Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การป้องกันภาวะเสี่ยงและอุบัติเหตุที่พบบ่อย - Coggle Diagram
การป้องกันภาวะเสี่ยงและอุบัติเหตุที่พบบ่อย
การหกล้ม (Falling)
อุบัติการณ์
ร้อยละ 50-67 เป็นการหกล้มที่เกิดขึ้นในบ้าน
ผู้สูงอายุเพศหญิงจะมีอัตราการหกล้มสูงกว่าผู้สูงอายุเพศชาย
คือ
การเปลี่ยนท่าโดยไม่ตั้งใจ เป็นผลให้ร่างกายทรุดหรือลงนอนกับพื้น หรือปะทะสิ่งของต่างๆ อาจเกิดจากอาการหน้ามืดเป็นลม ขาอ่อนแรง การสะดุด เกี่ยวดึง ลื่น
สาเหตุ
ความบกพร่องของการมองเห็น
ความบกพร่องของการทรงตัว
ความบกพร่องของการเดิน
การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากความเจ็บป่วย
ความผิดปกติของหัวใจหรือหลอดเลือด
การรับความรู้สึกของระบบประสาทและสมองผิดปกติ
การเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อ
ความผิดปกติของสมดุลกรดด่าง เกลือแร่ในร่างกาย
ได้รับยาหลายชนิด
ปัญหาจิตใจ
ผลกระทบ
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
การรักษาผ่าตัดได้รับยาทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจครอบครัว
ผลกระทบทางด้านร่างกาย
นำไปสู่การเสียชีวิต การบาดเจ็บ หมดสติ กระทบกระเทือนต่อสมอง กระดูกหัก บริเวณข้อสะโพก ข้อมือ
ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือรับการผ่าตัดและฝึกเดินใหม่ ก่อให้เกิดภาวะพึ่งพาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
เกิดโรคแทรกซ้อนระหว่างป่วยหรือผ่าตัด เช่น ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ แผลกดทับ ปอดบวม
ผลกระทบทางด้านจิตใจ
เกิดความอาย วิตกกังวล กลัวการหกล้ม มีภาวะซึมเศร้า หมดความมั่นใจในตนเอง ทำให้ลดกิจกรรมการเข้าสังคม เก็บตัว
หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ค่อยเคลื่อนไหวจะส่งผลให้สูญเสียความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ข้อยึดติด ไม่มั่นใจในการเดิน
การป้องกัน
จัดสิ่งแวดล้อม
ทางเดินมีความสว่างเพียงพอ ไม่ควรเป็นแสงจ้า การจัดวางกระจกหลีกเลี่ยงไม่ไห้แสงสะท้อนเข้าตา
พื้นทางเดินควรเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง ไม่ลื่น ทำเครื่องหมายบริเวณที่มีความต่างระดับ ไม่ให้มีสิ่งกีดขวาง พื้นแห้ง กระเบื้องปูพื้นใช้สีที่เหมาะสมไม่ทำให้เกิดตาลาย
เก้าอี้มีความสูงขนาดวางเท้าได้พอดี ความกว้างของเก้าอี้มีขนาดพอที่ผู้สูงอายุนั่งได้สบาย มีฐานเก้าอี้มั่นคง
เตียงนอนควรมีความสูงระดับที่ผู้สูงอายุขึ้นหรือลุกออกจากเตียงได้สะดวก
ชั้นวางของควรมีความสูงระดับที่สามารถหยิบจับสิ่งของได้สะดวก
การปฎิบัติตนของผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการลื่นล้ม
ออกกำลังกายที่ช่วยทำให้สมดุลการทรงตัว
รับประทานยาตามขนาดที่แพทย์สั่ง สังเกตอาการผิดปกติ
ในการเดิน เคลื่อนไหว หรือเปลี่ยนท่า ไม่ควรรีบร้อน ขณะเดินให้ตามองพื้นและไม่ควรถือของสองมือในเวลาเดียวกัน
หลีกเลี่ยงการแหงนหน้า เพราะอาจทำให้หน้ามืด การเหลียวซ้ายและขวา หมุนศีรษะควรทำอย่างช้าๆ
เตรียมเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินที่จำเป็นให้อยู่ในที่ๆสามารถมองเห็น/ ใช้อุปกรณ์ เพื่อขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน
การบาดเจ็บ
การป้องกัน
ไม่ควรออกกำลังกายที่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อหรือออกแรงเบ่งมาก เช่น ยกน้ำหนัก
หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทก เช่น การกระโดด การเดินขึ้นลงบันไดที่สูงมากๆ การนั่งยองๆ การสะบัดแขนหรือขาแรงๆ
ไม่ควรออกกำลังกายที่ต้องใช้ความเร็วสูงหรือเปลี่ยนทิศทางเพราะจะหกล้มได้ง่าย
หลีกเลี่ยงการแข่งขัน
ให้ทุกส่วนของร่างกายได้ออกกำลังหรือเคลื่อนไหว ไม่ควรเน้นส่วนหนึ่งส่วนใดมากเกินไปเพราะจะทำให้บาดเจ็บได้
ไม่ควรออกกำลังกายบนพื้นที่ลาดชัน ลื่น ไม่เรียบ เป็นหลุม เป็นบ่อ ใกล้ถนน
หากมีอาการผิดปกติ เช่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก เหนื่อยมาก เจ็บกล้ามเนื้อ ควรหยุดออกกำลังกาย
ลักษณะการบาดเจ็บที่พบบ่อย
แผลถลอก
ปฐมพยาบาล
คือห้ามเลือดและใช้ผ้าสะอาดปิดแผลไว้
ข้อเคล็ดหรือแพลง
การปฐมพยาบาล
ประคบเย็นใน 24 ชั่วโมงแรก พันผ้าไว้และงดการเคลื่อนไหวหลัง 24 ชั่วโมงให้ใช้ครีมนวดทาหรือประคบด้วยน้ำอุ่น
เนื้อเยื่อฟกช้ำ มีเลือดออกใต้ผิวหนังมองเห็นเป็นจ้ำเลือดสีเเดงคล้ำ
การปฐมพยาบาล
ใช้ความเย็นประคบ พันผ้า หรือยกบริเวณที่บาดเจ็บให้สูง หลัง 24 ชั่วโมงให้ประคบร้อน
กระดูกหัก
การปฐมพยาบาล
ประคบเย็นและเข้าเฝือกชั่วคราว และรีบนำส่งแพทย์
ศีรษะถูกกระแทกทำให้สมองถูกกระทบกระเทือน
การปฐมพยาบาล
คือจัดให้ผู้ป่วยนอนหงายราบคลายเสื้อผ้าและสิ่งที่รัดร่างกายให้หลวม
ตะคริว
การปฐมพยาบาล
ใช้ความร้อนประคบและนวดกล้ามเนื้อให้คลายตัว
ข้อเคลื่อนหรือหลุด
การปฐมพยาบาล
ยึดด้วยผ้าหรือวัสดุอื่น ใช้ความเย็นประคบให้รับประทานยาแก้ปวดและรีบนำส่งแพทย์
กล้ามเนื้อฉีก
การปฐมพยาบาล
ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าพักกล้ามเนื้อส่วนนั้นให้นานที่สุด ใช้ความเย็นประคบภายใน 24 ชั่วโมงแรก ใช้ผ้ายืดพันไว้จากนั้นประคบด้วยน้ำอุ่น
การทารุณกรรมและถูกทอดทิ้ง
สาเหตุ
สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลง การแข่งขันความเครียด ความกดดันในชีวิต ครอบครัวมีขนาดเล็กลง
การย้ายถิ่นเพื่อหางานทำของลูกหลาน
อุบัติการณ์การ
ถูกกระทำรุนแรงทางร่างกาย เช่น การทำร้าย ทุบตี กักขัง
กระทำความรุนแรงในด้านจิตใจ เช่น พูดก้าวร้าว ไม่ให้ความเคารพ
ส่วนใหญ่เป็นการกระทำจากคนในครอบครัว
ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม เจ็บป่วยเรื้อรัง หรือผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่กับที่ติดสุรา ยาเสพติดและผู้สูงอายุที่ยากจนถือเป็นผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงต่อการถูกกระทำรุนแรง
การละเลยเพิกเฉยต่อผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพา
การเอาเปรียบฉกฉวยประโยชน์จากทรัพย์สินของผู้สูงอายุ
ลูกหลานวัยหนุ่มสาวไปขายแรงงานในต่างจังหวัด ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งให้เฝ้าบ้าน เลี้ยงหลาน
เบี้ยยังชีพไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย ต้องพึ่งพาลูกหลาน อาศัยวัด
สภาพสังคมเปลี่ยนไป ผู้สูงอายุมีลูกน้อยลง
เข้าสู่ภาวะพึ่งพา มีการเจ็บป่วยเรื้อรัง การจะให้ลูกมาดูแลเป็นเรื่องลำบากเพราะลูกต้องทำงาน
การป้องกัน
หากพบปัญหาผู้สูงถูกทารุณกรรมและถูกทอดทิ้งให้ติดต่อสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ของจังหวัด