Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ในผู้สูงอายุ 1, ผิดปกติ 1 ใน 3 ถือว่าเป็นโรคหลอดเลือ…
ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย
ในผู้สูงอายุ 1
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
ระบาดวิทยา
พบบ่อย โดยเฉพาะผู้สูงอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
เป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 ในประเทศที่พัฒนา
ประเทศแถบเอเชียเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับ 2 รองจากโรคหัวใจ
ประเทศไทย มีผู้ป่วยโรคนี้ 496,800 คน และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต
ชนิด
เกิดจากสมองขาดเลือด (Ischemic stroke)
เกิดจากการมีเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic stroke)
อาการ
หน้าเบี้ยว
แขนขาอ่อนแรง
พูดไม่ชัด
ปวดศีรษะ อาเจียน ชัก สับสน
ความรู้สึกตัวลดลง
กลืนลำบาก
กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้
ปัจจัยเสี่ยง
ปรับเปลี่ยนไม่ได้
อายุ
อายุ 45 ปีขึ้นไป อุบัติการณ์เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทุก ๆ 10 ปีที่อายุเพิ่มขึ้น
เพศ
เพศชายเสี่ยงเป็น 1.5 เท่า
พันธุกรรม
ปัจจัยด้านบิดาเพิ่มความเสี่ยง 2.4 เท่า
ปัจจัยด้านมารดาเพิ่มความเสี่ยง 1.4 เท่า
ชาติพันธ์
คนผิวดำ: อุบัติการณ์ 1,283/100,000 คน
คนเชื้อสาย Hispanic: อุบัติการณ์ 667/100,000 คน
คนผิวขาว: อุบัติการณ์ 712/100,000 คน
ปรับเปลี่ยนได้
Atrial fibrillation
โรคหลอดเลือดหัวใจ
ความดันโลหิตสูง
ความผิดปกติของหลอดเลือดแดง Carotid
เบาหวาน
การสูบบุหรี่
ไขมันในเลือดสูง
เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง
การประเมินสภาพ
การตรวจร่างกาย
การอ่อนแรงกล้ามเนื้อใบหน้า
การอ่อนแรงกล้ามเนื้อแขนขา
ระดับความรู้สึกตัว (Glasgow coma scale)
การแปลผล
คะแนน 14-15 เสียการทำงานเล็กน้อย
คะแนน ≤ 10 เสียการทำงานรุนแรง เป็นผู้ป่วยวิกฤติ
คะแนน 11-13 เสียการทำงานปานกลาง
Cincinnati pre-hospital stroke scale
หน้าเบี้ยว
แขนขาอ่อนแรง
พูดไม่ชัด
อาการแสดงที่ต้องรายงานแพทย์ทันที
BP; SBP > 185-220 mmHg, DBP>120-140 mmHg
O2 sat < 95 หรือมีภาวะcyanosis
GCS < 10 หรือ ลดลง
DTX<50mg% หรือ >400mg%
เจ็บหน้าอก ชัก เกร็ง กระตุก เหนื่อยหอบ
ซักประวัติ
การตรวจวินิจฉัย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CBC, PT, PTT, INR, Glusose, E+, EKG, BUN, Cr+, ABG, Lipid profife; LDL, HDL, Cholesterol
การตรวจทางรังสี
CT (computer tomography) เพื่อตรวจสอบภาวะเลือดออกในสมอง
MRI (Magnetic resonance imaging) เพื่อตรวจสอบหาภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลัน
การรักษา
การรักษาแบบไม่ใช่ทางด่วน
การรักษาแบบทางด่วน (fast track)
Reperfusion therapy คือ ให้ยาละลายลิ่มเลือด (RTPA, recombinant tissue plasminogen activator) ขนาด 0.9 มก./กก. ไม่เกิน 90 มก. ทางหลอดเลือดดำ
เกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ป่วย
ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันภายใน 3 ชั่วโมง
ผล CT ไม่พบว่ามีเลือดออกในสมอง
ผู้ป่วยและญาติเข้าใจประโยชน์และอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการให้ยา และยินยอมให้การรักษา
ข้อห้าม
ไม่ทราบระยะเวลาที่แน่นอนของการเกิดอาการ
มีเลือดออกในสมอง
มีอาการชัก
มีประวัติเลือดออกในสมอง
มีความดันโลหิตสูง (SBP ≥180 mmHg, DBP ≥ 110mmHg)
มีประวัติบาดเจ็บที่ศีรษะภายใน 3 เดือน
ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดภายใน 48 ชั่วโมง
มีค่าความแข็งตัวของเลือดผิดปกติ หรือมีความผิดปกติของเกล็ดเลือด (น้อยกว่า 100,000 mm3)
Hct < 25%
มีประวัติผ่าตัดใหญ่ใน 14 วัน
มีเลือดออกในทางเดินอาหารหรือปัสสาวะภายใน 21 วัน
มีเนื้อสมองตายมากกว่า 1 กลีบ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เนื้อเยื่อสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากหลอดเลือดในสมองตีบหรืออุดตัน/แตก
ระดับความรู้สึกตัวลดลงเนื่องจากเนื้อเยื่อสมองได้รับออกซิเจนไปเลี้ยงไม่เพียงพอ
ระดับความรู้สึกตัวลดลงเนื่องจากมีภาวะสมองบวมหรือความดันกะโหลกศีรษะสูง
พร่องความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเนื่องจากความรู้สึกตัวลดลงหรือแขนขาเคลื่อนไหวได้น้อยหรือไม่ได้เลย
การสื่อสารด้วยการพูดบกพร่องเนื่องจากเซลล์สมองด้านการพูดได้รับบาดเจ็บ
การพยาบาล
ขณะให้ยาละลายลิ่มเลือด
อธิบายญาติเข้าใจข้อดี ข้อเสียของการได้รับยาละลายลิ่มเลือด ให้ลงนามในใบยินยอมการรักษา
เปิดหลอดเลือดดำ 2 เส้น เส้นหนึ่งให้ 0.9 % NSS ที่เหลือ lock ไว้ให้ยา
การเตรียมยา คำนวนยาตามน้ำหนักตัว คือ 0.6-0.9 mg/kg ไม่เกิน 90 mg ผสมยาใน sterile water (ไม่ละลายในสารละลายที่มีน้ำตาล)
ยาที่ผสมเหลือให้เก็บไว้ในตู้เย็น อุณหภูมิ 2-8 C ถ้าไม่ใช้ใน 24 hr ต้องทิ้ง
ขณะให้ยาละลายลิ่มเลือดไม่ให้ยาชนิดอื่นเข้าทางสายให้สารน้ำเดียวกัน
ผู้ป่วยควรได้รับการเฝ้าะวังและป้องกัน
เข้ารับการรักษาใน stroke unit or ICU
งดกิจกรรมเหล่านี้หลังได้รับยา 24 hr
ให้ยา heparin/warfarin/antiplatelet
ใส่ NG tube
แทงสายเข้าหลอดเลือดดำส่วนกลาง
เจาะ arterial blood gas หรือ เจาะหลอดเลือดแดง
หลีกเลี่ยงการใส่สายสวนปัสสาวะใน 30 นาที
ให้ยาลดกรดเพื่อป้องกันเลือดออกในระบบทางเดินอาหารตามแผนการรักษา
เฝ้าระวังและสังเกตอาการมีเลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ
กรณีที่สงสัยว่าจะมีเลือดออกในสมอง ให้หยุดการให้ยาละลายลิ่มเลือด เจาะ lab เตรียมให้ FFP ตามแผนการรักษา
ให้พักบนเตียง
งดน้ำและอาหารทางปาก ยกเว้นยา
วัดสัญญาณชีพ ทุก 15 นาที 2 ชั่วโมง ทุก 30 นาที 6 ชั่วโมง
ให้ออกซิเจน
Monitor EKG
ประเมิน GCS
ควบคุมระดับน้ำตาล ไม่ควรเกิน 150 mg% เพราะทำให้สมองมีเนื้อตายเพิ่มขึ้น
หลีกเลี่ยงการให้สารน้ำที่มีน้ำตาลกลูโคส
ระยะฉุกเฉินและวิกฤติ
เฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดและการหายใจที่ผิดปกติ (O2 saturation ≥ 95%)
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ถ้าใส่เครื่องช่วยหายใจต้องดูแลการทำงานของเครื่องช่วยหายใจ ไม่ควรใช้ PEEP เพราะจะทำให้เพิ่ม ICP ได้
ดูดเสมหะเมื่อจำเป็นและต้อง Hyperventilate ทุกครั้ง
ไม่ใช้เวลาในการดูดเสมหะนานเกิน 10-15 นาที
ประเมินความรู้สึกตัวและภาวะเลือดออกในสมอง เช่น ปวดศีรษะ ความรู้สึกตัวลดลง ความดันโลหิตสูงขึ้น และมีคลื่นไส้อาเจียน
ดูแลให้ยาตามแผนการรักษา เช่น ยาละลายลิ่มเลือด ยากันชัก ยาลดความดันโลหิต
ประเมินความดันโลหิตอย่างต่อเนื่อง
กรณีที่มีความดันโลหิตสูง การพิจารณาให้ยาลดความดันโลหิตต้องพิจารณา คือ หลีกเลี่ยงการให้ยาลดความดันโลหิตเมื่อความดันโลหิต SBP ≤ 220 mmHg หรือ DBP≤120 mmHg
ดูแลงดน้ำและอาหารทางปาก กรณีผู้ป่วยซึม และสงสัยว่ามี Massive infarction หรือมีแนวโน้มที่จะได้รับการผ่าตัด
ประเมินระดับน้ำตาลในเลือด โดยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 150 mg/dlในผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
ให้ยาลดไข้กรณีที่มีไข้ พร้อมทั้งสาเหตุและการรักษาตามสาเหตุ
ให้ยาป้องกันชักและระวังชักในกรณีที่มีอาการชัก
จัดท่านอนศีรษะสูง 30 องศา
หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ความดันในช่องอก ช่องท้องเพิ่มขึ้น
ให้การดูแลญาติและครอบครัว โดยการรับฟังปัญหา ให้การช่วยเหลืออย่างเป็นมิตร
ลดการกระตุ้นที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเกร็ง
ระยะพักฟื้นและฟื้นฟูสภาพ
ป้องกันภาวะความดันกระโหลกศีรษะสูง (IICP)
จัดท่านอนให้ศีรษะสูง 30 องศา ศีรษะลำคอตั้งตรง สะโพกไม่หักพับงอมากกว่า 90
ห้ามจัดท่านอนคว่ำหรือนอนศีรษะต่ำ
วัดสัญญาณชีพและอาการทางระบบประสาท
ประเมินอาการแสดงความดันในกระโหลกศีรษะสูง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ชีพจรช้า ความดันโลหิตสูงจากเดิม pulse pressure กว้าง รูปแบบการหายใจผิดปกติ
ดูแลป้องกันไม่ไห้เกิดแรงดันในช่องอกและช่องท้องสูงขึ้น เพราะทำให้หลอดเลือดดำไหลกลับเข้าสู่หัวใจลดลง
ป้องกันและเฝ้าระวังการกลับเป็นซ้ำ
ผู้ป่วยและญาติเข้าใจความสำคัญของการรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง ห้ามหยุดยาหรือเพิ่มขนาดยาเอง
อธิบายและให้คำแนะนำเกี่ยวกับกิจกรรมที่ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำ
อธิบายอาการแสดงที่ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์ เช่น แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
มาตรวจตามแพทย์นัด
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติซักถาม
ข้อเสื่อม (Osteoarthritis: OA)
ลักษณะสำคัญ
มีการเสื่อมทำลายของกล้ามเนื้อและกระดูกบริเวณข้อ โดยไม่มีการอักเสบของข้อ
เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับข้อที่เคลื่อนไหวได้ ทำให้มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว
กระดูกอ่อนผิวข้อเสื่อมเป็นรอยถลอกกรอนไป ร่วมกับมีการสร้างกระดูกใหม่บริเวณขอบข้อ
พบมากในวัยสูงอายุ
ปัจจัยชักนำ (Predisposing factors)
อายุ
การใช้งานข้อมากเกินไป เป็นเวลานาน
บาดเจ็บที่ข้อ
โรคอ้วน
ขาดวิตามินดีและซี
กรรมพันธุ์
อาการและอาการแสดง
มักเป็นหลายข้อ เป็นมากที่สุดคือข้อที่รับน้ำหนักมาก
ปวด ปวดตื้อ ๆ บริเวณข้อ ปวดมากเมื่อใช้งานหรือลงน้ำหนักบนข้อนั้น ทุเลาเมื่อพักใช้งาน
ข้อฝืด พบบ่อย ในช่วงเช้าและหลังพักใช้ข้อนั้นนาน ๆ
ข้อบวมผิดรูป ตรวจพบข้อที่อยู่ตื้น เช่น ข้อเข่า ข้อนิ้ว
อาจพบเข่าโก่ง เข่าฉิ่ง
สูญเสียการเคลื่อนไหวและการทำงาน
เสียงดังกรอบแกรบขณะเคลื่อนไหวข้อ
องศาการเคลื่อนที่ของข้อลดลง
การวินิจฉัย
ซักประวัติและตรวจร่างกาย
ข้อเข่าพบลักษณะที่สำคัญคือ ข้อบวม หรือขนาดข้อใหญ่
การถ่ายภาพรังสี
พบช่องว่างระหว่างกระดูกเข่าแคบลงซึ่งหมายถึงกระดูกอ่อนมีการสึกหรอ
การเจาะเลือด
การตรวจน้ำหล่อเลี้ยงเข่า
การรักษา
รักษาไม่หาย
เป้าหมายสำคัญ
เพื่อบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบ
แก้ไขหรือคงสภาพการทำงานของข้อให้ปกติ
ป้องกันและชะลอภาวะแทรกซ้อน
ให้มีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงคนปกติ
การรักษาโดยไม่ใช้ยา
ลดน้ำหนัก
ปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดข้อเข่าเสื่อม
หลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดบ่อยๆ ควรจะนั่งบนเก้าอี้ไม่ควรนั่งบนพื้น
การนวดประคบ
การบริหารข้อด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
การออกกำลังกายแบบแอโรบิกชนิดแรงกระแทกต่ำ
การออกกำลังกายและการบริหารกล้ามเนื้อ
ประคบอุ่นเวลาปวดเข่า
การทำกายภาพบำบัด
การรักษาโดยการใช้ยา
ยาแก้ปวด
ยาแก้อักเสบ steroid
ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ steroid (NSAID)
ยาบำรุงกระดูกอ่อน
การใช้น้ำหล่อเลี้ยงข้อชนิดเทียม
การรักษาโดยใช้เวชศาสตร์ฟื้นฟู
การรักษาโดยการผ่าตัด
การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (arthroscope) เหมาะสำหรับข้อที่เสื่อมไม่มาก แพทย์จะเข้าไปเอาสิ่งสกปรกที่เกิดจากการสึกออกมา
การผ่าตัดแก้ความโก่งงอของเข่า ตัดกระดูกบางส่วนออกทำให้ใช้เวลานานกว่าจะใช้งานได้ ปัจจุบันนิยมลดลง
การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม (arthroplasty) คือการใส่ข้อเข่าเทียมเข้าแทนข้อที่เสื่อม ซึ่งผลการผ่าตัดทำให้หายปวด ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ดีขึ้น
การพยาบาล
ประเมินความปวด
ประเมินปัจจัยที่ทำให้อาการปวดเพิ่มขึ้นหรือทำให้อาการปวดลดลง เพื่อวางแผนป้องกันและควบคุมอาการปวด
ประเมินผลกระทบของความปวดต่อการทำกิจวัตรประจำวัน
แนะนำให้พักใช้ข้อในระยะที่มีการอักเสบเฉียบพลัน ลดการนั่ง ยืน เดินนาน ๆแต่ยังให้มีการเคลื่อนไหว
ประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อ
สังเกตลักษณะการอักเสบของข้อ เช่น ปวด บวม แดง ร้อน
ประคบความร้อนเพื่อลดอาการปวด
ออกกำลังกายเพื่อคงไว้ซึ่งพิสัยของข้อ (range of motion exercise: ROM) และเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของข้อ
นั่งเก้าอี้ที่มีเท้าแขน เพื่อช่วยในการลุกยืนได้สะดวก
ไม่ควรใช้พรมปูพื้น เพื่อป้องกันการสะดุดหกล้ม
ดูแลให้ยาตามแผนการรักษา
ดูแลด้านจิตใจ ให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึกที่ไม่สบายใจ
กระดูกพรุน (Osteoporosis)
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
เพศและอายุ : หญิงมากกว่าชาย เพราะมีปริมาณเนื้อกระดูกน้อยกว่า30% สตรีวัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
รูปร่างเล็กผอม เพราะมีปริมาณเนื้อกระดูกน้อยกว่า (BMI< 19)
เชื้อชาติ พันธุกรรม ชาวเอเชียผิวขาว มีโอกาสมากกว่าคนผิวดำ
คนที่มีประวัติคนในครอบครัวเกิดภาวะกระดูกพรุนมีโอกาสมากขึ้น
โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคไต ตับแข็ง ข้ออักเสบรูมาตอยด์ hyperthyroidism, hyperparathyroidism, cushing’s syndrome
การใช้ยาที่มีผลการสลายเนื้อกระดูก
รูปแบบการดำเนินชีวิตที่เป็นปัจจัยเสี่ยง
การไม่ได้เคลื่อนไหวหรือขาดการออกกำลังกาย
รับประทานอาหารเค็มจัด ลดการดูดซึมแคลเซียมที่ไต
รับประทานอาหารโปรตีนสูง
รับประทาน แคลเซียม ในปริมาณไม่เพียงพอเ
ขาดวิตามินดี
อาการและอาการแสดง
ปวดหลัง
น้ำหนักลด
กล้ามเนื้อเกร็งโดยเฉพาะบั้นเอว
การก้มทำได้น้อยกว่าการแหงนเหยียด
การวินิจฉัย
Dual Energy X-ray Absorptionmetry (DEXA)
วินิจฉัยกระดูกพรุนเมื่อ BMD น้อยกว่า -2.5 SD
ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CBC, แคลเซียม, ฟอตเฟต, อัลบูมิน
การทำงานของตับ ไต
ฮอร์โมนไทรอยด์ม พาราไธรอยด์ วิตามินดี (25- hydroxyvitamin D)
ฮอร์โมนเพศ เช่น estradiol, testosterone, folliclestimulating hormone (FSH) luteinizing hormone (LH)
การรักษา
การรักษาโดยไม่ใช้ยา
การได้รับปริมาณแคลเซียมเพียงพอ
วิตามินดี
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
งดสูบบุหรี่
งดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัดและโปรตีนสูง
ไม่ดื่มสุรา
มีการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้น หรือออกกำลังกาย
ควบคุมโรคเรื้อรังที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
ระมัดระวังการใช้ยาที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
การออกกำลังกาย
การรักษาโดยใช้ยา
biphosphonate เพิ่มความหนาแน่นกระดูก
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารหมักดอง และมีความเครียดสูง เพราะทำให้การดูดซึมแคลเซียมในอาหารลดลง
ออกกำลังกายหรือมีกิจกรรม ที่มีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ ให้มีการลงน้ำหนักของกระดูก อย่านั่ง ๆ นอน ๆ จะทำให้มีการสลายของกระดูกมากขึ้น
ตรวจความหนาแน่นของกระดูก ถ้ามีกระดูกพรุนควรได้รับการรักษาเพื่อคงไว้ซึ่งเนื้อกระดูกด้วยวิธีที่เหมาะสม
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ปวดเนื่องจากมีแรงกดที่กระดูกและมีเนื้อกระดูกลดลง
ระมัดระวังในการจัดท่า การเคลื่อนไหว และออกกำลังกาย
ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุหกล้ม ยกไม้กั้นเตียงขึ้น
กระตุ้นให้มีกิจกรรม มีการเคลื่อนไหว ให้เวลาในการทำกิจกรรมและถูกแสงแดด
ดูแลให้รับประทานอาหารที่แคลเซียมสูง ควรได้รับวันละ 1500มก. (นม 1 กล่อง 250 ซีซี มีแคลเซียม 300 มก.)
ประเมินและติดตามอาการปวด
ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา และใช้วิธีอื่น ๆ ในการลดอาการปวด
ให้การดูแลด้านอารมณ์ จิตใจ ให้ระบายความรู้สึก มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยอื่นที่มีปัญหาเหมือนกัน
โรคเบาหวาน
ประเภท
ชนิดที่1
พบในเด็กหรือผู้ที่อายุน้อย ส่วนใหญ่น้อยกว่า 30 ปี
มักจะผอม
เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินสุลินได้ ต้องรักษาโดยการฉีดอินสุลิน
ถ้าขาดจะเกิดภาวะหมดสติจากน้ำตาลในเลือดสูงและกรดคั่งในเลือด (Ketoacidosis)
ชนิดที่ 2
พบมากร้อยละ 95-97 ส่วนใหญ่มักจะอ้วน
ตับอ่อนยังพอผลิตอินสุลินได้ แต่มีภาวะดื้อต่ออินสุลิน
ระยะแรกรักษาโดยการควบคุมอาหารหรือยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในเลือด
เป็นนาน ๆ อาจต้องฉีด เพราะเบต้าเซลล์เสื่อมหน้าที่
ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ
อาการและอาการแสดง
ระยะแรกไม่ค่อยมีอาการ
อาการทั่วไป: กินจุ ปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำมาก น้ำหนักลด
ติดเชื้อบ่อย แผลหายยาก
ระบบประสาททำงานบกพร่อง เช่น ชา เจ็บ ปวดแสบปวดร้อน
โรคของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ (Macroangiopathy) ทำให้เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคหลอดเลือดส่วนปลาย
โรคหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก (Microangiopathy)
เป็นที่ไตทำให้โปรตีนรั่วออกมากับปัสสาวะ
เป็นที่ตาทำให้เกิด macular disease
มีรอยโรคที่ผิวหนัง เช่น Diabetic dermopathy
มีภาวะแทรกซ้อนของระบบต่อมไร้ท่อ ได้แก่ Hyperlipidemia โรคอ้วน
Insulin Resistance Syndrome (Syndrome X)
Obesity
HDL < 45mg/dl (female), <35 mg/dl (men)
Triglyceride level > 150 mg/dl
Hypertension
Hyperuricemia
ปัจจัยชักนำ
ปริมาณอินสุลินลดลงเนื่องจากภาวะสูงอายุ
เกิดการดื้ออินสุลินเนื่องจากสูงอายุ
โรคอ้วน
กิจกรรมด้านร่างกายลดลง
ยาที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เช่น corticoteriod ,estrogen, furosemide and thiazide diuretic,
การเจ็บป่วยหรือความเครียด
กรรมพันธุ์
เกณฑ์วินิจฉัย
มีอาการของโรคเบาหวานร่วมกับมีระดับน้ำตาลกลูโคสในพลาสมาจากหลอดเลือดดำ(casual plasma glucose [CPG])
ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดน้ำงดอาหาร(fasting plasma glucose [FPG])
มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดที่เวลา 2 ชั่วโมงหลังทำการทดสอบความทนกลูโคส (oral glucose tolerance test [OGTT])
มีค่ามากกว่า 200 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
ภาวะแทรกซ้อน
แบบเฉียบพลัน
ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
เริ่มแรก
หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น เหงื่อออก ตัวเย็น หน้าซีด
ระยะหลัง
ปวดศีรษะ มึนงง สับสน ชัก หมดสติ
Nonketotic hyperglycemic-hyperosmolar coma (NKHHC) or hyperosmolar hyperglycemic state
ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ซึม และสัมพันธ์กับการที่เลือดมีความเข้มข้นสูง (hyperosmolarity)
หลอดเลือดขนาดใหญ่
peripheral vascular disease
Hypertension, Stroke
Myocardial infarction
neuropathy, amputation
หลอดเลือดขนาดเล็ก
Retinopathy ทำให้ตามองไม่เห็น
ไตวายระยะสุดท้าย (end-stage renal failure)
การถูกตัดขา
อาการเตือน
เท้าเย็น และมีอาการปวดเป็นพัก ๆ (Intermittent claudication)
ค่อยๆเปลี่ยนแปลงรูปร่างของนิ้ว
สีและความหยาบของผิวหนังเปลี่ยน
การควบคุมเบาหวาน
การควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด
ควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดใหญ่
เกณฑ์บ่งชี้การควบคุมเบาหวานดี
ระดับน้ำตาลก่อนมื้ออาหารเท่ากับ 90-130 มก.ต่อดล.
ระดับน้ำตาลหลังมื้ออาหาร 2 ชั่วโมง น้อยกว่า 180 มก.ต่อดล.
ระดับน้ำตาลเฉลี่ยฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) น้อยกว่า 7%
HDL-C มากกว่า 40 มก.ต่อดล.
LDL-C น้อยกว่า 100 มก.ต่อดล.
ไตรกลีเซอร์ไรด์ขณะอดอาหารน้อยกว่า 150 มก.ต่อดล.
ความดันโลหิตน้อยกว่า 130/80มม.ปรอท
ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน
กระตุ้นการหลั่งอินสุลินจากตับอ่อน: sulfonylurea
แก้ไขภาวะดื้อต่ออินสุลินที่ตับ เซลล์กล้ามเนื้อทำให้อินสุลิน ออกฤทธ์ดีขึ้น: metformin
ชะลอการย่อยและการดูดซึมน้ำตาลของลำไส้ ลดระดับน้ำตาลหลังอาหาร ต้องรับประทานยาพร้อมอาหาร: acarbose
แก้ไขภาวะดื้อต่ออินสุลินที่เซลล์กล้ามเนื้อ ตับและไขมัน: rosiglitozone
การพยาบาล
ส่งเสริมให้มีความรู้และสามารถปฏิบัติเพื่อควบคุมโรคเบาหวานได้ โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ
การแนะนำเรื่องอาหาร
โภชนบำบัด 9 ประการ
กินอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่หลากหลาย และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งบางมื้อ
กินพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ
กินปลาเนื้อสัตว์ไม่ติดไขมัน ไข่และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ
ดื่มนมเหมาะสมตามวัย (low fat)
กินอาหารไขมัน ประเภท ไขมันไม่อิ่มตัว คือ ไขมันจากพืช
หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัด เค็มจัด
กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
แนะนำผู้เป็นเบาหวานเกี่ยวกับการใช้อินสุลิน
ฤทธิ์ของอินสุลินในการควบคุมระดับน้ำตาล
การรับประทานอาหารให้สอดคล้องกับการฉีดอินสุลิน
ชนิดออกฤทธิ์เร็วต้องรับประทานอาหารทันที ออกฤทธิ์สั้นรับประทานอาหารหลังฉีด 30 นาที
การเก็บอินสุลิน เก็บในตู้เย็นไม่ใช่ช่องแช่แข็ง สามารถเก็บในอุณหภูมิห้องนาน 1 เดือน ไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรง
สังเกตอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการเหงื่อออก ใจสั่น หิว หน้ามืด ตาลาย อ่อนเพลีย จะเป็นลม ชาปลายมือปลายเท้า
การฉีดอินสุลินวันละครั้งไม่เพียงพอ เพราะระดับอินสุลินไม่ขึ้นลงตามธรรมชาติ
การฉีดหน้าท้องเป็นบริเวณที่ดูดซึมที่สุดและการดูดซึมไม่เปลี่ยนแปลงตามการออกกำลังกาย
การฉีดที่ขาทำให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำได้ง่าย
ห้ามนวดหรือคลึงบริเวณฉีด เพราะยาดูดซึมเร็ว
การแนะนำเรื่องการออกกำลังกาย
รับอาหารให้เหมาะสมกับการออกกำลังกาย
ถ้าออกกำลังกายนานเกิน 30 นาที ควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าอยู่ระหว่าง 80-180 มก.ต่อดล. ควรรับประทานอาหารเพิ่มก่อนออกกำลัง
ถ้าอยู่ระหว่าง 180-240 มก.ต่อดล. ไม่จำเป็นต้องเพิ่มอาหารก่อนออกกำลัง
สังเกตอาการน้ำตาลในเลือดต่ำระหว่างออกกำลังกาย ให้หยุดพัก ดื่มน้ำหวาน หรืออมน้ำตาลก้อน
หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงที่อินสุลินออกฤทธิ์สูงสุด
ภาวะแทรกซ้อน
Hypoglycemia มักเกิดในผู้ที่ฉีดอินสุลินมากกว่า แต่พบได้ในคนที่เป็นโรคเบาหวานมานานและสูงอายุ
มีเลือดออกในจอตา
การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ
ภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ ควรมีการตรวจสมรรถภาพก่อนออกกำลังกาย
การดูแลสุขภาพเท้า
ล้างเท้าให้สะอาดทุกวันหลังอาบน้ำ
ซับเท้าให้แห้งด้วยผ้าสะอาด
สำรวจเท้าตนเองทุกวัน
สวมรองเท้าหรือรองเท้าแตะตลอดเวลาทั้งในและนอกบ้าน
ถ้าผิวแห้งให้ทาครีมบาง ไม่เกา
ห้ามแช่เท้าด้วยน้ำร้อน ไม่เดินเท้าเปล่า ไม่ตัดตาปลา ไม่นั่งไขว่ห้าง
บริหารเท้า ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดี
ตรวจดูเท้าของตนเองทุกวัน เมื่อมีปัญหาที่เท้าต้องรีบรักษา
ภาวะท้องผูก
(Constipation)
ความหมายของการถ่ายอุจจาระปกติ
การถ่ายอุจจาระ 3 ครั้งต่อวัน ไปจนถึงอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์
โดยอุจจาระต้องไม่แข็งเกินไปหรือก่อให้เกิดการเจ็บปวด
ไม่รู้สึกว่ายังมีอุจจาระค้างอยู่ในลำไส้อีก
ความหมายภาวะท้องผูก
การถ่ายอุจจาระแข็งและแห้งผิดปกติความถี่คือหลายวันจึงจะขับถ่ายเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระนานหรือเบ่งมาก หรือรู้สึกถ่ายอุจจาระไม่ (สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 2548)
เป็นภาวะที่ทำงานหรือการเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง ทำให้ร่างกายไม่สามารถขับถ่าย
ภาวะที่บุคคลรับรู้ด้วยประสบการณ์ว่า การทำงานหรือการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่เปลี่ยนแปลง โดยมีการลดลงของจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ และ/หรือ การถ่ายอุจจาระลำบาก อุจจาระมีลักษณะแห้งแข็ง
(Nanda, 1992 cited in McConnell, & Murphy, 1997)
ชนิด
แบ่งตามสาเหตุ
Primary constipation
เกิดขึ้นเองโดยไม่มีโรคอื่นเป็นสาเหตุนำมาก่อนอาจเกิดจาก
การกินอาหารที่มีกากน้อย
การละเลยไม่ถ่ายอุจจาระทันทีที่ปวดถ่าย
การออกกำลังกายน้อย
การถูกจำกัดการเคลื่อนไหว
การไม่เคยชินสภาพแวดล้อมหรือไม่สะดวกในการขับถ่าย
การดื่มน้ำน้อย
มีกล้ามเนื้อหน้าท้องอ่อนแอ
Secondary constipation
มีก้อนเนื้องอกของลำไส้ ลำไส้กลืนกัน ไส้เลื่อน
การเคลื่อนไหวของลำไส้ผิดปกติ
มีความผิดปกติทางจิต เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า
มีความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์
มีพยาธิสภาพของไขสันหลัง
การได้รับยา
antacid, anticholinergics, tranquilizers
antidepressant, antihypertensive (calcium channel blocker)
narcotic analgesic, NSAIDs
แบ่งตามลักษณะการขับถ่ายอุจจาระ
ถ่ายลำบาก หรือเจ็บปวดในขณะถ่าย
เกิดจากลักษณะนิสัยการขับถ่ายไม่ดี หรือมีรีเฟล็กซ์น้อยเกินไป จากการกลั้นอุจจาระเป็นประจำ
ลักษณะของอุจจาระไม่แข็งมาก
มีการไหลอุจจาระในลำไส้อย่างช้า ๆ
ความสูงอายุกับการขับถ่ายอุจจาระ
ขับถ่ายช้า
ถ่ายอุจจาระออกไม่หมด
ละเลยต่อการปวดถ่ายอุจจาระ
ได้รับอาหารน้อยลง
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
เกิดความกลัวในเรื่องยากลำบากในการขับถ่าย
ได้รับยา
ประเมินอาการท้องผูก
ซักประวัติ
ลักษณะอุจจาระ ความปวด ยาที่ใช้
การสวนอุจจาระ แบบแผนการรับประทานอาหาร
แบบแผนการขับถ่าย ความถี่
กิจกรรม ความเครียด
ตรวจร่างกาย
การฟังเสียงลำไส้บีบตัว
สังเกตอาการท้องอืด ปวดท้อง
การคลำได้ก้อน
การพยาบาล
แนะนำรับประทานอาหารอย่างเพียงพอ และอาหารที่มีเส้นใยสูง
แนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วเป็นอย่างน้อย
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
ออกกำลังกายสม่ำเสมอช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวดีขึ้น
ออกกำลังกายอวัยวะที่ช่วยในการขับถ่าย คือ กล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
การฝึกการขับถ่าย โดยกำหนดเวลาที่แน่นอนในแต่ละวัน เพื่อนั่งถ่ายอุจจาระ
ไม่กลั้นอุจจาระ เมื่อปวดควรรีบเข้าห้องน้ำทันที
ระวังการใช้ยาลดกรดที่มีองค์ประกอบของแคลเซียมคาร์บอเนตและโซเดียม
กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ โดยการพลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง
การป้องกันและรักษาอาการท้องผูกสรุปเป็นอักษรย่อ FECES
F = Fluid & fiber intake
E = Exercise & environment
C = Creation of bowel program
E = Elimination of causative factors
S = Stimulation of gastrocolic reflex
ต่อมลูกหมากโต
สาเหตุ
ไม่ทราบชัดเจน
การโตของต่อมลูกหมากสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงตามวัย
ฮอร์โมน dihydrotestosterone หรือ DHT เกี่ยวข้องกับการเกิด BPH
วัยสูงอายุระดับเทสโตเสตอโรนในเลือดจะลดลงแต่ระดับ DHT จะคั่งอยู่ในต่อมลูกหมาก จะกระตุ้นให้สร้างเซลล์เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ (hyperplasia)
พยาธิสภาพ
ผนังด้านข้างหรือด้านในของต่อมลูกหมากจะเพิ่มจำนวนเซลล์มากผิดปกติ เกิดเป็นก้อน
เบียดเนื้อเยื่อเดิมให้บางออกจนเหมือนเปลือกหุ้มหรือเป็นแคบซูล เปรียบได้กับผลส้ม
ต่อมลูกหมากที่โตจะเปรียบเหมือนกลีบส้มส่วนของเดิมจะเปรียบเหมือนเปลือกส้ม
เบียดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะทำให้ท่อปัสสาวะแคบลง
ทางเดินปัสสาวะจะถูกอุดกั้น
ปัสสาวะลำบากปัสสาวะไหลไม่สะดวก กระเพาะปัสสาวะจะปรับตัวไวต่อการกระตุ้น
อาการ
ปัสสาวะต้องเบ่งเมื่อเริ่มปัสสาวะ หรือรอนานกว่าจะปัสสาวะออกมาได้
ปัสสาวะไม่พุ่งเป็นลำเล็ก ๆ
ปัสสาวะไม่สุดเหมือนคนที่ยังไม่ได้ปัสสาวะ
ปัสสาวะบ่อย ต้องตื่นกลางคืนเนื่องจากปวดปัสสาวะ
ภาวะแทรกซ้อน
กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไม่ดีเกิดการคั่งของปัสสาวะ
เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
ไตเสื่อม
กลั้นปัสสาวะไม่ได้
ปัสสาวะเล็ด
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
การวินิจฉัยโรค
การซักประวัติ
สอบถามอาการถ่ายปัสสาวะผิดปกติ
ระยะเวลาที่เริ่มอาการถ่ายปัสสาวะผิดปกติ
ลักษณะของขับถ่ายปัสสาวะ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
ตรวจปัสสาวะเพื่อหาว่ามีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
ตรวจเลือดเพื่อประเมินการทำงานของไต
ตรวจ Prostate-specific antigen (PSA) ค่าปกติประมาณ 0-4 นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร
Tumor-marker ในการสืบค้นหามะเร็งของต่อมลูกหมาก
Cystoscope เพื่อดูว่ามีท่อปัสสาวะตีบตันหรือไม่ ต่อมลูกหมากโตเพียงใด และกระเพาะปัสสาวะเป็นอย่างไร
Plain kidney ureter bladder (KUB) และการทำ IVP
[ intravenous pyelography]
ultrasound
Uroflowmetry เพื่อดูว่าทางเดินปัสสาวะอุดกั้นมากน้อย
การตรวจร่างกาย
ตรวจร่างกายทุกระบบ
อาจจะมีปัญหาเลือดจาง
บวมตามตัวเนื่องจากมีภาวะ Azotemia
อาจติดเชื้อของไตเคาะบริเวณบั้นเอวด้านหลังมีอาการเจ็บ
คลำและเคาะบริเวณหน้าท้องเหนือหัวหน่าวจะพบกระเพาะปัสสาวะโป่งนูนมีเสียงทึบ เนื่องจากมีการคั่งค้างของปัสสาวะ
ตรวจทางทวารหนัก เพื่อดูขนาดและลักษณะต่อมลูกหมาก
การรักษา
การเฝ้าสังเกตอาการ(Watchful waiting)
กรณีที่ต่อมลูกหมากโตและไม่มีอาการ
แพทย์ตัดสินใจว่ายังไม่จำเป็นต้องให้ยาหรือการรักษาอย่างอื่น
ต้องมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อที่จะประเมินว่าต่อมลูกหมากที่โตเกิดปัญหาต่อสุขภาพหรือไม่
ต่อมลูกหมากโตไม่มากประมาณ1/3อาการจะดีขึ้นเอง
แนะนำมิให้รับประทานยาลดน้ำมูกเพราะจะทำให้อาการแย่ลง
รักษาโดยยา
ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่บีบรัดท่อปัสสาวะ
Alfa blocker drug treatment
terzosin (Hytrin)
doxazosin (Cardura)
tamsulosin (Flamax)
กล้ามเนื้อคอกระเพาะปัสสาวะคลายตัว รูของท่อปัสสาวะกว้างขึ้น ปัสสาวะได้สะดวกขึ้น
ผลข้างเคียง
ความดันโลหิตต่ำ
อาจเกิดอาการปวดและเวียนศีรษะ
ยาลดขนาดต่อมลูกหมาก
Finasteride (Proscar)
ออกฤทธิ์ต่อฮอร์โมนเพศชาย testosteroneทำให้ฮอร์โมน DHT ลดลง จึงทำให้ขนาดของต่อมลูกหมากเล็กลง ปัสสาวะได้คล่อง
ผลข้างเคียง
ลดความต้องการทางเพศ
ต้องรับประทานยาตลอดไป
ไม่ใช้วิธีผ่าตัด
Transurethral Microwave Procedures
Transurethral Needle Ablation (TUNA)
Balloon dilatation
การผ่าตัด
Transurethral resection of the prostate (TURP)
Open prostatectomy or suprapubic prostatectomy
การพยาบาล
กรณีที่รักษาโดยการใช้ยา
แนะนำการรับประทานยา การออกฤทธิ์และผลข้างเคียงของยา พร้อมทั้งการมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
กรณีที่รักษาโดยวิธี Watchful waiting
แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติ และมาตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
กรณีที่รักษาโดยการผ่าตัด
หลังการผ่าตัด
ประเมินสัญญาณชีพ
สังเกตสีและจำนวนปัสสาวะที่ออกมา
จัดท่าผู้ป่วยให้นอนเหยียดขาข้างที่ถูกตรึงไว้กับสายสวนปัสสาวะ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง (Bladder irrigation, CBI) ด้วยน้ำเกลือ (NSS)
กรณีได้รับยาระงับความรู้สึกทางไขสันหลัง จัดให้นอนราบและหนุนหมอนได้ อย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง
กรณีที่ผู้ป่วยไม่มีคลื่นไส้ อาเจียน ดูแลให้ผู้ป่วยดื่มน้ำอย่างน้อย ชั่วโมงละ 1 แก้ว
บันทึกจำนวนปัสสาวะที่ขับถ่ายออกมาจริง และจำนวนสารน้ำที่ใช้ในการสวนล้าง
สังเกตการบวมนูนของกระเพาะปัสสาวะ
ดูแลให้สายสวนปัสสาวะและถุงปัสสาวะอยู่ระบบปิด
จัดให้ถุงใส่ปัสสาวะอยู่ในระดับต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะ
ประเมินความเจ็บปวด และให้ยาบรรเทาอาการปวด
วันแรกของการทำผ่าตัด ดูแลให้นอนพักบนเตียง ห้ามลุกนั่งเพราะอาจทำให้เลือดออกได้
ควรป้องกันไม่ให้ท้องผูก เพราะการเบ่งถ่ายอุจจาระทำให้มีเลือดออกได้
หลังการผ่าตัด 3-4 วัน ปัสสาวะมีสีปกติ แพทย์จะพิจารณาถอดสายสวนปัสสาวะ
ควรแนะนำให้ผู้ป่วยมีการออกกำลังกล้ามเนื้อบริเวณฝีเย็บ โดยการขมิบก้น ให้ทำทุกชั่วโมง ๆ ละ 20-30 ครั้ง ช่วยให้การควบคุมการปัสสาวะได้ดีขึ้น
ก่อนการผ่าตัด
การเตรียมผู้ป่วยผ่าตัดโดยทั่วไป
คำแนะนำเพื่อการปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
พักผ่อนให้เพียงพอ เดินออกกำลังกายในพื้นราบได้ งดเว้นการเดินขึ้นที่สูง ขึ้นบันไดบ่อย ๆ ห้ามแบกของหนัก
ดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณ 2,500-3,000 ซีซีต่อวัน
ป้องกันภาวะท้องผูก
งดการมีเพศสัมพันธ์ อย่างน้อย 1-2 เดือน หลังการผ่าตัด
มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลการรักษา
หากมีอาการผิดปกติหลังการผ่าตัด เช่น ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะไม่ออก หรือมีไข้ ควรรีบมาพบแพทย์
การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
(Urinary Incontinence)
ความชุก
ต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะละอายไม่กล้าบอก
ความชุกเพิ่มขึ้นตามอายุ และแปรผันตามสิ่งแวดล้อม
ชุมชนพบร้อยละ 15 บ้านพักคนชราร้อยละ 50 หอผู้ป่วยร้อยละ 70
ผู้สูงอายุหญิงสูงกว่าผู้สูงอายุชาย 2 เท่า
ผลกระทบ
ด้านร่างกาย
ระคายเคืองผิวหนัง เกิดบาดแผล เสี่ยงต่อการติดเชื้อผิวหนังและทางเดินปัสสาวะ สมรรถภาพทางเพศลดลง เสี่ยงต่อการหกล้ม พักผ่อนไม่เพียงพอ
ด้านจิตใจและสังคม
คุณค่าตัวเองลดลง แยกตัวจากสังคม เกี่ยวข้องเศรษฐกิจเพราะต้องจัดซื้อผ้ารองซับปัสสาวะ คุณภาพชีวิตลดลง
ปัจจัยเกี่ยวข้องการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ
โครงสร้าง สรีรวิทยา ความสมบรูณ์ในการทำหน้าที่ของทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
จิตใจและวัฒนธรรม: การตระหนักรู้
การใช้อุปกรณ์ในการขับถ่าย
สิ่งแวดล้อมที่ช่วยเกื้อกูลในการปัสสาวะ
ชนิด
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบชั่วคราว (Transient) หรือ แบบเฉียบพลัน (Acute)
DIAPPERS
D = Delirium
สูญเสียการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ เพราะสับสนเฉียบพลัน สาเหตุจากเสียสมดุลน้ำและอิเลคโตรไลท์ การติดเชื้อ
P= Pharmacological agents/ drug
I = Infection of urinary tract
P= Psychological factors
ปัญหาทางจิต
A = Atrophic vaginitis/ urethritis
การขาดฮอร์โมนในวัยหมดประจำเดือน
E = Excess urine output
S = Stool impact
อุจจาระอัดแน่น
R= Restrict mobility
ไม้กั้นเตียง อุปกรณการแพทย์ติดตัว หลังผ่าตัด เตียงไกลจากห้องน้ำ
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบเรื้อรัง (Chronic)
Functional incontinence
Stress incontinence
Urge incontinence
Overflow incontinence
การประเมิน
โรคที่เกิดขึ้นมาก่อน (Co-morbidities)
เบาหวาน
ความดันโลหิตสูง
หัวใจล้มเหลวจากการมีน้ำคั่ง
ข้ออักเสบ
ซึมเศร้า
ความบกพร่องทางสติปัญญา (cognitive impairment)
ยาที่รับประทาน
การเปลี่ยนแปลงด้านสรีระวิทยาในวัยสูงอายุ
ลด
sensation
speed of contraction of detrusor
Bladder capacity
pelvic floor bulk
urinary flow rate
sphincteric "resistance"
เพิ่ม
urinary frequency
prevalence of post void
residaul volume
outflow tract obstruction
ประวัติการมีปัสสาวะราด
ระยะเวลาที่มีอาการ
ลักษณะอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาการอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย
สาเหตุชักนำที่ทำให้เกิดอาการ
การได้รับยา
โรคประจำตัว
การตั้งครรภ์ การคลอด
อุบัติเหตุ และการผ่าตัด
การตรวจร่างกาย
ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง BMI
ตรวจหน้าท้อง
ตรวจระบบประสาท
ผู้หญิง: ตรวจภายใน
ประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
Cystourethroscopy
Uroflowmetry
Cystometry
การรักษา
การรักษาเชิงพฤติกรรม (behavioral therapy)
การฝึกกระเพาะปัสสาวะ (bladder training)
การฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (pelvic muscle exercise or kegel exercise)
การใช้อุปกรณ์ช่วยในการบริหารช่องคลอด
การรักษาโดยการใช้ยา (pharmacologic therapy)
Anticholinergic/smooth muscle relaxant
Alpha-adrenergic agonist
Conjugate estrogen
Cholinergic –agonist
Antibiotic
การรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ และการใช้อุปกรณ์ช่วย
การสวนปัสสาวะเป็นระยะ (intermittent catherization)
การคาสายสวนปัสสาวะ (indwelling catherization)
การใช้อุปกรณ์ช่วยเก็บปัสสาวะ
การใช้ผ้าอ้อมอนามัยสำหรับผู้ใหญ่
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
มีโอกาสเกิดแผลและติดเชื้อที่อวัยวะสืบพันธ์และผิวหนังเนื่องจากชื้นแฉะจากปัสสาวะ
แยกตัวจากสังคมเนื่องจากวิตกกังวลเกี่ยวกับการกลั้นปัสสาวะไม่ได้
การดูแลตนเองบกพร่องเนื่องจากขาดความรู้ในการดูแลตนเอง
การพยาบาล
Stress incontinence
สอนให้บริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
Bladder training
แนะนำให้ใช้แผ่นรองซับ
ควบคุมน้ำหนัก
ประสานทีมสุขภาพ เมื่อต้องรักษาด้วยยา alpha adrenergic agonist , estrogen
Urge incontinence
Bladder Training
Kegel exercise
ประสานทีมสุขภาพ เมื่อต้องรักษาด้วยยา anticholinergic
Overflow incontinence
แนะนำให้ปัสสาวะเมื่อรู้สึกอยากปัสสาวะ
แนะนำให้ปัสสาวะอย่างไม่เร่งรีบ ให้มีเวลานานพอที่ปัสสาวะได้มากที่สุด
แนะนำให้ใช้ Crede’s maneuver และ double voiding technique
ผู้สูงอายุชาย ให้ใช้อุปกรณ์ รองรับน้ำปัสสาวะช่วย
สวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว
ประสานทีมสุขภาพในการใช้ยา Cholinergic –agonist or parasympathomimetic คือ bethanechol
ผิดปกติ 1 ใน 3 ถือว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 72
ผิดปกติ 1 ใน 3 ถือว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 72
จำนวนโรคหลายโรคจะยิ่งทำให้ความเสี่ยงสูงขึ้น
เป็นภาวะที่มีความผิดปกติของระบบหลอดเลือดสมอง เป็นเหตุให้สมองบางส่วนหรือทั้งหมดทำงานผิดปกติไป ก่อให้เกิดอาการและอาการแสดงซึ่งคงอยู่เกิน 24 ชั่วโมงหรือทำให้เสียชีวิต
การเสื่อมของข้อ ที่มีการเปลี่ยนแปลงกระดูกอ่อนผิวข้อ สึกบางลง ทำให้มีการเสียดสีของกระดูก เกิดเสียงเมื่อเคลื่อนไหว อาการปวด ข้อฝืด เมื่อเวลาผ่านไปจะมีกระดูกงอกเข้าในข้อ และมีเศษกระดูกลอยอยู่ในข้อ ทำให้ปวดข้อมากยิ่งขึ้นและเคลื่อนไหวลำบาก มีผลทำให้ข้อผิดรูปและพิการ
โรคที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดน้อยลงเรื่อย ๆ และมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกระดูก ซึ่งมีผลให้กระดูกไม่สามารถรับน้ำหนักหรือแรงกดได้ตามปกติ ทำให้กระดูกหักตามมา
(สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 2548)
การถ่ายอุจจาระแข็งและแห้งผิดปกติความถี่คือหลายวันจึงจะขับถ่ายเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระนานหรือเบ่งมาก
หรือรู้สึกถ่ายอุจจาระไม่หมด
การสูญเสียการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ ทำให้มีปัสสาวะเล็ดราดออกมาทางท่อปัสสาวะ โดยไม่สามารถควบคุมได้และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต และการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมของบุคคล (Abrams, et al., 2002)
ต้องทำควบคู่กับการรักษาโดยไม่ใช้ยาเสมอ
ถ้าไม่ได้รับการแก้ไข ผนังท่อไตบางลง พองออก และมีปัสสาวะขัง เกิดเป็นท่อไตบวมน้ำ (hydroureter)อุดตันหรือมีการไหลย้อนกลับเป็นเวลานานก็จะทำให้เกิดไตวาย