Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินหายใจ ( Respiratory drugs ), image,…
บทที่ 8 ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบทางเดินหายใจ ( Respiratory drugs )
โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
โรคหืด (Asthma )
หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า โรคหอบหืด
คือ โรคที่เกิดจากการหดตัวหรือตีบแคบของระบบทางเดินหายใจ
สาเหตุ เช่น กรรมพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การติดเชื้อ สิ่งแวดล้อมทำให้เกิดอาการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ทำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหลอดลม และเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นแบบผันกลับได้
ยาที่ใช้ในการรักษาหอบหืด
ยาขยายหลอดลม (Bronchodilators)
1.1
เป็นยากลุ่มกระตุ้นตัวรับชนิดเบต้า-2 (beta-2 agonists)
แบ่งตามระยะการออกฤทธิ์ ดังนี้
กลุ่มยาที่มีระยะเวลาในการออกฤทธิ์สั้น
(short-acting) ได้แก่ Salbutamol Terbutaline
กลุ่มยาที่มีระยะเวลาในการออกฤทธิ์นาน (long-acting)
ได้แก่ Formoterol Salmeterol
1.2
ยากลุ่มเมทิลแซนธีน (Methylxanthines)
เป็นอนุพันธ์ของ xanthines เช่น caffeine,theophylline, theobromineปัจจุบันตัวที่นิยมนำมารักษาโรคหอบหืดคือ Theophylline (The-dur®
1.3 **ยากลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านโคลิเนอร์จิก
(Anticholinergic drugs or Muscarinic antagonists)**
ยาในกลุ่มนี้ที่น ามาใช้ในการรักษาหอบหืดคือ ipratropium bromide แต่ประสิทธิภาพของยากลุ่มนี้จะน้อยกว่ากลุ่ม beta-2 agonists
ยาต้านการอักเสบ (Anti-inflammatory drugs)
2.1
ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์(Corticosteroids)
ทำให้หลอดลมไวต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าคนปกติโดยทั่วไปนิยมยาพ่นสเตียรอยด์(inhaled corticosteroids)ตัวอย่างยากลุ่มนี้ ได้แก่ ยารับประทาน เช่น prednisolone, ยาฉีด เช่น hydrocortisone, ยาสูดพ่น เช่น beclomethasone, budesonide
คำแนะนำในการใช้ยา : หลังการใช้ยาควรแนะนำให้ผู้ป่วยบ้วนปากหรือกลั้วคอด้วยน้ำสะอาดหลังการสูดพ่นยาเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราในช่องปาก ( Candidiasis )
2.2 **ยากลุ่มยับยั้งการหลั่งสารสื่อจากเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับ
กระบวนการอักเสบ** ได้แก่ Cromolyn sodium (disodium cromoglycate) และ Nedocromil sodium
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ( COPD)
Chronic obstructive pulmonary disease
คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของปอดซึ่งเกิดจากการที่ปอดได้รับความเสียหายจนก่อให้เกิดปัญหาทางด้านการหายใจรวมถึงมีอาการโรคถุงลมโป่งพองและหลอดลมอักเสบเรื้อรังร่วมด้วย เช่น ไอมีเสมหะ เหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น
อาการไอ : การไอ (cough) เป็นกลไกอย่างหนึ่งของร่างกายที่ช่วยในการขับสิ่ง แปลกปลอมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่น ควัน สารคัดหลั่ง หรือเชื้อโรคที่อยู่ในระบบทางเดินหายใจให้ออกไปจากร่างกาย ทำให้ทางเดินหายใจโล่ง
ไอแบบไม่มีเสมหะ (dry or nonproductive cough)
เป็นการไอแห้งๆ ไอถี่ๆ แต่ไม่มีเสมหะออกมา อาจจำเป็นต้องให้ยาระงับไอหรือยากดการไอ (anti-tussives or cough suppressants)
การไอแบบมีเสมหะ (productive cough)
เป็นการช่วยขับสิ่งแปลกปลอมหรือสารคัดหลั่งต่างๆ ออกจากทางเดินหายใจ ทำให้ทาบเดินหายใจโล่งขึ้น แต่หากเสมหะมีความข้นเหนียวมาก หรือแห้งเหนียวจนไม่สามารถขับออกมาได้อาจให้ยาละลายเสมหะ (mucolytics) เพื่อให้เสมหะมีความอ่อนตัว ขับออกได้ง่าย หรืออาจให้ยาขับเสมหะ (expectorants)
ยาแก้ไอ
จึงแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
ยาระงับไอ หรือยากดการไอ (Anti-tussives or Cough Suppressants) ยาในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์โดยการกดศูนย์การไอ (cough center) ยากลุ่มนี้สามารถแบ่งได้อีก 2 กลุ่มย่อย ได้แก่
1.1
ยาระงับไอชนิดเสพติด (Narcotic Antitussives)
ยาในกลุ่มนี้เป็นอนุพันธ์ของฝิ่น ยาที่มีความส าคัญและนิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ codeine
1.2
ยาระงับไอชนิดไม่เสพติด (Non-narcotic Antitussives)
ยาในกลุ่มนี้ประกอบด้วยยาหลายกลุ่ม ยาที่มีความส าคัญและนิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ กลุ่มที่เป็นอนุพันธ์ของฝิ่น ได้แก่ dextromethorphan และยากลุ่มยาต้านฮิสตามีนที่มีฤทธิ์ระงับไอ ได้แก่ diphenhydramine
ยาละลายเสมหะ (Mucolytics)
ยาในกลุ่มนี้มีกลไกในการออกฤทธิ์ไปทำลายโครงสร้างของเสมหะ ทำให้เสมหะแยกกันออกเป็นส่วนๆ เสมหะมีความหนืดลดลง ทำให้ถูกขับออกด้วยการไอได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น bromhexine, ambroxal,acetylcysteine, carbocysteine เป็นต้น
ยาขับเสมหะ (Expectorants)
ช่วยขับสิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองในทางเดินหายใจออกมาด้วย ตัวอย่างยาที่ส าคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ guaifenesin (glyceryl guaiacolate),ammonium chloride, potassium iodide เป็นต้น
Nasal Decongestants ยาแก้คัดจมูก
ได้แก่ Oxymetazoline Phenylephrine Xylometazoline
ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก (intranasal steroids)
ได้แก่ Budesonide Fluticasone Mometasone
ยาแก้แพ้หรือยาต้านฮิสตามิน
เป็นกลุ่มยาที่มีโครงสร้างคล้ายสารฮิสตามีน (Histamine) ยาจะเข้าไปจับกับตัวจับกับตัวรับของสารฮิสตามีน (Histamine receptor) ที่อยู่บนผิวของเนื้อเยื่อตามระบบหายใจ ดังนั้น ยากลุ่มนี้จึงนำมาใช้รักษาอาการที่เกิดจากกระบวนการแพ้หรือโรคภูมิแพ้นั่นเอง
โรคภูมิแพ้
ถ้าเกิดที่จมูก จะทำให้มีอาการน้ำมูกไหล จาม คัดแน่นจมูก เป็นหวัด ภูมิแพ้
ถ้าเกิดที่เนื้อปอด ถุงลม หลอดลม จะท าให้หลอดลมหดเกร็ง มีอาการหอบเป็นโรคหืด
ถ้าเกิดที่ผิวหนังจะมี ผื่นขึ้น คัน เป็นลมพิษ
ถ้าเกิดที่เยื่อบุตา จะทำให้มีอาการ คันตา เคืองตา น้ำตาไหล ตาแดง ที่เรียกว่า เยื่อบุตาอักเสบจากการแพ้
ประเภทของยาแก้แพ้หรือ ยาแอนติฮิสตามีน
แบ่งยาแก้แพ้ออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
ยาแอนติฮิสตามีน กลุ่มง่วง มีฤทธิ์เป็นแอนติโคลิเนอร์จิก (Anticholinergic drug, ยาต้านสารสื่อประสาทบางชนิด)ทำให้เกิดอาการ ง่วงซึม ไม่สดชื่น การตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆช้าลง
ยาแอนติฮิสตามีน กลุ่มไม่ง่วง ไม่มีฤทธิ์เป็นแอนติโคลิเนอร์จิก ไม่ผ่านเข้าสมองจึงไม่กดระบบประสาท ทำให้ไม่ค่อยมีผลง่วงซึม
ยาที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันโรค(Immunomodulation drugs)
Thalidomide ใช้รักษามะเร็งได้หลายชนิด เช่น melanoma, multiple myeloma, renal cell และมะเร็งรังไข่
Lenalidomide เป็นยาที่ปรับเปลี่ยนภูมิคุ้มกันตัวใหม่ โดยไม่ต้องใช้วิธีรักษาด้วยคีโมบ าบัด ยารักษาโรคมะเร็งซึ่งมีสรรพคุณการรักษาคล้ายคลึงกับยา thalidomide ซึ่งรวมถึงโรคกระดูกพรุนในมะเร็งเม็ดเลือด หรือมัลติเพิล มัยอีโลมา (Multiple myeloma) และ ไมอีโลดิสพลาสติก ซินโดรม
Apremilast Phosphodiesterase 4 (PDE4) เป็นเอนไซม์ที่อยู่ภายในเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบหลายชนิด เช่น eosinophils, neutrophils, macrophages, T cells และmonocytesจึงมีบทบาทในโรคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ เช่น โรคสะเก็ดเงิน (psoriasis), ข้ออักเสบในโรคสะเก็ดเงิน (psoriatic arthritis), โรคข้อสันหลังอักเสบยึดติด (ankylosing spondylitis)
ยากดภูมิคุ้มกัน(Immunosuppressants)
ได้แก่ เพร็ดนิโซโลน (Prednisolone), เมโธเทรกเซท(Methotrexate), เอซาไธโอพรีน (Azathioprine), ไซโคลฟอสฟาไมด์(Cyclophosphamide) และ ไซโคลสปอริน (Cyclosporin)รักษาโรคทางผิวหนังหลายชนิดเช่น โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis), โรคตุ่มน้ าพอง, โรคภูมิแพ้ผิวหนังรุนแรงบางชนิด
โรค Auto immune
ออโตอิมมูน (Autoimmune)” หมายถึงการที่ภูมิคุ้มกันร่างกายเข้าทำร้ายเนื้อเยื่อร่างกายของตัวเอง หรือเรียกว่า “โรคแพ้ภูมิ (คุ้มกันของตัวเอง) หรือ โรคภูมิต้านตนเอง”
เพร็ดนิโซโลน โดยมีวัตถุประสงค์ต้านการอักเสบ เช่น ยับยั้งการอักเสบอันมีสาเหตุจากการท างานของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย การอักเสบของกระดูก อาการหอบในโรคหืด ภาวะภูมิแพ้/โรคภูมิแพ้ต่างๆ อาทิ ผื่นคันทางผิวหนัง นอกจากนี้ยังถูกน าไปช่วยบ าบัดรักษาอาการของโรคมะเร็งในเม็ดเลือด/มะเร็งเม็ดเลือดขาว
เมโธเทรกเซท (Methotrexate)เป็นยาเคมีบำบัดชนิดหนึ่งนิยมใช้ในการรักษาโรคสะเก็ดโรคและข้ออักเสบรูมาตอยด์(rheumatoid arthritis)
เอซาไธโอพรีน (Azathioprine) ใช้บรรเทาอาการในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์และรักษาโรคแผลอักเสบในลำไส้ และเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคตุ่มน้ำพอง โรคเอสแอลอี
ไซโคลสปอริน (Cyclosporin) ใช้รักษาในโรคจากภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่น โรคข้อรูมาตอยด์(Rheumatoid arthritis), โรคทางผิวหนัง เช่น โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) โดยใช้เป็นยาทางเลือกเมื่อโรคไม่ตอบสนองต่อยามาตรฐาน เช่น ยาเมทโทรเทรกเสด (Methrotrexate)
ไซโคลฟอสฟาไมด์(Cyclophosphamild) ักษาโรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง ตัวยาซัยโคลฟอสฟาไมด์จะออกฤทธิ์ ต่อการท างานของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย จึงส่งผลให้เกิดสรรพคุณในการใช้รักษาโรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเองได้ และเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคตุ่มน้ำพองได้