Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การป้องกันภาวะเสี่ยงและอุบัติเหตุที่พบบ่อย - Coggle Diagram
การป้องกันภาวะเสี่ยงและอุบัติเหตุที่พบบ่อย
หกล้ม
การเปลี่ยนท่าโดยไม่ตั้งใจ เป็นผลให้ร่างกายทรุดหรือนอนลงกับพื้น หรือปะทะสิ่งของต่างๆ อาจเกิดจากอาการหน้ามืด เป็นลม ลื่นไถล
พบ 50-67% เป็นการหกล้มที่เกิดขึ้นในบ้าน ผู้สูงอายุเพศหญิงจะมีอัตราการหกล้มสูงกว่าผู้สูงอายุเพศชาย
สาเหตุ
ความบกพร่องของการมองเห็น
การลดลงของความชัดเจนและการรับรู้ความตื้นลึก
การลดลงของลานสายตา ทำให้ผุ้สูงอายุมองไม่เห็น ถึงคน หรือวัตถุที่เคลื่อนเข้าใกล้
รูม่านตามีขนาดเล็กลง ทำให้ผู้สูงอายุไม่ามารถรับภาพได้ดีในเวลาแสงสลัว
ความบกพร่องทางการทรงตัว
ในวัยสูงอายุมีกลไกในการทำงานที่ควบคุมการทรงตัวของอวัยวะต่างๆลดลง ทำให้สมดุลในการทรงตัวบกพร่อง
ผู้สูงบางรายมีปัญหาการทำงานของอวัยวะหูชั้นในที่ควบคุมการทรงตัวผิด
การบกพร่องของการเดิน
ผู้สูงอายุจะมีความแข็งแรงและความสามารถในการประสานงานของกล้ามเนื้อลดลง มีการเสื่อมของข้อต่อและรอบข้อ
ไม่สามารถยกเท้าได้สูงเท่ากับที่เคยมีกาเปลี่ยนแปลงในการเคลื่อนไหวสะโพกในการรับน้ำหนักของขาขณะเดิน
การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากความเจ็บป่วย
ความผิดปกติของหัวใจหรือหลอดเลือด
หลอดเลือดตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง
ความดันโลหิตต่ำส่งผลให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เป็นลมและหกล้มได้
ความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าหรือหลังรับประทานอาหารทำให้เกิดการหกล้มจากการเวียนศีรษะ
การรับความรู้สึกของระบบประสาทและสมองผิดปกติ
สมองเสื่อม เนื้องสมองตาย โรคหลอดเลือดสมองและพาร์กินสัน ทำให้ระบบการควบคุมจากสองส่วนกลางผิดปกติ ส่งผลให้การทำงานที่ประสานกันของอวัยวะและระบบในการทรงตัวสูญเสียไป ทำให้เกิดการหกล้มได้
การเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อ
ความไม่มั่นคงบริเวณข้อสะโพก ข้อเข่า หรือข้อเท้า
ข้อเสื่อม การอักเสบของข้อ
การอ่อนแรงหรือลีบตัวของกล้ามเนื้อ การอักเสบของกล้ามเนื้อ
ความผิดปกติของเท้าลักษณะเท้าผิดปกติ มีการหนาตัวของผิวหนังที่ฝ่าเท้าทำให้เกิดตาปลา
ความผิดปกติของสมดุลกรดด่าง เกลือแร่ในร่างกาย
ผู้สูงอายุที่มีภาวะติดเชื้อ มักมีสมดุลของกรดด่าง เกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ ส่งผลต่อการทำงานของสมอง ทำให้เกิดอาการซึมหรือสับสน กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ได้รับยาหลายชนิด
ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อระหว่างยาเกิดพิษข้างเคียงของยา
ผู้สูงอายุที่ได้รับยามากกว่า 4 ชนิด ทำให้อัตราการเลี่ยงของการหกล้มเพิ่มขึ้น
ยาที่ทำให้ผู้สูงอายุหกล้ม: ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยาขยายหลอดเลือด ยาขับปัสสาวะ ยาบำบัดทางจิต
ปัญหาทางจิตใจ
ภาวะซึมเศร้าเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มของผุ้สูงอายุ เนื่องจากผุ้สูงอายุจะมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมช้าลงและมีการตัดสินใจที่ผิดพลาด
ผลกระทบของการหกล้ม
นำไปสู่การเสียชีวิต การบาดเจ็บ หมดสติ กระทบกระเทือนต่อสมอง กระดูกหัก บริเวณข้อสะโพก ข้อมือ
ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือรับการผ่าตัดและฝึกเดินใหม่ ก่อให้เกิดภาวะพึ่งพาช่วยเหลือตนเองไม่ได้
เกิดโรคแทรกซ้อนระหว่างป่วยหรือผ่าตัด เช่น ติดเชื้อทางเดินอัสสาวะ แผลกดทับ ปอดบวม
ด้านจิตใจ: เกิดความอาย วิตกกังวล กลัวการหกล้ม มีภาะซึมเศร้า หมดความมั่นใในตนเอง ทำให้ลดกิจกรรมการเข้าสังคม เก็บตัว
ด้านเศรษฐกิจ: รักษาผ่าตัดได้รับยา ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจครอบครัว
การป้องกันการหกล้ม
จัดสิ่งแวดล้อม
ทางเดินมีความสว่างไม่เพียงพอ ไม่ควรเป็นแสงจ้า การจัดวางกระจกหลีกเลี่ยงไม่ให้แสงสว่างสะท้อนเข้าตา
พื้นทางเดินควรเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง ไม่ลื่น ทำเครื่องหมายบริเวณที่มีความต่างระดับ ไม่ให้มีสิ่งกีดขวาง พื้นแห้ง กระเบื้องปูพื้น หรือพรมใช้สีที่เหมาะสมไม่ทำให้เกิดตาลาย
พื้นห้องน้ำมีการปูพื้นกันลื่น ติดตั้งราวยึดจับบริเวณที่นั่งขับถ่ายชนิดนั่งได้ ประตูห้องน้ำควรเป็นแบบเปิดออกด้านนอก และที่ล็อคควรเปิดออกจากภายนอกได้
เก้าอี้มีความสูงขนาดวางเท้าได้พอดี ความกว้างของเก้าอี้มีขนาดพอที่ผู้สูงอายุนั่งได้สบาย มีฐานเก้าอี้มั่นคง ไม่ควรเป็นเก้าอี้แบบล้อเลื่อน เตียงนอนควรมีระดับที่ผู้สูงอายุขึ้นหรือลุกออกจากเตียงได้สะดวก
ชั้นวางของควรมีความสูงระดับที่มารถหยิบจับสิ่งของได้สะดวก
เสื้อผ้ามีขนาดพอดีกับร่างกายไม่มีส่วนที่รุงรังอาจก่อให้เกิดการสะดุดหกล้ม
รองเท้ามีขนาดและรูปทรงที่เหมาะสมกับเท้า ส้นรองเท้าควรใช้ระดับต่ำ รูปทรงกว้าง
อุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนไหวควรมีความแข็งแรง ควรมีที่ล็อคล้อ ขนาดน้ำหนักแบะความสูงของอุปกรณ์มีขนาดพอเหมาะ และมีการฝึกใช้ให้ชำนาญ คุ้นเคย
การปฏิบัติตนของผู้สูงอายุ
ออกกำลังกายที่ช่วยทำให้สมดุลการทรงตัวของร่างกายดี ได้แก่ รำมวยจีน โยคะ
รับประทานยาตามขนาดที่แพทย์สั่ง สงัเกตอาการผิดปกติ เช่น หน้ามืด ใจสั่น งุนงง
ในการเดิน เคลื่อนไหว หรือเปลี่ยนท่าไม่ควรรีบร้อน ขณะเดินควรให้ามองพื้นและไม่ควรถือของสองมือในเวลาเดียวกัน
หลีกเลี่ยงการแหงานหน้า เพราะอาจทำให้หน้ามืด การเหลียงซ้ายและขวา หมุนศีรษะควรทำอย่างช้าๆ
เตรียมเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินที่จำเป็นอยู่ในที่ๆสามารถมองเห็น/ใช้อุปกรณ์ เพื่อขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน
การบาดเจ็บ
สาเหตุของการบาดเจ็บ
ไม่ยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย
พื้นลื่น พื้นไม่เรียบ
สภาพร่างกายไม่พร้อม มีโรคเรื้อรัง ร่างกายอ่อนเพลีย
สถาพจิตใจไม่พร้อม มีความเครียด ความกังวล
ลักษณะการบาดเจ็บที่พบบ่อย
ศีรษะถูกกระแทกทำให้สมองถูกกระทบกระเทือน
ถูกชกหรือล้มศีรษะกระแทกพื้น ไม่รู้สึกตัว ม่านตาขยาย ซีพจรเบา การปฐมพยาบาลคือ จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายราบ คลายเสื้อผ้าและสิ่งที่รัดร่างกายให้หลวม
เน้ือเยื่อถูกกระแทกหรือล้มกระแทกพื้น
เนื้อเยื่อถูกกระแทกหรือล้มกระแทกพื้น
ใช้ความเย็นประคบ พันผ้า หรือยกบริเวณที่บาดเจ็บให้สูง หลัง 24 ชม. ให้ประคบร้อน
แผลถลอก
ล้มกระแทกพื้นหรือเสียดยสีกับวัตถุต่างๆอาการเนื้อเยื่อถูกทำลายบางครั้งลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อจนมีเลือดออก การปฐมพยาบาล คือ ห้ามเลือดและใช้ผ้าสะอาดปิดแผลไว้
ข้อเคล็ดหรือแพลง
เคลื่อนไหวข้อผิดวิธี พื้นไม่เรียบ การทรตัวไม่ดี ทำให้ข้อเท้าพลิก เยื่อหุ้มข้อฉีกขาด ทำให้มีอาการเจ็บและบวม
ประคบเย็นใน 24 ชม.แรก พันผ้าไว้และงดการเคลื่อนไหวหลัง 24 ชม. ให้ใช้ครีมนวดหรือประคบด้วยน้ำอุ่น
ข้อเคลื่อนหรือหลุด
ถูกกระแทกหรือถูกดึงหรือบิดตัวอย่างแรง ทำให้ข้อต่อบริเวณนั้นเคลื่อนหรือหลุดออกจากตำแหน่งที่เคยอยู่
เยื่อหุ้มข้อฉีกขาดหรือเอ็นที่ยึดข้อต่อยืดตัวมากเกินไป อาการ คือ รูปร่างหรือข้อต่อส่วนนั้นผิดปกติไป เคลื่อนไหวไม่ได้บวมผิดรูปอาจสั้นหรือยาวผิดปกติและเจ็บปวดมาก
ยึดด้วยผ้าหรือวัสดุอื่น ใช้ความเย็นประคย ให้รับประทานยาแก้ปวดและรีบนำส่งแพทย์
กระดูกหัก
ถูกกระแทกอย่างแรง ได้ยินเสียงกระดูกหักและเห็นกระดูกหัก แทงเนื้อออกมา ปวดมาก เคลื่อนไหวไม่ได้ บวมอย่างรวดเร็ว
ประคบเย็น และเข้าเฝือกชั่วคราว และรีบนำส่งแพทย์
ตะคริว
ใช้กล้ามเนื้อมากเกินกำลัง อาการศหนาว กล้ามเนื้อฉีกขาด สารอาหาร ออกซิเจนและเกลือแร่ กล้ามเนื้อจะเกร็งและปวด
ใช้ความร้อนประคบและนวดกล้ามเนื้อให้คลายตัว
กล้ามเนื้อฉีก
การยืดกล้ามเนื้อที่รวดเร็วและรุนแรง หรือใช้กล้ามเนื้อมากเกินกำลัง
เจ็บบริเวณที่เป็น คลำพบรอยบุ๋ม มีอาการบวม
ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าพักกล้ามเนื้อส่วนนั้นให้นานที่สุด ใช้ความเย็ฯประคบ 24 ชม.แรก ใช้ผ้ายืดพันไว้จากนั้นประคบด้วยน้ำอุ่น
การป้องกันการบาดเจ็บ
ไม่ควรออกกำลังกายที่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อหรืออกแรงเบ่งมาก เช่น ยกน้ำหนัก
หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทก เช่น การกระโด การเดินขึ้นลงบันไดที่สูงมากๆ การนั่งยองๆ การสะบัดแขนหรือขาแรงๆ
ไม่ควรออกกำลังกายที่ต้องใช้ความเร็วสูงหรือเปลี่ยนทิศทางเพราะจะหกล้มได้ง่าย
หลีกเลี่ยงการแข่งขัน
ให้ทุกส่วนของร่างกายได้ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหว ไม่ควรเน้นส่วนหนึ่งส่วนใดมากเกินไป เพราะจะทำให้บาดเจ็บได้
ไม่ควรออกกำลังกายบนพื้นที่ลาดชัน ลื่น ไม่เรียบ เป็นหลุม เป็นบ่อ ใกล้ถนน
หากมีอาการผิดปกติ เช่นหน้ามืด เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก เหนื่อยมาก เจ็บกล้ามเนื้อ ควรหยุดออกกำลังกาย
การทารุณกรรมและถูกทอดทิ้ง
สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลง การแข่งขัน ความเครียด ความกดดันในชีวิต ครอบครัวมีขนาดเล็กลง
การย้ายถิ่นเพื่อหางานทำของลูกหลาน
อุบัติการณ์การทารุณกรรมและถูกทอดทิ้งของผู้สูงอายุ
ถูกกระทำรุนแรงทางด้านร่างกาย เช่น การทำร้าย ทุบตี กักขัง
กระทำความรุนแรงในด้านจิตใจ เช่น พูดก้าวร้าว ไม่ให้ความเคารพ
ส่วนใหญ่เป็นการกระทำจากคนในครอบครัว
ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม เจ็บป่วยเรื้อรัง หรือผู้สูงอายุที่ยากจนถือเป็นผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อการกระทำรุนแรง
การละเลยเพิกเฉยต่อผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพา
การเอาเปรียบฉกฉวยประโยชน์จากทรัพย์สินของผู้สูงอายุ
ลูกหลานวัยหนุ่มสาวไปขายแรงงานในต่างจังหวัด ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งไห้เฝ้าบ้าน เลี้ยงหลาน
เบี้ยยังชีพไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย ต้องพึ่งพาลูกหลาน อาศัยวัด
สาเหตุของการทารุณกรรมและถูกทอดทิ้ง
สภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ผู้สูงอายุมีลูกน้อยลง
เข้าสู่ภาวะพึ่งพา มีการเจ็บป่วยเรื้อรัง การจะให้ลูกมาดูแลเป็นเรื่องลำบาก
การป้องกันการทารุณกรรมและถูกทอดทิ้ง
หากพบปัญหาสังคมผู้สูงายุถูกทารุณกรรมและถูกทอดทิ้งติดต่อสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ของจังหวัด