Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตสื่อมัลติมีเดีย - Coggle Diagram
เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตสื่อมัลติมีเดีย
เทคโนโลยีไมโครคอมพิวเตอร์
ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) เป็นเครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็ก มีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุด สามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC)
ปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมาก อาจเท่ากับหรือมากกว่าเครื่องเมนเฟรมในยุคก่อน นอกจากนั้นยังราคาถูกลงมาก ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มาก ทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน ตลอดจนตามโรงเรียน สถานศึกษา และบ้านเรือน บริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่าย ได้แก่ Acer , Apple, Compaq, Dell, IBM เป็นต้น
เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
2.แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer)
แล็ปท็อป (Laptop Computer) หรือ โน๊ตบุ๊ค (Notebook Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่สามารถขนย้ายไปไหนมาไหนได้สะดวก โดยปกติจะมีน้ำหนักประมาณ 1-3 กก. การทำงานของแล็ปท็อปจะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ในขณะเดียวกันก็สามารถใช้พลังงานได้โดยตรงโดยการเสียบปลั๊กไฟ ประสิทธิภาพของแล็ปท็อปโดยทั่วไปจะพอกับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะแบบปกติ ในขณะที่ราคาจะสูงกว่า โดยส่วนที่จะแตกต่างกับคอมพิวเตอร์ทั่วไปคือ จอภาพจะเป็นลักษณะจอแอลซีดี และจะมีทัชแพดที่ใช้สำหรับควบคุมการทำงานของลูกศรบริเวณหน้าจอ
ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (palmtop computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่นเป็นพจนานุกรม เป็นสมุดจนบันทึกประจำวัน บันทึกการนัดหมายและการเก็บข้อมูลเฉพาะบางอย่างที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก
แท็บเล็ต พีซี (Tablet personal computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่สามารถพกพาได้และใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก ออกแบบให้สามารถทำงานได้ด้วยตัวมัน แท็บเล็ต พีซีแตกต่างจากคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (laptops) ตรงที่อาจจะไม่มีแป้นพิมพ์ (keyboard) ในการใช้งาน แต่อาจจะใช้แป้นพิมพ์เสมือนจริงในการใช้งานแทน โดยมีแป้นพิมพ์ปรากฎบนหน้าจอใช้การสัมผัสในการพิมพ์ แท็บเล็ต พีซี ทุกเครื่องจะมีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน
แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer)
เทคโนโลยีจอภาพ
Plasma
ในปัจจุบันเราจะพบจอแสดงผลแบบ plasma เฉพาะในทีวีที่มีความละเอียดสูงและมีขนาดใหญ่มากเท่านั้น (HDTVs) ซึ่งจอ plasma มีความคมชัดที่ยอดเยี่ยม จอ plasma ไม่เปลี่ยนสีหรือเปลี่ยนความสว่างแม้จะดูจากด้านข้าง จึงเหมาะสำหรับสถานที่สาธารณะเช่นในสนามกีฬาหรือโดมกว้างที่มีคนดูจำนวนมาก ซึ่งในตลาดจะจำหน่ายจอ Plasma HDTV ราคาค่อนข้างสูงกว่าจอ LCD ในขนาดเท่ากัน ส่วนต่างของราคามาจากการที่จอ plasma ใช้เวลาสั้นมากในการตอบสนอง (หมายถึงการเปลี่ยนสีของพิกเซลอย่างรวดเร็ว) ซึ่งจะทำให้จอมีอาการเบลอน้อยมากๆ
น่าเสียดายทีจอ plasma มีข้อเสียบางอย่างที่เสียเปรียบจอแบบอื่น นั่นคือมันไม่สามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กได้ เนื่องจากมันหนาและหนัก แถมยังกินไฟเกินกว่าจะนำไปใส่ในสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องยากที่จะบีบเอาจุดพิกเซลจำนวนมากใส่ลงไปในจอ plasma ที่มีขนาดเล็กทำให้อุปกรณ์นั้นจะพบกับปัญหาความละเอียดต่ำในที่สุด ซึ่งในผิวด้านบนของเทคโนโลยี plasma จะมีช่องว่างระหว่างจุดพิกเซลซึ่งปกติแล้วผู้ใช้งานจะมองไม่เห็นช่องว่างนี้เมื่อนั่งห่างออกไป 10 ฟุตจากหน้าจอทีวีขนาดใหญ่ แต่ถ้าเป็นบนเครื่องแล็ปท็อปหรือ พีซี มันสามารถตรวจพบได้อย่างแน่นอน
วิธีการทำงาน: จอ plasma ประกอบขึ้นจากแผ่นแก้วสองชุดวางชิดกัน ช่องว่างนี้จะถูกแบ่งออกเป็นเซลล์แสงกว้าง 100-200 ไมครอน มีชั้นผนังกั้นไว้ โดยใช้ขั้วไฟฟ้าในแนวกระจกคอยควบคุมตำแหน่งของเซลล์เหล่านั้น แต่ละเซลล์จะบรรจุก๊าซที่ผสมระหว่างก๊าซซีนอนและก๊าซเฉื่อยอื่นๆ กลไกการทำงานของจอภาพพลาสมา จะมีการเรืองแสงขึ้นเองเหมือนการทำงานของหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ กล่าวคือ ก๊าซในเซลล์เหล่านี้เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแรงดันไฟฟ้าจะเกิดการไอออนไนซ์ขึ้นทำให้ก๊าซแตกประจุและปล่อยแสงอุลตราไวโอเล็ตออกมา สารเรืองแสงจะดูดซับอุลตราไวโอเล็ตและสร้างสีที่มองเห็นได้ด้วยตา ทำให้เรามองเห็นเป็นภาพได้
OLED
ไดโอดเปล่งแสงชีวภาพเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ในการแสดงผลแบบดิจิตอล ผู้ใช้มักจะพบ OLED ที่มีชื่อเรียกในการตลาดว่า AMOLED ซึ่ง "AM" มาจากคำว่า Active Matrix จอแสดงภาพแบบ OLED นั้นแบ่งตามชนิดได้ 2 ประเภทคือ
Passive matrix OLED Displays (PMOLED) มักพบในจอ PDA แบบเก่าและเครื่องเล่น MP3 ขนาดเล็ก จอมือถือใหม่ๆ มักจะใช้อีกแบบหนึ่งมากกว่า
Active matrix OLED Displays (AMOLED) ถูกนำไปใช้ในสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในปัจจุบันหลายๆ รุ่น ภายในมีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มบาง มีวงจรในตัวเอง สามารถควบคุมการเกิดภาพได้เองภายในชั้นฟิล์ม
AMOLED
ข้อดีคือ มีความคมชัดมาก ให้สีสันสดใส แสดงผลสีดำได้คมชัด มีเวลาตอบสนองที่รวดเร็ว มีองศาในการมองที่กว้าง และประหยัดพลังงานโดยใช้พลังงานน้อยกว่าแบบแรกและยังสามารถขยายให้มีขนาดใหญ่ได้ จึงถูกนำไปใช้ทำจอวิดีโอ คอมพิวเตอร์ ทีวีขนาดใหญ่ หรอป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ด้วย
ข้อเสียคือ ค่าใช้จ่ายมีราคาแพงกว่าจอ LCD หรือ plasma และยังมีปัญหากับสีฟ้าอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเมื่อใช้งานไปนานๆ ไดโอดสีน้ำเงินจะมีประสิทธิภาพน้อยลง แต่ก็ได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ใน AMOLED รุ่นล่าสุดในปัจจุบัน ความสมดุลของสีในการใช้งานระยะยาวยังคงเป็นสิ่งที่ท้าทายผู้ผลิต และที่ควรรู้ไว้ก็คือจอแบบ AMOLED จะกินไฟมากกว่า LCD เมื่อต้องแสดงผลสีขาว (ซึ่งหน้าเว็บปกติหรือโปรแกรมประยุกต์ส่วนใหญ่มักจะมีสีขาว จึงไม่น่าแปลกใจที่แบตจะหมดไว)
Super AMOLED และ Super AMOLED Plus เป็นชื่อในการตลาดสำหรับการพัฒนามาตรฐานเทคโนโลยี OLED ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบที่แตกต่างกันของสีแดง สีฟ้า สีเขียว หรือ subpixels หรือ การเพิ่มความไวต่อการสัมผัส แต่อย่างไรก็ตามยังคงอยู่บนพื้นฐานของ OLED อยู่ดี
LCD (Liquid Crystal Displays)
LCD: Twisted Nematic (TN หรือ TN-Film) เป็นจอแสดงผลที่มีราคาไม่แพงและง่ายต่อการผลิต มีการตอบสนองที่ค่อนข้างรวดเร็ว แต่ก็ยังไม่ใกล้เคียงกับ OLED หรือ plasma ซึ่งเวลาตอบสนองที่รวดเร็วช่วยลดการเบลอเมื่อวัตถุเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วในจอ และมีอัตรารีเฟรชที่สูงซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการแสดงผลรูปแบบ 3D น่าเสียดายที่ TN ให้คุณภาพต่ำที่สุดเมื่อมองโดยรวม เพราะมีช่วงของสีที่แคบ โดยแต่ละ subpixel จะมีสีแดง สีเขียว สีน้ำเงินเพียง 64 เฉดสี เท่านั้นเอง หากไม่สามารถแสดงผลสีที่ได้รับมาก็จะมีกระบวนการ "dithering" หรือการดึงจุดพิกเซลที่อยู่ติดกันให้ไล่สีใกล้เคียงกับข้อมูลมากที่สุด TN มีองศาในการมองไม่ค่อยดี หากมองจากด้านข้างสีอาจจะเลื่อนไปบ้าง หากดูจากด้านล่างมักจะมืด หากดูจากด้านบนมันจะเห็นลางๆ ซึ่งสามารถไปพิสูจน์ได้จากเครื่องแล็บท็อปหลายๆ รุ่น สาเหตุมาจากเทคโนโลยี LCD TN นั้นมีการบิดของแสง (polarized) ผ่านตัวกรองหลายชั้น ทำให้แสง (สี) ที่ได้ออกมามีมุมมองที่เห็นชัดเจนเพียงแค่ด้านเดียว (มองตรงๆ)
LCD: In-Plane Switching (IPS) Hitachi พัฒนาเทคโนโลยี IPS มาตั้งแต่ปี 1996 เพื่อต่อสู้กับปัญหาเครื่องซักผ้าที่มองไม่ค่อยเห็นแผงควบคุม ซึ่งตอนนั้นเป็นจอ LCD TN ที่ยังคงพบอยู่ในปัจจุบัน และโดนต่อว่าเรื่องมุมมองที่จำกัดเกินไป ตั้งแต่นั้นมาก็มีการปรับแต่งและปรับปรุงวิธีการใหม่ขึ้นเช่นซูเปอร์ IPS (S-IPS) แอดวานซ์ ซูเปอร์ IPS (AS-IPS) และ IPS Pro วันนี้จอแบบ LCD IPS ได้พัฒนาไปหลายสายพันธุ์แต่ยังคงใช้ชื่อเรียกกันว่า IPS ซึ่งปัจจุบัน LG กลายเป็นผู้ผลิตจอ IPS ที่ใช้บนอุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่โฆษณาว่ามีหน้าจอสัมผัสแบบ IPS หน้าจอแบบ IPS มีข้อดีที่สำคัญหลายๆ อย่างที่เอามาจากหน้าจอแบบ TN เช่นผลิตได้ไม่ยากและมีขนาดแพงกว่าจอแบบ TN เล็กน้อยเท่านั้น ซึ่ง subpixel สีแดง สีเขียว สีฟ้า สามารถแสดงสีได้ชนิดละ 8 บิต (256 ระดับ) และเพิ่มเติมความสว่างให้ชัดเจนมากขึ้น ทำให้ไม่ต้องไปใช้เทคนิคการไล่สีให้ขัดใจด้วยช่วงสีที่กว้างเพียงพอ ทำให้บรรดานักถ่ายภาพ ศิลปิน โปรดปรานจอแบบนี้อย่างมาก และเครื่อง PC ชั้นนำจะมีจอแบบ IPS สำหรับนักถ่ายภาพ นักออกแบบ และยังถูกนำไปใช้งานการพิมพ์และงานอื่นๆ มากมาย ด้วยองศาในการมองที่กว้างมาก ผู้ใช้จะเห็นสีที่เหมาะสมและคมชัดแม้ว่ามองจากมุมไหนก็ตาม ข้อดีนี้ทำให้จอ IPS นำไปใช้ในสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตอย่างเช่น iPhone 4, iPhone 4S, iPad 2, new iPad, Amazon Kindle Fire และAsus Eee Pad Transformer Prime เหล่านี้เป็นเพียงแค่บางส่วนเท่านั้นที่ใช้งานจอ IPS แต่ก็ใช่ว่าจะมีข้อดีเพียงอย่างเดียว โดยทั่วไปแล้วจอ IPS จะมีสีไม่สดใส่เท่าจอแบบ TN (หากมองตรงๆ) และจอ IPS ก็ยังทำอัตรา refresh ได้ไม่ค่อยดีนักเมื่อเทียบกับแบบ TN ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นมากที่สุดสำหรับการแสดงผลในแบบ 3D ทำให้กราฟิกที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วในบางครั้งอาจจะมีสีผิดเพี้ยนหลุดออกมาให้เห็นบ้าง แต่จอแบบ IPS ก็ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อลดปัญหาดังกล่าว แต่นั่นก็ทำให้มีราคาแพงขึ้นตามเช่นกัน
LCD: Vertically Aligned (VA) เป็นจอชนิดหนึ่งที่อยู่ระหว่าง IPS (ช้าแต่คุณภาพสูง) และ TN (สว่าง ความเร็วสูง แต่มีคุณภาพต่ำ) จอแบบ VA สามารถแสดงความสว่างได้ 8 บิทต่อ subpixel แต่ไม่มีความกว้างของสีเยอะเท่าแบบ IPS พูดง่ายๆ ก็คืออยู่กึ่งกลางระหว่างจอ LCD สองแบบแรก จอแบบ LCD VA ถูกแบ่งย่อยอีกเป็นหลายชนิด แต่โดยภาพรวมคือให้ภาพสีดำที่ดำมืดสนิทและมีอัตราส่วนความคมชัดที่ดีมาก
เทคโนโลยีอุปกรณ์นำเข้าและแสดงข้อมูล
อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล หรือคำสั่งเข้าไปสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่
เมาส์ (Mouse)
2 Keyboard
3 ปากกาสไตลัส (Stylus)
4 สแกนเนอร์ (Scanner)
5 จอยสติ๊ก ( Joystick )
6 แผ่นรองสัมผัสหรือทัชแพด ( Touch pad )
7 จอสัมผัสหรือทัชสกรีน ( Touch screen )
8 พวงมาลัยพังคับทิศทาง (Wheel)
9 ดิจิไทเซอร์ ( Digitizer )
10 ปากกาแสง ( Light pen )
11 ไมโครโฟน ( Microphone )
12 กล้องถ่ายวิดีโอดิจิตอล ( Digital Video camera )
13 กล้องถ่ายรูปดิจิตอล ( Digital camera )
14 เว็บแคม ( Web cam )
15 โอเอ็มอาร์ ( OMR – Optical Mark Reader )
16 เครื่องอ่านบาร์โค้ด ( Bar code reader )
17 เอ็มไอซีอาร์ ( MICR – Magnetic-Ink Character Recognition ) เรียกย่อ ๆ ว่าเครื่อง เอ็มไอซีอาร์ ( MICR – Magnetic-Ink Character Recognition )
18 ไบโอเมตริกส์ ( biometric ) ) ฝ่ามือ หรือแม้กระทั่งเสียงพูด ซึ่งนำมาใช้กับงานป้องกันและรักษาความปลอดภัยในหน่วยงานที่ต้องการความปลอดภัยในระดับสูง
เทคโนโลยีในการเก็บบันทึกข้อมูล
Floppy Disk
ดิสก์ความจุสูง (High-Capacity Floppy Disk)
Harddisk
CD-ROM Drive
DVD-ROM Drive
แฟลชไดรฟ์ (Flash Drive)
เทคโนโลยี Blu-Ray
เทคโนโลยี HD-DVD
Floptical Disk
ZIP drive ของ Iomega Jazz drive
เทปแบ็คอัพ ( Tape Backup )
การ์ดเมมโมรี ( Memory Card )
เทคโนโลยีการย่อขนาดข้อมูล
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เครือข่าย
เทคโนโลยีซอฟต์แวร์
เทคโนโลยีการนำเสนอข้อมูล