Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคและการพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาระบบหัวใจและหลอดเลือดที่เกิดภายหลัง,…
โรคและการพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาระบบหัวใจและหลอดเลือดที่เกิดภายหลัง
1.ไข้รูมาติก (Rheumatic Fever)
ไข้รูมาติก หมายถึง โรคที่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่น หัวใจ เนื้อเยื่อของข้อ สมองเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง และผิวหนัง เป็นผลจาก autoimmune reaction มักเกิดตามหลังคออักเสบเนื่องจากเชื้อ β-hemolytic streptococcus group A โรคนี้อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย และลิ้นหัวใจมักถูกทำลาย ทำให้การทำงานของลิ้นหัวใจผิดปกติได้ เกิดเป็นโรคหัวใจรูมาติกซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่สุดของไข้รูมาติก ไข้รูมาติกพบได้น้อยในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ยังพบได้ในประเทศที่กำลังพัฒนา
สาเหตุ
ไข้รูมาติกเป็นโรคที่มักเกิดตามหลังการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน เช่น คออักเสบ หรือต่อมทอนซิลอักเสบจากเชื้อ β-hemolytic streptococcus group A และไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องภายในเวลา 1-5 สัปดาห์ จึงเกิดการอักเสบตามอวัยวะต่างๆของร่างกายขึ้น ไข้รูมาติกมักพบในเด็กวัยเรียนอายุระหว่าง 6-15 ปี และพบบ่อยที่สุดในเด็กอายุ 8 ปี โรคนี้มักพบในเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย และมีโอกาสเป็นซ้ำได้ เด็กที่มีประวัติเป็นไข้รูมาติกมาก่อนนอกจากนั้นอาจพบได้ในเด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่แออัด หรือมีผู้ติดเชื้อโรคนี้อยู่ด้วย ทำให้เกิดการแพร่ กระจายเชื้อโรคได้ง่าย
อาการและอาการแสดงไข้รูมาติกเป็นโรคที่มีการอักเสบอย่างเฉียบพลันของหัวใจ เนื้อเยื่อของข้อ สมอง เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและผิวหนัง
ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหลัก (major criteria) และอาการรอง (minor criteria) ดังนี้
อาการหลัก (major criteria) สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาได้ใช้ Jone’s criteria
(updated)
เป็นหลักในการวินิจฉัยจากอาการและสิ่งตรวจพบ ได้แก่
1.1 การอักเสบของหัวใจ (Carditis)
1.2 ข้ออักเสบ (Arthritis)
1.3 อาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Sydenham’s chorea)
1.4 ปุ่มใต้หนัง (Subcutaneous nodules)
1.5 ผื่นแดงที่ผิวหนัง (Erythema marginatum)
อาการรอง (minor criteria) ได้แก่
2.1 ไข้ต่ำๆ ประมาณ 38.0 องศาเซลเซียส บางครั้งไข้อาจสูงได้ แต่มักไม่เกิน 39 องศาเซลเซียส
2.2 polyarthralgia มีอาการปวดข้อโดยไม่มีอาการอักเสบ คือ บวม แดง ร้อน ทำให้ขยับข้อได้ลำบาก
2.3 เลือดกำเดาไหลโดยไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากการอักเสบของหลอดเลือด ปวดท้อง อาจเกิดจากหัวใจวายร่วมกับมีตับโต
2.4 อาการอื่นๆที่อาจพบได้ คือ รู้สึกไม่สบาย อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย เหงื่อออกมาก เจ็บหน้าอก ซีด และน้ำหนักลด 2.5 มีประวัติเคยเป็นไข้รูมาติกมาก่อนหรือมีประวัติเป็นหวัดหรือเจ็บคอบ่อย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
(Laboratory tests)การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ช่วยในการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้รูมาติกมี3 ประเภทคือ1) การตรวจว่ามีการติดเชื้อ ß-hemolytic streptococcus group A
2) การตรวจว่ามีการอักเสบ และ
3) การตรวจที่ช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยอาการทางคลินิก
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อเกิดการติดเชื้อ β-hemolytic streptococcus group A ในร่างกาย เช่น การติดเชื้อที่หู การติดเชื้อที่ต่อมทอนซิล โดยเฉพาะการติดเชื้อที่ลำคอ ซึ่งมักพบได้บ่อย ประมาณ 1-5 สัปดาห์ ผู้ป่วยจึงแสดงอาการสำหรับกลไกการเกิดโรคนั้นเชื่อว่าเมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะมีปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรค (antigen-antibody reaction) โดยจะสร้างแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อโรค แต่เนื่องจากส่วนต่างๆ ของเชื้อโรคมีความคล้ายคลึงกันทางระบบภูมิคุมกันกับเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อโรค ดังกล่าวก็จะมีปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆด้วย จึงทำให้เนื้อเยื่อเหล่านี้ถูกทำลาย เช่น หัวใจ เนื้อเยื่อของข้อ สมอง เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยทำให้เนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆมีการอักเสบเกิดขึ้น การอักเสบเหล่านี้ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะหายขาดได้แต่ในรายที่มีการอักเสบของหัวใจมักจะพบว่ามีความพิการอย่างถาวร โดยเริ่มจากการอักเสบของหัวใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ทุกชั้น ได้แก่ pericarditis, myocarditis และ endocarditis และรวมไปถึงลิ้นหัวใจด้วย ทำให้ลิ้นหัวใจถูกทำลายตำแหน่งที่พบบ่อย ได้แก่ ลิ้นไมตรัล (mitral valve) และ ลิ้นเอออร์ติค (aortic valve) โดยทำให้เกิดแผลขึ้น เกิดเป็นลิ้นหัวใจรั่วและตีบตามมา
โรคหัวใจรูมาติก (Rheumatic Heart disease)
โรคหัวใจรูมาติกเกิดตามหลังไข้รูมาติก (Rheumatic Fever) ซึ่งทำให้มีการอักเสบของหัวใจทุกชั้น รวมทั้งเยื่อบุหัวใจและลิ้นหัวใจด้วย ถ้าเด็กเป็นไข้รูมาติกซ้ำหลายๆครั้ง อาจทำให้เกิดความผิดปกติของหัวใจหายหลังได้โดยเฉพาะลิ้นหัวใจจะถูกทำลายอย่างถาวร อาจจะเกิดลิ้นหัวใจรั่ว หรือลิ้นหัวใจตีบได้ พบได้มากในเด็กอายุระหว่าง5-15 ปี โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา
สาเหตุ โรคหัวใจรูมาติกเป็นผลหรือภาวะแทรกซ้อนของไข้รูมาติก เนื่องจากร่างกายได้รับเชื้อ ß-hemolytic streptococcus group A ประมาณ 1-5 สัปดาห์ แล้วไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือทันท่วงที จึงทำให้เกิดหัวใจอักเสบ และจะมีการทำลายลิ้นหัวใจด้วย ส่งผลให้ลิ้นหัวใจมีพยาธิสภาพ คือ มักทำให้เกิดการรั่วของลิ้นหัวใจ หลังจากนั้นในบางรายอาจเกิดการตีบของลิ้นหัวใจตามมา เนื่องจากมีกระบวนการซ่อมแซม จะท าให้เกิดพังผืดบริเวณลิ้นหัวใจ
และใต้ลิ้นหัวใจจ ความผิดปกติดังกล่าวอาจพบได้หลายลิ้น ที่พบบ่อย ได้แก่ ลิ้นไมตรัลและลิ้นเออร์ติค
พยาธิสรีรภาพ ภายหลังที่เด็กเป็นไข้รูมาติกแล้ว จะมีการอักเสบของลิ้นหัวใจทุกชั้น เช่น เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจ
อักเสบ และเยื่อบุหัวใจอักเสบ ซึ่งประกอบด้วย แผ่นลิ้น (cusp) เนื้อเยื่อยึดลิ้น (chordae tendinae) และกล้ามเนื้อ
papillary (papillary muscle) ในรายที่เป็นไข้รูมาติกซ้ าๆหลายๆครั้ง จะส่งผลให้ลิ้นหัวใจถูกท าลายมากขึ้น โดยมี
การหดตัว หรือแข็งตัวขึ้น ท าให้เกิดความผิดปกติของลิ้นหัวใจขึ้น อาจจะเป็นการรั่ว หรือการตีบ จึงเรียกว่าโรคหัวใจรู
มาติก ดังนั้นผู้ป่วยไข้รูมาติก ถ้าได้รับการรักษาโรคอย่างทันท่วงทีและป้องกันที่ถูกต้อง ก็จะไม่เป็นโรคหัวใจรูมาติก
ภาวะหัวใจวาย
สาเหตุ ที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจวายในเด็กอาจเกิดจากความผิดปกติของหัวใจหรือหลอดเลือดหรือโรคอื่นที่ไม่หรือโรคอื่นที่ไม่
เกี่ยวข้องกับหัวใจ โดยแบ่งได้ 4 ประการ ดังนี้
ความผิดปกติของหัวใจที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น เนื่องจากมีปริมาณเลือดในหัวใจเพิ่มมากขึ้น เกิดจากมีการรั่วไหลของเลือด ทำให้มีปริมาณเลือดในเวนตริเคิลมากขึ้น ส่งผลให้เวนตริเคิลต้องบีบเลือดในปริมาณที่สูงขึ้น หรือมีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ ทำให้ปริมาณเลือดไปปอดมากขึ้น ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานมากขึ้นเพิ่มขึ้น เรียกภาวะนี้ว่า volume overload 2. ความผิดปกติของหัวใจที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น 3. ความผิดปกติของกล้ามเนื้อของหัวใจ (myocardial factor)4. จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ (dysrhythmias)
พยาธิสรีรภาพ ในภาวะปกติของบุคคล การที่หัวใจจะท างานบีบตัวส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างพียงพอนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้ง 4 ประการ ได้แก่ 1) ปริมาณของเลือดในเวนตริเคิลก่อนบีบตัว (preload, ventricular end-diastolic volme)2) การหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardial contractility)3) แรงต้านทานการไหลเวียนของเลือดขณะหัวใจบีบตัว (afterload) และ4) อัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate)
อาการและอาการแสดง
ชนิดของภาวะหัวใจวาย สามารถแบ่งตามพยาธิสรีรภาพ ได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ 1. หัวใจซีกซ้ายวาย (left-sided failure) 2. หัวใจซีกขวาวาย (right-sided failure)
การวินิจฉัย 1. ประวัติและการตรวจร่างกาย
ภาพถ่ายทรวงอกพบหัวใจโตร่วมกับมีเลือดไปปอดมากขึ้น
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อาจพบ หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นช้า
การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจความถี่สูง (echocardiography)
การรักษาการดูแลให้ทารกและเด็กได้รับสารน้ำและสารอาหารที่เหมาะสม ไม่ใช้ออกซิเจนมากเกินไปเป็นหัวใจสำคัญเบื้องต้นของการรักษา การใช้ยาเป็นเพียงเครื่องช่วยประคับประคองไม่มีสูตรตายตัว ยาที่ใช้บ่อยได้แก่ 1. ให้ยากลุ่มกลัยโคไซด์ (digitalis glycosides) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจ โดยเพิ่มความสามารถของหัวใจในการบีบตัว ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ไหลออกจากหัวใจต่อนาทีเพิ่มมากขึ้น ในเด็กนิยมให้ยา digoxin (lanoxin) เพราะเป็นยาที่ออกฤทธิ์เร็ว
โรคคาวาซากิ
สาเหตุยังไม่ทราบแนชัด เข้าใจว่ามีความเกี่ยวเนื่องกับพันธุกรรม ตลอดจนการสัมผัสกับอะไรบางอย่างในสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น สารเคมี หรือจุลินทรีย์บางชนิด ไปกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาทางระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ เกิดการอักเสบของหลอดเลือดแดงขึ้นทั่วร่างกาย
อาการและอาการแสดง 1. เด็กจะมีไขสูงทกคน โดยมากมักเปนนานเกิน 5 วัน บางรายอาจนาน 3 – 4 สัปดาห์ อาจมีผื่นขึ้นตามตัวและแขนขา
ตาแดง จะเป็นทั้ง 2 ข้าง มักเห็นภายใน 2-4 วันแรกนับจากเริ่มมีไข้ ตาที่แดงจะเป็นบริเวณตาขาวมากไม่ค่อยมีขี้ตา และไม่ค่อยเจ็บ
ริมฝปากแห้งและแดง อาจแตกมีเลือดออกด้วย เยื่อบุในปากจะแดงด้วย แต่ไม่มีแผล ลิ้นจะแดงและมีปุ่มรับรสใหญ่กว่าปกติ ลักษณะคล้ายผลสตรอเบอรรี่
ฝามือและฝ่าเท้า จะบวมแดง บางรายเจ็บชัดเจน ตั้งแต่ช่วงแรกๆของโรค ประมาณ 2-3 สัปดาห์หลังจากเริ่มมีไข้จะเห็นผิวหนังลอก โดยเริ่มลอกบริเวณรอบๆเล็บมือ เล็บเท้า อาจลามมาจนลอกทั้งฝ่ามือ ฝ่าเท้า 5. ผื่น มักขึ้นภายใน5 วันแรกนับจากมีไข้ โดยมักเป็นทั่วทั้งบริเวณลำตัว และแขน ขา โดยบริเวณสะโพก อวัยวะเพศ ขาหนีบ ผื่นจะหนาแน่นที่สุด บางครั้งจะมีการลอกคล้ายที่มือและเท้าด้วย 6. ต่อมน้ำเหลือง ที่โตมักพบที่คอ มักเป็นข้างเดียว ลักษณะค่อนข้างแข็ง และกดไม่ค่อยเจ็บ
อาการทั้งหมดนี้จะเกิดภายในสัปดาหแรก ในสัปดาหที่ 2 จะมีการลอกของผิวหนัง โดยเริ่มจากบริเวณปลายนิ้ว
มือ นิ้ว นิ้วเทา และอาจลามไปที่ฝ่ามือ ฝ่าเทา
นางสาววริศรา เปี่ยมปิด 61180040615