Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การช่วยชีวิตขั้นสูง (Advanced cardiac life support: ACLS) - Coggle Diagram
การช่วยชีวิตขั้นสูง (Advanced cardiac life support: ACLS)
การรักษาพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉินที่พบบ่อยทางอายุรกรรม
ช็อก
ชัก
หมดสติ เป็นลม
การได้รับสารพิษ
งูกัด สัตว์กัด ผึ้ง ต่อ แตน ต่อย
ไฟฟ้าช็อต ไฟไหม้ นํ้าร้อนลวก
หมดสติ
หมดสติ (Unconscious)
หมายถึงภาวะที่ร่างกายไม่รับรู้หรือตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่สมองส่วนกลางหรือส่วนทาลามัสถูกทำลาย
ประเภทของการหมดสติ
หมดสติ แต่มีการหายใจ
หมดสติพร้อมกับหายใจขัดหรือหยุดหายใจ
การตรวจผู้ป่วยหมดสติ
การตรวจลูกตา : ใช้สำลี/ ชายผ้าเขี่ยที่ตาขาวหรือขนตา
ตรวจดูลักษณะและขนาดรูม่านตา
การประเมิน GCS
การช่วยเหลือและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
ประเมินหาสาเหตุของการหมดสติ เช่น ตรวจระดับนํ้าตาล < 70 mg/dl ให้ 50% glucose IV. หมดสติร่วมกับกินสารพิษภายใน 1 ชั่วโมง สวนล้างท้องด้วย NSS 500 ml. (ยกเว้นมีข้อห้าม)
ให้ออกซิเจน และสารนํ้าตามข้อบ่งชี้
จัดท่านอนตะแคงกึ่งควํ่า
งดนํ้าและอาหารทางปาก
คลายเสื้อผ้า และสิ่งรัดตัวให้หลวม
ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
ส่งต่อสถานพยาบาลที่มีความพร้อม
ช็อค (Shock)
คือสภาวะที่มีการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายไม่เพียงพอ (inadequate tissue perfusion) ทำให้การนำสารต่างๆที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของ cell และการกำจัดของเสียออกจาก cell ไม่เพียงพอ ทำให้ cell ถูกทำลายและตายไป ถ้าทิ้งไว้นานอวัยวะต่างๆในร่างกายจะเป็นอันตรายและผู้ป่วยจะเสียชีวิตได้
สาเหตุหลักของภาวะช็อค
ภาวะช็อคคือ ภาวะที่มี poor tissue perfusion ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะกล่าวคือ
1) ภาวะที่เกิดจาก low perfusion pressure
2) ภาวะที่เกิดจาก low cellular oxygen
สาเหตุของภาวะช็อก
ภาวะช็อกจากการอุดกั้นนอกหัวใจ (Obstructive Shock)
ภาวะช็อกจากโรคหัวใจ (Cardiogenic Shock)
ภาวะช็อกจากปริมาณเลือดลดลง (Distributive Shock)
ภาวะช็อกจากร่างกายสูญเสียนํ้าและเกลือแร่ (Hypovolemic Shock)
ประเภทของช็อค
Hypovolemic shock
Septic shock
Cardiogenic shock
Neurogenic shock
Endocrinic shock
Anaphylactic shock
อาการ
กระสับกระส่าย ซีด
หนาว กระหายนํ้า อ่อนเพลีย
คลื่นไส้ อาเจียน
ชีพจรเบา เร็ว ความดันโลหิตตก
หายใจเร็วถี่ขึ้น ไม่สมํ่าเสมอ
มือเท้าเย็น เหงื่อออก ปัสสาวะน้อย
หมดสติ ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลืออาจเสียชีวิต
การช่วยเหลือและการรักษาเบื้องต้น
ประเมินความรู้สึกตัว CABs ตรวจวัดสัญญาณชีพ
ให้ผู้ป่วยนอนราบและยกปลายเท้าสูงกว่าลำตัว 10-20 นิ้ว
ให้ออกซิเจนและให้ความอบอุ่น
ให้สารนํ้าทดแทนทางหลอดเลือดดำ (isotonic solution) เช่น NSS หรือ Lactated Ringer’s solution
ให้งดนํ้าและอาหารทางปาก
ใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้เพื่อดูปริมาณปัสสาวะ
หาสาเหตุของอาการช็อกและแก้ไข
รีบนำส่งโรงพยาบาลที่มีความพร้อม
ชัก (Seizure)
นิยาม
Seizure
หมายถึง อาการที่มีการเปลี่ยนพฤติกรรมที่เกิดขึ้นชั่วขณะเนื่องจากมีความผิดปกติในสมอง แบ่งเป็น Convulsive (มีกล้ามเนื้อเกร็งหรือกระตุก) และ non-convulsive seizure(ไม่มีกล้ามเนื้อเกร็งหรือกระตุก)
Epilepsy
หมายถึงโรคลมชัก คือ Seizure ที่เกิดซํ้าตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป โดยมีลักษณะอาการจะคล้ายกันในแต่ละครั้ง
Convulsion
คืออาการที่มีการหดตัวของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นนอกเหนืออำนาจจิตใจ ซึ่งแสดงออกแบบเกร็ง(tonic) หรือกระตุก(clonic) ก็ได้
Status epilepticus
คืออาการชักตั้งแต่ 2 ครั้งติดกันในเวลาอันสั้น ระหว่างหยุดชักผู้ป่วยไม่ฟื้นคืนสติ หรือชักต่อเนื่องนานเกิน 30 นาที
สาเหตุของการชัก
ไม่ทราบสาเหตุ อาจเกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ บาดเจ็บระหว่างคลอด โรคหลอดเลือดสมอง
รอยโรคของสมองโดยตรง ได้แก่ สมองได้รับการกระทบกระเทือนซึ่งอาจเกิดในระยะแรกหรือระยะหลังบาดเจ็บ เนื้องอกในสมองทำให้ชักได้ถึงร้อยละ 10
ความผิดปกติทางชีวเคมี ที่พบบ่อย ได้แก่ นํ้าตาลในเลือดตํ่า สมองขาดออกซิเจน ได้รับพิษตะกั่ว การขาดยาบางอย่าง (ยาระงับชักหรือเหล้า) ขาดสมดุลอิเล็กโตรไลท์ เช่นระดับ แมกนีเซียมแคลเซียม และฟอสฟอรัสในเลือดตํ่า คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูงหรืออาการไข้สูง เป็นต้น
ชนิดของการชัก
1. การชักบางส่วน (Focal or Partial Seizure)
เป็นอาการชักที่เกิดขึ้นเฉพาะที่ไม่มีอาการหมดสติ แต่อาการแสดงออกทางการเคลื่อนไหวผิดปกติ
2. อาการชักทั่วไป
(Generalized seizure) อาการชักจะเกิดขึ้นทั้งตัวพบได้ดังนี้
2.1 อาการชักแบบแกรนด์มาล (Grand mal)แบ่งเป็น 3 ระยะ
ระยะมีอาการเตือน (aura) เช่น การได้กลิ่นแปลกๆ มองเห็นภาพผิดปกติ
ระยะที่ 2 หมดสติทันทีทันใดแล้วมีอาการเกร็ง (Tonic phase) ของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายทันที
ระยะที่ 3 ชัก (Clonic phase) มีกล้ามเนื้อกระตุกเป็นจังหวะ
2.2 อาการชักแบบเปติดมาล (Petitmal)
พบได้ในวัยเด็กอายุ 8-10 ปี และอาจหายเองได้เมื่ออายุมากขึ้น อาการมีเพียงหน้าซีด หมดสติไปชั่วขณะ 5-30 วินาที อาจจะเกิดขึ้นวันละหลายๆ ครั้ง อาการที่แสดงออกในเด็กจะพบว่า เด็กขาดความสนใจไปชั่วขณะหนึ่ง
การช่วยเหลือและการรักษาเบื้องต้น
ประเมินความรู้สึกตัว CABs
ดูแลระบบหายใจ ให้ออกซิเจน ทำทางเดินหายใจให้โล่ง ป้องกันสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นทางเดินหายใจ ถ้ามีเสมหะ เศษอาหาร หรือฟันปลอมให้เอาออก (ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ในการกดลิ้น)
นอนในที่ปลอดภัย นอนตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสูดสำลักและลิ้นตกอุดทางเดินหายใจ
ให้สารนํ้าทางหลอดเลือดดำเพื่อไว้ฉีดยาเวลาชักซํ้า
ชักจากไข้สูงให้เช็ดตัวลดไข้ และให้ยาลดไข้
การรักษา
ขณะชักให้ Diazepam (Valium) 10 มก.เข้าเส้นช้าๆ เนื่องจากยานี้กดการหายใจ
ต้องสังเกตจังหวะและอัตราการหายใจอย่างใกล้ชิด
ให้ Phenytoin (Dilantin) 500 ม.ก. หยดให้ทางเส้นเลือดดำช้าๆ นาทีละ 50 ม.ก. ยานี้กดการเต้นของหัวใจจึง
ต้องสังเกตการเต้นของหัวใจด้วย
ให้ Phenobarb ขนาด 15-50 ม.ก. (เด็ก) และ 50-100 ม.ก. (ผู้ใหญ่) กินวันละ 2-3 ครั้ง เพื่อควบคุมอาการชักในระยะยาว ยานี้ใช้ได้ผลดีและราคาถูก ใช้รักษาโรคลมชักแบบ แกรนด์มาล และอาการชักจากไข้สูง ใช้ไม่ได้ผลในเปติดมาล
เป็นลม (Syncope/Fainting)
หมายถึง
การมีภาวะหมดสติชั่วคราว เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงและจะพบว่ามีการสูญเสียการทรงตัว ภาวะดังกล่าวสามารถกลับคืนดีได้เอง บางครั้งอาจมีอาการเตือนมาก่อน เช่น วิงเวียน ใจสั่น ตาลาย
สาเหตุ:
การอยู่ในที่ๆมีอุณหภูมิสูง เหนื่อยจัด หิวจัด ออกกำลังกายหนัก ความเครียด วิตกกังวล ตกใจกลัว เสียเลือด เสียนํ้า เสียเกลือแร่ ได้รับบาดเจ็บรุนแรง ความดันตกในท่ายืน
การช่วยเหลือและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
ประเมินความรู้สึกตัว CABs
พาเข้าที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก
นอนราบไม่หนุนหมอน ยกปลายเท้าสูง
ถอดและคลายเสื้อผ้าให้หลวม
พัดหรือใช้ผ้าชุบนํ้าเช็ดหน้า มือ เท้า
ถ้าอาการไม่ดีขึ้น จนมีภาวะระบบหายใจและระบบการไหลเวียนโลหิตไม่ทำงาน ต้องช่วยฟื้นคืนชีพ