Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ ๒ การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร - Coggle Diagram
บทที่ ๒ การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
โวหาร
ความหมายของโวหาร
การใช้โวหาร เป็นการใช้ถ้อยคำอย่างประณีต เพื่อให้ได้ความหมายชัดเจน ตรงตามจุดมุ่งหมายของการสื่อสาร
ประเภทของโวหาร
พรรณนาโวหาร
หมายถึง ถ้อยคำภาษาที่แสดงอารมณ์ ความรู้สึก หรือเสนอภาพเหตุการณ์อย่างละเอียดละออ
เทศนาโวหาร
หมายถึง การใช้ถ้อยคำภาษาที่แสดงความโน้มน้าวใจ ให้ผู้รับสารคิดเห็น คล้อยตาม และปฏิบัติตาม
บรรยายโวหาร
หมายถึงถ้อยคำที่กระทัดรัด ตรงไปตรงมา เน้นสาระสำคัญ ความชัดเจนโวหารชนิดนี้ส่วนใหญ่ใช้ในการเล่าเรื่อง อธิบายเรื่องราว หรือเหตุการณ์ต่างๆ หรือ มุ่งเสนอข้อเทจจริง ข้อคิดเห็น
สาธกโวหาร
หมายถึง การใช้ถ้อยคำภาษาที่ทำให้เกิดความชัดเจนของเรื่องนั้นๆ ด้วยการยกตัวอย่างจำพวก นิทาน สุภาษิต ตำนาน หรือเหตุการณ์มาประกอบเพื่อให้เรื่องหนักแน่นน่าเชื่อถือหรือแจ่มแจ้งมากยิ่งขึ้น
อุปมาโวหาร
หมายถึง การใช้ถ้อยคำเปรียบเทียบ โดยยกข้อความซึ่งกล่าวถึงสิ่งหนึ่งมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ต้องการ
ระดับภาษา
เป็นทางการ
ระดับพิธีการ
เป็นภาษาที่มีรูปประโยคเป็นประโยคความซ้อนที่มีข้อความขยายค่อนข้างมาก คำที่ใช้เป็นภาษาระดับสูง จึงงดงามไพเราะ และ ประณีต
ระดับมาตรฐานราชการ
ไม่เคร่งเท่ากับระดับพิธีการ แต่ก็เป็นภาษาที่สมบูรณ์และถูกหลักไวยากรณ์ มีความชัดเจน สละสลวย สุภาพ
ไม่เป็นทางการ
ระดับสนทนา
เป็นภาษาพูดที่เป็นกลางๆ ใช้สนทนากันในชีรวิตประจำวันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารที่รู้จักคุ้นเคยกัน
ระดับกันเองหรือภาษาปาก
เป็นภาษาที่ใช้สนทนากับผู้ที่สนิทสนมคุ้นเคยกันมากๆ เช่น ในหมู่เพื่อนฝูงหรือครอบครัว
ระดับกึ่งทางการ
เป็นภาษาที่ยังคงลักษณะความสุภาพอยู่ แต่ผู้ใช้ไม่ต้องระมัดระวังมากเท่ากับการใช้ภาษาแบบเป็นทางการ
สำนวน
ความหมายของสำนวน
คำพูดเป็นชั้นเชิงไม่ตรงไปตรงมา แต่มีความหมายในคำพูดนั้นๆ คนฟังอาจเข้าใจความหมายทันทีถ้าคำพูดนั้นใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วไปจนอยู่ตัวแล้ว
แบ่งออกเป็น
สำนวนที่คงรูปเดิม
หมายถึง สำนวนที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปและความหมายไปจากสำนวนเดิม
สำนวนที่มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำ
หมายถึง สำนวนเดิมที่มีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำและความหมาย
สาเหตุการเกิดสำนวนไทย
๑. เกิดจากธรรมชาติ
เช่น ฝนตกไม่ทั่วฟ้า ตื่นแต่ไก่โห่
๒. เกิดจากการกระทำ
เช่น กำปั้นทุบดิน แกว่งเท้าหาเสี้ยน จุดไต้ตำตอ
๘. เกิดจากการละเล่นต่างๆหรือกีฬา
เช่น ไก่รองบ่อน จับแพะชนแกะ ไม่ดูตาม้าตาเรือ
๕. เกิดจากแบบแผนประเพณีและความเชื่อต่างๆ
เช่น ผีเจาะปาก กงเกวียนกำเกวียน
๙. เกิดจากอวัยวะ
เช่น ปากบอน ปากพร่อย กระดูกเดินได้ ตีนแมว
๗. เกิดจากความประพฤติ
เช่น ตำข้าวสารกรอกหม้อ ชักใบให้เรือเสีย ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
๔. เกิดจากนิทาน
เช่น กระต่ายตื่นตูม กบเลือกนาย ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง
๖. เกิดจากอุบัติเหตุ
เช่น ตกกระไดพลอยโจน เอามือซุกหีบ น้ำเชี่ยวขวางเรือ
๓. เกิดจากศาสนา
เช่น ผ้าเหลืองร้อน ตักบาตรถามพระ คว่ำบาตร
ประเภทของสำนวนไทย
๓. อุปมาอุปไมย
คือ โวหารชนิดหนึ่ง ใช้ในการเปรียบเทียบของสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
๔. คำคม
คือ ถ้อยคำที่หลักแหลมชวนให้คิด ถ้อยคำที่ีเป็นคารมคมคายเป็นคำพูดที่หลักแหลม หรือเป็นแง่คิดที่มีความหมายบึกซึ้นกินใจ
๒. สุภาษิต
คือ คำกล่าวที่ดีงาม มีความหมายลึกซึ้ง เป็นคติสอนใจ อ่านแล้วเข้าใจได้โดยง่าย ไม่ต้องแปลความหมาย
๕. คติพจน์
คือ ถ้อยคำที่เป็นแบบอย่าง เป็นคติเฉพาะคนใดคนหนึ่งที่ยึดถือประจำใจ บางคนก็ใช้ของเก่าที่เป็นสุภาษิต คำพังเพย แต่บางคนก็คิดขึ้นเอง
๑. คำพังเพย
คือ กลุ่มคำที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ มีลักษณะติชมหรือแสดงความคิดเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเตือนให้คิด
หลักการใช้สำนวนไทย
๒. ใช้สำนวนให้ถ้อยคำถูกต้อง
๓. ใช้สำนวนให้ตรงความหมาย
๑. ใช้ให้เข้ากับเนื้อเรื่อง
ความหมายของภาษา
คำว่า "ภาษา" รากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตว่า "ภาษฺ" หมายถึง พูด บอก กล่าว ราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๔๖ : ๘๒๒) ได้ให้ความหมายคำว่า "ภาษา" ไว้ว่า "ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง" :silhouettes:
ภาพพจน์
ความหมายของภาพพจน์
กลวิธีการเรียบเรียงถ้อยคำในลักษณะต่างๆทีู่้ประพันธ์ตั้งใจใช้ เพื่อให้เกิดผลทางจินตภาพหรือทำให้เกิดความซาบซึ้งประทับใจได้มากกว่าการเขียนแบบธรรมดา
ประเภทของภาพพจน์
๗. ปฏิทรรศน์
บางตำราเรียก ปฏิภาคพจน์ เป็นการนำคำที่มีความหมายขัดแย้งกันมาวางใกล้กัน
๘. การอ้างถึง
เป็นการนำบุคคล หรือเหตุการณ์ หรือข้อความตอนใดตอนหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปมากล่าวอ้างถึงในงานเขียนของตน
๖. สมญานาม
เป็นการใช้ชื่อที่ตั้งขึ้นใหม่แทนชื่อที่ต้องการกล่าวถึง อาจเป็นการสื่อความหมายที่รับรู้กันเฉพาะในกลุ่มที่มีประสบการณ์หรือมีความสนใจร่วมกัน
๙. การซ้ำคำ
เป็นการนำคำที่มีเสียงเหมือนกัน อาจมีความหมายเหมือนกันหรือต่างกันมาไว้ใกล้ๆกัน เพื่อเน้นย้ำให้ได้ความหมายชัดเจน หนักแน่นขึ้น
๕. นามนัย
เป็นการใช้คำหรือวลีอันเป็นลักษณะเด่นหรือมีสัมพันธภาพใกล้ชิดกับสิ่งที่ต้องการกล่าวถึงนั้น ทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพ
๑๐. ปฏิปุจฉา
เป็นการใช้คำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ แต่ถามเพื่อกระตุ้นให้คิดหรือเป็นการเรียกร้องความสนใจ
๔. อติพจน์
เป็นการนำสิ่งที่เกินความจริงมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ต้องการกล่าวถึงให้เกิดความรู้สึก ได้อารมณ์และมุ่งผลทางจิตใจมากกว่าข้อเท็จจริง
๑๑. การเล่นเสียง
เป็นการเลือกใช้คำที่มีเสียงพยัญชนะหรือสระเหมือนกัน เพื่อให้เกิดภาพ เกิดความรู้สึก ตลิดจนความไพเราะของเสียงสัมผัสขึ้น
๓. บุคลาธิษฐานหรือบุคคลวัต
เป็นความเปรียบเทียบที่นำเอาความรู้สึกนึกคิด จิตใจ ลักษณะ กิริยาอาการของมนุษย์ไปใส่ในสรรพสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ ทำให้ดูเหมือนว่าสิ่งเหล่านั้นทำอาการได้เหมือนมนุษย์
๑๓. สัญลักษณ์
เป็นการนำคำที่มีความหมายหนึ่งสมมติขึ้นแทนภาพหรือสิ่งๆต่างๆเพื่อแนะให้คิดตามความหมายสากลอันเป็นที่ยอมรับทั่วไป
๒. อุปลักษณ์
เป็นการนำสิ่งที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันกับสิ่งที่ต้องการสื่อความหมายมาเทียบ
๑๒. สัทพจน์
เป็นการใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ เพื่อให้เกิดภาพในใจขึ้น
๑. อุปมา
เป็นการเปรียบเทียบอธิบายลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ภาษาพูดและภาษาเขียน
ภาษาพูด
ภาษาพูดที่ใช้ในงานเขียน
คือถ้อยคำภาษาพูดที่ใช้ในงานเขียนบางประเภท เช่น จดหมายส่วนตัว บทภาพยนต์ บทละคร เรื่องสั้น นวนิยาย คอลัมน์ซุบซิบ ข้อเขียนเบ็ดเตล็ด เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เขียนบทความบางประเภท เช่น บทความสัมภาษณ์ บทความให้ความรู้ทั่วไป บทความแสดงความคิดเห็นเป็นต้น
ลักษณะของภาษาพูดที่ใช้ในงานเขียน
๑. ภาษาพูดที่ใช้ในงานเขียนเป็นภาษาที่มีการตระเตรียม ผู้เขียนต้องคิด พิจารณา และต้องเลือกสรรถ้อยคำให้สื่อความหมายได้ชัดเจนที่สุด เพราะผู้ส่งสารไม่มีโอกาสเผชิญหน้ากับผู้รับสาร ไม่มีโอกาสจะอธิบายเพิ่มเติมหากผู้รับสารไม่เข้าใจ
๒. ภาษาพูดที่ใช้ในงานเขียนมีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการให้ผู้รับสารได้อะไรจากงานเขียนเรืองนั้นๆ อีกทั้งต้องสื่อความหมายให้ได้ในเนื้อที่หน้ากระดาษที่จำกัด ตลอดจนผู้รับสารไม่สามารถอาศัยบริบททางภาษาอื่นๆ ในการตีความเรื่องราว ดังนั้นผู้เขียนต้องเขียนให้ทุกถ้อยคำมีความหมายตามจุดประสงค์
๓. ภาษาพูดในงานเขียนผู้เขียนไม่สามารถเลือกระดับถ้อยคำภาษาให้เหมาะสมกับผู้รับสารได้ เพราะผู้รับสารส่วนใหญ่เป็นมวลชน ดังนั้นการเลือกใช้ระดับภาษาจึงพิจารณาที่จุดประสงค์ของงานเขียนเป็นหลัก ส่วนภาษาพูดที่ใช้พูดนั้นผู้พูดสามารถเลือกระดับถ้อยคำภาษาให้เหมาะแก่ผู้ฟังแต่ละบุคคลได้
ภาษาพูดที่ใช้การพูด
คือการเปล่งเสียงออกเป็นถ้อยคำที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือสื่อความเข้าใจกัน โต้ตอบแลกเปลี่ยนกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ในสภาพการใช้ภาษาสภาพการณ์หนึ่ง ผู้ใช้ภาษามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งแต่ละขณะจะมีส่วนช่วยสื่อความหมาย กล่าวคือ การสื่อความหมายเช่นนี้ตัวสารมิได้เป็นตัวสื่อความหมายทั้งหมด แต่มีสภาพแวดล้อมของการใช้ภาษา
ข้อสังเกตเกี่ยวกับลักษณะสำคัญของภาษาพูด
ด้านการออกเสียงคำ
เน้นเสียงสูง ต่ำ เปลี่ยนแปลงเสียงวรรณยุกต์เพื่อแสดงอารมณ์และความรู้สึก
ออกเสียงวรรณยุกต์ต่างไปจากรูปเขียน
ไม่ออกเสียงบางเสียง
ออกเสียงคำที่ประสมกับสระเสียงสั้นเป็นสระเสียงยาว และออกเสียงคำที่ประสมกับสระเสียงยาวเป็นสระเสียงสั้น
ออกเสียงไม่เต็มคำ
ด้านการใช้คำ
ภาษาพูดมักใช้คำธรรมดา เข้าใจง่าย โดยเฉพาะภาษาพูดที่ใช้พูดคุยในชีวิตประจำวัน
ภาษาพูดมักใช้คำขยายเพื่อให้ความหมายชัดเจนขึ้น ทำให้เห็นภาพ ได้อารมณ์และความรู้สึก
ภาษาพูดมักใช้คำเสริม
ภาษาพูดมักใช้คำเรียกและคำร้อง
ภาษาพูดมักตัดบางส่วนของคำออก
ภาษาพูดมักใช้การย่อชื่อ ใช้สมญานาม และใช้อักษรย่อ หรือคำย่อ
ภาษาพูดมักใช้คำไม่สุภาพ ภาษาตลาด คำแสลง และคำเฉพาะกลุ่ม
ภาษาพูดมักใช้คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
ภาษาพูดมักใช้คำที่มีความหมายโดยนัย หรือความหมายแฝง
ภาษาเขียน
หมายถึงถ้อยคำที่ผู้ส่งสารใช้สื่อความคิด ความรู้ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็นตามจุดมุ่งหมายไปยังผู้รับสาร การใช้ภาษาในการเขียน จึงต้องมีการตระเตรียมและขัดเกลาภาษาให้สื่อความหมายได้ชัดเจน เน้นที่การสื่อความเข้าใจเนื้อหาและความคิดจากสารเป็นสำคัญ
คำ
การอ่านคำ
มีหลักเกณฑ์ดังนี้
การอ่านคำสมาส
๑. ถ้าเป็นคำสมาสที่พยางค์ท้ายของคำหน้าที่ไม่มีรูปสระ
ให้อ่านออกเสียง อะ ที่พยางค์ท้ายของคำหน้าต่อเนื่องกับพยางค์หลัง
๒. ถ้าเป็นคำสมาสที่พยางค์ท้ายของคำหน้าที่มีรูปสระ
ให้ออกเสียงพยางค์ท้ายประสมกับรูปสระ
๓. คำสมาสบางคำไม่อ่านตามข้อแนะนำข้างต้น
เนื่องจากเป็นชื่อเฉพาะ
การอ่านคำยืมจากภาษาบาลี สันสกฤต
การอ่านแบบเรียงพยางค์
ถ้าพยัญชนะเป็นตัวสะกด ไม่ต้องออกเสียง อะ ที่ตัวสะกด
ถ้าพยัญชนะพยางค์หน้าเป็นตัว ล ให้ออกเสียง ล มีเสียงสระอะ กึ่งเสียงต่อเนื่องกับพยางค์หลัง
ถ้าพยัญชนะตัวสะกดของพยางค์หน้าเป็นตัว ศ ษ ส ให้ออกเสียง อะ กึ่งเสียงต่อเนื่องกับพยางค์หลัง
การอ่านอักษรนำ
๑. อักษรสูงนำอักษรต่ำเดี่ยว
เมื่ออ่านออกเสียงให้ออกเสียงอะกึ่งเสียงที่ตัวนำ ส่วนตัวตามให้ออกเสียงวรรณยุกต์เสียงจัตวาหรือเสียงสูงตามตัวนำ
๒. อักษรสูงนำอักษรต่ำคู่
เมื่ออ่านออกเสียงให้ออกเสียงอะกึ่งเสียงที่ตัวนำ ส่วนตัวตามให้ออกเสียงวรรณยุกต์ตามปกติ ไม่ต้องออกเสียงตามตัวนำ
๓. อักษรกลางนำอักษรต่ำเดี่ยว
เมื่ออ่านออกเสียงให้ออกเสียงอะกึ่งเสียงที่ตัวนำ ส่วนตัวตามให้ออกเสียงวรรณยุกต์ตามตัวนำที่เป็นอักษรกลาง
๔. อักษร อ นำ ย
ไม่ต้องออกเสียงอะที่ตัวนำ ให้ออกเสียงวรรณยุกต์ ตัว ย ตามเสียง อ
๕. อักษร ห นำ อักษรต่ำเดี่ยว
ไม่ต้องต้องออกเสียงอะ หรือกึ่งเสียงที่ตัวนำ แต่ออกเสียงวรรณยุกต์ตามตัว ห เช่น
การอ่านตัว ฤ
ออกเสียงเป็น เรอ
ออกเสียงเป็น ริ
ออกเสียงเป็น รึ
การอ่านอักษรควบ
อักษรควบ คือพยัญชนะสองตัวที่ทำหน้าที่เป็น
พยัญชนะต้นออกเสียงพร้อมกัน
อักษรควบแท้
อักษรควบไม่แท้
การเขียนคำ
การใช้รูปวรรณยุกต์
อักษรสูง
คำเป็น
พื้นเสียงเป็นจัตวา
คำตาย
พื้นเสียงเป็นเอก
มี ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ศ ส ห
อักษรกลาง
คำเป็น
พื้นเสียงเป็นสามัญ
คำตาย
พื้นเสียงเป็นเอก
มี ๙ ตัว คือ ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ
ตารางการผันเสียงวรรณยุกต์
ลิงค์ตารางการผันเสียงวรรณยุกต์
อักษรต่ำ
คำเป็น
พื้นเสียงเป็นสามัญ
คำตาย
สระเสียงสั้น
พื้นเสียงเป็นเสียงตรี
สระเสียงยาว
พื้นเสียงเป็นเสียงโท
มี ๒๔ ตัว
ต่ำเดี่ยว
มี ๑๐ ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล
ต่ำคู่
มี ๑๔ ตัว คือ พ ภ ค ฅ ฆ ฟ ท ฑ ฒ ฌ ธ ซ ช ฮ
การเขียนคำที่ประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์
ประวิสรรชนีย์
คำยืมจากภาษาจีน เขมร มลายู พม่า ญี่ปุ่น ถ้าออกเสียงอะ ต้องประวิสรรชนีย์
คำสองพยางค์ที่กร่อนเสียงมาจากคำอื่น ต้องประวิสรรชนีย์ด้วย
คำที่ออกเสียง อะ เต็มพยางค์ต้องประวิสรรชนีย์
คำยืมจากภาษาบาลีและสันกฤต ที่เป็นคำหลายพยางค์เรียงกัน ถ้าต้องการอ่านออกเสียง อะ ที่พยางค์สุดท้าย เมื่อเขียนให้ประวิสรรชนีย์ด้วย
ไม่ประวิสรรชนีย์
คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต พยางค์ท้าย มีเสียงสระ อะ มาสมาสกับคำอื่น พยางค์สุดท้ายของคำไม่ต้องประวิสรรชนีย์
คำที่ออกเสียงสระ อะ ไม่เต็มเสียง หรือคำที่เป็นอักษรนำ ไม่ต้องประวิสรรชนีย์
คำไทยที่ใช้พยัญชนะตัวเดียว ออกเสียงอะ แต่ไม่ต้องประวิสรรชนีย์
การเขียนคำที่ใช้ ใอ ไม้ม้วน
ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู
จะใคร่ลงเรือใบ ดูน้ำใสและปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้ มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง
เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี
การเขียนคำที่ใช้ ศ ษ ส
๒. ศ ษ ส ใช้ในคำที่มาจากภาษาสันสกฤต
ใช้ ศ หน้าพยัญชนะวรรค จ (จ ฉ ช ฌ ญ)
ใช้ ษ หน้าพยัญชนะวรรค ฏ (ฏ ฐ ฑ ฒ ณ)
ใช้ ส หน้าพยัญชนะวรรค ต (ต ถ ท ธ น)
๓. ศ ส ที่ใช้ในภาษาไทย เป็นพยัญชนะต้นทั้งหมด
๑. ส ใช้ในคำที่มาจากภาษาบาลีทั้งหมด เพราะในภาษาบาลีไม่มี ศ ษ
๔. คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศใช้ ศ ส ษ
การเขียนคำที่ใช้ อำ อัม อำม-
การเขียนคำที่ใช้อำ
ใช้กับคำไทยแท้ที่ออกเสียงสระอำ
ใช้กับคำที่แผลงมาจากคำเดิมในภาษาบาลีสันสกฤต และภาษาเขมร
การเขียนคำที่ใช้ อัม
ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต
ใช้เขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
การเขียนคำที่ใช้ อำม-
ใช้เขียนคำที่มีเสียงอะ และมี ม ตามในภาษาบาลีสันสกฤต แล้วแผลง อะ เป็น อำม
ชนิดของคำ
เกณฑ์การแบ่ง
การแบ่งคำตามความหมาย
คำที่มีความหมายโดยตรง
คำที่มีความหมายโดยนัย
การแบ่งชนิดของคำตามแนวคิดของไวยากรณ์ดั้งเดิม
๑. คำนาม
คำที่ใช้เรียกสิ่งต่างๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่
สมุหนาม
ลักษณนาม
วิสามานยนาม
อาการนาม
สามานยนาม
๒. คำสรรพนาม
คำที่ใช้แทนคำนามหรือเรียกชื่อของคำนาม
นิยมสรรพนาม
อนิยมสรรพนาม
ปฤจฉาสรรพนาม
วิภาคสรรพนาม
ประพันธสรรพนาม
บุรุษสรรพนาม
๓. คำกริยา
คำที่แสดงกิริยาอาการของนามหรือสรรพนามหรือแสดงการกระทำของประธานในประโยค
สกรรมกริยา
วิกตรรถกริยา
อกรรมกริยา
กริยานุเคราะห์
๔. คำวิเศษณ์
คำที่ใช้ประกอบคำอื่น ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยาและคำวิเศษณ์ด้วยกันเอง
นิยมวิเศษณ์
อนิยมวิเศษณ์
ประมาณวิเศษณ์
ปฤจฉาวิเศษณ์
สถานวิเศษณ์
ลักษณวิเศษณ์
กาลวิเศษณ์
ประติชญาวิเศษณ์
ประติเษธวิเศษณ์
ประพันธวิเศษณ์
๕. คำบุพบท
คำหรือบทที่ใช้นำหน้าคำนาม คำสรรพนาม หรือคำกริยา เพื่อบอกตำแหน่งของคำดังกล่าวว่ามีหน้าที่อะไร
คำบุพบทที่ไม่เชื่อมกับคำอื่น
คำบุพบทที่เชื่อมกับคำอื่น
๖. คำสันธาน
เป็นคำจำพวกหนึ่งที่ใช้เชื่อมคำ เชื่อมความและเชื่อมประโยคให้ติดต่อเป็นเรื่องเดียวกัน
เชื่อมความให้สละสลวย
เชื่อมข้อความกับข้อความ
เชื่อมคำกับคำ
เชื่อมประโยคกับประโยค
๗. คำอุทาน
เป็นคำที่เปล่งออกมาโดยไม่ได้นึกถึงความหมาย
คำอุทานบอกอาการ
คำอุทานเสริมบท
ความหมายของคำ
คำ คือ เสียงที่เปล่งออกมาแล้วมีความหมาย เสียงที่ประกอบเป็นคำ มี ๓ เสียง ได้แก่ เสียงพยัญชนะ เสียงสระ และเสียงวรรณยุกต์
ประโยค
ประโยค คือ กลุ่มคำที่รวมกันอย่างมีระเบียบ เนื้อความสมบูรณ์ แจ่มแจ้งชัดเจนว่าใครทำอะไร สามารถแบ่งออกเป็น ๒ ส่วนใหญ่ๆ
ภาคประธาน
ภาคแสดง
ชนิดของประโยคตามเจตนาของผู้ส่งสาร
ประโยคคำสั่ง
คือ ประโยคที่ผู้ส่งสารมีเจตนาสั่งผู้รับสารให้ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ
ประโยคขอร้องหรือชักชวน
คือ ประโยคที่ผู้ส่งสารมีเจตนาขอร้องให้ผู้รับสารปฏิบัติตามความประสงค์ของผู้ส่งสาร
ประโยคคำถาม
คือ ประโยคที่ผู้ส่งสารมีเจตนาถามให้ผู้รับสารตอบคำถาม
ประโยคบอกเล่า
คือ ประโยคที่ผู้ส่งสารมีเจตนาแจ้งเรื่องราว เหตุการณ์บุคคล ให้ผู้รับสารรู้และเข้าใจ
ประโยคปฏิเสธ
คือ ประโยคที่ผู้ส่งสารมีเจตนาเสนอสาระในทางตรงกันข้ามกับประโยคบอกเล่า
ชนิดของประโยคตามเนื้อความ
ประโยคความรวม
เนื้อความคล้อยตามกัน
เนื้อความขัดแย้งกัน
เนื้อความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
เนื้อความเป็นเหตุเป็นผล
ประโยคความซ้อน
๑. ประโยคความซ้อนที่มีประโยคย่อยขยายความส่วนประธานหรือส่วนกรรมของโยคหลัก
๒. ประโยคความซ้อนที่มีประโยคย่อยขยายความส่วนกริยา หรือส่วนขยายกริยาของประโยคหลัก
๓. ประโยคความซ้อนที่มีประโยคย่อยเป็นประธานหริอกรรมของประโยคหลัก
ประโยคที่มีเนื้อความตั้งแต่สองประโยคขึ้นไป
ประโยคความเดียว
ประโยคที่เสนอเนื้อหาสาระเพียงประการเดียว
ศิลปะการใช้ภาษา
๑. ใช้คำให้ตรงความหมาย
๒. ใช้คำให้เหมาะแก่บุคคล
๙. ไม่ใช้คำที่ทำให้ความหมายกำกวม
๓. ใช้สำนวนเปรียบเทียบให้เหมาะสม
๑๑. หลีกเลี่ยงการใช้คำภาษาต่างประเทศ ยกเว้นคำทับศัพท์
๔. ใช้คำบุพบทและคำสันธานให้ถูกต้อง
๑๔. ไม่ใช้ภาษาพูดในการเขียน
๕. ใช้คำให้ถูกคู่หรือถูกระดับ
๑๕. ไม่ใช้อักษรย่อหรือคำย่อ
๖. เขียนสะกดคำให้ถูกต้อง
๑๐. ไม่ใช้คำที่มีความหมายขัดแย้งกัน
๗ . ใช้คำให้คงที่
๘. ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย
๑๓. เขียนประโยคให้สิ้นกระแสความ
๑๒. ไม่ใช้สำนวนภาษาต่างประเทศ