Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผล - Coggle Diagram
บทที่ 6การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผล
ชนิดของแผลและปัจจัยการส่งเสริมการหายของแผล
ชนิดของแผล สามารถแบ่งตามเหตุผล
แบ่งตามสาเหตุ 2.แบ่งตํามลักษณะ 3.แบ่งตํามลำดับความสะอาด 4.แบ่งตามระยะเวลาการเกิด 5.แบ่งตามการรักษา
ชนิดของแผลแบ่งตามสาเหตุ
แผลที่เกิดจากการผ่าตัด เรียกsurgical wound
แผลที่เกิดจากถูกของมีคมตัดเรียก cut wound
แผลที่เกิดจากถูกของมีคมทิ่มแทง เรียก stabwound
แผลที่เกิดจากโดนระเบิด เรียก explosive wound
แผลที่เกิดจากถูกบดขยี้ เรียก crush wound
แผลที่เกิดจากการกระแทกด้วยวัตถุลักษณะมน เรียก traumatic wound
แผลที่เกิดจากถูกยิง เรียก gunshot wound
แผลที่มีขอบแผลขาดกะรุ่งกะริ่ง เรียก lacerated wound
แผลที่เกิดจากการถูไถลถลอก เรียก abrasion wound
แผลที่เกิดจากการติดเชื้อมีหนอง เรียก infected wound
แผลที่เกิดจากการตัดอวัยวะบางส่วน เรียก stump wound
แผลที่เกิดจากการกดทับ เรียก pressure sore
แผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมี
จากไฟไหม้น้ำร้อนลวก (burn and scald)
จากสารเคมีที่เป็นด่าง(alkaline burn)
แผลที่เกิดจากการปลูกผิวหนัง(skin graft)หมายถึง แผลที่เกิดจากการปลูกผิวหนังซึ่งจะทำให้เกิดแผล 2 ตำแหน่ง
ชนิดของแผลแบ่งตามลักษณะพื้นผิว
แผลลักษณะแห้ง (dry wound)หมายถึง ลักษณะของแผลมีขอบแผลติดกัน อาจเกิดการติดกันเอง หรือจากการเย็บด้วยวัสดุเย็บแผล ไม่มีสารคัดหลั่ง
แผลลักษณะเปียกชุ่ม (wet wound)หมายถึง ลักษณะของขอบแผลไม่ติดกัน หรือขอบแผลกว้าง มีสารคัดหลั่ง
ชนิดของแผลแบ่งตามลำดับความสะอาด
Class I: Clean wound ประเภทที่ 1 แผลผ่าตัดสะอาด
ลักษณะเป็นแผลที่ไม่มีการติดเชื้อ,ไม่มีการอักเสบม่ำก่อน,การผ่าตัดไม่ผ่านระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร,อวัยวะสืบพันธุ์, ท่อปัสสาวะ,blunt trauma ที่ไม่มีการแทงทะลุหรือฉีกขาดเป็นแผลผ่าตัดชนิดปิด
Class II: Clean-contaminated ประเภทที่ 2 แผลสะอาดกึ่งปนเปื้อน
ลักษณะแผลที่มีการผ่าตัดผ่านระบบทางเดินหายใจ, ระบบทางเดินอาหาร, ระบบทางเดินปัสสาวะ,เป็นการผ่าตัดที่เกี่ยวกับท่อน้ำดี, อวัยวะสืบพันธุ์ และช่องoropharynx ที่ควบคุมการเกิดปนเปื้อนได้ขณะทำผ่าตัด
Class III: Contaminated ประเภทที่ 3 แผลปนเปื้อน
ลักษณะแผลเปิด (open wound) แผลสด (fresh wound) แผลจากการได้รับอุบัติเหตุแผลที่เกิดการปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากระบบทํางเดินอาหาร เป็นแผลที่มีการอักเสบเฉียบพลัน เช่น แผลถูกแทง (stabbedwound) แผลถูกยิง (gunshot wound) เป็นต้น
Class IV: Dirty/Infected ประเภทที่ 4 แผลสกปรก/แผลติดเชื้อ
ลักษณะแผลเก่า (old traumatic wound) แผลมีเนื้อตาย (gangrene)แผลมีการติดเชื้อมาก่อน แผลกระดูกหักเกิน 6 ชั่วโมง เช่น แผลไส้ติ่งแตก (Ruptured appendicitis) เยื่อหุ้มช่องท้องอักเสบ (Peritonitis) เป็นต้น อัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ≥30%
ชนิดของบาดแผลแบ่งตามระยะเวลาการเกิด
แผลที่เกิดเฉียบพลัน(acute wound) เป็นการเกิดแผล และรักษาให้หายในระยะเวลาอันสั้น หรือการหายของแผลเป็นไปตามขั้นตอนการหายของบาดแผล
แผลเรื้อรัง(chronic wound) เป็นแผลที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน และรักษายากหรือรักษาเป็นเวลานาน อาจมีอาการแทรกซ้อนตามมาภายหลัง
แผลเนื้อตาย(gangrene wound)เป็นแผลที่เกิดจากการขาดเลี้ยงไปเลี้ยงหรือเลือดมาเลี้ยงไม่เพียงพอ สาเหตุจากหลอดเลือดตีบแข็ง
ชนิดของแผลแบ่งตามการรักษา
การรักษาผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกด้วยวิธีการจัดกระดูกให้อยู่นิ่ง(retention) ด้วยการดามกระดูกด้วยเหล็กหรือแผ่นเหล็กและตะปูเกลียว
การรักษาแผลด้วยสุญญากาศ(Negative Pressure Wound Therapy: NPWT)เป็นการรักษาแผลที่มีเนื้อตาย หรือแผลเรื้อรังโดยการปิดแผลสุญญากาศ
แผลท่อระบาย เป็นแผลผ่าตัดซึ่งศัลยแพทย์เจาะผิวหนังเพื่อใส่ท่อระบายของเสียจากกํารผ่าตัดเป็นท่อระบํายระบบปิด
แผลท่อหลอดคอ (tracheostomy tube) เป็นแผลท่อระบายที่ศัลยแพทย์ ทำการผ่าตัดเปิดหลอดลม
แผลท่อระบายทรวงอก (chest drain) เป็นแผลท่อระบายที่ศัลยแพทย์ทำการเจาะปอด
แผลทวารเทียมหน้าท้อง (colostomy) เป็นแผลท่อระบายที่ศัลยแพทย์ทำผ่ําตัดเปิดลำไส้ใหญ่ออกทางหน้าท้อง
ปัจจัยที่มีผลต่อการหายของบาดแผล
ปัจจัยเฉพาะที่
แรงกด
ภาวะแวดล้อมแห้ง
การได้รับอันตรายและอาการบวม
การติดเชื้อ
ภาวะเนื้อตําย
ความไม่สุขสบาย
ปัจจัยระบบ
อายุ
โรคเรื้อรัง
น้ำในร่างกาย
การไหลเวียนโลหิตบกพ่อง
ภาวะกดภูมิคุ้มกันและรังสีวิทยา
ภาวะโภชนาการ
ลักษณะและกระบวนการหายของแผล
ลักษณะการหายของแผล
การหายของแผลแบบปฐมภูมิ
เป็นแผลประเภทที่ผิวหนังมีการสูญเสียเนื้อเยื่อเพียงเล็กน้อย และเป็นแผลที่สะอาด เช่น แผลผ่าตัด
การหายของแผลแบบทุติยภูมิ
เป็นแผลขนาดใหญ่ที่เนื้อเยื่อถูกทำลาย มีการสูญเสียเนื้อเยื่อบางส่วน ขอบแผลมีขนาดกว้างเย็บแผลไม่ได้การรักษาโดยการทำแผลจนเกิดมีเนื้อเยื่อใหม่
การหายของแผลแบบตติยภูมิ
เป็นแผลชนิดเดียวกับแผลทุติยภูมิ เมื่อทำการรักษาโดยกํารทำแผลจนมีเนื้อเยื่อเกิดใหม่ปกคลุมสีแดงสด และไม่มีอาการกํารแสดงภาวะติดเชื้อแล้ว ศัลยแพทย์จะพิจารณาปลูกถ่ายผิวหนัง
กระบวนการหายของแผล
ระยะ1: ห้ามเลือดและอักเสบ
การห้ามเลือด(hemostasis)จะเกิดขึ้นก่อน ในเวลา 5-10 นําที เซลล์ที่มีความสำคัญของระยะนี้ ได้แก่ platelets, neutrophils, and macrophages เมื่อเกิดการฉีกขาดของผิวหนังและหลอดเลือดมีเลือดไหลออก platelet จะทำหน้าที่แรก คือ หลั่งสาร thrombokinase และthromboplasti
ระยะ2: การสร้างเนื้อเยื่อ
เป็นระยะการสร้ํางเนื้อเยื่อใหม่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 4-12 วัน ซึ่งจะเห็น fibroblast (เป็นconnective tissueชนิดหนึ่ง) เกิดขึ้นในแผล เริ่มมีเนื้อเยื่อเกิดใหม่ (granulation tissue) macrophage ยังคงทำหน้าที่สร้าง growth factor ต่อไป
ระยะ3: การเสริมความแข็งแรง
เป็นระยะสุดท้ายของการสร้างและความสมบูรณ์ของคอลลาเจนซึ่งfibroblast จะเปลี่ยนเป็น myofibroblast (เป็นเนื้อเยื่อลักษณะเป็นกล้ํามเนื้อ)ที่มีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้นกว่า fibroblast
การบันทึกลักษณะบาดแผล
มาตรการวัดของแผล คือ ความยาว (length) ความกว้าง (width) ความลึก (depth) และช่องโพรง(tunneling)สิ่งที่ควรระบุในการบันทึกบาดแผล คือ ชนิดของแผล ตำแหน่งหรือบริเวณ ขนาด สี ลักษณะผิวหนัง
วิธีการเย็บแผลและวัสดุที่ใช้ในการเย็บแผล
การเย็บแผล เป็นการซ่อมแซมรอยฉีกขาดของผิวหนังหรืออวัยวะโดยใช้วัสดุทํางการแพทย์ ดึงรั้งให้ขอบแผลเข้ามาติดกัน
วิธีการเย็บแผล
การเย็บบาดแผลผิวหนังมี 4วิธี คือ
Continuous method
เป็นวิธีการเย็บแผลแบบต่อเนื่องตลอดความยาวของแผล หรือความยาวของวัสดุเย็บแผล โดยไม่มีการตัดจนกว่าจะเสร็จสิ้นการเย็บแผล
Interrupted method
Simple interrupted method
เป็นวิธีการเย็บแผลเพื่อดึงรั้งให้ขอบแผลทั้งสองติดกัน เหมาะสำหรับเย็บบําดแผลผิวหนังทั่วไป
Interrupted mattress method
เป็นวิธีการเย็บแผลโดยการตักเข็มเย็บที่ขอบแผลสองครั้ง ใช้ในรายที่ต้องการความแข็งแรงของแผล เหมําะสำหรับเย็บแผลที่ลึกและยาว
Subcuticular method
เป็นการเย็บแผลแบบ continuous methodแต่ใช้เข็มตรงในการเย็บ และซ่อนวัสดุเย็บแผลไว้ในชั้นใต้ผิวหนัง เหมาะสำหรับการเย็บด้านศัลยกรรมตกแต่งเพื่อความสวยงาม
Retention method
เป็นวิธีการเย็บรั้งแผลเข้าหากัน เพื่อพยุงแผลในกรณีผู้ที่มีชั้นไขมันหน้าท้องหนาหรือแผลที่ตึงมาก
วัสดุที่ใช้ในการเย็บแผล
วัสดุที่ละลายได้เอง
เส้นใยธรรมชาติ
เส้นใยสังเคราะห์
วัสดุที่ไม่ละลายเอง
เส้นใยตามธรรมชาติ
เส้นใยสังเคราะห์
วัสดุที่เย็บเป็นโลหะ
วิธีการทำแผลชนิดต่างๆและการตัดไหม
ชนิดของการทำแผล
การทำแผลแบบแห้ง
การทำแผลที่ไม่ต้องใช้ความชุ่มชื้นในการหายของแผลใช้ทำแผลสะอาดแผลปิดแผลที่ไม่อักเสบเป็นแผลเล็กไม่มีสารคัดหลั่งมาก
การทำแผลแบบเปียก
การทำแผลที่ต้องใช้ความชุ่มชื้นในการหายของแผล ใช้ทำแผลเปิด แผลอักเสบติดเชื้อ แผลที่มีสารคัดหลั่งมาก
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำแผล
อุปกรณ์ทำความสะอาดแผล
ชุดทำแผล
ปากคีบมีเขี้ยว
ปากคีบไม่มีเขี้ยว
สารละลาย
แอลกอฮอล์
น้ำเกลือล้างแผล
เบตาดีน
วัสดุสำหรับปิดแผล
ผ้าก๊อซ
ผ้าก๊อซหุ้มสำลี
ผ้าซับเลือด
วายก๊อซ
วาสลินก๊อซ
ก๊อซเดรน
transparent film
แผ่นเทปผ้าปิดแผล
antibacterial gauze dressing
วัสดุสำหรับยึดติดผ้าปิดแผล
เมื่อทำแผลเสร็จแล้วต้องทำให้ผ้าปิดแผลอยู่กับที่ วัสดุที่ใช้คือ plasterชนิดธรรมดาเช่น transporeเพราะง่าย สะดวก แต่มีข้อเสียคือ ระคายเคืองผิวหนัง และเจ็บขณะดึงออกจากแผล
อุปกรณ์อื่น ๆ
กรรไกรตัดไหม (operating scissor)กรรไกรตัดเชื้อเนื้อ (Metzenbaum) ช้อนขูดเนื้อตาย (curette) อุปกรณ์วัดความลึกของแผล (probe)
ภาชนะสำหรับทิ้งสิ่งสกปรก
ชามรูปไต ถุงพลาสติก เป็นต้นหลักการทำแผล คือ ต้องสะอาดและปลอดภัย ประหยัดสิ่งของเครื่องใช้และเวลา
การทำแผลผ่าตัดแบบแห้ง
เปิดแผลโดยใช้มือ(ใส่ถุงมือ)
เปิดชุดทำแผล (ตามหลักการของ IC)
หยิบnon-tooth forceps ใช้คีบส่งของsterile
หยิบtooth forceps ใช้รับของsterile
หยิบสำลีชุบ alcohol 70% เช็ดรอบๆ แผลวนจากในออกนอกห่างแผล 1นิ้วเป็นบริเวณกว้าง 2 นิ้ว
หยิบสำลีชุบ 0.9% NSS เช็ดจากบนลงล่างจนแผลสะอาด
ทําแผลด้วย antiseptic solution
ปิดแผลด้วยgauze ติดพลาสเตอร์ตามแนวขวางของลำตัว
เก็บอุปกรณ์ ถอดถุงมือ ถอดmask และล้างมือ ทิ้งขยะในถังขยะติดเชื้อทุกครั้ง
การทำแผลผ่าตัดแบบเปียก
เปิดแผลโดยใช้มือ(ใส่ถุงมือ) เปิดชุดทำแผลตามหลัก IC หยิบผ้าปิดแผลส่วนบนทิ้งลงในชามรูปไตหรือถุงพลาสติกเปิดผ้าปิดแผลชั้นที่ติดกับแผลด้วยtooth forceps
ทำความสะอาดริมขอบแผลเช่นเดียวกับการทำ dry dressing
ใช้สำลีชุบน้ำเกลือหรือน้ำยาตามแผนการรักษาเช็ดภายในแผลจนสะอาด
ใช้ผ้าgauze ชุบน้ำยา(solution) ใส่ในแผล(packing)เพื่อฆ่าเชื้อและดูดซับสารคัดหลั่งให้ความชุ่มชื้นแก่เนื้อเยื่อ
ปิดแผลด้วยผ้าgauzeและปิดพลาสเตอร์ตามแนวขวางของลำตัว
การทำแผลผ่าตัดที่มีท่อระบาย
การทำผ่าตัดบางชนิด ศัลยแพทย์จำเป็นต้องใส่ท่อระบายไว้ เช่น Penrose drain, T-tube, Jackson Pratt drain, redivac drain เพื่อช่วยระบายสารคัดหลั่งและเลือดเก่าที่ค้างอยู่จากการผ่าตัดให้ไหลออกมาได้ดีขึ้น และช่วยให้เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังไม่เกิดช่องว่าง (death space) ทำให้การหายของแผลดีขึ้น
การตัดไหม
หลักการตัดไหม
ตรวจสอบคำสั่งการรักษาของแพทย์ทุกครั้งว่ามีจุดประสงค์ให้ตัดไหมทุกอัน (total stitches off) หรือตัดอันเว้นอัน (partial stitches off)
เศษไหมที่เย็บแผลส่วนที่มองเห็นเป็นส่วนที่มีกํารสัมผัสเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ตามผิวหนังในการตัดและดึงไหมออกจึงไม่ควรดึงไหมส่วนที่มองเห็นลอดผ่านใต้ผิวหนัง และจะต้องดึงไหมออกให้หมด
ขณะตัดไหมหากพบว่ามีขอบแผลแยกให้หยุดทำ และปิดแผลด้วยวัสดุที่ช่วยดึงรั้งให้ขอบแผลติดกัน
วิธีทำการตัดไหม
ทำความสะอาดแผลใช้alcohol 70% เช็ดรอบแผล เช็ดรอยพลาสเตอร์ออกด้วยเบนซิน และเช็ดตามด้วยalcohol 70% และน้ำเกลือล้างแผลแล้วเช็ดแห้ง
การตัดไหมที่เย็บแผลชนิดinterrupted method โดยใช้ไหมผูกเป็นปมแยกเป็นอัน ๆ โดยใช้tooth forceps จับชายไหมส่วนที่อยู่เหนือปมที่ผูกไว้ ดึงขึ้นพอตึงมือจะเห็นไหมใต้ปมโผล่พ้นผิวหนังขึ้นมาและสอดปลายกรรไกรตัดไหมในแนวราบขนาดกับผิวหนัง
การตัดไหมที่เย็บแผลชนิด interrupted mattress โดยใช้ไหมผูกปมเป็นอัน ๆ ชนิดสองชั้น ให้ตัดไหมส่วนที่มองเห็นและอยู่ชิดผิวหนังมากที่สุด ซึ่งอยู่ด้านตรงกันข้ามกับปมไหมให้ตัดไหมด้วยวิธีเดียวกับการเย็บแผลแบบinterrupted method
การตัดไหมที่เย็บแผลแบบต่อเนื่อง continuous method ให้ตัดไหมส่วนที่อยู่ชิดผิวหนังด้านตรงกันข้ามกับปมที่ผูกอันแรกและอันถัดไปด้านเดิม เมื่อดึงไหมออกส่วนที่เป็นปมผูกไว้อันแรก และส่วนที่อยู่ชิดผิวหนัง
กรณีที่ใช้ลวดเย็บเป็นวัสดุเย็บแผล ทำควํามสะอาดแผลผ่าตัดตามปกติ กํารตัดลวดเย็บแผลต้องใช้เครื่องมือตัด เรียกว่ํา “removal staple” โดยอ้าส่วนปลายซึ่งมีลักษณะคล้ายคีมสอดใต้ลวดเย็บกดด้านมือจับให้ส่วนปลายกดวลดเย็บงอแล้วดึงลวดออกทีละเข็มจนครบ
ภายหลังตัดไหมครบทุกเส้นแล้ว เช็ดแผลด้วย normal saline 0.9% และเช็ดให้แห้งอีกครั้ง ปิดแผลต่อไว้อีก 1 วัน (ถ้าแผลแห้งดี)ถ้าแผลยังติดไม่ดีแพทย์อาจติด sterile strip แล้วจึงปิดด้วยผ้า gauze และปิดพลาสเตอร์อีกครั้ง
วิธีการพันแผลชนิดต่างๆ
ชนิดของผ้าพันแผล
ผ้าสามเหลี่ยม
เป็นผ้าสามเหลี่ยมทำด้วยผ้าเนื้อละเอียดไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง ด้านยาวยาวกว่าด้านกว้าง
ผ้าพันแผลชนิดม้วน
เป็นม้วนกลมชนิดที่ไม่ยืด (roll gauze) และชนิดยืด
ผ้าพันแผลชนิดพิเศษ
เป็นผ้าที่มีรูปร่างแตกต่างกันไป เช่น ผ้าพันท้องหลายหาง ปัจจุบันมีวัสดุการแพทย์ที่ทันสมัยมาใช้แทน
หลักการพันแผล
มีหลักกํารและวิธีกํารปฏิบัติ ดังนี้
ผู้พันผ้าและผู้บาดเจ็บหันหน้าเข้าหากัน จัดท่าให้ผู้บาดเจ็บอยู่ในท่าที่สบายวางอวัยวะส่วนที่จะพันผ้าให้รู้สึกผ่อนคลาย
ตำแหน่งที่ต้องการจะพันผ้าผิวหนังบริเวณนั้นต้องสะอาดและแห้ง
การลงน้้ำหนักมือเพื่อดึงผ้าพันแผลควรระวังใช้น้ำหนักให้เหมาะสม ถ้าลงน้้ำหนักมือมากอาจทำให้แน่นเกินไป
ต้องทำความสะอาดบาดแผลและปิดผ้าปิดแผลให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงพันผ้าปิดทับต้องระวังหากพันแน่นเกินไปผู้ป่วยอาจเจ็บแผล
ตำแหน่งที่บาดเจ็บ เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้า ต้องใช้ผ้าก๊อสคั่นระหว่างนิ้วก่อนป้องกันการเสียดสีของผิวหนังอาจทำให้เกิดแผลระหว่างนิ้วได้
การพันผ้าบริเวณเท้า ขา ตะโพก ต้องมีผู้ช่วยคอยประคองอวัยวะส่วนนั้นไว้ เพื่อช่วยให้ผู้พันผ้าสะดวกและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการพันผ้าในตำแหน่งนั้น ๆ
การพันผ้าใกล้ข้อ ต้องพันผ้า โดยคำนึงถึงการขยับเคลื่อนไหวของข้อนั้นด้วย
วิธีการพันแผล
การใช้ผ้าสามเหลี่ยม ผ้าสามเหลี่ยมเป็นสามเหลี่ยมที่มีมุมยอดเป็นมุมฉาก ขนาดของผ้าที่ใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวผู้ป่วยและอวัยวะที่ต้องการพันผ้า
การใช้ผ้าพันแผลชนิดม้วน มีหลักการพันผ้า ได้แก่ เริ่มต้นพันผ้าจากส่วนเล็กไปหาส่วนใหญ่ พันผ้าเข้าหาตัวผู้ป่วย ตั้งต้นและจบผ้าพันด้วยการพันรอบทุกครั้งเพื่อให้ผ้าไม่เลื่อนหลุด การเริ่มต้น การต่อผ้า หรือการจบของการพันผ้า ต้องระวังไม่ตำแหน่งที่เริ่มหรือจบผ้านั้นต้องไม่ตรงกับบริเวณที่เป็นแผลหรือบริเวณที่มีการอักเสบ
การพันผ้าแบบชนิดม้วน
การพันแบบวงกลม
เหมาะสำหรับพันอวัยวะที่มีรูปทรงกระบอก เช่น แขน ขา นิ้วมือ นิ้วเท้า
การพันแบบเกลียว
เหมาะสำหรับพันอวัยวะที่มีรูปทรงกระบอก เช่น แขน ขา นิ้วมือ นิ้วเท้า
การพันแบบเกลียวพับกลับ
เหมาะสำหรับอวัยวะที่เป็นทรงกระบอก การพันแบบนี้ใช้พันเมื่อต้องการความอบอุ่นหรือต้องการแรงกด
การพันเป็นรูปเลข 8
เหมาะสำหรับพันบริเวณข้อพับ เช่น ข้อศอก ข้อเข่าข้อเท้า เพื่อให้ข้อดังกล่าวเคลื่อนไหวได้
การพันแบบกลับไปกลับมา
เหมาะสำหรับการพันเพื่อยึดผ้าปิดแผลที่ศีรษะ หรือการพันแผลที่เกิดจากการถูกตัดแขน ขา (stump) เพื่อบรรเทาอาการบวมและทำให้คงรูปทรงเดิมซึ่งเตรียมตอแขนหรืตอขาไว้ใส่อวัยวะเทียม
ปัจจัยที่ทำให้เกิดแผลกดทับ ระยะของแผลกดทับและการป้องกันแผลกดทับ
พยาธิสภาพของการเกิดแผลกดทับ
ขณะที่มีแรงกดทับลงบนผิวหนังจะมีค่าเฉลี่ยของแรงกดกับหลอดเลือดฝอยเท่ากับ 25 มม.ปรอท เมื่อมีแรงกดทับผิวหนังที่ทำกับปุ่มกระดูกเป็นเวลํานานทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ขาดออกซิเจนจากโลหิตมาเลี้ยงไม่ได้ ทำให้เกิดการตายของผิวหนังและเนื้อเยื่อต่ําง ๆ
ปัจจัยส่งเสริมการเกิดแผลกดทับ
ปัจจัยภายในร่างกาย
อายุ
ภาวะโภชนาการ
ยาที่ได้รับ
การผ่าตัด
ปัจจัยภายนอกร่างกาย
แรงกด
แรงเสียดทาน
แรงเฉือน
ความชิ้น
ระยะของแผลกดทับ
การประเมินความรุนแรงของแผลกดทับแบ่งออกเป็น 4ระดับ
ระดับที่1 ผิวหนังแดงไม่มีการฉีกขาดของผิวหนังและไม่จางหายไปภายใน 30 นาที
ระดับที่ 2 ผิวหนังแดงเริ่มมีแผลเล็กๆ มีหนังแท้ถูกทำลายฉีกขาดเป็นแผลตื้น มีรอยแดงบริเวณเนื้อเยื่อรอบๆ และเริ่มมีสารคัดหลั่งจากแผล
ระดับที่3แผลลึกถึงชั้นไขมัน(subcutaneous)แต่ยังไม่ถึงชั้นกล้ามเนื้อ (muscle) มีรอยแผลลึก มีสิ่งขับหลั่งจากแผล เริ่มมีกลิ่นเหม็นยังไม่มีเนื้อตาย
ระดับที่ 4แผลลึกเป็นโพรงถึงกล้ามเนื้อ กระดูก และเยื่อหุ้มข้อ พบมีเนื้อตาย
การป้องกันการเกิดแผลกดทับ
วิธีการที่จะป้องกันแผลกดทับ คือการเฝ้ําระวังการเกิดแผลกดทับโดยใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ
การแปลผล
การประเมินความเสี่ยงตามแบบประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ
15 หรือ 16 คะแนน มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ระดับต่ำ
13 หรือ 14 คะแนน มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ระดับปานกลาง
12 คะแนนหรือน้อยกว่า มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ระดับสูง
การเฝ้าระวังความเสี่ยงและควรการประเมินซ้ำเมื่อมีปัจจัยเสี่ยง
ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับและเพิ่มปัจจัยเสริมการหายของแผล
ให้การดูแลช่วยเหลือและคำแนะนำทั่วไป
การดูแลและคำแนะนำเรื่องอาหารและโภชนาการ
การดูแลและคำแนะนำเรื่องยาที่ใช้ในการรักษา
การดูแลและคำแนะนะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้อุปกรณ์
การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ
กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผล
สถานการณ์ตัวอย่าง
ผู้ป่วยหญิงไทย คู่อายุ 44 ปี แพทย์วินิจฉัยเป็นโรคแผลกระเพาะอาหารทะลุ (Peptic ulcer perforate) S/P Explore lab to Simple closer เป็นวันที่ 2on IV fluid for antibiotic จากสถานการณ์ข้างต้นจงประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลในการให้การพยาบาลแบบองค์รวมสำหรับผู้ป่วยรายนี้
การประเมินภาวะสุขภาพ
S : “รู้สึกปวดแผลหน้าท้อง”
O : หญิงไทยคู่ อายุ 44ปี Peptic ulcer perforate S/P Explore lab to Simple closer, 2nd day
การประเมินภาวะสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจ
การประเมินสภาพร่างกายและจิตใจ ความรุนแรงของโรค
ประเมินระดับคะแนนความเจ็บปวด
ประเมินความวิตกกังวลจากการผ่าตัดและพยาธิสภาพของโรค
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดเนื่องจากเป็นประเภทแผลผ่าตัดปนเปื้อน