Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่มยายับยั้งการสังเคราะห์ผนังเซลล์ - Coggle Diagram
กลุ่มยายับยั้งการสังเคราะห์ผนังเซลล์
กลุ่มยา Penicilin
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์เป็น Bactericidal ยับยั้งการสังเคราะห์ผนังเซลล์ในขั้นตอนสุดท้าย
ยับยั้งขบวนการ Transpepidation ซึ่งเป็นปฏิกิริยาเชื่อมสาย Peptidoglycan ที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของผนังเซลล์
มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียทั้ง gr+ , gr- organism และแบคทีเรียรูปเกลียวสว่าน (Spirochaetes
ข้อบ่งใช้
Penicillin G
ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย gr+ เช่นติดเชื้อที่ผิวหนัง บาดทะยัก คอตีบ อาการเจ็บคอจากเชื้อ beta- hemolytic streptococci gr. A หนองในและซิฟิลิส
Cloxacillin
รักษาโรคที่เป็นฝีหนอง โรคติดเชื้อStaphylococci
Amoxicillin
ใช้ในการรักษาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ผิวหนังอักเสบ
Dicloxacillin
รักษาโรคติดเชื้อ แบคที่เรียนทางผิวหนัง เหมือนCloxacillin
Ampicillin/clavulanate Ampicillin/Sulbactan
ใช้รักษาการติดเชื้อH.influenzae ที่ดื้อต่อยาAmpicillin การติดเชื้อผสมระหว่างแบคทีเรียชนิด Aerobes และ Anaerobes
ผลข้างเคียง
การแพ้ยา
ได้แก่ ผื่นแบบ Macula popular rash ลมพิษ เป็นไข้ ข้อบวม อาจเป็นรุนแรง มากถึงกับเกิด Anaphylactic shock ได้
เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร
ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเดิน
มีการเปลี่ยนแปลงของ Microflora ในทางเดินอาหาร
เกิด Thrombophlebitis ได้เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
เกิดอาการชักได้ในผู้ป่วยที่ไตทำงานผิดปกติ และทารกแรกเกิดที่การทำงานของท่อไตไม่สมบูรณ์
ไตอักเสบ
โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก
ยา Oxacillin อาจทำให้ตับอักเสบ
ยา Ampicillin อาจทำให้เกิด Pseudomembranous colitis
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ร่วมกับยากลุ่มยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย (Bacteriosteriostatic ) เพราะยาจะต้านฤทธิ์กัน
ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยากลุ่ม Penicillin
หากใช้ร่วมกับยาคุมกำเนิด จะลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิด
หากใช้ร่วมกับยากลุ่ม B-blocker จะเกิดการแพ้รุนแรงขึ้น
คำแนะนำในการใช้ยา
การรับประทานยา Penicillin หลังมื้ออาหารจะช่วยให้ดูดซึมได้ดี
ยา Penicillin บางตัวรับประทานตอนท้องว่างจะดูดซึมได้ดีกว่า โดยรับประทานยาก่อนอาหารครึ่งถึง 1 ชั่วโมง
สำหรับผู้ที่รับประทานยา Penicillin G ไม่ควรดื่มน้ำส้ม น้ำองุ่น หรือน้ำผลไม้และเครื่องดื่มที่มีกรดภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยาเข้าไป
ส่วนผู้ที่รับประทานอะม็อกซี่ซิลลินแบบน้ำ สามารถผสมกับนม น้ำผลไม้ น้ำขิงแดง หรือเครื่องดื่มอื่น ๆ เพื่อดื่มได้ และควรดื่มให้หมดทันที
ยากลุ่ม cephalosporins
กลไกการออกฤทธิ์
ยับยั้งการสังเคราะห์ผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรีย โดยจับกับ Penicillin-binding protein(PBP)ส่งผลยับยั้งเอนไซม์ Transpeptidase ใน PBP จึงทำให้ไม่สามารถสร้างผนังเซลล์ได้
ยายังออกฤทธิ์กระตุ้นเอนไซม์ Autolysis ซึ่งส่งผลให้เชื้อแบคทีเรียย่อยสลายตัวเองมากขึ้น
ยานี้ออกฤทธิ์เป็น Bactericide อาจเป็น Bacteriostatic ได้ขึ้นกับชนิดและอัตราเร็วในการแบ่งตัวของเชื้อ ขนาดที่ใช้ และความเข้มข้นของยาในเนื้อเยื่อ
ข้อบ่งใช้
กลุ่มยา First และ second generation
Cefauzolin
มีค่าครึ่งชีวิตนาน จึงเหมาะที่จะนำมาใช้ป้องกันการติดเชื้อจากการผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด
First generation
เข้ากระดูกได้ดีมากทั้งแบบรับประทานและฉีด รักษาอาการติดเชื้อที่กระดูกและข้อ ส่วนCefmandole เข้าสู่กระดุกได้ดีแต่ใช้เวลานานกว่า
รักษาอาการติดเชื้อที่ปอดอักเสบที่เกิดขึ้นนอกโรงพยาบาล ใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน ตับแข็งอยู่ก่อน
รักษาอาการติดเชื้อที่ทางเดินอาหารและน้ำดี Cefuroxime และ Cefoxitin จะเข้าสู่น้ำดีได้ดีกว่าตัวอื่น แต่Cefoxitin ทนต่อ beta-lactanase ได้ไม่ดีจึงทำให้เกิดการดื้อยา
รักษาอาการติดเชื้อทางสูตินารีเวช เช่นการผาตัดคลอดใช้ Cefoxitin
Third generation
เยื่อหุ้มสองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย gr-
โรคหนองใน: Cefotaxime และ Ceftriaxone
การติดเชื้อในโรงพยาบาลที่เกิดจากเชื้อดื้อต่อCephalosporins 2 กลุ่มแรก และAminoglycosides
Fourth generation
มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อgr+ สูงกว่า Third generation
มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ Enterobacteriaceae, Enterococi และ gram- ve bacerias สูง
ผลข้างเคียงของยา
การแพ้ยา
ที่พบมากคือ ลมพิษ ผื่นคัน อาจพบอาจไข้ได้ การแพ้ยานี้มักพบในรายที่มีประวัติ การแพ้ Penicillins ด้วย Anaphylaxis พบน้อย
ผลต่อระบบทางเดินอาหาร
ชนิดให้ทางปาก ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดินได้ ซึ่งมักจะไม่รุนแรง
ชนิดที่ให้ทางปากและฉีด อาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ และ Pseudomembranous colitis (จากมีการเจริญของ Clostridium difficile) ได้
ผลต่อไต
พบไม่มาก พบจาก Cephaloridine ได้มากที่สุด
การกดไขกระดูก
เมื่อใช้ยาCefamandole, Moxalactam, Cefoperazone อาจทำให้ Prothrombin time เพิ่มขึ้นได้เนื่องจากยามีผลยับยั้ง Intestinal flora ทำให้การสร้างวิตามินเคลดลง
ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง
โดยเกิด Disulfram like effect ซึ่งจะพบอาการปวดศีรษะ วิงเวียน มีนงง เมื่อยล้า ได้เมื่อใช้ยา Cefotetan, Moxalactamและ Cefoperazone
การติดเชื้อแทรกซ้อน
โดยเฉพาะเชื้อรา Candida และ Pseudomonas เพิ่มกว่าปกติ
หลอดเลือดดำอักเสบ
จากการฉีดเข้าหลอดเลือดดำขนาดสูงเป็นระยะเวลานาน
ทำให้เกิด Hypothrombinemia
จากการใช้ยากลุ่มที่มีหมู่ MTT
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ยากลุ่ม Cephalosporins และ Penicillins
หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มนี้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
คำแนะนำการใช้งาน
Cephalosporins เป็นยาใช้ภายใต้คำสั่งของแพทย์ ควรรับประทานยาตามปริมาณและระยะเวลาที่แพทย์กำหนดเท่านั้น
หากเป็นยาชนิดน้ำแขวนตะกอนควรเขย่าขวดก่อนรับประทานทุกครั้ง และใช้ถ้วยสำหรับวัดปริมาณหรือตวงยาโดยเฉพาะ เพื่อให้ได้ปริมาณยาที่ถูกต้อง
ควรรับประทานยาอย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาที่แพทย์แนะนำ แม้อาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม เพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อถูกกำจัดจนหมดแล้ว การหยุดใช้ยาก่อนกำหนดอาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการดื้อยาได้
หากลืมรับประทานยาควรรับประทานทันทีที่นึกได้ แต่หากใกล้ถึงเวลารับประทานยาในรอบต่อไป ให้ข้ามไปรับประทานยาในรอบถัดไปเลย ไม่ต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
ก่อนใช้ยาควรตรวจดูวันหมดอายุทุกครั้งเพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากการใช้ยาหมดอายุ
เก็บรักษายานี้ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร โดยเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องและห่างจากแสงแดด
ยากลุ่ม Carbapenems
ยาในกลุ่มนี้ขึ้นทะเบียนในประเทศไทย 4 ชนิด
Imipenem / Cilastatin
Meropenem
Doripenem
Ertapenem
ยาครอบคลุมเชื้อค่อนข้างกว้างทั้ง gr + และ gr รวมทั้ง Anaerobes, Nocardia spp.
เชื้อที่สร้างและไม่สร้าง Extended spectrum B-lactamase enzyme จะไวต่อยากลุ่มนี้ทั้งหมดยกเว้นเชื้อ P. aeruginosa และ A. baumanni ที่ดื้อต่อยา Ertapenem
Ertapenem จึงไม่เหมาะสำหรับใช้เป็น Empirical therapy ในผู้ป่วยติดเชื้อในโรงพยาบาล
Glycopeptide
Vancomycin และ Teicoplanin
ยาทั้ง 2 ตัวถูกนำมาใช้ในการรักษาการติดเชื้อ S. aureus โดยเฉพาะการติดเชื้อ S. aureus ที่มาจากชุมชน
ยานี้ทำให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ได้ไม่น้อยกว่า B-lactam
กรณีติดเชื้อ Methicillin-Resistant Staphylococcus Aureus (MRSA) ซึ่งเป็นการตอดเชื้อในโรงพยาบาลจะไม่เลือกใช้ยากลุ่มนี้
Fosfomycin (ฟอสโฟมัยซิน) หรือ Phosphonomycin (ฟอสโฟโนมัยซิน)
สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิดโดยเฉพาะ Streptomyces
โครงสร้างยาไม่เหมือนยาปฏิชีวนะอื่นทั่วไปยาจะมี Phosphoric acid เป็นตัวจับกับขั้นตอนแรกของการสร้างผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรีย
สามารถยับยั้งการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ได้ด้วยยากลุ่มนี้ไม่เกิด Cross resistance กับยากลุ่มอื่น
ไม่มีความเสี่ยงในการดื้อยาเหมือนยาอื่น ๆ ยานี้ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะกระเพาะ