Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 9 การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและการดูแลระยะท้าย - Coggle Diagram
หน่วยที่ 9 การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและการดูแลระยะท้าย
เป้าหมายของการดูแลแบบประคับประคอง
คือ การส่งเสริมให้บุคคลได้รับการดูแลตลอดกระบวนการของการตายที่เรียกว่าตายดี (good death) มีลักษณะดังนี้
1.ผู้ป่วยและครอบครัวยอมรับและเข้าใจพร้อมปรับตัวเข้ากับความเจ็บปวดได้
2.บรรเทาความทุกข์ทรมานจากอาการรบกวนและอาการปวด
3.มีคุณภาพชีวิตที่ดี
4.การปฏิบัตสอดคล้องกับวัฒนธรรม จริยธรรม
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังเผชิญปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยการค้นหาปัญหาแบบเนิ่นๆและรักษาความปวดตลอดจนปัญหาอื่นๆทั้งทางร่างกาย จิตสังคมและจิตวิญญาณ
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มผู้ป่วยมะเร็งทุกชนิด
กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดและมีอาการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆหรือโรคเรื้อรังระยะสุดท้าย (Serious illness)
กลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้าย (End of life)
การประเมินผู้ป่วยในการดูแลแบบประคับประคอง
1.การประเมิน PPS (Palliative Performance Scale)
2.การประเมินการรบกวน
3.การประเมินการปวด
4.การประเมิน 2Q
การบอกข่าวร้ายกับผู้ป่วย
ขั้นที่1 เตรียมตัวเจรจา (Getting start)
ขั้นที่ 2 สำรวจว่ารู้แค่ไหน (What does the patient knows)
ขั้นที่ 3 ประเมินใจอยากรู้เเน่ (How much the patient want to know)
ขั้นที่ 4 เผยแพร่ข้อมูลให้ตรงจริง (Sharing information)
ขั้นที่ 5 ไม่ทอดทิ้งนิ่งดูดาย (Responding to patient and family)
ขั้น 6 นัดหมายไว้ภายหน้า (Planning and follow-up)
รูปแสดงปฏิกิริยาของผู้ป่วยและครอบครัวจากทฤษฎีของ Kubler-Ross
1.Denial (Shock) คือการตกใจและปฎิเสธความจริงว่ามันไม่ได้เป็นในสิ่งนั้น
2.Anger คือ การยอมรับความจริงได้แล้วเเต่มีความโกรธ
3.Bargain เป็นความรู้สึกอยากต่อรองกับความตายที่กำลังจะมาถึง
4.Depression มีอาการซึมเศร้าหมดแรง มองโลกในแง่ลบ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับและอยากตาย
5.Acceptance เป็นระยะที่ยอมรับความจริงพร้อมใจที่จะเผชิญกับทุกสิ่งที่จะเกิดขึ้น
การรับมือปฏิกิริยาของผู้ป่วย
1.ภาวะปฏิเสธ : ควรให้ข้อมูลโรค การดำเนินโรคและแนวทางการรักษาโดยแสดงตนว่ารับรู้และเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วย บอกผู้ป่วยว่าจะดูแลเขาอย่างดีที่สุด
2.ภาวะโกรธ : เข้าใจและเห็นใจ ไม่ถือสาอารมณ์โกรธของผู้ป่วย
3.ภาวะต่อรอง : ให้ความมั่นใจว่าเขาจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดและให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการวางแผนการรักษา
4.ซึมเศร้า : ประเมินความรุนแรงเพื่อให้การรักษาที่เหมาะสม
5.ยอมรับ : นำความเชื่อ หลักคิด คำสอนที่ผู้ป่วยศรัทธามาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและเสริมพลังการรักษา
อาการ
อาการที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลีย เจ็บปวด หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีอาการเพ้อ
การประเมินด้านร่างกาย
อ่อนแรงหรือเหนื่อยล้า (weakness/fatigue)
หยุดหายใจหรือหายใจลำบาก (Breathlessness/dyspnea)
เบื่ออาหาร (Anorexia)
ผอมแห้ง (Cachexia)
ปากแห้ง (Dry mouth)
อาการปวด (Pain)
ถ่ายเหลวหรือท้องผูก (Diarrhea/constipation)
คลื่นไส้อาเจียน (Nausea and vomiting)
ปัญหาของผิวหนัง เช่น เป็นแผล (Ulcers) ผื่นคัน (Pruritus)
การประเมินด้านร่างกายของผู้ป่วยวาระสุดท้าย
เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย
เพื่อช่วยลดความเหนื่อยล้าของครอบครัว
เพื่อเพิ่มความพึงพอใจและค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและผู้ดูแล
เพื่อช่วยเหลือกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยและผู้ดูแล
Psychological symptoms (อาการทางจิตวิทยา)
Emotional distress เป็นผลจากความกลัวและความกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของการดำเนินโรค การเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ของตน การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ลดลง ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นต้น
โดยสามารถใช้แบบประเมินความเครียดด้วยตนเอง ST5
ซึ่งมีเกณฑ์การประเมิน ดังนี้
0-4 หมายถึง เครียดน้อยหรือไม่เครียด
5-7 หมายถึง เครียดปานกลาง
8-9 หมายถึง เครียดมาก
10-15 หมายถึง เครียดมากที่สุด
spirituality in palliative care
การรับรู้ (Cognitive aspects) : การรับรู้ความหมายของชีวิต ความเชื่อ และคุณค่าของการมีชีวิตอยู๋
ประสบการณ์และอารมณ์ (Experiential & emotional) อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความหวัง ความสงบ ความสามารถในการให้และรับความรัก
พฤติกรรมที่เเสดงออก (Behavioral aspects) การแสดงออกภายนอกที่มองเห็นได้สอดคล้องกับความเชื่อและสภาวะภายในของตัวเอง
Spiritual suffering crisis ภาวะวิกฤติทางจิตวิญญาณ : เกิดขึ้นเมื่อบุคคลนั้นไม่สามารถหาหลักที่พึ่งพิงได้ในการให้ความหมายของชีวิต หรือเมื่อมีการขัดเเย้งระหว่างความเชื่อกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในชีวิต
Spiritual assessment การประเมินด้านจิตวิญญาณ
Informal assessment
ประเมินได้ทุกเวลาเมื่อโอกาสอำนวย โดยการฟังเป็นเครื่องมือสำคัญ
คนไข้มักแสดงออกโดยการเล่าเรื่องซึ่งแฝงไปด้วยข้อมูลด้านจิตวิญญาณ เช่น ความหวัง-ความสิ้นหวัง ความกลัว เป็นต้น
ทำให้เข้าใจได้ว่าความเข้มเเข็งทางจิตวิญญาณของผู็ป่วยเป็นอย่างไร
Formal assessment
การประเมินโดยใช้ข้อคำถามร่วมไปกับการประเมินด้านอื่นในระบบ routine เพื่อให้ได้ข้อมูลด้านความเชื่อและการปฏิบัติ
ด้านศาสนา : กลุ่มวัด/โบสถ์ที่ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรม
หลักคิดและการให้คุณค่า : สิ่งสำคัญในชีวิต สิ่งที่เป็นความหวัง ความรักและความสัมพันธ์ ศรัทธาและสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ
การปฎิบัติในชีวิตประจำวันของผู้ป่วยที่ทำให้ความสงบภายใน
การดูแลด้านจิตวิญญาณ
มองให้เห็นและตอบสนอง
มีความกรุณา
อยู่กับปัจจุบันขณะ
ฟังอย่างตั้งใจ
สนับสนุนความหวังที่ไม่เกินจริง
ไม่จำเป็นต้องพูดคุยเรื่องพระเจ้าหรือศาสนา
ปัจจัยความสำเร็จของการดูแลด้านจิตวิญญาณ
ความเข้าใจจิตวิญญาณของตนเองของผู้ประเมิน : เข้าใจอย่างลึกซึ้งในด้านจิตวิญญาณของตนเองและต้องไม่ตัดสิน อยู่บนฐานของการมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
สัมพันธภาพระหว่างผู้ให้การรักษากับผู้ป่วย : ความไว้วางใจทำให้เปิดใจพูดคุย
เวลาและวิธีการที่เหมาะสม : วางตัวเป็นธรรมชาติ เรียงลำดับประเด็นสนทนา
สรีรวิทยาในระยะเผชิญความตาย
ความอ่อนเพลีย (Weakness/fatigue) : ไม่จำเป็นต้องรักษาเพราะจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี การช่วยขยับและบริหารข้อ หมั่นพลิกตัวบีบนวดเบาๆก็เพียงพอ
ความเบื่ออาหาร : ความเบื่ออาหารเป็นผลดีมากกว่าผลเสียทำให้มีสารคีโตนในร่างกายเพิ่มขึ้น
การดื่มน้ำน้อยลง : ภาวะขาดน้ำกระตุ้นให้มีการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน ทำให้รู็สึกสบาย
การเปลี่ยนแปลงของระบบไหลเวียนเลือด : ช็อค ชีพจรเต้นเร็ว เป็นต้น
การหายใจลำบาก หายใจมีเสียงดัง : ทำให้ญาติตื่นตระหนก กลัวผู้ป่วยทรมารความจริงผู้ใกล้ตายไม่ได้รู้สึกเช่นนั้น
การเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท
Usual road : รู้สึกง่วงและนอนหลับตลอดเวลา รู้สึกตัวน้อยลงจนหมดสติและตายในที่สุด
Difficult road : กระวนกระวาย อาจเพ้อ กระตุก ชักและในที่สุดไม่รู้สึกตัวเสียชีวิต
ตายดี 3 มิติ
ตายดีเชิงจิตใจ : เกิดปัญญาขณะตาย หลุดพ้นจากการยึดติดถือมั่น หลุดพ้นจากวัฏสงสารและตายดีแบบพุทธ
ตายดีเชิงสัมพันธภาพ : ตายท่ามกลางคนรัก ตายโดยไม่ห่วงอาลัย ตายแล้วไม่เป็นภาระ ตายอย่างมีคุณค่าต่อสังคม
ตายดีเชิงกายภาพ : ตายด้วยอาการสงบ ไม่ทุรนทุราย ตายแบบศพสวย
บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย
ลดหรือหยุดยาและวิธีการตรวจ การรักษาที่ไม่จำเป็น
รักษาอาการปวดและอาการรบกวนที่ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน
สื่อสารบอกผู้ป่วยและครอบครัวด้วยวิธีที่เหมาะสม
ประเมินและตอบสนองความต้องการด้านจิตวิญญาณ
วางแผนการดูแลขณะเผชิญความตายของผู้ป่วยร่วมกับครอบครัว
การตายดีที่พึงประสงค์
1) รู้ตัวและมีสติรับรู้สิ่งที่จะเกิดขึ้น
2) ไม่เจ็บปวด ไม่ทุกข์ทรมาน
3) ได้รับการดูแลด้านจิตใจ จิตวิญญาณ
4) มีความเป็นส่วนตัวเลือกได้ว่าจะตายที่ใด
5) มีคนรักอยู๋ใกล้ มีเวลากล่าวคำอำลา
6) พร้อมไปเมื่อเวลามาถึง ไม่ยื้อชีวิต
กฎหมายพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ปีพ.ศ.2550
พินัยกรรมชีวิต
บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน
Head,Hands and Heart of Palliative Care
Head : ความรู้ ทักษะและความสามารถทางวิชาชีพ
Heart : ความเห็นอกเห็นใจ และมิติความเป็นมนุษย์
Hand : การปฏิบัติและระบบงาน