Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัด การเคลื่อนไหวและการออกกาลังกาย -…
การพยาบาลผู้ป่วยในระยะก่อน-หลังผ่าตัด
การเคลื่อนไหวและการออกกาลังกาย
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การประเมินผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
การประเมินผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด เป็นการประเมินความพร้อมทั้งด้านร่างกาย และสภาพจิตใจของผู้ป่วย เพื่อลดความเสี่ยงของการผ่าตัดและการให้ยาระงับความรู้สึก
การซักประวัติ
ประวัติโรคประจำตัว ควรครอบคลุมถึงอาการ ความรุนแรงของโรค
ภาวะแทรกซ้อนของโรค และประวัติการรักษา ยาที่ใช้ประจา
ประวัติการผ่าตัด และการได้รับยาระงับความรู้สึกก่อนหน้านี้ โดยครอบคลุมถึงวิธีการให้ยาระงับความรู้สึก และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
ประวัติการแพ้ยาหรืออาหาร
การใช้ยา สารเสพติด การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
ประวัติของคนในครอบครัวหรือญาติที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้รับยาระงับ
ความรู้สึก ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคทางพันธุกรรมที่มีผลต่อการได้รับยาระงับความรู้สึก
ประวัติเกี่ยวกับโรคของระบบต่างๆ ของร่างกาย
การตรวจร่างกาย
เป็นการประเมินผู้ปุวยเพิ่มเติมจากการซักประวัติ เพื่อช่วย
บอกถึงโรคหรือความผิดปกติที่อาจไม่ได้ข้อมูลจากการซักประวัติ
การส่งตรวจอื่นๆ
การตรวจประเมินทางระบบหายใจ
การตรวจร่างกายตามระบบ โดยเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรคหรือบริเวณที่
จะทาการผ่าตัด
การชั่งน้าหนัก วัดส่วนสูง
สัญญาณชีพ
การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากการซักประวัติและตรวจร่างกาย สามารถใช้เป็น Screening tests นอกจากนี้จะช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค
การเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
ภายหลังจากการประเมินสภาพผู้ปุวยแล้ว พยาบาลจะทำการเตรียมผู้ป่วยเพื่อให้พร้อมสำหรับการผ่าตัด รวมไปถึงการปฏิบัติตัวภายหลังผ่าตัด
การเตรียมผู้ป่วย ซึ่งระยะเวลาก่อนผ่าตัด
ระยะเวลาตั้งแต่ผู้ปุวยเริ่มตระหนักว่ามีบางสิ่งผิดปกติ และแพทย์วินิจฉัยว่าต้องผ่าตัดจนกระทั่งเวลาที่แพทย์จะลงมือผ่าตัด
พยาบาลเตรียมผู้ปุวยก่อนผ่าตัด ดังนี้
ด้านร่างกาย
ภาวะสมดุลทางด้านร่างกายก่อนผ่าตัดมีความสาคัญเท่าๆ กับความสมดุลทางด้านจิตใจ เพื่อปูองกันหรือลดความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
วิธีการเตรียมทางด้านร่างกาย ดังนี้
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ต้องประเมินความสามารถในการทำงานของหัวใจ และหลอดเลือด เพื่อดูว่าร่างกายสามารถทนต่อการผ่าตัดได้หรือไม่
ระบบทางเดินหายใจ
ต้องประเมินสภาวะของปอดและหลอดลม ดูการทำงานของระบบทางเดินหายใจ
ระบบทางเดินปัสสาวะ
ต้องประเมินสภาวะของไต
ประเมินความสมบูรณ์ของร่างกายในการได้รับอาหารที่พอเหมาะ การได้รับอาหารที่ดีมีประโยชน์ที่เพียงพอ และถูกส่วน
ให้คาแนะนาและข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ปุวยควรทราบเพื่อลดความวิตกกังวล
ภาวะสารน้าและอีเล็คโทรลัยต์ในร่างกาย
ต้องประเมินสภาวะความสมดุลของสารน้า และอีเล็คโทรลัยต์ในร่างกาย
การพักผ่อนและการออกกำลังกาย
ต้องได้รับการพักผ่อนที่ดี และมีการออกกำลังกายที่พอเหมาะ
ด้านจิตใจ
ผู้ป่วยและครอบครัวส่วนใหญ่จะมีความวิตกกังวลเมื่อรู้ว่าตนเอง
หรือบุคคลในครอบครัวต้องผ่าตัด
เพื่อช่วยลดความวิตกกังวล ความกลัวต่างๆ พยาบาลควรให้ผู้ปุวยได้รับข้อมูลจริง ทาความเข้าใจ และแก้ไขเกี่ยวกับความเชื่อผิดๆ
การให้คำแนะนำการปฏิบัติหลังผ่าตัด
รวมทั้งการฝึกทักษะการปฏิบัติตัวในระยะหลังผ่าตัด
เพื่อทำให้การพักฟื้นหลังผ่าตัดเร็วขึ้น และช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดที่อาจเกิดขึ้นได้
คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด ได้แก่
Early ambulation ยกเว้นมีข้อห้ามหรือการผ่าตัดบางอย่างที่ต้องให้
ผู้ปุวย Absolute bed rest
Quadriceps Setting Exercise (QSE) เป็นการออกกาลังกายกล้ามเนื้อ
ต้นขา
Straight Leg Raising Exercise (SLRE) เป็นการออกกาลังขา ข้อสะโพกและกล้ามเนื้อต้นขาแบบยกขาขึ้นตรงๆ
Range of Motion (ROM) เป็นการออกกาลังข้อโดยมีการเคลื่อนไหวใน
ทุกทิศทางปกติของข้อต่าง ๆ ซึ่งร่างกายของคนมีส่วนเคลื่อนไหวหลัก
Deep-breathing exercises โดยจัดผู้ปุวยให้อยู่ในท่านอนหงายศีรษะ
สูง วางมือทั้ง 2 ข้างบนหน้าอกส่วนล่าง
Effective cough โดย จัดให้ผู้ปุวยอยู่ในท่านั่งเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย
ให้ผู้ปุวยประสานมือทั้ง 2 ข้าง และกดเบาๆ เหนือบริเวณที่คิดว่าจะมีแผลผ่าตัด
Abdominal breathing ในบางรายที่มีอาการปวดแผลหรือรับการผ่าตัด
บริเวณทรวงอก ให้หายใจเข้าออกโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องแทนทรวงอก
Turning and ambulation ควรทาทุก 2 ช.ม. เช่น พลิกตัวไปทางขวา
ให้ขยับตัวไปทางซ้าย ใช้มือซ้ายจับราวกั้นเตียงซ้าย แล้วพลิกมาทางขวา การลุกนั่ง
Extremity exercise ให้ผู้ปุวยนอนในท่าหัวสูงเล็กน้อยหรือนอนในท่าที่
สบาย ทาการออกกาลังแขนหรือขาทีละข้างโดยเฉพาะการเหยียดออกและงอเข้าของทุกข้อ
Pain management หลังผ่าตัดผู้ปุวยจะได้รับการระงับความเจ็บปวด
ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง
การเตรียมผู้ป่วยก่อนวันที่ผ่าตัด มีดังนี้
อาหารและน้ำดื่ม
ควรงดอาหารผู้ปุวยก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง สำหรับอาหารเหลวใสให้ได้ 6 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
การขับถ่าย
ถ้าเป็นการผ่าตัดเล็ก หรือการผ่าตัดที่ไม่เกี่ยวข้องกับอวัยวะในช่องท้อง แพทย์อาจให้สวนอุจจาระหรือไม่ก็ได้ หรือให้รับประทานยาระบายก่อนวันผ่าตัด
การผ่าตัดใหญ่หรือผ่าตัดเปิดสู่ช่องท้องแพทย์จะให้มีการสวนอุจจาระก่อนผ่าตัด สำหรับกระเพาะปัสสาวะควรว่าง
การเตรียมผิวหนังก่อนผ่าตัด
บริเวณศีรษะ
โกนผมบริเวณศีรษะออก เช็ดใบหู และทาความสะอาดช่องหูภายนอกด้วยไม้พันสาลีที่ปราศจากเชื้อ เตรียมบริเวณลงมาถึงแนวกระดูกไหปลาร้าทั้งหน้าและหลัง
บริเวณหูและปุมกระดูกมาสตอยด์
ให้ เตรียมบริเวณกว้างเป็นวงรอบออกไปจากหูประมาณ 1 – 2 นิ้ว โกนขนอ่อน ที่ใบหูด้วย
บริเวณคอ
เตรียมบริเวณจากใต้คางลงมาถึงระดับราวหัวนม และจากหัวไหล่ข้างขวาถึงข้างซ้าย
บริเวณทรวงอก
เตรียมด้านหน้าจากคอตอนบนจนถึงระดับสะดือจากแนวยาวของหัวนมข้างที่ไม่ได้ทาผ่าตัดไปจนถึงกึ่งกลางหลังของข้างที่ทา
บริเวณช่องท้อง
เตรียมตั้งแต่ระดับรักแร้ลงมาถึงฝีเย็บ
บริเวณท้องต่ากว่าสะดือ
เตรียมบริเวณตั้งแต่ระดับราวนมลงมาถึงต้นขา รวมทั้งบริเวณฝีเย็บด้วย
ไต
เตรียมด้านหน้าจากบริเวณรักแร้จนถึงบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และต้นขา ทั้ง
2 ข้าง ด้านข้างจากรักแร้ถึงตะโพก
ด้านหลังจากแนวกึ่งกลางลาตัวด้านหน้าอ้อมไปจนถึงกระดูกสันหลัง
ซีกของ ไตข้างที่จะทาการผ่าตัดนั้น
บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก
เตรียมตั้งแต่ระดับสะดือ ลงมาถึงฝีเย็บ และด้านในของต้นขาและก้น
แขน ข้อศอก และมือ
เตรียมบริเวณแขนข้างที่จะทาผ่าตัดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จากหัวไหล่ถึงปลายนิ้วมือ รวมทั้งโกนขนรักแร้ ตัดเล็บให้สั้นและทาความสะอาดด้วย
ตะโพกและต้นขา
เตรียมบริเวณจากระดับเอวลงมาถึงระดับต่ากว่า หัวเข่าข้างที่จะทำ 6 นิ้ว ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง
การทำ Skin graft ทาความสะอาดผิวหนังทั้งบริเวณ Donor site และ
Recipient site ให้กว้าง
หัวเข่า เตรียมจากขาหนีบถึงข้อเท้าข้างที่จะทาผ่าตัดโดยรอบ
ปลายขา เตรียมจากเหนือหัวเข่า ประมาณ 8 นิ้ว ลงมาถึงเท้าข้างที่จะผ่าตัดตัดเล็บเท้าให้สั้น และทาความสะอาดเล็บด้วย
เท้า เตรียมจากใต้หัวเข่าลงไปถึงเท้าข้างที่จะทาผ่าตัด ตัดเล็บเท้าให้สั้นและทำความสะอาดเล็บด้วย
การดูแลสภาพร่างกายทั่วไป จะมีการเตรียมดังนี้
ในคืนก่อนวันผ่าตัด
ให้ผู้ปุวยทำความสะอาดปาก ฟัน ถ้ามีฟันปลอมให้ถอดฟันปลอมออก
เพราะขณะที่ดมยากล้ามเนื้อคลายตัว ฟันปลอมอาจหลุดและตกลงไปในหลอดลมได้
ของปลอม ของมีค่าต่างๆ ถอดเก็บไว้ให้ญาติดูแลรักษา
สื่อไฟฟ้าต่างๆ ให้ถอดออก เนื่องจากสื่อไฟฟ้าต่างๆ จะทำให้เกิดไฟฟ้า สปาร์คขึ้นขณะทำการผ่าตัด
ไม่ให้ผู้ป่วยแต่งหน้า ทาปาก ทาเล็บ เพราะบริเวณเหล่านี้จะเป็นที่สังเกต
อาการเขียวคล้า ซึ่งเป็นอาการแสดงแรกเริ่มของการขาดออกซิเจน
ในเช้าวันที่จะผ่าตัด
ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดร่างกาย เปลี่ยนชุดสาหรับใส่เพื่อผ่าตัด และหวีผม
เก็บผมให้เรียบร้อย แล้วนอนพักอยู่บนเตียงตลอดเวลาจนกว่าจะไปห้องผ่าตัด
สังเกตภาวะทางอารมณ์ของผู้ปุวย ความกลัวการผ่าตัด
สังเกตสภาพร่างกายทั่วไป วัดและบันทึกสัญญาณชีพ อาการของผู้ป่วยลง
ในใบแบบฟอร์มผ่าตัด ถ้าผิดปกติ ให้รีบรายงานแพทย์ทราบ
การให้ยาแก่ผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
ช่วยให้ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวลและนอนหลับพักผ่อนได้ดี
ก่อนผ่าตัดประมาณ 45-90 นาที เพื่อลดรีเฟล็กซ์ที่ไวต่อการกระตุ้น ซึ่งเกิดได้จากความเจ็บปวด ความกลัว
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่พิเศษ
พยาบาลต้องเตรียมให้พร้อมเพื่อที่จะใช้หรือนาไปห้องผ่าตัด
แผ่นบันทึกรายงานต่างๆ ต้องบันทึกให้ครบ และรวบรวมให้เรียบร้อย
การส่งผู้ปุวยไปห้องผ่าตัด ให้ผู้ปุวยนอนบนรถนอน (Stretcher) ห่มผ้าให้เรียบร้อย ยกไม้กั้นเตียงขึ้น เจ้าหน้าที่ที่เข็นรถนอนต้องเข็นรถด้วยความนุ่มนวล
การดูแลครอบครัวผู้ป่วย พยาบาลต้องแจ้งให้ครอบครัวทราบถึงเวลาที่ผู้ป่วยจะเข้าห้องผ่าตัด ควรให้ญาติมาดูแล ให้กาลังผู้ปุวย
การเตรียมผ่าตัดผู้ปุวยฉุกเฉิน
สังเกตสภาพร่างกายทั่วไป อาการ และ สัญญาณชีพ ถ้าผิดปกติให้รีบรายงาน
ให้ผู้ปjวยหรือญาติที่มีสิทธิทางกฎหมายเซ็นใบยินยอมผ่าตัด
ทำความสะอาดและเตรียมผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัดให้เรียบร้อย ถอดฟันปลอม อวัยวะปลอมต่างๆ ของมีค่า เครื่องประดับ สื่อไฟฟ้าออก ล้างสีเล็บออกให้หมด
ถ้าผู้ป่วยไม่มีญาติมาด้วย พยาบาลต้องถามหรือหาที่อยู่ของครอบครัว เบอร์โทรศัพท์ของ ครอบครัว และรีบแจ้งให้ครอบครัวทราบโดยเร็วที่สุด
ให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทาได้ เพื่อตรวจปัสสาวะ และให้กระเพาะปัสสาวะว่าง ถ้าผู้ปุวยไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ แพทย์อาจให้สวนปัสสาวะ
วัดและบันทึกอาการ สัญญาณชีพ รวมทั้งการให้ยาก่อนผ่าตัด ลงในใบ
แบบฟอร์มก่อนผ่าตัด และใบแบบฟอร์มบันทึกทางการพยาบาลให้เรียบร้อย
เจาะเลือดเพื่อส่งตรวจ CBC และ Blood group ทันที ให้สารน้ำทำหลอดเลือดดำ ใส่สายยางทางจมูกเข้าไปในกระเพาะอาหาร ตามแผนการรักษา
การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
การประเมินสภาพผู้ป่วย ที่สาคัญมีดังนี้
แบบแผนกิจกรรมและการออกกาลังกาย
ประวัติโรคหัวใจ โรคปอด เบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่มีก่อนผ่าตัด
การเปลี่ยนแปลงสัญญาณชีพ ซึ่งบ่งบอกการทางานของหัวใจและหลอด
เลือด โดยการประเมินการหายใจ ความสามารถในการหายใจ และอุปกรณ์ที่ช่วยในการหายใจ
อุณหภูมิของร่างกายอาจพบมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่สูงกว่าปกติใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายหลังผ่าตัดจากเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บหรือจากการเสียน้ำ
หากมีไข้หลัง 24 ชั่วโมงอาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ
แบบแผนอาหารและการเผาผลาญ
ประวัติการได้รับและสูญเสียสารน้ำและเกลือแร่ ตั้งแต่ก่อนผ่าตัดจนถึงหลังผ่าตัด
ชนิดและปริมาณของสารน้ำที่ได้รับและออกจากร่างกาย
ภาวะโภชนาการ และปริมาณแคลอรี่ของอาหารที่ได้รับในแต่ละวัน การรับรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการ และการเรียนรู้การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับโรคและพยาธิสภาพหลังผ่าตัด
แบบแผนการขับถ่าย ควรประเมินในเรื่องต่อไปนี้
ประวัติการเสียเลือด สารน้าทางปัสสาวะ การขับถ่ายที่ปกติก่อนและหลัง
ผ่าตัด
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงในแบบแผนการขับถ่ายปัจจุบัน
การทำงานของไต
แบบแผนการรับรู้และการดูแลสุขภาพ
ประเมินความรู้ความเข้าใจ และการยอมรับในการผ่าตัดที่เกิดขึ้น
แบบแผนการปรับตัวและการเผชิญกับความเครียด ประเมินการรับรู้ และวิธีการเปลี่ยนแปลงความเครียด
กิจกรรมการพยาบาลหลังผ่าตัด
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการทางานของระบบหัวใจและไหลเวียน
ปัญหาด้านระบบไหลเวียนที่พบบ่อยหลังผ่าตัด
ความดันโลหิตต่ำ
ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
การเกิดความดันโลหิตสูง
การพยาบาลมีดังนี้
ควรให้ผู้ปุวยนอนพักนิ่งๆ ในบริเวณที่มีเลือดออกมากๆ เพื่อลดการ
เคลื่อนไหวซึ่งจะมีผลทาให้เลือดออกมากขึ้น
เตรียมเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นให้พร้อมในรายที่มีภาวะช็อก
ดูแลให้ได้รับสารน้ำ เลือด หรือพลาสมาทดแทนทางหลอดเลือดดำ ตาม
แผนการรักษา และติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
สังเกต บันทึก และติดตามผลการตรวจคลื่นหัวใจโดยเฉพาะในรายที่มีการเต้นหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจตายหลังผ่าตัด
สังเกตลักษณะบาดแผลและปริมาณสิ่งคัดหลั่งต่างๆ ที่ออกจากร่างกายผู้ป่วยรวมถึงประเมินการสูญเสียสารน้ำที่เกิดขึ้นหากพบความผิดปกติให้รายงานแพทย์
ดูแลให้ผู้ปุวยได้รับการพักผ่อนทั้งร่างกาย และจิตใจ จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ อยู่เป็นเพื่อน คอยใจกาลังใจ เพื่อลดความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น
ตรวจวัดสัญญาณชีพทึก 15 นาที 4 ครั้ง ทุก 30 นาที 4 ครั้ง และทุก 1 ชั่วโมงจนสัญญาณชีพสม่าเสมอ
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายของแผล
สังเกตลักษณะแผลที่ผิดปกติ โดยเฉพาะแผลมีการติดเชื้อ
ทำความสะอาดแผลด้วยหลักปราศจากเชื้อ เพื่อปูองกันการติดเชื้อของแผลซึ่งจะทำให้แผลหายช้า
สังเกตและประเมินปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการหายของแผล
สอนและให้คำแนะนาเกี่ยวกับการดูแลแผล และวิธีการส่งเสริมการหายของแผล
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมการหายใจให้โล่ง และคงไว้ซึ่งการทำงานระบบหายใจภายหลังการผ่าตัดระยะแรก
ภาวะพร่องออกซิเจนเป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย
สาเหตุอาจเกิดจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ ภาวะหายใจช้า (hypoventilation) มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
การพยาบาลมีดังนี้
4) เปลี่ยนท่านอนหรือพลิกตะแคงตัวบ่อยๆ ในรายที่ไม่รู้สึกตัวควรพลิกตะแคงให้ทุก 1-2 ชั่วโมง
5) กระตุ้นให้ทากิจวัตรประจาวันด้วยตนเองเพื่อเพิ่มกิจกรรมการเคลื่อนไหวขณะอยู่บนเตียงและลดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนท่าเดียววนานๆ
3) กระตุ้นให้ผู้ปุวยหายใจเข้าออกลึกๆ และไออย่างมีประสิทธิภาพตามวิธที่สอนผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดและติดตามการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยหลังผ่าตัด
6) ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
2) สังเกตการหายใจของผู้ปุวย เช่น การหายใจเร็วตื้นจากการค้างของฤทธิ์ยาสลบ หายใจลึกช้าลงจากฤทธิ์ตกค้างของยาระงับปวดกลุ่ม narcotic และดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง
7) สังเกตอาการบ่งชี้ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นสัญญาณชีพ รวมถึงค่าออกซิเจนในเลือด
1) การจัดท่านอน ให้นอนราบไม่หนุนหมอน ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง ป้องกันลิ้นตก และการสาลักอาเจียน ถ้าผู้ปุวยรู้สึกตัวดีอาจให้นอนราบหนุนหมอนได้
8) ถ้าผู้ปุวยมีอาการผิดปกติให้รีบรายงานแพทย์และให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสุขสบายและความปลอดภัยของผู้ป่วย
ดูแลความสุขสบายทั่วไป
การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลเกี่ยวกับความสะอาดของร่างกายทั่วไป
โดยเฉพาะช่องปาก อวัยวะสืบพันธุ์ และระบบขับถ่าย
ดูแลความปลอดภัยในรายที่ยังไม่ฟื้นจากยาสลบ หรือระดับความรู้สึกตัว
เปลี่ยนแปลง ควรยกราวกั้นเตียงผู้ปุวยขึ้นก่อนออกจากเตียงผู้ปุวย
การพยาบาลเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด
ประเมินความเจ็บปวดของผู้ปุวยโดยใช้ Pain scale ดูและให้ได้รับยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
ทำกิจกรรมที่เบี่ยงเบนความสนใจและกิจกรรมที่เป็น
การกระตุ้นให้มีการหลั่งเอนโดรฟินเพื่อลดความรู้สึกเจ็บปวด
การพยาบาลเพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ป่วย
กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกออกจากเตียง หรือจัดท่านอนศีรษะสูงเพื่อลดอาการแน่นท้อง ท้องอืด
ดูแลให้ได้รับสารอาหารและพลังงานอย่างเพียงพอ
สังเกตและบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ถึงการย่อยและดูดซึมอาหาร
ผิดปกติ
การให้คำแนะนาก่อนกลับบ้านสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด
3) การส่งเสริมภาวะโภชนาการของผู้ปุวย อาหารที่ควรรับประทานหรือควรงด
4) การดูแลความสะอาดของร่างกาย
2) การเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นข้อจากัดหลังผ่าตัด
5) การมาตรวจตามแพทย์นัด
1) เรื่องการดูแลแผล การสังเกตอาการ และอาการแสดงของการติดเชื้อ
การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
หลักการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
ย่อเข่าและสะโพก
หาวิธีที่เหมาะสมเพื่อผ่อนแรงในการยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
หลังตรง ป้องกันการปวดหลัง
ผู้ป่วยควรอยู่ใกล้พยาบาลมากที่สุด
ยืนแยกเท้าทั้งข้างห่างกันพอสมควร และเฉียงปลายเท้าไปตามทิศทางที่
ต้องการเคลื่อนย้าย และอยู่ในสมดุลเมื่อต้องการเคลื่อนไปทางหัวเตียงหรือปลายเตียง
ยกตัวผู้ป่วยให้พ้นจากที่นอนเล็กน้อยเพื่อลดแรงเสียดทาน
ควรยืนในท่าที่ถูกต้องและมั่นคง
ใช้ผ้าขวางเตียงช่วยในการเคลื่อนย้ายผู้ปุวยแทนการเลื่อนผู้ป่วย
หันหน้าเข้าหาผู้ป่วยและไปในทิศทางที่จะเคลื่อนย้าย
ให้สัญญาณเพื่อความพร้อมเพรียง
ควรจัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบอยู่ในท่าที่สบาย
ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ควรหาผู้ช่วยเหลือตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปและให้
สัญญาณขณะยก หรือใช้อุปกรณ์ที่ช่วยผ่อนแรงมาใช้เมื่อจำเป็น
การประเมินผู้ป่วยก่อนการเคลื่อนย้าย
ความมั่นคงในการคงท่าของผู้ป่วย
ส่วนที่จำเป็นต้องให้อยู่นิ่งๆ
ส่วนที่อ่อนแรงหรือพิการ
ผู้ป่วยอ่อนเพลียมากน้อยแค่ไหน
ท่าที่เป็นข้อห้ามของผู้ป่วย
ความต้องการการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนท่าและความสุขสบายของผู้ป่วย
ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง
วิธีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
2) นำหมอนหนุนศีรษะของผู้ปุวยออก วางหมอนที่พนักหัวเตียง อุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นเอาออกจากเตียง
3) พยาบาลยืนในท่าที่ถูกต้องมั่นคงและใช้หลักการของกลไกการเคลื่อนไหวร่างกาย
1) แจ้งให้ผู้ปุวยทราบและบอกวิธีการให้ความร่วมมือถ้าทำได้
4) พยุงผู้ป่วยด้วยความนุ่มนวลและมั่นคง โดยใช้วิธีสอดมือเข้าไปในตำแหน่งของร่างกายที่จะยกเพื่อรองรับน้าหนักร่างกายส่วนนั้น
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
การออกกำลังกายเพื่อเตรียมผู้ป่วยเดิน
การออกกำลังกายเพื่อเตรียมผู้ป่วยเดิน
การออกกำลังกายให้ผู้ปุวยนั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยให้กล้ามเนื้อมีความตึงตัว แข็งแรง และข้อเคลื่อนที่ได้ตามปกติ
การออกกำลังกายนั้นต้องไม่ทำให้ผู้ป่วยเหนื่อย ควรทาแต่ละชนิด 3 ครั้ง และให้ทำวันละ 2 – 3 ครั้ง
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดิน
การช่วยเหลือผู้ปุวยหัดเดินโดยพยาบาล 1 คน
กรณีใช้เข็มขัดหรือผ้าคาดเอว
วิธีนี้จะช่วยคงจุดศูนย์ถ่วงหรือใช้มือหนึ่งจับเข็มขัดบริเวณกึ่งกลางเอว อีกมือหนึ่งจับบริเวณต้นแขนของผู้ป่วยก้าวเดินช้าๆ พร้อมกัน
กรณีไม่ใช้เข็มขัด
ให้ใช้มือด้านใกล้ตัวจับที่ต้นแขนของผู้ปุวย มือไกลตัวจับที่ปลายแขนของผู้ป่วย ถ้าผู้ปุวยเป็นลมให้สอดแขนเข้าใต้รักแร้รับน้าหนักตัวผู้ป่วยและแยกเท้ากว้างใช้ สะโพกรับน้าหนักตัวผู้ป่วย และค่อยๆ วางตัวผู้ป่วยลงบนพื้น
การช่วยเหลือผู้ปุวยหัดเดินโดยพยาบาล 2 คน
มือพยาบาลข้างใกล้ตัวผู้ปุวยสอดใต้รักแร้ผู้ป่วย อีกข้างหนึ่งจับปลายแขนหรือมือผู้ป่วยข้างเดิมผู้ป่วยและพยาบาลทั้ง 2 คนเดินพร้อมกัน
ผู้ป่วยเป็นลมพยาบาลทั้ง 2 คนเลื่อนมือข้างที่พยุงใต้รักแร้ไปข้างหน้าให้ลาแขนสอดอยู่ใต้รักแร้ น้าหนักตัวผู้ป่วยไว้พร้อมกับใช้สะโพกยันผู้ป่วยไว้แล้วค่อย ๆ พยุงผู้ป่วยลงบนพื้น
การช่วยเหลือผู้ป่วยเคลื่อนไหวบนเตียง
การประเมินผู้ป่วย
ท่าที่เหมาะสม และระยะเวลาที่ผู้ป่วยจะคงอยู่ในท่าที่เปลี่ยนให้ใหม่
ความยากลำบากและไม่สุขสบายในขณะเปลี่ยนท่าหรือเมื่ออยู่ในท่าที่จัดให้
ความสามารถของผู้ป่วยในการช่วยเหลือตนเอง
ปัญหาอื่นๆ ที่พบในผู้ป่วย เช่น ความผิดปกติเกี่ยวกับผิวหนัง
ปฏิบัติการพยาบาลในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยบนเตียง
การเตรียมตัวพยาบาล
พยาบาลควรยืนในท่าที่ถูกต้อง พยุงผู้ปุวยด้วยความนุ่มนวลและมั่นคง
ไม่ควรใช้มือหยิบหรือจับขาผู้ปุวยขณะยกหรือเลื่อนตัวผู้ปุวย ถ้าต้องใช้
พยาบาลมากกว่า 1 คน ควรให้สัญญาณเพื่อทาพร้อมกัน
การเตรียมผู้ป่วย
ให้เอาหมอนหนุนศีรษะของผู้ป่วยออก วางหมอนไว้ที่พนักหัวเตียง ปรับระดับเตียงให้อยู่ในแนวราบพร้อมทั้งดูแลความปลอดภัยของผู้ป่วย
การจัดท่าผู้ป่วย
เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความสุขสบายขณะนอนพักบนเตียงหรือเตรียมทำหัตถการ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากท่านอนที่ไม่ถูกต้อง
มีรายละเอียด ดังนี้
ท่านอนคว่ำ (Prone position)
เป็นการจัดท่านอนให้ด้านหน้าท้องแนบกับที่นอนและเอียงหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง งอแขนทั้งสองข้างไปด้านศีรษะ ขาเหยียดออกและแยกห่างออกจากกันเล็กน้อย
ไม่ควรจัดให้นอนท่านี้ในผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว
ท่านอนตะแคง (Lateral or Slide-lying position)
เป็นท่าที่สบายสำหรับผู้ป่วยที่เคลื่อนไหวตนเองไม่ได้ ท่านี้ช่วยลดการกดทับบริเวณหลัง ข้อต่างๆ
ผลเสียของการนอนท่านี้
ข้อไหล่และข้อสะโพกที่อยู่ด้านบนจะห้อยลงและหมุนเข้าด้านใน ถ้าไม่หนุนผ้าหรือหมอนให้อยู่ในระดับที่ถูกต้อง
ท่านอนตะแคงกึ่งคว่า (Semiprone position)
เป็นท่านอนที่คล้ายกับท่านอนตะแคงต่างกันที่ท่านอนนี้แขนล่างจะอยู่ทางด้านหลังของลำตัว
ท่านอนหงาย (Dorsal or Supine position)
เป็นการจัดท่านอนโดยมีหลังสัมผัสที่นอนหน้าหงายขึ้น ศีรษะ คอ ไหล่ และส่วนบนของผู้ปุวยอยู่บนหมอน แขนและขาเหยียด ข้อเท้าพยุงให้ตั้งฉาก 90 องศา
ท่านั่งบนเตียง (Fowler’s position)
เป็นการจัดท่านั่งบนเตียงที่สุขสบายและเพื่อการรักษาโดยให้ศีรษะสูง 30 – 90 องศา ปกติมักให้ศีรษะสูง 45 องศา
Fowler’s position
จัดท่าให้หัวเตียงสูงทำมุม 45 - 60 องศากับพื้นเตียง
High Fowler’s position
จัดท่าให้หัวเตียงสูงทำมุม 90 องศากับพื้นเตียง
Semi Fowler’s position
จัดท่าให้หัวเตียงสูงทำมุม 30 องศากับพื้นเตียง
ท่านอนหงายชันเข่า (Dorsal recumbent position)
เป็นการท่าที่ใช้เตรียมตรวจหรือทำการพยาบาลโดยเฉพาะ
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และคลอดบุตร การคลุมผ้าและเปิดเฉพาะตาแหน่งที่ต้องการ
ท่านอนหงายพาดเท้าบนขาหยั่ง (Lithotomy position)
เป็นท่าเตรียมตรวจโดยเฉพาะ จุดประสงค์คล้ายกับท่านอนหงายชันเข่าแตกต่างกันตรงที่ท่านอนหงายพาดเท้าบนขาหยั่ง
ท่านอนคว่ำคุกเข่า (Knee-chest position)
เป็นท่าเตรียมตรวจหรือทำผ่าตัดทวารหนักและลาไส้ใหญ่ส่วนปลายโดยเฉพาะ
ท่านอนศีรษะต่าปลายเท้าสูง (Trendelenburg position)
เป็นท่านอนสำหรับผู้ปุวยเสียเลือด ช็อก เพื่อให้เลือดไหลมาเลี้ยงสมองได้มากขึ้น
ท่านอนชนิดนี้ยังนามาประยุกต์ใช้กับเตียงชนิดที่สามารถยกเฉพาะปลายเท้าและตะโพกให้สูงขึ้น
หมายถึง การช่วยบุคคลที่ด้อยสมรรถภาพ ทางกายจิตใจ บุคคลที่เจ็บป่วยเรื้อรัง หรือบุคคลที่อยู่ในระยะพักฟื้น ได้ตระหนักถึงสมรรถภาพของตนเองที่ยังเหลืออยู่ และนามาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตและการทางาน
การช่วยเหลือผู้ป่วยหัดเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน
ชนิดของอุปกรณ์ช่วยเดิน
Parallel bar = ราวคู่ขนาน ราวเดิน เป็นเครื่องช่วยเดินที่ให้ความมั่นคงที่สุด เหมาะสาหรับการฝึกเดินครั้งแรกของผู้ปุวยและปรับความสูงของราวตามความสูงของผู้ป่วย
Walker หรือ Pick – up frames มีหลายชนิด
นิยมใช้ คือ Standard walker เป็นอลูมิเนียม หรือแสตนเลส เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมากและการทรงตัวไม่ดีนัก
Cane มีหลายชนิด
เป็นการเดินด้วยไม้เท้าอันเดียว ผู้ปุวยต้องมีมั่นคงในการเดิน มักใช้กับผู้สูงอายุ หรือในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
Crutches ( ไม้ยันรักแร้ , ไม้ค้ายัน )
นิยมใช้ คือ Auxiliary crutches
ใช้ได้กับผู้ป่วยที่ค่อนข้างแข็งแรง หรือมีการทรงตัวดี
ประโยชน์ของอุปกรณ์ช่วยเดิน
ช่วยแบ่งเบาหรือรับน้าหนักแทนขา 1 หรือ 2 ข้าง เมื่อมีข้อห้ามหรือมี
การอ่อนแรงจนขาไม่สามารถรับน้ำหนักได้ (Non – weight bearing)
เพิ่มการพยุงตัว (Support) เพื่อให้สามารถทรงตัวได้ (Balance)
ช่วยแบ่งเบาหรือรับน้าหนักแทนขา 1 หรือ 2 ข้าง เมื่อมีข้อห้ามในการ
รับน้ำหนักเต็มทั้งขา (Partial weight bearing) ข้างนั้น
การเตรียมผู้ป่วยก่อนการฝึกใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
การฝึกในท่าตั้งตรง (Upright) บนเตียงหรือเบาะ
การฝึกในราวคู่ขนาน เช่น ฝึกยืน ฝึกทรงตัว ฝึกท่าทางการเดิน
การฝึกความแข็งแรง (Strength) ความทนทาน (Endurance) และการ
ประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ (Co – ordination) ที่ใช้ในการเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยเดิน
การลงน้ำหนักที่ขาเวลาเดิน (Weight Bearing Status)
Partial weight bearing (PWB)
เดินโดยลงน้าหนักข้างที่เจ็บได้บางส่วน
ระดับการลงน้ำหนัก
20-50%
Full weight bearing (FWB)
เดินโดยขาข้างที่เจ็บลงน้าหนักได้เต็มที่
ระดับการลงน้ำหนัก
100%
Toe touch weight bearing (TTWB)
เดินโดยเอาปลายเท้าข้างที่เจ็บแตะพื้น
ระดับการลงน้ำหนัก
Up to 20%
Weight bearing as tolerated (WB AS Tol.)
เดินโดยขาข้างที่เจ็บลงน้าหนักเท่าที่ทนไหว
ระดับการลงน้ำหนัก
เท่าที่ทนได้
Non weight bearing (NWB)
ไม่ลงน้ำหนักของขาข้างที่เจ็บ
ระดับการลงน้ำหนัก
0%
รูปแบบการเดิน (Gait pattern)
Three – point gait
เป็นรูปแบบการเดินที่ใช้บ่อยในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของขา 1 ข้างการเดินแบบนี้ใช้ได้ทั้งในกรณีที่ขาข้างนั้นไม่สามารถรับน้ำหนักได้และรับน้ำหนักได้เพียงบางส่วนใช้ได้กับไม้ค้ำยัน และ Walker
Swing – to gait
วิธีนี้เหมาะที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่มีการจากัดในการใช้ขาทั้ง2 ข้าง ร่วมกับมีความไม่มั่นคง (Instability) ของลาตัว สามารถใช้ได้กับไม้ค้ำยัน และ Walker
Two – point gait
เป็นรูปแบบการเดินที่มีความก้าวหน้าขึ้นจาก Four –point gait ต้องใช้การทรงตัวและความมั่นคงมากกว่า
Swing – through gait
เป็นรูปแบบการเดินที่ก้าวหน้ามาจาก Swing –to gait วิธีนี้ทาให้เดินได้เร็วขึ้นกว่า Four – point gait และ Swing – to gait
มีความมั่นคงน้อยที่สุดในรูปแบบการเดินทั้งหมด ดังนั้นเพื่อให้เดินได้อย่างปลอดภัย
Four – point gait
เป็นรูปแบบการเดินที่มีความมั่นคงมากที่สุด โดยจะมีจุดรับน้ำหนัก 3 จุด ในขณะที่ขา 1 ข้าง หรืออุปกรณ์ช่วยเดิน 1 ข้างกำลังเคลื่อนไหว
วิธีการฝึกผู้ป่วยใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
ไม้ค้ำยันรักแร้ (Auxiliary crutches) เป็นอุปกรณ์ช่วยเดินที่ควรใช้เป็นคู่
เนื่องจากมีจุดยึดตอนบนอยู่ที่รักแร้ จึงช่วยพยุงตัวได้ดีและแบ่งรับน้าหนักได้ถึง 80% ของน้าหนักตัว
Lofstrand crutch
ประกอบด้วยแกนอลูมิเนียม และมีด้ามมือจับ รวมทั้งห่วงคล้องรอบช่วงต้นของท่อนแขนส่วนปลาย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงของท่อนแขนส่วนปลายเวลายันลงน้ำหนัก
Platform crutch
ประกอบด้วยแกนอลูมิเนียม ยาวขึ้นจนถึงระดับข้อศอกและมีแผ่นรองรับท่อนแขนส่วนปลาย รวมทั้งมีมือจับบริเวณส่วนปลายของแผ่นรองรับท่อนแขน และมี Velcro strap รัดรอบท่อนแขนเพื่อยึดติดกับ Crutch
ไม้เท้า
เป็นอุปกรณ์ช่วยเดินที่ใช้เพียงข้างเดียวเป็นส่วนใหญ่ มีทั้งชนิดขาเดียว และสามขา ให้ความมั่นคงไม่มาก ลดการลงน้าหนักเฉพาะขาข้างใดข้างหนึ่งได้เพียง 20– 25 % จึงใช้ กรณีต้องการช่วยพยุงน้าหนักบางส่วนหรือลดความเจ็บปวด
ไม้เท้า 3 ขา
มีฐานกว้าง และมีจุดยันรับน้าหนักที่พื้น 3 จุดทำให้มั่นคงกว่าไม้เท้าขาเดียว
ข้อเสีย
ถ้าผู้ป่วยไม่ยันลงน้ำหนักลงแกนกลางของไม้ ก็ทำให้เสียความมั่นคง นอกจากนี้ก็ไม่สามารถใช้เดินขึ้น – ลงบันไดได้
การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกาย
การออกกำลังกาย
การเคลื่อนไหวร่างกายที่มีการวางแผน หรือมีการเตรียมตัว เป็นกิจกรรมที่มีการกระทำซ้าๆ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มหรือคงไว้ซึ่งสมรรถภาพทางร่างกาย
การออกกาลังกายชนิดให้ผู้ปุวยทำเอง ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วยตนเอง
การออกกำลังกายโดยให้ผู้อื่นทาให้ผู้ป่วย เป็นการออกกำลังกายโดยการเคลื่อนไหวข้อต่างๆ ให้กับผู้ปุวยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกาย
การออกกำลังกายชนิดที่ให้ผู้ป่วยทาร่วมกับความช่วยเหลือของผู้อื่น วิธีนี้ให้ผลดีกว่าวิธีที่ให้ผู้อื่นทาให้ผู้ป่วย
การออกกำลังกายโดยให้กล้ามเนื้อทำงานแต่ข้อไม่เคลื่อน เพื่อเพิ่มความตึงตัวและแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ป้องกันกล้ามเนื้อลีบ
การออกกำลังกายให้ผู้ป่วยออกแรงต้านกับแรงอื่น เป็นการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ให้ผู้ป่วยออกแรงต้าน
การเคลื่อนไหวร่างกาย
หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายใดๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะในบ้าน ที่ทำงาน หรือแม้แต่สันทนาการใดๆและทำให้พลังงานชองร่างกายมากกว่าในขณะพัก
กลไกการเคลื่อนไหวร่างกาย
หมายถึง การใช้ร่างกายอย่างปลอดภัยมีประสิทธิภาพ มีการประสานงานกันในการเคลื่อนไหวและดารงความสมดุลระหว่างการมีกิจกรรม
การที่ร่างกายมีการทรงตัวที่ดีและมีการเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้องทำให้เกิดผลดีต่อร่างกาย ดังนี้
ป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย หรือมีความพิการของกระดูก และกล้ามเนื้อ
ลดการเมื่อยล้า หรือการใช้พลังงานมากเกินไป
ส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ
ผลกระทบจากการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
ระบบผิวหนัง
ผิวหนังเสียหน้าที่ทำให้เกิดแผลกดทับ พบในผู้ปุวยสูงอายุ
มีสาเหตุดังต่อไปนี้
เซลล์ตายและลุกลามกลายเป็นแผล
การเสียดทาน (Friction) เมื่อผู้ปุวยถูกลากหรือเลื่อนตัว ทำให้ผิวหนังขูดกับที่นอน
เกิดแรงกดทับ ระหว่างปุมกระดูกกับที่นอนที่รองรับในการนอน
ในท่าต่าง ๆ ทำให้เซลล์ขาดออกซิเจน
แรงดึงรั้ง เกิดจากแรงกดทับและการเสียดทานที่เกิดขึ้น
พร้อมกัน
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
กระดูกผุ เปราะบาง พบบ่อยที่กระดูกขา ตัวกระดูกสันหลัง และกระดูกเท้า
การประสานงานของกล้ามเนื้อแขนขาลดลงหรือไม่สัมพันธ์กัน
กล้ามเนื้ออ่อนแรง ลีบเล็ก การที่ใยกล้ามเนื้อไม่มีการ
หดหรือหดตัว ทาให้ขาดความตึงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง
อาการปวดหลัง เกิดการท่านอนที่ไม่ถูกต้อง ศีรษะนอนหนุนหมอนสูงเกินไป ที่นอนนิ่มเกินไป แข็งเกินไป ทาให้ไม่สุขสบาย ปวดหลัง
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
มีการคั่งของเลือดในหลอดเลือดดาที่ขา เนื่องจากการที่กล้ามเนื้อคลายตัว
หรืออ่อนแรงทำให้เกิดเลือดคั่งในหลอดเลือดที่ขา
เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ เนื่องจากมีการคั่งของหลอดเลือดดำและการสลายตัวของกระดูกทำให้แคลเซียมในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นมีการแข็งตัวของเลือดเพิ่มขึ้น
หัวใจทางานมากขึ้น จากการอยู่ในท่านอนทาให้ปริมาณเลือดกลับเข้าสู่หัวใจมากกว่าปกติ
ความดันต่าขณะเปลี่ยนท่า พบในการเปลี่ยนท่าจากท่านอนเป็นท่านั่งหรือยืน จะมีอาการวิงเวียน เป็นลม หน้ามืด
ระบบทางเดินหายใจ
มีการคั่งของเสมหะมากขึ้น เนื่องจากการพัดโบกของ Cilia เพื่อพัดเสมหะจากทางเดินอากาศส่วนล่างสู่ส่วนบนลดลง
ปอดขยายตัวลดลง (Decrease lung expansion) เนื่องจากการนอนหงายทำให้แรงกดด้านหน้า ด้านล่างจากน้าหนักของทรวงอกที่กดลงบนที่นอนและอวัยวะในช่องท้อง
ระบบทางเดินอาหาร
มีผลต่อการรับประทานอาหาร ทาให้เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย กังวลใจจาก
การนอนเฉยๆ และโรคที่ เป็นอยู่ความต้องการพลังงานลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดการขาดสารอาหาร
มีผลต่อการขับถ่าย ทำให้ท้องผูก มีปัจจัยเสริม คือ การดื่มน้ำน้อยหรือขาดน้ำ
ระบบทางเดินปัสสาวะ
การถ่ายปัสสาวะมากกว่าปกติในระยะแรกๆ เนื่องจากการนอนนาน ๆ ทำให้เลือดไหลกลับสู่ หัวใจมากขึ้นเป็นสาเหตุให้แบบแผนการถ่ายปัสสาวะเปลี่ยนแปลง มีการสูญเสียโซเดียม
มีการคั่งของปัสสาวะในไตและกระเพาะปัสสาวะ และ กระเพาะปัสสาวะสูญเสียหน้าที่
เกิดนิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะ
ระบบเมตาบอลิซึมและการเผาผลาญอาหาร
การเผาผลาญอาหารลดลง เนื่องจากความต้องการใช้พลังงานน้อยจากการที่มีการเคลื่อนไหวน้อยหรือไม่มีการเคลื่อนไหว
มีระดับโปรตีนในกระแสเลือดลดต่าลง จากการนอนนาน
มีความผิดปกติด้านอัตมโนทัศน์และภาพลักษณ์