Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้ออื่นๆขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การติดเชื้ออื่นๆขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ (hepatitis A virus: HAV)
ตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบเอ (hepatitis A virus: HAV)เกิดจากการติดเชื้อ hepatitis A virus ติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือน้ําที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคตับอักเสบเอเข้าไป เชื้อไวรัสจะผ่านกระเพาะไปยังลําไส้ จากนั้นประมาณ 15-50 วัน (เฉลี่ย 28 วัน) เชื้อจะกระจายเข้าสู่ตับทําให้ตับเกิดการอักเสบเฉียบพลัน
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย
เบื่ออาหาร
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ปวดข้อ
ปวดศีรษะ
มักไม่มีอาการของดีซ่าน แต่เมื่อใดที่
ตรวจพบน้ําดีในปัสสาวะแสดงว่าตับมีการทํางานผิดปกติ
ตรวจพบalkaline phosphatase เพิ่มขึ้น อาการจะมีอยู่ 10-15 วัน จากนั้นจะเข้าสู่ระยะพักฟื้น และหายจากการเป็นโรค ผู้ที่หายจากการเป็นโรคแล้วมักจะมีภูมิคุ้มกัน และจะไม่เป็นพาหะ ไม่เป็น chronic hepatitis หรือ chronic liver disease
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
การตั้งครรภ์ไม่มีผลทําให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น หากมีการติดเชื้อHAV ขณะตั้งครรภ์นั้น ร่างกายมารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAV ซึ่งสามารถผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้ และมีผลคุ้มกันทารกไปจนถึงหลังคลอดประมาณ 6-9 เดือนจากนั้นจะหมดไป
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การขับถ่าย การสัมผัสเชื้อโรค
การตรวจร่างกาย ตรวจพบลักษณะอาการทางคลินิกของการติดเชื้อ HAV เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด และอาจมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจหา antibody-HAV และ IgM-anti HAV และตรวจการทํางานของตับ
การป้องกันและการรักษา
ส่วนใหญ่เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการที่ปรากฏ ถึงแม้ว่าเชื้อ HAV จะไม่ผ่านรก แต่หากสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อในระยะใกล้คลอด ทารกมีโอกาสติดเชื้อหลังคลอดได้ ดังนั้นอาจพิจารณาให้ immune serum globulin (ISG) ในรายที่สัมผัสเชื้อ
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเองที่เหมาะสม และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพื่อลดความวิตกกังวลและให้ความร่วมมือในการรักษา
แนะนําเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว ดังนี้
2.1 พักผ่อนอย่างเพียงพอ
2.2 รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย และดื่มน้ําให้เพียงพอ
2.3มาตรวจตามนัดเพื่อประเมินสภาวะของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
2.4 หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อตับ ได้แก่ acetaminophen และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus)
ตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus)
เกิดจากการติดเชื้อ Hepatitis B virusผ่านทางเลือด น้ําลาย อสุจิ สิ่งคัดหลั่งทางช่องคลอด น้ํานม และผ่านทางรก เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ตับจะแบ่งตัวได้รวดเร็วส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงไม่แตกต่างกับสตรีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ ในระยะแรกผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่ถ้ามีอาการจะเริ่มด้วยมีไข้ต่ำ ๆ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา คลําพบตับโต กดเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่ ในปลายสัปดาห์แรกจะเริ่มมีตาเหลืองตัวเหลือง ซึ่งเมื่อถึงระยะนี้ไข้จะลดลง อาการทั่วไปจะดีขึ้น มีบางส่วนที่กลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง อาจมีภาวะตับวาย กลายเป็นมะเร็งตับและเสียชีวิตในที่สุด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของ Hepatitis B virus แต่ไม่มีอาการแสดงของตับอักเสบจะไม่เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น แต่หากมีการติดเชื้อ Hepatitis B virus ในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกําหนด
ผลต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิด และทารกที่คลอดมามีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ สตรีตั้งครรภ์ที่มีผล HBeAgเป็นบวกจะมีอัตราการถ่ายทอดเชื้อไวรัสจากสตรีตั้งครรภ์ไปสู่ทารกสูง
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ การเป็นพาหะของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี
การตรวจร่างกาย พบอาการและอาการแสดง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ตับโต ตัวเหลืองตาเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการตรวจการทํางานของตับ และตรวจหา antigen และ antibody ของไวรัส ได้แก่ HBsAg, Anti-Hbs, Anti-HBc, HBeAg และ Anti-HBe
แนวทางการป้องกันและการรักษา
1.คัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกราย โดยตรวจหา HBsAg เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก และตรวจซ้ําอีกครั้งในไตรมาสที่ 3 หากผลเป็นบวก ตรวจหา HBeAg เพื่อดูความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อและตรวจค่าเอนไซม์ตับ ได้แก่ ALT, Creatinine เพื่อประเมินภาวะตับอักเสบ
2.กรณีได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ Hepatitis B virus ให้การรักษา ดังนี้
2.1ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ งดการออกแรงทํางานหนัก หรือออกกําลังกาย
2.2แนะนําให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง
2.3 ในรายที่มีอาการเบื่ออาหารและอาเจียน อาจให้สารน้ําทางหลอดเลือดดํา ให้ยาแก้อาเจียน รักษาประคับประคองตามอาการ
2.4 แนะนําให้พาสมาชิกในครอบครัวและสามีมาตรวจเลือดเพื่อหา HBsAg และ HBsAb หากผลตรวจ เป็นลบ แนะนําให้พาสมาชิกในครอบครัวฉีดวัคซีน
2.5 รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ Hepatitis B virus และมีค่า HBeAg เป็นบวกหรือประมาณ Hepatitis B virus DNA ในกระแสเลือดมากกว่า 20,000 IU/ml ร่วมกับค่าเอนไซม์ตับสูงเกิน 2 เท่าของค่าปกติต้องให้การรักษา ด้วยยา Tenofovir Disoproxil Fumarate (TDF) ขนาด 300 mg รับประทานวันละ 1 ครั้ง เริ่มรับประทานเมื่ออายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ และให้ต่อเนื่องจนครบ4 สัปดาห์หลังคลอด เพื่อลดการติดเชื้อในทารกแรกเกิด
2.6 ในรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ Hepatitis B virus แต่ค่า HbeAg เป็นลบและเอนไซม์ตับปกติ ไม่จําเป็นต้องรักษา
2.7 หลีกเลี่ยงการทําหัตถการที่จะทําให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแก่ทารกในครรภ์ เช่น การทํา chorionic sampling และ amniocentesis เป็นต้น อาจใช้วิธี non-invasive prenatal testing (NIPT) แทน หากจําเป็นต้องทํา chorionic sampling หรือ amniocentesis จะต้องแจ้งให้สตรีตั้งครรภ์ทราบถึงความเสี่ยง
2.8 พิจารณาให้คลอดทางช่องคลอด เพราะอัตราการแพร่กระจายเชื้อไวรัสจากมารดาสู่ทารกไม่แตกต่างกันระหว่างคลอดทางช่องคลอดกับคลอดโดยการผ่าตัด การผ่าตัดคลอดควรทําเมื่อมีข้อบ่งชี้ทางสูติศาตร์เท่านั้น หลีกเลี่ยงการคลอดโดยคีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศและเมื่อทารกคลอดออกมาแล้วต้องดูดมูกและเลือดออกจากปากและจมูกของทารกออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ เพื่อช่วยลดปริมาณไวรัสที่ทารกจะสัมผัส
2.9 ทาทรกที่เกิดจากสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ Hepatitis B virus ควรได้รับการฉีด Hepatitis B immunoglobulin (HBIG) ให้เร็วที่สุด และฉีด HB vaccineภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด ถ้าไม่สามารถฉีด HBIG ได้ทันทีหลังคลอดจะต้องฉีดภายใน 7 วัน หลังคลอด (หากเกิด 7 วันไปแล้ว ทารกจะไม่ได้รับประโยชน์จากการฉีด HBIG) ฉีด HB vaccine อีกครั้งเมื่ออายุ 1 เดือน จากนั้นฉีดวัดวัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี (DTP-HB vaccine) เมื่ออายุ 2 เดือน 4 เดือน และ 6 เดือน ตามลําดับ
2.10 มารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อ Hepatitis B virusองค์การอนามัยโลก (2016) แนะนําว่าสามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมารดาได้ทันที
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกคนว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่ หากผลการตรวจพบ HBsAg และ HBeAg เป็นบวก แสดงว่ามีการติดเชื้อและอยู่ในระยะที่มีอาการ จึงควรแนะนําให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
ให้คําแนะนําแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับสาเหตุ การติดต่อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
อธิบายแก่สตรีตั้งครรภ์เข้าใจและตระหนักถึงความสําคัญของการมาตรวจตามนัด
4.ในรายที่มีการติดเชื้อเรื้อรัง แนะนําการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การป้องกันการติดเชื้อซ้ําซ้อน
ระยะคลอด
ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียงและให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ําคร่ํา
เมื่อศีรษะทารกคลอด ดูดมูก เลือดและสิ่งคัดหลั่งต่างๆออกจากปากและจมูกของทารกให้มากที่สุด
ทําความสะอาดทารกทันทีที่คลอด
ดูแลให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันภายหลังคลอด โดยฉีดHepatitis B immunoglobulin (HBIG) ให้เร็วที่สุดหลังเกิด และให้ Hepatitis B vaccine (HBV) 3 ครั้ง ให้ครั้งแรกภายใน 1 สัปดาห์แรกหลังคลอด หรืออาจให้พร้อม HBIG และให้ครั้งที่ 2 และ 3 เมื่ออายุครบ 1 และ 6 เดือน ตามลําดับ
ระยะหลังคลอด
ไม่จําเป็นต้องงดให้นมมารดาแก่ทารก
แนะนําการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดทั่วไป
แนะนําให้นําทารกมารับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
พยาธิสรีรภาพ
ระยะแรก
เมื่อได้รับเชื้อHepatitis B virus เข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว แต่ผู้ที่ได้รับเชื้อจะยังไม่มีอาการแสดงของการได้รับเชื้อและเอนไซม์ตับปกติซึ่งแสดงว่ายังไม่มีการอักเสบของตับ แต่หากตรวจเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลบวก และพบ Hepatitis B virus DNA (viral load) จํานวนมาก
ระยะที่สอง
ประมาณ 2-3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ Hepatitis B virus จะเข้าสู่ระยะที่สองผู้ติดเชื้อจะมีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงจากตับโต ปัสสาวะเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง ตับเริ่มมีการอักเสบชัดเจน ตรวจพบเอนไซม์ตับสูงขึ้น ในระยะนี้ร่างกายจะสร้าง anti-HBe ขึ้นมาเพื่อทําลาย HBeAg ดังนั้นหากตรวจเลือดจะพบ anti-HBe ให้ผลบวกและจํานวน Hepatitis B virus DNA ลดลง
ระยะที่สาม
เป็นระยะที่ anti-HBe ทําลาย HBeAg จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL (20,000 IU/mL) อาการตับอักเสบจะค่อย ๆ ดีขึ้น ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน และเข้าสู่ระยะโรคสงบ (inactive carrier) ซึ่งหากตรวจเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลลบ anti-HBe ให้ผลบวก และค่าเอนไซม์ ตับปกติ
ระยะที่สี่เป็นระยะที่เชื้อกลับมามีการแบ่งตัวขึ้นมาใหม่ (re-activation phase) ทําให้เกิดการอักเสบของตับขึ้นมาอีก หากตรวจเลือดเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลลบ และ anti-HBe ให้ผลบวก ในระยะนี้ถ้า anti-HBe ไม่สามารถทําลาย HBeAg ได้จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL จะเข้าสู่ภาวะตับอักเสบเรื้อรังจนเนื้อตับเสียหาย มีพังผืดแทรกจนเป็นตับแข็งและกลายเป็นมะเร็งตับ
3.หัดเยอรมัน (Rubella/German measles)
หัดเยอรมัน (Rubella หรือ German measles)เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ rubella virus (german measles virus) โดยติดต่อผ่านทางเดินหายใจ มีระยะฟักตัว 14-21 วัน ระยะติดเชื้อ 7 วันก่อนผื่นขึ้นและ 4 วันหลังผื่นขึ้น หากสตรี
ตั้งครรภ์ติดเชื้อหัดเยอรมันในระยะ 3-4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสจะสามารถผ่านไปยังทารก ทําให้ทารกเกิดความพิการแต่กําเนิดที่รุนแรงได้
พยาธิสรีรภาพ
กลุ่มไม่มีอาการทางคลินิก โดยกลุ่มนี้จะตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันอย่างเดียว และจะกลายเป็นพาหะของโรคต่อไป
กลุ่มที่มีอาการทางคลินิก คือมีผื่นที่ใบหน้า ลามไปที่ลําตัวและแขนขา ลักษณะของผื่นจะเป็นตุ่ม เกิดได้ตั้งแต่วันที่ 7-10 หลังได้รับเชื้อและจะ
คงอยู่ 4 สัปดาห์ อาจมีอาการปวดข้อ ปวดเข้า พบต่อมน้ําเหลืองโต
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว
โดยไข้จะเป็นอยู่ 1-2 วันก็จะหายไป หลังจากนั้นจะมีผื่นขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดง (maculopapular) มองเห็นเป็นปื้นหรือจุดกระจัดกระจายโดยจะเริ่มขึ้นที่ใบหน้าจากนั้นจะแผ่กระจายลงมาตามหน้าอก ลําตัว แขนขา จนทั่วร่างกายอย่างรวดเร็ว อาการจะเกิดขัดเจนในวันที่ 7-10 และจะคงอยู่ 4 สัปดาห์ จากนั้นผื่นจะจางหายไป
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ไม่ทําให้อาการของโรครุนแรงขึ้น แต่อาจรู้สึกไม่สุขสบายเล็กน้อยเท่านั้น
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว เช่น ตับม้ามโต ตัวเหลือง โลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ํา ปอดบวม กระดูกบาง เป็นต้น
ความผิดปกติถาวรได้แก่ หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด (ต้อกระจก, ต้อหิน) สมองพิการ และปัญญาอ่อน
ความผิดปกติที่ไม่พบขณะแรกเกิด แต่ปรากฏภายหลัง เช่น ภาวะเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ สูญเสียการได้ยิน ลิ้นหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตสูง สมองอักเสบ
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติการสัมผัสผู้ติดเชื้อหัดเยอรมัน หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ ได้แก่ มีผื่นคล้ายหัด เป็นไข้หวัด
การตรวจร่างกายอาจพบผื่นสีแดงคล้ายหัด ตาแดง ไอ จาม เจ็บคอ ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว ต่อมน้ําเหลืองโต บางรายอาจไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยตรวจ Hemagglutination inhibition test (HAI) เพื่อหา titer ของ antibody ของเชื้อหัดเยอรมันหากผล HAI titer น้อยกว่า 1:8 หรือ 1:10 แสดงว่าไม่ติดเชื้อ และไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ และควรเจาะเลือดตรวจหา HAI titer อย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อยืนยันการติดเชื้อในสตรีตั้งครรภ์ โดยหาก HAI titer ครั้งที่ 2 สูงกว่าครั้งแรกอย่างน้อย 4 เท่า แสดงว่ามีการติดเชื้อ
การป้องกันและการรักษา
ให้ภูมิคุ้มกันเนื่องจากเป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง คุ้มกับค่าใช้จ่าย และควรเน้นการฉีดวัคซีนในเด็กหญิง สตรีวัยเจริญพันธุ์ และคัดกรองหารายที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันเพื่อให้วัคซีน
ทารกแรกเกิดที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมัน ภายหลังคลอดต้องเก็บเลือดจากสายสะดือส่งตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อและตรวจร่างกายอย่างละเอียด
การพยาบาล
ให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยอรมันแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมาก่อนโดยก่อนฉีดวัคซีนจะต้องแน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ และหลังจากให้วัคซีนจะต้องคุมกําเนิดต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน
ในสตรีที่มาฝากครรภ์ควรตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ หากยังไม่มีภูมิคุ้มกันแนะนําให้สตรีตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการเข้าชุมชนในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อหัดเยอรมัน หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นพาหะของเชื้อหัดเยอรมัน โดยเฉพาะในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
แนะนําให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ําเสมอ และมารับการตรวจที่โรงพยาบาลทันทีที่สงสัยส่ามีการติดเชื้อหัดเยอรมัน
ประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับการได้รับภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน การสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรค และอาการแสดงของโรค
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึกและซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับผลของการติดเชื้อต่อสุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์
อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ การดําเนินของโรค ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์และต่อทารกในครรภ์ และการรักษาพยาบาล เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวตัดสินใจเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์
กรณีที่ตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ เตรียมร่างกายและจิตใจของสตรีตั้งครรภ์ให้พร้อมสําหรับการทําแท้งเพื่อการรักษา
รายที่ตัดสินใจดําเนินการตั้งครรภ์ต่อ และคลอดทารกที่มีความพิการ ดูแลด้านจิตใจของมารดาและครอบครัวโดยเปิดโอกาสให้มารดาหลังคลอดและครอบครัวได้ระบายความรู้สึกและซักถามเกี่ยวกับอาการของทารก เพื่อลดความวิตกกังวล
สตรีที่ไม่มีภูมิคุ้มกันหรือไม่เคยฉีดวัคซีน ควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันหัดเยอรมันหลังคลอดทุกราย และหลังการให้วัคซีนจะต้องคุมกําเนิดต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน
4.สุกใส (Varicella-zoster virus: VZV)
สุกใสหรือ โรคสุกใส (chickenpox) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ Varicella-zoster virus(HZV) ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกับที่ทําให้เกิดโรคงูสวัด สามารถติดต่อได้หลายทาง เช่น โดยการสัมผัสถูกตุ่มน้ําโดยตรง สัมผัสกับของใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ จากตุ่มน้ําของคนที่เป็นสุกใสหรือจากการสูดหายใจเอาละอองเชื้อโรคของตุ่มน้ํา
อาการและอาการแสดง
มักจะมีไข้ต่ําๆ นํามาก่อนประมาณ1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้น ลักษณะของผื่น และตุ่ม มักจะขึ้นตามไรผม หรือหลังก่อน จะเห็นเป็นตุ่มน้ําใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ําค้างบนกลีบกุหลาบ (dewdrops on a rose petal) แล้วค่อยลามไปบริเวณหน้าลําตัว และแผ่นหลัง มีอาการปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย คล้ายอาการของไข้หวัดใหญ่
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ ซึ่งเชื้อโรคมีระยะฟักตัวนาน 10-20 วัน ในกรณีที่โรคสุกใสเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด จะเรียกว่า congenital varicella syndrome ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยมารดาติดเชื้อไวรัสสุกใสขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อในช่วง 3 เดือน ของการตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ได้สูง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อสุกอีใสในผู้ใหญ่มักจะมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็ก โดยเฉพาะในระยะอายุครรภ์ใกล้ครบกําหนดคลอดจะยิ่งอันตราย
ผลกระทบต่อทารก
การติดเชื้อในครรภ์ อาจทําให้ทารกเกิดความพิการก่อนกําเนิดได้
การติดเชื้อปริกําเนิด อาจติดเชื้อผ่านทางมดลูก และช่องทางคลอด
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติการสัมผัสผู้ติดเชื้อสุกใส
การตรวจร่างกายมีไข้มีผื่นตุ่มน้ําใสตามไรผม ตุ่มน้ําใสๆ บนฐานสีแดงลามไปบริเวณหน้าลําตัว และแผ่นหลัง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgM ต่อไวรัสสุกใส ไวรัสงูสวัด (VZV) ด้วยเทคนิค ELISA
3.2การตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgG ต่อไวรัสสุกใสไวรัสงูสวัด (VZV) ด้วยเทคนิค ELISA เป็นการตรวจหาภูมิต้านทานต่อโรคสุกใสและงูสวัด ซึ่งเกิดจากเชื้อ Varivella Zoster Virus
แนวทางการป้องกันและการรรักษา
การป้องกันโดยไม่สัมผัสโรค หลีกเลี่ยงคนที่ป่วยเป็นสุกใส
การรักษาแบบประคับประคอง เพื่อบรรเทาอาการ ให้ยาแก้คัน (Antihistamines) เช่น คลอเฟนิรามีน หรือ ซีพีเอ็ม
การรักษาแบบเจาะจงโดยการใช้ยาต้านเชื้อไวรัสสุกใส Acyclovir
การพยาบาล
ระยะก่อนตั้งครรภ์
แนะนําให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์โดยหลีกเลี่ยงการรับวัคซีนในระยะตั้งครรภ์
ระยะตั้งครรภ์
แนะนําให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง วิตามินซีสูง
2.ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
3.เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก
ระยะคลอด
1.ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทําความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
กรณีที่มารดามีอาการให้แยกทารกแรกเกิดจากมารดาในระยะ5วันแรกหลังคลอด
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค โดยการใช้หลักuniversal precautionในการสัมผัสน้ําคาวปลา แนะนําให้แยกของใช้สําหรับมารดา
กรณีพ้นระยะการติดต่อหรือมารดามีการตกสะเก็ดแล้วสามารถแนะนําเกี่ยวกับการให้นมมารดาได้
แนะนําการรับประทานอาหารโปรตีนและวิตามินซีสูง พักผ่อนเพียงพอ ออกกําลังกายสม่ําเสมอ
ดูแลให้ทารกรับวัคซีน VariZIG แก่ทารกแรกเกิดทันทีหากมารดาการติดเชื้อในช่วง 5วันก่อนคลอดถึง 2วันหลังคลอด
เน้นย้ําให้เห็นความสําคัญของการมาตรวจตามนัด
โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส (Cytomegalovirus: CMV)
การติดเชื้อไซโตเมกะโลไวรัส (Cytomegalovirus:CMV) โดยปกติมักพบการติดเชื้อในผู้ใหญ่ โดยอาจได้รับเชื้อทางการให้เลือด การสัมผัสทางปาก หรือทางเพศสัมพันธ์ ประชากรส่วนใหญ่มักได้รับเชื้อCMV ตั้งแต่วัยเด็ก ดังนั้นเมื่อไวรัส CMV ในถูกกระตุ้น (reactivated virus) ในขณะตั้งครรภ์
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อ CMV ติดต่อเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ ทารกได้รับเชื้อจากมารดาในครรภ์ในระยะคลอดในระยะให้นมการถ่ายเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะเพศสัมพันธ์ทางหายใจ(โดยสัมผัสละอองฝอยในอากาศ) และทางการสัมผัส(โดยสัมผัสน้ําลาย ปัสสาวะ) แหล่งของเชื้อ CMV พบได้จากสารคัดหลั่งหลายชนิด เช่น น้ําลาย ปัสสาวะ น้ําอสุจิ สารคัดหลั่งจากปากมดลูก น้ํานม น้ําตาอุจจาระ และเลือด
อาการและอาการแสดง
มีอาการแสดงของ mononucleosis syndrome คือ ไข้สูงนานปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการ ปอดบวมตับอักเสบ และอาการทางสมอง
อาการในเด็กทารกมีตั้งแต่อาการอย่างอ่อน ถึงอาการที่รุนแรงทางสมองและระบบประสาท ได้แก่ hepatosplenomegaly, thrombocytopenia, petechiae, microcephaly, chorioretinitis, hepatitis และ sensorineuralhearing loss
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ขณะตั้งครรภ์ระบบภูมิคุ้มกันจะลดลงหากไวรัสCMV ที่แฝงตัวอยู่มีการติดเชื้อซ้ํา หรือติดเชื้อใหม่ในขณะตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อทารก
ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อภาวะ IUGR แท้ง fetal distress คลอดก่อนกําหนด น้ําหนักแรกเกิดน้อย ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และตายคลอด ส่วนทารกแรกเกิดนั้นอาจไม่มีอาการแสดงใด จนถึงมีอาการรุนแรง hepatosplenomegaly, thrombocytopenia, petechiae, microcephaly, chorioretinitis, hepatitis และ sensorineural hearing loss
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติเกี่ยวกับประวัติการติดเชื้อในอดีต
การตรวจร่างกายมีไข้ คออักเสบ ต่อมน้ําเหลืองโต ข้ออักเสบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การเจาะเลือดส่งตรวจพบ Atypical Lymphocytes และเอ็นไซน์ตับสูงขึ้นพบเชื้อ CMV ในปัสสาวะ
3.2 Amniocentesis for CMV DNA PCR เพื่อยืนยันการติดเชื้อของทารกในครรภ์ เริ่มตรวจได้เมื่ออายุครรภ์ครรภ์21 สัปดาห์ แต่ไม่ช้ากว่า 6-7 สัปดาห์หลังจากการติดเชื้อ
3.3 การตรวจPlasma specimen for culture หรือquantitative real-time PCR
การตรวจพิเศษการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกัน
3.วิธีการหลักในการป้องกันคือการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ล้างมือด้วยสบู่
สตรีที่เคยมีประวัติการติดเชื้อ CMV ควรวางแผนเว้นระยะการมีบุตรไปก่อนอย่างน้อย 2 ปี
1.วัคซีนที่ให้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ CMV
การรักษา
1.การให้ immunoglobulin ของ anti-cytomegaloviral human
2.การให้ยาต้านไวรัสเช่นValtrex, Ganciclovil, Valavir
การประเมินอาการและอาการแสดงของทารกแรกเกิดที่มีการติดเชื้อ
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
1.ซักประวัติ
2.อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบเกี่ยวกับโรค
3.แนะนําและเน้นย้ําให้เห็นความสําคัญของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ เช่น การงดมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ระยะคลอด
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลในระยะหลังคลอดเหมือนมารดาทั่วไป
2.งดให้นมมารดา
3.แนะนําการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นย้ําเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด
4.แนะนําให้สังเกตอาการผิดปกติของทารก
6.การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
เป็นการติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัว Toxoplasma gondii การติดเชื้อเฉียบพลัน
มีพาหะหลักคือ แมว
โดยทั่วไปการติดเชื้อนี้มักหายได้เองหรือไม่มีอาการ
อาการและอาการแสดง
มักไม่ค่อยแสดงอาการ ถ้ามีจะมีอาการน้อย คืออ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ แต่อาจมีกลุ่มอาการของ Mononucleosis รายที่รุนแรงจะมีพยาธิที่สมอง Chorioretinitis ปอดบวม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รายที่รุนแรงมักพบในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การแท้ง คลอดก่อนกําเนิด ถุงน้ําคร่ําและเยื่อหุ้มทารกอักเสบ ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ไข้ ชัก ทารกหัวบาตร microcephaly, chorioretinitis, หินปูนจับในสมอง (Cerebral calcification) ตับและม้ามโต ตาและตัวเหลือง ทารกมักเสียชีวิตหลังคลอด และทารกที่ติดเชื้อ สมองและตาจะถูกทําลาย
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรค
การตรวจร่างกายมักไม่แสดงอาการ หรือมีอ่อนเพลียเล็กน้อย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1การตรวจเลือดหา DNA ของเชื้อ ทดสอบน้ําเหลืองดู titer IgG และ IgM หากมีการติดเชื้อเฉียบพลันเมื่อตรวจสอบน้ําเหลืองซึ่งจะเริ่มตรวจพบ แอนตี้บอดีย์ IgM ที่จําเพาะต่อเชื้อภายใน 10วันของการติดเชื้อ จนสูงสุดใน 1เดือน และให้ผลลบ 3-4 เดือน
3.2 การวินิจฉัยก่อนคลอด โดยการตรวจเลือดสายสะดือทารกหรือน้ําคร่ํา พบ IgA และ IgM
3.3 การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
แนวทางการป้องกันและการรักษา
1.ให้ผู้อื่นเป็นผู้ดูแลแมวแทนในช่วงที่ตั้งครรภ์ ไม่ปล่อยให้แมวออกนอกบ้าน
2.หากจําเป็นต้องทําความสะอาดอุจจาระแมว สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
3.หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก ผักผลไม้ที่ไม่ผ่านการล้างไข่ดิบ นมสดที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์และควรล้างมือให้สะอาดหลังจับต้องเนื้อสัตว์ดิบ
ุ4.เมื่อต้องให้การดูแลสวนหญ้า แนะนําให้สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
ถ้าพบ IgM ในมารดา อนุมานว่ามีการติดเชื้อ และรักษาด้วย spiramycin จะช่วยลดการติดเชื้อในครรภ์ได้
การวินิจฉัยในทารกก่อนคลอด สามารถกระทําได้ การเจาะเลือดสายสะดือทารกเพื่อหาการติดเชื้อ และการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเปิดโอกาสให้ซักถาม และให้กําลังใจในการรักษา
ติดตามผลการตรวจเลือด
เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานยา และการสังเกตอาการข้างเคียงของยา
4.แนะนําเกี่ยวกับการสัมผัสเชื้อ
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันทีจากนั้นป้ายตาด้วย 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointment หรือ 1% Silver nitrate (AgNO3) หยอดตาตาทารก
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
แนะนําการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นเรื่องการรักษาความสะอาด การมาตรวจตามนัด