Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
image บทที่ 7 การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ image -…
บทที่ 7 การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ
7.1 ความสำคัญของก๊าซออกซิเจนที่มีต่อร่างกาย
การแลกเปลี่ยนก๊าซ แบ่งการทำงานเป็น 3 ส่วน
การทำงานของเม็ดเลือดแดง
มีหน้าที่ขนส่งก๊าซ เม็ดเลือดแดง เป็นเซลล์เม็ดเลือดชนิดหนึ่ง มีหน้าที่ หลักในการขนและส่งก๊าซในระบบหมุนเวียน จะมีส่วนประกอบที่เป็น Hemoglobin (ฮีโมโกลบิน) อยู่ถึง 97 % ซึ่งตัว Hemoglobin (ฮีโมโกลบิน) นี้ ท าหน้าที่ในการ“จับกับก๊าซเพื่อการขนส่ง
ความดันออกซิเจน ทำให้เกิดการขนส่งออกซิเจนสู่เนื้อเยื่อ
ความดันออกซิเจนและการขนส่งสู่เนื้อเยื่อ หลังจากเลือดที่ออกจากปอดมีความดันออกซิเจนใน เลือดสูงอยู่ เม็ดเลือดแดงจะปล่อยออกซิเจนจำนวนน้อยสู่กระแสเลือดเพื่อส่งไปหาเซลล์ต่างๆ
เลือดเป็นตัวกลางการ ส่งผ่านออกซิเจนสู่เซลล์ ส่วน เม็ดเลือดแดงเป็นถังเก็บออกซิเจนที่จะค่อยๆ ปล่อยออกซิเจนออกมาเรื่อย ๆ
การหมุนเวียน เพื่อกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เมื่อเซลล์เนื้อเยื่อขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกออก จะมีการขนส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กลับไป ที่ปอด เพื่อทำการหายใจระบายออก
กลไกการขนส่งมี 2 อย่างที่เป็นหลัก
คาร์บอนไดออกไซด์ไปรวมกับน้ำ เพื่อเกิดสารประกอบ กรดคาร์บอนิก (H2CO3) และแตกตัว เป็นไฮโดรเจนไออน (H+) กับไบคาร์บอเนต (HCO3)
การขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์โดย hemoglobin ในเม็ดเลือดแดง
7.2 ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับออกซิเจนของบุคคล
ภาวะที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย อาจเนื่องมาจากสภาวะต่างๆ
ความเครียด
ทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับ การหายใจถี่ขึ้นต้องการออกซิเจนมากขึ้น
อาหารที่มีไขมันมาก
ทำให้ ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำลง
การเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายหนัก ๆ ขณะออกกำลังกาย
ร่างกายต้องการออกซิเจนมากกว่าปกติ
ทำให้เหนื่อยเร็ว และอ่อนล้า
ทำให้ได้รับออกซิเจนไม่ทั่วถึงและเพียงพอ
ผู้สูงอายุ
ร่างกายของคนเราจะเสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ความเสื่อมเกิดขึ้นได้ทุกระบบในร่างกาย ทำให้ความสามารถในการรับออกซิเจนน้อยลง
อยู่ในที่ที่มีมลพิษสูง
ทำให้ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ในขบวนการขจัดสารพิษ
ทำให้อากาศบริเวณนั้นมีออกซิเจนลดลง การที่ร่างกายได้รับ สารพิษจากอากาศ
การสูบบุหรี่
ทำให้หลอดเลือดมีคาร์บอนไดออกไซด์มาก
ทำให้ความสามารถในการรับออกซิเจนน้อยลง
ส่งผลให้เกิดอาการพร่องออกซิเจนเป็นมากขึ้น
การเดินทางหรืออาศัยในที่สูง
ความหนาแน่นของอากาศลดลง มีผลให้ออกซิเจนมี ระดับต่ำกว่าปกติ
ทำให้ร่างกายได้ออกซิเจนน้อยกว่าปกติ ถ้าร่างกายปรับตัวไม่ได้กับภาวะพร่องออกซิเจน
ทำให้เกิดการภาวะพร่องออกซิเจน
การดื่มสุราและเครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์
จะทำให้เกิดอาการสับสน และถ้าปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดมากกว่า 400 mg% ส่งผลต่อระบบสมองทำให้ได้รับออกซิเจนน้อยลง ระบบหัวใจและหลอดเลือดมีการสูบฉีดเลือดลดลง จน เกิดอาการหมดสติ และอาจถึงตายได้
7.3 การประเมินภาวะพร่องออกซิเจน
การประเมินพร่องออกซิเจน มี 2 วิธี
การประเมินสภาพร่างกาย
ใช้เทคนิคการสังเกตลักษณะทั่วไป
3) ระบบประสาทส่วนกลาง
สังเกตพบ
ความรู้สึกตัวของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลง กระสับกระส่าย สับสน มึนศีรษะ ปวดศีรษะ เพ้อ หมดสติ หรือชัก
4) ระบบผิวหนัง
สังเกตพบ
ระยะแรก พบว่า ผิวหนังผู้ป่วยเย็น ซีด
พบอาการเขียวคล้ำ โดยเห็นชัด บริเวณริมฝีปาก เล็บมือเล็บเท้า และเสียชีวิตในที่สุด
2) ระบบหัวใจและหลอดเลือด
สังเกตพบ
ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ
ระยะต่อมาหัวใจเต้นผิดจังหวะ บีบตัวช้าลง เจ็บหน้าอก
หัวใจหยุดเต้นในระยะ สุดท้าย
ระยะแรก เพื่อปรับชดเชย
5) ระบบทางเดินอาหาร
สังเกตพบ
ประเมินและสังเกตพบมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนในระยะแรก
1) ระบบทางเดินหายใจ
สังเกตพบ
นอนหลับไปแล้วระยะหนึ่ง ต้องลุกขึ้นมานั่งหายใจ
หายใจแบบอ้าปากเสมือนว่าหิวอากาศ
หายใจลำบากเมื่อนอนราบ
การประเมินการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2) ค่าการอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
ใช้ pulse oximeter เป็นอุปกรณ์ที่วัดร้อยละของฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจน ต่อปริมาณ ฮีโมโกลบินทั้งหมดในเลือด
การแปลผลต้องพิจารณาปริมาณเม็ดเลือดแดงและหรือค่าฮีโมโกลบินร่วมด้วย จึง เป็นการวัด arterial oxygen saturation (SPO2)
ค่าการอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดปกติอยู่ระหว่าง 98 - 99 % หากวัด SPO2ได้น้อยกว่า 90% จำเป็นต้องได้รับการรักษา
1) ระดับค่าก๊าซในหลอดเลือดแดง (ABG)
เพื่อประเมินความสามารถในการแลกเปลี่ยนก๊าซ และการหายใจ
เพื่อหา ประสิทธิภาพการทำงานของปอด
ในการจับออกซิเจนเข้าสู่เซลล์ และนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเซลล์ ประกอบด้วย
PaO2 เป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบถึงปริมาณของออกซิเจน (O2) ในเลือดที่จับกับ Hemoglobin
HCO3 เป็นการวัดค่าความเข้มข้นไฮโดรเจนไอออน (HCO3-) ในเลือดที่ช่วยบอกการทำงานของ ไต หรือความเป็นกรดด่างในร่างกายได้
PaCO2 เป็นการวัดความดันของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในเลือด
SaO2 เป็นค่าเปรียบเทียบระหว่าง Hemoglobin ที่มี O2 ที่อิ่มตัวกับความสามารถสูงสุดของ Hemoglobin ที่จะจับกับ O2 ได้
pH เป็นตัวชี้วัดภาวะความเป็นกรดด่างของร่างกาย
การแปรผล
ภาวะระบบทางเดินหายใจเป็นกรดเฉียบพลัน
ค่า pHต่ำกว่าปกติ ค่า PaCO2 สูงกว่าปกติ ส่วนค่า HCO3 ปกติ
อาการและอาการแสดงที่พบ
hypoventilation จะมีอาการง่วงเหงาหาวนอน ประสาท สัมผัสเปลี่ยนแปลงไป ระดับความรู้สึกลดลงจนไม่รู้สึกตัว หัวใจเต้นเร็วไม่เป็นจังหวะ
ภาวะระบบทางเดินหายใจเป็นด่างเฉียบพลัน
ค่า pH สูงกว่าปกติ ค่าPaCO2 ต่ำกว่าปกติ ส่วนค่า HCO3 ปกติ
อาการและอาการแสดงที่พบ
คือ Hyperventilation หัวใจเต้นเร็ว ประสาทสัมผัสเปลี่ยนแปลง ไป ชา หมดความรู้สึก มีอาการชาตามมือตามหน้า ระดับความรู้สึกลดลงจนไม่รู้สึกตัว ไม่เป็นจังหวะ
ภาวะการเผาผลาญเป็นกรดเฉียบพลัน
ค่า pH และ ค่าHCO3 ต่ำกว่าปกติ ส่วนค่า PaCO2 ปกติ
อาการและอาการแสดงที่พบ คือ อาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ประสาทสัมผัส เปลี่ยนไป มีอาการสั่นกระตุก ชัก
ภาวะการเผาผลาญเป็นด่างเฉียบพลัน
ค่า pH และค่า HCO3 สูงกว่าปกติ ส่วนค่า PaCO2 ปกติ
อาการและอาการแสดงที่พบ คล้ายกับ metabolic acidosis แต่ไม่มีอาการปวดศีรษะ
3) การตรวจหาระดับฮีโมโกลบิน
ในเลือดค่าฮีโมโกลบินปกติในผู้หญิง 11.5 – 16.5 gm % (กรัมเปอร์เซนต์) และในผู้ชาย 13.0 - 18 gm % (กรัมเปอร์เซนต์)
สาเหตุของ hypoxia และหรือ hypoxemia พบความผิดปกติของระบบต่าง ๆ
รักษาด้วยออกซิเจน
โรคเลือดโดยเฉพาะเม็ดเลือดแดงน้อย เช่น ภาวะโลหิตจาง
ระบบเผาผลาญเมตาบอลิซึมผิดปกติต่าง ๆ
ระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ การบาดเจ็บของสมอง และได้รับยาที่กดการหายใจ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจชนิดต่าง ๆ หรือภาวะช็อกจากสาเหตุต่าง ๆ
ระบบทางเดินหายใจเช่น การอุดกั้น การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ
ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดโดยเฉพาะการผ่าตัดส่วนอกและช่องท้อง
7.5 บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
7.5.1 อาการและอาการแสดงของภาวะขาดออกซิเจน
วิตกกังวล กระสับกระส่าย
กรณีเป็นภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง พบนิ้วปุ้ม
อาการหายใจลำบาก
ระดับการมีสมาธิลดลง
ระดับความรู้สึกตัวลดลง
ความอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าเพิ่มขึ้น
มีอาการวิงเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน
แสดงพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป
อัตราการเต้นของชีพจรเร็วขึ้น ขั้นรุนแรง และพบ bradycardia
ในช่วงแรกอัตราการหายใจเร็วและลึกระยะ ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นหายใจสั้นและตื้น
ความดันโลหิตลดลง
หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ
มีภาวะซีด
มีอาการเขียวคล้ำ
7.5.2 วัตถุประสงค์ของการให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา
เป็นการรักษาภาวะพร่องออกซิเจนทำให้ออกซิเจนในเลือดต่ำ โดยวิธีการเพิ่มปริมาณ ออกซิเจนในถุงลมปอด และกระแสเลือด
เป็นการลดอาการขาดออกซิเจนเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งฟอง
เป็นการช่วยการทำงานของระบบทางเดินหายใจ หัวใจ และระบบการไหลเวียนโลหิตและหลอดเลือดจากภาวะพร่องออกซิเจน
7.5.3 ข้อชี้บ่งของการให้ออกซิเจน
มีภาวะขาดออกซิเจนในเลือด คือ มีภาวะPaO2 < 60 mmHg หรือ SaO2 < 90 % เมื่อ หายใจเข้าในบรรยากาศปกติ
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ hypoxemia เช่น ผู้ป่วยหลัง โดนไฟไหม้ เป็นต้น
เกิดภาวะบาดเจ็บขั้นรุนแรง
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดเฉียบพลัน (acute myocardial infarction: MI)
การให้ออกซิเจนเป็นเวลาช่วงสั้น ๆ ในการทำผ่าตัด เช่น หลังการดมยาสลบ หรือการทำ ผ่าตัดใหญ่ เป็นต้น
7.5.4 ข้อควรระวังและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ออกซิเจน
อาจเกิดภาวะกดการหายใจผู้ป่วยที่หายใจเอง เมื่อค่า PaO2 ≥ 60 มม.ปรอท
ควรระวังการให้ออกซิเจนในผู้ป่วยที่ได้รับพิษจาก paraquat
ขณะทำผ่าตัดด้วยวิธีเลเซอร์ในทางเดินหายใจ
อาจเกิดภาวะปอดแฟบ ออกซิเจนเป็นพิษ
ควรระวังการให้ความชื้นร่วมกับออกซิเจนโดยเฉพาะการให้ความชื้นแบบ nebulizer
การมีความเข้มข้นระดับสูงของออกซิเจน บริเวณที่เกิดไฟไหม้จะทำให้ขบวนการติดไฟ เพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้น
7.5.5 การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจน
หมั่นสังเกตและประเมินภาวะของผู้ป่วย
ติดตามผลค่าก๊าซให้ออกซิเจน
วัดปริมาตรหายใจเข้า-ออกต่อครั้ง (Tridal Volume) ในกรณีที่ผู้ป่วยอาการหนักและมี เครื่องมือวัดโดยเฉพาะ
ระดับความรู้สึกตัว
ความผิดปกติของสีผิว ดูลักษณะบริเวณริมฝีปาก เล็บมือ เล็บเท้า ผิวหนังว่ามีอาการ เขียวหรือไม่ ในรายที่ให้ออกซิเจนทางกระโจมสังเกตอาการหนาวสั่นด้วย
ตรวจวัดสัญญาณชีพ ดูลักษณะ และอัตราเร็วของการหายใจ ความดันโลหิตและชีพจร
หมั่นตรวจดูอุปกรณ์ที่ให้ออกซิเจน
ออกซิเจนไม่รั่วจากขวดทำน้ำกลั่นที่ทำความชื้น
ถ้าเป็นออกซิเจนถัง จะต้องให้มีออกซิเจนอยู่เสมอ
ขวดทำความชื้นมีน้ำอยู่พอเหมาะไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
เปลี่ยนและนำอุปกรณ์การใช้ออกซิเจน ไปทำความสะอาดและทำให้ปลอดเชื้อ
ตรวจดูสายยาง ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
ถ้าให้ออกซิเจนจากระบบ pipeline ที่มีรูเปิด (outlet) สำหรับเสียบ flow meter จะต้องดูให้ flow meter เสียบเข้าที่
ดูแลทางเดินหายใจโดยท่าทางเดินหายใจ
สอนการไออย่างถูกวิธี เพื่อให้ระบายเสมหะออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กระตุ้นให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เพื่อให้น้ำช่วยละลายเสมหะให้ขับออกได้ง่าย
ดูดเสมหะที่ค้างตามท่าทางเดินหายใจเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันการอุดตัน
การจัดท่านอน ท่านั่ง ให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย และปอดขยายได้เต็มที่โดยให้อยู่ในท่าศีรษะสูง
ดูแลความสะอาดของจมูกและปากบ่อยๆ
ทาริมฝีปากด้วย กลีเซอรีน บอแรกซ์
ทำความสะอาดช่องจมูก
ถ้าเจ็บคอ ให้ล้างปากด้วยน้ำยา หรือบ้วนด้วยน้ำสะอาดบ่อยๆ
ดูแลความสะอาดบริเวณหน้า โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ได้รับ Oxygen mask จะมีเหงื่อออก มาก ควรเช็ด mask และทาแป้งให้บ่อยๆ หรือทุก 2 - 3 ชั่วโมง เพื่อให้สบายขึ้น
ให้จิบน้ำบ่อยๆ
ดูแลด้านจิตใจ เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติ ควรดูแลดังนี้
แนะนำ อธิบายให้ผู้ป่วยรู้จักเครื่องมือต่างๆได้ง่าย
ดูแลควบคุมอัตราการไหของออกซิเจนให้เพียงพอ ไม่ให้ผู้ป่วยอึดอัด
พยาบาลควรมีความชำนาญในการใช้เครื่องมือ
สนใจ รับฟังความต้องการของผู้ป่วยอย่างจิงจัง
บอกประโยชน์ของการได้รับออกซิเจน
ให้เวลาผู้ปวยในการพูดคุย สัมผัสผู้ป่วยบ้างและรีบไปดูแลทันทีเมื่อผู้ป่วยขอความช่วยเหลือ
7.4 สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ
7.4.1 อาการไอ (Cough)
ลักษณะของอาการไอ
ไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ เช่น ไอเนื่องจากมีฝุ่นละอองมาก เป็นต้น
ไอมีเสมหะ ซึ่งเสมหะที่เป็นหนอง มักเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินลมหายใจ เช่น โรคปอด บวม และวัณโรคปอด เป็นต้น และเสมหะที่ไม่เป็นหนอง เช่น โรคหอบหืด
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการไอ
ประเมินประสิทธิภาพการไอ ลักษณะไอแห้ง ๆ หรือไอแบบมีเสมหะ โดยการฟังเสียงไอ
สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ (effective cough) โดยการให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอนยกศีรษะ สูง (Fowler’s position) และหายใจเข้าลึก ๆ เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง กลั้นหายใจสักครู่ แล้วไอออกมาอย่าง แรงโดยเฉพาะผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่มักกลัวเจ็บต้องอธิบายให้ทราบถึงความจำเป็น
ดูแลให้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการไอตามแผนการรักษาของแพทย์
สังเกตและบันทึกลักษณะ เสียง ความถี่ และระยะเวลาของการไอ
3.ถ้าไอมีเสมหะให้สังเกต บันทึกจำนวน ลักษณะ สี และกลิ่นของเสมหะด้วย
ดูแลความสะอาดของปาก ฟัน และสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร
กระตุ้นให้ดื่มน้ำอุ่นบ่อย ๆ และปริมาณมาก เพื่อให้เสมหะอ่อนตัว
กระตุ้นให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เพื่อให้เสมหะที่ค้างในปอดเคลื่อนออกมาได้ง่าย จากการ เปลี่ยนท่าหรืออิริยาบถ
สาเหตุของการไอ
การอักเสบหรือการบวมบริเวณทางเดินหายใจ มีอาการไอน้อยกว่า 2 สัปดาห์ อาจเกิดจาก ไข้หวัด
ความร้อน - เย็นของอากาศ จะทำให้การไอมากขึ้น
ฝุ่น ควัน สารเคมี อาหาร หรือน้ำที่สำลักเข้าไป
7.4.4 Dyspnea
สาเหตุของการหายใจลำบาก
สาเหตุเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น ทางเดินหายใจอุดกั้น หรือปอดถูกท าลาย เป็นต้น
สาเหตุเกี่ยวกับหัวใจ เช่น การทำงานของหัวใจไม่ดี เนื่องจากกล้ามเนื้อบางส่วนของหัวใจ
สาเหตุเกี่ยวกับประสาท ทำให้การควบคุมการหายใจไม่ดี
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบาก
ดูแลให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง และให้ออกซิเจนร่วมด้วย
ดูแลให้ยาขยายหลอดลม หรือยาขับเสมหะ ตามแผนการรักษา
ดูแลให้ออกซิเจนชนิดละอองฝอย (nebulizer) เพื่อให้หายใจสะดวก
เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน เช่น การใส่ท่อช่วย หายใจ (endotracheal tube: ET)
. 2 ดูแลประคับประคองด้านจิตใจ และประเมิน V/S ตามความเหมาะสม ทุก 1 - 2 ชั่วโมง
ฝึกให้ผู้ป่วยหายใจและการไออย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดอาการหายใจลำบากโดยหายใจ
7.4.3 Hiccup
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการสะอึก
ให้ดมสารที่มีกลิ่นฉุน เช่น แอมโมเนีย
ดูแลความปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อม
แนะนำให้หายใจเข้าออกในถุงปิด เพื่อเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ใช้เทคนิคเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น ชวนคุยในเรื่องที่สนุกตื่นเต้น เป็นต้น
ให้ชิมของเปรี้ยวจัด เช่น น้ำมะนาว เป็นต้น หรือดื่มน้ำเปล่า
แนะนำให้กลั้นหายใจเป็นพัก ๆ
สาเหตุของอาการสะอึก
อาการสะอึกเป็นอาการปกติทั่วไป ไม่ได้เกิดจากโรค โดยมีสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่พบ บ่อย
7.4.2 Hemoptysis
ชนิดของการไอเป็นเลือด
ไอจนมีเลือดสดออกมา พบในวัณโรคปอด
ไอจนมีเสมหะสีคล้ายสนิม จากมีเลือดเก่า ๆ ปนออกมาด้วย พบในวัณโรคปอด
ไอจนมีเลือดปนออกมา คือ มีเสมหะและเลือดปนเป็นเนื้อเดียวกัน พบในโรคมะเร็งของ หลอดลม หรือวัณโรคปอด
ไอจนมีเลือดออกเป็นสาย มีเลือดเป็นสายปนกับเสมหะแต่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน พบในโรค หลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง หรือมะเร็งหลอดลม
สาเหตุของการไอเป็นเลือด
อุบัติเหตุ
ความผิดปกติของหลอดเลือดและโรคปอดต่าง ๆ ทำให้เกิดการไอเป็นเลือดได้ เช่น หลอด เลือดที่เลี้ยงปอดอุดตัน วัณโรค และ ปอดบวม
การอักเสบ ทำให้เกิดอาการไออย่างรุนแรง หรือมีแผลในคอ กล่องเสียง หลอดลมใหญ่ และ ในเนื้อปอด
เนื้องอก และมะเร็ง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการไอเป็นเลือด
ให้ผู้ป่วยพักผ่อนและให้การหายใจเคลื่อนไหวน้อยที่สุด
ผู้ป่วยอาจตกใจมาก ทำให้มีอาการหายใจเร็วขึ้น (hyperventilation) พยาบาลต้องคอย ปลอบโยน ให้กำลังใจ และให้การดูแลจนผู้ป่วยควบคุมตนเองได้
ประเมินชีพจร หายใจ และความดันโลหิต เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงและความรุนแรง ของการเสียเลือด
ถ้าเสียเลือดมาก อาจต้องให้เลือด และพยาบาลจะต้องเฝ้าระวังการแพ้เลือดที่อาจเกิดขึ้นได้
7.4.5 Chest pain
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก
สังเกตอาการ ถ้าผู้ปุวยมีอาการเจ็บปวดที่เยื่อหุ้มปอด ควรแนะนำให้นอนตะแคงทับด้านที่ เป็น ถ้าอาการไม่ดีขึ้น อาจต้องให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
จัดเตรีมอุปกรณ์การให้ออกซิเจนและพิจารณาให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วย
ประเมินหาสาเหตุของอาการว่า อาการเจ็บหน้าอกเกิดจากหัวใจหรือ ปอด ถ้าเป็นอาการเจ็บ หน้าอกจากหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย จะมีอันตรายกว่าการเจ็บหน้าอกจาก ระบบหายใจมาก
อาการเจ็บหน้าอก มีลักษณะแตกต่างกันตามสาเหต
1) อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากกล้ามเนื้ออักเสบ
5) อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากหลอดลมอักเสบ มักมีอาการแน่นหน้าอกบริเวณหลังกระดูก อาจเจ็บตลอดเวลา และเจ็บมากเมื่อเวลาไอ
6) อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากเส้นประสาท เช่น โรครากประสาทสันหลัง (posterior nerve root) จะปวดร้าวไปตามแขนงของประสาท intercostal nerve ซึ่งอยู่ตามแนวกระดูกซี่โครง และปวด ตลอดเวลา พบในโรคงูสวัด (herpes zoster) เป็นต้น
2) อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากเยื่อหุ้มปอดอักเสบ มักเจ็บตรงบริเวณที่มีอาการอักเสบ และ มักเจ็บมากเมื่อเวลาหายใจเข้าลึก ๆ หรือเวลาไอ ทำให้ผู้ป่วยต้องหายใจตื้น ๆ
3) อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจาก เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมักเป็นตรงบริเวณหัวใจ และเจ็บ ตลอดเวลา อาจมีลักษณะในข้อ 2 ร่วมด้วย ถ้าการอักเสบลุกลามถึงเยื่อหุ้มปอด
4) อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากหัวใจ เช่น ภาวะหลอดเลือดแดงหัวใจโคโรนารี (coronary artery) ตีบแคบ มักมีอาการแน่นหน้าอกบริเวณกระดูก sternum โดยเฉพาะจะเจ็บหรือปวดมากเมื่อเวลา ออกกำลังกาย เช่น เดินขึ้นบันได เป็นต้น และอาการเจ็บจะหายไปเมื่อพัก อาจมีปวดร้าวไปถึงหัวไหล่ คอ และ แขน
7.6 เทคนิคการพยาบาลที่เกี่ยวข้องในการให้ออกซิเจนแบบต่าง ๆ
ระบบการให้ออกซิเจน
2) ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดสูง
(1) การให้ออกซิเจนชนิดT- piece เป็นอุปกรณ์ให้ออกซิเจนผู้ป่วยที่มีท่อทางเดินหายใจ
(2) การให้ออกซิเจนทางท่อหลอดลม (tracheostomy collar) เป็นอุปกรณ์คล้ายหน้ากากคล้อง ไว้กับคอ ครอบบนท่อเจาะหลอดลมคอ ออกซิเจนจะไหลเข้าทางรูเปิดขณะหายใจเข้า
(3) การให้ออกซิเจนชนิด croupette tent เป็นอุปกรณ์ให้ออกซิเจนที่ครอบตัวผู้ป่วยลักษณะ คล้ายเต็นท์
(4) การให้ออกซิเจนชนิด hood หรือ oxygen box เป็นอุปกรณ์ใช้ครอบศีรษะและไหล่ผู้ป่วย เด็ก
(5) การให้ออกซิเจนทางท่อช่วยหายใจ (endotracheal tube: ET) เป็นท่อช่วยหายใจซึ่งแพทย์ จะใส่ท่อนี้เข้าไปในหลอดลมของผู้ป่วย แล้วต่อเข้ากับเครื่องช่วยหายใจ
ระบบให้ความชื้น (Humidification)
2) ชนิดละอองฝอย (Jet)
ให้ความชื้นในทางเดินหายใจที่อยู่ลึกเหมาะกับผู้ป่วยที่มีเสมหะเหนียว มักเห็นเป็นหมอก สายให้ ออกซิเจนมักมีขนาดใหญ่และเป็นลูกฟูก (corrugated) ได้แก่ croupette tent, oxygen box (hood) , T- piece, และtracheostomy collar
1) ชนิดละอองโต (Bubble)
ให้ความชื้นในส่วนต้นของทางเดินหายใจ 30 – 40 % สายให้ก๊าซมีขนาดเล็ก น้ำจะปุดเป็นฟองเมื่อ เปิดให้กับผู้ป่วย มักใช้กับ oxygen cannula
แหล่งให้ออกซิเจน (Oxygen source)
1) ถังบรรจุออกซิเจน (Oxygen tank)
2) ระบบท่อ (Oxygen pipeline)
1) ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดต่ำ
(2) การให้ออกซิเจนทางหน้ากาก (mask)
(2.1) Simple mask เป็นชนิดที่ให้ออกซิเจนความเข้มข้นร้อยละ 40-50 การปรับอัตรา ไหลของออกซิเจน 5 – 8 ลิตร/ นาที
(2.2) Reservoir bag (partial rebreathing mask) ให้ความเข้มข้นสูงกว่าร้อยละ 60– 90
(2.3) Non rebreathing mask ลักษณะคล้าย partial rebreathing ยกเว้นรูระบาย อากาศส่วนหน้ากากลักษณะเป็นลิ้นไหลทางเดียว (unidirectional valve) ทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้อากาศไหลออกสู่ ภายนอกอย่างเดียวไหลเข้าไม่ได้
(1) การให้ออกซิเจนชนิดเขี้ยว (nasal cannula) หรือ nasal prongs
ข้อเสีย อาจมีการระคายเคืองช่องจมูกทั้งสองข้าง ท าให้เยื่อบุจมูกบวมและมีน้ ามูกออกมาอุดทำให้ท่อตันได้
ข้อดี ผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้โดยไม่ต้องปลดสายออก
7.7 บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
7.6.2 การบริหารการหายใจ
1) การหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องหรือกระบังลม
วิธีการปฏิบัติ
ตรวจดูให้แน่ใจว่าจมูก หลอดลม ไม่มีน้ำมูก หรือเสมหะ และไม่มีอาการบวมคั่ง
ช่วยเหลือผู้ป่วยจัดท่าให้อยู่ในท่าที่สบาย
สอนผู้ป่วยให้หายใจเข้าลึกๆ ทางจมูก
แนะนำให้ผู้ป่วยหยุดหายใจช้าๆ หลังหายใจเข้าลึกเต็มที่แล้วเป่าลมออกทางปากช้า ๆ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยหดเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องไล่อากาศออกจากปอดให้มากที่สุด
อธิบายให้ผู้ป่วยเป่าลมออกทางปากช้า ๆ ประมาณ 2 – 3 เท่า ของระบบการหายใจ
เข้า
ใช้ของหนักประมาณ 5 ปอนด์ วางบนหน้าท้องเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง
ให้ผู้ป่วยฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องหรือกระบังลม
2) การหายใจโดยการห่อปาก (pursed - lip breathing)
วิธีการปฏิบัติ
แนะนำผู้ป่วยให้หายใจออกทางปากช้า ๆ โดยการห่อปาก
อธิบายให้ผู้ป่วยตั้งใจเป่าลมออกทางปากช้า ๆ
แนะนำผู้ป่วยให้หายใจเข้าลึกๆ ทางจมูก
ใช้วิธีการหายใจ เมื่อผู้ป่วยมีการหายใจสั้น และฝึกการหายใจ 5-10 นาที วันละ 4 ครั้ง
ช่วยเหลือผู้ป่วยจัดท่าให้อยู่ในท่าที่สบาย
เนื่องจากหายใจลำบาก ถ้าผู้ป่วยฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จะช่วยลดความวิตกกังวลของ ผู้ป่วย
3) การหายใจเข้าลึกๆ (deep breathing)
วิธีการปฏิบัติ
จัดท่าให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึก ๆ และไอได้สะดวก
รวบตรึงบริเวณผ่าตัดด้วยหมอน โดยใช้มือกอดหมอน หรือรวบหมอนกดให้แน่น ขณะที่ ผู้ป่วยไอ ถ้าผู้ป่วยทำไม่ได้พยาบาลต้องช่วยเหลือ
แนะนำให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึก ๆ อย่างช้า ๆ ในกรณีผู้ป่วยหลังการผ่าตัด ควรให้ยา ระงับปวดก่อน 20 – 30 นาที
แนะนำผู้ป่วยให้กลั้นหายใจและไอออกแรงๆ
เตรียมกระดาษเยื่อและชามรูปไต หรือกระโถนให้ผู้ป่วย
อุปกรณ์ที่ช่วยในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน เรียกว่า spirometer (tri-flow)
วิธีการปฏิบัติ
ให้ผู้ป่วย อม mouthpiece และสูดหายใจเข้า สังเกตลูกบอลลอยขึ้นได้กี่ลูก
ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึก ๆ อย่างช้า ๆ แล้วกลั้นหายใจไว้ประมาณ 3 – 6 วินาที
จัดท่าให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอนในท่าศีรษะสูง
เอา mouthpiece ออกจากปาก และหายใจออกอย่างปกติก่อนที่จะเป่าครั้งต่อไปด้วย Spirometers
ยาขยายหลอดลม เป็นการส่งเสริมการได้รับออกซิเจนในบทบาทกึ่งอิสระ
สามารถทำได้ ดังนี้
วิธีการใช้ยา MDI
การพ่นเข้าสู่ทางเดินหายใจจะช่วยให้ยาดูดซึมได้เร็ว โดยผ่านเข้าไประหว่างเนื้อเยื่อปอด และลดอาการข้างเคียง (side effects) ต่างๆ
การให้ยาขยายหลอดลมโดยผ่านออกซิเจนละอองฝอย (oxygen nebulizer) อาจเรียกว่า handhold nebulizer ตามแผนการรักษาของแพทย์
7.6.1 การจัดท่าผู้ป่วย
hypoxia
high fowler’s position
ผู้ป่วยที่หายใจลำบากทำให้นอนราบไม่ได้
ควรจัดท่า orthopnea position
7.6.3 การดูดเสมหะ (suction)
ปฏิบัติดังนี้
การช่วยทำให้ทางเดินหายใจโล่ง
ทำการดูดเสมหะออก
กระตุ้นให้ไอบ่อย ๆ และให้ดื่มน้ำมาก ๆ ให้เสมหะอ่อนตัวไอออกได้ง่าย
จัดท่านอนให้เหมาะสม กระตุ้นให้เปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ
การทำ postural drainage เป็นการจัดท่าเพื่อช่วยระบายเสมหะที่ค้างอยู่
การเพิ่มความสามารถในการขยายตัวของทรวงอกและปอด
จัดให้มีการออกกำลังกายตามความสามารถของผู้ป่วย
กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจลึก ๆ บ่อยๆ
ป้องกันอาการท้องอืดที่อาจเกิดขึ้น โดยให้อาหารที่ย่อยง่ายครั้งละน้อย ๆ
จัดท่านอนศีรษะสูง
ใส่เสื้อผ้าที่สวมสบายให้แก่ผู้ป่วย
การเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่เข้าปอด
ให้ออกซิเจนชนิดเขี้ยว (nasal cannula) หรือทางหน้ากาก (oxygen mask) หรือทางเต้นท์ (oxygen tents)
ควบคุมให้อัตรา ความเข้มข้นต่ำ ขนาด 1–2 ลิตร/ นาที
การลดความต้องการปริมาณออกซิเจนในร่างกาย
การผ่อนคลายความวิตกกังวล โดยแนะนำการทำสมาธิ หรือการนอนใส่หูฟัง ให้ฟังเพลง
การดูดเสมหะ
เครืองมีให้เลือกใช้อยู่ 2 ชนิด คือ
ชนิดติดฝาผนัง (wall suction)
เครื่องดูดเสมหะชนิดเคลื่อนที่ (mobile suction)
วิธีการดูดเสมหะผู้ป่วย มี 2 วิธี
การดูดเสมหะทางจมูก (Nasopharygeal) หรือปาก (oropharyngeal suction)
การดูดเสมหะทางท่อช่วยหายใจ(Endotracheal) หรือทางท่อหลอดคอ (tracheostomy suction)
การดูดเสมหะทางปาก
สิ่งที่ต้องประเมิน
ฟังเสียงปอดได้ยินเสียงเสมหะ
สังเกตอาการเหนื่อย หายใจลำบาก
สังเกตแบบแผนและลักษณะการหายใจค่อนข้างแรงมาก อัตราการหายใจเร็ว
สังเกตลักษณะสีผิว เล็บ และริมฝีปาก มีอาการ cyanosis
สังเกตอาการซึมลงของผู้ป่วย
ประเมินอาการไอมีประสิทธิภาพที่จะขับเสมหะออกได้ลดลง
สังเกตลักษณะเสมหะ เหนียว และมีจำนวนมาก
สังเกตอาการอาเจียนหรือขย้อนอาหารอยู่ในปาก
การเตรียมเครื่องใช้
oral airway หรือ nasal airway 2. เครื่องดูดเสมหะ 3. สายหล่อลื่นหรือน้ำกลั่น 4. สายดูดเสมหะที่สะอาดปราศจากเชื้อ ตามขนาดผู้ป่วย 5. ท่อต่อ (connector) ใช้ต่อสายดูดเสมหะกับเครื่องดูดเสมหะ หรือท่อต่อนี้อาจเป็นส่วนหลาย ของสายดูดเสมหะ 6. ไม้กดลิ้นที่สะอาด 7. ถุงมือสะอาด 8. ขวดน้ำเกลือใช้ภายนอก (normal saline external use) ขนาด1000 ซีซี
วิธีการปฏิบัติ
ล้างมือให้สะอาด ใส่mask เพื่อลดการแพร่ของเชื้อโรค
สวมถุงมือ เพื่อหลีกเลี่ยงการเปื้อนเสมหะ
1.อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจ เพื่อลดความวิตกกังวลและให้ความร่วมมือ
จัดท่าผู้ป่วยให้นอนตะแคงศีรษะต่ำเล็กน้อย เพื่อช่วยให้เสมหะออกได้สะดวก ไม่เกิดการ สำลักเข้าปอด
หยิบสายดูดเสมหะต่อกับเครื่องดูดเสมหะแล้ว ปรับแรงดันเครื่องดูดเสมหะให้เหมาะสมตาม ประเภทของผู้ป่วย ตรวจสอบแรงดันโดยใช้นิ้วปิดปลายของสายดูดเสมหะ
ให้ผู้ป่วยช่วยอ้าปาก กรณีไม่รู้ตัวใช้ไม้กดลิ้นช่วยในการอ้าปากผู้ป่วย
การดูดเสมหะแต่ละครั้งไม่ควรนานเกิน 10 วินาที
ขณะทำการดูดเสมหะ พบว่า ดูดไม่ขึ้นหรือดูดไม่ออกให้หยุดทำการดูดเสมหะไว้ก่อน
ล้างสายดูดโดยการดูดผ่านน้ำเกลือใช้ภายนอก เป็นการทำความสะอาด สายดูดเสมหะ 1-2 ครั้ง
เช็ดทำความสะอาดบริเวณที่มีน้ำเปียก เช็ดน้ำตาผู้ป่วยที่อาจไหลขณะดูดเสมหะ จัดท่าให้ ผู้ป่วยสุขสบาย เพื่อให้หายใจได้สะดวก
ถอดสายดูดเสมหะ เก็บของให้เข้าที่เรียบร้อย ถอดถุงมือออกทิ้ง
อาการแทรกซ้อน
แรงกด หรือการระคายเคืองบริเวณรูจมูกและริมฝีปากอาจทำให้เกิดแผล
เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินหายใจ ในขณะดูดเสมหะ
อาจเกิดการสำลักจากการกระตุ้น gag reflex หรือจัดท่าผู้ป่วยไม่ถูกต้อง
ริมฝีปากแห้งเกิดเป็นแผลได้ง่าย
มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย
อาจเกิดความผิดปกติในผู้ปุวยโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และเกิดภาวะความดัน ในสมองสูง
การพยาบาลผู้ป่วยด้านจิตใจก่อน/ ขณะ/ และหลังการดูดเสมหะ
บอกให้ผู้ป่วยทราบก่อนว่า เพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย และให้ความร่วมมือ
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าจะมีการหายใจลำบากในขณะดูด
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าในถึงวัตถุประสงค์และความจำเป็นของการดูดเสมหะ
ทำการดูดเสมหะด้วยความเบามือ และนุ่มนวล
แสดงท่าทางสุภาพอ่อนโยน บ่งบอกถึงความเป็นมิตร และช่วยลดภาวะตื่นกลัว
หลังดูดเสมหะเสร็จเช็ดทำความสะอาด เก็บของใช้ และจัดสิ่งแวดล้อมให้เรียบร้อย
พูดให้กำลังใจก่อนเดินออกจากเตียงผู้ป่วย
การเก็บเสมหะ มี 2 วิธี คือ
การตรวจเสมหะแบบเพาะเชื้อ
วัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบว่าผู้ป่วยติดเชื้อชนิดใด และมีปฏิกิริยา ต่อยาปฏิชีวนะตัวใด และเพื่อปรับเปลี่ยนแผนการรักษา
การเก็บเสมหะส่งตรวจ
วัตถุประสงค์เพื่อส่งวิเคราะห์โรค วิธีเก็บเสมหะส่งตรวจ ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึก ๆ แล้วไอออกมา เพื่อให้ได้เสมหะแล้วบ้วนลงภาชนะสะอาดชนิดมีฝาปิด
วิธีเก็บเสมหะส่งตรวจ
กรณีผู้ป่วยไอขับเสมหะได้เอง
ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึกๆ แล้วไอออกมา เพื่อให้ได้เสมหะแล้วบ้วนลง ภาชนะสะอาดปราศจากเชื้อชนิดมีฝาปิด
กรณีผู้ป่วยที่ไม่สามารถขับเสมหะออกได้เอง
ใช้การดูดเสมหะลงภาชนะสะอาดปราศจากเชื้อชนิดมีฝา
ปิด
7.8 ความปลอดภัยขณะผู้ป่วยได้รับออกซิเจน
บทบาทของพยาบาล ข้อควรปฏิบัติและต้องคำนึงถึง
อาจเกิดการติดเชื้อโรคแทรกซ้อน ควรมีการเฝ้าระวังในเรื่องการติดเชื้อ ควรมีการเฝ้าระวังในเรื่องการติดเชื้อ
อาจเกิดอุบัติเหตุจาการเกิดไฟไหม้หรือการระเบิด
อาจเกิดการหยุดหายใจ
อาจเกิดอันตรายกับดวงตา
อาจเกิดการทำลายเนื้อเยื่อในปอด
อาจทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจแห้งและเกิดการระคายเคืองได้ การป้องกันทำได้โดยต้องให้ออกซิเจนผ่าน น้ำเสมอก่อนเข้าสู่ผู้ป่วย
หลักปฏิบัติในการให้ออกซิเจนชนิดต่าง ๆ
ปรับระดับลูกลอยใน flow meter จะได้ปริมาณของออกซิเจนมีหน่วยเป็นลิตรต่อนาทีตามที่ ต้องการ สวมท่อสายยางของอุปกรณ์ให้ออกซิเจน กับท่อ flow meter
หมุนปุ่มเปิด flow meter ปรับอัตราการไหลของออกซิเจนทิ้งไว้ 1 – 2 นาที เพื่อทดสอบว่า มีออกซิเจนไหลผ่าน และได้ปริมาณตามแผนการรักษาทุกครั้งก่อนสวมอุปกรณ์ให้ผู้ป่วย
ต่อกระบอกความชื้นที่ใส่น้ำกลั่นปลอดเชื้อ
กรณีให้ nasal cannula ให้ปฏิบัติ
สวมเขี้ยวเข้าในช่องจมูกทั้ง 2 ข้างโดยให้ส่วนโค้งแนบไปกับโพรงจมูก คล้องสายกับใบหู 2 ข้าง ปรับสายให้พอดีไว้ใต้คาง หรืออ้อมรอบศีรษะ เพื่อให้อยู่ในตำแหน่งป้องกันเลื่อนหลุด
ทำความสะอาดช่องจมูกทั้งสองข้าง และทุก 8 ชั่วโมงเพื่อให้ช่องจมูกโล่ง
ใส่ flow meter กับแหล่งที่มาของออกซิเจนที่มาจากชนิดผนัง (wall type) จากถังใช้ highpressure gas regulator ให้ถูกต้องและแน่นพอดี
กรณีให้ mask ให้ปฏิบัติ ดังนี้
ชนิดมีถุง เปิดออกซิเจนไหลผ่านถุง 10 -20 ลิตร/ นาที จนถุงโป่งเต็มที่เพื่อไล่ก๊าซอื่นที่ ค้างในถุงออกรวมทั้งทดสอบถุงไม่รั่วแล้วจึงใส่เหมือน simple mask
simple mask ครอบหน้ากากบริเวณสันจมูกและปากให้แนบสนิท ปรับสายคล้องทัด เหนือใบหูรอบศีรษะ จัดให้พอดีป้องกันการรั่วของออกซิเจน )
ประเมินสัญญาณชีพและระดับความรู้สึกตัว เพื่อประเมินอาการผู้ป่วย
กรณีให้ oxygen hood (oxygen box) ให้ปฏิบัติ ดังนี้
วางครอบเฉพาะศีรษะและไหล่ ระวังไม่ให้สายอยู่ใกล้หน้าเด็ก ให้ออกซิเจนในปริมาณ พอเพียงและไม่ให้ออกซิเจนระคายเคืองตาเด็ก
ต่อท่อออกซิเจนเข้ากับกล่อง
ล้างมือให้สะอาด สวมmask เพื่อป้องกันการนำเชื้อเข้าสู่ผู้ป่วย
กรณีให้ T- piece ให้ปฏิบัติ ดังนี้
ควรดูดเสมหะออกก่อนเพื่อให้ออกซิเจนไหลผ่านหลอดลมคอได้สะดวก
ต่อสาย T – piece ครอบท่อหลอดลมคอ จัดสายไม่ให้เกิดภาวะดึงรั้งกรณีผู้ป่วยที่ได้รับ ยาในรูปการสูดละอองยาเข้าทางเดินหายใจโดยตรง (aerosol therapy) ควรปรับอัตราการไหลของออกซิเจน 6 – 8 ลิตร/ นาที โดยหลักการอัตราการไหลของก๊าซสูงขึ้นทำให้ aerosol มีอนุภาคขนาดเล็ก
ลงบันทึกทางการพยาบาล ได้แก่ อาการ สัญญาณชีพ ปริมาณออกซิเจนที่ให้อุปกรณ์ที่ใช้ และปฏิกิริยาผู้ป่วยเมื่อได้รับออกซิเจน
7.9 กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
ตัวอย่าง
หญิงไทยสูงอายุ 90 ปี ป่วยเป็นโรคชราและความจำเสื่อม ช่วยเหลือตนเองได้น้อยมาก นอนติดเตียง (bed redden) ให้ออกซิเจน cannula 2 lit/min มีเสมหะใสไอออกได้เอง จงประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจนสำหรับผู้ป่วยรายนี้
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปุวยได้รับออกซิเจนได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย 2 lit/ min ตาม แผนการรักษา และไม่เกิดภาวะพร่องออกซิเจน
เกณฑ์การประเมินผล
.2 ไม่มีพบอาการของภาวะพร่องออกซิเจน เช่น หายใจหอบเหนื่อย ปลายมือปลายเท้า เขียว และค่า O2 sat ≥ 95%
ผลเลือด Hb = 12 - 16 g/ dl และHct = 37 - 47 % 5. ฟังปอด พบ ทางเดินหายใจโล่งไม่มีเสมหะ
วางแผนให้การผู้ป่วยได้รับออกซิเจนได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย 2 lit/ min ตามแผนการรักษาและมีความปลอดภัยขณะได้รับการออกซิเจน และจัดเตรียมอุปกรณ์การให้ออกซิเจนชนิด cannula
ผู้ป่วยได้รับ O2 cannula 2 lit/ min และปลอดภัย
อัตราการหายใจอยู่ในช่วง 16-24 ครั้ง/ นาที ลักษณะการหายใจปกติ
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
ประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนได้รับออกซิเจน ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน ประเมินอัตรา การหายใจ ชีพจร สีของเล็บ ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนัง ลักษณะการซีด และเขียว
ปรับออกซิเจนให้ได้ 2 lit/ min แล้วจัดให้สาย cannula อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมคล้อง สายกับหูทั้งสองข้างให้พอดี
จัดสิ่งแวดล้อมให้มีความปลอดภัย ติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ หรือห้ามนำวัตถุไวไฟเข้าใกล้ บริเวณเตียงผู้ป่วย และดูแลให้น้ำกลั่นใน humidifier ในระดับปกติ
จัดท่านอนศีรษะสูง เพื่อทำให้กระบังคมเคลื่อนต่ำลง ปอดขยายตัวได้เต็มที่เพิ่มพื้นที่ใน การแลกเปลี่ยนก๊าซมากขึ้น
สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ การไออย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้ลดการคั่งค้างของ เสมหะที่ปอดทำให้ปอดขยายตัวได้เพิ่มขึ้น
วัด vital signs ทุก 4 ชม เพื่อการประเมินสัญญาณชีพจะช่วยให้ทราบความรุนแรงของ ภาวะพร่องออกซิเจน
ประเมิน O2 saturation ทุก 2 ชม. เพื่อเป็นการวัดระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
ติดตามผลเลือด Hb, Hct และ Chest X-Ray เพื่อทราบค่าแสดงถึงความเข้มข้นของเลือ ในร่างกายและ Chest X-ray เป็นการประเมินความก้าวหน้าของการรักษา เพื่อติดตามผลการรักษา อาการ infiltration ในปอดลดลง คงที่ หรือเพิ่มขึ้น
ดูแลส่งเสริมการพักผ่อนและการนอนหลับผู้ป่วยให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เพราะการพักผ่อนบนเตียงจะช่วยลดการใช้ออกซิเจนในการทำกิจกรรม ทำให้อาการเหนื่อยอ่อนเพลียลดลง
ให้การพยาบาลด้านจิตใจและจิตวิญญาณ เพื่อลดความวิตกกังวลและความกลัว
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง
ข้อมูลสนับสนุน ผู้ป่วยมีเสมหะสีเหลืองข้น
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
5.1 ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
3) ไม่มีพบอาการของภาวะพร่องออกซิเจน และค่า O2 sat ไม่น้อยกว่า 95 %
4) อัตราการหายใจอยู่ในช่วง 16 - 24 ครั้ง/ นาที ลักษณะการหายใจปกติ
2) ผู้ป่วยได้รับ O2 cannula 2 lit/min และปลอดภัย
5) ผลเลือด Hb = 12 - 16 g/ dl และHct = 37 - 47 %
1) ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วย
6) ฟังปอด พบ fine Crepitation at Right lower lobe ลดลง
5.2 ประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล
2) ประเมินการจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ครบถ้วนเพียงพอหรือไม่
1) ประเมินการปฏิบัติถูกต้องครบและเป็นไปตามขั้นตอนของการปฏิบัติ
5.3 ประเมินผลคุณภาพการบริการ
ประเมินคุณภาพของการให้บริการ ข้อ 5.2 และข้อ 5.3 ทุกข้อ อยู่ในระดับใด (โดยการ ให้คะแนนระดับดีมาก – ดี – ปานกลาง - ปรับปรุง)
การประเมินภาวะสุขภาพ (Health assessment)
S : “ผู้ป่วยบอกว่าหายใจไม่สะดวก”
O : หญิงไทยสูงอายุ ป่วยเป็นโรคชราและความจำเสื่อมนอนติดเตียง อ่อนเพลีย ซีดเล็กน้อย รูปร่างผอมบาง ช่วยเหลือตนเองได้น้อย on O2 cannula 2 lit/min
การตรวจร่างกาย: พบ fine Crepitation at Right lower lobe
ผล Chest X-ray ปอดพบ: infiltration Right upper lobe
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ: Hct = 27 % Hb = 9 mg %
Vital signs: T = 37 ˚C, P = 80 ครั้ง/ นาที, R = 26 ครั้ง/ นาที, BP = 140/ 90 mmHg