Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาเตียง 19 Hyponatremia (ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ), 15134764…
กรณีศึกษาเตียง 19
Hyponatremia (ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ)
ข้อมูลผู้ป่วย
ผู้ป่วยชายไทย อายุ 57 ปี อาชีพ ค้าขาย รู้สึกตัวดี ถามตอบรู้เรื่อง ทำตามคำสั่งได้ สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ทุกอย่าง อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาลอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน 1 ปีก่อนมาโรงพยาบาล ได้รับการวินิจฉัยเป็นความดันโลหิตสูง ไวรัสตับอักเสบ ซี ติดเชื้อ HIV (B24) รักษาที่สถาบันบำราศนราดูร 1 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล เหนื่อยมากขึ้น จึง Admit BIDI ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต เป็นความดันโลหิตสูง ไวรัสตับอักเสบ ซี (HCV) ติดเชื้อ HIV (B24) ไขมัน ในเลือดสูง ได้รับการวินิจฉัยโรค (Diagnosis) คือ Hyponatremia ความหมาย ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ
Hyponatremia
พยาธิ
เมื่อเกิด hyponatremia น้ำภายนอกเซลล์จะกระจายเข้าไปในเซลล์ต่างๆ จนกระทั่ง osmolarity ของน้ำนอกเซลล์และในเซลล์เท่ากัน ดังนั้นเซลล์จะบวมขึ้น โดยเฉพาะเซลล์สมอง อาการและอาการแสดง จึงเป็นผลจากการบวมของเซลล์สมอง อาการนอกจากจะขึ้นอยู่กับระดับของโซเดียมว่าต่ำมากน้อยแค่ไหนแล้ว ยังขึ้นกับอัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับโซเดียมด้วย ถ้าการเปลี่ยนแปลงของระดับโซเดียมเกิดค่อยเป็นค่อยไป ก็จะลดความรุนแรงของการบวมของเซลล์สมองลงได้
อาการและอาการแสดง
ซึม สับสน อาการปวดศีรษะ อ่อนล้าหมดแรง ซึมลง คลื่นไส้ อาเจียน ชัก หมดสติ
เปรียบเทียบกับกรณีศึกษา
ผุ้ป่วยมีโรคประจำตัว คือ ไวรัสตับอักเสบ ชนิด ซี ร่วมกับมีโรคประจำตัวหลายโรค ได้รับการจำกัดน้ำไม่เกิน 800 CC/วัน ได้รับยา NaCl และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ Sodium 123 mmol/L
สาเหตุ
ภาวะขาดน้ำ, ดื่มน้ำมากเกินไป, ฮอร์โมนผิดปกติ, มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ไต และตับ, การใช้ยาบางชนิด, การใช้สารเสพติด
ภาวะแทรกซ้อน
สมองบวม ซึ่งอาจนำไปสู่การชัก หมดสติ หรือเสียชีวิตได้ (ในกรณีที่เกิด Hyponatremia แบบเฉียบพลัน)
ระบบประสาทเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร หรือชัก (ในกรณีที่เกิด Hyponatremia แบบเรื้อรัง)
เสี่ยงต่อการหกล้ม กระดูกหัก มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ (ในผู้ป่วยสูงอายุ)
ปัจจัยเสี่ยง
อายุพบว่าผู้สูงอายุจะมีภาวะนี้บ่อยเนื่องจากมีโรคประจำตัว
มีโรคประจำตัวเช่น โรคไต โรคตับ
อาหาร รับประทานอาหารจืดเป็นประจำจะเพิ่มความเสี่ยง
การออกกำลังกายอย่างหนัก และดื่มน้ำมาก หรืออากาศร้อนจะทำให้ร่างกายเสียเหงื่อมาก
การรักษา
ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดต้องวัดชีพจร ตรวจความดันโลหิต รวมถึงใส่สายสวนปัสสาวะ เพื่อวัดปริมาณการขับออกของเหลว
ให้โซเดียมแบบยาเม็ดหรือแบบฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ
งดให้ของเหลวชั่วคราว และให้ใช้ยาขับปัสสาวะ เพื่อช่วยเพิ่มระดับโซเดียมในเลือด (หากสาเหตุคือการรับน้ำเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากโซเดียมในร่างกายต่ำ
4.เสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS)
2.เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรก
ซ้อนเนื่องจากอัลบูมินในเลือดต่ำ
เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อไวรัสตับอักเสบ ชนิด ซี เนื่องจากขาดความรู้ในการปฏิบัติตัว
มีโอกาสเกิดภาวะแทรก
ซ้อนเนื่องจากโซเดียมในร่างกายต่ำ
6.วิตกกังวลเนื่องจาก ขาดความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษา การเปลี่ยนแปลงแบบแผนการดำเนินชีวิต
HIV
พยาธิ
เอดส์ เป็นระยะสุดท้ายของ HIV infection เป็นระยะที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลายจนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้ (opportunistic infection) การดำเนินโรคของ HIV นับตั้งแต่เริ่มติดเชื้อใหม่ ๆ จะมีไวรัสมากในกระแสเลือด ต่อมาระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทั้ง humoral immunity และ cellular immunity จะมีการทำลายไวรัสและทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อซึ่งเป็นการจำกัดขอบเขตและการลุกลามของโรคแต่พอถึงระยะหนึ่งจะมีการลดลงของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด CD4 (T helper cell)
อาการและอาการแสดง
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไข้ต่ำๆ ต่อมน้ำ เหลืองโต ท้องเสีย ถ่ายเหลว อ่อนเพลีย น้ำหนักลดมากและรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ
เปรียบเทียบกับกรณีศึกษา
ผู้ป่วยบอกว่า "สมัยเป็นหนุ่มๆลุงชอบเที่ยว เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ลุงมีภรรยาหลายคนมาก"
ได้รับการวินิจฉัยว่า ติดเชื้อ HIV และรักษาต่อเนื่อง
สาเหตุ
ทางเพศสัมพันธ์ (heterosexual), ทางเลือด (blood donor), การติดเชื้อจากแม่ที่ติดเชื้อเอดส์สู่ลูกที่อยู่ในครรภ์
ปัจจัยเสี่ยง
เปลี่ยนคู่นอน, ใช้เข็มร่วมกัน, สัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำเหลือง หนอง, การใช้สารเสพติด
ภาวะแทรกซ้อน
การติดเชื้อฉวยโอกาส เช่น เชื้อรา การติดเชื้ออวัยวะภายใน
มะเร็ง เนื่องจากเมื่อระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง เซลล์มะเร็งก็มีโอกาสเจริญแบ่งตัวมากขึ้น
โรคแทรกซ้อนทางสมองได้แก่ อาการที่เกิดจากเชื้อไวรัสทำลายเนื้อสมอง ผู้ป่วยอาจมีอาการทางสมองได้หลายอย่าง เช่น ซึม โวยวาย ความจำเสื่อมหมดสติ ชัก อาการคล้าย โรคจิต เป็นต้น
การรักษา
การใช้ยายับยั้งการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัส หรือยาต้านเชื้อไวรัสซึ่งต้องรับประทานตลอดชีวิตเรียกว่า Antiretroviral therapy
การใช้ยารักษาโรคติดเชื้อต่างๆที่เกิดขึ้นจากการมีภูมิคุ้มกันต้าน ทานโรคบกพร่อง ขึ้นอยู่กับว่าผู้ป่วยติดเชื้อชนิดใด เช่น ติดเชื้อวัณโรคก็ให้ยารักษา วัณโรค ติดเชื้อราก็ให้ยารักษาเชื้อรา หรือถ้าเป็นโรคมะเร็งก็รักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น
ไวรัสตับอักเสบ ชนิด ซี
สาเหตุ
มีการติดเชื้อจากทางเลือด, การเสพยาเสพติดด้วยการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน มีคู่นอนหลายคน, การเจาะหูหรือสักลายตามร่างกายโดยใช้เครื่องมือที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อให้ถูกต้อง แม้กระทั่งการใช้แปรงสีฟัน กรรไกร หรือที่ตัดเล็บร่วมกับผู้อื่น
อาการและอาการแสดง
ดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง บวม มีน้ำในช่องท้อง ปวดชายโครงขวา ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ ตับม้ามโต
เปรียบเทียบกับกรณีศึกษา
ผู้ป่วยมีอาการตัวเหลือง ตาเหลืองผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ Liver function test พบ Albumin ต่ำ 2.8 g/dl พบ AST/SGOT สูง 197 AST/SGPT สูง 198
พยาธิ
ไวรัสตับอักเสบซี คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดซี สามารถติดต่อกันทางเลือดหรือเพศสัมพันธ์คล้ายกับไวรัสตับอักเสบบี แต่ไม่สามารถติดต่อกันได้ทางการให้นมบุตร การจามหรือไอรดกัน การรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำด้วยกัน และการใช้ถ้วยชามร่วมกัน เมื่อเข้าไปในร่างกายจะแบ่งตัวและอาศัยอยู่ในตับ ระยะแรกทำให้เกิดตับอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งมักจะมีอาการไม่มาก ทำให้ผู้รับเชื้อไม่ทราบว่ามีตับอักเสบ โดยประมาณเกือบ 8% ของผู้ที่ได้รับเชื้อจะมีการติดเชื้อเรื้อรังและตามมาด้วยตับอักเสบแบบเรื้อรังแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ค่อยมีอาการชัดเจน ผ่านไปประมาณ 10-30 ปีจึงเข้าสู่ระยะตับแข็ง และอีกสิบปีต่อมาจึงถึงระยะท้ายของโรคตับแข็ง เมื่อมีโรคตับแข็งเกิดขึ้นจะมีโอกาสเกิดมะเร็งตับได้ประมาณ 1-3% ต่อปี
ปัจจัยเสี่ยง
การเสพยาเสพติดด้วยการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน หรือผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน มีคู่นอนหลายคน
การรักษา
ภาวะแทรกซ้อน
มะเร็งตับ (Liver Cancer) มีผู้ป่วยจำนวนไม่มากที่มีการอักเสบของตับที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบ ซี แล้วจะพัฒนาเป็นมะเร็งตับ แต่ในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก็มีโอกาสเกิดมะเร็งตับได้
ตับวาย (Liver Failure) หากเป็นตับแข็งที่มีความรุนแรงมากแล้วอาจทำให้ตับหยุดการทำงานได้
ตับแข็ง (Cirrhosis) มักเกิดหลังจากที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี มาแล้ว 20-30 ปี โดยตับจะเกิดการอักเสบและถูกทำลายจนทำให้ตับไม่สามารถทำงานได้ปกติ
นางสาวธนพร รูปทรง เลขที่ 31 ปี 3A รหัส 613601032