Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
case conference Term in Labor - Coggle Diagram
case conference Term in Labor
ข้อมูลทั่วไป
อาการสำคัญที่มาโรงพยาบาล
เจ็บครรภ์คลอดร่วมกับมูกเลือดออกทางช่องคลอด 1ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
G2P0A1L0 GA 40+1 wk. by date ANC ปกติ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน 1ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล มารดามีเจ็บครรภ์คลอด Pain Score 2 คะแนน ร่วมกับมีมูกเลือดไหลออกนอกช่องคลอด ประมาณ 30-40ml. ไม่มีกลิ่น ประวัติการตั้งครรภ์ การฝากครรภ์และการคลอด วันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย วันที่ 16 ตุลาคม 2562 มีประจำเดือนในแต่ละครั้งนาน 5-6 วัน คาดคะเนวันครบกำหนดคลอด 23 กรกฎาคม 2563 การตั้งครรภ์นี้เป็นครรภ์ที่สอง เริ่มฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 12สัปดาห์ ที่โรงพยาบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม มารดาฝากครรภ์ไปทั้งหมด 14ครั้ง น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ 60กิโลกรัม ส่วนสูง 167เซนติเมตร BMI 21.51 cm2 น้ำหนัก เมื่อตั้งครรภ์น้ำหนัก 69.4 กิโลกรัม ส่วนสูง 167 เซนติเมตร BMI 24.88 cm2 มารดามีประวัติเคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักทั้งหมด 2 เข็ม เข็มที่ 1 เมื่อวันที่ 15/1/2563 และเข็มที่ 2 เมื่อวันที่ 12/2/2563 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติขณะมารับการฝากครรภ์เป็นปกติ ค่าความเข้มข้นของเลือด Hematocrit 37 vol%
At 00:10น. ประเมินมารดาแรกรับที่ห้องคลอด เป็นมารดาครรภ์สอง อายุครรภ์ GA 40+1 wk. (นับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย) น้ำหนักแรกรับ 69.4 กิโลกรัม ส่วนสูง 167 เซนติเมตร ตรวจภายในพบ Cervix dilatation 2cm. Effacement 80%, Station -1, Presentation : LOA (Left occiput anterior), Membrane : ARM (Artificial rupture of membrane), Severity +1 ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก Duration 30sec, Interval 4minute
การตรวจครรภ์พบระดับยอดมดลูก ¾ > ระดับสะดือ = 29cms. คำนวณคาดคะเนน้ำหนักตัวทารก (Estimated Fetal Weight : EFM) ได้ 2900gm. อัตราการเต้นของหัวใจ (Fetal Heart Sound : FHS) = 142-160bpm ตรวจร่างกายมารดาแรกรับไม่มีความผิดปกติ รู้สึกตัวดี ไม่มีเวียนศีรษะ ไม่มีอาการปวดหัว ประเมินสัญญาณชีพแรกรับ อุณหภูมิกาย 36 องศาเซลเซียสชีพจร 80 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 22 ครั้ง/นาที BP 116/61 mmHg.
At 06:00น. มารดามีเจ็บครรภ์ถี่มากขึ้น จึงทำการตรวจภายในพบ Cervix dilatation 3cm. Severity +2 จึงสังเกตอาการต่อ
At 08:00น. แรกรับไว้ในความดูแล ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก Duration 40sec , Interval 4minute , Severity +2 สังเกตอาการต่อ
At 10:00น. ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก Duration 45sec, Interval 4minute, Severity +2 สังเกตอาการต่อ
At 13:20น. มารดามีเจ็บครรภ์ถี่ขึ้น ประเมิน Pain score 10 คะแนน แต่ไม่มีน้ำเดิน จึงทำการเจาะน้ำคร่ำ ได้ลักษณะ Clear ประมาณ 50ml. ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ จึงสังเกตอาการต่อ
At 13:50น. มารดามีเจ็บครรภ์ถี่มากขึ้น จึงทำการตรวจภายในพบว่าปากมดลูก Fully dilatation จึงย้ายเข้าห้องคลอด และช่วยคลอด ให้สารละลายทางหลอดเลือดดำเป็น Oxytocin 10unit + 5% DW 1000ml. rate 120ml/hr.
At 14:35น. ศีรษะทารกคลอด จึง Push Oxytocin 10unit. จากนั้นจึงทำการคลอดไหล่และทั้งตัว เป็นทารกเพศ ชาย น้ำหนักแรกคลอด 3,650gm. ประเมินทารกแรกเกิด APGAR Score นาทีที่ 1 ได้ 7คะแนน นาทีที่ 5 10คะแนน และนาทีที่ 10 ได้ 10คะแนน ทารกมีหายใจปีกจมูกบาน (Nasal flaring) จึงดูแลให้ได้รับ Oxygen box 5 LPM
At 14:50น. ทำคลอดรกด้านมารดา คลอดโดยวิธี Modified Crede’ maneuver วิธีการลอกตัวของรกเป็น Duncan mechanism ลักษณะของรกปกติ ตรวจพบก้อนแคลเซียม 1 ก้อน มีก้อน Cotyledon ครบ ลักษณะสีเป็นแดงเข้มแบบลิ้นจี่ น้ำหนักรก 608กรัม ขนาดของรกกว้าง 20เซนติเมตร เยื่อหุ้มรกขาดบางส่วน การตรวจสายสะดือยาว 40เซนติเมตร ติดริมขอบรก (Marginal insertion) 2เซนติเมตร สังเกตอาการแม่และเด็กหลังคลอดครบ 2ชั่วโมง ด้านมารดาแผลฝีเย็บไม่มีเลือดซึม การหดรัดตัวของมดลูกปกติ อยู่ระดับต่ำกว่าสะดือ ไม่ปัสสาวะ สัญญาณชีพ Stable จึงย้ายไปแผนกหลังคลอด
สรุปปัญหาตาม 11 แบบแผน
แบบแผนที่ 1แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการจัดการสุขภาพ
ไม่พบปัญหา
แบบแผนที่ 2 แบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญ
พบปัญหา
แบบแผนที่ 3 แบบแผนการขับถ่าย
มารดามีภาวะท้องผูกในช่วงไตรมาสแรก
แบบแผนที่ 4 แบบแผนกิจวัตรประจำวันและการออกกำลังกาย
มารดาเคลื่อนร่างกายลดลงเสี่ยงต่อภาวะท้องผูก
แบบแผนที่ 5 แบบแผนการนอนหลับ พักผ่อน
ไม่พบปัญหา
แบบแผนที่ 6 แบบแผนด้านความคิดและการรับรู้
ไม่พบปัญหา
แบบแผนที่ 7 แบบแผนการรับรู้เกี่ยวกับตนเองและอัตมโนทัศน์
ไม่พบปัญหา
แบบแผนที่ 8 แบบแผนการมีบทบาทและสัมพันธภาพในครอบครัวและชุมชน
ไม่พบปัญหา
แบบแผนที่ 9 แบบแผนทางเพศและการเจริญพันธ์
ไม่พบปัญหา
แบบแผนที่ 10 แบบการเผชิญปัญหาและความทนต่อภาวะเครียด
ไม่พบปัญหา
แบบแผนที่ 11 แบบแผนความเชื่อ ค่านิยมต่างๆที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอด และหลังคลอด
หญิงมารดามีความวิตกกังวลกลัวบุตรคนนี่ไม่ปกติ เนื่องจากเคยมีประวัติแท้ง
พยาธิสภาพ
ชนิดของการคลอด
การคลอดปกติ (Normal labor or Eutocia)
อายุครรภ์ครบกำหนด คือ อายุตั้งแต่ 38 สัปดาห์ขึ้นไปจนถึง 42 สัปดาห์
ทารกที่ยอดศีรษะเป็นส่วนนำ (vertex presentation)
กระบวนการทั้งหมดเป็นไปตามธรรมชาติ (spontaneous labor) ไม่ต้องใช้เครื่องมือ หรือวิธีการพิเศษใด ๆ ช่วย
ระยะเวลาเริ่มตั้งแต่เริ่มเจ็บครรภ์จริงจนกระทั่งรกคลอดรวมกันไม่เกิน 24 ชั่วโมง
ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆในระยะคลอด
การคลอดผิดปกติหรือการคลอดยาก (abnormal labor or dystocia)
ระยะของการคลอด (stage of labor)
ระยะที่หนึ่งของการคลอด (first stage of labor หรือ stage of cervical effacement and dilatation) เจ็บครรภ์จริง-ปากมดลูกเปิด 10 cms
ระยะที่สองของการคลอด (second stage of labor หรือ stage of expulsion of the fetus) เริ่มตั้งแต่ปากมดลูกเปิดหมดจนกระทั่งทารกคลอดทั้งตัว
ระยะที่สามของการคลอด (third stage of labor หรือ stage of separation and expulsion of the placenta) เป็นระยะที่เริ่มตั้งแต่ทารกคลอดทั้งตัว จนถึงรกและเยื่อหุ้มทารกคลอดออกมาครบ
4.ระยะที่สี่ของการคลอด (fourth stage of labor) เป็นระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังจากรกคลอด
องค์ประกอบของการคลอด
แรงผลักดัน (Powers)
ช่องทางคลอด (Passages)
สิ่งที่คลอดออกมา (passengers) ได้แก่ ทารก รก เยื่อหุ้มทารก และน้ำคร่ำ
สภาวะจิตใจของผู้คลอด (Psychological condition)
สภาวะร่างกายของผู้คลอด (Physical condition)
ท่าของผู้คลอด (Position of labor)
กลไกการคลอดปกติ
Flexion
การก้มของศีรษะทารกจนคางชิดกับหน้าอก ทำให้ส่วนนำของทารกเปลี่ยนจากเส้นผ่านศูนย์กลาง occipitofrontal (OF) เซนติเมตร มาเป็น suboccipito bregmatic (SOB)การคลอดจึงเป็นไปได้ง่ายขึ้นเพราะทารกใช้เส้นผ่านศูนย์กลางที่เล็กที่สุดเป็นส่วนนำที่จะผ่านช่องคลอดออกมา
Engagement
การที่ส่วนกว้างที่สุดของศีรษะทารก biparietal diameter ผ่านเข้าสู่ช่องเชิงกราน โดยรอยต่อแสกกลางอยู่ในแนวขวาง (transverse) หรือแนวเฉียง (oblique)กับช่องเชิงกรานเชิงกรานชนิดอื่นๆ
Descent
การที่ศีรษะทารกเคลื่อนต่ำลงไปในช่องเชิงกราน เกิดจากแรงดันของน้ำคร่ำแรงดันโดยตรงที่ยอดมดลูกดกก้นทารกลงมาขณะมดลูกหดตัวรัด การหดรัดของกล้ามเนื้อผนังหน้าท้อง มดลูกและการยืดยาวออกของลำตัวทารกจาก fetal axis pressure
internal rotation
การหมุนของศีรษะภายในช่องเชิงกรานให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับช่องออกเชิงกรานมากที่สุดเวลาออกทารกต้องหมุนท้ายทอยไปทางด้านหน้า (OA) เพื่อให้แนวต่อแสกกลางอยู่ในแนวหน้าหลัง(anterior posterior) ซึ่งเป็นแนวที่กว้างที่สุดของช่องออกเชิงกราน จึงสามารถคลอดปกติได้
extension
การที่ศีรษะรกเงยหน้าผ่านพ้นช่องทางคลอดออกมาภายนอก โดยเมื่อมีการหมุนของศีรษะทารกแล้ว ทารกจะใช้ส่วน subocciput เป็นจุดหมุนยันกับใต้รอยต่อกระดูกหัวเหน่า
Restitution
การหมุนกลับของศีรษะทารกภายนอกช่องคลอด เพื่อสัมพันธ์กับส่วนของทารกที่อยู่ภายในช่องทางคลอด เพื่อให้รอยต่อแสกกลางอยู่ในแนวหน้าหลังของช่องออกเชิงกราน
external rotation
การหมุนของศีรษะทารกภายนอกช่องคลอด เพื่อให้ศีรษะและไหล่ตั้งฉากกันตามธรรมชาติภายหลังจากเกิดการหมุนภายในของไหล่
Expulsion
การขับเคลื่อนเอาตัวทารกออก มาทั้งหมด โดยนับตั้งแต่หลังจากการหมุนภายนอกของศีรษะเป็นต้นไป ได้แก่ การคลอดไหล่ ลำตัว แขน และขาของทารก
กลไกการลอกตัวของรก
การลอกตัวแบบไม่สมบูรณ์ (Metthews Duncan method)
รกจะเริ่มลอกตัวตรง ริมรกก่อน ทำให้ไม่เกิด retroplacenta hematoma เพราะเลือดที่เกิดจากการลอกตัวของรก จะค่อยๆเซาะเนื้อรกและเยื่อหุ้มเด็กให้แยกจากเยื่อบุมดลูกแล้วไหลออกมาให้เห็นทางช่องคลอด
การลอกตัวแบบสมบูรณ์ (Schultze method)
การลอกตัวแบบนี้รกจะเริ่มลอกตัว ตรงกลางรกก่อน ทำให้เกิดก้อนเลือดขังหลังเนื้อรกหรือ retroplacenta hematoma ดันเอา ส่วนกลางของรกให้ยื่นโป่งออกมา
อาการแสดงการลอกตัวของรก
Uterine sign
ผู้ทำคลอดจะตรวจทางหน้าท้องพบว่ามดลูกแบ่งออกเป็นสองลอน ลอนบนมีลักษณะ กลมแข็งอยู่ระดับสะดือหรือเหนือสะดือเล็กน้อยเป็นส่วนของยอดมดลูก ลอนล่างอยู่เหนือหัวเห น่ามีลักษณะนิ่มเพราะมีรกอยู่ uterine sign
Cord sign
ผู้ทำคลอดจะตรวจพบว่าด้ายที่ผูกสายสะดือไว้ตรงตำแหน่งที่ชิด vulva ภายหลังทารก คลอดจะเลื่อนต่ำลงมาจากตำแหน่งเดิมมากกว่า 8 ซม.
Vulva sign
ผู้ทำคลอดจะตรวจพบว่ามีเลือดไหลออกมาทางช่องคลอด เลือดที่ไหลออกมาจะมี ลักษณะสีแดงคล้ำไหลออกมาทางช่องคลอดทันทีประมาณ 30-60 ซีซี. การลอกตัว แบบสมบูรณ์จะไม่พบ vulva sign
การตรวจรกและการตรวจสายสะดือ
การตรวจสายสะดือ
สีและลักษณะของสายสะดือ
สายสะดือปกติจะมีสีขาวใสเหลือบน้ำเงิน พันเป็นเกลียว ถ้าตรวจพบว่าสายสะดือมี ลักษณะเปื่อยง่ายแสดงว่าเกิดการติดเชื้อ สายสะดือมีสีเหลืองแสดงว่าทารกอาจมีโรคเลือด
ความยาวของสายสะดือ
ปกติสายสะดือมีความยาว 35 - 100 ซม. สายสะดือที่สั้นกว่าปกติอาจทำให้เกิดการดึง รั้งขณะทารกอยู่ในครรภ์มารดาและทำให้รกลอกตัวก่อนกำหนด คลอดยาก สายสะดือที่ยาวกว่าปกติจะทำให้เกิด สายสะดือย้อย (prolapse cord) สายสะดือพันคอหรือสายสะดือพัน กันเอง
เส้นเลือดที่สายสะดือ
จะมีเส้นเลือดแดง 2 เส้นและเส้นเลือดดำ 1 เส้น เส้นเลือดดำจะมีขนาดใหญ่กว่าเส้นเลือด แดงจึงทำให้เห็นเส้นเลือดดำได้ชัดเจนกว่า ถ้าตรวจพบว่ามีเส้นเลือดไม่ครบแสดงว่าทารกอาจมี ความผิดปกติของอวัยวะภายใน
ปมที่สายสะดือ (knot)
False knot สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดคือ false vascular knot ซึ่งเกิดจากเส้น เลือดดำขมวดรวมตัวกันเป็นกลุ่ม มีลักษณะคล้ายเส้นเลือดขอด false knot อีก ชนิดหนึ่งคือ false vascular knot มีลักษณะเป็นปมสีขาวเกิดจาก Wharton jelly ที่หุ้มรอบเส้นเลือดที่ สายสะดือรวมตัวกันเป็นปม
True knot เกิดจากสายสะดือผูกกันเป็นปมแน่นเหมือนผูกเชือกเนื่องจากสายสะดือ ยาวมากและทารกเคลื่อนไหวขณะอยู่ในครรภ์ ทำให้ตัวทารกลอดสายสะดือไปมาจนผูกกันเป็น ปม
การเกาะของสายสะดือ
เกาะริมขอบรก (marginal insertion หรือ battledore) การเกาะแบบนี้มีลักษณะคล้าย ไม้เทนนิส ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้
เกาะบนเยื่อหุ้มเด็ก (membranous insertion หรือ insertio velamentosa) สาย สะดือจะเกาะบนเยื่อหุ้มเด็กและมีเส้นเลือดทอดไปเชื่อมกับรก
เกาะค่อนไปด้านใดด้านหนึ่ง (lateral insertion)
เกาะตรงกลาง (central insertion)
การตรวจเยื่อหุ้มเด็ก
การตรวจรกด้านเด็ก
ขนาดและความหนาของเนื้อรก
รกปกติมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 - 20 ซม. หนา 2 - 3 ซม. รกที่เล็กกว่า ปกติเรียกว่า placenta circumvallata มีผลให้ทารกเจริญเติบโตไม่ดีเพราะได้รับ สารอาหารไปเลื้ยงไม่เพียงพอ รกที่มีขนาดใหญ่และบางกว่าปกติเรียกว่า placenta membranecea
การแผ่ของเนื้อรก
ปกติเนื้อรกจะอยู่ในขอบเขตของ closing ring of winkle waldeyer ซึ่งเป็นวงสีขาว รอบเนื้อรก วงสีขาวนี้เกิดจากการเชื่อมต่อกันของ decidua capsularis และ decidua vera ซึ่งเป็นการจำกัดขอบเขตของเนื้อรกไม่ให้เจริญเติบโตมากกว่าปกติ
สีของรกด้านเด็ก
มีสีของขี้เทา สีของเหล็กมาเกาะที่เนื้อรก (hemosiderin) ซึ่งมักพบในทารกที่มี การแตกของเม็ดเลือดแดง
text
สีและลักษณะ
ถ้าพบเยื่อหุ้มเด็กชั้น amnion มีสีขุ่นแสดงว่ามีการติดเชื้อ ถ้าพบว่ามีสีแดงสนิมแสดง ว่ามีเลือดออก
รอยโหว่บนเยื่อหุ้มเด็ก
รอยโหว่บนเยื่อหุ้มเด็กจะมีเพียง 1 รอยซึ่งเกิดจากการแตกของถุงน้ำคร่ำและทารก คลอดผ่านออกมา
ระยะห่างจากรอยโหว่กับริมขอบรก
ปกติแล้วระยะห่างจากรอยโหว่ถึงริมขอบรกไม่ควรต่ำกว่า 7 ซม. ถ้าต่ำกว่า 7 ซม. แสดงว่ารกเกาะบริเวณส่วนล่างของมดลูก (placenta previa)
ความสมดุลกันของเยื่อหุ้มเด็กทั้งสองชั้น
ควรสมดุลกัน ถ้าไม่สมดุลกันแสดงว่าอาจมีเยื่อหุ้มเด็กค้างอยู่ในโพรงมดลูก
เยื่อหุ้มเด็กมีขนาดสัมพันธ์กับตัวเด็กหรือไม่
โดยประเมินว่าเยื่อหุ้มเด็กมีขนาดพอที่จะห่อหุ้มตัวทารกได้หรือไม่ ถ้าเยื่อหุ้มเด็กมี ขนาดเล็กไม่น่าที่จะห่อหุ้มตัวทารกได้หมดก็แสดงว่าอาจมีส่วนใดส่วนหนึ่งค้างอยู่ในโพรงมดลูก
Chorion เป็นเยื่อหุ้มเด็กด้านที่ติดกับผนังมดลูก มีสีขาวขุ่น ไม่เรียบ ฉีกขาดง่าย
Amnion เป็นเยื่อหุ้มเด็กด้านที่ติดกับตัวเด็ก มีลักษณะเหนียวและบางใส เป็นมัน ไม่มีเส้น
การตรวจรกด้านแม่
รกด้านแม่มีลักษณะเป็นก้อนๆเรียกว่า cotyledon หรือ lobe มีอยู่ ประมาณ 15 - 20 ก้อน
สีและลักษณะ รกที่มีลักษณะบวม พองและสีซีดมักพบในทารกที่เป็น hydrop fetalis ถ้ารกมีน้ำหนัก ปกติแต่มีสีซีดอาจเนื่องมาจากมีการเสียเลือดจากรกไปมากจากการฉีกขาดของเนื้อรก
2.ความสมบูรณ์ของ cotyledon ตรวจดูว่า cotyledon ขาดหายไปหรือไม่ ถ้ามีการขาดหายไปจะตรวจพบว่ามีการ แหว่งหายไปของเนื้อรก แสดงว่าอาจมีบางส่วนค้างในโพรงมดลูก
เนื้อตาย (infraction) และแคลเซียมเกาะที่เนื้อรก (calcification) เนื้อตายของรกที่เกิดขึ้นใหม่ๆจะมีสีแดงเข้ม แยกได้จากรกปกติ ถ้าเนื้อตายเกิดนาน เกิน 10 - 14 วัน จะตรวจพบก้อนสีน้ำตาล ถ้าเกิดนานเกิน 14 วันขึ้นไปจะตรวจพบก้อนแข็งสี ขาว
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ทารกมีโอกาสเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำ (Hypothermia) เนื่องจากศูนย์ควบคุมอุณหภูมิร่างกายยังเจริญสมบูรณ์ไม่เต็มที่
วัตถุประสงค์
ป้องกันภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ
ข้อมูลสนับสนุน
Objective data สัญญาณชีพ T 36.2 องศา ร่างกายทารกแห้ง ผิวหนังสีม่วงคล้ำและทารกไม่ร้อง ซึม นาทีที่ 1 ของการประเมิน APGAR score
กิจกรรมการพยาบาล
1.จัดให้ทารกอยู่ในตู้อบที่มีอุณหภูมิเหมาะสม ตามตารางเปรียบเทียบน้ำหนักและอายุของทารกหรือประมาณ 32-33 องศาเซลเซียส
2.ประเมินอุณหภูมิร่างกายทุก 15 นาที 2 ครั้ง หรือจนกว่าอุณหภูมิของร่างกายจะคงที่อยู่ในระดับปกติ ต่อไปวัดทุก 4 ชั่วโมง หรือเมื่อทารกมีระดับอุณหภูมิปกติพร้อมที่จะออกจากตู้ ให้การพยาบาลโดยสวมเสื้อผ้าและห่อตัวทารกให้อบอุ่น พร้อมบันทึกอุณหภูมิทุกครั้ง
3.ประเมินภาวะอุณหภูมิต่ำ เช่น อาการซึมลง หัวใจเต้นช้าลง หายใจช้าลง ริมฝีปากปลายมือ ปลายเท้าเขียว แขนขาเย็น
4.ประเมินภาวะอุณหภูมิสูง เช่น หน้าแดง หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็วขึ้น ผิวหนังร้อนกว่าปกติ
5.ดูแลให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล
6.ดูแลความสะอาดร่างกายทารก โดยเปลี่ยนผ้ารองก้น ผ้าปูทุกครั้งที่อุจจาระ ปัสสาวะ
7.ขณะให้ออกซิเจนดูแลไม่ให้พ่นออกซิเจนลงบริเวณหน้าและร่างกายโดยตรง
ทารกมีโอกาสเกิดภาวะระบบหายใจล้มเหลวเนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของระบบหายใจ
วัตถุประสงค์
ทารกได้รับออกซิเจนที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินภาวะพร่องออกซิเจนมีอาการ เช่น ริมฝีปากม่วงคล้ำดำเขียว อัตราการหายใจลดลง
เช็ดตัวให้แห้งด้วยผ้าและใช้มือลูบหลัง ตบก้น เกาฝ่าเท้าถูเท้าหรือดีดเท้าทารก
3.ให้ออกซิเจนทาง Box ประมาณ 4 ถึง 6 ลิตรต่อนาทีให้ทารกที่มีการแสดงของการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
4.จัด position ให้นอนราบตะแคงหน้าหรือนอนศีรษะต่ำประมาณ 15 ถึง 30 องศา
5.รายงานแพทย์ถ้าอาการไม่ดีขึ้นเตรียมพร้อมทั้งเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพให้พร้อม
จัดให้นอนในท่าตะแคงได้เปลี่ยนท่าทุก 4 ชั่วโมงหรือตามความเหมาะสมสังเกตอาการต่ออีก 12 ถึง 48 ชั่วโมงเพื่อประเมินอาการทางระบบประสาทและภาวะผิดปกติอื่น
ข้อมูลสนับสนุน Objective data -ผิวหนังสีม่วงคล้ำและทารกไม่ร้อง ซึม นาทีที่ 1 ของการประเมิน APGAR score
-อัตราการหายใจปกติ 62 ครั้ง/นาที อัตราการเต้นของหัวใจ 128 ครั้ง/นาที มีปีกจมูกบาน (Nasal Flaring)
ข้อวินิจฉัยด้านแม่
มารดาเจ็บครรภ์คลอดเนื่องจากมดลูกหด
รัดตัว
ข้อมูลสนับสนุน
SD(subjectivedata)
มารดาบอกว่า “เจ็บท้องห่างๆ แต่เจ็บมากขึ้น ท้องแข็ง”
OD(objectivedata)
มารดาเกร็งตัว กลั้นหายใจ นอนกระสับกระส่ายเมื่อมดลูกหดรัดตัวถี่ขึ้น
: Engagement
ระยะ latent phase
: มี Uterine Contraction Interval = 4’-5’, Duration = 30”-40” severity = +1
: PV วันที่ 23 กรกฎาคม 63 เวลา 00.10 น. Cx. Dilate 2
cms, eff.80%, staion -1,
ระยะ Active phase วันที่ 23 กรกฎาคม 63
มี Uterine Contraction = Interval 2’-3’, Duration = 40”-45”
severity = +2
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตสีหน้าท่าทาง และถามอาการเจ็บครรภ์ โดยใช้ pain score
อธิบายให้ทราบว่าการเจ็บครรภ์เป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นซึ่งมีผลทำให้ปากมดลูกเปิดมากขึ้น และการดำเนินไปด้วยดี ภายหลังคลอดอาการเจ็บปวดนี้จะหายไป
จัดให้ผู้คลอดนอนตะแคง เพื่อลดการกดทับที่บริเวณเส้นเลือดอินฟีเรียเวนาคาว่า (inferior venacava) ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกได้ดีมากขึ้นหรือจัดท่านอนให้อยู่ในท่าที่สบายและเหมาะสมเพื่อให้เกิดการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อมากที่สุดและหลีกเลี่ยงท่านอนหงายราบ
แนะนำการนวดกดจุดบริเวณกระเบนเหน็บ เมื่อมีการหดรัดตัวของมดลูก
แนะนำวิธีผ่อนคลาย เพื่อลดความเจ็บปวดด้วยการหายใจอย่างเหมาะสม โดยระยะ latent phase หายใจแบบ slow deep chest breathing หายใจเข้าลึกๆช้าๆ นับ 1-2-3-4 ในใจแล้วผ่อนลมออกทางปากช้าๆ ใช้ในระยะที่ปากมดลูกเริ่มเปิดถึง 3 cms. ระยะ Active phase หายใจแบบ Shallow accelerated decelerated breathing เมื่อมดลูกหดรัดตัวให้หายใจแบบช้าๆก่อน เมื่อมดลูกหดรัดตัวเต็มที่ จึงเปลี่ยนเป็นหายใจตื้นๆเร็วๆเบาๆไปเรื่อยจนกว่ามดลูกจะคายตัวจึงกลับหายใจช้าๆ ใช้ในระยะปากมดลูกเปิด 4-7 cms. ระยะ Transition phase หายใจแบบ Pant-blow breathing หายใจเข้าออกทางปากตื้นๆเร็วๆเบาๆ 4 ครั้ง ติดต่อกัน แล้วเป่าปากออก 1 ครั้ง ใช้ในระยะปากมดลูกเปิด 8-10 cms. การหายใจทั้ง 3 แบบเริ่มต้นด้วยการหายใจล้างปอด 1 ครั้งและปิดท้ายด้วยหายใจล้างปอดเมื่อมดลูกคลายตัว
แนะนำไม่ให้กลั้นปัสสาวะ ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง
จับ Uterine Contraction โดยดู Interval, Duration, Severity ทุก 2 ชั่วโมงในระยะ latent phase และทุก 30 นาที – 1 ชั่วโมงในระยะ Active phase
8.ประเมินความก้าวหน้าของการคลอด โดยการตรวจภายใน 2 ชั่วโมง (ระยะ active phase) หรือเมื่อเจ็บครรภ์ถี่ขึ้น และสังเกตสีของน้ำคร่ำ
ส่งเสริมความก้าวหน้าการคลอด
กิจกรรมการพยาบาล
1) แนะนำวิธีการเบ่งให้ผู้คลอด โดยควรเบ่งขณะที่ มีการหดรัดตัวของมดลูก พยาบาลจึงต้องประเมินการหดรัดตัวของมดลูก การเบ่งนั้นจะไปเพิ่ม แรงดันภายในท้องและจะกดไปยังมดลูกทุกด้านเพื่อเพิ่มแรงขับ ออกมา วิธีการเบ่งโดยกลั้นหายใจและเบ่งนาน ๆ กับการเบ่ง โดยไม่กลั้นหายใจและเบ่งแบบสั้น ๆ นั้นพบว่าในระยะที่ 2 ของการคลอดแตกต่างกันเล็กน้อย แต่การเบ่งแบบกลั้นหายใจ จะเพิ่มความเสี่ยงของภาวะพร่องออกซิเจนในทารก ทำให้ มารดาอ่อนล้าและมีการฉีกขาดของฝีเย็บ
2) การจัดท่าเบ่งคลอด การจัดให้ผู้คลอดอยู่ในท่า ศีรษะสูงพบว่ามีความสัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูกที่แรง ขึ้นและสม่ำเสมอ และทำให้ระยะเวลาของการคลอดน้อยลง นอกจากนี้การเบ่งในท่านั่งยองๆจะช่วยเพิ่มการเคลื่อนต่ำของ ทารกในครรภ์และเพิ่มความกว้างของกระดูกเชิงกราน โดยทำให้ ช่องออกของเชิงกรานเพิ่มขึ้น 28% ซึ่งจะเพิ่มในแนวขวาง ประมาณ 1 เซนติเมตร แนวหน้าหลังเพิ่มประมาณ 0.5 - 2 เซนติเมตร9 การศึกษาเปรียบเทียบพบว่าในผู้คลอดครรภ์แรก ที่เบ่งแบบธรรมชาติร่วมกับท่านั่งยองบนเบาะนั่งรองคลอดใช้ เวลาในระยะที่ 2 ของการคลอดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่เบ่ง ลงก้นแบบกลั้นหายใจ โดยอยู่ในท่านอนหงาย สำหรับการจัดท่าให้เบ่งโดยการพาดขาหยั่ง (lithotomy)ควรให้ศีรษะสูงประมาณ 30-60องศาเพื่อให้การ เบ่งมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม หากให้ผู้คลอดพาดขาหยั่ง นานเกิน 1 ชั่วโมง จะทำให้เลือดมาคั่งบริเวณอุ้งเชิงกรานมาก ขึ้น เนื่องจากเลือดไหลไปยังส่วนปลายได้ยาก และอาจนำไปสู่ ภาวะหลอดเลือดดำอักเสบหลังคลอดได้ดังนั้นจึงไม่ควรให้ ผู้คลอดพาดขาหยั่งนาน ในรายที่ผู้คลอดมีเส้นเลือดขอดมาก ไม่ควรจัดให้อยู่ในท่านี้
3) ดูแลให้ผู้คลอดรู้สึกสุขสบาย ขณะเบ่งผู้คลอด มักใช้พลังงานในการเบ่งค่อนข้างมากเกิดการเผาผลาญเพิ่มขึ้น ทำให้รู้สึกร้อนและมีเหงื่อออก พยาบาลจึงควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ด ขณะพักเพื่อให้ผู้คลอดรู้สึกสบายตัวขึ้น
ประเมินและติดตามฟัง FHS คือ 110 - 160 ครั้ง/นาที ทุก 30
ดูแลให้ได้รับ Augmentation ตามแผนการรักษาของแพทย์ ด้วย 5%DN/2 1,000 ml. + oxytocin 10 unit IV drip rate 120 cc/hr
Monitor NST หรือ EFM เมื่อมีอาการเจ็บครรภ์ถี่ขึ้น
ตรวจภายในเมื่อมีอาการเจ็บครรภ์ถี่ หรือรู้สึกอยากเบ่ง
ข้อมูลสนับสนุน
OD(objective//data)
มารดา เกร็งตัว กลั้นหายใจ นอนกระสับกระส่ายเมื่อมดลูกหดรัดตัวถี่ขึ้น
ระยะ latent phase : มี Uterine Contraction Interval = 4’-5’, Duration = 30”-40” severity = +1
: PV วันที่ 23 กรกฎาคม 63 เวลา 00.10 น. Cx. Dilate 2 cms, eff.80%, staion -1,
ระยะ Active phase วันที่ 23 กรกฎาคม 63 มี Uterine Contraction = Interval 2’-3’,
Duration = 40”-45” severity = +2: PV เวลา 06.00 น. Cx. Dilate 3 cms. Eff. 80% membrane intact station 0
:PV เวลา 08.00 น. Cx. Dilate 4 cms. Eff. 90% membrane intact station 0
:PV เวลา 09.30 น. Cx. Dilate 4 cms. Eff. 90% Artificial membrane Rupture station
:PV เวลา 10.00 น. Cx. Dilate 7 cms. Eff. 90% membrane Rupture station +1
:PV เวลา 12.30 น. Cx. Dilate 9 cms. Eff. 90% membrane Rupture station +1
:PV เวลา 13.50 น. Cx. Dilate 10 cms. Eff. 100% membrane Rupture station +1
เสี่ยงต่อภาวะตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมีแผลในโพรงมดลูกและแผลฝีเย็บ
ข้อมูลสนับสนุน
SD(subjective//data) : มีแผลฝีเย็บ Right medio-lateral Episiotomy
OD(objective//data)ผลการตรวจ CBC พบ Hct 39 % v/s
: เวลา 13.55 น. BP=124/83 (mmHg) P=104(b/m) RR=22(b/m)
เวลา 14.10 น. BP=114/62 (mmHg) P=68(b/m) RR=20(b/m)
เวลา 14.20 น. BP=114/64 (mmHg) P=70(b/m) RR=20(b/m)
เวลา 14.50 น. BP=107/61 (mmHg) P=72(b/m) RR=20(b/m)
เวลา 15.10 น.BP=107/61 (mmHg)P=77(b/m) RR=20(b/m)
เวลา 15.20 น. BP=108/60(mmHg) P=78(b/m) RR=20(b/m)
กิจกกรรมการพยาบาล
ประเมินการเสียเลือด หากพบวา่ มีActive bleeding รีบรายงานแพทย์ พร้อมหาทีมการพยาบาลช่วยเหลือเพิ่มโดยด่วน และจัดให้ทีมคลึงมดลูกตลอดเวลาเวลา พร้อมวางกระเป๋าน้า แขง็บนหนา้ทอ้งและรีบเยบ็องทางคลอดในจุดที่มีเลือดออกมากก่อนแลว้เยบ็ ซ่อมแซมช่องทางคลอดส่วนอื่น
ดูแลให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกตามแผนการรักษา คือ2.1 Oxytocin 10 Unit in 5%D/N/21000 cc. vein drip 120 cc/hr 2.2 Oxytocin 10 Unit หลงัไหล่หนา้ของทารกคลอด
ติดตามสัญญาณชีพทุก 15 นาที 2คร้ังทุก 30 นาที 1คร้ังและทุก1 ชั่ว โมงจนกวา่ จะคงที่
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก และการเสียเลือดเพื่อประเมินภาวะ Shock เช่น ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำลง เหงื่อออกตัวเย็น
5.แนะนำกระตุ้นผู้คลอดนวดคลึงมดลูกทุก15 นาที เพื่อให้มดลูกหดรัดตัว
6.ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวหลังคลอด ให้มารดาปัสสาวะทันที่ที่ปวดปัสสาวะ ไม่ให้กลั้นปัสสาวะ
ดูแลให้ได้รับสารอาหารและได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ
มีอาการเหนื่อยเพลียเนื่องจากสูญเสียพลังงานในการคลอด
ข้อมูลสนับสนุน
SD(subjective//data) มารดาบอกว่าเหนื่อย รู้สึกอ่อนเพลีย
OD(objective//data)-ทารกแรกคลอดมีน้ำหนัก 3650 กรัม- EBL 150 ml-มารดามีสีหน้าท่าทางที่อ่อนเพลีย
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินภาวะซีด โดยดูสีหน้า เปลือกตาและปริมาณเลือดที่ออกจากช่องคลอด
ดูแลให้ได้รับการพักผ่อน 8-10 ชม. หลังคลอด/วัน โดยจัดกิจกรรมการพยาบาลให้พร้อมในคราวเดียวกันหลายอย่างต่อเนื่อง
ดูแลความสะอาดของร่างกายทั่วไป เช่น เช็ดหน้า เช็ดตัว เปลี่ยนผ้าอนามัยให้ขณะที่ยังช่วยเหลือตัวเองได้น้อย
อยู่เป็นเพื่อนในขณะที่มารดาหลังคลอดทำกิจกรรมต่างๆ เช่น ลุกนั่ง เดินไปห้องน้ำ เพื่อป้องกันช่วยเหลือไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ