Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การตรวจการตรวจร่างกาย หัวใจ ปอด เต้านม - Coggle Diagram
บทที่ 3 การตรวจการตรวจร่างกาย หัวใจ ปอด เต้านม
กำรตรวจทรวงอกและปอด (Thorax and lung)
กำรตรวจทรวงอกและปอดเป็นกำรประเมิน กำรทำหน้ำที่ของ อวัยวะที่เกี่ยวกับกำรได้รับอำกำศ ผู้ตรวจต้องทราบ chest landmark
anatomical landmark
Surface anatomy
ของปอด จึงจะสามารถตรวจได้อย่างถูกต้อง และบอกความผิดปกติที่พบได้
Chest landmark เป็นเส้นสมมติกำหนดให้แนวทางและขอบเขต
ของทรวงอก
anatomical landmark เป็นจุดสำคัญที่ใช้ในการตรวจทรวงอก
และปอด
Surface anatomy เป็นตำแหน่งและการแบ่งกลีบปอด เพื่อให้ทราบตำแหน่งของปอดที่ทำการตรวจ
ตรวจในท่านั่ง หากผู้รับบริการอาการหนักจะตรวจในท่า
นอน ตรวจด้านหลังและด้านหน้า ควรถอดเสื้อออกจนถึงระดับเอว ผู้รับบริการหญิงให้เปิดผ้าเฉพาะส่วนที่ตรวจและ
ปิดคลุมส่วนหน้าอกไว้เมื่อตรวจเสร็จ เทคนิคในการตรวจทรวงอกและปอด ประกอบ ด้วยการดู คลำ เคาะ และฟัง
การดู สิ่งที่ต้องสังเกต คือ รูปร่างของทรวงอก ขนาด
ของทรวงอก การเคลื่อนไหวของทรวงอก และผิวหนัง
การคลำ สิ่งที่ต้องคลำ คือ คลำส่วนต่างๆ ของทรวงอก
คลำการขยายตัวของทรวงอก อาการสั่นสะเทือนของเสียงพูด หรือ tactile fremitus หรือ Vocal fremitus
การเคาะทรวงอก (ปอด) การเคาะทรวงอกจะเปรียบเทียบ
เสียงที่เกิดจากการเคาะ (percussion note) บนทรวงอก (ปอด) ทั้งสองข้าง เพื่อประเมินสภาพปอดที่อยู่ภายใน การเคาะต้อง ให้
นิ้วกลางอยู่ตำแหน่งที่ต้องการเคาะ วางนิ้วแนบขนานกับซี่โครงอยู่ในช่องซี่โครง (ไม่เคาะบนกระดูก ซี่โครง) เมื่อเคาะแล้ว ยก
มือนิ้วมือขึ้นโดยเร็ว การเคาะจะเริ่มจากยอดปอดลงล่าง เคาะซ้ายขวาระดับ เดียวกันเปรียบเทียบกัน
การฟัง มีการปฏิบัติ 3 อย่าง คือ การฟังเสียงหายใจ
(breath sound) การฟังเสียงพูด (ice sound) และการฟังเสียงผิดปกติ (adventitious Sound) การฟังปอดนิยมใช้หูฟังส่วน chest piece ทางด้านแผ่น ต้องจับหูฟังให้นิ่งและห้องที่ตรวจควรเงียบ ให้ผู้รับบริกำรหำยใจทางปากแรงกว่าปกติเล็กน้อย กำรฟังเสียงหายใจ ต้องสังเกตทั้งระยะหายใจเข้า-ออก
ความดัง ช่วงเวลาที่ เสียงที่เกิดจากการหายใจ เสียงผิดปกติหรือแปลกไปจากปกติ และเมื่อพบเสียง ปกติให้หาขอบเขตของ
ความผิดปกตินั้น ๆ การฟังทรวงอกหรือปอด จะฟังจากยอดปอดไปฐานปอด ปอดสองข้างระดับเดียวกันเปรียบเทียบกัน มี
แนวในการฟังเช่นเดียวกับการเคาะ การจัดท่าทำเช่นเดียวกับการเคาะ แต่ขณะฟังปอดด้านหน้าให้ผู้รับบริการหันหน้าไป
ด้านตรงข้าม ผู้ตรวจเพื่อป้องกันการหายใจรดกัน
การตรวจหัวใจ (Heart)
การตรวจหัวใจ เป็นการประเมินการไหลเวียนที่ใช้เทคนิคทั้งการดู การเคาะ การคลำและ การฟัง และมีการประเมินอาการแสดงอื่นประกอบด้วย เช่น อาการเขียว(cyanosis)
อาการเหนื่อยหอบ
การดู สังเกตสีผิว หลอดเลือดดำบริเวณทรวงอก และรูปร่างทรวงอกโดยเฉพาะบริเวณ precordium ลักษณะรูปร่างและตำแหน่งการเต้น
การคลำ การคลำจะใช้ส่วนต่างๆ ของมือ เช่น ปลายนิ้ว ฝ่ามือบริเวณฐานของนิ้วมือ (metal metacarpal) หรือสันมือ (heel of palm) รับสัมผัสต้องทำให้มืออุ่นก่อนคลำ จัดท่าผู้รับบริการนอนหงาย แขนอยู่ข้างลำตัว ใช้ฝ่ามือคลำบริเวณยอดหัวใจ(apex) ซึ่งเป็นบริเวณของหัวใจห้องล่างซ้ายก่อนคลำไล่ไปที่ขอบล่างซ้ายของ sternum คลำต่อไปยังฐานของหัวใจ คือ ซ้าย ขวาของ sternum บริเวณช่องซี่โครงที่ 2 คลำขอบล่างขวาของ sternum และคลำที่ epigastrium
การเคาะ เป็นการตรวจหาขอบเขตของหัวใจ ทำให้ทราบ
ขนาดหัวใจ มักไม่ทำเป็นประจำ จะเลือกทำในกรณีที่สงสัยความผิดปกติบางอย่างเท่านั้น วิธีการตรวจคือ จัดให้
ผู้รับบริการนั่งตัวตรง แขนทั้งสองปล่อยข้างตัวตามสบายวางมือไว้บนตักหรือนอนหงายแขนวางข้างลำตัว แนะนำให้หายใจค่อยกว่าปกติเล็กน้อย เริ่มเคาะเบาๆ ที่ทรวงอกช้ายจาก mid clavicular line ช่องซี่โครงที่ 3, 4, 5 เคลื่อนเข้าหา sternum เคาะจนได้ยินเสียงที่บ ซึ่งคือริมซ้ายของหัวใจ และเคาะทรวงอกด้านขวา เช่นเดียวกับการเคาะด้านซ้าย จะได้ริมขวาของหัวใจ
การฟัง การฟังนิยมฟังบริเวณลิ้นหัวใจ
ตำแหน่งที่ใช้ฟังลิ้นหัวใจไม่ใช่ตำแหน่งลิ้นหัวใจจริงๆ แต่เป็นตำแหน่งที่ได้ยินเสียงลิ้นหัวใจนั้นชัดเจนที่สุด ซึ่งอยู่ ณ ตำแหน่ง ต่าง ๆ เช่น เสียงของ aortic valve ฟังได้ชัดที่ขอบขวาของ sternum ตรงช่องซี่โครงที่ 2
เสียงของ pulmonic Valve ฟังได้ชัดที่ขอบซ้ายของ sternum ตรงช่องซีโครงที่ 2
เสียงของ tricuspid valve ฟังได้ชัดที่ขอบซ้ายของ sternum ตรงช่องซีโครงที่ 4 หรือ 5
เสียงของ mitral valve ฟังได้ชัดที่บริเวณ apexbeat หรือ point of maximum impulse (เดิม)หรือด้านซ้ายของ sternum ตรงกับช่องซี่โครงที่5 ตัดกับ mid clavicular line
หลอดเลือด
การตรวจหลอดเลือดดำที่คอ ทำได้โดยการจัดท่านั่งศีรษะสูง 45 องศา หรือหนุนหมอน 2 ใบ หันหน้าตรงให้กล้ามเนื้อ sternocleidomastoid หย่อนตัวดูบริเวณด้านข้างของลำคอหรือบริเวณสามเหลี่ยมด้านหลังของคอ สังเกตหลอดเลือดดำที่คอ จากนั้นวัดความดันเลือดดำ jugular โดยวัดระยะแนวดิ่งเป็นเซนติเมตรจากจุกสูงสุดที่เห็นหลอดเลือดดำ external jugular ที่เห็นโป่ง จนถึง Angle of louis(บริเวณนี้ถือว่าตรงกับหัวใจห้องบนขวา) ค่าเซนติเมตรที่ได้ถือเป็นค่ำประมาณของความดันหลอดเลือดดำ jugular นิยมวัดที่หลอดเลือดดำที่คอข้างขวา
การตรวจหลอดเลือดดำส่วนปลาย ตรวจโดยสังเกตอาการ
แสดงที่เกิดจากเลือดไป เลี้ยงไม่เพียงพอ เช่น แขนขาบวมผิวหนังและเล็บสีซีดหรือเขียวคล้ำ คลำรู้สึกเย็นกว่าส่วนอื่นสังเกต หลอดเลือดดำที่ขาว่าโป่งขอดหรือไม่
(บำงส่วนตรวจในกำรตรวจลักษณะทั่วไปแล้ว)
เต้านม
เทคนิคที่ใช้คือ การดูและการคลำ ตรวจเฉพาะผู้หญิง
และในผู้ที่มีข้อมูลที่แสดงถึงความผิด ปกติที่คาดว่าอวัยวะเหล่านี้จะเกี่ยวข้อง การตรวจเต้านมจะแบ่งเต้า
นมออกเป็น 4 ส่วน แต่ละส่วนเรียก quadrant โดยแบ่งตามเส้นแนวตั้งที่ลากตัดกับแนวนอนที่หัวนม (รูปที่
4,40) และเรียก quadrant เป็น upper inner (1)upper outer (2) lower inner (3) lower outer (4)
การดู จัดให้ผู้รับบริการนั่ง เปลื้องเสื้อออกจนถึงเอว
แขนปล่อยไว้ข้างลำตัว หรือให้เท้า เอว สังเกต ขนาดเต้านมทั้งสองข้าง ดูสีผิว เส้นเลือด และลักษณะการบวม ค้นหาสิ่งผิดปกติอื่นๆ เช่น ก้อนนูน รอยปุ่ม รอยแผล ตื่นต่าง ๆ และดูขนาดสี รูปร่างของหัวนม
การคลำ จัดท่านั่งหรือท่านอนหงาย วางหมอนเล็ก ๆ
ใต้ไหล่ที่ตรวจ แขนวางข้างลำตัว คลำทุกส่วนของเต้านม โดยใช้อุ้งมือส่วนนิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนาง คลำแบบคลึงเป็นวง เริ่มคลำที่บริเวณ aereola คลำเป็นวงออกไปจนถึงส่วนนอกของเต้านม รวมทั้งส่วนหาง (tail) ของเต้านมด้วย
สังเกต โครงสร้าง ความแข็ง (consistency) กดเจ็บ (tenderness) ก้อนหรือถุงน้ำ (mass or cyst) ถ้าพบให้
บอกตำแหน่งว่าอยู่ใน quadrant ใด ห่างจากหัวนมกี่เซนติเมตร ขนาด ลักษณะ ผิว ขอบ ความนุ่ม ความแข็ง
เป็นอย่างไรและมีจำนวนเท่าไร จำกนั้นคลำหัวนม โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือกดรอบ ๆ หัวนม
การตรวจรักแร้
การตรวจรักแร้เพื่อตรวจต่อมน้ํำเหลืองบริเวณรักแร้ ใช้เทคนิคการดูและคลำ สังเกตสีผิวและการมีก้อนบริเวณรักแร้ การคลำรักแร้ อาจตรวจในท่าให้ผู้รับบริการนั่งหรือนอน ตรวจในท่านั่ง แขนอยู่ข้างลำตัว การตรวจรักแร้ขวาผู้ตรวจใช้มือขวาพยุงแขนขวา ให้อยู่ในท่างอ แขนกาง ใช้มือซ้ายคลำสอดเข้าไปใต้รักแร้ คลำส่วนยอดรักแร้ ผนังข้างของรักแร้ให้ทั่ว โดยใช้ นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนางคลำคลึงวนรอบ ๆ และเลื่อนไปเรื่อย ๆสังเกตว่ามีก้อน หรือต่อมน้ำเหลือง โตหรือไม่ จากนั้นคลำรักแร้ซ้ายด้วยวิธีเดียวกับการคลำรักแร้ด้านขวา
ภาวะปกติ คลำไม่พบก้อน คลำไม่พบต่อมน้ำเหลือง
ภาวะผิดปกติ พบก้อนหรือต่อมน้ำเหลืองขนาดใหญ่กว่าปก