Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การตรวจประเมินร่างกายทุกระบบ - Coggle Diagram
บทที่ 3
การตรวจประเมินร่างกายทุกระบบ
การตรวจร่างกาย
เป็นการประเมินโครงสร้างและหน้าที่หรือลักษณะทางกายภาพ และหน้าที่ของร่างกาย โดยใช้เทคนิคการดู คลำ เคาะ ฟัง ในการตรวจร่างกาย
สิ่งสำคัญ
คือ เทคนิคการตรวจร่างกาย,เครื่องมือในการตรวจร่างกาย
1. การดู (Inspection)
เป็นการสังเกตโดยใช้สายตาสังเกตภาวะสุขภาพสำรวจอวัยวะต่างๆของร่างกายว่าผิดปกติหรือไม่ โดยเริ่มตรวจตั้งแต่ผู้ป่วยเดินเข้ามาว่าเป็นอย่างไรและอากัปกิริยาของผู้ป่วยตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า อาการแสดงต่างๆทั้งที่ปกติและผิดปกติ เช่น
การอักเสบเป็นฝี บริเวณที่เป็นจะมีลักษณะ บวม แดง ร้อน หรือมีหนอง
วิธีการดู
1) ดูให้ทั่ว
และดูให้เป็นระบบจากด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง โดยดูเปรียบเทียบกันทั้งสองข้าง
2) ในการดู
ผู้ตรวจต้องทราบด้วยว่าอวัยวะที่ดีปกติเป็นอย่างไร จึงจะสามารถแยกสิ่งที่ผิดปกติออกจากสิ่งที่ปกติได้โดยการเปรียบเทียบ
3) ดูลักษณะที่สัมพันธ์กับโรค
เช่น เหลือง ให้นึกถึง ดีซ่าน ซึ่งต้องตรวจดูบริเวณตาขาว เยื่อบุตาล่าง เยื่อบุช่องปาก เล็บ ฝ่ามือ
2. การคลำ (Palpation)
หลักการคลำ
1) คลำบนร่างกายของผู้ป่วยที่ปราศจากเสื้อผ้า
2) ให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอนในท่าที่สะดวกต่อการคลำ
3) ผู้ตรวจจะใช้ฝ่ามือหรือนิ้วมือข้างที่ถนัดคลำ
4) ขณะคลำให้ผู้ตรวจสังเกตสีหน้าท่าทางผู้ป่วยตลอดเวลา
5) การคลำจะคลำเบารอบอวัยวะที่ตรวจก่อน โดยคลำทั่วๆเพื่อหาบริเวณที่เจ็บหรือมีก้อน
6) การคลำลึกๆเป็นการคลำสองมือ เพื่อแยกอวัยวะต่างๆในช่องท้องหรือช่องเนื้อเยื่อต่างๆออกจากการตรวจ
7) คลำบริเวณเจ็บหลังสุด
วิธีการคลำ
1) การคลำมือเดียว (UNIMANUAL PALPATION)
การใช้นิ้วมือ ฝ่ามือ ข้างใดขางหนึ่งที่ถนัดคลำตรงตำแหน่งที่ต้องการ เช่น
เต้านม ใบหน้า หน้าท้อง
2) การคลำสองมือ (BIMANUAL PALPATION)
การใช้
มือทั้งสองข้าง ช่วยการคลำพร้อมกัน เช่น การตรวจหน้าท้อง
หญิงตั้งครรภ์ คลำตับ คลำม้าม
3. การเคาะ (Percussion)
เป็นการใช้ปลายนิ้ว ฝ่ามือ สันมือหรือกำปั้นทุบ เพื่อตรวจดูว่ามีความเจ็บปวดหรือไม่ และฟังเสียงของการเคาะ เพื่อจะหาตำแหน่ง ขนาด และความหนาแน่นของโครงสร้างของอวัยวะนั้นๆ
หลักการเคาะ
2)การเคาะเพื่อฟังเสียงทึบ ต้องเคาะแรง เรียก Sonorous Percussion แต่ถ้าเคาะหาขอบเขตของอวัยวะ ควรค่อยๆเคาะลงแล้วเคาะไล่ไปตามบริเวณต่างๆ เรียก Definitive Percussion
3) การเคาะอวัยวะที่มี 2 ด้าน ให้เคาะตำแหน่งเดียวกันสลับซ้ายขวา
1) การเคาะ ควรใช้การเคลื่อนที่ของข้อมือข้างที่ถนัด ไม่ใช้นิ้วมือ
หรือข้อศอก และควรตัดเล็บให้สั้น
4) ขณะทำการเคาะควรสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเสียง
วิธีการเคาะ
การเคาะโดยตรงใช้ปลายนิ้วมือทั้งสองถึงสามนิ้วคือนิ้วชี้นิ้วกลางและ
นิ้วนางงอเล็กน้อยหรือใช้ฝ่ามือสันมือหรือกำปั้นข้างที่ถนัดเคาะหรือตบลงไปตรงบริเวณที่ต้องการตรวจโดยตรง
การเคาะผ่านที่รองรับคือการครอบพานลงบนที่รองรับโดยใช้ฝ่ามือข้างไม่ถนัดวางลงบนอวัยวะที่จะเคาะข้อนิ้วกลางถ้าบนตำแหน่งที่ต้องการ กระดกข้อมือขึ้น2 จังหวะ1 2 1 2 และควรขอแค่ 2-3 ครั้ง
4. การฟัง (Auscultation)
เป็นการตรวจโดยอาศัยการได้ยิน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีเครื่องช่วยฟัง เพื่อให้ชัดเจนขึ้นเรียกว่า หูฟัง (Stethoscope)
หลักการฟัง
3) ระวังการกระทบกันของท่อสายยาง และนิ้วของผู้ตรวจไปเสียดสี
กับท่อสายยาง หรือหูฟัง
4) การใช้หูฟังส่วนนอก ด้านแบน หรือด้านตลับ (Diaphragm)จะช่วยเสียงที่มีความถี่ต่ำให้ค่อยลง ทำให้ได้ยินเสียงที่มีความถี่สูงเพิ่มขึ้น
2) การฟัง การฟังจากบนลงล่าง หรือซ้ายไปขวา เพื่อเปรียบเทียบเสียงที่ได้ในระดับเดียวกัน
5) การใช้หูฟังส่วนนอกด้านกรวย หรือด้านระฆัง (Bell) จะใช้ฟังเสียง
ที่มีความถี่สูงและต่ำ ปกติจะใช้ฟังเสียงเสียงที่มีความถี่ต่ำ
1) ห้องตรวจต้องเงียบ ไม่มีเสียงรบกวนภายนอก
6) การใช้หูฟังในตำเเหน่งที่ต้องการจะตรวจ ไม่ควรมีสิ่งที่ปกปิด หรือ
บังผ่านเสื้อผ้า
วิธีการฟัง
1) การฟังโดยตรง (Direct Auscultation)
หมายถึง การฟังด้วยหูฟังโดยตรง ไม่ผ่านตัวกลางหรือเครื่องมือ เช่น ฟังเสียงพูด เสียงหายใจ
2) การฟังโดยใช้เครื่องมือ (Indirect Auscultation)
หมายถึง การฟังโดยตัวกลาง นั่นคือ มีเครื่องมือที่ช่วยในการรับฟังเพื่อให้ได้ยินชัดเจนขึ้น
ผิวหนัง ผม ขน เล็บ
ผิวหนัง
1. สีผิว (skin color)
สีผิวขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ
2. ลักษณะผิว (skin texture)
เป็นความรู้สึกในการคลำผิวหนัง ผิวปกติจะเรียบ เกลี้ยง ไม่หยาบหรือขรุขระ จะใช้เทคนิค ดูและคลำ
3. ความตึงตัว (skin turgor)
ภาวะปกติ ผิวหนังกลับสภาพเดิมทันที ภาวะผิดปกติ ผิวหนังตั้งอยู่นานเกิน 2-3 วินาที เรียกว่า
poor skin turgor
4. อุณหภูมิของผิวหนัง (temperature)
ภาวะปกติ ผิวหนังจะอุ่นทั่วกาย ภาวะผิดปกติ ผิวหนังร้อน ในรายมีไข้ ผิวหนังเย็น ในรายที่ทีภาวะช็อก มือเท้าเย็น หรือเลือดไปเลี้ยงส่วนปลายไม่ดี
5. ความชุ่มชื่น (moisture)
ภาวะปกติ ผิวจะแห้ง ชุ่มชื้น ภาวะผิดปกติ เหงื่อออกมาก เหงื่อขึ้นทั่วร่างกาย ผิวแห้งมากการไหลเวียนไม่ดี
6. เม็ดผื่นหรือตุ่ม (skin lesion)
ใช้การดูและคลำผิว เมื่อพบเม็ดผื่นต่างๆ ให้ตรวจดู สี ชนิดหรือประเภทรูปร่างหรือการรวมกันตำแหน่งและการกระจาย
7. จุดเลือดออก
เป็นการตรวจจุดเลือด หรือจ้ำเลือดที่เกิดจากการขยายของหลอดเลือด ชั้นตื้น การตรวจเริ่มด้วยการดู และการใช้คลำ
8. การบวม (edema)
ใช้เทคนิค การดูและการคลำ กดลงบนผิวหนังที่ด้านหลังมีกระดูกรอง กดแรงและนานพอควร ประมาณ 5-10วินาที และสังเกตมีรอยบุ๋ม หรือไม่ ตำแหน่งที่ตรวจ คือ หลังเท้า ข้อเท้า ขาด้าน medial ต่อกระดูกหน้าแข้ง (tibia)
ผม,ขน
การตรวจผมและขน
ใช้เทคนิคการดู คลำ และดมกลิ่น
ภาวะปกติ
สีผมจะเป็นธรรมชาติของเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ ปริมาณผมมากในวัยรุ่น ผมควรนุ่ม ไมหยาบและหักง่าย หนังศีรษะควรสะอาด
ภาวะผิดปกติ
ผมเปลี่ยนสีไป (โดยไม่ย้อม) ผมร่วงมาก ผมหยาบ เปราะ แตกง่าย ผมสกปรก มีรังแค เหา มีกลิ่น มีบาดแผลและตุ่ม
เล็บ
การตรวจเล็บ
ใช้การดูและคลำ มีจุดมุ่งหมาย ดูสี รูปร่าง ลักษณะเล็บ และค้นหาความผิดปกติ
ภาวะปกติ
โคนเล็บจะนุ่มหยุ่นเล็กน้อย มุมระหว่างฐานเล็บ (nail base) กับผิวหนังโคนเล็บเล็บเป็นสีชมพู ผิวเล็บเรียบ
ภาวะผิดปกติ
เล็บไม่เรียบ นูนบางไม่เท่ากัน
เล็บรูปช้อน (spooning finger)
ขาดธาตุเหล็ก
นิ้วปุ้ม (clubbing finger)
มักพบในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ
ศีรษะ ใบหน้า คอและต่อมน้ำเหลือง
การตรวจใบหน้า
1. การดู
ผู้ตรวจยืนเผชิญหน้ากับผู้ใช้บริการ สังเกตความ
สมมาตรของใบหน้า การเคลื่อนไหวต่างๆบนใบหน้า การทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้า
ลักษณะใบหน้าที่ผิดปกติที่พบบ่อยในคลินิก
1. Nephrotic syndrome
ใบหน้าบวมมาก จนทำให้สีผิวค่อนข้างซีดการตรวจร่างกายส่วนอื่นจะพบการบวมทั่วตัว
2. Cushing syndrome
ใบหน้าจะกลม เรียกว่า
moon face
พบในผู้ป่วยที่มี adrenal hormone ผิดปกติ หรือผู้ใช้ยาสเตียรอยด์เป็นประจำ
การตรวจคอ
1. การดู
ภาวะปกติ สามารถเคลื่อนไหวได้ตามที่ให้ทำ และเห็นพื้นที่หรือขอบเขตของคอ ภาวะผิดปกติ คอเอียง คอแข็งไม่สามารถก้มคอ หรือทำได้แต่ไม่สุด
2. การคลำ
ภาวะปกติ สามารถต้านแรงผู้ตรวจได้ ภาวะผิดปกติ ไม่สามารถต้านแรงได้หรือ เคลื่อนไหวได้อ่อนแรงหรือเจ็บ
การตรวจศีรษะ
1. การดู
ผู้ตรวจยืนเผชิญหน้ากับผู้ใช้บริการ สังเกตดูรูปร่างและขนาดของศีรษะ ผม หนังศีรษะ
2. การคลำ
ภาวะปกติ คลำไม่พบก้อนผิดปกติ ไม่พบต่อมน้ำเหลือง ภาวะผิดปกติ คลำพบก้อนผิดปกติ คลำพบต่อมน้ำเหลืองที่ท้ายทอยโต
การตรวจต่อมน้ำเหลือง
1. การดู
ภาวะปกติ ไม่พบก้อน ภาวะผิดปกติ พบก้อน นูน โต ซึ่งยืนยันโดยการคลำ
2. การคลำ
ภาวะปกติ คลำไม่พบก้อน ภาวะผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองโตมากกว่า 50 ม.ม. แดงและเจ็บพบการอักเสบ
ตา หู จมูก ปาก
การตรวจจมูกและโพรงอากาศ
1. การดู
ภาวะปกติ ปีกจมูกและจมูกมีขนาดเหมาะสมเท่ากัน ไม่หุบบานมากขณะหายใจ ไม่มีการอักเสบ ภาวะผิดปกติ ปีกจมูกทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน มีบวมแดง หุบบานไม่
เท่ากันขณะหายใจ
2. การคลำ
ภาวะปกติ จมูก ปีกจมูก บริเวณข้างเคียงและโพรงอากาศ กดไม่เจ็บ ภาวะผิดปกติ กดเจ็บ
การตรวจหู
1. การดู
ภาวะปกติ ใบหูทั้ง 2 ข้างอยู่ระดับกับตา ในรูหูพบขี้หู ไม่มีสิ่งผิดปกติ
ภาวะผิดปกติ
ใบหูสูงหรือต่ำกว่าระดับมุมตา พบในผู้ป่วยสมอง มีสิ่งผิดปกติหรือขี้หู เยื่อแก้วหูมีสีชมพูอมแดง
2. การคลำ
ภาวะปกติ ในตำแหน่งปกติจะไม่เจ็บ ทั้งนอกและในรูหู แต่อาจเจ็บเมื่อดึง ภาวะผิดปกติ มีอาการกดเจ็บ บวมแดง มีก้อน มีตุ่มหรือรอยโรค
การตรวจตา
4. ตรวจตำแหน่งตา ลูกตา และบริเวณรอบตา
5. ตรวจรูม่านตา
3. ตรวจเคลื่อนไหวของลูกตา
6. ตรวจความใสของของกระจกตา
2. ตรวจลานตา
7. ตรวจตาขาวและเยื่อบุลูกตา
1. ตรวจความสามารถในการมองเห็น
การตรวจปากและช่องปาก
ริมฝีปากสีชมพู
ชุ่มชื้น ไม่มีแผล ตุ่ม บวม เยื่อบุช่องปาก เพดานปากสีชมพู ไม่ซีด ไม่มีตุ่มเม็ดผื่น ภาวะผิดปกติ ริมฝีปากคล้ำ เขียวหรือซีดมาก บวมแดง มีแผลหรือตุ่ม
เต้านมและรักแร้
การตรวจเต้านม
1. การดู
ภาวะปกติ เต้านมทั้ง 2 ข้างไม่ควรแตกต่างกันมากไม่มีก้อน ไม่พบหลอดเลือดที่ผิดปกติ ภาวะผิดปกติ เต้านมขนาดใหญ่มากกว่าปกติหรือไม่เท่ากัน มีการอักเสบ
2. การคลำ
ภาวะปกติ เต้านมจะยืดหยุ่น กดไม่เจ็บหรืออาจเจ็บได้เล็กน้อย ภาวะผิดปกติ บวมแดง กดเจ็บเต้านมหรือหัวนม คลำพบก้อน
การตรวจรักแร้
การดู การคลำ
ภาวะปกติ ไม่พบก้อน คลำไม่พบต่อมน้ำเหลือง ภาวะผิดปกติ พบก้อน หรือต่อมน้ำเหลืองใหญ่กว่าปกติ