Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อ - Coggle Diagram
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อ
กระดูก (Skeleton)
กระดูกร่างกายของมนุษย์มีทั้งหมด 206 ชิ้น หน้าที่จะเป็นตัวกำหนดรูปร่างและผิวหน้าของกระดูก เช่น กระดูกยาว (Long bone) จะทำหน้าที่เป็นคาน จึงมีผิวหน้าที่เรียบแบนเพื่อง่ายในการเกาะยึดของเอ็นหรือเส้นประสาท(Wilson & Giddens, 2009. p. 311) เช่น กระดูกต้นแขน (Humerus) กระดูกต้นขา (Femur) กระดูกปลายแขน (Fibula) กระดูกนิ้วมือและเท้า (Phalanges)ส่วนกระดูกสั้น (Short bone) จะมีรูปร่างคล้ายลูกบาศ์ก (Cube shaped) เช่นกระดูกข้อมือ (Carpal) กระดูกข้อเท้า (Tarsal) เป็นต้น
ข้อ (Joints)
ข้อ คือ เนื้อเยื่อส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกตั้งแต่ 2 ชิ้น ขึ้นไป ช่วยให้มีความมั่นคงของข้อขณะที่มีการเคลื่อนไหว ข้อแบ่งออกได้ 2 แบบดังนี้
แบ่งตามชนิดของส่วนประกอบของข้อได้แก่ เส้นใย (Fibrous)
กระดูกอ่อน (Cartilaginous) เยื่อหุ้มข้อ (Synovial)
แบ่งตามระดับของการเคลื่อนไหวได้ 3 แบบ คือ
2.1 เคลื่อนไหวไม่ได้เลย เรียกว่า Synarthrodial เช่น รอยต่อของ
กระดูกกะโหลกศีรษะ (The Suture of the skull) เป็นต้น
2.2 เคลื่อนไหวได้เล็กน้อย เรียกว่า Amphiarthrodial เช่น กระดูกหัว
เหน่า (Symphysis pubis) เป็นต้น
2.3 เคลื่อนไหวได้เต็มที่ เรียกว่า Diarthrodial joints เช่น หัวเข่า ข้อ
นิ้วมือ เป็นต้น ซึ่ง Diarthrodial joints ยังสามารถแบ่งย่อยตามชนิดของการ
เคลื่อนไหว เช่น แบบบานพับ (Hinge joint) ซึ่งเคลื่อนไหวได้เฉพาะเหยียดและ
งอ (Extension and flexion) เช่น หัวเข่า ข้อศอกและข้อนิ้ว เป็นต้น
กล้ามเนื้อลาย (Skeletal muscles)
กล้ามเนื้อลายประกอบด้วย เส้นใยกล้ามเนื้อซึ่งยึดจับกับกระดูกเพื่อช่วยในการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อส่วนใหญ่เคลื่อนไหวตามที่สมองสั่ง(Voluntary control) แต่กล้ามเนื้อบางมัดเคลื่อนไหวเองด้วยรีเฟล็กซ์ (Reflex)ใยของกล้ามเนื้อลายจะถูกจัดเรียงให้วางขนานกับความยาวของกระดูกหรือถูกจัดเรียงให้อยู่ในแนวเฉียงของกระดูก
เอ็น (Ligaments or tendons)
เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เชื่อมระหว่างกระดูกและกระดูก หรือ ระหว่างกล้ามเนื้อและกระดูก ทำหน้าที่ช่วยประคับประคองข้อไม่ให้บาดเจ็บในขณะเคลื่อนไหว โดยการเรียงตัวในหลายทิศทาง ได้แก่ ล้อมรอบข้อ ยึดข้อในแนวเฉียงหรือเรียงตัวไปตามแนวยาว และยังช่วยนำแรงที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อลายไปยังข้อ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว
กระดูกอ่อนและเยื่อหุ้มข้อ (Cartilage and bursa)
กระดูกอ่อน เป็นเนื้อเยื่อแผ่นค่อนข้างเรียบลื่นแผ่ปกคลุมรอบ ๆ ปลายกระดูก ทำให้บริเวณผิวของข้อเรียบ กระดูกอ่อนจะรับแรงและน้ำหนักที่เกิดขึ้นกับข้อ กระดูกอ่อนไม่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงจึงได้รับอาหารที่ผ่านมาจากSynovial fluid ในขณะมีการเคลื่อนไหวและรับน้ำหนักของข้อ
ช่องระหว่างเยื่อหุ้มข้อ (Bursa) คือ ถุงเล็กๆ หรือช่องที่อยู่ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่รอบๆ ข้อเฉพาะบางแห่ง ได้แก่ ข้อไหล่ และข้อเข่า Synovial Fluidซึ่งทำหน้าที่หล่อลื่นข้อบรรจุอยู่ Bursa จะถูกสร้างขึ้นเองเมื่อมีแรงกดหรือการเสียดสีของข้อ
การตรวจร่างกายระบบกระดูก กล้ามเนื้อ และข้อ
การตรวจร่างกายระบบกระดูก กล้ามเนื้อ และข้อ ประกอบด้วยขั้ตอนการดู การคลำหรือการวัด
การทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Test of muscle strength)
ทดสอบความแข็งของกล้ามเนื้อ โดยการให้ผู้รับบริการเคลื่อนไหวข้อนั้นๆ เต็มที่ แล้วออกแรงต้านกับแรงของพยาบาล เปรียบเทียบความแข็งแรงของอวัยวะทั้ง 2 ข้าง มักจะพบว่าข้างที่ผู้รับบริการถนัดมักจะมีความแข็งแรงมากกว่าข ้างที่ไม่ถนัด แต่ไม่ควรใช้แรงทดสอบมาก ณ บริเวณที่มีอาการเจ็บปวด
การตรวจความเคลื่อนไหวของตะโพก
การตรวจการเคลื่อนไหวของข้อตะโพกห้ามทำในผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนข้อตะโพก (Hip replacement) เพราะอาจทำให้เกิดการเคลื่อนหลุดของข้อตะโพกได้ เนื่องจากข้อตะโพกเป็นข้อแบบ Ball-and-socket จึงเคลื่อนไหวได้ทุกทิศทาง ท่าที่ใช้ในการตรวจ
การตรวจข้อเข่า (Knee joints)
การดู ดูผิวหนังว่ามีกล้ามเนื้อลีบหรือไม่ สีผิว อาการบวมเปรียบเทียบกันทั้ง 2 ข้าง
การคลำ คลำดูว่ามีบวมร้อนและกดเจ็บหรือไม่ มีน้ำอยู่ในข้อหรือไม่ข้อเข่าปกติจะมีสารน้ำหล่อเลี้ยงประมาณ 3-5 มิลลิเมตร หากมีการอักเสบหรือการติดเชื้อ จะทำให้มีสารน้ำในข้อมากขึ้น วิธีที่ใช้ตรวจเมื่อมีสารน้ำในข้อเข่า