Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Plant tissue : RTEmagicC_pH_plant_tissue_01.png …
Plant tissue : เนื้อเยื่อพืช คือ กลุ่มของเซลล์พืชชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันที่มาทำงานร่วมกันภายใต้โครงสร้างหรืออวัยวะต่างๆ ของพืช เช่น ราก ลำต้น ใบ เป็นต้น
- เนื้อเยื่อถาวร (Permanent tissue)🎗เป็นเนื้อเยื่อที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญ ประกอบด้วยเซลล์ที่เจริญเติบโตเต็มที่ หยุดการแบ่งตัวจึงทำให้เซลล์มีรูปร่างคงที่ แต่ละเซลล์ทำหน้าที่เฉพาะอย่าง จึงทำให้ลักษณะรูปร่างของเซลล์และองค์ประกอบภายในเซลล์ แตกต่างกันไปตามแต่ชนิดและหน้าที่ของเซลล์นั้นๆ
เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (Complex permanent tissue) 📍 เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบขึ้นด้วยเซลล์หลายชนิดอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า มัดท่อลำเลียง (vascular bundle) ซึ่งประกอบด้วยไซเล็ม (xylem) และโฟลเอ็ม (phloem)
1.Xylem💧 เป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ และแร่ธาตุ จากรากไปยังส่วนต่างๆของพืช มีความซับซ้อนทั้งในด้านโครงสร้าง และชนิดของเซลล์ที่พบ
เซลล์ที่พบได้ปกติในเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำ
-
เซลล์พาเรงคิมา (xylem parenchyma)💧
เป็นเซลล์ที่มีชีวิต รูปร่างคล้ายเซลล์พาเรงคิมาทั่วๆ ไป เรียงตัวกันตามยาวของต้นพืช เมื่ออายุมากขึ้นผนังเซลล์ก็จะหนาขึ้น และเป็นผนังเซลล์แบบทุติยภูมิ เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สะสม แป้ง น้ำตาล และสารอื่นๆ
เทรคีด (tracheid)💧 เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างยาว ปลายแหลม เมื่อเซลล์เจริญเต็มที่แล้วจะตาย ทำให้เกิดช่องว่างขนาดใหญ่ตรงกลางเซลล์ ผนังเซลล์หนาพบในพืชพวก เฟิร์น และกลุ่มจิมโนสเปิร์ม ส่วนพืชดอกพบน้อยหรือไม่พบเลย
เซลล์เส้นใย (xylem fiber) 💧
เป็นเซลล์ที่ผนังเซลล์หนา และหนากว่าเซลล์เส้นใยทั่วไป รูปร่างยาว ปลายเซลล์ เรียวแหลม เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่เซลล์จะตาย เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับเนื้อเยื่อไซเล็ม
- โฟลเอ็ม (Phloem) 🍕เป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง หรือจากการสลายอาหารที่สะสม ส่งไปยังส่วนต่างๆ ของพืช
เซลล์ประกบ (companion cell) 🍕เป็นเซลล์ที่อยู่ข้างเซลล์ท่อลำเลียงอาหาร รูปร่างผอมยาว เป็นเหลี่ยมและมีขนาดเล็ก ทำหน้าที่สร้างพลังงานให้กับเซลล์ท่อลำเลียงที่ตายแล้วและที่ต้องการพลังงาน
เซลล์พาเรงคิมา (Phloem parenchyma) 🍕 เป็นเซลล์มีชีวิต เซลล์เรียงตัวตามยาว ผนังเซลล์บางและมี simple pit ส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายกับพาเรงคิมาเซลล์ทั่วไป ภายในเซลล์มักพบว่ามีการสะสมผลึก แทนนิน เมล็ดแป้ง หรือน้ำยาง ต่างๆ เอาไว้
เซลล์ท่อลำเลียงอาหาร (sieve tube member)🍕 เป็นเซลล์ที่มีชีวิตอยู่ รูปร่างเป็นทรงกระบอกยาว ปลายเซลล์ทั้งสองด้านเสี้ยมและมีลักษณะเป็นแผ่นเรียก “แผ่นตะแกรง” (sieve plate) ซึ่งเป็นแผ่นที่มีรูพรุนทำให้ไซโทพลาส ซึมภายในผ่านไปมาระหว่างเซลล์ที่อยู่ติดกันได้
เซลล์เส้นใย (Phloem fiber)🍕 มีรูปร่างยาว หัวท้ายแหลม ผนังเซลล์มีสารพวกลิกนิน และมี simple pit มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ทำหน้าที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร
เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว (simple permanent tissue) 📍 เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบด้วยเซลล์ชนิดเดียวกันล้วนๆ ได้แก่ เนื้อเยื่อชั้นผิว (Epidermis) พาเรงคิมา (parenchyma) คอลเลงคิมา (collenchyma) และสเกลอเลงคิมา (sclerenchyma)
- เนื้อเยื่อพาเรงคิมา (Parenchyma) ที่ประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมา (parenchyma cell) จำนวนมาก สามารถพบได้แทบทุก ส่วนของพืช พาเรงคิมาจะเป็นเนื้อเยื่อถาวรแต่ยังสามารถกลับมาแบ่งเซลล์ ได้เหมือนเนื้อเยื่อเจริญอีก
- เนื้อเยื่อคอลเลงคิมา (Collenchyma)เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยวที่พบในชั้นคอร์เท็กซ์ของลำต้นและใบ มีลักษณะเป็นแถบต่อเนื่องกันในแนววงกลม หรือ อยู่เป็นหย่อมๆ ถัดจากเนื้อเยื่อชั้นผิวเข้ามา เช่น ที่ก้านใบ เส้นกลางใบ ลำต้น ส่วนในราก เมีการสะสมสารเพคติ (pectin)
- เนื้อเยื่อชั้นผิว (Epidermis)เป็นเนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว ที่อยู่ด้านนอกสุดของอวัยวะต่างๆ ของพืชเปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญกำเนิดผิว
เนื้อเยื่อสเกลอเลงคิมา(Sclerenchyma) ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว คือเมื่อเซลล์เจริญเติบโตเต็มที่ไซโทลาซึม และ นิวเคลียสจะสลายไป ผนังเซลล์หนามาก มีทั้งผนังเซลล์ปฐมภูมิและผนังเซลล์ทุติยภูมิ มีการสะสมสารลิกนิน (lignin)
คอร์ก เกิดจากการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสของคอร์กแคมเบียมบริเวณใกล้ๆกับเอพิเดอร์มิส เรามักพบบริเวณนอกสุดของลำต้นเซลล์จะตายเมื่อโตเต็มที่
- เนื้อเยื่อเจริญ (Meristem tissue) 🎗เป็นเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์ที่มีการแบ่งตัวแบบไมโทซิสอยู่ตลอดเวลา แต่ละเซลล์ในเนื้อเยื่อนี้เรียกว่า เซลล์เริ่มต้น (initial cell) มักพบที่บริเวณปลายยอด และปลายรากของพืช
-
แบ่งตามบริเวณที่พบ🥝
2.เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Laterral meristem)☘ เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ทางด้านข้างของลำต้นและราก (Secondary growth) ซึ่งเป็นการเติบโตที่ทำให้พืชมีการขยายขนาดออกทางด้านข้าง หรือมี เส้นรอบวงเพิ่ม
-
1.แคมเบียมท่อลำเลียง (vascular cambium)
แทรกอยู่ระหว่าง ไซเลม และโฟลเอ็ม มีหน้าที่ สร้าง secondary xylem และ secondary pholem พบในพืชใบเลี้ยงคู่ทุกชนิด และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด
1.เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (Apical meristem) :☘
เนื้อเยื้อเจริญปลายยอด (Shoot apical meristem; SAM)
และเนื้อเยื่อเจริญที่พบที่ปลายราก เรียกว่า เนื้อเยื่อเจริญปลายราก (root apical meristem; RAM) โดย เทำหน้าที่ในการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ทำให้ส่วนปลายยอดและ ปลายรากของพืชมีการยืดยาว
3.เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (Intercalary meristem) ☘ เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้จะอยู่บริเวณเหนือข้อของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ทำให้ปล้องยืดยาวขึ้นซึ่งมีฮอร์โมนจิบเบอเรล-ลิน(Gibberellins) เข้ามาเกี่ยวข้องส่วนใหญ่พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว โดยเฉพาะพืชตระกูลหญ้า เช่น ไผ่ ข้าว หญ้าคมบางกลม เป็นต้น
)
-