Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่10 การป้องกันภาวะเสี่ยงและอุบัติเหตุที่พบบ่อย, image, pngtree…
หน่วยที่10 การป้องกันภาวะเสี่ยงและอุบัติเหตุที่พบบ่อย
การหกล้ม
สาเหตุ
ความบกพร่องการมองเห็น
การลดลงของลานสายตา ทำให้ผู้สูงอายุมองไม่เห็นวัตถุที่เข้ามาใกล้
รูม่านตาขนาดเล็กลง ทำให้ไม่สามารถรับภาพได้ดีในเวลาแสงมืด
การลดลงของความชัดเจนในการมองภาพ การรับรู้ความตื้นลึก
ความเสื่อมต่อการเห็นภาพสี ทำให้เกิดปัญหาในการรับรู้ภาพ
ความพร่องการทรงตัว
กลไกการทำงานที่ควบคุมการทรงตัวของอวัยวะลดลง หรือมีปัญหาารทำงานของอวัยวะหูชั้นในทำให้เกิดอาการบ้านหมุน(Vertigo)
ความพร่องของการเดิน
ความสามารถในการประสานงานของกล้ามเนื้อลดลง มีการเสื่อมของข้อต่อและเอ็นรอบข้อ
การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากความเจ็บป่วย
การรับรู้ความรู้สึกของระบบประสาทและสมองผิดปกติ
สมองเสื่อม เนื้อสมองตาย ทำให้การควบคุมจากสมองส่วนกลางผิดปกติ การทรงตัวสูญเสียไป
การเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อ
ความไม่มั่นคงของบริเวณข้อสะโพก ข้อเสื่อม การอักเสบของข้อ การอ่อนแรงหรือลีบตัวของกล้ามเนื้อ
ความผิดปกติของหัวใจหรือหลอดเลือด
หลอดเลือดตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง
ความดันโลหิตต่ำ ทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นลมและหกล้มได้ ทำให้หน้ามืดและเวียนศรีษะ
ความผิดปกติของสมดุลกรดด่าง เกลือแร่ในร่างกาย
ภาวะติดเชื้อ ส่งผลต่อการทำงานของสมอง ทำให้เกิดอาการซึมสับสน
การได้รับยาหลายชนิด
เกิดปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยา การได้รับยาที่เสี่ยงต่อการเกิดการหกล้ม
ปัญหาจิตใจ
ภาวะซึมเศร้าส่งผลให้ผู้สูงอายุมีการตอบสนองช้าลงและมีการตัดสินใจผิดพลาด
ผลกระทบของการหกล้ม
การเสียชีวิต การบาดเจ็บ หมดสติ กระทบกระเทือนต่อสมอง
การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หรือรับการผ่าตัด ก่อให้เกิดภาวะพึ่งพาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
เกิดโรคแทรกซ้อนระหว่างป่วยหรือการผ่าตัด
ด้านจิตใจ : เกิดความอับอาย วิตกกังวล ความมั่นใจลดลง เก็บตัว
ทางเศรษฐกิจ : เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษา ส่งผลต่อเศรษฐกิจของครอบครัว
การป้องกันการหกล้ม
จัดสิ่งแวดล้อม
ทางเดินมีความสว่างเพียงพอ ไม่เป็นแสงจ้า การจัดวางกระจกหลีกเลี่ยงไม่ให้แสงสะท้อนเข้าตา
พื้นทางเดินควรเรียบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง พื้นแห้ง ใช้สีที่เหมาะสมไม่ทำให้เกิดตาลาย
ห้องน้ำ
พื้นกระเบื้องกันลื่น มีราวยึดจับ ประตูห้องน้ำควรเป็นแบบเปิดออกด้านนอก
เก้าอี้มีความสูงขนาดวางเท้าได้พอดี ชั้นวางของมีความสูงระดับที่สามารถหยิบจับได้
เสื้อผ้ามีขนาดพอดีกับร่างกาย ไม่รุงรัง รองเท้ามีขนาดและรูปทรงที่เหมาะสมกับเท้า
อุปกรณ์ในการเคลื่อนไหวมีความแข็งแรง
การเปลี่ยนท่าโดยไม่ตั้งใจ เป็นผลให้ร่างกายทรุดลงนอนกับพื้น อาจเกิดจากอาการหน้ามืดเป็นลม ขาอ่อนแรง การสะดุด ลื่นไถล
การปฏิบัติตนของผู้สูงอายุ
ออกกำลังกายที่ช่วยทำให้สมดุลร่างกายดี เช่น รำมวยจีน โยคะ
รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
หลีกเลี่ยงการแหงนหน้า เพราะทำให้เกิดอาการหน้ามืด
เตรียมเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินให้สามารถโทรออกได้ง่าย
การบาดเจ็บ
ลักษณะการบาดเจ็บ
เนื้อเยื่อฟกช้ำ มีเลือดออกใต้ผิวหนังมองเห็นเป็นจ้ำเลือดสีแดงคล้ำ
การพยาบาล : ใช้ความเย็นประคบ พันผ้า ยกบริเวณที่บาดเจ็บให้สูง หลัง24ชั่วโมงให้ประคบร้อน
แผลถลอก
การพยาบาล : ห้ามเลือดและใช้ผ้าสะอาดปิดแผลไว้
ศรีษะถูกกระแทกทำให้สมองกระทบกระเทือน
การพยาบาล : จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายราบ คลายเสื้อผ้าและสิ่งรัดร่างกายให้หลวม
ข้อเคล็ดหรือแพลง
การพยาบาล : ประคบเย็นใน24ชม.แรก พันไว้และงดการเคลื่อนไหว หลัง24ชม.ให้ใช้ครีมนวดทาหรือประคบอุ่น
ข้อเคลื่อนหรือหลุด
การพยาบาล : ยึดด้วยผ้าหรือวัสดุอื่นๆ ประคบเย็น รับประทานยาแก้ปวด
กระดูกหัก
การพยาบาล : ประคบเย็นและเข้าเฝือกชั่วคราว
ตะคริว
การพยาบาล : ประคบร้อนและนวดกล้ามเนื้อให้คลายตัว
กล้ามเนื้อฉีก
การพยาบาล : ใช้ความเย็นประคบภายใน24ชม.แรก ใช้ผ้ายืดพันไว้จากนั้นประคบด้วยน้ำอุ้น
การป้องกันการบาดเจ็บในผู้สูงอายุ
หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทก เช่น การกระโดด
ไม่ควรออกกำลังกายที่ต้องใช้ความเร็วสูง หลีกเลี่ยงการแข่งขัน
ไม่ควรออกกำลังกายที่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อหรือออกแรงเบ่งมาก เช่น ยกน้ำหนัก
ให้ทุกส่วนของร่างกายได้ออกกำลัง ไม่ควรเน้นส่วนใดส่วนหนึ่งมากเกินไป
ไม่ควรออกกำลังกายบนพื้นลาดชัน ลื่น ไม่เรียบ เป็นหลุม เป็นบ่อ
สาเหตุ
ไม่ยืดกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย
พื้นลื่น พื้นไม่เรียบ
สภาพร่างกายไม่พร้อม มีโรคเรื้อรัง
สภาพจิตใจไม่พร้อม มีความเครียดและความกังวล
การทารุณกรรมและถูกทอดทิ้ง
สาเหตุ
สภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง การแข่งขัน ความเครียด ครอบครัวมีขนาดเล็กลง และการย้ายถิ่นเพื่อหางานทำของลูกหลาน
ส่วนใหญ่เป็นการกระทำจากคนในครอบครัว
เข้าสู่ภาวะพึ่งพา มีการเจ็บป่วยเรื้อรัง
การป้องกันการทารุณกรรม
เมื่อพบปัญหาทารุณกรรมและถูกทอดทิ้งให้ติดต่อ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ของจังหวัด