Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผล - Coggle Diagram
บทที่ 6การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผล
6.5ปัจจัยที่ทำให้เกิดแผลกดทับ ระยะของแผลกดทับและการป้องกันแผลกดทับ
ปัจจัยส่งเสริมการเกิดแผลกดทับ
ปัจจัยภายในร่างกาย
1.2 ภาวะโภชนาการ
1.3 ยาที่ได้รับการักษา
1.1 อายุ ผู้ป่วยที่เกิดแผลกดทับ ร้อยละ 70 เป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
1.4 การผ่าตัด
2.ปัจจัยภายนอกร่างกาย
2.2แรงเสียดทําน
2.3 แรงเฉือน
2.1 แรงกด
2.4 ความชื้น
ระยะของแผลกดทับ
ระดับที่ 3 แผลลึกถึงชั้นไขมัน(subcutaneous)แต่ยังไม่ถึงชั้นกล้ามเนื้อ (muscle) มีรอยแผลลึก มีสิ่งขับหลั่งจากแผล เริ่มมีกลิ่นเหม็นยังไม่มีเนื้อตําย (necrosis tissue)
ระดับที่ 2 ผิวหนังแดงเริ่มมีแผลเล็กๆ มีหนังแท้ถูกทำลายฉีกขาดเป็นแผลตื้น มีรอยแดงบริเวณเนื้อเยื่อรอบๆ และเริ่มมีสารคัดหลั่งจากแผล
ระดับที่ 4แผลลึกเป็นโพรงถึงกล้ามเนื้อ กระดูก และเยื่อหุ้มข้อ พบมีเนื้อตาย
ระดับที่1 ผิวหนังแดงไม่มีการฉีกขาดของผิวหนังและไม่จางหายไปภายใน 30 นาที
บริเวณที่อาจเกิดแผลกดทับได้ง่ายในท่าทางต่าง ๆ
ท่านอนตะแคง บริเวณที่เกิดคือ ศีรษะด้านข้าง หัวไหล่ กระดูกก้น ปุ่มกระดูกต้นขาฝีเย็บ หัวเข่าด้านหน้า ตาตุ่ม
ท่านั่ง บริเวณที่เกิดคือ ก้นกบปุ่มกระดูกก้น หัวเข่าด้านหนัง กระดูกสะบัก เท้า ข้อเท้าด้านนอก
ท่านอนคว่ำ บริเวณที่เกิดคือ ใบหูและแก้มหน้าอกและใต้ราวนม หน้าท้อง หัวไหล่ สันกระดูกตะโพก หัวเข่าปลายเท้า
ท่านอนหงาย บริเวณที่เกิดคือ ท้ายทอย ใบหูหลังส่วนบน ก้นกบ ข้อศอก ส้นเท้า
การป้องกันการเกิดแผลกดทับ
กํารประเมินความเสี่ยงตามแบบประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ
การรับความรู้สึกหมายถึง สามารถรับรู้ถึงเรื่องการเกิดแผลกดทับและความไม่สุขสบาย
เกณฑ์การให้คะแนน
สูญเสียมาก
รับรู้เฉพาะกระตุ้นให้เจ็บ และพูดไม่ได้ รับรู้เจ็บปวดหรือความไม่สุขสบายเพียง 1/2ส่วนร่างกาย
สูญเสียเล็กน้อย
ทำตามคำสั่งได้ แต่ไม่สามารถสื่อสารเรื่องความไม่สุขสบายหรือพลิกตะแคงตัว การตอบสนองต่อความเจ็บปวดหรือไม่สุขสบายของแขนหรือขาข้างใดหรือสองข้าง
สูญเสียสมบูรณ์
ไม่รับรู้ต่อความรู้สึกใด ๆ ทั่วร่างกาย หรือความเจ็บปวด
ไม่สูญเสีย
ทำตามคำสั่งได้ สามารถบอกถึงความเจ็บปวดและความไม่สุขสบายได้
ความชื้น หมายถึงระดับความเปียกชื้นของผิวหนัง
เกณฑ์การให้คะแนน
เปียกบ่อย
ผิวหนังเปียกชื้นบ้างแต่ไม่ตลอดเวลาได้รับการเปลี่ยนผ้าปูอย่างน้อยเวรละครั้ง
เปียกบางครั้ง
ผิวหนังเปียกชื้นบ้าง และได้รับกํารเปลี่ยนผ้าปูเปียกแฉะตามความเหมาะสม
เปียกตลอด
ผิวหนังเปียกแฉะด้วยเหงื่อ,ปัสสาวะตลอดเวลําไม่สามารถพลิกตะแคงได้
ไม่ค่อยเปียก
ผิวหนังส่วนใหญ่แห้งการเปลี่ยนผ้าปูตามงานประจำของหอผู้ป่วย
การทำกิจกรรมหมายถึง ระดับความสามารถในการทำกิจกรรมประจำวัน
เกณฑ์การให้คะแนน
นั่งเก้าอี้
เดินได้บ้างแต่ลำบาก หรือไม่สามารถลงน้ำหนักได้ต้องใช้เก้าอี้หรือรถเข็น
เดินบางครั้ง
เดินได้บ้างแต่ระยะสั้น ๆ ด้วยตนเองหรือมีผู้ช่วยเหลือ ลุกจากเตียงมานั่งเก้าอี้เวรละครั้ง
นอนบนเตียง
นอนบนเตียงตลอดเวลา
เดินบ่อย
เดินออกนอกห้องวันละ 2 ครั้ง
สภาพอันเคลื่อนที่ได้หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนท่าทางและการควบคุมร่างกาย
เกณฑ์การให้คะแนน
พอขยับได้บ้าง
สามารถขยับร่างกายได้เล็กน้อยแต่ต้องมีผู้ช่วยเหลือ
ขยับได้ดี
สามารถขยับร่างกายได้ดีขึ้นบ้างต้องอาศัยผู้ช่วยเหลือบ้าง
นอนนิ่ง
ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ถ้าไม่มีผู้ช่วยเหลือ
เคลื่อนไหวดี
สามารถขยับร่างกายได้ดีด้วยตนเอง
ภาวะโภชนาการหมายถึง แบบแผนการรับประทานอาหาร
เกณฑ์การให้คะแนน
พอใช้
ได้รับอาหารเหลว
ได้อาหารโปรตีนอย่างน้อย 3 ส่วน
ได้อาหารทางสายยาง
ดีพอใช้
ได้อาหารทางสายยาง
ได้อาหารโปรตีนอย่างน้อย 4 ส่วน
-ได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำ
แย่มาก
NPO
ได้อาหารเหลวใส
ได้โปรตีน 2 ส่วน
ให้ IV กว่า 5 วัน
ทานอาหารเองไม่ได้
ดีมาก
รับประทานอาหารได้ทุกมื้อ
ได้อาหารโปรตีนอย่างน้อย 4 ส่วน หรือมากกว่า
การเสียดสีพื้นผิว หมายถึง การเสียดสีการสัมผัสกับที่นอน
เกณฑ์การให้คะแนน
เสี่ยงเกิดปัญหา
พลิกตะแคงตัวได้ต้องการผู้ช่วยเหลือ
ไม่มีปัญหา
ช่วยเหลือตนเองลุกออกจากเตียงได้
มีปัญหา
ต้องการผู้ช่วยเหลือทั้งหมด
การแปลผล
13 หรือ 14 คะแนน มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ระดับปานกลาง
12 คะแนนหรือน้อยกว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ระดับสูง
15 หรือ 16 คะแนน มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ระดับต่ำ
2.การเฝ้ําระวังความเสี่ยงและควรการประเมินซ้ำเมื่อมีปัจจัยเสี่ยง
2.4 ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้
2.5 ผู้ป่วยที่มีไข้สูงมีเหงื่อออกมําก
2.3ผู้ป่วยที่ได้รับยาแก้ปวด ยาระงับชัก ยา steroid
2.6 ผู้ป่วยที่ระดับความรู้สึกตัวลดลง
2.2 มีการผ่าตัดที่นานกว่า 3 ชั่วโมง
2.7 ผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องทางโภชนาการ
2.1 การใส่อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เป็นเหตุให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวลดลง
ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับและเพิ่มปัจจัยเสริมการหายของแผล
3.1ให้การดูแลช่วยเหลือและคำแนะนำทั่วไป
3.1.4 การใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยลดแรงกดและแรงเสียดทานที่จะกระทำต่อผิวหนังเช่นalpha bed, mini water bed, pillow gap
3.1.5 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยให้ใช้วิธียกแทนการดึง/ลาก หรืออาจใช้อุปกรณ์ที่มีแรงเสียดทานต่ำ
3.1.3 การกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายหรือให้มีกิจกรรม หรือในรายที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ควรช่วยเหลือในการจัดท่าให้ผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง โดยจัดท่านอนตะแคงให้สะโพกเอียงทำมุม 30 องศา
3.1.6 การให้หม้อนอนแก่ผู้ป่วยควรสอดในขณะที่ผู้ป่วยยกก้นลอย
3.1.2 การประเมินผิวหนังและการดูแลความสะอาด โดยการประเมินผิวหนังบริเวณปุ่มกระดูกทุกวันหรือทุกครั้งเมื่อพลิกตัว ดูแลให้ผิวหนังแห้ง และสะอาดอยู่เสมอ
3.1.7 ดูแลผ้าปูที่นอนให้สะอาด แห้ง และเรียบตึงเสมอ เพื่อลดความเปียกชื้น และลดแรงเสียดทาน
3.1.1 การดูแลแรกรับ โดยการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยแรกรับทุกราย
3.1.8 จัดเสื้อผ้าให้เรียบ หลีกเลี่ยงการนอนทับตะเข็บเสื้อและปมผูกต่างๆ เพื่อลดแรงกดเฉพาะที่บนผิวหนัง
3.2 การดูแลและคำแนะนำเรื่องอาหารและโภชนาการ
3.3 การดูแลและคำแนะนำเรื่องยาที่ใช้ในการรักษา
3.4 การดูแลและคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้อุปกรณ์
3.4.2 กรณีคาท่อระบายทรวงอก กระตุ้นให้ผู้ป่วยขยับตัว ยกตัว หรือช่วยเหลือในการเปลี่ยนท่านอนในรายที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ทุก 2 ชั่วโมง เพื่อเปลี่ยนถ่ายจุดลงน้ำหนักของร่างกาย และลดแรงกดต่อผิวหนังเฉพาะที่
3.4.3 กรณีใช้กายอุปกรณ์ ดูแลการใส่กายอุปกรณ์ให้พอดีกับร่างกายผู้ป่วย สวมเสื้อก่อนใส่กายอุปกรณ์
3.4.1 กรณีใส่เครื่องช่วยหายใจ ท่อสายยางให้อาหาร ควรเลือกสายยางชนิดอ่อน มีความยืดหยุ่นดี และเปลี่ยนตำแหน่งติดพลาสเตอร์ทุกวัน เพื่อลดแรงกดบนผิวหนังในตำแหน่งเดิมเป็นเวลานาน
3.4.4 กรณีใส่เฝือก ให้ตรวจสภาพผิวหนังก่อนใส่เฝือก ดูแลแต่งขอบเฝือกให้เรียบ และภายหลังการใส่เฝือกบริเวณแขน และขา ให้ยกอวัยวะที่ใส่เฝือกให้สูงเหนือระดับหัวใจเพื่อลดอาการบวม
3.4.5 กรณีใส่เครื่องดึงถ่วงผิวหนัง (skin traction) ควรประเมินสภาพผิวหนังอย่างสม่ำเสมอ ตรวจดู elastic bandage ที่พันให้แน่นพอดี ไม่ให้รัดแน่นเกินไป และสอนผู้ป่วยในการบริหํารเพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิตบริเวณผิวหนังให้ดีขึ้น
3.4.6 กรณีใส่เครื่องดึงถ่วงกระดูกที่ขา (skeletal traction) ให้ใช้ผ้านุ่มรองบริเวณต้นขา ขาหนีบ ก้น ที่อาจกดกับเครื่องดึงถ่วง รวมทั้งตรวจสอบอวัยวะที่ได้รับการดึงถ่วงให้อยู่ในท่าที่เหมําะสมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้ส่วนใดส่วนหนึ่งถูกกดทับ
3.4.7กรณีใส่ Head halter traction ควรใช้ผ้ารองคางไว้เพื่อลดแรงกดจากเครื่องดึงถ่วงต่อผิวหนัง
3.4.8 กรณีใส่ Gardner Well Tongs traction ควรดูแลหมุนน็อตให้แน่น ป้องกันการเลื่อนของ tractionไปกดทับผิวหนังที่ศีรษะด้านใดด้านหนึ่ง
3.5 กํารดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหํากํารขับถ่ํายปัสสําวะหรืออุจจําระ
3.5.3 ทำความสะอาดผิวหนังที่เปื้อนปัสสาวะหรืออุจจาระทันทีด้วยน้ำหรือใช้น้ำสบู่อ่อนๆทำความสะอาด หลีกเลี่ยงใช้สบู่หรือโลชั่นให้ความชุ่มชื้นที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
3.5.4 ตรวจสภาพผิวหนังบริเวณสะโพกและส่วนล่างอย่างน้อยเวรละครั้ง หรือแนะนำให้ประเมินด้วยตนเองโดยใช้กระจกดูลักษณะ สี ของผิวหนัง รวมทั้งคลำดูอาการผิดปกติ
3.5.2 สวมใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่ซึมซับได้เร็วและเปลี่ยนทุกครั้งที่ขับถ่าย
3.5.5 ใช้ครีมหรือโลชั่นทาบริเวณผิวหนังเพื่อช่วยเคลือบผิวหนังจากความเปียกชื้นที่ต้องสัมผัสกับปัสสาวะหรืออุจจาระตลอดเวลา
3.5.1 ประเมินสาเหตุของปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ
6.6 กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผล
สถานการณ์ตัวอย่าง
ผู้ป่วยหญิงไทย คู่อายุ 44 ปี แพทย์วินิจฉัยเป็นโรคแผลกระเพาะอาหารทะลุ (Peptic ulcer perforate) S/P Explore lab to Simple closer เป็นวันที่ 2on IV fluid for antibiotic จากสถานการณ์ข้างต้นจงประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลในการให้การพยาบาลแบบองค์รวมสำหรับผู้ป่วยรายนี้
การประเมินภาวะสุขภาพ
S : “รู้สึกปวดแผลหน้าท้อง”
O : หญิงไทยคู่ อายุ 44ปี Peptic ulcer perforate S/P Explore lab to Simple closer, 2nd day.PE finding: surgical wound, mid line at abdomen, sutures with silk 2/0, 15 stitches length. no discharge, 1 ̊stage of wound healing
การประเมินภาวะสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจ
ประเมินระดับคะแนนความเจ็บปวด
ประเมินความวิตกกังวลจากการผ่าตัดและพยาธิสภาพของโรค
กํารประเมินสภาพร่างกายและจิตใจ ความรุนแรงของโรค
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดเนื่องจากเป็นประเภทแผลผ่าตัดปนเปื้อน
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมการหายของแผลให้เป็นไปตํามกระบวนการหายของแผลผ่าตัด
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่มีอาการที่แสดงว่ามีการติดเชื้อและอุณหภูมิร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ผู้ป่วยปลอดภัยตามหลักความปลอดภัย SIMPLE ของ patient safety goals
การหายของแผลเป็นไปตามกระบวนการหายของแผล
การปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวม
4.1 ด้านร่างกาย
1) ประเมินประเภทแผลผ่าตัดและขั้นตอนการหายของแผล
2) ทำแผล dry dressingOD ด้วยวิธี aseptic technique
3) แนะนำและกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง
4) กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้รับน้ำอย่างน้อยวันละ 2,000 มิลิลิตร
5)แนะนำไม่ให้แผลเปียกน้ำ
6) ช่วยทำความสะอาดร่างกายบางส่วนเท่าที่จำเป็น
7)จัดสิ่งแวดล้อมสถานที่ให้สะอาด
8)จัดท่านอนศีรษะสูงเพื่อช่วยลดอาการตึงของกล้ามเนื้อหน้าท้องบรรเทําอาการปวดแผลและส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วย
9)ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตํามแผนการรักษาและติดตามอาการแพ้ยาที่อาจเกิดได้
10)ติดตามอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้
11) ลงบันทึกทางการพยาบาล
4.2 ด้านจิตใจ
2) การพยาบาลแบบเอื้ออาทร
3) การพยาบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
1) การพยาบาลแบบองค์รวม
4) การพยาบาลด้วยน้ำใจไมล์ที่สอง
4.3 ด้านสังคม
ในขณะที่นอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ความไม่คุ้นเคยกับคนแปลกที่ต้องมาให้ การดูแล ความไม่คุ้นชินกับสถานที่ที่ต่างไปจากการใช้ชีวิตอยู่ที่บ้าน อาจไม่ได้ความสะดวกสบายอย่างที่ต้องการ การสร้างสัมพันธภาพ เป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ควรจะได้รับการต้องรับจากบุคลากร ทางการแพทย์ของทีมสุขภาพ ผู้ป่วยและญาติของผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลเตียงใกล้เคียง อย่างไร ก็ตามบนฐานของความต้องการของมนุษย์ 8 ขั้นของมาสโลว์ นำมาประยุกต์ใช้ได้ นอกจากการนี้ในการปฏิบัติการพยาบาลใด ๆ ก็ตาม ผู้ให้การพยาบาลสามารถถ่ายทอดความรู้สึกจากน้ำมือ น้ำคำ และน้ำใจ สู่ความรู้สึกที่ผู้ใช้บริการรับรู้สึกได้ แสดงว่าผู้ใช้บริการผู้นั้นมีความเข้าใจถึงสังคมแห่งความเจ็บป่วยที่ผู้ใช้บริการกำลังเผชิญอยู่และแสดงบทบาทในการตอบสนองความต้องการด้านจิตวิญญาณได้อย่างแท้จริง
4.4 ด้านจิตวิญญาณ
2) แนะนำให้สวดมนต์ทำสมาธิก่อนนอน
3) แนะนำให้ทำใจปล่อยวางกับความเจ็บป่วยที่เป็นสัจธรรมและทุกขเวทนา
1) ขณะนอนพักบนเตียงให้ฟังเพลงหรืออ่านหนังสืออ่านเล่นหรือหนังสือธรรมะ
การประเมินผล (Evaluation)
การประเมินผลการพยาบาลเป็นการประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
1.2ประเมินอาการแทรกซ้อนและปลอดภัยตํามหลัก SIMPLE
1.3ประเมินสัญญาณชีพ
1.1ประเมินการหายของแผลผ่าตัดเป็นไปตาม stage of wound healing
1.4ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วย
1.5ประเมินความพึงพอใจด้านจิตใจและจิตวิญญาณ
1.6 ประเมินความพึงพอใจและประทับใจในการบริการพยาบาล
การประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล
2.2 ประเมินการจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ครบถ้วนเพียงพอหรือไม่
2.1 ประเมินการปฏิบัติการพยาบาลตามแผนที่วางไว้
การประเมินผลคุณภาพการบริการ เป็นการประเมินคุณภาพของผลการปฏิบัติงาน เพื่อนำมาปรับปรุงการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป
กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ
สถานการณ์ตัวอย่างผู้ป่วยชายไทยอายุ 39 ปี ประสบอุบัติเหตุได้รับการผ่าตัดดามเหล็ก ทำให้เป็นอัมพาตท่อนล่าง จากสถานการณ์ข้างต้นประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลในการให้การพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยรายนี้
การประเมินภาวะสุขภาพ
การประเมินความสามารถของผู้ป่วย
1.2 ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง
1.3 ประเมินการขับถ่าย
1.1 ความสามารถในการเคลื่อนไหว
ประเมินควํามเสี่ยงโดยใช้แบบประเมินควํามเสี่ยง
2.2ผู้ป่วยที่มีปัญหาพร่องความสามารถในการเคลื่อนไหว ประเมินความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับภายใน2 ชั่วโมงหลังแรกรับใหม่
2.3 ประเมินความเสี่ยงสม่ำเสมอทุก ๆ 72 ชั่วโมง หรือเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลง เช่น ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงเลวลง ผู้ป่วยหลังผ่าตัด มีไข้สูง
2.1แบบประเมิน Braden Scale
ประเมินผิวหนังและความสะอาด
3.2 ทำความสะอาดบริเวณผิวหนังอย่างสม่ำเสมอด้วยน้ำสะอาด หรือผลิตภัณฑ์อาบน้ำชนิดด่างอ่อน เพื่อป้องกันการระคายเคืองต่อผิวหนัง และป้องกันผิวหนังแห้ง
3.3 ลดปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ผิวหนังแห้ง เมื่ออากาศเย็นมากเกินไป ใช้ครีมหรือน้ำมันมะกอกทาผิวหนัง
3.1 ประเมินลักษณะผิวหนังผู้ป่วยแต่ละรายอย่างเป็นระบบอย่างละเอียด ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า เน้นบริเวณปุ่มกระดูก อย่างน้อยเวรละครั้ง
3.4 จัดการความเปียกชื้นจากการถ่ายปัสสาวะอุจจาระ หรือสารคัดหลั่งจํากแผล
3.5 ใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปในรายที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ด้วยตนเอง
3.6ห้ามนวดบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ
ประเมินภาวะโภชนาการ
4.2 ประเมินสารอาหารที่ได้รับพอต่อความต้องการใน 1 วันหรือไม่
4.3 รายที่รับอาหารได้น้อยมากต้องรายงานแพทย์เพื่อให้อาหารทางสายยาง
4.1 ประเมินค่าดัชนีมวลกาย แปลผลภาวะโภชนากร
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
“เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับบริเวณก้นกบเนื่องจากขยับตัวเองไม่ได้”
“เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ เนื่องจากมีภาวะทุพโภชนการต่ำระดับ 2”
การวางแผนให้การพยาบาล
4.การให้การพยาบาลตามแผนการพยาบาลที่วางไว้
4.1กํารจัดท่าทาง
4.1.3จัดท่านอนศีรษะสูง 30 องศา ยกเว้นรายที่มีข้อจำกัดอาจเป็นอันตราย
4.1.4 ใช้แผ่นสไลด์ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทุกครั้ง
4.1.2ใช้หมอนเล็กรองตรงปุ่มประดูกที่สัมผัสกับที่นอนโดยตรง เพื่อลดแรงกด
4.1.1 ผู้ป่วยที่นอนบนเตียงนาน ๆ จัดตารางการพลิกตัวทุก ๆ 2 ชั่วโมง
4.2 การใช้อุปกรณ์กดแรงกด
4.2.3 ผู้ป่วยที่นั่งรถเข็นควรใช้หมอนเล็ก ๆ รองบริเวณก้นกบ
4.2.4 หลีกเลี่ยงการนั่งในท่าเดียวนานเกิน 15 นาที และไม่นั่งนานเกิน 1 ชั่วโมง ไม่ใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นหว่งกลม
4.2.2ผู้ป่วยที่มีความพร่องความสามารถในการเคลื่อนไหว ให้ระมัดระวังปุ่มกระดูกที่ส้นเท้า จัดหาอุปกรณ์มารองรับเพื่อลดแรงกด
4.2.5ไม่ใช้ถุงมือใส่น้ำรองบริเวณปุ่มกระดูกเพื่อลดแรงกด
4.2.1 ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับใช้ที่นอนลม
4.3 การจัดโปรแกรมการให้ความรู้
4.3.1 จัดอบรมเพื่อให้ความรู้แก่บุคลากรทีมผู้ให้การดูแล
4.3.2 จัดทำแผนการสอน จัดบอร์ดให้ความรู้ เรื่องแผลกดทับ,การป้องกัน,การรักษา,การพยาบาลแนวใหม่,การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย
การประเมินผลการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
“เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับบริเวณก้นกบเพราะขยับตัวเองไม่ได้” ข้อมูลสนับสนุน ประเมินควํามเสี่ยง Braden scaleได้เท่ากับ 12 คะแนน
เกณฑ์การประเมินผล
บริเวณก้นกบของผู้ป่วยไม่เกิดแผลกดทับ Braden scaleสูงขึ้นกว่า 12 คะแนน
การประเมินผล
ผิวหนังบริเวณก้นกบของผู้ป่วยแห้ง ไม่อับชื้น Braden scaleเท่ากับ 15 คะแนน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
“เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ เนื่องจากมีภาวะทุพโภชนการต่ำระดับ 2” ข้อมูลสนับสนุน ประเมินค่าดัชนีมวลกาย ได้เท่ากับ 17 ก.ก/ม 2
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการดีขึ้นหรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น
การประเมินผล
ผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการดีขึ้นจากภาวะทุพโภชนการต่ำระดับ 2เลื่อนขึ้นมาเป็นภาวะทุพโภชนการต่ำระดับ 1 และวางแผนให้การช่วยเหลือต่อเนื่องจนผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการดี