Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่3(part1) การตรวจประเมินร่างกายทุกระบบ, 1, 2, 3, 4, 5, 6 - Coggle…
บทที่3(part1) การตรวจประเมินร่างกายทุกระบบ
การตรวจร่างกาย
เป็นการประเมินโครงสร้างและหน้าที่หรือลักษณะทางกายภาพและหน้าที่ของร่างกาย โดยใช้เทคนิคการดู คลํา เคาะ ฟังในการตรวจร่างกาย
เครื่องมือในการตรวจร่างกาย
เครื่องชั่งน้ำหนัก
ที่วัดส่วนสูง
ไฟฉาย
ไม้กดลิ้น
เทปวัดขนาดหรือ ความยาว
เข็มปลายทู่หรือปลายแหลม
นาฬิกา
สําลี
หูฟัง (Stethoscope)
แผ่นทดสอบสายตา (Snellen’s Chard)
เครื่องวัด ความดันโลหิต
ผ้าคลุมตัวผู้ป่วย
ปรอทวัดอุณหภูมิร่างกาย (Thermometer)
ถุงมือสะอาดและสิ่งหล่อลืน
เครื่องส่องดูลูกตา (Ophthalmoscope)
ส้อมเสียง
ไม้เคาะเข่า
ชามรูปไต หรือถุงพลาสติก
เครื่องส่องดูภายในรูหู(Otoscope)
เครื่องถ่างรูจมูก Nasal Speculum
เทคนิคการตรวจร่างกาย
การดู(Inspection)
วิธีการดู ดูให้ทั่วและดูให้เป็นระบบจากด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลังโดยดูเปรียบเทียบกันทั้งสองข้างผู้ตรวจต้องทราบด้วยว่าอวัยวะที่ดีปกติเป็นอย่างไรจึงจะสามารถแยกสิ่งที่ผิดปกติออกจากสิ่งที่ปกติได้ดูลักษณะที่สัมพันธ์กับโรค เช่น เหลือง ให้นึกถึง ดีซ่าน
เป็นการสังเกตโดยใช้สายตาสังเกตภาวะสุขภาพสํารของร่างกายว่าผิดปกติหรือไม่เริ่มตรวจตั้งแต่ผู้ป่วยเดินเข้ามาว่า เป็นนอย่างไรอวัยวะต่างๆมีใครช่วยพยุงมาหรือไม่รวมทัง/ดูลักษณะ และอากัปกิริยาของผู้ป่วยตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า สีหน้า ท่าทาง ผิวพรรณอาการแสดงต่างๆทั้งที่ปกติและผิดปกติเช่นการอักเสบเป็นฝั่งบริเวณที่เป็นจะมีลักษณะบวม แดงร้อน หรือมีหนอง
การคลํา (Palpation)
หลักการคลำ คลําบนร่างกายของผู้ป่วยที่ปราศจากเสื้อผ้า ผู้ตรวจต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงวิธีการตรวจอย่างชัดเจน และมีการจัดการตรวจโดยการคลําที่มิดชิด ไม่ควรเป็นเผย ให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอนในท่าที่สะดวกต่อการคลํา และอยู่ในท่าที่สบาย ผู้ตรวจจะใช้ฝ่ามือหรือนิ้วมือข้างที่ถนัดคลํา มือต้องอุ่นขณะตรวจผู้ป่วย ขณะคลําให้ผู้ตรวจสังเกตสีหน้าท่าทางผู้ป่วยตลอดเวลาด้วย เพื่อจะได้ประเมินอาการได้แม่นยำการคลําจะคลําเบารอบอวัยวะที่ตรวจก่อน โดยคลําทั่วๆเพื่อหาบริเวณที่เจ็บหรือมีก้อนการคลําลึกๆเป็นการคลําสองมือ เพื่อแยกอวัยวะต่างๆในช่องท้องหรือช่องเนื้อเยื่อต่างๆออกจากการตรวจคลําบริเวณเจ็บหลังสุด เพื่ออตรวจขอบเขตที่แท้จริงของบริเวณที่ผิดปกติหรือมีพยาธิสภาพ
วิธีการคลํา 1) การคล้ามือเดียว (UNIMANUAL PALPATION) ใช้นิ้วมือ ฝ่ามือ ข้างใดขางหนึ่งที่ถนัดคลําตรงตําแหน่งที่ต้องการจะตรวจ 2) การคล้าสองมือ (BIMANUAL PALPATION)ใช้มือทังสองข้างช่วยการคลำพร้อมกัน
การเคาะ percussion
เป็นการใช้ปลายนิ้วฝ่ามือ สันมือหรือกำปั้นทุบเพื่อตรวจดูว่า มีความเจ็บปวดหรือไม่และฟังเสียงของการเคาะเพื่อจะหาตําแหน่ง ขนาด และความหนาแน่นทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของเสียงไปกระทบอวัยวะเกิดเสียงสะท้อนกลับคืนมาคือ เสียงโปร่ง (Resonance)โปร่งมาก (Hyperresonance) เสียงกังวาน(Tympany) เสียงทึบ (Dullness) หรือเสียงทึบมา
หลักการเคาะ
การเคาะ ควรใช้การเคลื่อนที่ของข้อมือข้างที่ถนัดไม่ใช้นิ้วหัวมือหรือข้อศอก
การเคาะเพื่อฟังเสียงทึบ ต้องเคาะแรง เรียก Sonorous Percussion ถ้าเคาะหาขอบเขตของอวัยวะ ควรค่อยๆเคาะลงแล้วเคาะไล่ไปตามบริเวณต่างๆเรียกDefinitive Percussion
การเคาะอวัยวะที่มี2 ด้าน ให้เคาะตําแหน่งเดียวกันสลับซ้ายขวา
ขณะทำการเคาะควรสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเสียง
-วิธีการเคาะ
การเคาะโดยตรงใช้ปลายนิ้ว มือทั้งสองถึงสามนิ้ว คือนิ้ว ชี้นิ้วลางและนิ้วนาง งอเล็กน้อยหรือใช้ฝ่ามือ สันมือหรือกําปั้นข้างที่ถนัดเคาะ
การเคาะผ่านที่รองรับคือการครอบพานลงบนที่รองรับโดยใช้ฝ่ามือข้างไม่ถนัดวางลงบนอวัยวะที่จะเคาะข้อนิ้ว กลางถ้าบนตําแหน่งที่ต้องการ ตรวจให้แนบสนิทเคาะให้กระดกข้อมือข้อ 2 จังหวะ1 2 1 2 และควรขอแค่2-3ครั้ง
4.การฟัง Auscultation
เป็นการตรวจโดยอาศัยการได้ยินซึ่งโดยทั่วไปแล้ว จะมีเครื่องช่วย ฟังเพื่อให้ชัดเจนขึ้นเรียกว่าหูฟัง(Stethoscope)เป็นการตรวจแยกโรคในระบบหัวใจ หลอดเลือด ระบบหายใจและระบบทางเดินอาหาร
หลักการฟัง- ห้องตรวจต้องเงียบ ไม่มีเสียงรบกวนภายนอก
การฟังจากบนลงล่าง หรือซ้ายไปขวาเพื่อเปรียบเทียบสียงที่ได้ในระดับเดียวกัน
ระวังการกระทบกันของท่อสายยาง และนิ้วของผู้ตรวจไปเสียดสีกับท่อสายยาง หรือหูฟัง
การใช้หูฟังส่วนนอก ด้านแบน หรือด้านตลับ (Diaphragm)จะช่วยเสียงที่มีความถี่ให้ค่อยลง ทําให้ได้ยินเสียงที่ความถี่สูงเพิ่มขึ้น
การใช้หูฟังส่วนนอกด้านกรวย หรือด้านระฆัง (Bell) จะใช้ฟังเสียงที่มีความถี่สูงและต่ำ
การใช้หูฟังในตำเเหน่งที่ต้องการจะตรวจไม่ควรมีสิ่งที่ปกปิดหรือบังผ่านเสื้อผ้า เพราะอาจทําให้สียงที่ได้ยิน ผิดพลาด
หลักการฟัง
การฟังโดยตรง (Direct Auscultation) หมายถึง การฟังด้วยหูฟังโดยตรงไม่ผ่านตัวกลางหรือเครื่องมือ
การฟังโดยใช้เครื่องมือ (Indirect Auscultation) หมายถึง การฟังโดยตัวกลางเพื่อให้ได้ยินเสียงที่ชัดเจนขึ้น