กล้ามเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้น มีความแข็งแรงและทำงานได้ดีเป็นการกระตุ้นกล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น ในผู้ป่วยที่ต้องพักรักษาตัวอยู่บนเตียงนานๆและมีภาวะกล้ามเนื้อลีบเกิดขึ้น
การเคลื่อนไหวร่างกาย
การเคลื่อนไหวของร่างกาย
หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายใดๆ ในชีวิตประจำวัน มีการเคลื่อนไหวหรือทำงานของส่วนของร่างกาย โดยใช้โครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อและทำให้มีการใช้พลังงานของร่างกายมากกว่าในระยะพัก
กลไกการเคลื่อนไหวร่างกาย
หมายถึง การใช้ร่างกายอย่างปลอดภัยมีประสิทธิภาพ มีการประสานงานกันในการเคลื่อนไหวและดำรงความสมดุลระหว่างการมีกิจกรรม
ผลกระทบจากการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
ระบบผิวหนัง
เซลล์ตายและลุกลามกลายเป็นแผล
การเสียดทาน
เกิดแรงกดทับ
แรงดึงรั้ง เกิดจากแรงกดทับและการเสียดทานที่เกิดขึ้นพร้อมกัน
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
การประสานงานของกล้ามเนื้อแขนขาลดลงหรือไม่สัมพันธ์กัน
กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบเล็ก
กระดูกผุ เปราะบาง
อาการปวดหลัง
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
มีการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดำที่ขา
เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ
หัวใจทำงานมากขึ้น
ความดันต่ำขณะเปลี่ยนท่า
ระบบทางเดินหายใจ
ปอดขยายตัวลดลง
มีการคั่งของเสมหะมากขึ้น
ระบบทางเดินอาหาร
ทำให้เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย กังวลใจจากการนอนเฉยๆ เป็นสาเหตุให้เกิดการขาดสารอาหาร
ท้องผูก
ระบบทางเดินปัสสาวะ
มีการคั่งของปัสสาวะในไตและกระเพาะปัสสาวะ
เกิดนิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะ
การถ่ายปัสสาวะมากกว่าปกติในระยะแรกๆ
ระบบเมตาบอลิซึมและการเผาผลาญอาหาร
มีระดับโปรตีนในกระแสเลือดลดต่ำลง
มีความผิดปกติด้านอัตมโนทัศน์และภาพลักษณ์
การเผาผลาญอาหารลดลง