Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผล - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผล
ชนิดของแผลและปัจจัยการส่งเสริมการหายของแผล
ชนิดของแผล (Type of wound)
แบ่งตามสาเหตุ
แบ่งตามลักษณะ
แบ่งตามลําดับความสะอาด
แบ่งตามระยะเวลาการเกิด
แบ่งตามการรักษา
ชนิดของแผลแบ่งตามสาเหตุ
แผลที่เกิดจากการผ่าตัด เรียก surgical wound , sterile wound หรือ incision wound
แผลที่เกิดจากถูกของมีคมตัด เรียก cut wound เช่น แผลจากโดนมีดฟัน หรือ ถูกเศษแก้วบําด
แผลที่เกิดจากถูกของมีคมทิ่มแทง เรียก stab wound หรือ peneturating wound เช่น แผลถูกแทงด้วยมีด หรือแผลจากการเหยียบตะปู
แผลที่เกิดจากโดนระเบิด เรียก explosive wound
แผลที่เกิดจากถูกบดขยี้เรียก crush wound เช่นแผลถูกเครื่องบดนิ้วมือ
แผลที่เกิดจากการกระแทกด้วยวัตถุลักษณะมนเรียก traumatic wound
แผลที่เกิดจากถูกยิง เรียก gunshot wound
แผลที่มีขอบแผลขาดกะรุ่งกะริ่ง เรียก lacerated wound
แผลที่เกิดจากการถูไถลถลอก เรียก abrasion wound
แผลที่เกิดจํากการตัดอวัยวะบางส่วน เรียก stump wound
แผลที่เกิดจํากกํารกดทับ เรียก pressure sore, bedsore, decubitus ulcer, pressure injury
แผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมี
จากไฟไหม้ น้ําร้อนลวก (burn and scald)
จากสารเคมีที่เป็นด่าง (alkaline burn)
จากสารเคมีที่เป็นกรด (acid burn)
จากถูกความเย็นจัด (frost bite)
จากไฟฟ้าช็อต (electrical burn)
จากรังสี (radiation burn)
แผลที่เกิดจากการปลูกผิวหนัง (skin graft)
ชนิดของแผลแบ่งตามลักษณะพื้นผิว
แผลลักษณะแห้ง(dry wound)
ลักษณะของแผลมีขอบแผลติดกัน
แผลลักษณะเปียกชุ่ม (wet wound)
ลักษณะของขอบแผลไม่ ติดกัน
ชนิดของแผลแบ่งตามลำดับความสะอาด
Class I: Clean wound ประเภทที่ 1 แผลผ่าตัดสะอาด
เป็นแผลที่ไม่มีการติดเชื้อ, ไม่มีการอักเสบมาก่อน
การผ่าตัดไม่ผ่านระบบทางเดิน หายใจ ระบบทางเดินอาหาร, อวัยวะสืบพันธุ์, ท่อปัสสาวะ, blunt trauma ที่ไม่มีการแทงทะลุหรือ ฉีกขาด เป็นแผลผ่าตัดชนิดปิด ถ้ามีท่อระบายต้องเป็นชนิดระบบปิด (closed drainage)
TKR (Total knee replacement), Mastectomy, Thyroidectomy
อัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ≤ 2%
Class II: Clean-contaminated ประเภทที่ 2 แผลสะอาดกึ่งปนเปื้อน
ลักษณะแผลที่มีการผ่าตัดผ่านระบบทางเดินหายใจ, ระบบทางเดินอาหาร, ระบบทางเดิน ปัสสาวะ
เป็นการผ่าตัดที่เกี่ยวกับท่อน้ําดี, อวัยวะสืบพันธุ์ และช่อง oropharynx ที่ควบคุมการเกิด ปนเปื้อนได้ขณะทําผ่าตัด
Tracheostomy, Tonsillectomy, Gastrectomy, Kidney transplantation , Cholecystectomy, Appendectomy (normal appendix), A-P repair, Circumcision, TAH (Total abdominal hysterectomy)
อัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อ 5-15 %
Class III: Contaminated ประเภทที่ 3 แผลปนเปื้อน
ลักษณะแผลเปิด (open wound)
แผลสด (fresh wound)
แผลจากการได้รับอุบัติเหตุแผลที่เกิด การปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินอาหาร เป็นแผลที่มีการอักเสบเฉียบพลัน
แผลถูกแทง (stabbed wound) แผลถูกยิง (gunshot wound)
อัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ≥15%
Class IV: Dirty/Infected ประเภทที่ 4 แผลสกปรก/แผลติดเชื้อ
ลักษณะแผลเก่า (old traumatic wound) แผลมีเนื้อตาย (gangrene) แผลมีการติดเชื้อ มาก่อน แผลกระดูกหักเกิน 6 ชั่วโมง
แผลไส้ติ่งแตก (Ruptured appendicitis) เยื่อหุ้มช่อง ท้องอักเสบ (Peritonitis)
อัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ≥30%
ชนิดของบาดแผลแบ่งตามระยะเวลาการเกิด
แผลที่เกิดเฉียบพลัน (acute wound)
การเกิดแผล และรักษาให้หายใน ระยะเวลาอันสั้น
การหายของแผลเป็นไปตามขั้นตอนการหายของบาดแผล
แผลจากการผ่าตัด
แผลเรื้อรัง (chronic wound)
แผลที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน และรักษา ยาก หรือรักษาเป็นเวลานาน อาจมีอาการแทรกซ้อนตามมาภายหลัง
แผลเบาหวาน
แผลเนื้อตาย (gangrene wound)
แผลที่เกิดจากการขาดเลี้ยงไปเลี้ยง หรือเลือดมาเลี้ยงไม่เพียงพอ สาเหตุจากหลอดเลือดตีบแข็ง
แผลเบาหวานที่มีลักษณะสีดําและมี กลิ่นเหม็น
ชนิดของแผลแบ่งตามการรักษา
การรักษาผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกด้วยวิธีการจัดกระดูกให้อยู่นิ่ง (retention) ด้วยการดามกระดูกด้วยเหล็ก หรือแผ่นเหล็กและตะปูเกลียว (plate and screw) หรือการใช้เครื่องตรึงกระดูกภํายนอกร่างกาย (external fixator) จึงมีแผลท่ีรอยเจาะกระดูก และแผลที่ผิวหนัง
การรักษาแผลด้วยสุญญากาศ (Negative Pressure Wound Therapy: NPWT)
การรักษาแผลที่มีเนื้อตาย
แผลเรื้อรังโดยการปิดแผลสุญญากาศ
วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นและมีกลไกการทํางาน
ลดการบวมของแผลและเนื้อเยื่อใกล้เคียงทันทีที่เปิดเครื่องดูดสุญญากาศ
เพิ่มปริมาณเลือดมาสู่แผล ผลจากแรงระหว่างเนื้อเยื่อแผลกับแผ่นโฟมทําให้เลือดไหลมาสู่แผล
กระตุ้นการงอกใหม่ของเซลล์ แรงจากการยืด (mechanical stretching)
ลดแบคทีเรียในแผล
แผลท่อระบายเป็นแผลผ่าตัดซึ่งศัลยแพทย์เจาะผิวหนังเพื่อใส่ท่อระบายของเสีย จากการผ่าตัดเป็นท่อระบายระบบปิด ได้แก่ tube drain, Jackson’ Patt drain, redivac drain, hemovac drain, nephrostomy tube drain ส่วนท่อระบํายระบบเปิด ได้แก่ Penrose drain
แผลท่อหลอดคอ(tracheostomy tube)เป็นแผลท่อระบายที่ศัลยแพทย์ ทาการผ่าตัดเปิดหลอดลม เพื่อใส่ท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่มีปัญหาของระบบทางเดินหายใจ
แผลท่อระบายทรวงอก (chest drain) เป็นแผลท่อระบายที่ศัลยแพทย์ ทําการเจาะปอด เพื่อใส่ท่อระบายของเสียออกจากปอดในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของปอด เช่น ผู้ป่วย ที่มีภาวะเลือดออกในปอด (hemothorax) ผู้ป่วยที่มีภาวะลมรั่วในปอด (pneumothorax)
แผลทวารเทียมหน้าท้อง(colostomy) เป็นแผลท่อระบายที่ศัลยแพทย์ทําผ่าตัด เปิดลาไส้ใหญ่ออกทางหน้าท้อง เพื่อระบายอุจจาระในผู้ป่วยที่มีปัญหาของระบบทางเดินอาหาร
ปัจจัยที่มีผลต่อการหายของบาดแผล
ปัจจัยเฉพาะที่ (Local factors)
แรงกด (pressure)
การนอนในท่าเดียวนาน ๆ
เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เลือดไปเลี้ยงบาดแผลน้อยลงเกิดเป็นรอยแดง
ภาวะแวดล้อมแห้ง (dry environment)
การหายของแผลและมีความเจ็บปวด น้อยในภาวะแวดล้อมชุ่มชื้นหายเร็ว 3-5 เท่า ในภาวะแวดล้อมแห้งกว่า เพราะภาวะแวดล้อมแห้ง เซลล์ขาดน้ํา (dehydrate) เซลล์ตายเป็นสาเหตุทําให้เกิดสะเก็ด (scab) ปกคลุมแผลซึ่งขัดขวางการหายของแผล แต่ถ้าการทําความสะอาดแผลด้วยการเพิ่มความชุ่มชื้นให้จะช่วยให้ epidermal cell มีโอกาสเกิดงอกใหม่ได้
การได้รับอันตรายและอาการบวม (trauma and edema)
การได้รับอันตรายทําให้เนื้อเยื่อเกิดอาการบวม (edema) อาการบวมส่งผลกระทบต่อการขนส่งออกซิเจน และสารอาหารเข้าสู่แผลทําให้แผลหํายช้า
การติดเชื้อ (infection) ทําให้แผลหายช้า
ภาวะเนื้อตาย (necrosis)
slough
มีลักษณะเปียก (moist) สีเหลือง (yellow) เหนียว (stringy)
หลวมยืดหยุ่น (loose) ปกคลุมบาดแผล
eschar
มีลักษณะหนํา เหนียว (thick) คล้ํายหนังสัตว์มีสีดํา (black) ลักษณะเนื้อตํายนี้ต้องตัดออกก่อนกํารทําควํามสะอําดแผล จะทําให้แผลหํายได้ดีตํามลําดับ
ความไม่สุขสบาย (incontinence) การปัสสาวะและอุจจาระกะปิดกะปอยทําให้ผิวหนังเปียกแฉะทําให้แผลสกปรกตลอดเวลา เป็นปัญหาในการดูแลแผล
ปัจจัยระบบ (Systemic factors)
อายุ (age)
โรคเรื้อรัง (chronic disease)
น้ําในร่างกาย (body fluid)
การไหลเวียนของโลหิตบกพร่อง (vascular insufficiencies)
ภาวะกดภูมิคุ้มกันและรังสีรักษา (immunosuppression and radiation therapy)
ภาวะโภชนาการ (nutritional status)
ลักษณะและกระบวนการหายของแผล
ลักษณะการหายของแผล (Type of wound healing)
การหายของแผลแบบปฐมภูมิ(Primary intention healing)
เป็นแผลประเภทที่ผิวหนังมีการสูญเสียเนื้อเยื่อเพียงเล็กน้อย และเป็นแผลที่สะอาด
แผลผ่าตัด การรักษาโดย การเย็บดึงขอบแผลเข้าหากัน หรือแผลขนาดเล็กน้อยแล้วแผลสมานหายได้เองตามธรรมชาติ (natural healing)
การหายของแผลแบบทุติยภูมิ (Secondary intention healing)
เป็นแผลขนาดใหญ่ที่เนื้อเยื่อถูกทําลาย มีการสูญเสียเนื้อเยื่อบางส่วน ขอบแผลมีขนาดกว้างเย็บแผลไม่ได้ การรักษา โดยการทําแผลจนเกิดมีเนื้อเยื่อใหม่ (granulation tissue) มาปกคลุม ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานาน เนื่องจากแผลมีขนาดกว้าง จึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง
การหายของแผลแบบตติยภูมิ (Tertiary intention healing)
เป็นแผลชนิดเดียวกับ แผลทุติยภูมิ เมื่อทําการรักษาโดยการทําแผลจนมีเนื้อเยื่อเกิดใหม่ปกคลุมสีแดงสด และไม่มีอาการ การแสดงภาวะติดเชื้อแล้ว ศัลยแพทย์จะพิจารณาปลูกถ่ายผิวหนัง (skin graft) โดยนําผิวหนังของ ผู้ป่วยมาปะติดคลุมแผล
กระบวนการหายของแผล (Stage of wound healing)
ระยะ 1: ห้ามเลือดและอักเสบ (Hemostasis and Inflammatory phase)
การห้ามเลือด (hemostasis) จะเกิดขึ้นก่อน ในเวลา 5-10 นาที
เซลล์ที่มีความสําคัญของ
platelets
neutrophils
macrophages
ระยะ 2: การสร้างเนื้อเยื่อ (Proliferate phase)
การสร้างเนื้อเยื่อใหม่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 4-12 วัน
ระยะ 3: การเสริมความแข็งแรง (Remodeling phase)
ระยะสุดท้ายของการสร้าง และความสมบูรณ์ของคอลลาเจน ซึ่งfibroblast จะเปลี่ยนเป็น myofibroblast (เป็นเนื้อเยื่อลักษณะ เป็นกล้ามเนื้อ) ที่มีความแข็งแรงเพิ่มมากข้ึนกว่า fibroblast ความแข็งแรง ร้อยละ 20 ของผิวหนังปกติ ระยะนี้จะใช้เวลําหลังกํารผ่าตัด 20 วัน แล้วจะเพิ่มความแข็งแรงของผิวหนังเป็นปกติจะใช้เวลาอีก 60-180 วัน หรือ 2 ปี ระยะที่บาดแผลเริ่มมีความแข็งแรงมากขึ้น แผลเล็กลงและแข็งแรงมากขึ้น
การบันทึกลักษณะบาดแผล
มาตรการวัดของแผล
ความยาว (length)
ความกว้าง (width)
ความลึก (depth)
ช่องโพรง (tunneling)
สิ่งที่ควรระบุในการบันทึกบาดแผล
ชนิดของบาดแผล
แผลผ่าตัด (incision wound)
เย็บกี่เข็ม (stitches)
ตําแหน่ง/บริเวณ
ตําแหน่ง RLQ
ขนาด ควรระบุเป็นเซนติเมตร
สี
แดง (readiness)
เหลือง (yellow)
ดํา (black)
ปนกัน
ลักษณะผิวหนัง
ผื่น (rash)
เปียกแฉะ (Incontinence)
ตุ่มน้ําพองใส (bruises)
ขั้นหรือระยะความรุนแรงของบาดแผล
แผลกดทับขั้น 4 (4th stage)
สิ่งที่ปกคลุมบาดแผลหรือสารคัดหลั่ง (discharge)
หนอง (pus)
สารคัดหลั่ง เหนียวคลุมแผล (slough)
วิธีการเย็บแผลและวัสดุที่ใช้ในการเย็บแผล
วัตถุประสงค์ของการเย็บแผล
ห้ามเลือด
ดึงขอบแผลเข้าหากัน
ส่งเสริมการหายของแผล
ป้องกันมิให้เชื้อโรคเข้าไปในแผล
รักษาสภาพปกติของผิวหนัง
วิธีการเย็บแผล
Continuous method
วิธีการเย็บแผลแบบต่อเนื่องตลอดความยาวของแผลหรือ ความยาวของวัสดุเย็บแผล โดยไม่มีการตัดจนกว่าจะเสร็จส้ินการเย็บแผล
Interrupted method
วิธีการเย็บแผลที่ต้องตัดวัสดุเย็บแผลในทุกฝีเข็ม
Simple interrupted method
เป็นวิธีการเย็บแผลเพื่อดึงรั้งให้ขอบแผลทั้ง
สองติดกัน เหมาะสําหรับเย็บบาดแผลผิวหนังทั่วไป
Interrupted mattress method
เป็นวิธีการเย็บแผลโดยการตักเข็มเย็บที่ ขอบแผลสองครั้ง ใช้ในรายที่ต้องการความแข็งแรงของแผล เหมาะสําหรับเย็บแผลที่ลึกและยาว
Subcuticular method
เป็นการเย็บแผลแบบ continuous method แต่ใช้เข็มตรง ในการเย็บ และซ่อนวัสดุเย็บแผลไว้ในชั้นใต้ผิวหนัง เหมาะสําหรับการเย็บด้านศัลยกรรมตกแต่งเพื่อ ความสวยงาม เพราะวัสดุที่ใช้เย็บเป็นวัสดุชนิดละลายได้เองจึงมีโอกาสเกิดแผลเป็นได้น้อย เนื่องจาก ใช้ไหมละลายเป็นวัสดุในการเย็บแผลจึงไม่ต้องตัดไหมออกเมื่อครบกําหนด
Retention method (Tension method)
เป็นวิธีการเย็บรั้งแผลเข้าหากันเพื่อพยุงแผลในกรณีผู้ที่มีชั้นไขมันหน้าท้องหนา หรือแผลที่ตึงมาก และแผลท่ีต้องการทํา secondary suture วัสดุเย็บแผลท่ีนิยมใช้ คือ nylon, steel wire, linen และต้องหาวัสดุป้องกันเส้นวัสดุเย็บ แผลกดทับแผลโดยตรง เช่น ท่อยางหุ้มสายลวด หรือกระดุม
วัสดุท่ีใช้ในการเย็บแผล
วัสดุท่ีละลายได้เอง(Absorbablesutures)
เส้นใยธรรมชาติ
catgut
ทํามาจาก collagen ใน submucosa ของลําไส้ แกะหรือวัว ละลายได้เพราะกระตุ้นให้เกิด acute inflammation โดยรอบ เร่ิมยุ่ยสลาย 4-5 วัน และจะหมดไปภายใน 2 สัปดําห์
เส้นใยสังเคราะห์
polyglycolic acid (dexon), polyglycan (vicryl) และ polydioxanone (PDS)
ส่วน plain catgut ละลายได้เร็ว 5-10 วัน ใช้เย็บกล้ามเน้ือที่ไม่ลึกมาก ไม่ต้องใช้แรงในการดึงร้ังมาก เช่น บริเวณปาก ลําตัวท่ีแผลไม่ลึก ส่วน chromic catgut ละลายได้ช้า 10-20 วัน ไม่ค่อยระคายเคือง ใช้ในกํารเย็บกล้ามเน้ือท่ีต้องใช้ระยะเวลานานเพื่อท่ีจะทําให้แผลติด การเย็บแผลด้วยวิธีเย็บแผลแบบ subcuticular method นิยมใช้
dexon
วัสดุที่ไม่ละลายเอง(Non-absorbablesutures)
เส้นใยตามธรรมชาติ
ไหมเย็บแผล (silk)
ราคาถูก ผูกปมง่าย และไม่คลายง่าย
ไหมเย็บมีหลายขนาด ต้ังแต่ 0/0 มีขนาดเส้นไหมใหญ่แรงดึงร้ังมาก เหมาะสําหรับเย็บแผลบริเวณที่มี ผิวหนังหนา เช่น หนัง ศีรษะ เป็นต้น ขนาด 2/0 สําหรับเย็บบริเวณเท้า และขนาด 3/0 และ 4/0 สําหรับเย็บแขน ขา หรือลําตัว
เส้นใยสังเคราะห์
nylon
เส้นเหล่าน้ีมีความแข็งแรงมากกว่าไหมเย็บแผล แต่ผูกปมยากและคลายได้ง่าย ไม่มีปฏิกิริยากับเน้ือเยื่อมากแต่ผูกปมค่อนข้างลําบาก
วัสดุท่ีเย็บเป็นโลหะ
ลวดเย็บ (staples)
เป็นวัสดุเย็บแผลสําเร็จรูป แต่ต้องมี เครื่องมือสําหรับใส่ลวดเย็บ
วิธีการทำแผลชนิดต่างๆ และการตัดไหม
วัตถุประสงค์
ให้สภาวะที่ดีเหมาะแก่การงอกของเน้ือเยื่อ
ดูดซึมสารคัดหลั่ง
จํากัดการเคลื่อนไหวของแผลให้อยู่นิ่ง
ให้ความชุ่มชื้นกับพื้นผิวของแผลอยู่เสมอ
ป้องกันไม่ให้ผ้าปิดแผลติดและดึงรั้งเนื้อเยื่อท่ีงอกใหม่
ป้องกันแผลหรือเน้ือเยื่อที่เกิดใหม่จากสิ่งกระทบกระเทือน
ป้องกันแผลปนเปื้อนเชื้อโรคจากอุจจาระปัสสาวะสิ่งสกปรกอื่น ๆ
เป็นกํารห้ามเลือด
ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย
ชนิดของการทำแผล
การทำแผลแบบแห้ง (Dry dressing)
การทําแผลท่ีไม่ต้องใช้ ความชุ่มชื้นในการหายของแผล ใช้ทําแผลสะอาด แผลปิด แผลที่ไม่อักเสบเป็นแผลเล็กไม่มีสารคัดหลั่งมาก
การทำแผลแบบเปียก (Wet dressing)
การทําแผลท่ีต้องใช้ความ ชุ่มชื้นในการหายของแผล ใช้ทําแผลเปิด แผลอักเสบติดเชื้อ แผลท่ีมีสํารคัดหลั่งมาก ซึ่งการปิดแผล ขั้นแรกจะใช้วัสดุที่มีควํามชื้น เช่น gauze ชุบน้ําเกลือทําแผล (0.9% normal saline) ปิดไว้ แล้วปิดทับด้วย gauze แห้งบน gauze เปียกอีกคร้ัง
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำแผล
อุปกรณ์ทำความสะอาดแผล
ชุดทำแผล (dressing set)
สารละลาย (solution)
แอลกอฮอล์ ที่นิยมใช้ คือ alcohol 70%
น้ําเกลือล้างแผล (normal saline solution) 0.9% NSS external use
เบตาดีน หรือโปรวิโดน ไอโอดีน (betadine, providone-iodine solution)
วัสดุสำหรับปิดแผล
ผ้าก๊อซ (gauze dressing)
ผ้าก๊อซหุ้มสําลี (top dressing)
ผ้าซับเลือด (abdominal swab)
วายก๊อซ (y-gauze)
วาสลินก๊อซ (vaseline gauze)
ก๊อซเดรน (drain gauze)
transparent film พลาสเตอร์กันน้ําท่ีมี gauze สําเร็จรูป
แผ่นเทปผ้าปิดแผล
antibacterial gauze dressing เป็น gauze ปิดแผลชุบด้วยพาราฟิน และ ยาปฎิชีวนะ ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้
วัสดุสำหรับยึดติดผ้าปิดแผล
ทําแผลเสร็จแล้วต้องทําให้ผ้าปิดแผลอยู่กับท่ี วัสดุที่ใช้ คือ plaster ชนิดธรรมดา
ผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ที่ผิวหนังแพ้ plaster ควรใช้ plaster ชนิดพิเศษ
micropore tape
fixomull
อุปกรณ์อื่น ๆ
กรรไกรตัดไหม (operating scissor) กรรไกรตัดเชื้อเน้ือ (Metzenbaum) ช้อนขูดเน้ือตาย (curette) อุปกรณ์วัดความลึกของแผล (probe)
ภาชนะสำหรับทิ้งส่ิงสกปรก
ชามรูปไต
ถุงพลาสติก
การทำแผลผ่าตัดแบบแห้ง (Dry dressing)
1.เปิดแผลโดยใช้มือ(ใส่ถุงมือ)หยิบผ้าปิดแผลโดยพับส่วนที่สัมผัสแผลอยู่ด้านในทิ้งลงชามรูปไต หรือถุงพลาสติก
2.เปิดชุดทําแผล (ตํามหลักกํารของ IC) หยิบ forceps ตัวแรกโดยใช้มือจับด้านนอกของผ้าห่อชุดทําแผล หยิบข้ึนแล้วใช้ forceps ตัวแรกหยิบ forceps ตัวท่ีสอง วําง forceps ไว้ ด้านข้างถาดของชุดทําแผล
3.หยิบnon-toothforcepsใช้คีบส่งของ sterile ทําหน้าท่ีเป็น transferforceps
4.หยิบ tooth forceps ใช้รับของ sterile ทําหน้าที่เป็น dressing forceps
5.หยิบสําลีชุบ alcohol 70% เช็ดรอบๆ แผลวนจํากในออกนอกห่างแผล 1 นิ้วเป็นบริเวณกว้าง 2 นิ้ว
6.หยิบสําลีชุบ0.9%NSSเช็ดจํากบนลงล่างจนแผลสะอาดแล้วเช็ดด้วยสําลีแห้ง
7.ทําแผลด้วย antiseptic solution ตามแผนการรักษา (ถ้ามี)
8.ปิดแผลด้วย gauze ติดพลาสเตอร์ตามแนวขวางของลำตัวโดยเร่ิมติดชิ้นแรกตรงกึ่งกลางของแผลและไล่ข้ึน-ลงตามลำดับ ส่วนหัวและท้ายต้องปิดทับผ้า gauze กับผิวหนังให้สนิท
9.เก็บอุปกรณ์ถอดถุงมือถอด mask และล้างมือทิ้งขยะในถังขยะติดเชื้อทุกครั้ง
การทำแผลผ่าตัดแบบเปียก (Wet dressing)
1.เปิดแผลโดยใช้มือ (ใส่ถุงมือ) เปิดชุดทําแผลตามหลัก IC หยิบผ้าปิดแผลส่วนบนทิ้งลงในชามรูปไตหรือถุงพลาสติก เปิดผ้าปิดแผลช้ันที่ติดกับแผลด้วย tooth forceps หากผ้า gauze แห้งติดแผลใช้สําลีชุบน้ําเกลือหยดบนผ้า gauze ก่อน เพื่อให้เลือดหรือสารคัดหลั่งอ่อนตัว จะช่วยให้ผ้า gauze หลุดง่ายและไม่ทําลาย granulation tissue
2.ทําความสะอาดริมขอบแผลเช่นเดียวกับการทํา dry dressing
3.ใช้สําลีชุบน้ําเกลือหรือน้ํายาตามแผนการรักษาเช็ดภายในแผลจนสะอาด
4.ใช้ผ้า gauze ชุบน้ํายา (solution) ใส่ในแผล (packing) เพื่อฆ่าเชื้อและดูดซับสารคัดหลั่งให้ความชุ่มชื้นแก่เนื้อเยื่อ
5.ปิดแผลด้วยผ้า gauze และปิดพลาสเตอร์ตามแนวขวางของลําตัว
การทำแผลผ่าตัดท่ีมีท่อระบาย (Tube drain)
1.การเตรียมเครื่องใช้ในการทําแผล เช่นเดียวกับการทําแผลแบบแห้ง
2.ใช้ non-tooth forceps (ทําหน้าท่ีเป็น transfer forceps) หยิบสําลีชุบalcohol 70% ส่งต่อให้ tooth forceps (ทําหน้าท่ีเป็น dressing forceps) เช็ดผิวหนังรอบท่อระบายวนจากในออกนอกแบบครึ่งวงกลมหรือวงกลมจนสะอาดทิ้งสําลีท่ีใช้แล้วลงในชามรูปไตหรือถุงพลาสติกระวัง forceps สัมผัสชามรูปไตหรือถุงพลาสติก และระวังไม่ข้ามกรายชุดทําแผล
3.ใช้สําลีชุบ NSS เช็ดตรงกลางแผลท่อระบายแล้วเช็ดด้วยสําลีแห้ง
4.ใช้สําลีชุบ alcohol 70% เช็ดท่อระบายจากเหนือแผลออกมาด้านปลายท่อระบาย เช็ดด้วยสําลีแห้ง
5.กรณี Penrose drain และแพทย์มีแผนการรักษาให้ตัดท่อยํางให้สั้น (short drain) หยิบ gauze 1 ผืน เพื่อจับเข็มกลัดซ่อนปลาย ใช้ forceps บีบเข็มกลัดให้อ้าออก จับไว้ในมือข้างท่ีถนัด ใช้มืออีกข้างถือ forceps จับท่อระบายดึงท่อระบายออกมา 1 นิ้ว (อย่างนุ่มนวลด้วยความระวัง) แทงเข็มกลัดเข้ากับท่อระบาย กลัดเข็มกลัดเข้าท่ี แล้วตัดท่อระบายส่วนท่ีอยู่เหนือเข็มกลัดซ่อนปลาย ทิ้งท่อระบายท่ีตัดออกลงชามรูปไตหรือถุงพลาสติก ใช้สําลีเช็ดผิวหนังรอบๆ ท่อระบายและท่อระบาย อีกคร้ัง
6.พับครึ่งผ้า gauze วางสองข้างของท่อระบายแล้ววางผ้า gauze ปิดทับท่อระบาย อีกช้ัน และปิดพลาสเตอร์ให้เรียบร้อย
7.หลังการทําแผลเสร็จแล้วจัดท่าให้ผู้ป่วยสุขสบาย และดูแลสภาพแวดล้อม พยาบาลต้อง ให้คําแนะนําในการปฏิบัติตัวเก่ียวกับการดูแลตนเอง
การตัดไหม (Suture removal)
แผลหลังผ่าตัดจะแห้งสนิทภายใน 7-10 วัน แพทย์จะอนุญาตให้ทําการตัดไหม
หลักการตัดไหม
1.ตรวจสอบคําส่ังการรักษาของแพทย์ทุกคร้ังว่ามีจุดประสงค์ให้ตัดไหมทุกอัน (total stitches off) หรือตัดอันเว้นอัน (partial stitches off)
2.เศษไหมที่เย็บแผลส่วนท่ีมองเห็นเป็นส่วนท่ีมีการสัมผัสเชื้อแบคทีเรียท่ีอาศัยอยู่ ตามผิวหนังในการตัดและดึงไหมออกจึงไม่ควรดึงไหมส่วนท่ีมองเห็นลอดผ่านใต้ผิวหนัง และจะต้องดึงไหม ออกให้หมด เพราะถ้าไหมตกค้างอยู่ใต้ผิวหนัง จะกลายเป็นสิ่งแปลกปลอมและเกิดกํารอักเสบติดเชื้อได้
3.ขณะตัดไหมหากพบว่ามีขอบแผลแยกให้หยุดทํา และปิดแผลด้วยวัสดุที่ช่วยดึงร้ัง ให้ขอบแผลติดกัน (sterile strip)
วิธีทำการตัดไหม
1.ทําความสะอาดแผล ใช้ alcohol 70% เช็ดรอบแผล เช็ดรอยพลาสเตอร์ออก ด้วยเบนซิน และเช็ดตามด้วย alcohol 70% และน้ําเกลือล้างแผล แล้วเช็ดแห้ง ก่อนทําการลงมือตัดไหม หยิบผ้า gauze วางเหนือแผล เมื่อตัดไหมทีละเข็มให้วางวัสดุเย็บแผลลงบนผ้า gauze เพื่อนับจํานวนเข็ม
2.การตัดไหมที่เย็บแผลชนิด interrupted method โดยใช้ไหมผูกเป็นปมแยก เป็นอัน ๆ โดยใช้ tooth forceps จับชายไหมส่วนท่ีอยู่เหนือปมที่ผูกไว้ ดึงข้ึนพอตึงมือจะเห็นไหมใต้ ปมโผล่พ้นผิวหนังข้ึนมา และสอดปลายกรรไกรตัดไหมในแนวราบขนาดกับผิวหนังเล็กตัดไหมส่วนท่ี อยู่ชิดผิวหนังซึ่งอยู่ใต้ปมท่ีผูกแล้วดึงไหมในลักษณะดึงเข้าหาแผลเพื่อป้องกันแผลแยก
3.การตัดไหมท่ีเย็บแผล ชนิด interrupted mattress โดยใช้ไหมผูกปมเป็นอัน ๆ ชนิดสองช้ัน ให้ตัดไหมส่วนท่ีมองเห็นและอยู่ชิดผิวหนังมํากท่ีสุด ซึ่งอยู่ด้านตรงกันข้ามกับปมไหมให้ ตัดไหมด้วยวิธีเดียวกับการเย็บแผลแบบ interrupted method
4.การตัดไหมที่เย็บแผลแบบต่อเนื่อง continuous method ให้ตัดไหมส่วนท่ีอยู่ ชิดผิวหนังด้านตรงกันข้ามกับปมท่ีผูกอันแรกและอันถัดไปด้านเดิม เมื่อดึงไหมออกส่วนที่เป็นปมผูกไว้ อันแรก และส่วนที่อยู่ชิดผิวหนัง ซึ่งติดกับไหมท่ีเย็บอันท่ีสองจะหลุดออก ส่วนไหมปมอันถัดไปให้ตัด ไหมส่วนที่อยู่ชิดผิวหนังด้านเดิม ทําเช่นน้ีจนถึงปมไหมอันสุดท้าย
5.กรณีที่ใช้ลวดเย็บเป็นวัสดุเย็บแผล ทําความสะอาดแผลผ่าตัดตามปกติ การตัดลวด เย็บแผลต้องใช้เครื่องมือตัด เรียกว่า “removal staple” โดยอ้าส่วนปลายซึ่งมีลักษณะคล้าย คีมสอดใต้ลวดเย็บกดด้านมือจับให้ส่วนปลายกดวลดเย็บงอแล้วดึงลวดออกทีละเข็มจนครบ
6.ภายหลังตัดไหมครบทุกเส้นแล้วเช็ดแผลด้วย normal saline0.9% และเช็ดให้แห้งอีกคร้ัง ปิดแผลต่อไว้อีก 1 วัน (ถ้าแผลแห้งดี) ถ้าแผลยังติดไม่ดีแพทย์อาจติด sterile strip แล้วจึงปิดด้วยผ้า gauze และปิดพลาสเตอร์อีกคร้ัง
วิธีการพันแผลชนิดต่างๆ
วัตถุประสงค์
ป้องกันการติดเชื้อ
ใช้เป็นแรงกดป้องกันเลือดไหล
ช่วยพยุงผ้าปิดแผลให้อยู่กับท่ี
ให้ความอบอุ่นบริเวณน้ันๆ
ช่วยให้อวัยวะอยู่คงที่และพยุงอวัยวะไว้
รักษารูปร่างของอวัยวะให้พร้อมท่ีจะใส่อวัยวะเทียม
ชนิดของผ้าพันแผล
ผ้าสามเหลี่ยม (triangular bandage)
ผ้าพันแผลชนิดม้วน (roller bandage)
ผ้าพันแผลชนิดพิเศษ (special bandage)
หลักการพันแผล
ผู้พันผ้าและผู้บาดเจ็บหันหน้ําเข้าหากันจัดท่าให้ผู้บาดเจ็บอยู่ในท่าที่สบายวางอวัยวะส่วนท่ีจะพันผ้าให้รู้สึกผ่อนคลาย
ตําแหน่งท่ีต้องการจะพันผ้าผิวหนังบริเวณน้ันต้องสะอาดและแห้ง
การลงน้ําหนักมือเพื่อดึงผ้าพันแผลควรระวังใช้น้ําหนักให้เหมาะสม ถ้าลงน้ําหนักมือมากอาจทําให้แน่นเกินไป
ต้องทําความสะอาดบาดแผลและปิดผ้าปิดแผลให้เรียบร้อยก่อนแล้วจึงพันผ้าปิดทับ ต้องระวังหากพันแน่น เกินไปผู้ป่วยอาจเจ็บแผล
ตําแหน่งที่บาดเจ็บ เช่นนิ้วมือ นิ้วเท้าต้องใช้ผ้าก๊อสคั่นระหว่างนิ้วก่อนป้องกันการเสียดสีของผิวหนังอาจทําให้เกิดแผลระหว่างนิ้วได้
การพันผ้าบริเวณเท้า ขา ตะโพก ต้องมีผู้ช่วยคอยประคองอวัยวะส่วนน้ันไว้เพื่อช่วยให้ผู้พันผ้าสะดวกและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการพันผ้าในตําแหน่งน้ัน ๆ
การพันผ้าใกล้ข้อต้องพันผ้าโดยคํานึงถึงการขยับเคลื่อนไหวของข้อน้ันด้วย
วิธีการพันแผล
การใช้ผ้าสามเหลี่ยม ผ้าสามเหลี่ยมเป็นสํามเหลี่ยมท่ีมีมุมยอดเป็นมุมฉาก ขนาด ของผ้าท่ีใช้ข้ึนอยู่กับขนาดของตัวผู้ป่วยและอวัยวะท่ีต้องการพันผ้า
การใช้ผ้าพันแผลชนิดม้วน มีหลักการพันผ้า ได้แก่ เริ่มต้นพันผ้าจากส่วนเล็กไปหาส่วนใหญ่ พันผ้าเข้าหาตัวผู้ป่วย ต้ังต้นและจบผ้าพันด้วยการพันรอบทุกคร้ังเพื่อให้ผ้าไม่เลื่อนหลุด การเร่ิมต้น การต่อผ้า หรือการจบของการพันผ้า ต้องระวังไม่ตําแหน่งท่ีเร่ิมหรือจบผ้าน้ันต้องไม่ตรง กับบริเวณท่ีเป็นแผลหรือบริเวณท่ีมีกํารอักเสบ
การพันผ้าแบบชนิดม้วน
การพันแบบวงกลม (circular turn)
การพันแบบเกลียว (spiral turn)
การพันแบบเกลียวพับกลับ (spiral reverse)
การพันเป็นรูปเลข 8 (figure of eight)
การพันแบบกลับไปกลับมา (recurrent)
ปัจจัยท่ีทำให้เกิดแผลกดทับ ระยะของแผลกดทับและการป้องกันแผลกดทับ
พยาธิสภาพของการเกิดแผลกดทับ
ขณะที่มีแรงกดทับลงบนผิวหนังจะมีค่าเฉลี่ยของแรงกดกับหลอดเลือดฝอยเท่ากับ 25 มม.ปรอท เมื่อมีแรงกดทับผิวหนังท่ีทํากับปุ่มกระดูกเป็นเวลานานทําให้ผิวหนังและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ขาดออกซิเจนจากโลหิตมาเลี้ยงไม่ได้ ทําให้เกิดการตายของผิวหนังและเนื้อเยื่อต่าง ๆ
ปัจจัยส่งเสริมการเกิดแผลกดทับ
ปัจจัยภายในร่างกาย
อายุ
ภาวะโภชนาการ
ยาที่ได้รับการรักษา
การผ่าตัด
ปัจจัยภายนอกร่างกาย
แรงกด
แรงเสียดทาน
แรงเฉือน (หมายถึง แรงกระทําในทิศทางตั้งฉากกับงาน)
ความชื้น
ระยะของแผลกดทับ
ระดับท่ี 1
ผิวหนังแดงไม่มีการฉีกขาดของผิวหนังและไม่จางหายไปภายใน 30 นําที
ระดับท่ี 2
ผิวหนังแดงเร่ิมมีแผลเล็กๆ มีหนังแท้ถูกทําลายฉีกขาดเป็นแผลต้น มีรอยแดงบริเวณเน้ือเยื่อรอบๆ และเริ่มมีสารคัดหลั่งจากแผล
ระดับท่ี 3
แผลลึกถึงชั้นไขมัน (subcutaneous) แต่ยังไม่ถึงช้ันกล้ามเนื้อ (muscle) มีรอยแผลลึก มีส่ิงขับหลั่งจากแผล เร่ิมมีกลิ่นเหม็นยังไม่มีเน้ือตาย (necrosis tissue)
ระดับที่ 4
แผลลึก เป็นโพรงถึงกล้ามเนื้อ กระดูก และเยื่อหุ้มข้อ พบมีเน้ือตาย
กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผล
สถานการณ์ตัวอย่าง
ผู้ป่วยหญิงไทย คู่ อายุ 44 ปี แพทย์วินิจฉัยเป็นโรคแผลกระเพาะอาหารทะลุ (Peptic ulcer perforate) S/P Explore lab to Simple closer เป็นวันที่ 2 on IV fluid for antibiotic จากสถานการณ์ข้างต้นจงประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลในการให้การพยาบาลแบบองค์รวมสําหรับผู้ป่วยรํายนี้
การประเมินภาวะสุขภาพ(Assessment)
S : “รู้สึกปวดแผลหน้าท้อง”
O : หญิงไทย คู่ อายุ 44 ปี Peptic ulcer perforate S/P Explore lab to Simple closer,2nd day
การประเมินภาวะสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจ
การประเมินสภาพร่างกายและจิตใจ ความรุนแรงของโรค
ประเมินระดับคะแนนความเจ็บปวด
ประเมินความวิตกกังวลจากการผ่าตัดและพยาธิสภาพของโรค
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
เสี่ยงต่อการติดเชื้อท่ีแผลผ่าตัดเนื่องจากเป็นประเภทแผลผ่าตัดปนเปื้อน
การปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวม (Holistic nursing care)
ด้านร่างกาย
ด้านจิตใจ
ด้านสังคม
ด้านจิตวิญญาณ
การประเมินผล (Evaluation)
การประเมินผลการพยาบาลเป็นการประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
การประเมินผลกิจกรรมการพยาบาลเป็นการประเมินผลของการปฏิบัติงาน เพื่อนํามาปรับปรุงการปฏิบัติงานในครั้งต่อไป
การประเมินผลคุณภาพการบริการเป็นการประเมินคุณภาพของผลการปฏิบัติงาน