Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาชนบท - Coggle Diagram
บทที่ 5 แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาชนบท
แบบผสมผสานหรือบรูณาการ
เน้นการประสานงาน ทั้งหน่วยงานหลัก และหน่วยงานย่อย
หลักสำคัญ 4 ประการ คือ เน้นการประสานงานในท้องถิ่นเน้นการประสานงานแบบสหสาขา เน้นเลือกทุ่มเฉพาะพื้นที่ และเน้นการกระจายอำนาจการบริหาร
เน้นการพัฒนาโดยรวมกิจกรรมต่างๆ เข้าด้วยกัน
มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และอุตสาหกรรมชนบทหรืออุตสาหกรรมพื้นบ้าน ชาวบ้านมีงานทำ
ความจำเป็นพื้นฐาน
ความต้องการของมนุษย์
ความรักความเป็นเจ้าของ
ความเคารพนับถือ
ความปลอดภัย
ตระหนักในความสามารถของตน (งาน)
ความต้องการทางกายภาพ
การพัฒนาการเกษตร
เกษตรเป็นสาขาหลักของชนบท
หากการเกษตรมีการพัฒนา ประชาชนก็ย่อมมีรายได้มีความเป็นอยู่ที่ดี
เป็นผลมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจพอเพียง
เน้นการแบ่งปัน ทำความดี มีเมตตา การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สมานฉันท์ ตามหลักพุทธศาสนา
ไม่มีเรื่องของการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น หรือแข่งขันใดๆ
เป็นแนวคิดการกลับคืนสู่รากเหง้า โดยมีเป้าหมายคือ เกษตกร ผู้ผลิต ชุมชนท้องถิ่น ต้องสามารถพึ่งตนเองให้ได้
ไม่มีผลประโยชน์แบบตัวใครตัวมัน
หรืออีกนัยหนึ่ง เรียกว่า เศรษฐกิจพออยู่พอกิน
ไม่มีการแสวงหากำไรสูงสุด
การพัฒนาชุมชน
อาศัยความคิดริเริ่มของชุมชน
ให้ความสำคัญช่วยเหลือตัวเอง การให้ประชาชนมีส่วนร่วมแนวประชาธิปไตย ให้ประโยชน์ผู้นำท้องถิ่นทำความเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่น และติดตามประเมินผลงาน
ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของชุมชนโดยอาศัย
การมีส่วนร่วม
วัตถุประสงค์หลัก คือ ให้ชาวบ้านพึ่งพาตัวเองให้มากที่สุด
วัฒนธรรมชุมชน
เน้นการพัฒนาภายในชุมชน
ใช้หลักการพึ่งตนเอง
โดยจำเป็นที่จะต้องสอดคล้อง เกื้อกูลกับพื้นฐานทางวัฒนธรรมของชาวบ้าน และวิถีการดำเนินชีวิต
เป็นได้ทั้งวัฒนธรรมในชุมชนเอง หรือวัฒนธรรมสมัยใหม่จากภายนอกชุมชนได้
เป็นการเน้นการพัฒนา กิจกรรมด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง
การมีส่วนร่วมของประชาชน
ประโยชน์ คือ ทำให้ประชาชนตระหนักและรู้สึกว่าตนเองเป็นเจ้าของพื้นที่ในการพัฒนา
ทำให้ประชาชนภูมิใจและหวงแหนในสิ่งที่ได้จากการพัฒนา
ได้แก่ การตัดสินใจ การดำเนินการ และการประเมินผล
ปัจจุบันมักเกิดปัญหา เพราะไม่ค่อยได้มีส่วนร่วม
เน้นความเกี่ยวข้องของประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนา
การพัฒนาที่ยั่งยืน
เน้นให้ประชาชนช่วยเหลือตนเอง ให้อำนาจให้มีส่วนร่วม
ไม่ว่าจะเป็นทางด้านทรัพยากรมนุษย์และทางกายภาพอื่นๆ เช่น เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคม และการเมือง
เป็นการพัฒนาโดยรักษาสมดุลของสิ่งแวดล้อม เพื่อการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว