Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดและหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ - Coggle Diagram
แนวคิดและหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์
นักเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญ
อดัม สมิธ ชาวอังกฤษ ได้รับสมญา บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์จุลภาค
เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในส่วนย่อยครัวเรือนหรือธุรกิจเพียงหน่วยใดหน่วยหนึ่ง
เศรษฐศาสตร์มหภาค
เป็นการศึกษาของเศรษฐกิจส่วนรวม เป็นการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจทุกหน่วยในสังคม เช่นรายได้ระดับประชาชาติ
สินค้าหรือบริการ
1.สินค้าได้เปล่า ในสินค้าหรือบริการประเภทนี้สามารถนำมาบำบัดความต้องการของผู้บริโภคได้ โดยที่ผู้บริโภคไม่จำเป็นที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
2.สินค้าประเภทเศรษฐทรัพย์ ในสินค้าหรือบริการประเภทนี้สามารถนำมาบำบัดความต้องการของผู้บริโภคได้ดังสินค้าประเภทแรก แต่จะแตกต่างกันที่ว่า จะต้องมีสิ่งของ หรือสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งสินค้าประเภทนี้มักจะมีอยู่อย่างจำกัด
ปัจจัยการผลิต
2.แรงงาน (labor) การใช้แรงงานจะต้องเป็น การใช้แรงงานที่ได้รับค่าตอบแทนเป็นตัวเงินหรือสิ่งของอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
3.ทุน (capital) คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในกระบวนการการผลิตสินค้าและบริการหรือทุนคือการสะสมสินค้าในรูปแบบของเครื่งจักร เครื่องมือ อุปกรณ์การผลิตต่างๆ
1.ที่ดิน (land) ซึ่งรวมถึงทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภท ได้แก่ ที่ดิน ป่าไม้ น้า แร่ธาตุ ฯลฯ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เคลื่อนย้ายไม่ได้ มีปริมาณจากัด
4.ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) บุคคลที่สามารถนำปัจจัยการผลิตต่างๆ มาดำเนินการผลิต ให้มีประสิทธิภาพที่สุด
ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
2.ผลิตอย่างไร
1.ผลิตอะไร
3.ผลิตเพื่อใคร
ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆและแนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
2.ระบบสังคมนิยม ระบบเศรษฐกิจที่รัฐเข้าไปเป็นเจ้าของ
ปัจจัยการผลิตในภาคอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน เสรีภาพในการผลิตของเอกชนถูกก าจัดลงไป รัฐจะเป็นผู้วางแผน
และควบคุมการผลิต
3.ระบบคอมมิวนิสต์ เป็นระบบเศรษฐกิจที่ทรัพย์สินทุกอย่างเป็น
ของรัฐ เอกชนไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของใดๆ รัฐเข้าควบคุมการผลิตโดยสมบูรณ์
1.ระบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่ถือว่ากิจกรรม
ทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเป็นเจ้าของปัจจัยและการลงทุนในการผลิตเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน
4.ระบบเศรษฐกิจแบบผสม ระบบเศรษฐกิจที่รัฐมีส่วนใน
กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศหลายประการ แต่กิจกรรมส่วนใหญ่ยังเป็นของเอกชนอยู่ ในระบบนี้รัฐบาลและ
เอกชนต้องรับผิดชอบร่วมกัน
แนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ แนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจจะถูกกำหนดมาจากส่วนกลางหรือรัฐบาล
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม แนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นฐานของระบบ
เศรษฐกิจนี้จึงใช้กลไกรัฐเป็นกลไกส าคัญในการจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม จะใช้กลไกตลาด (ราคา) หรือที่มักเรียกว่า มือ
ที่มองไม่เห็น เป็นเครื่องมือหรือกลไกในการแก้ไขปัญหา
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม แนวทางการแก้ไขปัญหาจะใช้ทั้งกลไกราคาและกลไกรัฐร่วมกันไป