Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
งานบ้าน - Coggle Diagram
งานบ้าน
การดูแลรักษา ทำความสะอาด จัด ตกแต่งบ้านและโรงเรียน
1.การดูแลรักษาและกาทำความสะอาดบ้าน
1) ทำความสะอาดห้องต่างๆ ภายในบ้าน ด้วยกานปัด กวาด เช็ดถู ผนังห้อง พื้น หน้าตาง เพดาน
2) ทิ้งขยะทุกวัน โดยแยกขยะเปียก แห้ง และมัดปากถุงให้แน่นห่อนนำไปทิ้ง เพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นเล็ดออกมา
3) ทำความสะอาดเครื่องเรือน
(1) ประเภทเครื่องไม้
(2) เครื่องเรือนประเภทผ้าบุนวม
(3) เครื่องเรือนประเภทหนัง
(4) เครื่องเรือนประเภทโลหะ
(5) เครื่องเรือนประเภทพลาสติก
4) ดูแลรักษาและทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าและสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
1.ตู้เย็น
จัดวางตู้เย็นให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ห่างจากผนังประมาณ 6 นิ้ว - ไม่ตั้งตู้เย็นไว้บริเวณ เตาหุงต้ม หรือที่เปียกชื้น
ห้ามใช้ของแหลมคมแซะน้ำแข็งในช่องแช่แข็ง
หมั่นละลายน้ำแข็ง
ไม่ควรนำของร้อนแช่ตู้เย็น
ทำความสะอาดด้านหลังตู้เย็นอยู่เสมอ
2.เตารีดไฟฟ้า
ตั้งปุ่มระดับความร้อนให้เหมาะสมกับชนิดของผ้ที่จะรีด รีดครั้งละมากๆ เพื่อประหยัดไฟฟ้า
ก่อนเสียบหรือถอดปลั๊กควรปิดเตารีดก่อน
เมื่อเกิดการชำรุด ควรซ่อมแซมก่อนจึงนำมาใช้ หรือแยกออกมาเพื่อรอซ่อม
ก่อนเก็บเตารีด ควรรอให้ตัวเตารีดเย็นลงเสียก่อน จึงเช็ดทำความสะอาดด้วยผ้านิ่มๆ
ถ้าเกิดรอยไหม้ ให้ใช้ยาสีฟันขัดถูที่รอยไหม้หลายๆครั้ง
ตั้งปุ่มระดับความร้อนให้เหมาะสมกับชนิดของผ้ที่จะรีด รีดครั้งละมากๆ เพื่อประหยัดไฟฟ้า
ก่อนเสียบหรือถอดปลั๊กควรปิดเตารีดก่อน
เมื่อเกิดการชำรุด ควรซ่อมแซมก่อนจึงนำมาใช้ หรือแยกออกมาเพื่อรอซ่อม
ก่อนเก็บเตารีด ควรรอให้ตัวเตารีดเย็นลงเสียก่อน จึงเช็ดทำความสะอาดด้วยผ้านิ่มๆ
ถ้าเกิดรอยไหม้ ให้ใช้ยาสีฟันขัดถูที่รอยไหม้หลายๆครั้ง
3.เครื่องซักผ้า
ทำความสะอาดตัวเครื่องให้สะอาดและแห้ง หลังใช้งานและเปิดฝาเพื่อระบายความร้อนสักครู่ก่อน
ล้างกล่องใส่ผงซักฟอกและน้ำยาปรับผ้านุ่มสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ล้างตัวกรองน้ำเข้าทุกเดือน
ล้างถุงกรองให้สะอาดทุกสัปดาห์และระวังไม่ให้ถุงกรองขาด
เครื่องดูดฝุ่น
ไม่ควรดูดฝุ่นที่เป็นเศษแก้ว เพราะอาจทำให้ถุงเก็บฝุ่นขาดได้ นอกจกานี้ไม่ควรดูดน้ำเพราะจะทำให้ถุงเก็บฝุ่นเปียกชื้น ขึ้นรา เกิดกลิ่นเหม็น
ไม่ควรให้ตัวเครื่องถูกน้ำ
ไม่ควรเก็บไว้ใกล้แหล่งความร้อน
ทำความสะอาดภายในเครื่องทุกครั้งหลังใช้งาน
5.เตาไม่โครเวฟ
ไม่ควรวางไมโครเวฟไว้ใกลเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ เพราะจะทำให้รบกวนระบบการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้น
ตั้งเวลาและอุณหภูมิให้สอดคล้องกับชนิดและปริมาณอาหาร
ทำความสะอาดภายในเครื่องทุกครั้งหลังใช้
เครื่องปรับอากาศ
พัดลม
อย่าเปิดพัดลมทิ้งไว้โดยไม่ใช้งาน
ปรับระดับความเร็วลมให้เหมาะสม
ปิดพัดลมและดึงปลั๊กออกทุกครั้งหลังใช้
หมั่นถอดใบพัดลมและฝาครอบใบพัดลมมาล้างทำความสะอาดเสทอ
ตั้งปุ่มปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมโดยไม่ต่ำกว่า 25 องศา
หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ ไม่ให้มีฝุ่นจับเพราะประสิทธิภาพการทำความเย็นจะลดลง
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
อย่าเปิดฝาหม้อหุงข้าวดูในขณะหุงข้าว
ไม่เก็บหม้อข้าวไว้ในที่ชื้น เพราะจะเป็นสนิมได้ง่าย
ตรวจสอบขั้วต่อสายที่หม้อหุงข้าวเป็นประจำถ้าชำรุดควรซ่อมแซมก่อนใช้
ก่อนวางหม้อชั้นในลงในหม้อชั้นนอก ให้เช็ดด้านนอกของหม้อชั้นในให้แห้งสนิท
ห้ามใช้ฝอยขัดหรือแผ่นขัดหม้อชั้นใน
กาต้มน้ำไฟฟ้า
ถ้าต้มน้ำต่อเนื่อง ต้องมีน้ำบรรจุไว้เสมอ
ไม่วางกาต้มน้ำไว้ใกล้วัสดุติดไฟ
ห้ามใส่น้ำให้ปริมาณมากเกินไป เพราะเวลาน้ำเดือดจะเกิดน้ำล้น และทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้
เมื่อไม่ใช้งานเป็นเวลานานควรถอดปลั๊กไฟฟ้า เทน้ำทิ้งคว่ำไว้ให้แห้ง
โทรทัศน์
ไม่ควรกดรีโมตเปลี่ยนช่องบ่อยๆ เพราะสิ้นเปลืองพังงานไฟฟ้า
ในการดูโทรทัศน์เวลากลางคืน ควรใช้สวิตซั้งเวลาปิดโทรทัศน์
ในขณะที่มีฝนตก ฟ้าผ่า ควรปิดโทรทัศน์และถอดปลั๊กไฟฟ้าออก
ติดตั้งเสาอากาศให้มั่นคงแข็งแรง ห่างจากสายไฟฟ้า
ปิดโทรทัศน์และถอดปลั๊กเมื่อดูเสร็จ
วางไว้ในที่ถ่ายเทอากาศดี
การจัดและตกแต่งบ้าน
1) เลือกใช้เครื่องเรือนของตกแต่งให้เหมาะสมกับขนาดของห้อง
2) เลือกใช้เครี่องเรือนและของตกแต่ง เช่น พรหม ผ้าม่าน ให้มีสีสันเหมาะกับผนังพื้นห้อง
3) เลือกใช้เครื่องเรือนและของตกแต่งที่ทำความสะอาดได้ง่าย
4) จัดวางเครื่องเรือน ของตกแต่ง และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ ในตำแหน่งที่สามารถใช้งานได้สะดวก
5) เลือกภาพติดผนังในแต่ละห้องให้เหมาะสม
6) จัดจุดสนใจไว้บริเวณต่างๆ ของห้อง โดนเฉพาะมุมมืด
7) ในห้องที่คับแคบควรเลือกใช้เครื่องเรือนและของตกแต่งสีอ่อน หรือติดกระจกเงาไว้ที่ผนังห้องด้านใดด้านหนึ่ง
8) ตำแหน่งการจัดวางเครื่องเรือนและของตกแต่งในห้องต่างๆ ไม่ควรบังทิศทางลม
9) ปรับแสงให้เหมาะกับการใช้งาน ถ้าหากมีแสงแดดส่องส่องเข้ามาในห้องมากเกินไป ให้ติดมู่ลี่หรือผ้าม่านที่ประตูและหน้าต่าง ใรห้องที่มีแสงน้อยควรติดโคมไฟในจุดที่ใช้งาน
การจัดตกแต่งโรงเรียน
1)การออกแบบสวน
(1)ความกลมกลืนกัน
• ลักษณะของพื้นที่ของสวน เป็นรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หรือวงกลม
• ต้นไม้ที่ใช้ปลูก ควรเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะพื้นที่และตัวอาคาร
(2)รูปแบบของสวน
(2.1) สวนแบบเป็นทางการ คือ การจัดสวนที่อาศัยรูปทรงเรขาคณิต
(2.2) สวนแบบไม่เป็นทางการ คือ การจัดสวนที่ไม่อาศัยรูปทรงเรขาคณิตเป็นหลัก และพิจารณาจากความเหมาะสมโดยไม่จำเป็นต้องมีความเท่ากันหรือเหมือนกัน
(3) เป็นการแบ่งสัดส่วนกันระหว่างพื้นที่โล่งได้แก่ พื้นที่ที่เป็นน้ำ ดิน และหญ้า
(4) เส้น เส้นเป็นสิ่งที่ทำให้สวนมีความแตกต่างกันในด้านความรู้สึกเมื่อมองเห็น
(5) รูปร่าง รูปร่าทางเดินในสวนหรือรูปแบบของสนามหญ้า ผู้ออกแบบต้องเป็นผู้ใช้ความสามารถในการจัดสางให้ทุกส่วนภายในมีความสัมพันธ์กัน โดยอาจประยุกต์ใช้จากการแบ่งพื้นที่หรือแบ่งตามสีชองพันธ์ไม้และสีของสิ่งตกแต่ง
(6) ผิวสัมผัส ก้อนหินและทางเดิน ที่มีผิวหยาบจะทำให้เกิดความรู้สึกแข้งกล้าเหมือนกับเส้นตรงและให้ความรู้สึกโบราณ ส่วนก้อนหินและทางเดินที่มีพื้นผิวที่ละเอียดจะให้ความรู้สึกร่าเริงและลึกลับกว่าผิวหยาบ
(7) สี หมายถึง สีของไม้ซึ่งช่วยเพิ่มความสว่างแก่สวน การมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสี จะช่วยให้สามารถจัดกลุ่มสีของสวนให้กลมกลืนและสวยงามมากขึ้น
2) พันธ์ไม้ที่ใช้ตกแต่งสวนสวนกับพันธุ์ไม้เป็นของคู่กัน ความสวยของสวนขึ้นอยู่กับพันธุ์ไม้รวมทั้งองค์ประกอบต่างๆ และการจัดวางอย่างมีศิลปะ
พันธุ์ไม้แบ่งตามลักษณะการเจริญเติมโต
(1)ความกลมกลืนกัน
(2)รูปแบบของสวน
(1)ไม้ยืนต้น
(2)ไม้ประธาน
(3)ไม้พุ่ม
(4)ไม้คลุมดิน
(5) หญ้า
วัสดุอื่นๆ ที่ใช้ตกแต่งสวน
(1) หิน
(2) เก้าอี้สนาม
(3) รูปปั้น
(4) กระถางหรือภาชนะบรรจุต้นไม้ต่างๆ
(5) น้ำและไฟในสวน
(6) ศาลา
4.ขั้นตอนการจัดสวน
(1) การเตรียมพื้นที่ เป็นการปรับพื้นที่ที่จะจัดสวนให้เรียบโล่ง เหลือไว้แต่สิ่งที่ใช้ได้ในภายหลัง การปรับพื้นที่ทำได้โดยรดน้ำพื้นเดินจนเปียก แล้วใช้ลูกกลิ้งขนาดใหญ่บดให้เรียบ ถ้าบริเวณใดยุบเป็นบ่อ ให้เติมดินลงไป ปรับพื้นดินให้ลาดเอียง ไปทางท่อระบายน้ำ และราดเอียงออกจากตัวาคาร
(2) การเลือกซื้อพันธ์ไม้ เป็นการสำรวจและหาแหล่งพันธุ์ไม้ที่อยู่ในสวนที่ออกแบบไว้ โดยเลือกชนิดของไม้ ขนาด และรูปทรง เมื่อเลือกได้แล้ว ต้องเตรียมขุดหลุมพร้อมที่จะปลูกได้
(3) การปรับหลุมปลูกต้นไม้ เมื่อได้ตำแหน่งที่จะปลูกต้นไม้แต่ละต้นแล้ว ให้ใช้ปูนขาวโรยตามจุดนั้น เพื่อที่จะเตรียมจุด เมื่อขุดดินออกแล้วควรย่อยดินให้ละเอียด ผสมกับปุ๋ยคอกหรืปุ๋ยหมักและปูนขาวอย่างละกำมือ เพื่อช่วยให้ต้นไม้เจริญเติมโตได้ดี แล้วกลบลงไปในหลุมตามเดิมเพื่อเตรียมรอปลูกต้นไม้
(4) การวางก้อนหิน ควรวางตั้งแต่ 2 ก้อนขึ้นไป ถ้ากลุ่มใหญ่ก็แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย 2 หรือ 3 กลุ่ม
(5) การปลูกไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้คุมดิน เมื่อเตรียมหลุม และเตรียมดินในหลุมเรียบร้อยแล้ว ให้ปลูกต้นไม้ต้นใหญ่ก่อน โกยดินออกจากหลุมให้ลึกให้เท่ากับความสูงของกระถาง วางต้นไม้ไว้ในหลุม กลบดินให้แน่นและให้โคนต้นไม้เสมอปากหลุมรอบๆ และทำเป็นแอ่งรับน้ำไว้เพื่อให้ต้นไม้ได้รับน้ำมากที่สุด
การปลูกไม้พุ่มในแปลงใหญ่ที่เตรียมไว้ ควรเว้นระยะที่พอเหมาะแก่การเจริญเติมโตของไม้พุ่มชนิดนั้นๆด้วย การปลูกไม้คุมดินง่ายต่อการถอดกระถางออก ไม้คลุมดินส่วนใหญ่ค่อนข้างทนทาน ถ้าภายในกระถางมีหลายต้นก็แยกปลูกได้ จะได้ประหยัดต้นไม้
(6) การปลูกหญ้า ปรับพื้นดินให้เรียบ โดยใช้ดินกลบอัดให้แน่น ทรายที่ใช้รองพื้น อาจะใช้หน้า 1-2 เซนติเมตร คำนวณคร่าวๆ คือใช้ทราย 1 ลูกบาศก์เมตร ต่อพื้นที่ 60 ตารางเมตร และสั่งทรายมาส่งก่อนหญ้า 1 วัน ปุ๋ยคอก 1 กระสอบ ต่อพื้นที่ 60 ตารางเมตร ปูนขาว 1 ถุง ต่อพื้นที่ 60 ตารางเมตร ให้นำทรายไปเกลี่ยบนพื้นที่ปลูกหญ้าใช้ไม้ปาดให้เรียบเพื่อปรับระดับบริเวณที่เป็นหลุมเป็นบ่อให้สม่ำเสมอ โรยปูนขาวและปุ๋ยคอก ปูหญ้า ที่วางทับกันไว้ อาจปูตามแนวใดแนวหนึ่งของสนามก็ได้ วางหญ้าให้ขอบชิดกัน
(7 )การปูทางเท้า ควรปูหลังจากได้ปูหญ้าเรียบร้อยแล้ว โดยโรยปูนขาวเป็นแนวตามแบบ แล้วจึงปูวัสดุ ไม่ให้อยู่ใกล้กันเกินไป
5.การดูแลรักษาสวน
(1) การตกแต่งพันธุ์ไม้ ตัดแต่งกิ่งก้านที่แห้งตาย กิ่งที่อ่อนแอ ฉีกขาด กิ่งที่เป็นโรค เจริญผิดปกติ นอกจ่กนั้นยังทำเพื่อตกแตงตามรูปทรงที่ต้องการ
(2) การดูแลบำรุงรักษาสนามหญ้า
• การให้น้ำ ในระหว่างช่วงสัปดาห์แรก ของการปลูกหญ้า จะต้องให้น้ำวันละหลายๆรอบ และคอยดูแบไม่ให้บริเวณนั้นแห้ง ในช่วงสัปดาห์ที่สองการให้น้ำจะลดลงเหลือเพียงวันละครั้ง
• การให้ปุ๋ย สนามหญ้าที่เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หากตรวจสอบแล้วไม่ใช่อาการที่เกิดจากสภาพของดิน หรือโรครบกวน แสดงว่าขาดธาตุอาหาร จำเป็นจะต้องให้ปุ๋ยกับสนามหญ้าเดือนละ 1 ครั้ง
• โรคและแมลง โดยทั่วไปจะเกิดน้อยมาก ได้แก่ โรคราสนิม โรคใบขีดโปร่งแสง แมลง ได้แก่ หนอนด้วง หนอนต่างๆ รวมทั้งมดคันไฟ การใช้สารเคมีจำกัดโรคและแมลงต่างๆควรใช้ให้ถูกต้อง
• วิธีการตัดหญ้า ควรตัดออกไม่เกิน 1 ใน 3 ของความยาวหญ้า ก่อนตัดโดยทั่วๆไป จะต้องให้เหลือความสูงประมาณหนึ่งนิ้วครึ่งถึงสองนิ้วครึ่ง
(3) การให้ปุ๋ยพันธ์ไม้ต่างๆ ควรเลือกใช้ให้ถูกต้องตามชนิด ใส่ให้ถูกเวลา ควรให้ในเวลาเช้า สัปดาห์ละ 1 ครั้งในปริมาณที่ไม่ต้องเข้มข้นมากนัก
(4) การป้องกันและจำกัดศัตรูพืช โรคที่พบอาจเกิดจาก เชื้อรา แบคทีเรีย ไส้เดือนฝอย ด้วง หนอนต่างๆ แมลงปากดูด เพลี้ยไฟ การฉีดพ่นเคมี ควรทำด้วยความระมัดระวัง
(5) การจำกัดวัชพืช ควรจำกัดออกให้ได้มากที่สุดด้วยการถอน ใช้กรรไกรตัดหญ้า หรือเครื่องตัดหญ้า
(6) ซ่อมแซมและเปลี่ยนองค์ประกอบอื่นๆ ถ้าพบรั้ว ทางเท้าหรือเก้าอี้สนามที่ชำรุด ควรรีบทำการซ่อมแซม ปรับปรุงให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
6.การดูแลทำวามสะอาดโรงเรียน.
1) การรักษาความสะอาดห้องเรียน
(1) ไม่ขีดเขียนบนโต๊ะ เก้าอี้ บนพื้นและผนังห้องเรียน
(2) ไม่ทิ้งขยะในห้องเรียน
(3) ไม่รับประทานอาหารเครื่องดื่มในห้องเรียน
(4) จัดเวรทำความสะอาดห้องทุกสัปดาห์
2) การดูแลและทำความสะอาดระเบียง ทางเดิน บริเวรพื้นดิน สนามหญ้า สวนหย่อม สระน้ำ และห้องน้ำในบริเวณโรงเรียน
(1) ไม่ทิ้งขยะบนระเบียง ทาเดิน พื้นดิน สนามหญ้า สวนหย่อม และในสระน้ำ
(2) เก็บขยะที่พบบนระเบียง ทางเดิน บริเวณพื้นดิน สนามหญ้า สวนหย่อม และสระน้ำในบริเวณโรงเรียน ไปทิ้งลงถังขยะจามประเภทของขยะ เพื่อความสะดวกของผู้เก็บในการแยกไปรีไซเคิล หรือนำเข้าระบบธนาคารขยะของโรงเรียน
(3) เมื่อพบว่าประตู หน้าต่าง ป้ายนิเทศ ระเบียง ทางเดิน บันได สนามหญ้า สวนหย่อม และห้องน้ำชำรุดเสียหาย หรือสรำน้ำสกปรกควรแจ้งอาจารย์
หน้าที่และบทบาทของตนเองที่มีต่อสมาชิกในครอบครัว โรงเรียนและชุมชน
ความหมายของหน้าที่และบทบาท
การปฏิบัติสิ่งที่ควรทำหรือต้องทำตามสถานภาพของตนเอง และตามกฎหมายกำหนด เพื่อประโยชน์ของตนเอง สังคมและสามารถอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข สมาชิกทุกคนในสังคมมีหน้าที่ทีจะต้องปฏิบัติตามบทบาทของตนเอง เริ่มตั้ง ครอบครัว ไปสู่โรงเรียน ชุมชน ประเทศ และโลก
หน้าที่และบทบาทในฐานะสมาชิกของครอบครัว
1.)เคารพเชื่อฟังพ่อแม่ พ่อแม่มีความรักและความหวังดีต่อลูก ดังนั้นลูกจึงต้องเคารพ และเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ซึ่งถือว่าเป็นการตอบแทนบุญคุณของท่านที่เลี้ยงดูเรามาจนโต
2.) รับผิดชอบงานที่พ่อแม่มอบหมายให้ด้วยความเต็มใจ การที่พ่อแม่มอบหมายงานให้ลูกก็เพื่อสอนให้รู้คุณค่าของงาน อดทน ยันขันแข็ง มีความมานะ พยายามรู้จักรับผิดชอบงาน
3.) ช่วยเหลือพ่อแม่ทุกโอกาสที่ทำได้ สิ่งใดที่ส่งผลเสียหายต่อครอบครัว แม้ไม่ใช่หน้าที่โดยตรง ถ้าพบเห็นและสามารถช่วยเหลือป้องกันได้ ก็ควรทำทันทีโดยไม่ต้องรอให้ท่านสั่ง
4.) ประหยัด ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย โดยใช้อย่างทะนุถนอมไม่ให้ชำรุด รู้จักซ่อมแซมของเล่นของใช้ด้วยตัวเอง ไม่ซื้อของเล่นโดยไม่จำเป็นหรือเกินฐานะของตนเอง
5.) ไม่ก่อเรื่องหรือทะเลาะวิวาทให้เป็นที่ยุ่งยากแก่พ่อแม่ การทะเลาะวิวาทกันในหมู่พี่น้อง หรือกับผู้อื่นจะทำให้ครอบครัวไม่มีความสงบสุข พ่อแม่เกิดความไม่สบายใจ
6.)รักใคร่ปรองดองในหมู่พี่น้อง ถ้าลูกๆมีความรักใคร่สามัคคีกัน ไม่ก่อเรื่อง ทะเลาะวิวาทกัน พ่อแม่ไม่ต้องมาคอยแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาท
7.) ขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน หน้าที่สำคัญของลูกก็คือ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ให้ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ เมื่อสำเร็จการศึกษา สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ จะเป็นสิ่งที่เชิดชูวงศ์ตระกูล ทำให้พ่อแม่เกิดความดีใจและภาคภูมิใจ
8.) รู้จักเสนอความคิดเห็น ช่วยกันหาแนวทางในการช่วยเหลือครอบครัว เสนอแนวทางการปฏิบัติตนที่เป็นประโยชน์กับครอบครัว ยินดีรับฟังคำวิจารณ์ ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น จะทำให้ครอบครัวมีความสุข
9.) ประพฤติตนให้สมควรเป็นผู้ดำรงวงศ์ตระกูล ไม่ทำความเสื่อมเสียต่อวงศ์ตระกูล โดยเฉพาะผู้หญิง ต้องรักนวลสงวนตัว ไม่ชิงสุขก่อนห่ามและมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร จึงจะเป็นที่น่าชื่นชมและไว้วางใจของพ่อแม่
หน้าที่และบทบาทในฐานะสมาชิกของโรงเรียน
1.หน้าที่ของนักเรียนที่มีต่อครู อาจารย์
(1) มีสัมมาคารวะต่อครูอาจารย์ทั้งกาย วาจา และใจ
(2) เชื่อฟังคำสั่งสอนของครูอาจารย์
(3) กตัญญูกตเวทีต่อครูอาจารย์
2.หน้าที่ของนักเรียนที่มีต่อเพื่อนนักเรียน
(1) รักใคร่ปรองดองกัน ไม่ทะเลาะวิวาทหรือเอาเปรียบกัน
(2) เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน ช่วยเหลือวซึ่งกันและกัน
(3) ส่งเสริมเพื่อนในทางที่ถูกที่ควร ให้กำลังใจเพื่อน ไม่ชักชวนให้เพื่อนกระทำผิด
3.หน้าที่ของนักเรียนที่มีต่อโรงเรียน
(1) เคารพและปฏิบัติตามกฎ ข้อบังคับ ประเพณีของโรงเรียน
(2) รับผิดชอบงานในหน้าที่ เช่น ตั้งใจเรียนหนังสือ
(3) ร่วมกิจกรรมส่งเสริมหลักสูตร เช่น การประดิษฐ์ วาภาพ
(4) การเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดในโรงเรียน เช่น กิจกรรมชุมนุม
(5) อาสาสมัครเป็นตัวแทนของโรงเรียน เช่น กิจกรรมทางกีฬา
(6) เสียสละสินเพื่อส่วนรวม เช่น บริจาคหนังสือเรียน
(7) บำรุงรักษาโรงเรียน เช่น ไม่ขีดเขียนพื้น โต๊ะ กวาดใบไม้
4.หน้าที่และบทบาทในฐานะสมาชิกของชุมชน
1) รักษาสุขลักษณะของชุมชน ช่วยกันรักษาความสะอาดของถนนหนทาง
2) อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน ดูแลทำความสะอาดโทรศัพท์สาธารณะ ไม่ทำลายโบราณวัตถุในชุมชนให้เกิดความเสียหาย
3) ป้องกันภัยในชุมชน ช่วยกันรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนในชุมชน
4) พัฒนาชุมชน ช่วยซ่อมแซมถนน สะพาน สัด สถานที่ราชการต่างๆ ปลูกต้นไม้ ขุดสระ