Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 การส่งเสริมภาวะโภชนาการ image - Coggle Diagram
บทที่ 8
การส่งเสริมภาวะโภชนาการ
8.1 ความหมายของโภชนาการและภาวะโภชนาการ
ความหมายของโภชนาการ (Nutrition)
โภชนาการ หมายถึง วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร สารอาหาร และสารอื่นที่มีอยู่ ในอาหารหรือสารอาหาร ตลอดจนปฏิกิริยาระหว่างกันของสารอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ สิ่งมีชีวิตย่อย ดูดซึม ขนส่ง นำสารอาหารไปใช้และสะสมในร่างกาย
โภชนาการ หมายถึง วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของอาหารทั้ง ทางด้านอินทรีย์เคมี อนินทรีย์เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ของอาหาร โดยเริ่มตั้งแต่อาหารเข้าสู่ร่างกาย ผ่านกระบวนการย่อย การดูดซึม การใช้จ่ายสารอาหารต่าง ๆ ในร่างกาย การเก็บสะสมสารอาหารที่ เหลือใช้ และการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย (สุรีย์ แถวเที่ยง, 2552)
ภาวะโภชนาการ (Nutritional Status)
ภาวะโภชนาการ หมายถึง สิ่งที่แสดงถึงระดับที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับสารอาหาร เพื่อ นำมาใช้ในด้านสรีระอย่างเพียงพอความสมดุลของสารอาหารที่ได้รับเข้าไปกับสารอาหารที่ร่างกายใช้ มีอิทธิพลจากปัจจัยหลายอย่าง
ภาวะโภชนาการ หมายถึง ผล สภาพ หรือภาวะของร่างกายที่เกิดจากการบริโภค อาหาร แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
ภาวะโภชนาการดี (Good nutritional status) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ ถูกหลักโภชนาการ คือ มีสารอาหารครบถ้วน ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และ ร่างกายใช้สารอาหารเหล่านั้นในการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่
2) ภาวะโภชนาการไม่ดี (Bad nutritional status) หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับเพียงพอ แต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารที่ได้รับ
ภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (Malnutrition) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับ สารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยอาจขาดสารอาหารเพียง 1 ชนิด หรือมากกว่า และอาจ ขาดพลังงานด้วยหรือไม่ก็ได้
ภาวะโภชนาการเกิน (Over nutrition) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหาร มากเกินความต้องการของร่างกาย และเก็บสะสมไว้จนเกิดอาการปรากฏ
8.2 ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ
ความชอบส่วนบุคคล พบว่าความชอบและไม่ชอบบริโภคอาหารของแต่ละบุคคลมี ผลต่อภาวะโภชนาการ
ผลจากการดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ทำให้ความรู้สึกอยากอาหารลดลง
ภาวะสุขภาพ พบว่า การเจ็บป่วยเรื้อรังมีผลต่อภาวะโภชนาการ
วิถีชีวิต ปัจจุบันมีผู้เลือกดำเนินชีวิตตามวิถีสุขภาพโดยเลือกงดรับประทานสัตว์และ ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากสัตว์
การใช้ยา พบว่า ยาที่มีผลข้างเคียงให้เกิดอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เช่น ยา รักษาวัณโรค-พีเอเอส (Paraaminobenzoic acid: PAS) ยาลดความอ้วน ยารักษาโรคเบาหวานบาง ตัว
เศรษฐานะ พบว่า ภาวะเศรษฐกิจดีทำให้ผู้คนเลือกรับประทานอาหารได้ตามความ ต้องการ ตรงกันข้ามในภาวะเศรษฐกิจไม่ดีการเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์อาจลดปริมาณ ลงหรือหยุดรับประทานไปจนกว่าจะมีกำลังซื้อกลับคืนมาอีกครั้ง
เพศ พบว่าเพศชายต้องการพลังงานในหนึ่งวันมากกว่าเพศหญิง
วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา พบว่าการดำเนินชีวิตตามบริบทของวัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา ยังดำเนินชีวิตอยู่ในกระบวนทัศน์เดิม มีผลต่อภาวะโภชนาการทั้งสิ้น
อายุ พบว่าในวัยเด็กมีความต้องการสารอาหารมากกว่าในวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ
ปัจจัยด้านจิตใจ พบว่า ความเครียด และความกลัวทำให้ความอยากอาหารลดลง รู้สึกเบื่ออาหาร กลืนอาหารไม่ลงคอ หรือมีอาการปากคอขมโดยไม่ทราบสาเหตุ
8.3 ความสำคัญของอาหารต่อภาวะเจ็บป่วยและความต้องการพลังงานของร่างกายใน ภาวะเจ็บป่วย
8.3.1 ความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
ความต้องการพลังงานหรือพลังงานที่ต้องการใช้ (Energy Expenditure: EE)
พลังงานที่เพียงพอหรือเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในการสร้าง Adenosine triphosphate: ATP
ความต้องการพลังงานพื้นฐาน (Basal energy expenditure: BEE) หรือพลังงานที่ ต้องการขณะพัก (Resting Energy Expenditure: REE ) BEE
พลังงานที่น้อยที่สุดที่ทำให้ เกิดกระบวนการเมทาบอลิสซึมของร่างกายก่อนที่จะมีการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ
ความต้องการพลังงานทั้งหมด (Total Energy Expenditure: TEE)
ผลรวม ของพลังงานทั้งหมดใน 1 วัน ซึ่งรวมถึง BEE พลังงานที่ใช้ในการย่อย และดูดซึมสารอาหาร การใช้ พลังงานจากการท างานของร่างกายในแต่ละวัน และการใช้พลังงานของผู้ป่วยเฉพาะโรค
สูตร BEE
เพศหญิง BEE = 655.09 + (9.56 x น้ าหนัก (Kg)) +(1.85 x ความสูง (Cm )) –(4.68 x อายุ (ปี))
เพศชาย BEE = 66.47+ (13.75 x น้ าหนัก (Kg )) + (5. 00 x ความสูง (Cm )) – (6.75 x อายุ (ปี))
TEE = BEE x Activity factor x stress factor
อาหาร หมายถึง สิ่งใด ๆ ซึ่งรับประทานเข้าไปแล้ว เพื่อเสริมสร้างความเจริญเติบโตและ การมีโภชนาการที่ดีให้แก่ร่างกาย
อาหาร (Food) และสารอาหาร (Nutrient) มีความสำคัญต่อภาวะการเจ็บป่วย และ ด้วยศาสตร์การดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์ทางเลือก
ผู้ป่วยได้รับสารอาหารและพลังงานไม่เพียงพอ ย่อม ส่งผลกระทบ
ภูมิคุ้มกันโรคลดลง
การหายของแผลช้า
เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ความแข็งแรงและโครงสร้างของผิวหนังผิดปกต
วันนอนโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น
อัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น
8.4 การประเมินภาวะโภชนาการ
8.4.1 การวัดสัดส่วนของร่างกาย
ค่าดัชนีมวลกาย
ผอมเล็กน้อย (ระดับ 1) ค่าดัชนีมวลกาย 18.4-17.0
ผอม ค่าดัชนีมวลกาย <18.5
ปกติ ค่าดัชนีมวลกาย <18.5-22.9
น้ำหนักเกิน ค่าดัชนีมวลกาย ≥ 23.0
ผอมปนกลาง (ระดับ 2) ค่าดัชนีมวลกาย 16.9-16.0
อ้วน (มีความเสี่ยง) ค่าดัชนีมวลกาย ค่าดัชนีมวลกาย
ผอมมาก (ระดับ 3) ค่าดัชนีมวลกาย <16.0
อ้วนปานกลาง (ระดับ1) ค่าดัชนีมวลกาย 25.0-29.9
อ้วนมาก (ระดับ 2)ค่าดัชนีมวลกาย >30.0
1) ดัชนีมวลของร่างกาย (Body Mass Index ; BMI)
BMI = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)/ ส่วนสูง (เมตร)2
8.4.2 การประเมินทางชีวเคมี (Biochemical assessment: B)
เป็นวิธีการเจาะ เลือด เพื่อประเมินภาวะโภชนาการ
การประเมินภาวะโลหิตจาง (Anemia) ใช้ค่าของฮีโมโกลบิน (Hb) และค่าฮีมาโตรคิต (Hct) Hemoglobin (Hb) การแปลผล ค่าต่ ากว่า 10 mg% แสดงผลภาวะโลหิตจาง
ชาย ค่าปกติ 14 –18 mg %
หญิง ค่าปกติ 12-16 mg%
Hematocrit (Hct) การแปลผล ค่าต่ำกว่า 30 % แสดงผลภาวะโลหิตจาง
ชาย ค่าปกติ 40 –54 %
หญิง ค่าปกติ 37-47 %
8.4.3 การตรวจร่างกายทางคลินิก (Clinical assessment: C)
1) ตรวจ Conjunctiva ของเปลือกตาล่าง (ปกติจะมีสีชมพูค่อนข้างแดง)
2) สังเกตดูลักษณะเล็บเรียบเป็นมัน มีสีชมพู (ลักษณะเล็บที่คล้ายรูปช้อน ผิวไม่ เรียบ แสดงถึงการขาดธาตุเหล็ก และลักษณะเล็บมีแถบสีขาวพาดขวาง แสดงถึงภาวะขาดโปรตีน) กด ตรงกลางเล็บแล้วปล่อย (ปกติจะกลับมาสีชมพูเหมือนเดิมไม่เกิน 2 วินาที)
3) ตรวจดูฝ่ามือ ให้เทียบกันทั้ง 2 ข้าง (ปกติจะมีสีชมพู)
8.4.4 การประเมินจากประวัติการรับประทานอาหาร(Dietary assessment: D)
มีประวัติรับประทานอาหารเจตลอดชีวิต
ผลการประเมิน: มีโอกาสขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
มีประวัติชอบรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
ผลการประเมิน: มีโอกาสเกิดโรคพยาธิใบไม้ในตับ
มีประวัติเลือกรับประทานอาหารประเภททอด และอาหารรสหวาน
ผลการประเมิน: มีโอกาสเกิดภาวะโภชนาการเกิน (น้ำหนักเกินมาตรฐาน)
8.5 การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ
8.5.1 Obesity (ภาวะอ้วน)
ภาวะอ้วน คือร่างกายมีการสะสมของมวลไขมันในร่างกายมากเกินไปมีค่าดัชนีมวล กาย (BMI) ทั้งเพศชายและเพศหญิง ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป และจากการวัดขนาดรอบเอวในผู้ชายรอบเอว มากกว่า 40 นิ้ว (102 เซนติเมตร) ผู้หญิง 35 นิ้ว (88 เซนติเมตร) อัตราส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก เพศชาย ≥ 0.9 เพศหญิง ≥ 0.85
การพยาบาลผู้ที่มีภาวะอ้วน
1) คำนวณพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน
3) จำกัดการใช้น้ำมัน ไขมัน น้ำตาล
4) หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แป้งและไขมันสูง
5) รับประทานอาหารครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้งและจำกัดอาหารมื้อเย็น
6) หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารขณะดูโทรทัศน์
7) เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารจากผักผลไม้ และธัญพืชที่ไม่ขัดสี
8) ส่งเสริมให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหรือสัปดาห์ละ 3 วัน
8.5.2 Emaciation (ภาวะผอมแห้ง)
ภาวะผอมแห้ง คือ ภาวะที่ผอมมากเกินไป BMI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 16 กิโลกรัมต่อ ตารางเมตร และน้ำหนักลดลงตลอดเวลาและลดลงเป็นเวลานาน
8.5.2.1 Anorexia nervosa
ภาวะเบื่ออาหารเป็นความรู้สึกไม่อยากรับประทาน อาหาร อาจรู้สึกต่อต้าน เมื่อนึกถึงหรือเมื่อเห็นอาหาร รับประทานแล้วไม่ค่อยรู้สึกอร่อย
8.5.2.2 Bulimia Nervosa
เป็นความผิดปกติของพฤติกรรมการรับประทาน โดยจะ รับประทานวันละหลาย ๆ ครั้ง ครั้งละมาก ๆ โดยหลังจากรับประทานเสร็จจะรู้สึกไม่สบายใจและ รู้สึกผิดที่รับประทานเข้าไปมากมาย จึงต้องหาวิธีเอาออกโดยอาจล้วงคอให้อาเจียนออกมาจนหมด หรือกินยาระบายอย่างหนัก ตลอดจนอดอาหาร
8.5.2.3 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะ Anorexia nervosa และ Bulimia nervosa
1) หาสาเหตุ ที่พบได้บ่อย ๆ เช่น โรคปากและฟัน คออักเสบ
2) ส่งเสริมความรู้สึกอยากอาหารให้มากที่สุดและลดความรู้สึกเบื่ออาหาร โดย จัดให้รับประทานอาหารในท่าสบาย รักษาความสะอาดโดยเฉพาะปากและฟัน
3) ดูแลด้านจิตใจ พยายามให้ช่วงเวลารับประทานอาหารเป็นเวลาที่จิตใจสบาย สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายขณะที่รับประทานอาหารเท่าที่ทำได้
4) การใช้ยา แพทย์อาจพิจารณาให้ยากระตุ้นความอยากอาหาร ในรายที่ไม่พบ โรคทางร่างกายและต้องการให้รับประทานอาหารมากขึ้น
5) การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
5.1 พยายามให้รับประทานอาหารทางปากมากที่สุด โดยอำนวยความสะดวก และช่วยเหลือเกี่ยวกับการรับประทานตามความเหมาะสม เช่น ช่วยป้อน
5.2 พิจารณาและแนะนำเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ไข่ นม อาหารเสริมสาเร็จรูป เพิ่มมื้ออาหาร
5.3 ส่งเสริมให้มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือทำกิจกรรมตามสภาพ ร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้ระบบทางเดินอาหารทางานได้ดีขึ้น
5.4 การให้อาหารด้วยวิธีพิเศษเช่นการให้อาหารทางสายที่ใส่ทางจมูกถึง กระเพาะอาหาร
8.5.3 Nausea and vomiting (อาการคลื่นไส้และอาเจียน)
อาการคลื่นไส้ เป็นความรู้สึกอยากขับอาหารที่กินเข้าไปแล้วออกทางปาก
อาการอาเจียน คือ การที่มีแรงดันจากภายในดันเอาสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร หรือ ลำไส้เล็กส่วนต้นออกมาทางปาก
8.5.3.1 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
1) การพยาบาลผู้ป่วยขณะอาเจียน เมื่อพบผู้ป่วยจะอาเจียน พยาบาลต้องรีบให้ การช่วยเหลือโดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยปลอดภัยและสุขสบาย
(1) จัดหาภาชนะรองรับอาเจียน
(2) จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่อาเจียนออกได้สะดวก ช่วยลูบหลังลงเบา ๆ
(3) คอยอยู่เป็นเพื่อนขณะที่ผู้ป่วยกาลังอาเจียน
2) สังเกตสิ่งต่าง ๆ เพื่อบันทึกและรายงานอย่างถูกต้อง
3) การพยาบาลผู้ป่วยหลังอาเจียน
(1) ดูแลความสะอาดของร่างกายและเครื่องใช้
(2) จัดสิ่งแวดล้อม ดูแลให้อากาศถ่ายเท วางของให้เป็นระเบียบ ทำให้
ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและพักผ่อนได้
(3) ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในบรรยากาศที่สงบ ลดการรบกวนจากภายนอก
(4) น้ำและอาหาร ในระยะแรกให้งดอาหารและน้ำ และเริ่มให้ทีละน้อย
5) ดูแลความสะอาดร่างกาย ปาก ฟัน เครื่องใช้ สิ่งแวดล้อม
6) เตรียมพร้อมถ้ามีการอาเจียนซ้ำ
4) การป้องกันและแก้ไขอาการอาเจียน
(1) พยายามหาสาเหตุแล้วแก้ไขที่สาเหตุ
(2) พยายามหลีกเลี่ยงและลดแหล่งของความเครียดต่าง ๆ ดูแลให้ผู้ป่วย
ผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ
(3) ให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าออกลึก ๆ ยาว ๆ ภายหลังอาเจียน และเมื่อรู้สึก
คลื่นไส้
(4) หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวร่างกายหรือเปลี่ยนท่าเร็ว ๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยง การมองสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็ว ๆ ไปมา ผู้ป่วยควรนอนพักท่าศีรษะสูง หลับตานิ่ง ๆ
(5) พิจารณาให้ยาระงับอาเจียน (Antiemetic drug) ตามแผนการรักษา
(6) ถ้าผู้ป่วยมีอาเจียนอย่างต่อเนื่องมักใส่สายเข้าทางจมูกลงสู่กระเพาะ อาหาร
8.5.4 Abdominal distention (ภาวะท้องอืด)
8.5.4.1 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องอืด
1)จัดให้นอนศีรษะสูง45องศา-60องศาเพื่อช่วยลดอาการแน่นท้องและผายลมสะดวก
2) งดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น มะม่วงดิบ แตงโม ผักสด เป็นต้น
3) แสดงความเข้าใจและเห็นใจ และยินดีให้การช่วยเหลืออย่างจริงใจ
3) แสดงความเข้าใจและเห็นใจ และยินดีให้การช่วยเหลืออย่างจริงใจ
4) ค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะท้องอืดและช่วยเหลือตามสาเหตุ
ภาวะท้องอืด เป็นความรู้สึกแน่น อึดอัด ไม่สบายในท้องที่เกิดจากมีแรงดันในท้องเพิ่ม ทำให้เกิดอาการที่ตามมา
8.5.5 Dysphagia and aphagia (ภาวะกลืนลำบากและกลืนไม่ได้)
8.5.5.1 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากและกลืนไม่ได้
1) สังเกตและประเมินอาการเกี่ยวกับการกลืนไม่ได้หรือกลืนลำบากว่าเกิดขึ้น ทันทีทันใดหรือค่อย ๆ มากขึ้น
2) ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ
3) ดูแลการได้รับยาตามแผนการรักษา
4) ระมัดระวังการสำลัก
5) ดูแลด้านความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะความสะอาดของปากและฟัน
6) การเตรียมผู้ป่วยเพื่อตรวจหรือรักษา การตรวจรักษาโดยการส่องกล้องเข้าไป ดูที่หลอดอาหาร (Esophagoscopy)
7) การดูแลด้านจิตใจ ปลอบโยน ให้กาลังใจ การสังเกตและการดูแลเอาใจใส่ที่ดี สามารถบอกถึงสาเหตุและอาจแก้ไขอาการได้
ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) เป็นความรู้สึกที่ผู้ป่วยเกิดความลำบากในการกลืน
ภาวะกลืนไม่ได้ (Aphagia) จึงไม่สามารถกลืนได้ ไม่ว่าจะเป็นอาหารแข็ง อาหาร ธรรมดา อาหารอ่อน อาหารเหลว จนกระทั่งรุนแรงมากที่สุด คือ กลืนไม่ได้เลยแม้แต่น้ำหรือน้ำลาย
8.6 การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารเองไม่ได้
8.6.1 การป้อนอาหาร (Feeding)
การป้อนอาหาร หมายถึง การช่วยให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเข้าสู่ร่างกายทางปาก
8.6.1.1 วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ได้รับอาหารตาม ความต้องการของร่างกาย
8.6.1.2 อุปกรณ์เครื่องใช้
1) ถาดอาหารพร้อมอาหาร
2) ช้อนหรือช้อนส้อม
3) แก้วน้าพร้อมน้ำดื่ม และหลอดดูดน้ำ
5) ผ้ากันเปื้อน
4) กระดาษหรือผ้าเช็ดปาก
8.6.1.3 วิธีปฏิบัติ
1) การเตรียมผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อม
(1) ก่อนเวลาอาหาร แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายบ้าง
(2)จัดให้อยู่ในท่านั่งกรณีที่นั่งไม่ได้จัดให้นอนตะแคงขวาเล็กน้อย
(3) ปูผ้ากันเปื้อนตั้งแต่ใต้คางลงไป
(4) วางถาดอาหารในตำแหน่งที่ผู้ป่วยสามารถมองเห็นชนิดของอาหารได้ บอกรายการอาหารและเชิญชวนให้เกิดความอยากอาหารมื้อนั้น
(5) วางเครื่องใช้อื่น ๆ ในตาแหน่งที่สามารถหยิบได้สะดวก
(6) ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง
2) การป้อนอาหาร
(1) ขณะป้อนอาหารตักอาหารให้มีปริมาณที่เหมาะสม
(2) จังหวะในการป้อนต้องสัมพันธ์กับความสามารถในการรับประทานอาหาร เคี้ยวและกลืนของผู้ป่วย
(3) ไม่ควรจ้องหน้าผู้ป่วย ระวังการตักอาหารไม่ทาอาหารหกรดผู้ป่วย และ เช็ดปากให้เมื่อเปื้อนอาหาร
(4) หลังป้อนอาหารให้ผู้ป่วยดื่มน้า บ้วนปาก หรือแปรงฟัน และเช็ดปากให้สะอาด
(5) เก็บถาดอาหาร และเครื่องใช้ต่าง ๆ เมื่อผู้ป่วยรับประทานเสร็จ
(6) ลงบันทึกทางการพยาบาล
3) สาหรับผู้ป่วยพิการ
(1) ถ้าผู้ป่วยจับช้อนไม่ถนัดควรสาธิตการใช้ช้อนและส้อมในการตักอาหารใส่ ปากหรือดัดแปลงที่จับของให้จับได้สะดวก
2) ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย ควรรับประทานอาหารเหลวที่ สอดคล้องกับการแผนรักษาของแพทย์
4) สาหรับผู้ป่วยกลืนลาบาก
(1) จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือศีรษะสูงในลักษณะก้มเล็กน้อยเพื่อป้องกันการสำลัก
(2) สอบถามผู้ป่วยถึงความรู้สึกเกี่ยวกับอาหารในปาก
(3) สอนวิธีการใช้ลิ้นและการกลืน เพื่อช่วยให้การกลืนได้ดีขึ้น
(4) ควรเริ่มจากอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวก่อน เพราะอาหารอ่อนจะง่ายต่อการ กลืน แต่อาหารเหลวจะทาให้สำลักง่าย ควรหลีกเลี่ยงอาหารเหลวและอาหารที่ต้องอาศัยการเคี้ยว มาก
(5) ให้อาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง
(6) ในขณะรับประทานอาหารควรหยุดพักเป็นระยะ ๆ จะช่วยให้ได้ รับประทานอาหารได้มากขึ้น
8.6.2 การใส่และถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร (Nasogastric intubation)
8.6.2.1 วัตถุประสงค์
1) เป็นทางให้อาหาร น้ำหรือยา ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานทางปากไม่ได้หรือ ได้รับไม่เพียงพอ
2) เป็นการลดแรงดันในกระเพาะอาหารหรือลาไส้(Decompression)
3) เป็นการเพิ่มแรงดันเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร(Compression)โดยใช้ สายที่มีลูกโป่งทางด้านนอกสามารถเป่าลมเข้าไปทาให้โป่งขึ้นบางส่วนของทางเดินอาหาร
4) ล้างภายในกระเพาะอาหาร (Gastric lavage) ใช้มากในกรณีที่กินยาพิษ ได้รับยาเกินขนาด (Over dose)
5) เก็บสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหารไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ
8.6.2.2 อุปกรณ์เครื่องใช้
1) ถาดสำหรับใส่เครื่องใช้
2) สาย NG tube เบอร์ 14-18 fr.
3) Toomey syringe ขนาด 50 ml 1 อัน
5) Stethoscope
6) สารหล่อลื่น เช่น K.Y. jelly เป็นต้น
8) หลอดดูดน้ำ
9) พลาสเตอร์
10) กระดาษเช็ดปาก
11) ชามรูปไต
12) ผ้าเช็ดตัว
7) แก้วน้ำ
4) ถุงมือสะอาด 1 คู่
8.6.2.3 วิธีปฏิบัติ
1) ตรวจสอบความถูกต้องของคำสั่งการรักษา
2) ล้างมือให้สะอาด
3) นำอุปกรณ์ที่เตรียมไว้ไปที่เตียงผู้ป่วย ตรวจสอบโดยดูป้ายชื่อ และสอบถาม ชื่อ-สกุลผู้ป่วยให้ถูกต้อง (ถูกคนถูกเตียง)
4) บอกให้ผู้ป่วยทราบถึงวัตถุประสงค์ของการใส่สายยางจากจมูกถึงกระเพาะ อาหารปิดประตูหรือกั้นม่านให้เรียบร้อย
5) จัดท่าให้ผู้ป่วย จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือนอนศีรษะสูง
6) ใส่ถุงมือสะอาด และ Mask ตรวจดูรูจมูก ผนังกั้นจมูก โดยให้ผู้ป่วย หายใจเข้าออกแรง ๆ ทีละข้างดูการผ่านของลมหายใจ
7) เปิดซองสาย NG tube จากนั้นบีบ K.Y. jelly ลงด้านในของซองสาย NG tube โดยยังไม่หล่อลื่นสาย NG tube
8) นำสาย NG tube วัดตาแหน่งที่จะใส่สาย โดยวัดจากปลายจมูกถึงปลายติ่งหู และจากปลายติ่งหูถึงปลายกระดูกอก (Xiphoid process) โดยไม่ให้สาย NG สัมผัสตัวผู้ป่วย แล้ว ใช้พลาสเตอร์พันไว้เป็นเครื่องหมาย
9) เปิดห่อ Toomey syringe แล้วใส่ Plunger ให้เรียบร้อย พันสาย NG ให้อยู่ ในมือซ้าย พร้อมใส่สาย NG โดยใช้มือขวาจับปลายสาย NG แล้วหล่อลื่นปลายสาย NG ด้วย K.Y. jelly ประมาณ 5-6 นิ้ว
10) บอกให้ผู้ป่วยตั้งศีรษะให้ตรงหรือเงยหน้าเล็กน้อยใช้มือขวาจับปลายสาย ด้านที่หล่อลื่นแล้ว โดยให้ห่างจากปลายสาย 3-4 นิ้ว ค่อย ๆ สอดเข้าทางรูจมูกแนวด้านข้างของจมูก เอียงเล็กน้อย โดยให้แนวโค้งของสายเข้าสู่แนวโค้งตามกายวิภาคของลำคอ
11) เมื่อสายผ่านถึงคอ (Posterior nasopharynx) ผู้ใส่หักข้อมือเล็กน้อยให้ ผู้ป่วยก้มศีรษะลง บอกให้ผู้ป่วยช่วยกลืนสายโดยกลืนน้ำลายหรือดูดน้ำที่เตรียมไว้พร้อมทั้งค่อย ๆ ดัน สายอย่างนุ่มนวลตามจังหวะการกลืนจนถึงตำแหน่งที่ทาเครื่องหมายไว้ ติดพลาสเตอร์ไว้คร่าว ๆ
12) ตรวจสอบว่าสาย NG เข้าไปถึงกระเพาะอาหาร ดังนี้
(1) ใช้ Toomey syringe ต่อกับปลายสายด้านนอก และดูดน้ำย่อยจาก กระเพาะอาหาร สังเกตลักษณะของน้าย่อยและลมที่ออกมา แล้วยก Toomey syringe ขึ้นให้สูง น้ำย่อยและลมจะไหลกลับไปในกระเพาะอาหาร
(2) ใช้ Toomey syringe ดูดลมประมาณ 10 ซีซีต่อกับปลายสายด้าน นอกวาง Stethoscope ฟังบริเวณ Epigastrium และใช้ Toomey syringe ดันลมกลับเข้าอย่าง รวดเร็วจะได้ยินเสียงอากาศผ่านเข้าไปในกระเพาะอาหาร
13) ใช้พลาสเตอร์พันสายติดกับจมูก ให้สายอยู่ตรงกลางรูจมูกโค้งปลายสาย ติดด้วยพลาสเตอร์ข้างโหนกแก้ม หรือคล้องใบหู แล้วกลัดด้วยเข็มกลัดติดกับเสื้อ ถ้าต้องใส่สายคาไว้ต้อง ปิดจุกให้เรียบร้อย
14) ทำความสะอาดปาก และจมูก
15) นำเครื่องใช้ไปทาความสะอาด เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
16) ลงบันทึกทางการพยาบาล
8.6.3 การให้อาหารทางสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
วิธีการให้อาหารทางสายยางมี 2 วิธี
1) Bolus dose เป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ Toomey syringe เหมาะ สาหรับผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้เอง
2) Drip feeding เป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ชุดให้อาหาร (Kangaroo)
8.6.3.1 อุปกรณ์เครื่องใช้
1) ถาดสำหรับใส่เครื่องใช้
2) อาหารเหลวสำเร็จรูป หรืออาหารปั่น (Blenderized diet)
3) ในกรณีท่ีมียาหลังอาหารบดยาเป็นผงและละลายน้ำประมาณ 15-30 ซีซี
5) Toomey syringe ขนาด 50 ml 1 อัน
6) ถุงมือสะอาด 1 คู่
7) Stethoscope
8) แก้วน้า
9) กระดาษหรือผ้าเช็ดปาก
10) สาลีชุบ 70% Alcohol 2 ก้อน
11) ชุดทำความสะอาดปาก ฟัน และจมูก
4) ผ้ากันเปื้อน
8.6.3.2 วิธีปฏิบัติ
1) อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุผล ข้อดีและประโยชน์ในการให้อาหารทางสายให้อาหาร
2) ไขหัวเตียงสูงเพื่อจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งในกรณีท่ีผู้ป่วยนั่งไม่ได้จัดให้นอน ตะแคงขวา ช่วยให้อาหารเคลื่อนลงสู่กระเพาะอาหาร และลาไส้เล็กได้สะดวก ป้องกันอาหารไหล ย้อนกลับ
3) ทำความสะอาดปาก ฟัน กรณีใช้เครื่องช่วยหายใจต้องทำการดูดเสมหะก่อน ให้ทางเดินหายในโล่ง
4) ปูผ้ากันเปื้อนรองตรงปลายสายให้อาหาร
5) ปลดผ้าก๊อซที่หุ้มปลายสายให้อาหารออกทำความสะอาดปลายสายด้วย สาลีชุบ 70% Alcohol
6) ทดสอบตาแหน่งของสายให้อาหาร ได้ 2 วิธี
(1) วิธีที่ 1 ใช้ Toomey syringe ต่อกับปลายสาย ดูด Gastric content
ออกมาตรวจดูปริมาณ
(2) วิธีที่2วางStethoscopeที่บริเวณEpigastrium และใช้ Toomey syringe ดันอากาศประมาณ 5-10 มล. เข้าไปทางสายให้อาหาร
7) หักพับสาย ถอด Toomey syringe แล้วดึง Plunger ออก และต่อกระบอก สูบเข้ากับส่วนปลายของสาย NG
8) เทอาหารใส่กระบอก Syringe คลายรอยพับออก และปล่อยให้อาหารไหลลง ช้า ๆ ต่อเนื่องกันไปไม่ให้ขาดระยะเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้ากระเพาะอาหาร
9) กรณีให้ยาหลังอาหาร
(1) ก่อนที่อาหารจะหมดควรเหลืออาหารไว้ใน Syringe ประมาณ 10 ซีซี
(2) ก่อนยาจะหมด เหลือค้างใน Syringe ประมาณ 5 ซีซี เติมน้ำสะอาด
เพื่อไล่เศษอาหารและยาที่ตกค้างอยู่ในสายให้อาหาร
10) หักพับปลายสายให้อาหาร และเช็ดปลายสายด้วยสาลีชุบ 70% Alcohol
11) ปิดจุกสาย NG ใช้ก๊อสปิดไว้ให้เรียบร้อย
12) ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมอย่างน้อย 30 นาที เพื่อป้องกันอาหารไหลย้อนกลับ อาจทาให้สำลักได้ การจัดท่าให้นอนตะแคงขวาจะเป็นการส่งเสริมให้อาหารไหลลงสู่กระเพาะอาหาร ได้สะดวก
13) เก็บเครื่องใช้ทำความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
14) ลงบันทึกทางการพยาบาล
8.6.4 การถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
8.6.4.1 อุปกรณ์เครื่องใช้
1) ผ้ากันเปื้อนหรือผ้าเช็ดตัว
2) ชามรูปไต
3) น้ำยาบ้วนปาก
4) สาลีชุบ 70% Alcohol
5) ไม้พันสาลีชุบเบนซิน (Benzene) และน้ำเกลือ (Normal saline)
7) ผ้าก๊อสสะอาด
6) ถุงมือสะอาด
8.6.4.2 วิธีปฏิบัติ
1) อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุผล
2) ไขหัวเตียงสูงเพื่อจัดให้ผู้ป่วยอยู่ท่านั่ง
3) ตรวจคำสั่งการรักษา เพื่อยืนยันแผนการรักษา
4) ล้างมือให้สะอาด เช็ดให้แห้งและใส่ถุงมือ สวมmask
5) ปูผ้ากันเปื้อนหรือผ้าขนหนู และแกะพลาสเตอร์ที่ยึดสายจมูกออก
6) หักพับสาย และดึงสายออก ขณะดึงสายให้ผู้ป่วยอ้าปากหายใจยาว ๆ ใช้ผ้า ก๊อสจับสายที่ดึงออกมาด้วยมืออีกข้างหนึ่ง การดึงควรดึงอย่างนุ่มนวลแต่เร็วระวังสายยางสะบัด
7) เช็ดรอยพลาสเตอร์ด้วยเบนซิน เช็ดตามด้วยน้าเกลือและแอลกอฮอล์แล้วเช็ด
ให้แห้ง
8) ทำความสะอาดปาก ฟัน และจมูก เพื่อช่วยให้รู้สึกสะอาด และสดชื่น
8.6.5 การให้อาหารทางสายยางให้อาหารที่ใส่เข้าทางรูเปิดของกระเพาะอาหาร
8.6.5.1 วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารตามความต้องการของร่างกาย
8.6.5.2 อุปกรณ์เครื่องใช้
เหมือนกับการให้อาหารทางสาย NG tube
8.6.5.3 วิธีปฏิบัติ
1) แจ้งและอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจจุดประสงค์และวิธีทำ
2) จัดให้อยู่ในท่านั่ง หรือนอนในท่าศีรษะสูง
3) เปิดเสื้อผ้าบริเวณ Gastrostomy tube หรือ Jejunostomy tube ออก ปูผ้า กันเปื้อนไว้ใต้ Tube
4) ล้างมือให้สะอาด ใส่ Mask
5) ตรวจสอบคำสั่งการรักษา
6) ปลดผ้าก๊อซที่หุ้มปลายสายให้อาหารออกทำความสะอาดปลายสายด้วยสาลี ชุบ 70% Alcohol
7) ใช้ Toomey syringe ต่อกับปลายสายดูด Gastric content เพื่อตรวจสอบ ความสามารถของกระเพาะอาหารในการบีบไล่อาหารไปยังลำไส้เล็ก กรณีของ Gastrostomy ส่วน กรณีของ Jejunostomy เพื่อตรวจสอบความสามารถในการดูดซึมของลำไส้เล็กส่วนนี้
8) หักพับสาย ถอด Syringe แล้วดึง Plunger ออก และต่อกระบอกสูบ
9) เทอาหารใส่กระบอก Syringe และปล่อยให้อาหารไหลเข้าช้า ๆ ต่อเนื่องกัน ไปไม่ให้ขาดระยะ เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้ากระเพาะอาหาร
หรือต่อส่วนปลายของสายชุดให้อาหาร เข้ากับจุกเปิดของสายยางให้อาหาร
10) กรณีให้ยาหลังอาหาร
(1) ก่อนที่อาหารจะหมดควรเหลืออาหารค้างใน Syringe ประมาณ 10 ซีซี
(2) ก่อนยาจะหมด เหลือค้างใน Syringe ประมาณ 5 มล. เติมน้ำสะอาด เพื่อไล่เศษอาหารและยา ที่ตกค้างอยู่ในสายให้อาหาร
11) เช็ดปลายสายให้อาหารด้วยสาลีชุบ 70% Alcohol
12) หักพับปลายสายให้อาหาร เพื่อป้องกันอากาศเข้าไปในกระเพาะอาหาร
13) ปิดปลายสายอาหารให้เรียบร้อย
14) ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมอย่างน้อย 30 นาที เพื่อป้องกันอาหารไหลย้อน และสำลัก
15) เก็บเครื่องใช้ทำความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
16) ลงบันทึกทางการพยาบาล
8.7 การล้างภายในกระเพาะอาหาร (Gastric lavage)
8.7.1 วัตถุประสงค์
1) ล้างกระเพาะอาหารในกรณีที่ผู้ป่วยกินยาหรือสารพิษ
2) ทดสอบหรือยับยั้งการมีเลือดออกจานวนน้อยในทางเดินอาหารส่วนบน
3) ตรวจสอบการอุดตันของสาย
4) ตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคปอดและหลอดลม ในกรณีที่ไม่สามารถนา เสมหะจากผู้ป่วยไปตรวจได้ ปัจจุบันไม่นิยมใช้เพราะใช้เครื่องดูดเสมหะได้
8.7.2 อุปกรณ์เครื่องใช้
1) ชุดล้างกระเพาะอาหาร (ภาชนะสาหรับใส่สารละลายทั้งสาหรับเทสารละลาย และที่ดูดออกจากผู้ป่วย และ Toomey syringe)
2) สารละลายที่ใช้ล้างกระเพาะอาหาร ใช้น้าเกลือ (Isotonic saline)
4) ผ้าเช็ดปาก หรือผ้าขนหนูผืนเล็ก หรือผ้ากันเปื้อน
5) สายยางสาหรับใส่ในกระเพาะอาหาร
6) Ky jelly
7) ถุงมือสะอาด 1 คู่ และ Mask
3) ชามรูปไตหรืออ่างกลม
8.7.3 วิธีปฏิบัติ
1) ตรวจสอบคาสั่งการรักษา
2) ประเมินสภาพผู้ป่วย อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ ปิดประตูหรือกั้นม่านให้เรียบร้อย
3)ล้างมือก่อนจัดเตรียมอุปกรณเ์ครื่องใช้
4) เตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ให้พร้อมนาเครื่องใช้ต่างๆใส่ถาดหรือรถเข็นแล้ว นำไปที่เตียงผู้ป่วย ทำการใส่สายยางก่อน วิธีปฏิบัติเหมือนการใส่สายให้อาหาร
5) ปูผ้าคลุมบนเตียงและตัวผู้ป่วยตรงที่จะปลดสาย
6) ใช้ Toomey syringe ดูดสารละลาย 50 ซีซี
7) หักพับสายไว้ก่อนปลดรอยต่อ จากนั้นต่อสายกับกระบอกฉีดยาแล้วปล่อยสายที่หักพับไว้ ค่อยดันสารละลายผ่านกระบอกฉีดยาเข้าทางสาย ถ้ามีแรงต้าน ตรวจสอบการหักหรือพับ งอของสาย และให้ผู้ป่วยพลิกตัวไปมา ถ้ายังมีแรงต้านให้รายงานแพทย์
8) ดูดน้ำออกเบา ๆ หรือปล่อยให้สารละลายไหลออกเอง ถ้าไม่มีน้ำออกให้ผู้ป่วย พลิกตัวไปมา ถ้ายังดูดไม่ออกให้รายงานแพทย์ บันทึกสารน้ำที่ใส่กับที่ดูดออกมาต้องมีปริมาณเท่ากัน
9) ใส่สารละลายเข้าไปแล้วปล่อยหรือดูดน้าออกเรื่อย ๆ จนการไหลผ่านดี หรือ ครบจำนวนตามแผนการรักษาพับสายไว้ ปลดกระบอกฉีดยา ปิดปลายสาย
10) ถ้ากรณีล้างกระเพาะอาหาร เพื่อห้ามเลือดในกระเพาะอาหาร ต้องทาการ ล้างจนสารน้ำมีลักษณะสีแดงจางที่สุด หรือมีลักษณะใส
11) เมื่อสิ้นสุดการล้างกระเพาะอาหารแล้ว ให้ทำความสะอาดช่องปากและจัด ท่าผู้ป่วยในท่าที่สุขสบาย
12) เก็บเครื่องใช้ทาความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
13) ลงบันทึกทางการพยาบาล
8.8 กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมภาวะโภชนาการ
ตัวอย่าง
ผู้ป่วยรายหนึ่ง ได้รับการวินิจฉัยโรคเป็นมะเร็งหลอดอาหาร ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้น้ำหนักลดลง10 กิโลกรัมภายใน2 สัปดาห์สีหน้าท่าทางอ่อนเพลียไม่สดชื่น ผิวหนังแห้ง เห็นกระดูกชัดเจน ญาติผู้ป่วยบอกไม่สามารถกลืนอะไรได้เลย จิบน้าแค่เล็กน้อยก็ไหล ออกทางปาก แพทย์มีแผนการรักษาให้ Retain NG tube for Feeding BD 250 ml x 5 Feed จง ประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลในการให้อาหารทางสายยางสำหรับผู้ป่วยรายนี้
การประเมินภาวะสุขภาพ (Assessment)
S: ญาติผู้ป่วยบอกไม่สามารถกลืนอะไรได้เลย จิบน้ำแค่เล็กน้อยก็ไหลออกทางปาก
O: จากการสังเกต ผู้ป่วยมีสีหน้าท่าทางอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ผิวหนังแห้ง ผอมจนเห็น กระดูกชัดเจน
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ เนื่องจากไม่สามารถรับประทานอาหารได้เอง
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
วัตถุประสงค์
เพื่อไม่ให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ
เกณฑ์การประเมิน
1) ผู้ป่วยได้รับสารอาหารตรงตามแผนการรักษาของแพทย์
2) ผู้ป่วยมีค่าดัชนีมวลกาย อยู่ในเกณฑ์ปกติ
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
1) ตรวจสอบแผนการรักษา ชื่อผู้ป่วย และอาหารปั่นให้ตรงกัน
5) ให้อาหารทางสายยางทางจมูกถึงกระเพาะอาหารตามแผนการรักษา
6) จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะสูง อย่างน้อย 30 นาที หลังให้อาหารทางสายยาง
8) ติดตาม ประเมินน้ำหนักตัวของผู้ป่วย โดยชั่งน้ำหนักทุกเช้า วันเว้นวัน
2)จัดเตรียมอุปกรณ์ในการใส่สายNGและอาหารปั่นให้พร้อมยกไปที่เตียงผู้ป่วย
3) บอกวัตถุประสงค์ เตรียมความพร้อมของผู้ป่วย จัดท่าให้เหมาะสม ปิดกั้นม่าน
4) ใส่สายยางทางจมูกถึงกระเพาะอาหารให้แก่ผู้ป่วยตามแนวปฏิบัติ
7) ลงบันทึกทางการพยาบาล
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation) สิ่งที่ต้องประเมิน คือ
5.1 ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
1) ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วย สังเกตสีหน้าท่าทางของผู้ป่วย
5.2 ประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล
1) ประเมินการปฏิบัติถูกต้องครบและเป็นไปตามขั้นตอนของแนวปฏิบัติ
2) ประเมินผลภายหลังผู้ป่วยได้รับอาหารทางสายยางทางจมูกถึงกระเพาะ
อาหาร ไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น