Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้ออื่นๆขณะตั้งครรภ์, นางสาวภัณฑิรา ประนันท์ 6101210798 เลขที่ 34 …
การติดเชื้ออื่นๆขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ
(hepatitis A virus: HAV)
อาการ
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ตรวจพบน้ำดีในปัสสาวะแสดงว่าตับทำงานผิดปกติ
มีอาการตับเหลือง ตาเหลือง
ตรวจพบ alkaline phosphatase เพิ่มขึ้น
ผลกระทบ
ขณะตั้งครรภ์นั้น ร่างกายมารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAV ถผ่านไปยังทารกในครรภ์ มีผลคุ้มกันทารกไปจนถึงหลังคลอด ติดเชื้อใกล้คลอด อาจแพร่กระจายเชื้อไปยังทารก
การประเมิน
ตรวจร่างกาย พบมีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหารคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ตัวเหลืองตาเหลือง
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ หา antibody-HAV และ IgM-anti HAV และทำงานของตับ
ซักประวัติ เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ขับถ่าย สัมผัสเชื้อ
การป้องกัน
ไม่มีวิธีการรักษาการติดเชื้อ HAV ให้หายได้
รักษาแบบประคับประคอง
ให้ immune serum globulin (ISG)
ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อใกล้คลอดควรได้รับ ISG ทันที
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเอง
พักผ่อนเพียงพอ รับประทานอาหารที่สุก สะอาด มาตรวจตามนัด หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อตับ
ติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือน้ำ
โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส (Cytomegalovirus: CMV)
รับเชื้อทางการให้เลือด การสัมผัสทางปาก หรือทางเพศสัมพันธ์
อาการ
ไข้สูงนาน ปวดกล้ามเนื้อ ปอดบวม ตับอักเสบ และอาการทางสมอง
ตรวจได้จากปัสสาวะภายใน2 สัปดาห์หลังคลอด
การประเมิน
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจพิเศษ
แนวทางป้องกัน รักษา
ป้องกัน หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่มีการติดเชื้อ เคยมีประวัติติดเชื้อ เว้นการมีบุตรอย่างน้อย 2 ปี ไม่จูบหรือสัมผัสเด็กเล็กที่ใบหน้า
รักษา
ให้ immunoglobulin ของ anti-cytomegalo viral human
รให้ยาต้านไวรัส เช่น Valtrex, Ganciclovil, Valavir
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์ ภูมิคุ้มกันจะลดลง ถ้าติดเชื้อซ้ำอาการรุนแรงมากขึ้น
ทารก IUGR แท้ง fetal distress
การพยาบาล
ระยะคลอด
ดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
งดให้นมมารดา
ระยะตั้งครรภ์
ซักประวัติ อธิบายเกี่ยวกับโรค เน้นย้ำป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
โรคโควิด-19 กับการตั้งครรภ์ (COVID-19 during Pregnancy)
ติดต่อส่วนใหญ่ผ่านทางสัมผัสละอองฝอยจากการไอ หรือจาม
อาการ
อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ไอ น้ามูก เจ็บคอหายใจติดขัด หรือหายใจลำบาก
แนวทางการรักษา
เน้นให้บุคลากรใส่ชุด PPE
ที่สงสัยจะติดเชื้อ ห้ามใช้ยากลุ่ม NSAIDs
ติดเชื้อแต่อาการไม่รุนแรง ให้ยาต้านไวรัส
มีอาการรุนแรง ให้ออกซิเจน ้เป็น cannula On EFM ถ้าอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ให้ยาต้านไวรัส ยุติการตั้งครรภ์ตามข้อบ่งชี้
ดูแลขณะเจ็บครรภ์คลอด On EFM ถ้าอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ทำ epidural block ได้ ใช้ก๊าซสูดดมเพื่อระงับความปวด
เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ให้ corticosteroid
การพยาบาล
หลีกเลี่ยงการสัมผัส social distancing หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตา ปาก และจมูก หลีกเลี่ยงใช้ของใช้ส่วนตัว ร่วมกับผู้อื่น ล้างมือบ่อย ๆ
แยกตนเองออกจากครอบครัว งดการออกไปในที่ชุมชนสาธารณะ
ป้อนด้วยการใช้ช้อน หรือถ้วยเล็ก หรือขวด
ผบกระทบ
สตรีตั้งครรภ์ ภูมิต้านลดต่ำลง ติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็ก
ทารก พัฒนาการล่าช้า คลอดน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด อาจพบการติดเชื้อทันทีหลังคลอด
การประเมิน
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
พบเม็ดเลือดขาวต่ำ C-reactive protein สูง เกล็ดเลือดต่ำ
ตรวจหา viralnucleic acid ยืนยันการติดเชื้อ ผลตรวจไม่พบเชื้อให้ตรวจซ้ำา อีก1ครั้ง หากตรวจ 2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 24 ชั่วโมงแล้วยังไม่พบเชื้อถือว่าไม่เป็นโรค
ส่งสิ่งคัดหลั่งตรวจหาเชื้อไวรัสอื่น และส่งเพาะเชื้อแบคทีเรียจากเลือด
การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
ติดเชื้อปรสิตToxoplasma gondii
ติดเชื้อได้ทั้งในคนและสัตว์ หนูกระต่าย แกะ
ติดต่อเกิดขึ้นได้โดยการรับประทานผัก หรือผลไม้ที่ปนเปื้อนดินที่มีoocyte ของเชื้อซึ่งขับออกมาปนกับอุจจาระแมว
อาการ
ไม่ค่อยแสดงอาการ อาจมีอ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์ แท้ง คลอดก่อนกำเนิด ถุงน้ำคร่ำอักเสบ หรือแตกก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด
ทารก ไข้ ชัก ทารกหัวบาตร หินปูนจับในสมอง ตับและม้ามโต ตาและตัวเหลือง มักเสียชีวิตหลังคลอด
การประเมิน
ซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรค เช่น แมว
ตรวจร่างกาย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจเลือดหา DNA ของเชื้อ พบ Antibody IgM
ตรวจเลือดสายสะดือทารกหรือน้ำคร่ำ พบ IgA และ IgM
ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
แนวทางการป้องกัน
ให้ผู้อื่นเป็นผู้ดูแลแมวแทนในช่วงที่ตั้งครรภ์
หากจำเป็นต้องทำความสะอาดอุจจาระแมว สวมถุงมือยาง และล้างมือ
หลีกเลี่ยงอาหาร เนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก ผักผลไม้ที่ไม่ล้าง
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้ความรู้ ติดตามผลการตรวจเลือด เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง
ระยะคลอด
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันที
ป้ายตาด้วย 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointmen
หยอดตา 1% Silver nitrate (AgNO3)
ระยะหลังคลอด
ระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
เน้นเรื่องการรักษาความสะอาด ตรวจตามนัด
หัดเยอรมัน (Rubella)
ติดต่อผ่านทางเดินหายใจ
ติดเชื้อ 3-4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสจะสามารถผ่านไปยังทารก ทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด
พยาธิสรีรภาพ
กลุ่มไม่มีอาการทางคลินิก
พบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันอย่างเดียว และจะกลายเป็นพาหะของโรคต่อไป
กลุ่มที่มีอาการทางคลินิก
มีผื่นที่ใบหน้า ลามไปที่ลำตัวและแขนขา ผื่นเป็นตุ่ม
ทั้งสองกลุ่มสามารถทำให้ทารกเกิดการติดเชื้อได้
อาการ
มีไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ และต่อน้ำเหลืองบริเวณหลังหูโต
ผื่นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดง (maculopapular) เป็นปื้นหรือจุดกระจัดกระจายโดยจะเริ่มขึ้นที่ใบหน้า
ผลกระทบต่อทารก
ความผิดปกติถาวร ได้แก่ หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด สมองพิการ และปัญญาอ่อน
ความผิดปกติที่ไม่พบขณะแรกเกิด แต่ปรากฏภายหลัง เช่น DM โรคต่อมไทรอยด์ สูญเสียการได้ยิน
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว เช่น ตับม้ามโต ตัวเหลือง โลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ำ ปอดบวม กระดูกบาง
การป้องกันและการรักษา
ให้ภูมิคุ้มกัน
เน้นการฉีดวัคซีนในเด็กหญิง สตรีวัยเจริญพันธุ์ และคัดกรองหารายที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันเพื่อให้วัคซีน
ทารกแรกเกิดที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมัน หลังคลอด เก็บเลือดจากสายสะดือส่งตรวจ และตรวจร่างกายอย่างละเอียด
การพยาบาล
ให้วัคซีน หลังให้วัคซีน ต้องคุมกำเนิดต่อไปอย่างน้อย 3 เดือน
สตรีที่มาฝากครรภ์ควรตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่
หากยังไม่มีภูมิคุ้มกันแนะนำให้สตรีตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการเข้าชุมชน
แนะนำให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ ประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ การดำเนินของโรค ผลของโรค
การประเมิน
ซักประวัติการสัมผัสผู้ติดเชื้อ
ตรวจร่างกาย อาจพบผื่นสีแดงคล้ายหัด
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
หากผล HAI titer น้อยกว่า 1:8 หรือ 1:10 แสดงว่าไม่ติดเชื้อ และไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ
สุกใส (chickenpox)
ติดเชื้อ Varicella-zoster virus (VZV)
ติดต่อผ่านการสัมผัส การสูดหายใจเอาละออง
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
กรณีที่โรคสุกใสเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด จะเรียกว่า congenital varicella syndrome ีผลต่อความพิการของทารก
การติดเชื้อ 3 เดือน ของการตั้งครรภ์ ส่งผลต่อความพิการของทารกในครรภ์
อาการ
มีไข้ต่ำ ๆ ก่อนแล้วค่อยมีผื่น และตุ่ม
ตุ่มน้ำใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ำค้างบนกลีบกุหลาบปวดเมื่อยตามตัว
ตุ่มจะทยอยขึ้นเต็มที่ภายใน 4 วัน หลังจากนั้นจะพัฒนาไปเป็นตุ่มหนอง และแห้งลงจนตกสะเก็ด
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์ ปอดอักเสบ หรือปอดบวม หายใจล้มเหลว อาจมีอาการทางสมอง
ทารก
ติดเชื้อในครรภ์ เกิดความพิการก่อนกำเนิด ความผิดปกติของตา สมอง ผิวหนัง และแขนขาลีบเล็ก
ติดเชื้อปริกำเนิด ติดเชื้อผ่านช่องทางคลอด เสียชีวิตสูง
การประเมิน
ซักประวัติ สัมผัสผู้ติดเชื้อ
ตรวจร่างกาย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ หาแอนติบอดีชนิด IgM IgG
การป้องกัน รักษา
ไม่สัมผัสโรค ฉีดวัคซีนป้องกันสุกใส
รักษาแบบประคับประคอง หลีกเลี่ยงยาในกลุ่มแอสไพริน เพราะอาจทำให้เกิด Reye’s syndrome
รักษาแบบเจาะจง ใช้ยาต้านเชื้อไวรัสสุกใส Acyclovir
การพยาบาล
ระยะก่อนตั้งครรภ์
แนะนำวางแผนตั้งครรภ์ ฉีดวัคซีนป้องกันสุกใส
ระยะตั้งครรภ์
ห้พักผ่อน รับประทานอาหารโปรตีนสูง วิตามินซีสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ระยะคลอด
ดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทำความสะอาดร่างกายทันที
ระยะหลังคลอด
แยกของใช้สำหรับมารดา และทารก
มารดาตกสะเก็ดแล้ว แนะนำให้นมมารดาได้ ให้ทารกรับวัคซีน VariZIG
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี(Hepatitis B virus)
ติดเชื้อผ่านเลือด น้ำลาย อสุจิ สิ่งคัดหลั่งทางช่องคลอด น้ำนม และรก
พยาธิสรีรภาพ
ระยะแรก เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว พบ HBeAg ให้ผลบวก และviral loadจำนวนมาก
ระยะที่สอง พบ anti-HBe ให้ผลบวกและจำนวน Hepatitis B virus DNA ลดลง
ระยะที่สาม ะพบ HBeAg ให้ผลลบ anti-HBe ให้ผลบวก และค่าเอนไซม์ ตับปกต
ระยะที่สี่ HBeAg ให้ผลลบ และ anti-HBe ให้ผลบวก ตับอักเสบเรื้อรัง จนเป็นตับแข็งและกลายเป็นมะเร็งตับ
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์ ติดเชื้อไตรมาสที่ 3 เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
ทารก น้ำหนักตัวน้อย ตายในครรภ์ มีโอกาสติดเชื้อสูง
การประเมิน
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
แนวทางป้องกัน รักษา
คัดกรอง
กรณีได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ
พักผ่อน รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย พาสมาชิกในครอบครัวมาตรวจ และฉีดวัคซีน
ถ้า HBeAg เป็นบวก Hepatitis B virus DNA ในกระแสเลือดมากกว่า 20,000 IU/ml ร่วมกับค่าเอนไซม์ตับสูงเกิน 2 เท่า
รักษาด้วยยา TDF
ดูดมูกและเลือดออกจากปากและจมูกของทารก
ฉีด HBIGให้เร็วที่สุด และฉีด HB vaccine ภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด ฉีด HB vaccine อีกครั้งเมื่ออายุ 1 เดือน จากนั้นฉีดเหมือนเด็กทั่วไป
สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมารดาได้
อาการ
ระยะแรก ไม่มีอาการ จะเริ่มด้วยมีไข้ต่ำ ๆ เบื่ออาหาร
อาเจียน ปวดท้อง ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชา
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์ คัดกรอง ให้คำแนะนำ และป้องกันการแพร่และการติดเชื้อซ้ำซ้อน
ระยะคลอด ผู้คลอดนอนพักบนเตียง ดูดมูก เลือดและสิ่งคัดหลั่งต่าง ๆ ออกจากปากและจมูกของทารก ดูแลให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันภายหลังคลอด
ระยะหลังคลอด ไม่จำเป็นต้องงดให้นมมารดาแก่ทารก แนะนำการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดทั่วไป แนะนำให้นำทารกมารับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
การติดเชื้อไวรัสซิก้า (Zika)
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์ แสดงอาการมากในไตรมาสที่ 3 มีผื่นขึ้น
ทารก ผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท ตา เจริญเติบโตช้า ทารกตายในครรภ์ ภาวะศีรษะเล็กในทารก
การประเมิน
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจพิเศษ
อาการ
ไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง
ยุงลายเป็นพาหะนำโรค
การพยาบาล
ให้คำแนะนำในการป้องกัน
ใช้ยากำจัดแมลง ยากันยุง กางมุ้ง สวมเสื้อผ้าเนื้อหนา สีอ่อนๆ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์
อธิบายเกี่ยวกับการดำเนินของโรค ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิ ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ประเมินสุขภาพทารกในครรภ
ดูแลในระยะคลอดให้การดูแลเหมือนผู้คลอดทั่วไป
ดูแลมารดาหลังคลอดให้การดูแลเหมือนมารดาทั่วไป เน้นย้ำการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและวิตามินสูง ในแม่ที่พ้นระยะการติดเชื้อสามารถให้เลี้ยงนมมารดาได้
ตรวจร่างกายทารกแรกเกิด
แนวทางป้องกัน รักษา
การป้องกัน ครอบคลุม 4 ด้าน คือ ระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ระบบเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา ระบบเฝ้าระวังทารกที่มีความพิการแต่กำเนิด
รักษา พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ และรักษาตามอาการ ห้ามรับประทานยาแอสไพริน
นางสาวภัณฑิรา ประนันท์ 6101210798 เลขที่ 34