Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Kingdom Plantae, ดิวิชันโคนิเฟอโรไฟตา (Division Coniferophyta) - Coggle…
Kingdom Plantae
ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช
มีคลอโรฟิลล์บรรจุอยู่ในเม็ดคลอโรพลาสต์นอกจากนั้นยังมีรงควัตถุอื่น ๆ อีกเช่น แคโรทีนอยด์
ไม่เคลื่อนที่ไปมาหรือไม่เคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง แต่ในบางระยะของวงชีวิตอาจมีแฟลกเจลลัมสำหรับการเคลื่อนที่ได้
ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ รวมกลุ่มกันเป็นเนื้อเยื่อซึ่งมีการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ไปทำหน้าที่เฉพาะ
มีผนังเซลล์ (cell wall) เป็นสารเซลลูโลสและสารเพคติน
เป็นสิ่งมีชีวิตพวกยูคาริโอติก (Eukaryotic cell)
เซลล์สืบพันธุ์ผสมกันได้ไซโกต แล้วจะต้องเจริญผ่านระยะเอ็มบริโอ แล้วจึงจะเจริญเป็นต้นใหม่
มีวงชีวิตแบบสลับ (Alternation of generation) คือ มีระยะของต้นแกมีโทไฟต์(Gametophyte) สร้างเซลล์สืบพันธุ์ผสมกันแบบอาศัยเพศ สลับกับระยะของต้นสปอรโรไฟต์(Sporophyte) สร้างสปอร์เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้หลายอย่าง เช่น แสง น้ำ สารเคมีและแรงโน้มถ่วง
สิ่งมีชีวิตที่เป็นพืชในโลกนี้มีประมาณ 350,000 ชนิด พืชแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
กลุ่มพืชไม่มีท่อลำเลียง (non – vascular plants)
เป็นกลุ่มแรก ๆ ที่วิวัฒนาการขึ้นสู่บนบก จึงยังคงมีลักษณะที่ต้องการความชุ่มชื้นหรือน้ำเพื่อการอยู่รอด
อาศัยน้ำในการสืบพันธุ์ ดังนั้นจึงมักพบเจริญตามพื้นดินที่มีความชื้นมาก
พืชในกลุ่มนี้มีขนาดเล็ก ไม่มีระบบท่อลำเลียง และไม่มีเนื้อเยื่อที่เป็นสารลิกนิน
เซลล์มีสัดส่วนของคลอโรฟิลล์ A และ B ใกล้เคียงกับสาหร่ายสีเขียว รวมถึงมีต้นอ่อน (Protonema)
ไม่มี ราก ใบ ที่แท้จริง แต่มีRhizoid ช่วยในการยึดเกาะกับวัสดุที่เจริญอยู่ มีส่วนของ Phylloid ที่ดูคล้ายใบ และส่วน Cauloid ที่ดูคล้ายต้น
พืชในกลุ่มนี้จะมีระยะ Gametophyte เด่นกว่า Sporophyte
ประโยชน์
ไบรโอไฟท์เป็นพืชที่มีประโยชน์มากมาย ทั้งในการช่วยคลุมดิน ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน
นอกจากนั้น Sphagnum moss ยังถูกใช้ในทางเกษตร และเชื่อว่าการเติบโตล้มตายทับถมกันของมันทำให้ดินเป็นกรด
ต้นแกมีโทไฟต์มีทั้งที่เป็นต้น มีส่วนคล้ายใบ (Leafy liverworts) และที่เป็นแผ่นบางๆ(Thallus liverworts) ภายในเซลล์จะมีหยดน้ำมันอยู่ด้วย
สามารถสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้เนื่องจากมีอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์
พืชไม่มีท่อลำเลียงมีประมาณ 23,000 ชนิด แบ่งออกเป็น 3 Divisions คือ
ดิวิชันเฮปาโทไฟตา (Division Hepatophyta)
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
สามารถสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้โดย แกมีโตไฟต์ของลิเวอร์เวิร์ทหลายชนิดจัดเป็น Unisexual
เช่น Marchantia สร้าง Archegoniophores รูปร่างคล้ายร่ม บริเวณด้านล่างของ Archegoniophores จะมีArchegonium ยื่นออกมา ส่วนAntheridium สร้างบริเวณด้านบนของAntheridiophores
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
การสร้าง Gemma cup ภายในมี Gemma หรือGemmae มีรูปร่างคล้ายไข่ หรือรูปดาว หรือคล้ายเลนส์ซึ่งจะหลุดจาก Gemma cup เมื่อได้รับน้ำฝน
เมื่อ Gemmae หลุดไป สามารถเจริญเป็นต้นใหม่ได้
เนื้อเยื่อที่ขาดของต้นเดิมสามารถเจริญเป็นต้นใหม่ได้
ดิวิชันแอนโทซีโรไฟตา (Division Antrocerophyta)
ต้นแกมีโทไฟต์มีลักษณะเป็นแผ่น มีรอยหยักที่ขอบ มักมีคลอโรพลาสต์เพียง 1 คลอโรพลาสต์ต่อเซลล์
สปอร์โรไฟต์ของฮอร์นเวิร์ทมีความแตกต่างจากสปอร์โรไฟต์ของชนิดอื่นมากมีลักษณะเฉพาะคือรูปร่างคล้ายกับเขาสัตว์สีเขียว ยาวประมาณ 1-4 cm ภายมีเนื้อเยื่อที่แบ่งตัวให้ spores
ลักษณะของฮอร์นเวิร์ทที่แตกต่างจากไบรโอไฟต์อื่น
สปอร์โรไฟต์รูปร่างเรียวยาวคล้ายเขาสัตว์สีเขียว และมี intercalary meristem ซึ่งทำให้สปอร์โรไฟต์สามารถเจริญได้อย่างไม่จำกัด
Archegonium ฝังตัวอยู่ในแกมมีโตไฟต์มีโครงสร้างที่คล้ายกับปากใบ (stomata like structure)
เซลล์ที่ทeหน้าที่ในการสังเคราะห์ด้วยแสงมีคลอโรพลาสต์ 1 เม็ด และมีอาหารสะสมเป็นpyrenoid เหมือนกับสาหร่าย สีเขียวและIsoetes (vascular plant)
ดิวิชันไบรโอไฟตา (Division Bryophyta)
สามารถเจริญได้ทั่วไป เช่น ตามเปลือกไม้ พื้นดิน ก้อนหิน
พืชตัวแทนที่ใช้ในการศึกษาพืชกลุ่มนี้คือ มอส Sphagnum หรือ Peat moss หรือ Box moss หรือ ข้าวตอกฤษี ข้าวตอกพระร่วง
พืชชนิดนี้ประกอบด้วยเซลล์สองแบบคือเซลล์ที่มีชีวิตทำหน้าที่ในการสังเคราะห์อาหารด้วยแสงและเซลล์ที่ตายแล้วซึ่งทำหน้าที่ในการเก็บกักน้ำอาจเก็บได้มากถึง 200 เท่า
ต้นแกมีโทไฟต์
มีแกมีโทไฟต์หรือทัลลัส (thallus) เป็นโครงข่ายเส้นใยบนผิวดินหรือใต้ดินตื้นๆไม่มีคลอโรฟิลล์ เรียกว่า Protonema
มีส่วนที่คล้ายราก (rhizoids) ทำหน้าที่ยึดลำต้นกับดิน ดูดซับน้ำและแร่ธาตุส่วนที่คล้ายลำต้น (cauloid) ช่วยพยุงส่วนคล้ายลำต้นให้ตั้งตรง และส่วนลักษณะคล้ายใบ (phylloids) มีสีเขียวแกมเหลืองเรียงเวียนรอบแกนกลาง
ต้นสปอโรไฟต์
ประกอบด้วยส่วนสำคัญ คือ Foot ใช้ยึดกับแกมมีโตไฟต์มี Seta หรือ Stalkเป็นก้านชู ยาว เพื่อชู Sporangium หรือ capsule
กลุ่มพืชมีท่อลำเลียง (vascular plants)
ลักษณะที่แตกต่างจากกลุ่มไบรโอไฟต์
มีขนาดใหญ่ อาศัยอยู่บนพื้นดินที่ไม่จำเป็นต้องชื้นแฉะมาก
มีการพัฒนาเนื้อเยื่อไปเป็นใบที่ทำหน้าที่รับพลังงานแสง
มีการพัฒนาระบบท่อลำเลียง (Vascular system)
มีเนื้อเยื่อที่เสริมให้ความแข็งแรงคือ Ligninified tissue ซึ่งพบในผนังเซลล์ชั้นที่สอง(Secondary wall)
มีเนื้อเยื่อผิวที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊สและป้องการสูญเสียน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นพืชกลุ่มที่พบมากที่สุดคือ ประมาณ 250,000 ชนิด แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย
กลุ่มพืชไม่มีเมล็ด (Seedless plants)
Division Psilophyta : หวายทะนอย
Division Lycophyta : ตีนตุ๊กแก
Division Sphenophyta : หญ้าถอดปล้อง หญ้าหางม้า
Division Pterophyta : เฟิร์น
กลุ่มพืชมีเมล็ด (Seed plants)
Division Cycadophyta : ปรง
Division Coniferophyta : สน
Division Ginkgophyta : แป๊ะก๊วย
Division Gnetophyta : มะเมื่อย
ดิวิชันไซโลไฟตา (Division Psilophyta)
เป็นพืชที่มีวิวัฒนาการต่eสุดในพวกที่มีท่อลำเลียง
สูญพันธุ์เกือบหมด ยังคงเหลืออยู่ในปัจจุบันเพียง 2 สกุล คือ 1.หวายทะนอย (Psilotum sp. : Whisk fern) พบในป่าเขตร้อนหรือเขตอบอุ่น 2.เมสซิพเทอริส (Tmesipteris sp.) พบในป่าออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์
ท่อลำเลียงในลำต้นของ Psilotum เป็นแบบ protostele พืชชนิดนี้มีท่อลำเลียงเฉพาะในส่วนของลำต้น จึงจัดว่าไม่มีรากและใบที่แท้จริง
ดิวิชันไลโคไฟตา (Division Lycophyta)
เป็นพืชมีท่อลำเลียงที่เริ่มมีรากและใบที่แท้จริง
ใบจะมี 2 ลักษณะ คือ ใบที่ทำหน้าที่หลักสร้างอาหารและใบที่ทำหน้าที่สร้างสปอร์ (sporophyll)
เป็นพืชล้มลุกหลายฤดูกาล พบได้ในเขตอากาศต่างๆทั่วไปที่มีความชื้นสูง
ดิวิชันสฟีโนไฟตา (Division Sphenophyta)
หญ้าถอดปล้อง ชนิดที่พบในไทยคือ Equisetum debile Roxb. เนื้อเยื่อผิวมีส่วนประกอบประเภทซิลิกา สมัยก่อนนำมาใช้ขัดถูชามให้มีความเงางาม
Equisetum มีท่อลำเลียงทั้งในใบ ดอก ราก ลำต้นใต้ดินที่เป็น Rhizome
ส่วนของลำต้นมีสีเขียวใช้ในการสังเคราะหด้วยแสง
ดิวิชันเทอโรไฟตา (Division Pterophyta)
ได้แก่ พืชจำพวกเฟิร์นหรือกูดชนิดต่างๆ มีสมาชิก
ประมาณ 12,000 ชนิด
มีลำต้นเป็นเหง้า หรือเป็นเถา มีใบเกล็ดหรือขนปกคลุม
เหง้ามีรากเล็กฝอย หรือบางชนิดมีรากขนาดใหญ่
บางสกุลมีใบขนาดใหญ่ที่สุดในอาณาจักรพืช เช่นMarattia
ใบเฟิร์นบางชนิดทำหน้าที่ขยายพันธุ์ เช่น บริเวณปลายสุดของใบเกิดเป็นเนื้อเยื่อเจริญและแบ่งตัวให้พืชต้นใหม่เรียกเฟิร์นแบบนี้ว่า Walking fern
ดิวิชันไซแคโดไฟตา (Division Cycadophyta)
เป็นพืชที่เรียกทั่วไปว่า Cycads หรือปรง
เป็นพืชบก มีลักษณะคล้ายพวกปาล์ม ลำต้นตรง ไม่มีการแตกกิ่ง อาจมีลำต้นใต้ดิน หรือลำต้นอยู่ใต้ดินทั้งหมด
Sporophyte มีขนาดใหญ่เป็นที่อยู่ของ Gametophyte
ดิวิชันกิงโกไฟตา (Division Ginkgophyta)
ปัจจุบันเหลือเพียงชนิดเดียว คือ แปะก๊วย Ginkgo biloba L.
พบได้ตั้งแต่ยุค Permian ปัจจุบันพบเป็นพืชพื้นเมืองในจีน และญี่ปุ่น และเจริญแพร่พันธุ์เข้าสู่ยุโรปและอเมริกา ในบริเวณอบอุ่นถึงหนาว
เป็นพืชที่มีลำต้นขนาดใหญ่คล้ายพืชมีดอก แผ่นใบกว้างคล้ายพัด เมล็ดไม่มีผนังรังไข่หุ้มเมล็ดมีขนาดใหญ่รับประทานได้
ดิวิชันนีโทไฟตา (Division Gnetophyta)
เป็นพืชกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีสมาชิกเพียง 3 สกุลคือ Gnetum, Ephedra และ Welwitshia
มีลักษณะบางอย่างคล้ายคลึงกับพืชดอก จึงจัดเป็น Gymnosperm ที่มีวิวัฒนาการ
สูงสุด ส่วนใหญ่พบในเขตแห้งแล้งหรือทะเลทราย บางชนิดพบในเขตร้อน
เป็นไม้ยืนต้น มีลักษณะแตกต่างจากพืชเมล็ดเปลือยกลุ่มอื่น คือ พบเวสเซลในท่อลำเลียงน้ำ และมีลักษณะคล้ายพืชดอก คือ มีกลีบดอก มีใบเลี้ยง 2 ใบ แต่เมล็ดยังไม่มีเปลือกหุ้ม
ดิวิชันแอนโทไฟตา (Division Anthophyta)
พืชในดิวิชันนี้เป็นพืชดอกทั้งหมด มีประมาณ
300,000 ชนิด
มีวิวัฒนาการดีที่สุดในอาณาจักรพืช
เมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม หรือไข่อ่อนมีรังไข่ห่อหุ้ม
เมล็ดเกิดในผลรังไข่
วงจรชีวิตแบบสลับระหว่างสปอโรไฟต์และแกมีโตไฟต์โดยแกมีโตไฟต์มีอายุสั้น
อวัยวะสืบพันธุ์ คือ ดอก สร้างสปอร์ 2 ชนิด คือ
ไมโครสปอร์สร้างใน anther
เมกะสปอร์ สร้างใน ovule
ดิวิชันโคนิเฟอโรไฟตา (Division Coniferophyta)
ถูกเรียกว่าสนโคนิเฟอร์(สนสองใบ สนสามใบ สนเกี๊ยะ ฯลฯ)
พืชในกลุ่มนี้เนื้อไม้ มีการเจริญขั้นที่สอง
ระบบรากเป็นรากแก้วมักพบ Mycorhyza ที่รากด้วย
ไซเลมประกอบด้วยเทรคีตเป็นส่วนใหญ่ คอร์เทกซ์ของต้นมักมีน้ำมันหรือยางที่มีกลิ่นเฉพาะ