Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผล - Coggle Diagram
บทที่ 6 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผล
6.1 ชนิดของแผลและปัจจัยการส่งเสรมิ การหายของแผล ชนิดของแผล
ชนิดของแผลแบ่งตามสาเหตุ
แผลที่เกิดจํากกํารผ่ําตัด เรียก surgical wound , sterile wound หรือ incision wound
แผลที่เกิดจํากถูกของมีคมตัด เรียก cut wound เช่น แผลจากโดนมีดฟัน หรือ ถูกเศษแก้วบาด
แผลที่เกิดจากถูกของมีคมทิ่มแทง เรียก stab wound หรือ peneturating wound เช่น แผลถูกแทงด้วยมีด หรือแผลจากการเหยียบตะปู
แผลที่เกิดจํากโดนระเบิด เรียก explosive wound
แผลที่เกิดจากถูกยิง เรียก gunshot wound
แผลที่มีขอบแผลขาดกะรุ่งกะริ่ง เรียก lacerated wound
แผลที่เกิดจากการถูไถลถลอก เรียก abrasion wound
แผลที่เกิดจากการติดเชื้อมีหนอง เรียก infected wound
แผลที่เกิดจากการตัดอวัยวะบางส่วน เรียก stump wound เช่นแผลตัดเหนือเข่ํา
แผลที่เกิดจากการกดทับ เรียก pressure sore, bedsore,decubitus ulcer, pressure injury
แผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทํางกายภาพและเคมี
13.3 จากสารเคมีที่เป็นกรด
13.4 จากถูกความเย็นจัด
13.2 จากสารเคมีที่เป็นด่ําง
13.5 จากไฟฟ้ําช็อต
13.1 จากไฟไหม้น้ำร้อนลวก
13.6 จากรังสี
แผลที่เกิดจากการปลูกผิวหนัง
แผลที่เกิดจํากถูกบดขยี้เรียกcrushwoundเช่นแผลถูกเครื่องบดนิ้ว
แผลที่เกิดจํากกํารกระแทกด้วยวัตถุลักษณะมนเรียกtraumaticwoundเช่น แผลของอวัยวะภํายในช่องท้องถูกกระแทกจํากพวงมําลัยรถยนต์ขณะเกิดอุบัติเหตุ
ชนิดของแผลแบ่งตามลักษณะพื้นผิว
แผลลักษณะแห้ง
แผลลักษณะเปียกชุ่ม
ชนิดของแผลแบ่งตามลำดับความสะอาด
Class I: Clean wound ประเภทที่ 1 แผลผ่ําตัดสะอําด
ลักษณะเป็นแผลที่ไม่มีการติดเชื้อ,ไม่มีการอักเสบมาก่อน
Class II: Clean-contaminated ประเภทที่ 2 แผลสะอําดกึ่งปนเปื้อน
ลักษณะแผลที่มีการผ่ําตัดผ่ํานระบบทํางเดินหายใจ, ระบบทํางเดินอาหาร, ระบบทํางเดินปัสสําวะ,เป็นกํารผ่ําตัดที่เกี่ยวกับท่อน้ำดี, อวัยวะสืบพันธุ์ และช่อง oropharynx ที่ควบคุมการเกิดปนเปื้อนได้ขณะทำผ่ําตัด
Class III: Contaminated ประเภทที่ 3 แผลปนเปื้อน
ลักษณะแผลเปิด (open wound) แผลสด (fresh wound) แผลจากการได้รับอุบัติเหตุแผลที่เกิดการปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินอาหาร เป็นแผลที่มีการอักเสบเฉียบพลัน
Class IV: Dirty/Infected ประเภทที่ 4 แผลสกปรก/แผลติดเชื้อ
ลักษณะแผลเก่ํา (old traumatic wound) แผลมีเนื้อตาย (gangrene)แผลมีกํารติดเชื้อมาก่อน แผลกระดูกหักเกิน 6 ชั่วโมง
ชนิดของบาดแผลแบ่งตามระยะเวลาการเกิด
แผลเรื้อรัง(chronic wound) เป็นแผลที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน และรักษายากหรือรักษาเป็นเวลานาน อาจมีอาการแทรกซ้อนตามมาภายหลัง
แผลเนื้อตาย(gangrene wound)เป็นแผลที่เกิดจากการขาดเลี้ยงไปเลี้ยงหรือเลือดมาเลี้ยงไม่เพียงพอ สาเหตุจากหลอดเลือดตีบแข็ง เช่น แผลเบาหวานที่มีลักษณะสีดำและมีกลิ่นเหม็น
แผลที่เกิดเฉียบพลัน(acute wound) เป็นการเกิดแผล และรักษาให้หายในระยะเวลาอันสั้น หรือการหายของแผลเป็นไปตามขั้นตอนการหายของบําดแผล เช่น แผลจากการผ่าตัด
ชนิดของแผลแบ่งตามการรักษา
การรักษาผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกด้วยวิธีการจัดกระดูกให้อยู่นิ่ง(retention) ด้วยการดามกระดูกด้วยเหล็กหรือแผ่นเหล็กและตะปูเกลียว
2.การรักษาแผลด้วยสุญญากาศ(Negative Pressure Wound Therapy: NPWT)เป็นการรักษาแผลที่มีเนื้อตาย หรือแผลเรื้อรังโดยการปิดแผลสุญญากาศมีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
2.1 ลดการบวมของแผลและเนื้อเยื่อใกล้เคียงทันทีที่เปิดเครื่องดูดสุญญากาศ
2.2 เพิ่มปริมาณเลือดมาสู่แผล ผลจากแรงระหว่างเนื้อเยื่อแผลกับแผ่นโฟมทำให้เลือดไหลมาสู่แผล
2.3 กระตุ้นการงอกใหม่ของเซลล์ แรงจากการยืด
2.4 ลดแบคทีเรียในแผล
แผลท่อระบาย เป็นแผลผ่าตัดซึ่งศัลยแพทย์เจาะผิวหนังเพื่อใส่ท่อระบายของเสียจากการผ่าตัดเป็นท่อระบายระบบปิด
แผลท่อหลอดคอ (tracheostomy tube) เป็นแผลท่อระบายที่ศัลยแพทย์ ทำการผ่าตัดเปิดหลอดลมเพื่อใส่ท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่มีปัญหาของระบบทางเดินหายใจ
แผลท่อระบายทรวงอก (chest drain) เป็นแผลท่อระบายที่ศัลยแพทย์ทำการเจาะปอด เพื่อใส่ท่อระบายของเสียออกจํากปอดในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของปอด
แผลทวารเทียมหน้าท้อง (colostomy) เป็นแผลท่อระบายที่ศัลยแพทย์ทำผ่าตัดเปิดลำไส้ใหญ่ออกทางหน้าท้อง เพื่อระบายอุจจาระในผู้ป่วยที่มีปัญหาของระบบทางเดินอาหาร
ปัจจัยที่มีผลต่อการหายของบาดแผล
ปัจจัยเฉพาะที่
.2 ภาวะแวดล้อมแห้ง (dry environment) การหายของแผลและมีความเจ็บปวดน้อยในภาวะแวดล้อมชุ่มชื้นหายเร็ว 3-5 เท่าในภาวะแวดล้อมแห้งกว่า
1.3 การได้รับอันตรายและอาการบวม (trauma and edema)การได้รับอันตรายทำให้เนื้อเยื่อเกิดอาการบวม (edema) อาการบวมส่งผลกระทบต่อการขนส่งออกซิเจน และสารอาหารเข้าสู่แผลทำให้แผลหายช้า
1.1แรงกด (pressure)กํารนอนในท่ําเดียวนํานๆ ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกเลือดไปเลี้ยงบาดแผลน้อยลงเกิดเป็นรอยแดงหรือทำให้แผลเกิดการลุกลามมากยิ่งขึ้น
1.4 กํารติดเชื้อ (infection) ทำให้แผลหายช้า ในกรณีที่ทีการติดเชื้อจึงต้องเก็บสิ่งตัวอย่ํางส่งตรวจ (specimen) เช่น เก็บหนองส่งเพาะเชื้อ (culture) เพื่อการรักษาโดยเลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ฆ่ําเชื้อโรคชนิดนั้นได้
1.5 ภาวะเนื้อตาย
1.5.1 slough มีลักษณะเปียก (moist) สีเหลือง (yellow)เหนียว (stringy) หลวมยืดหยุ่น (loose) ปกคลุมบาดแผล
1.5.2 eschar มีลักษณะหนา เหนียว (thick) คล้ายหนังสัตว์มีสีดำ (black) ลักษณะเนื้อตายนี้ต้องตัดออกก่อนการทำความสะอาดแผล จะทำให้แผลหายได้ดีตามลำดับ
1.6 ความไม่สุขสบาย (incontinence) การปัสสาวะและอุจจาระกะปิดกะปอยทำให้ผิวหนังเปียกแฉะทำให้แผลสกปรกตลอดเวลา เป็นปัญหาในการดูแลแผล
ปัจจัยระบบ
2.1 อายุ
2.2โรคเรื้อรัง
2.3 น้ำในร่างกาย
2.4 การไหลเวียนของโลหิตบกพร่อง
2.5 ภาวะกดภูมิคุ้มกันและรังสีรักษา
2.6 ภาวะโภชนาการ
โปรตีน (protein) มีบทบาท คือกํารสร้างเสริมและการซ่อมแซมเนื้อเยื่อการขาดโปรตีนทำให้การงอกขยายของเนื้อเยื่อใหม่ลดลง
คาร์โบไฮเดรตและไขมัน (carbohydrate and fat) ช่วยในการเสริมสร้างพลังงานให้เซลล์น้ำตาลมีความจำเป็นในการสร้างพลังงานให้ร่างกายและจำเป็นต่อการรวมตัวของเม็ดเลือดขาว
เกลือแร่ (minerals) มีความสำคัญต่อการทำหน้ําที่ของ Collagen formation และepithelialization
วิตามิน (vitamins) วิตามิน C มีความสำคัญในการรวมตัวของ collagen ช่วยต่อต้านการติดเชื้อ สังเคราะห์collagen สร้างหลอดเลือดฝอยใหม่ และสร้างความแข็งแรงของหลอดเลือด
น้ำ (fluid) เป็นส่วนหนึ่งของภาวะโภชนาการที่มีความสำคัญมากเพราะน้ำจะช่วยในการคงสภาพที่ดีของการไหลเวียนเลือดและส่งเสริมสภาพที่ดีของผิวหนังผู้ป่วยควรได้รับน้ำอย่ํางน้อยวันละ2,000 มิลลิลิตร
6.2ลักษณะและกระบวนการหายของแผล
ลักษณะการหายของแผล
2.การหายของแผลแบบทุติยภูมิ(Secondaryintentionhealing)เป็นแผลขนาดใหญ่ที่เนื้อเยื่อถูกทำลาย มีการสูญเสียเนื้อเยื่อบางส่วน ขอบแผลมีขนาดกว้างเย็บแผลไม่ได้การรักษําโดยการทำแผลจนเกิดมีเนื้อเยื่อใหม่ มาปกคลุม
3.การหายของแผลแบบตติยภูมิ(Tertiaryintentionhealing)เป็นแผลชนิดเดียวกับแผลทุติยภูมิ เมื่อทำการรักษาโดยการทำแผลจนมีเนื้อเยื่อเกิดใหม่ปกคลุมสีแดงสด และไม่มีอาการการแสดงภาวะติดเชื้อแล้ว
1.การหายของแผลแบบปฐมภูมิ(Primaryintentionhealing)เป็นแผลประเภทที่ผิวหนังมีกํารสูญเสียเนื้อเยื่อเพียงเล็กน้อย และเป็นแผลที่สะอาด
กระบวนการหายของแผล
ระยะ1: ห้ามเลือดและอักเสบ
ระยะ2: การสร้างเนื้อเยื่อ
ระยะ3: การเสริมความแข็งแรง
การบันทึกลักษณะบาดแผล
3.ขนาด ควรระบุเป็นเซนติเมตร
4.สี เช่น แดง (readiness) เหลือง (yellow) ดำ (black) หรือปนกัน
2.ตำแหน่ง/บริเวณ เช่น ตำแหน่ง RLQ
5.ลักษณะผิวหนัง เช่น ผื่น
ชนิดของบําดแผล เช่น แผลผ่าตัด(incision wound)เย็บกี่เข็ม
6.ขั้นหรือระยะควํามรุนแรงของบําดแผล เช่น แผลกดทับขั้น 4
7.สิ่งที่ปกคลุมบําดแผลหรือสํารคัดหลั่ง
วิธีการเย็บแผลและวัสดุที่ใช้ในการเย็บแผล
ส่งเสริมการหายของแผล
ป้องกันมิให้เชื้อโรคเข้ําไปในแผล
ดึงขอบแผลเข้าหากัน
รักษําสภาพปกติของผิวหนัง
1.ห้ามเลือด
วิธีการเย็บแผล
Interrupted methodเป็นวิธีกํารเย็บแผลที่ต้องตัดวัสดุเย็บแผลในทุกฝีเข็ม
2.1 Simple interrupted methodเป็นวิธีกํารเย็บแผลเพื่อดึงรั้งให้ขอบแผลทั้งสองติดกัน เหมาะสำหรับเย็บบาดแผลผิวหนังทั่วไป
2.2 Interrupted mattress methodเป็นวิธีการเย็บแผลโดยการตักเข็มเย็บที่ขอบแผลสองครั้ง ใช้ในรายที่ต้องการความแข็งแรงของแผล เหมาะสำหรับเย็บแผลที่ลึกและยาว
Continuous methodเป็นวิธีกํารเย็บแผลแบบต่อเนื่องตลอดความยาวของแผล หรือความยาวของวัสดุเย็บแผล โดยไม่มีการตัดจนกว่าจะเสร็จสิ้นการเย็บแผล
Subcuticular methodเป็นกํารเย็บแผลแบบ continuous methodแต่ใช้เข็มตรงในการเย็บ และซ่อนวัสดุเย็บแผลไว้ในชั้นใต้ผิวหนัง
Retention method (Tension method)เป็นวิธีการเย็บรั้งแผลเข้าหากัน เพื่อพยุงแผลในกรณีผู้ที่มีชั้นไขมันหน้าท้องหนาหรือแผลที่ตึงมาก และแผลที่ต้องการทำ secondary suture วัสดุเย็บแผลที่นิยมใช้ คือ nylon, steel wire, linen และต้องหาวัสดุป้องกันเส้นวัสดุเย็บแผลกดทับแผลโดยตรง
วัสดุที่ใช้ในการเย็บแผล
วัสดุที่ละลายได้เอง
1.1 เส้นใยธรรมชาติ
1.2 เส้นใยสังเคราะห์
วัสดุที่ไม่ละลายเอง
2.1 เส้นใยตามธรรมชาติ
2.2 เส้นใยสังเคราะห์
2.3 วัสดุที่เย็บเป็นโลหะ
6.3วิธีการท าแผลชนิดต่างๆและการตัดไหม
การทำแผลเป็นหนึ่งในปัจจัยส่งเสริมการหายของแผล มีวัตถุประสงค์
ป้องกันไม่ให้ผ้าปิดแผลติดและดึงรั้งเนื้อเยื่อที่งอกใหม่
ป้องกันแผลหรือเนื้อเยื่อที่เกิดใหม่จากสิ่งกระทบกระเทือน
ให้ความชุ่มชื้นกับพื้นผิวของแผลอยู่เสมอ
ป้องกันแผลปนเปื้อนเชื้อโรคจากอุจจาระปัสสําวะสิ่งสกปรกอื่น ๆ
จำกัดการเคลื่อนไหวของแผลให้อยู่นิ่ง
เป็นการห้ามเลือด
ดูดซึมสารคัดหลั่ง เช่น เลือด น้ำเหลือง หนอง เป็นต้น
ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย
ให้สภาวะที่ดีเหมาะแก่การงอกของเนื้อเยื่อ
ชนิดของการทำแผล
การทำแผลแบบเปียก
ทำความสะอาดริมขอบแผลเช่นเดียวกับการทำ dry dressing
ใช้สำลีชุบน้ำเกลือหรือน้ำยาตามแผนการรักษาเช็ดภายในแผลจนสะอาด
ใช้ผ้า gauze ชุบน้ำยา(solution) ใส่ในแผล(packing)เพื่อฆ่าเชื้อและดูดซับสารคัดหลั่งให้ความชุ่มชื้นแก่เนื้อเยื่อ
1.เปิดแผลโดยใช้มือ(ใส่ถุงมือ) เปิดชุดทำแผลตามหลัก IC หยิบผ้าปิดแผลส่วนบนทิ้งลงในชามรูปไตหรือถุงพลาสติกเปิดผ้าปิดแผลชั้นที่ติดกับแผลด้วย tooth forceps หากผ้า gauze แห้งติดแผลใช้สำลีชุบน้ำเกลือหยดบนผ้า gauze ก่อน เพื่อให้เลือดหรือสารคัดหลั่งอ่อนตัว จะช่วยให้ผ้า gauze หลุดง่ายและไม่ทำลาย granulation tissue
ปิดแผลด้วยผ้า gauze และปิดพลาสเตอร์ตามแนวขวางของลำตัว
การทำแผลแบบแห้ง
หยิบ tooth forceps ใช้รับของsterile ทำหน้าที่เป็นdressing forceps
หยิบnon-tooth forceps ใช้คีบส่งของsterile ทำหน้าที่เป็น transfer forceps
หยิบสำลีชุบ alcohol 70% เช็ดรอบๆ แผลวนจากในออกนอกห่างแผล 1นิ้วเป็นบริเวณกว้าง 2 นิ้ว
2.เปิดชุดทำแผล (ตํามหลักกํารของ IC) หยิบforceps ตัวแรกโดยใช้มือจับด้านนอกของผ้ําห่อชุดทำแผล หยิบขึ้นแล้วใช้ forcepsตัวแรกหยิบforceps ตัวที่สอง วาง forceps ไว้ด้านข้างถาดของชุดทำแผล
หยิบสำลีชุบ 0.9% NSS เช็ดจํากบนลงล่างจนแผลสะอาดแล้วเช็ดด้วยสำลีแห้ง
เปิดแผลโดยใช้มือ(ใส่ถุงมือ) หยิบผ้ําปิดแผลโดยพับส่วนที่สัมผัสแผลอยู่ด้ํานในทิ้งลงชํามรูปไตหรือถุงพลําสติก
ทําแผลด้วย antiseptic solution ตามแผนการรักษา
ปิดแผลด้วย gauze ติดพลาสเตอร์ตามแนวขวํางของลำตัวโดยเริ่มติดชิ้นแรกตรงกึ่งกลํางของแผลและไล่ขึ้น-ลงตามลำดับ ส่วนหัวและท้ายต้องปิดทับผ้า gauze กับผิวหนังให้สนิท
เก็บอุปกรณ์ ถอดถุงมือ ถอดmask และล้างมือ ทิ้งขยะในถังขยะติดเชื้อทุกครั้ง
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำแผล
อุปกรณ์ทำความสะอาดแผล
วัสดุสำหรับปิดแผล
2.1 ผ้ําก๊อซ
2.2 ผ้ําก๊อซหุ้มสำลี
2.3 ผ้าซับเลือด
2.4 วายก๊อซ
2.5 วาสลินก๊อซ
2.6 ก๊อซเดรน
2.7 transparent filmเป็นพลําสเตอร์กันน้ำที่มี gauze สำเร็จรูป
2.8 แผ่นเทปผ้าปิดแผล เป็นแผ่นปิดแผลสำเร็จรูป มี gauze และแผ่นเทปพร้อมใช้
2.9 antibacterial gauze dressing เป็น gauze ปิดแผลชุบด้วยพาราฟิน และ ยาปฎิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ เช่น sofa-tulle, bactigras นิยมใช้ปิดที่มีขอบแผลกว้ํางแต่ไม่ลึก
1.2สารละลาย
1.2.2น้ำเกลือล้างแผล
1.2.3 เบตาดีน หรือโปรวิโดน ไอโอดีน
1.2.1แอลกอฮอล์ที่นิยมใช้ คือ alcohol 70%
1.1ชุดทำแผล
วัสดุสำหรับยึดติดผ้าปิดแผล
อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น กรรไกรตัดไหม
ภาชนะสำหรับทิ้งสิ่งสกปรกเช่น ชามรูปไต ถุงพลาสติก
การทำแผลผ่าตัดที่มีท่อระบาย (Tube drain)
การเตรียมเครื่องใช้ในการทำแผล เช่นเดียวกับการทำแผลแบบแห้ง สำหรับ Penrose drain นั้นโดยปกติแพทย์จะมีแผนการรักษาให้ตัดท่อย่างให้สั้นลง (short drain) ทุกวัน โดยอาจตัดออกครั้งละ 2-5เซนติเมตร (1นิ้ว) จึงต้องเพิ่มอุปกรณ์ในการทำแผลท่อระบาย ได้แก่กรรไกรตัดไหม เข็มกลัดซ่อนปลาย
ใช้ non-tooth forceps หยิบสำลีชุบ alcohol70% ส่งต่อให้ tooth forceps เช็ดผิวหนังรอบท่อระบายวนจากในออกนอกแบบครึ่งวงกลมหรือวงกลมจนสะอาดทิ้งสำลีที่ใช้แล้วลงในชามรูปไตหรือถุงพลาสติกระวัง forceps สัมผัสชามรูปไตหรือถุงพลาสติก และระวังไม่ข้ามกรายชุดทำแผล
ใช้สำลีชุบ NSS เช็ดตรงกลํางแผลท่อระบาย แล้วเช็ดด้วยสำลีแห้ง
ใช้สำลีชุบ alcohol70% เช็ดท่อระบายจากเหนือแผลออกมาด้านปลายท่อระบาย เช็ดด้วยสำลีแห้ง
กรณี Penrose drain และแพทย์มีแผนการรักษาให้ตัดท่อยํางให้สั้น (short drain) หยิบ gauze 1 ผืน เพื่อจับเข็มกลัดซ่อนปลาย ใช้ forceps บีบเข็มกลัดให้อ้ําออก จับไว้ในมือข้างที่ถนัด ใช้มืออีกข้ํางถือ forceps จับท่อระบายดึงท่อระบายออกมา1 นิ้ว (อย่ํางนุ่มนวลด้วยความระวัง)แทงเข็มกลัดเข้ากับท่อระบายกลัดเข็มกลัดเข้าที่แล้วตัดท่อระบายส่วนที่อยู่เหนือเข็มกลัดซ่อนปลายทิ้งท่อระบายที่ตัดออกลงชามรูปไตหรือถุงพลําสติกใช้สำลีเช็ดผิวหนังรอบๆ ท่อระบายและท่อระบายอีกครั้ง
พับครึ่งผ้า gauze วางสองข้างของท่อระบายแล้ววางผ้า gauze ปิดทับท่อระบายอีกชั้น และปิดพลาสเตอร์ให้เรียบร้อย
หลังการทำแผลเสร็จแล้วจัดท่าให้ผู้ป่วยสุขสบาย และดูแลสภาพแวดล้อม พยาบาลต้องให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการดูแลตนเอง
7.1 ระวังไม่ให้แผลถูกน้ำ หรือเปียกชื้น หากแผลชุ่มมากควรแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาล
7.2รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และน้ำวันละ 2,000 มิลิลิตร เสริมโปรตีนวิตามิน และเกลือแร่ เพื่อสร้างเนื้อเยื่อและเสริมความแข็งแรงให้กับแผล
7.3 หากเกิดอาการคันหรือแพ้พลาสเตอร์ ควรแจ้งให้พยาบาลทราบ ไม่ควรแคะแกะหรือเกาเพราะจะทำให้ผิวหนังรอบแผลช้ำถลอกเกิดการอักเสบติดเชื้อ ลุกลามขยายเป็นแผลกว้างได้
การตัดไหม (Sutureremoval)
หลักการตัดไหม
ขณะตัดไหมหํากพบว่ามีขอบแผลแยกให้หยุดทำและปิดแผลด้วยวัสดุที่ช่วยดึงรั้งให้ขอบแผลติดกัน
เศษไหมที่เย็บแผลส่วนที่มองเห็นเป็นส่วนที่มีการสัมผัสเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ตามผิวหนังในการตัดและดึงไหมออกจึงไม่ควรดึงไหมส่วนที่มองเห็นลอดผ่านใต้ผิวหนัง และจะต้องดึงไหมออกให้หมด เพราะถ้าไหมตกค้างอยู่ใต้ผิวหนัง จะกลายเป็นสิ่งแปลกปลอมและเกิดการอักเสบติดเชื้อได้
1.ตรวจสอบคำสั่งการรักษาของแพทย์ทุกครั้งว่ามีจุดประสงค์ให้ตัดไหมทุกอัน (total stitches off) หรือตัดอันเว้นอัน (partial stitches off)
วิธีทำการตัดไหม
ทำความสะอาดแผลใช้ alcohol 70% เช็ดรอบแผล เช็ดรอยพลาสเตอร์ออกด้วยเบนซิน และเช็ดตามด้วย alcohol 70% และน้ำเกลือล้างแผลแล้วเช็ดแห้งก่อนทำการลงมือตัดไหม หยิบผ้า gauze วางเหนือแผล เมื่อตัดไหมทีละเข็มให้วางวัสดุเย็บแผลลงบน ผ้า gauze เพื่อนับจำนวนเข็ม
การตัดไหมที่เย็บแผลชนิดinterrupted method โดยใช้ไหมผูกเป็นปมแยกเป็นอัน ๆ โดยใช้tooth forceps จับชายไหมส่วนที่อยู่เหนือปมที่ผูกไว้ ดึงขึ้นพอตึงมือจะเห็นไหมใต้ปมโผล่พ้นผิวหนังขึ้นมาและสอดปลายกรรไกรตัดไหมในแนวราบขนําดกับผิวหนังเล็กตัดไหมส่วนที่อยู่ชิดผิวหนังซึ่งอยู่ใต้ปมที่ผูกแล้วดึงไหมในลักษณะดึงเข้าหาแผลเพื่อป้องกันแผลแยก
การตัดไหมที่เย็บแผลชนิด interrupted mattress โดยใช้ไหมผูกปมเป็นอัน ๆ ชนิดสองชั้น ให้ตัดไหมส่วนที่มองเห็นและอยู่ชิดผิวหนังมากที่สุด ซึ่งอยู่ด้านตรงกันข้ามกับปมไหมให้ตัดไหมด้วยวิธีเดียวกับการเย็บแผลแบบinterrupted method
การตัดไหมที่เย็บแผลแบบต่อเนื่อง continuous method ให้ตัดไหมส่วนที่อยู่ชิดผิวหนังด้านตรงกันข้ามกับปมที่ผูกอันแรกและอันถัดไปด้านเดิม เมื่อดึงไหมออกส่วนที่เป็นปมผูกไว้อันแรก และส่วนที่อยู่ชิดผิวหนัง ซึ่งติดกับไหมที่เย็บอันที่สองจะหลุดออก ส่วนไหมปมอันถัดไปให้ตัดไหมส่วนที่อยู่ชิดผิวหนังด้ํานเดิม ทำเช่นนี้จนถึงปมไหมอันสุดท้ําย
กรณีที่ใช้ลวดเย็บเป็นวัสดุเย็บแผล ทำความสะอาดแผลผ่าตัดตามปกติ กํารตัดลวดเย็บแผลต้องใช้เครื่องมือตัด เรียกว่า “removal staple” โดยอ้าส่วนปลายซึ่งมีลักษณะคล้ายคีมสอดใต้ลวดเย็บกดด้ํานมือจับให้ส่วนปลายกดวลดเย็บงอแล้วดึงลวดออกทีละเข็มจนครบ
ภายหลังตัดไหมครบทุกเส้นแล้ว เช็ดแผลด้วย normal saline 0.9% และเช็ดให้แห้งอีกครั้ง ปิดแผลต่อไว้อีก 1 วัน (ถ้าแผลแห้งดี)ถ้าแผลยังติดไม่ดีแพทย์อาจติด sterile strip แล้วจึงปิดด้วยผ้า gauze และปิดพลาสเตอร์อีกครั้ง
6.4วิธีการพันแผลชนิดต่างๆ
วัตถุประสงค์
ช่วยพยุงผ้าปิดแผลให้อยู่กับที่
ให้ความอบอุ่นบริเวณนั้น ๆ
ใช้เป็นแรงกดป้องกันเลือดไหล
ช่วยให้อวัยวะอยู่คงที่ และพยุงอวัยวะไว้
1.ป้องกันการติดเชื้อ
รักษารูปร่างของอวัยวะให้พร้อมที่จะใส่อวัยวะเทียม
ชนิดของผ้าพันแผล
2.ผ้าพันแผลชนิดม้วน
ผ้าสามเหลี่ยม
ผ้าพันแผลชนิดพิเศษ
หลักการพันแผล
ต้องทำความสะอาดบาดแผลและปิดผ้าปิดแผลให้เรียบร้อยก่อน แล้วจึงพันผ้าปิดทับต้องระวังหากพันแน่นเกินไปผู้ป่วยอาจเจ็บแผล
การลงน้ำหนักมือเพื่อดึงผ้าพันแผลควรระวังใช้น้ำหนักให้เหมาะสม ถ้าลงน้ำหนักมือมํากอาจทำให้แน่นเกินไป
ตำแหน่งที่บาดเจ็บ เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้า ต้องใช้ผ้าก๊อสคั่นระหว่างนิ้วก่อนป้องกันการเสียดสีของผิวหนังอําจทำให้เกิดแผลระหว่างนิ้วได้
การพันผ้าบริเวณเท้า ขา ตะโพก ต้องมีผู้ช่วยคอยประคองอวัยวะส่วนนั้นไว้ เพื่อช่วยให้ผู้พันผ้าสะดวกและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการพันผ้ําในตำแหน่งนั้น ๆ
ตำแหน่งที่ต้องการจะพันผ้าผิวหนังบริเวณนั้นต้องสะอาดและแห้ง
ผู้พันผ้าและผู้บาดเจ็บหันหน้าเข้าหากัน จัดท่าให้ผู้บาดเจ็บอยู่ในท่าที่สบายวางอวัยวะส่วนที่จะพันผ้าให้รู้สึกผ่อนคลาย
การพันผ้าใกล้ข้อ ต้องพันผ้า โดยคำนึงถึงการขยับเคลื่อนไหวของข้อนั้นด้วย
วิธีการพันแผล
การใช้ผ้าสามเหลี่ยม ผ้าสามเหลี่ยมเป็นสามเหลี่ยมที่มีมุมยอดเป็นมุมฉาก ขนาดของผ้าที่ใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวผู้ป่วยและอวัยวะที่ต้องการพันผ้า
การใช้ผ้าพันแผลชนิดม้วน มีหลักการพันผ้า ได้แก่ เริ่มต้นพันผ้าจากส่วนเล็กไปหาส่วนใหญ่ พันผ้าเข้าหาตัวผู้ป่วย ตั้งต้นและจบผ้าพันด้วยการพันรอบทุกครั้งเพื่อให้ผ้าไม่เลื่อนหลุด การเริ่มต้น กํารต่อผ้า หรือการจบของการพันผ้า ต้องระวังไม่ตำแหน่งที่เริ่มหรือจบผ้านั้นต้องไม่ตรงกับบริเวณที่เป็นแผลหรือบริเวณที่มีการอักเสบ เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคืองและปวดมากขึ้นการเริ่มต้นพันผ้าต้องหงายม้วนผ้าขึ้น
การพันผ้าแบบชนิดม้วนมี 5แบบ
1.การพันแบบวงกลม(circular turn)เหมาะสำหรับพันอวัยวะที่มีรูปทรงกระบอก เช่น แขน ขํา นิ้วมือ นิ้วเท้า
2.การพันแบบเกลียว (spiral turn)เหมาะสำหรับพันอวัยวะที่มีรูปทรงกระบอก เช่น แขน ขํา นิ้วมือ นิ้วเท้า
3.การพันแบบเกลียวพับกลับ(spiral reverse)เหมาะสำหรับอวัยวะที่เป็นทรงกระบอก การพันแบบนี้ใช้พันเมื่อต้องการความอบอุ่นหรือต้องการแรงกด
4.การพันเป็นรูปเลข 8(figure ofeight)เหมาะสำหรับพันบริเวณข้อพับ เช่น ข้อศอก ข้อเข่ําข้อเท้า เพื่อให้ข้อดังกล่ําวเคลื่อนไหวได้
การพันแบบกลับไปกลับมา (recurrent)เหมาะสำหรับการพันเพื่อยึดผ้าปิดแผลที่ศีรษะ หรือการพันแผลที่เกิดจากการถูกตัดแขน ขา (stump) เพื่อบรรเทาอาการบวมและทำให้คงรูปทรงเดิมซึ่งเตรียมตอแขนหรือตอขาไว้ใส่อวัยวะเทียม