Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดและหลักการของการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ - Coggle Diagram
แนวคิดและหลักการของการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ
ขั้นตอนและกระบวนการของการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
การเริ่มต้นทำการวิเคราะห์และออกแบบระบบนั้นจะต้องทราบถึงขั้นตอนและวิธีการในการวิเคราะห์และออกแบบ นั่นคือการนำเอาระบบงานปัจจุบันมาทำการวิเคราะห์ เพื่อค้นหาปัญหา (Problem Finding), กำหนดปัญหา (Problem Definition), และกำหนดวิธีการแก้ปัญหา (Problem Solving) ซึ่งในแต่ละขั้นตอนจะมีวิธีการต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้สำหรับการวิเคราะห์และออกแบบระบบนั้นมีหลากหลายวิธี
ขั้นตอนการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ออกเป็น 2 ระดับคือ ขั้นต้น และขั้นสูง
ขั้นพื้นฐาน (Basic System Analysis) ประกอบ 8 ขั้นตอน
1.1 การสอบถามความต้องการและรับทราบปัญหา (System Requirement)
1.2 การกำหนดบริบท (Context Description)
1.3 การออกแบบโครงสร้างบริบท (Context Diagram)
1.4 การเขียนผังกำหนดข้อมูลและการประมวลผล (Process Hierarchy Chart)
1.5 การเขียนผังการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD)
1.6 การอธิบายรายละเอียดของกระบวนการ (Process Description)
1.7 การกำหนดแบบจำลองข้อมูล (data modeling)
1.8 การเขียนพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary)
ขั้นสูง (Advance System Analysis) ประกอบ 4 ขั้นตอน
2.1 การออกแบบฐานข้อมูล (Database Design)
2.2 กำหนดรายละเอียดคุณสมบัติ (Data Table Description)
2.3 การออกแบบส่วนแสดงผล (Output Design)
2.4 การออกแบบส่วนนำข้อมูลเข้า (Input Design)
การค้นหาปัญหาของระบบเดิมที่ใช้อยู่
การที่นักวิเคราะห์ระบบจะทราบได้ว่าองค์การที่จะทำการวิเคราะห์ระบบนั้นๆมีปัญหาหรือไม่จะต้องทำการแยกแยะระหว่างปัญหาที่เกิดขึ้นจริงกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการตั้งข้อสังเกตของบุคลากรในองค์การว่าเป็นปัญหานักวิเคราะห์ระบบจะต้องฉลาดพอที่จะวินิจฉัยข้อแตกต่างระหว่าง 2 ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้และเข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริงกับผลของปัญหา
1) รายงานปัญหาที่มาจากปัจจัยภายนอก
เช่น จากระดับผู้บริหาร จากระดับผู้ตรวจสอบ จากระดับลูกค้า จากระดับคู่แข่งขันทางธุรกิจ จากระดับตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น
2) รายงานปัญหาที่เกิดมาจากปัจจัยภายใน
เช่น การประมวลผลทางคอมพิวเตอร์ ข้อมูลสถิติทางด้านการเงินจากผู้ใช้งบประมาณ ผู้ตรวจสอบภายในบริษัท จากฝ่ายงานการวิเคราะห์ระบบ เป็นต้น
ความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลขององค์การ ความเข้มงวดหรือมาตรการการรักษาความปลอดภัยที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจจะนำไปสู่ปัญหาของระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
การกำหนดอำนาจหน้าที่ของบุคคลในการใช้ข้อมูลในระบบว่าบุคคลใดจะสามารถใช้ข้อมูลอะไรบ้าง
การกำหนดจุดมุ่งหมายของระบบข้อมูลที่มีอยู่ ว่าจะถูกนำไปใช้ในลักษณะใดเพื่ออะไร ยังไม่ชัดเจน ทำให้ไปสู่ความขัดแย้งกันในระบบข้อมูลปัจจุบัน
ความถูกต้องและความแน่นอนของข้อมูลไม่ดีพอ
ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ คือ การไม่มีระบบธุรกิจที่จะมารองรับการดำเนินงานที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เพียงพอขององค์การ
ในระบบงานที่มีข้อมูลมาก ๆ หากวิธีการเก็บข้อมูลไม่ดีพอ อาจจะนำมาซึ่งปัญหาได้ เช่น การค้นหาเอกสารที่ต้องการจะใช้เวลามาก สาเหตุนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาใช้แทนการเก็บข้อมูลโดยตู้เอกสาร
ผู้บริหารอาจเป็นสาเหตุหนึ่งของแหล่งที่มาของปัญหา เช่น การส่งต่อของเอกสาร เป็นต้น การศึกษาถึงสิ่งที่บ่งบอกว่าจะเกิดปัญหาขึ้นดังกล่าว ได้แก่
การทำงานมีความล่าช้า
งานมีน้อย แต่ใช้คนทำงานมากเกินกว่าความจำเป็น
มีคนทำงานน้อยไป ต้องการคนมากกว่าที่มีอยู่
รายงานปัญหาจากผู้จัดการฝ่ายต่างๆ
ความล่าช้าในการนำมาใช้ และการติดตั้งของอุปกรณ์ใหม่ๆ ที่ทันสมัย
หลักการของการวิเคราะห์และออกแบบระบบ
การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) เป็นการศึกษา วิเคราะห์ และแยกแยะถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบพร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขตามความต้องการของผู้ใช้งานและความเหมาะสมต่อการดำเนินการขององค์การ
การออกแบบระบบ (System Design) คือ การสร้างแบบพิมพ์เขียวของระบบใหม่ตามความต้องการในเอกสารความต้องการระบบ กำหนดสิ่งที่จำเป็น เช่น ข้อมูล/อุปกรณ์นำเข้า (input), การประมวลผล (Process), ผลลัพธ์ของระบบ (Output) และส่วนต่อประสานผู้ใช้ (Graphic User Interface) เพื่อประกันความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องแม่นยำ การบำรุงรักษาได้ และความปลอดภัยของระบบ
การวางแผนงานเพื่อศึกษาปัญหา
เมื่อนักวิเคราะห์ระบบเหตุของประเด็นปัญหาแล้ว จึงทำการกำหนดปัญหา (Problem Definition) สิ่งสำคัญที่จะต้องทำเพื่อเป็นพื้นฐานการวางแผนการดำเนินงาน ประกอบด้วย 3 ประการ
การกำหนดหัวเรื่องของปัญหา (Subject) การกำหนดหัวเรื่องของปัญหาของระบบเป็นหัวใจหลักของขั้นตอนการกำหนดปัญหา (Problem Definition) การที่นักวิเคราะห์ระบบสามารถแยกระหว่างอาการของปัญหากับปัญหาที่แท้จริงได้แล้ว
กำหนดขอบเขตของปัญหา (Scope) หลังจากการกำหนดหัวข้อของปัญหาแล้วจะต้องกำหนดขอบเขตในการศึกษาปัญหา
การกำหนดจุดประสงค์หรือเป้าหมายของการศึกษา (Objective) เป้าหมายที่กำหนดจะต้องไม่ยากหรือมีข้อจำกัดมากจนเกินไป
การศึกษาผลกระทบของระบบงาน
เมื่อการพัฒนาระบบเริ่มต้นขึ้น การศึกษาถึงปัญหา ความต้องการ และความเป็นไปได้ของระบบได้ ครอบคลุมอยู่ในขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบงานแล้ว ดังนั้น การค้นหาของขอบเขตของระบบและผลกระทบ ของระบบจะต้องถูกท าไปพร้อมๆ กัน การศึกษาผลกระทบของระบบงานแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
วัตถุประสงค์ของระบบคืออะไร เพื่อให้ทราบว่าผลของการดำเนินงานคืออะไร (What)
ใครเป็นผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสีย (Who)
ระบบงานจะส่งผลกระทบอย่างไร (How)
ระบบเริ่มดำเนินงานและสิ้นสุดเมื่อใด เพื่อให้ได้มีการจัดวางตารางเวลาอย่างเหมาะสม ไม่ให้ใช้เวลามากเกินไปและลดค่าให้จ่ายของระบบให้น้อยที่สุด (When)
การเขียนรายงานแสดงหัวข้อปัญหา
รายงานแสดงหัวข้อปัญหาเป็นการแสดงถึงความคืบหน้าในการศึกษาเบื้องต้นของการวิเคราะห์ระบบ และแสดงหัวข้อหลักของระบบที่จะทำการศึกษา ในรายงานฉบับนี้นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเขียนคำอธิบายให้ชัดเจนถึงปัญหาที่เกิดขึ้น
สิ่งที่ควรจะมีในรายงานแสดงหัวข้อปัญหา
1.แนะนำถึงลักษณะของปัญหาทั่วไป เช่น หัวเรื่องของปัญหา (Subject) ขอบเขตของปัญหา (Scope) เป้าหมายในการแก้ปัญหา (Objectives)
2.อธิบายถึงแนวทางเบื้องต้นในการแก้ปัญหา
3.แสดงให้เห็นถึงส่วนที่ก่อให้เกิดปัญหา และก่อนที่ไปเกี่ยวข้องกับข้อมูล
4.ให้คำนิยามของปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างกระจ่างแจ้งชัดเจน
5.เน้นให้เห็นถึงเป้าหมายในการศึกษาเพื่อทำการแก้ไขปรับปรุง
6.ให้คำแนะนำที่ดีเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น
7.อธิบายถึงหลักการหรือเหตุผลในการแก้ไข จากแนวความคิดของนักวิเคราะห์ระบบเอง ถ้ามีความจำเป็น
8.ให้กราฟรูปภาพ, กราฟข้อมูล, แผนภาพกระแสข้อมูล, รูปภาพ, แผนภูมิในการอธิบายถึงปัญหาถ้าจำเป็น
ปัจจัยที่ควรจะศึกษาความเหมาะสม
ความเหมาะสมระหว่างระบบกับบุคลากรในองค์การ
ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจ
ความเหมาะสมทางด้านเทคโนโลยี
วิธีการศึกษาความเหมาะสม
การเข้าใจและกำหนดปัญหาที่แท้จริงของระบบที่จะทำการวิเคราะห์ออกมา
การค้นหาวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้มากที่สุดที่จะเข้าไปแก้ปัญหานั้น ๆ
รายงานการศึกษาความเป็นไปได้(Feasibility Study Report)
รายงานการศึกษาความเป็นไปได้เป็นเอกสารที่จะอธิบายระดับผู้บริหารให้ทราบถึงปัญหาที่เกิด และสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา นอกจากนี้ ในรายงานจะเสนอแนวทางแก้ไขและ ข้อแนะนำต่าง ๆ รายงานควรประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ที่สำคัญ
ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยนักวิเคราะห์ระบบจะต้องอธิบายให้เข้าใจถึงปัญหาที่มีอยู่
อธิบายถึงขอบเขตของปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้น
แสดงผลของการศึกษาความเหมาะสม ว่าหลังจากที่ได้ทำการศึกษาความเหมาะสมแล้ว ความเป็นไปได้ในด้านต่างๆ มีมากน้อยเพียงใด
แสดงให้เห็นถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบมากที่สุด และแสดงความเกี่ยวข้องของหน่วยงานกับปัญหาต่าง ๆ
อธิบายระบบทั้งหมด โดยอธิบายถึงระบบเก่าที่ใช้อยู่ และระบบใหม่ที่อาจจะนำมาใช้แก้ไขปัญหาของระบบเก่า
แสดงรายละเอียดเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและผลตอบแทน
เขียนคำแนะนำลงในรายงาน พร้อมทั้งให้เหตุผล
แนะนำการจัดทำตารางเวลาของการวางระบบ และการกำหนดจุดเวลาที่สำคัญของแต่ละขั้นตอน
ทำการรวบรวม รูปภาพ แผนภาพต่าง ๆ โครงร่างของแผนที่ไม่ได้อธิบายเอาไว้ในตัวรายงาน
สาเหตุที่ต้องทำความเข้าใจระบบเดิมที่ใช้อยู่
เพื่อให้เข้าใจในหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ลักษณะงานบางอย่างมีความคล้ายคลึงกัน หรือมีหน้าที่ความรับผิดชอบของงานที่ก้ำกึ่งกันอยู่
เพื่อที่จะเข้าใจลักษณะการแจกจ่ายงานในองค์การนั้น ๆ
เพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะการจัดเก็บข้อมูลที่มีความซ้ าซ้อนในระบบปัจจุบันเพราะการไม่ไว้วางใจในระบบเดิมที่ใช้อยู่
เพื่อจะใช้ในการตัดสินใจว่าควรจะคงระบบเก่าไว้ โดยทำการอบรมผู้ใช้เพิ่มเติมหรือให้ความรู้แก่ผู้ใช้ในเรื่องงานที่เขากำลังทำอยู่
เพื่อที่จะค้นหาระบบควบคุมการทำงานในระบบปัจจุบัน
การออกแบบระบบใหม่
เป็นการจัดเตรียมส่วนต่าง ๆ แล้วเขียนขั้นตอนหรือรูปภาพแสดง เพื่ออธิบายจุดประสงค์ของระบบหรือเป้าหมายที่จะทำให้สำเร็จ การออกแบบระบบใหม่นี้จะต้องได้ข้อมูลพื้นฐานมาจากการศึกษาในขั้นตอนต่าง ๆ ทีผ่านมา โดยสรุปแล้วการออกแบบระบบจะต้องประกอบด้วย
หัวข้อปัญหาที่ชัดเจนจากที่ได้ทำการศึกษา
ภาพของระบบเดิมที่ใช้อยู่ และรายละเอียดในส่วนต่างๆ
ความต้องการของระบบใหม่
การออกแบบระบบจะเกี่ยวข้องกับเชื่อมต่อกิจกรรม กระบวนการงานต่าง ๆ ในองค์การรวมทั้งการใช้อุปกรณ์ เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อท าให้บรรลุเป้าหมายขององค์การที่วางไว้ ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบจะต้องเลือกที่จะน าสิ่งต่าง ๆ เข้ามาใช้ในระบบงานของนักวิเคราะห์ระบบในการออกแบบระบบใหม่คือ
ตัดสินใจในการจัดหาทางเลือกหลาย ๆ ทาง ที่สามารถนำมาใช้กับระบบได้
ทำการแยกทางเลือกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
ทางเลือกที่เป็นไปได้ที่สุดที่จะนำมาใช้กับระบบ ซึ่งเป็นทางที่ผู้บริหาร จะยอมรับมากที่สุด
ทางเลือกเพื่อแสดงเปรียบเทียบให้เห็นแนวทางอื่น ๆ
เรียงลำดับทางเลือกในกลุ่มแรก ตามลำดับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการที่จะได้รับประโยชน์
สูงสุดจากการนำทางเลือกนั้นมาใช้
ทำการเสนอทางเลือกที่ดีที่สุดต่อผู้บริหาร เพื่อที่จะหาข้อสรุปในทางเลือกที่นักวิเคราะห์ระบบได้เสนอไปให้
แล้วนำมาแก้ไขต่อไป
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด ที่เป็นที่น่าพอใจที่สุด และต้องไม่ไปกระทบต่อระบบอื่นๆที่มีอยู่แล้วจนทำให้ระบบอื่นไม่สามารถทำงานได้
การออกแบบฟอร์มต่างๆ
แบบฟอร์มต่างๆ ที่ได้ออกแบบใหม่ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบฟอร์มที่เพิ่งจะเริ่มใช้งานใหม่การเริ่มต้นออกแบบฟอร์มควรจะรู้จุดมุ่งหมายของแบบฟอร์มรายงานต่างๆ อย่างชัดเจนจุดมุ่งหมายของการออกแบบฟอร์ม คือ
จะต้องง่ายและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถจะทำการเขียนหรือพิมพ์เพิ่มเติมได้ง่าย
จะต้องสามารถอ่านและเข้าใจได้ง่ายไม่ซับซ้อนยุ่งยากและประหยัดเวลาในการนำมาใช้งาน
การเขียนกระบวนการทำงาน
การเขียนกระบวนการทำงาน (Procedure Writing) เป็นสิ่งทีสำคัญในระบบ เพราะกระบวนการทำงานจะอธิบายการทำงานของระบบโดยรายละเอียด เหตุผลพื้นฐานที่ต้องเขียนกระบวนการทำงานมี 4 ข้อ
เพื่อทำการบันทึกวิธีการท างานของบริษัทในปัจจุบันและที่ผ่าน ๆ มา โดยที่กระบวนการทำงานจะเป็นตัวอธิบายถึงข้อดีของการทำงานและจุดที่ล้มเหลว
ช่วยให้การอบรมสอนงานให้แก่ผู้ใช้ใหม่ท าได้ง่ายขึ้น และจะช่วยให้ผู้ใช้เก่าเข้าใจระบบใหม่ที่นำเข้ามาใช้ในองค์การ รายงานกระบวนการท างานจะช่วยให้การทำงานมีกฎเกณฑ์ที่ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น
กระบวนการทำงานช่วยให้เห็นภาพรวมของงานทั้งหมด และแสดงหน้าที่รับผิดชอบของผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งจะช่วยให้ระดับบริหารสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของการทำงานได้
ใช้กระบวนการทำงานที่เขียนขึ้น ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบเอง
รูปแบบของการเขียนกระบวนการ (Styles of Procedure Writing)
แบบเรียงความ (Narrative)
แบบตามขั้นตอน (Step – by – Step Outline)
แบบบทละคร (Play Script)
การจัดทำแบบบันทึกรายละเอียดโปรแกรม
เป็นการวางแผนละเอียดลึกลงไปในแต่ละขั้นตอนหรือแต่ละโปรแกรม สำหรับแบบบันทึกรายละเอียดโปรแกรม (Program/Process Specification) จะถูกสร้างขึ้นโดยนักวิเคราะห์ระบบสำหรับบันทึกรายละเอียดของโปรแกรม ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญด้วยกันอย่างน้อย 7 อย่าง
ชื่อโปรแกรมหรือชื่อขั้นตอนการปฏิบัติงานของระบบ (Program/Process Name)
หมายเลขอ้างอิงขั้นตอนการปฏิบัติงานของระบบ (Process No.) ซึ่งจะต้องเป็นหมายเลขเดียวกับหมายเลขของขั้นตอนที่ได้แสดงไว้ในแผนภาพ Data Flow Diagram
ชื่อของระบบงาน (System Name)
ผู้จัดทำ (Preparer)
คำอธิบายเบื้องต้นของโปรแกรม (Program/Process Description)
อินเตอร์เฟซ (Interface) หมายถึง รายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ที่จะเข้ามาสู่ระบบของโปรแกรมนี้ หรือที่เรียกกันว่า ข้อมูลนำเข้า (Input) และรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ที่จะออกจากระบบของโปรแกรมนี้ หรือทเรียกกันว่า ผลลัพธ์ (Output)
บันทึกรายละเอียดการทำงานของโปรแกรม (Program/Process Definition)
การออกแบบแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล
แฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลที่จะทำการเก็บข้อมูลไว้สำหรับระบบ เพื่อที่ระบบงานจะสามารถนำเอาข้อมูลไป ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ตามต้องการ แฟ้มข้อมูลจึงมีคุณสมบัติที่จะอำนวยให้ข้อมูลสามารถถูกเรียกใช้ร่วมกันจากระบบงานย่อยๆต่างๆ ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำการวิเคราะห์การใช้งาน การบำรุงรักษา การเปลี่ยนแปลง แก้ไขต่าง ๆ เกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล โดยจะต้องคำนึงถึงข้อมูลจำกัดของพื้นฐานของแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่ โดยนักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความรู้ความเข้าใจทางด้านแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูล เพื่อที่จะหาผลลัพธ์ที่ดีที่สุดว่าฐานข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลที่กำลังพิจารณาอยู่นี้ควรจะเป็นแบบไหน
ระบบรักษาความปลอดภัยและความถูกต้องของระบบงาน
ระบบรักษาความปลอดภัยภายนอกระบบงาน (Physical Security) ในส่วนนี้จะกระทำกันภายนอกระบบงานคอมพิวเตอร์
ระบบรักษาความปลอดภัยกายในระบบงาน (System Security and Integrity) เนื่องจากปัจจุบันระบบงานคอมพิวเตอร์แบบเครือข่ายได้ทำให้การใช้ข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2.1 การใช้รหัส (Password) เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันทั่วไป
2.2 การสำรองข้อมูล (System Backups)ในทุกระบบงานที่ดี ควรจะมีการวางตารางเวลาเพื่อการสำรองข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะป้องกันปัญหาในเรื่องของการสูญเสียข้อมูลในกรณีที่คาดไม่ถึง
2.3 การตรวจสอบได้ของระบบ (Audit Trail)ระบบงานที่ดีควรได้รับการออกแบบให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในระบบสามารถที่จะตรวจสอบย้อนกลับได้
2.4 การเรียกคืนข้อมูลและเริ่มต้นใหม่ของระบบ (Recovery and Restart Needs) ในระบบงานคอมพิวเตอร์ ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ส าคัญอย่างยิ่ง หากเกิดไฟฟ้าดับหรือเกิดการลัดวงจรหรือฟ้าผ่าเข้ามาในสายไฟฟ้าแล้ว จะส่งผลท าให้ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งระบบเกิดความเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เมื่อระบบงานเกิดความเสียหาย (Crash) ขึ้น การนำเอาข้อมูลที่ได้สำรองเอาไว้มาเรียกคืนข้อมูล (Restore Data) เพื่อจะได้ข้อมูลกลับมา
การทบทวนระบบงาน
เมื่อการออกแบบระบบงานได้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว นักวิเคราะห์ระบบจะต้องนำเอาสิ่งที่ได้ทำการออกแบบไว้แล้วทั้งหมดกลับมาทบทวนใหม่อีกครั้งและจัดทำในรูปแบบของรายงานและนำเสนอ (Presentation)
ต่อผู้บริหารและผู้ใช้ระบบ ซึ่งจะแบ่งการทบทวน (Review) ออกเป็น 2 ส่วน
ผู้บริหาร (Management Review) นักวิเคราะห์ระบบจะต้องรายงานในเรื่องที่ว่าระบบงานที่ได้พัฒนาขึ้นมานั้น สามารถจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบงานของเขาได้อย่างแท้จริงนอกจากรายงานถึงประวัติต่าง ๆ ปัญหาที่เกิดขึ้น และทางแก้ไขของระบบที่ได้มีการออกแบบเอาไว้
ผู้ใช้ระบบ (User Review) ซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และออกแบบระบบตั้งแต่เริ่มต้น จะเป็นผู้ทบทวนว่า ระบบงานได้ให้ในสิ่งที่เขาต้องการอย่างแท้จริงหรือไม่นักวิเคราะห์ระบบจะต้องให้ตัวอย่างของการ
นำเข้าข้อมูลทางจอภาพ รายงานแบบต่าง ๆ พร้อมอธิบายรายละเอียดให้กับผู้ใช้ระบบได้เข้าใจอย่างชัดเจน