Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 - Coggle Diagram
นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
นวัตกรรม INNOVATION
สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์
ที่มีประโยชน์ ต่อเศรษฐกิจและสังคม
ประเภทนวัตกรรม
นวัตกรรมกระบวนการ process innovation
นวัตกรรมขององค์กร organizational innovation
นวัตกรรมการตลาด marketing innovation
นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ product innovation
กระบวนการพัฒนานวัตกรรม Innovation development process
ระยะที่ 1 เข้าใจปัญหา (Understand)
เป็นระยะการใช้เวลาทำความเข้าใจปัญหาอย่างลึกซึ้ง (empathy) และกำหนดประเด็นและทิศทางในการแก้ปัญหาที่ชัดเจน (define) ถูกต้องตรงประเด็น
ระยะที่ 2 พัฒนาไอเดีย (Create)
เป็นระยะที่สร้างไอเดีย (ideate) หรือการต่อยอด
จากหลากหลายมุมมอง (idea generation) เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่แปลกใหม่และตอบโจทย์การแก้ไขปัญหา
ระยะที่ 3 ส่งมอบนวัตกรรม (Deliver)
เป็นระยะเปลี่ยนไอเดียเป็นนวัตกรรมต้นแบบ
(Prototype) และทำการทดสอบ (test) กับกลุ่มเป้าหมาย ปรับปรุงแก้ไข จนสามารถนำไปใช้ได้จริง
กลไกลนวัตกรรม Innovation Engine
จินตนาการ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการแปรรูปความรู้เป็น IDEA ใหม่
ทัศนคติ เป็นตัวจุดชนวนให้กลไกสร้างสรรค์ทำงาน
ทรัพยากร คือสินทรัพย์ทั้งหลายในชุมชน
สภาพแวดล้อม คือสถานที่ที่คุณใช้ชีวิต
วัฒนธรรม คือความเชื่อ ค่านิยมและพฤติกรรมของชุมชน
ความรู้ เป็นเชื่อเพลิงให้จินตนาการ
การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุคThailand 4.0
สังคมไทยเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการก้าวเข้าสู่โลกยุคดิจิตอลอย่างเต็มตัว ประกอบกับ นโยบายThailand4.0 ซึ่งมีหัวใจสำคัญคือ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Value–Based Economy) ขับเคลื่อนไปสู่การเป็นประเทศที่ “มั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน”
แยกตามหัวข้อ
1) การเตรียมหลักสูตร
เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ผู้เรียนใช้ทักษะการคิดมากกว่าการใช้ความจำ
ไม่เน้นการสอบเพื่อให้ได้คะแนนสูง ๆ
ครูผู้สอนควรเลิกการบรรยายเป็นสำคัญ แต่ควรให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์และใช้สถานการณ์ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ (Problem Base Learning) และใช้การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
ไม่เน้นการสอน/การเรียนแบบท่องจำ
2) บทบาทของครูผู้สอนในยุคThailand 4.0
“ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ หรือ
เรียกว่า กระบวนกร (facilitator)”
3) ทักษะที่สำคัญสำหรับผู้เรียนในยุคไทยแลนด์4.0
3.1) ทักษะการคิดเชิงบริหาร (Executive Function Skills)
3.2) ทักษะการใช้ Internet (Internet Skills)
3.3) ทักษะการคิดวิเคราะห์(Analytical Thinking Skills)
3.4) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking Skills)
3.5) ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving Skills)
3.6) ทักษะความคิดสร้างสรรค์(Creative Thinking Skills)
3.7) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Relationship Skills)
3.8) ทักษะด้านภาษาอังกฤษ (English skills)
3.9) ทักษะด้านคณิตศาสตร์(Mathematics Skills)
3.10) ทักษะด้านจิตสาธารณะ(Public Mind Skills)
การจัดการเรียนรู้สู่การศึกษาไทย 4.0
ความหมายของการศึกษา 4.0
การศึกษา 4.0 หมายถึง การสร้างความรู้จากความสนใจรายบุคคลและจากการรวมตัวของคนที่มีแรงผลักดันเป็นทีม เป็นการศึกษายุคผลิตภาพ เป็นยุคที่ต้องการผลผลิตให้ได้มากที่สุด
จากอุตสาหกรรม 4.0 สู่การศึกษา 4.0
การศึกษา 4.0 มีภูมิหลังมาจากแนวคิดที่เป็นเสมือนการปฏิรูปอุตสาหกรรมครั้งใหม่
ที่เรียกกันว่าอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยมาประยุกต์ในการผลิตสินค้า และบริการตามความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค ในต่างประเทศ ให้ความสำคัญและตื่นตัวเรื่องนี้กันมาก โดยเฉพาะประเทศเยอรมัน ส่งผลให้เกิดความต้องการที่จะปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนรู้ของมนุษย์เพื่อให้เกิดความรู้ ความสามารถและทักษะที่สอดรับกับแนวคิดและวิธีการในโลกของงาน
ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ซึ่งเรียกแนวความคิดของการจัดการศึกษาตามการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า “การศึกษา 4.0”
คุณลักษณะของผู้เรียน 4.0
12 ประการ
1) การคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking)
2) การคิดสร้างสรรค์ (CreativeThinking)
3) การสร้างผลงาน (Productivity)
4) ความรับผิดชอบต่อสังคม (Responsibility)
5) ท างานร่วมกับผู้อื่น (Cooperation)
6) ภาวะผู้นำ (Leadership)
7) ภูมิใจในความเป็นไทย (Thai Pride)
8) ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Technology/Digital Competence)
9) เรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learners)
10) สมรรถนะทางวัฒนธรรม (Cultural Competency)
11) ความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur)
12) ทักษะการทำงาน (Work Skills)
สมรรถนะของครู 4.0
1) สมรรถนะแกนกลางของการศึกษายุค 4.0
มี 10 ประการ ได้แก่
1.1) การคิดแบบมีวิจารณญาณ
1.2) การแก้ปัญหาแบบสร้างสรรค์
1.3) การสร้างนวัตกรรม
1.4) ความเป็นผู้ประกอบการ
1.5)ความเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต
1.6) การใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ
1.7) การทำงานร่วมกับผู้อื่น
1.8) การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม
1.9) ภาวะผู้นำ
1.10) การมีจิตสาธารณะและ
2) สมรรถนะวิชาชีพครู
มี 6 ประการได้แก่
2.1) ความเป็นครูและจรรยาบรรณวิชาชีพครู
2.2) การพัฒนาหลักสูตร
2.3) การรู้ลึกในเนื้อหาวิชาและวิธีวิทยาการสอน
2.4) การประเมินผลและวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา
2.5) การพัฒนาผู้เรียน
2.6) การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้
หลักสูตร 4.0
ควรเป็นหลักสูตรที่มีเนื้อหาเปลี่ยนไปตามองค์ความรู้ในโลกยุคใหม่ เรียนรู้เฉพาะเรื่องที่สำคัญ คงไว้เฉพาะสาระวิชาหลักที่จำเป็น เน้นที่ทำให้ผู้เรียนอ่านออก เขียนได้ สื่อสารได้ และคิดเลขเป็น ซึ่งเป็นทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ รวมถึงทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน แล้วสอดแทรกเนื้อหาภูมิปัญญาหลักของไทยซึ่งเป็นองค์ความรู้ดั้งเดิม ทางเลือกของสังคมไทยและสังคมโลกเพื่อให้มองเห็นโอกาสและการเปลี่ยนแปลง นวัตกรรมใหม่ๆ
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 4.0
ปรัชญาการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ (CCPR Model)
รูปแบบการเรียนการสอน CRP
การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem - Based Learning: PBL)
การเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Learning)
การเรียนรู้ตามสถานการณ์จริง(Situated Learning)
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 4.0
การวัดและประเมินผลมีจุดมุ่งหมายพื้นฐาน 2 ประการ คือ
1) วัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน เป็นการวัดและประเมินผลย่อย (Formative Assessment) ที่เน้นลักษณะการประเมินเพื่อการเรียนรู้ (Assessment for Learning) มากกว่าการประเมินเพื่อสรุปผลการเรียนรู้(Assessment of Learning)
2) วัดและประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียน เป็นการประเมินสรุปผลการรียนรู้ (Summative Assessment)ซึ่งมีหลายระดับ
นวัตกรรมการเรียนการสอนกับ
การศึกษาระบบ 4.0
นวัตกรรมคอมพิวเตอร์มีความสำคัญกับการศึกษา เพราะ เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัว การนำสิ่งเหล่านั้นมาใช้ในการสอน คือการปฏิรูปการศึกษา
การเรียนการสอยควรใช้นวัตกรรมใหม่ เนื่องจากเทคโนโลยีก้าวหน้าเร็ว ต้องพยายามหานวัตกรรมมาช่วยจัดการศึกษา
การเรียนรู้เป็นไปตามยุคสมัย ต้องเรียนรู้ ปรับตัว ส่งเสริมเด็กไปข้างหน้า ไม่ใช่ถอยหลัง เพราะเด็กรุ่นใหม่มีลักษณะพิเศษ เช่น 1.คิดแบบ Parallelism
2.มีทักษะคอนเน็กทิวิตี้สูง
3.ทำอะไรสั้น
การศึกษาต้องใช้เทคโนโลยีช่วย เพราะ เก็บข้อมูลได้มาก สะดวกรวดเร็ว สื่อล้นโลก ดังนั้น การศึกษายุคนี้เป็นเวอร์ชั้นที่เอาเทคโนโลยีมาทดแทน
วิธีคิดแบบกิจการเพื่อสังคม คือเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
แนวราบ การเรียนรู้ในแนวราบเป็นแบบที่ดีสุดพิเศษแบบหนึ่ง
แนวดิ่ง คือ โรงเรียนที่มีครูสอน ครูทำหน้าที่สอนอย่างเดียว
ต้องเปลี่ยนใหม่เป็น ให้ครูเป็นผู้จัดการ เรียกว่า เป็นผู้จัดการชั้นเรียน คอยจัดการให้นักเรียนได้เรียนรู้เรียน
แบบหลากหลายรูปแบบ ทั้งแนวดิ่งและแนวราบ