Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ(Urinary system Infection during pregnancy) -…
การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ(Urinary system Infection during pregnancy)
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้คําแนะนําเกี่ยวกับการดําเนินของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับสตรีตั้งครรภ์และทารก
เน้นความสําคัญของการมาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างต่อเนื่องและสม่ําเสมอ
แนะนําการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรือป้องกันการกลับเป็นซ้ํา
กรณีที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและได้รับการรักษา ติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรค รวมทั้งสังเกตอาการผิดปกติ
กรณีที่ต้องรับเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ให้การพยาบาลดังนี้
ดูแลให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ แนะนําให้นอนตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกกดทับท่อไต
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินการติดเชื้อในร่างกาย
ประเมินเสียงหัวใจของทารกและการดิ้นของทารก
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าในถึงความจําเป็นในการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
สังเกตและบันทึกปริมาณสารน้ําเข้าและออกจากร่างกาย และติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินการทํางานของไต
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา เช่น ยาปฏิชีวนะยาลดไข้ ยากลุ่มสเตียรอยด์
ให้การพยาบาลเพื่อบรรเทาความไม่สุขสบาย
ดูแลประคับประคองจิตใจ ในรายที่มีอาการรุนแรง
ระยะคลอด
ให้การพยาบาลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป
เน้นเรื่องการทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทุกครั้งหลังการขับถ่าย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
การสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ และในกรณีที่คลอดก่อนกําหนดเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยเหลือทารกแรกเกิดให้พร้อม
ระยะหลังคลอด
การป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และการป้องกันการกลับเป็นซ้ํา
ให้คําแนะนําเช่นเดียวกับคําแนะนําเพื่อป้องกันการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ โดยเน้นการคุมกําเนิด ในรายที่มีบุตรเพียงพอแล้วหรือเป็นโรคไตติดเรื้อรังควรคุมกําเนิดแบบถาวร
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ Escherichia Coli (E. Coli) ที่อยู่รอบท่อปัสสาวะ
ปัจจัยส่งเสริม คือ การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนขณะตั้งครรภ์
ขณะตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะดังนี้
มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ภายในกรวยไตจนถึงท่อไต โดยจะมีขนาดใหญ่ขึ้นมากโดยเฉพาะด้านขวา
ทําให้มีการคั่งของน้ําปัสสาวะในไต ท่อไต ค้างอยู่นาน เป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ
มีการย้อนกลับของเชื้อเข้าสู่ไต ทําให้เกิดภาวะ pyelonephritis ตามมา
มีการเปลี่ยนแปลงทางหน้าที่ของไต
มีระบบการหมุนเวียนของเลือดเพิ่มจึ้นประมาณร้อยละ 70-85 ทําให้ไตต้องปรับตัว และเพิ่มหน้าที่การกรองของไตขึ้นประมาณร้อยล45
ทําให้ระดับ creatinine และ BUN ในเลือดลดต่ําลง
ส่วนหน้าที่ของ tubule ในการดูดซึมกลับของโซเดียม กรดอมิโนส่วนใหญ่ วิตามินชนิดที่ละลายน้ําได้ และกลูโคสสูงขึ้น
ทําให้ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะได้ ค่าปกติของโปรตีนในปัสสาวะคือ 150 มิลลิกรัมใน 24 ชั่วโมง
หากตรวจพบว่าค่าของโปรตีนในปัสสาวะมีมากกว่า 300 มิลลิกรัมใน 24 ชั่วโมง ถือว่าผิดปกติ
อาการและอาการแสดง
ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Lower UTI)
ปัสสาวะบ่อย
ปัสสาวะแสบขัด กระปิดกระปรอย
กลั้นปัสสาวะไม่ได้
บางรายอาจพบปัสสาวะเป็นเลือดหรือสีน้ําล้างเนื้อ
ปวดบริเวณหัวหน่าว
เช่น ท่อปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน (Upper UTI)
ได้แก่ กรวยไตอักเสบ
พบปัสสาวะเป็นสีขุ่น หรือสีน้ําล้างเนื้อ
เจ็บบริเวณชายโครงปวดหลังบริเวณตําแหน่งของไต
มีไข้ หนาวสั่น
คลื่นไส้อาเจียน
และหากไม่ได้รับการรักษาอาจช็อกและเสียชีวิต
หากอาการรุนแรงอาจมีอาการของการติดเชื้อในกระแสเลือด
ชนิดของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและระบบขับถ่ายปัสสาวะ
1.การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะแต่ไม่แสดงอาการ (Asymptomatic bacteriuria: ASB)
ตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะมากกว่า 105 colony forming unit/ml (cfu/ml) จากการเก็บปัสสาวะอย่างสะอาด 2 ครั้งติดต่อกัน โดยไม่มีอาการแสดงของการติดเชื้อ
ไม่จําเป็นต้องได้รับการรักษา แต่หากพบในขณะตั้งครรภ์ จําเป็นต้องได้รับการรรักษาเนื่องจากขณะตั้งครรภ์จะมีการยืดขยายของทางเดินปัสสาวะ เชื้อโรคอาจแพร่กระจายไปยังกรวยไตทําให้เกิดกรวยไตอักเสบได้
ไม่ได้กรับการรักษาจะพัฒนาเป็น กรวยไตอักเสบ (pyelonephritis)
2.การติดเชื้อเฉียบพลันที่กระเพาะปัสสาวะ (Acute cystitis)
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะร่วมกับมีอาการเจ็บปวดขณะถ่ายปัสสาวะ
ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะจนต้องรีบปัสสาะ (urgency) ปัสสาวะมีสีขุ่นหรือสีแดง มีไข้สูง อ่อนเพลีย และปวดบริเวณท้องน้อย
3.การติดเชื้อเฉียบพลันที่กรวยไต (Acute pyelonephritis)
ตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะ มากกว่า 105 cfu/ml ร่วมกับปัสสาวะเป็นหนอง มีไข้ หนาวสั่น และปวดบริเวณบั้นเอว
4.กลุ่มอาการโรคไตรั่ว หรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ(Nephrotic syndrome)
พบโปรตีนในปัสสาวะมากประมาณ 5 กรัมต่อวัน โปรตีนในเลือดต่ํา ไขมันในเลือดสูง และมีอาการบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ มีผลต่อการตั้งครรภ์คือทําให้ทารกในครรภ์น้ําหนักน้อย หรือคลอดก่อนกําหนด
ภาวะไตวาย (renal failure)
ไตวายเรื้อรัง (chronic renal failure)
ไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure)
พยาธิสรีรวิทยา
การติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณปากช่องคลอดหรือทวารหนักใกล้ท่อปัสสาวะ ย้อนกลับขึ้นไป (ascending infection) ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทํางานของ ระบบทางเดินปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ จากผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) และการขยายตัวของขนาดมดลูก เป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดิน ปัสสาวะได้
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
สตรีตั้งครรภ์
เกิดการแท้ง
การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด
รายที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดอาจเกิด septic shock
ทารก
ทารกคลอดก่อนกําหนด
ทารกน้ำหนักตัวน้อย
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ทารกตายคลอด
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ
ซักประวัติเกี่ยวกับ
การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ หรือการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์
ซักประวัติอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์
การตรวจร่างกาย
ตรวจพบปัสสาวะขุ่น หรือพบปัสสาวะเป็นสีน้ําล้างเนื้อ
มีไข้
ปวดบริเวณท้องน้อยเหนือหัวหน่าว
หากกดบริเวณcostovertebral angle จะปวดมาก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจ urine analysis จะพบไข่ขาว เม็ดเลือดขยาย
ตรวจ urine culture จะพบเชื้อแบคทีเรียมากกว่า 105 dfu/ml