Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ - Coggle Diagram
ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
กระดูกพรุน (Osteoporosis
)
• อาการและอาการแสดง
o ปวดหลัง
o Dowager’s hump
o น้ำหนักลด
o กล้ามเนื้อเกร็งโดยเฉพาะบั้นเอว
o การก้มทำได้น้อยกว่าการแหงนเหยียด
• การวินิจฉัย ใช้ Dual Energy X – ray Absorptionmetry (DEXA) เป็นเครื่องมือที่วินิจฉัยโรคกระดูกพรุนที่เหมาะสมที่สุด
• สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
o เพศและอายุ
o BMI < 19
o เชื้อชาติ
o พันธุกรรม การถ่ายทอด
o โรคประจำตัว การใช้ยาที่มีผลการสลายเนื้อกระดูก
o รูปแบบการดำเนินชีวิต หรือ ขาดการออกกำลังกาย
o อาหาร ขาดวิตามินดี
• การรักษา
o การรักษาโดยไม่ใช้ยา
การได้รับแคลเซียมเพียงพอ
วิตามินดี
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
การออกกำลังกาย
o การรักษาโดยใช้ยา ต้องทำควบคู่กับการรักษาโดยไม่ใช้ยาเสมอ หลักการเลือกใช้ยา คือ ป้องกันไม่ให้กระดูกหัก ดังนั้นจึงมีหลักเกณฑ์การกำหนดว่าผู้ป่วยใดควรได้รับยา ยาที่เลือกใช้ คือ bisphosphonate เพิ่มความหนาแน่นของกระดูก
• โรคที่มีความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดน้อยลงเรื่อยๆและมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกระดูก ซึ่งมีผลให้กระดูกไม่สามรถรับน้ำหนักหรือแรงกดได้ตามปกติ ทำให้กระดูกหักตามมา
• การป้องกัน
o ออกกำลังกายหรือกิจกรรม ที่มีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ ให้มีการลงน้ำหนักของกระดูก อย่านั่งๆนอนๆ จะทำให้มีการสลายของกระดูกมากขึ้น
โรคเบาหวาน
• เกณฑ์วินิจฉัยเบาหวาน
o มีอาการของโรคเบาหวานร่วมกับมีระดับน้ำตาลกลูโคสในพลาสมาจากหลอดเลือดดำ (CPG)
o ผู้มีระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดน้ำงดอาหาร (FPG)
o ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดที่เวลา 2 ชั่วโมงหลังทำการทดสอบความทนกลูโคส (OGTT)
• ภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน (Acute complication)
o Hypoglycemia
o NKHHC
o ภาวะแทรกซ้อนต่อ Macroangiopathy
o ภาวะแทรกซ้อนต่อ Microangiopathy
o การถูกตัดขา
• อาการและอาการแสดง
o ระยะแรกไม่ค่อยมีอาการ
o อาการทั่วไป กินจุ ปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำมาก น้ำหนักลด
o ติดเชื้อบ่อย โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย รา ที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ผิวหนัง มีแผลหายยาก
o ระบบประสาททำงานบกพร่อง เช่น ชา เจ็บ ปวดแสบปวดร้อน
o โรคของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ (Macroangiopathy) ทำให้เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหลอดเลือดส่วนปลาย
o โรคของหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก (Microangiopathy) เป็นที่ไต ทำให้โปรตีนรั่วออกมากับปัสสาวะ เป็นที่ตา ทำให้เกิด macular disease
o มีรอยโรคที่ผิวหนัง เช่น Diabetic dermopathy
o มีภาวะแทรกซ้อนของระบบต่อมไร้ท่อ ได้แก่ Hyperlipidemia โรคอ้วน
• การควบคุมเบาหวาน
o การบริโภคอาหารที่เหมาะสม
o การออกกำลังกาย
o การใช้ยาฉีด คือ อินซูลิน และ ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน
o การลดน้ำหนัก
• ประเภทของเบาหวาน
o Type 1 Diabetes Mellitus
พบในเด็ก หรือ ผู้มีอายุน้อย ส่วนใหญ่น้อยกว่า 30 ปี
มักจะผอม
เกิดจาดตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ต้องรักษาโดยการฉีดอินซูลิน
ถ้าขาดจะเกิดภาวะหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูงและกรดคั่งในเลือด (Ketoacidosis)
o Type 2 Diabetes Mellitus
พบมากร้อยละ 95 – 97 มักจะอ้วน
ตับอ่อนยังพอผลิตอินซูลินได้ แต่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน
ระยะแรกรักษาโดยการควบคุมอาหารหรือยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในเลือด
เป็นนานๆอาจต้องฉีด เพราะเบต้าเซลล์เสื่อมหน้าที่
ส่วนใหญ่พบในผู้ใหญ่
• การพยาบาล
o ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยา ทำได้ยากเพราะเคยชินพฤติกรรมที่ปฏิบัติมานาน พยาบาลต้องใช้ความพยายามมากเป็นพิเศษ
ภาวะท้องผูก (Constipation
)
• สาเหตุ
• การถ่ายอุจจาระแข็งและแห้งผิดปกติ ความถี่คือหลายวันจึงจะขับถ่าย เวลาเบ่งถ่ายอุจจาระนานหรือเบ่งมากหรือรู้สึกถ่ายอุจจาระไม่หมด
• ชนิดของภาวะท้องผูก
o แบ่งตามสาเหตุการทำให้เกิดท้องผูก
Primary constipation เกิดขึ้นโดยไม่มีโรคอื่นเป็นสาเหตุนำมาก่อน
Secondary constipation เกิดขึ้นโดยมีโรคอื่นเป็นสาเหตุนำมาก่อน
o การพยาบาล
แนะนำรับประทานอาหารอย่างเพียงพอ และอาหารที่มีเส้นใยสูง
แนะนำให้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
ออกกำลังกายอวัยวะที่ช่วยในการขับถ่าย คือ กล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
การฝึกการขับถ่าย ให้เป็นเวลา
o แบ่งตามลักษณะการขับถ่ายอุจจาระ
ภาวะท้องผูกชนิดถ่ายลำบาก หรือเจ็บปวดในขณะถ่าย
ภาวะท้องผูกที่มีการไหลอุจจาระในลำไส้อย่างช้าๆ
หัวใจขาดเลือด
• อาการแสดง
o ภาวะหัวใจซีกซ้ายวาย Dyspnea Orthopnea PND Pulsus alternans ผิวหนังส่วนปลายเย็น ชื้น ปัสสาวะออกน้อย
o ภาวะหัวใจซีกขวาวาย Jugular vein distention บวมกดบุ๋ม ตับโต มีน้ำในช่องท้อง อาจพบอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร
ความดันโลหิตสูง
• จุดมุ่งหมายการประเมินผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง
o เพื่อยืนยันว่าเป็น HT และประเมินความรุนแรง
o เพื่อประเมินร่องรอยอวัยวะที่ถูกทำลาย (TOP)
o เพื่อตรวจหาโรคที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด CVD
o เพื่อตรวจหาโรค HT ทุติยภูมิที่อาจรักษาต้นเหตุได้
• การรักษา
o การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต
o การรักษาด้วยยา
Thiazide – type diuretics
CCBs
ACEIs
ARBs
• ระดับความดันโลหิต 140/90 mmHg หรือมากกว่า ทั้งตัวบนหรือตัวล่าง
• การพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะ HT
o สร้างสุขนิสัยที่ดีพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกัน HT
o ออกกำลังกายแบบแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ
o ควบคุมอาหาร รับประทานแบบ DASH
o ผ่อนคลายความเครียด และพักผ่อนอย่างเพียงพอ
o หยุดสูบบุหรี่ และงดดื่มแอลกอฮอล์
o รับประทานยาให้สม่ำเสมอ ตามแผนการรักษา
• ปัจจัยเสี่ยง
o โรคความดันโลหิตสูง
o โรคเบาหวาน โรคอ้วน กลุ่มอาการเมตาโบลิก
o กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
• ชนิดของหัวใจล้มเหลว
o แบ่งตามประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจ
HFrEF
HFmrEF
HFpEF
o จำแนกกลุ่มผู้ป่วยตามระดับความรุนแรง
Stage A HF
Stage B HF
Stage C HF
Stage D HF
o แบ่งตามเวลาการเกิดโรค
Chronic heart failure
Acute heart failure
o จำแนกตามหน้าที่ทางกาย
Class I
Class II
Class III
Class IV
ข้อเสื่อม (Osteoarthritis : OA
)
• อาการและอาการแสดง
o ข้อเสื่อมมักเป็นหลายข้อ เป็นมากที่สุดคือข้อที่รับน้ำหนักมาก
o ปวด ปวดตื้อๆ บริเวณข้อ ปวดมากเมื่อใช้งานหรือลงน้ำหนักบนข้อนั้นทุเลาเมื่อพักใช้งาน
o ข้อฝืด พบบ่อย ในช่วงเช้าและหลังใช้ข้อนั้นนานๆ
• การรักษา
o การรักษาโดยไม่ใช้ยา
o การรักษาโดยการใช้ยา
o การรักษาโดยใช้เวชศาสตร์ฟื้นฟู
o การรักษาโดยการผ่าตัด
o เนื่องจากรักษาไม่หาย เป้าหมายสำคัญ
เพื่อบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบ
แก้ไขหรือคงสภาพการทำงานของข้อให้ปกติ
ป้องกันและชะลอภาวะแทรกซ้อน
ให้มีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงคนปกติ
• ปัจจัยชักนำ (Predisposing factors)
o อายุ
o การใช้งานข้อมากเกินไป เป็นเวลานาน
o บาดเจ็บที่ข้อ
o โรคอ้วน
o ขาดวิตามินดีและซี
o กรรมพันธุ์
• การพยาบาล
o ประเมินความปวด
o ประเมินปัจจัยที่ทำให้อาการปวดเพิ่มขึ้นหรือทำให้อาการปวดลดลง เพื่อวางแผนป้องกันและควบคุมอาการปวด
o ประเมินผลกระทบของความปวดต่อกิจวัตรประจำวัน
o แนะนำให้พักใช้ข้อในระยะที่มีการอักเสบเฉียบพลัน ลดการนั่ง ยืน เดินนานๆแต่ยังให้มีการเคลื่อนไหว
o ประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อ
o สังเกตลักษณะการอักเสบของข้อ เช่น ปวด บวม แดง ร้อน
• การเสื่อมของข้อ ที่มีการเปลี่ยนแปลงกระดูกอ่อนผิวข้อ สึกบางลง ทำให้การเสียดสีของกระดูก เกิดเสียงเมื่อเคลื่อนไหว อาการปวด ข้อฝืด เมื่อเวลาผ่านไปจะมีกระดูกงอกเข้าในข้อ และมีเศษกระดูกลอยอยู่ในข้อ ทำให้ปวดข้อมากยิ่งขึ้นและเคลื่อนไหวลำบาก มีผลทำให้ข้อผิดรูปและพิการ
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
• อาการแสดง
o เหนื่อย หายใจลำบาก ใช้กล้ามเนื้อในการหายใจ
o ไอเรื้อรัง
o แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด (Wheeze)
o เหนื่อยล้า น้ำหนักลด เบื่ออาหาร
• การรักษา
o การหยุดสูบบุหรี่
o การใช้ยา
o การรักษาด้วยออกซิเจน
o การรักษาอื่นๆ
การให้วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
การให้ alpha 1 antitrypsin
การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
• พยาธิสภาพ
o การจำกัดการไหลของอากาศและการขังของอากาศในถุงลม
o มีความผิดปกติของการแลกเปลี่ยนก๊าซ
o มีการหลั่งมูกเพิ่มมากขึ้น
o ความดันในปอดสูง (PAH)
• การพยาบาล
o มีความพร่องในการแลกเปลี่ยนก๊าซจาการระบายอากาศที่ลดลงและมีเสมหะปริมาณมาก
o การระบายเสมหะไม่มีประสิทธิภาพ จากปริมาณเสมหะมีปริมาณมาก เหนียว และการไอไม่มีประสิทธิภาพ
o ความทนในการทำกิจกรรมลดลงเนื่องจากการหายใจลำบาก
o มีความวิตกกังวลเนื่องจาก อาการหายใจลำบาก
o มีภาวะทุพโภชนาการ เนื่องจากนับประทานอาหารได้น้อย / ความอยากอาหารลดลง
o แบบแผนการนอนหลับถูกรบกวน เนื่องจากอาการหายใจลำบาก และมีสิ่งเร้ากระตุ้นจากภายนอก
• สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
o การสูบบุหรี่เป็นหลัก ทั้งมือ 1 และ มือ 2
o มลพิษในอากาศ
o การขาด alpha1 – antitrypsin
o ความยากจน
o โรคหอบหืด
ปัญหาด้านการสื่อสาร
• ความผิดปกติของการสื่อสารด้วยคำพูดที่พบบ่อย
o Aphasia
อาการ พูดไม่ได้ หรือพูดได้หรือไม่เข้สใจภาษา
สาเหตุ มักพบในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อุบัติเหตุทางสมอง เนื้องอกที่สมอง
ประเภทความผิดปกติ
Wernicke’s Aphasia
Broca’s Aphasia
Nominal Aphasia
Global Aphasia
o Dysarthia
เป็นการผิดปกติในการควบคุมกล้ามเนื้อการพูด คือ พูดไม่ได้ พูดไม่ชัด พูดแบบลิ้นแข็งๆหรือพูดตะกุกตะกัก เกิดจากการอ่อนแรงของใบห้า ปาก ลิ้น และขากรรไกร
สาเหตุ โรคหลอดเลือดสมองที่มีการตีบขนาดใหญ่ ตีบบริเวณเนื้อสมองส่วนสีขาว ก้านสมอง สมองน้อย ทำให้เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่ควบคุมบริเวณปากได้
จะดีขึ้นด้วยการบำบัดด้วยการฝึกพูดและการออกกำลังกาย
ต่อมลูกหมาก
• อาการ
o ปัสสาวะต้องเบ่งเมื่อเริ่มปัสสาวะหรือรอนานกว่าจะปัสสาวะออกมาได้
o ปัสสาวะไม่พุ่งเป็นลำเล็กๆ
o ปัสสาวะไม่สุดเหมือนคนที่ยังไม่ได้ปัสสาวะ
o ปัสสาวะบ่อย ต้องตื่นกลางคืนเนื่องจากปวดปัสสาวะ
• ภาวะแทรกซ้อน
o กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไม่ดี เกิดการคั่งของปัสสาวะ
o เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
o ไตเสื่อม
o กลั้นปัสสาวะไม่ได้
o ปัสสาวะเล็ด
o นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
• พยาธิสภาพ
o ผนังด้านข้างหรือด้านในของต่อมลูกหมากจะเพิ่มจำนวนเซลล์มากผิดปกติ เกิดเป็นก้อนเบียดเนื้อเยื่อเดิมให้บางออกจนเหมือนเปลือกหุ้มหรือเป็นแคปซูล เปรียบได้กับผลส้ม ต่อมลูกหมากที่โตจะเปรียบเหมือนกลีบส้ม ส่วนของเดิมจะเปรียบเหมือนเปลือกส้ม เบียดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะทำให้ท่อปัสสาวะแคบลง ทางเดินปัสสาวะอุดกั้น ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไหลไม่สะดวกกระเพราะปัสสาวะจะปรับตัวไวต่อการกระตุ้น ปัสสาวะบ่อยและกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ถ้าไม่ได้รับการแก้ไข ผนังท่อไตบางลง พองออก และมีปัสสาวะขัง เกิดเป็นท่อไตบวมน้ำ (hydroureter) ผนังของไตจะบางลง พองออกและมีปัสสาวะขัง กลายเป็นไตบวมน้ำ (hydronephrosis) อุดตันหรือมีการไหลย้อนกลับเป็นเวลานานก็จะทำให้เกิดไตวาย
• การรักษา
o การเฝ้าสังเกตอาการ
o รักษาโดยยา
o การรักษาต่อมลูกหมากโตโดยไม่ใช่วิธีผ่าตัด
o การผ่าตัดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาต่อมลูกหมากโต
• สาเหตุ
o ไม่ทราบชัดเจน
o การโตของต่อมลูกหมากสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงตามวัย
o ฮอร์โมน Dihydrotestosterone หรือ DHT เกี่ยวข้องกับการเกิด BPH
o วัยสูงอายุระดับเทสโตสเตอโรนในเลือดจะลดลงแต่ระดับ DHT จะคั่งอยู่ในต่อลูกหมาก จะกระตุ้นให้สร้างเซลล์เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ (hyperplasia)
• การพยาบาล
o กรณีที่รักษาโดยวิธี Watchful waiting ควรแนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติ และมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
o กรณีที่รักษาโดยการใช้ยา แนะนำการรับประทานยา การออกฤทธิ์และผลข้างเคียงของยา พร้อมทั้งการมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
โรคหลอดเลือดสมอง (Stoke
)
• ปัจจัยเสี่ยง
o ปัจจัยที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ อายุ เพศ ชาติพันธ์ พันธุกรรม
o ปัจจัยที่ปรับเปลี่ยนได้ ความดันโลหิตสูง Atrial fibrillation โรคหลอดเลือดหัวใจ ความผิดปกติของหลอดเลือดแดง Carotid การสูบบุหรี่ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
• การประเมินสภาพ
o การประเมินด้วย Cincinnati pre – hospital stroke scale
o หน้าเบี้ยว
o แขนขาอ่อนแรง
o พูดไม่ชัด
o ผิดปกติ 1 ใน 3 ถือว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 72
• อาการ
o หน้าเบี้ยว
o แขนขาอ่อนแรง
o พูดไม่ชัด
o ปวดศีรษะ อาเจียน ชัก สับสน
o ความรู้สึกตัวลดลง
o กลืนลำบาก
o กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้
• การรักษาแบบทางด่วน
o กรณีที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน และเข้ารับการรักษาภายใน โรงพยาบาลไม่เกิน 3 ชั่วโมง แพทย์จะพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือด
• ชนิดของโรคหลอดเลือดสมอง
o เกิดจากสมองขาดเลือด (Ischemic stroke) พบร้อยละ 75 - 80
o เกิดจากการมีเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic stroke) พบร้อยละ 20 – 25
• การพยาบาล
o ระยะฉุกเฉินและวิกฤติ ไม่ควรให้ Nifedipine อมใต้ลิ้นหรือทางปาก เพราะทำให้ความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยงมากขึ้น
o ขณะให้ยาละลายลิ่มเลือด กรณีสงสัยว่าจะมีเลือดออกในสมอง เช่น ปวดศีรษะ GCS ลดลง BP สูง คลื่นไส้อาเจียน ให้หยุดการให้ยาละลายลิ่มเลือด เจาะ Lab เตรียมให้ FFP ตามแผนการรักษา
• เป็นภาวะที่มีความผิดปติของระบบหลอดเลือดสมองเป็นเหตุให้สมองบางส่วนหรือทั้งหมดทำงานผิดปกติไปก่อให้เกิดอาการและอาการแสดงซึ่งคงอยู่เกิน 24 ชั่วโมงหรือทำให้เสียชีวิต
การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary Incontinence)
• การประเมินภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ
o การเปลี่ยนแปลงด้านสรีระวิทยาในวัยสูงอายุ
o โรคที่เกิดขึ้นมาก่อน (Co-morbidities)
o ยาที่ผู้สูงอายุรับประทาน
o ประวัติการมีปัสสาวะราด
o การตรวจร่างกาย และการตรวจพิเศษ
• การรักษา
o การรักษาเชิงพฤติกรรม
o การรักษาโดยการใช้ยา
o การรักษาโยการผ่าตัด
• ชนิดของกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
o ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบชั่วคราว (Transient) หรือ แบบเฉียบพลัน (Acute) : ป้องกัน รักษาให้หายได้ พบบ่อยแต่มักไม่ค่อยได้รับการประเมิน
o ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบเรื้อรัง (Chronic)
Functional incontinence
Stress incontinence
Urge incontinence
Overflow incontinence
• ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
o มีโอกาสเกิดแผลและติดเชื้อที่อวัยวะสืบพันธ์และผิวหนังเนื่องจากชื้นแฉะจากปัสสาวะ
o แยกตัวจากสังคมเนื่องจากวิตกกังวลเกี่ยวกับการกลั้นปัสสาวะไม่ได้
o การดูแลตนเองบกพร่องเนื่องจากขาดความรู้ในการดูแลตนเอง
• การสูญเสียการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ ทำให้มีปัสสาวะเล็ดราดออกมาทางท่อปัสสาวะ โดยไม่สามารถควบคุมได้และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยคุณภาพชีวิต และการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมของบุคคล