Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินตนเองในการควบคุม (Control Self - Assessment : CSA) - Coggle…
การประเมินตนเองในการควบคุม (Control Self - Assessment : CSA)
หมายถึง กระบวนการซึ่งฝ่ายบริหารในสายงานต่างๆ รับผิดชอบ และถือเป็นภาระหน้าที่ในการพัฒนา ประเมิน คงไว้ และตรวจสอบการควบคุม สรุป คือ วิธีการตรวจสอบซึ่งทำให้ผู้บริหารสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างบรรลุจุดมุ่งหมาย
4 องค์ประกอบ
1) กำหนดขอบเขตของการประเมินตนเอง
วัตถุประสงค์ด้านการดำเนินงาน
ประสิทธิภาพ
ประสิทธิผล
วัตถุประสงค์ด้านการเงิน
วัตถุประสงค์ด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย
2) จัดทำคู่มือและเอกสารเกี่ยวกับกระบวนการควบคุม
3) วิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
อาจทำให้องค์กรไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในด้านการดำเนินงาน ด้านการงิน และด้านปฏิบัติตามกฎหมาย
4) ตรวจสอบ ประเมินและปรับปรุงกระบวน และการควบคุมที่ดำเนินการอยู่ และเปรียบเทียบกับการปฎิบัติที่ดีที่สุด (ฺฺฺBest Practices)
พิจารณาตัดหรือลดการควบคุมภายใที่ทำให้ล่าช้าแและไม่มีประสิทธิภาพ โดยไม่ก่อให้เกิคความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการตัดหรือลดการควบคุมภายใน
องค์กรควรมีคุณสมบัติ
1) เป็นองค์กรที่ให้อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ตลอดจนให้ข้อมูลที่เหมาะสมกับอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานในการปฏิบัติงาน
2) เป็นองค์กรที่มีกระบวนการในการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3) ฝ่ายบริหารสนับสนุนแนวทางการประเมินตนเอง
ผู้ตรวจสอบภายใน > เปลี่ยนบทบาทจากผู้ตรวจตรา เป็นผู้ประสานงานหรือผู้อำนวยความสะดวก
แนวทาง/วิธีการ
1 การใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)
ข้อจำกัด
ไม่ยืดหยุ่น
ไม่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มในการปรับปรุงระบบการควบคุมให้ดีขึ้น
2 การระดมความคิด การสัมนากลุ่มย่อย (Brainstorming Workshop)
เป็นวิธีที่ส่งเสริให้มีการนำหลักควบคุมไปใช้ในองค์กรได้อย่างแพร่หลาย ยังช่วยให้ฝ่ายบริหาร สามารถพัฒนากระบวนการในการควบคุมให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพได้
หน้าที่ IA ต้องส่งเสริมให้ผู้บริหารและพนักงานแต่ละกลุ่มสายงานมีความรู้อย่างเพียงพอเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการควบคุม และนำหลักการควบคุมไปปฏิบัติได้
กระบวนการ
1) ในกลุ่มย่อยควรประกอบด้วยพนักงานหลายระดับ สามารถแสดงความเห็นอย่างเปิดเผย และทุกคนในกลุ่มต้องเข้าใจถึงกระบวนการในการประเมินตนเองและการกำหนดวัตถุประสงค์
2) ต้องกำหนดว่าใครรับผิดชอบเรื่องอะไรบ้างในกระบวนการตรวจสอบ และประเมินการควบคุมโดยหน่วยงานนั้น
3) ต้องประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ประเมินว่ามีสาเหตุอะไรที่ทำให้ไม่สามารถบรรบุวัตถุประสงค์นั้น
4) พัฒนาการควบคุมในรายละเอียด เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น IA สามารถช่วยเรื่องหลักการควบคุมได้ดียิ่งขึ้น
5) หลังจากที่กำหนดหลักการควบคุมได้แล้ว ต้องแน่ใจว่าการดำเนินการตามหลักการควบคุมภายในที่ได้วางไว้แล้ว
ความล้มเหลวของ CSA
ไม่ได้รับการตอบสนองจากฝ่ายบริหารในสายงานต่างๆ เนื่องจากต้องมีงานเพิ่มขึ้น จากการตรวจสอบ และการประเมินการควบคุม โดยบุคลากรในหน่วยงานนั่นเอง
ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรไม่ให้การสนับสนุน เนื่องจากไม่เชื่อในหลักการประเมินตนเองในการควบคุม
คำจำกัดความของคำว่ "ความเสี่ยง" ที่อยู่ในขอบเขตการประเมินตนเองนั้น ไม่ชัดเจนหรือสับสน
เกิดความยุ่งยากในการพัฒนาขอบเขตของงานที่ถูกต้อง