Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (sexually transmitted infections: STIs) - Coggle…
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(sexually transmitted infections: STIs)
ความหมาย
โรคที่ติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรค หรือผู้ที่ติดเชื้อไม่ว่าจะเป็นทางปาก ทางช่องคลอด หรือทางทวารหนัก
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
4. การติดเชื้อเริม (Herpes simplex)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
เสี่ยงต่อการแท้ง การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกำหนด หากทารกมีการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ จะทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดสูง ส่งผลให้ทารกเสียชีวิตได้
อาการและอาการแสดง
อาการของการติดเชื้อปฐมภูมิมักเกิด 3-7 วันหลังการสัมผัสเชื้อ โดยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน และคันบริเวณที่สัมผัสโรค จากนั้นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสๆ แล้วแตกกลายเป็นแผลอยู่ 2 สัปดาห์ ก่อนจะตำสะเก็ด บางราย
อาจมีอการคล้ายหวัด
กระประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย จะพบตุ่มน้ำใส หากตุ่มน้ำแตกจะพบแผลอักเสบ แดง ปวดแสบปวดร้อนบริเวณขอบแผลค่อนข้างแข็ง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.2 การขูดเนื้อเยื่อจากแผลมาทำการย้อมและดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
3.3 การทำให้ตุ่มน้ำแตกแล้วขูดบริเวณก้นแผลมาป้ายสไลด์แล้วย้อมสี
3.1 การเพาะเชื้อใน Hank’s medium
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการเคยติดเชื้อเริมมาก่อนหรือไม่ หรือเคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นเริมที่อวัยวะสืบพันธ์หรือไม่
พยาธิสรีรภาพ
ภายหลังจากเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ผิวหนังเป็นตุ่มน้ำใส เล็ก ๆจำนวนมาก เมื่อตุ่มน้ำแตก หนังกำพร้าจะหลุดพร้อมกับทำให้เกิดแผลตื้น ทำให้รู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่แผล ขณะเดียวกันเชื้อก็จะเดินทางไปแฝงตัวที่ปม
ประสาท และกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ
แนวทางการรักษา
ให้ Acyclovir 200 mg
การรักษาในระยะคลอด
3.1 กรณีที่เคยติดเชื้อเริมมาก่อน ให้
คลอดทางช่องคลอด และเฝ้าระวังทารก เพื่อดูอาการของการติดเชื้อเริม
3.2 กรณีที่พบรอยโรคขณะคลอดไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อครั้งแรก หรือติดเชื้อซ้ำ ให้คลอดโดยการผ่าตัดคลอด และเฝ้าระวังทารกเพื่อดูอาการของการติดเชื้อเริม
ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษา herpes simplex ให้หายขาดได้ การรักษาจึงเป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ
สาเหตุ
สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสคือHerpes simplex virus (HSV) เข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางเยื่อบุ หรือแผลที่ผิวหนัง โดยเชื้ออาจเข้าสู่ทารกผ่านทางเยื่อบุหรือผิวหนังโดยการกอดจูบหรือสัมผัสทารก
3. หนองใน (Gonorrhea)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ถุงน้ำคร่ำอักเสบและติดเชื้อ ถุงน้ำคร่ำแตก
ก่อนกำหนด แท้งบุตร และการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกแรกเกิดที่คลอดปกติผ่านทางช่องคลอดมีการติดเชื้อหนองในที่ปากมดลูก ช่องคลอด หรืออวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก โดยเฉพาะบริเวณเยื่อเมือกที่ตาของทารก ทำให้เกิดตาอักเสบ
อาการและอาการแสดง
มีการอักเสบของปากมดลูกและช่องคลอดทำให้ตกขาวเป็นหนองข้นปริมาณมาก อาจพบอาการกดเจ็บบริเวณต่อมบาร์โธลิน (bartholin’s gland)
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย ตรวจทางช่องคลอดจะพบหนองสีขาวขุ่น บางรายอาจพบเลือดปนหนอง หากมีการอักเสบมากขาหนีบจะบวม กดเจ็บบริเวณต่อมบาร์โธลิน หรือต่อมข้างท่อปัสสาวะ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจขั้นต้นโดยการเก็บน้ำเหลืองหรือหนองจากส่วนที่มีการอักเสบมาย้อมสีตรวจ gram stain smear หากมีการติดเชื้อจะพบ intracellular gram negative diplocooci
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อหนองใน หรือมีประวัติเคยป่วยด้วยโรคหนองในมาก่อน รวมถึงประวัติเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อหนองใน
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อเชื้อ Neiseria gonorrheae เข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปเกาะติดกับเซลล์เยื่อบุและเซลล์ขับเมือก โดยจะพยายามผ่านเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเข้าไปเพิ่มจำนวนเซลล์ในชั้น subepithelial tissue จากนั้นเชื้อ Neiseria gonorrheaeจะทำปฏิกิริยากับภูมิต้านทานของร่างกาย ส่งผลให้
เนื้อเยื่ออักเสบเป็นหนอง
แนวทางการรักษา
หากพบว่ามีเชื้อให้ยา ceftriaxone, azithromycin, penicillin
ทารกแรกเกิดทุกรายควรได้รับยาป้ายตาคือ 1% tetracycline ointment หยอดตาทารกแรกเกิด
ตรวจคัดกรองขณะตั้งครรภ์ตามปกติ (VDRL)
ทารกที่พบว่ามีการติดเชื้อหนองในควรได้รับยาปฏิชีวนะ ceftriaxone
การรักษาในสตรีตั้งครรภ์ควรคำนึงว่ามีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นร่วมด้วยหรือไม
สาเหตุ
หนองใน (gonorrhea) เกิดจากการติดเชื้อ Neiseria gonorrheae หรือ gonococcus (GC) เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกต่างๆ
ของอวัยวะสืบพันธุ์จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ และสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อหนองในสามารถแพร่เชื้อไปยังทารกได้โดยผ่านทางแผลถลอก หรือเยื่อเมือกของร่างกายโดยเฉพาะบริเวณเยื่อบุตา
5. หูดหงอนไก่ (Condyloma acuminate)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ทำให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด และมารดาหลัง
คลอดมีโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
บางรายอาจเกิด laryngeal papillomatosis ทำให้เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เสียงเปลี่ยน (voice change) เสียงร้องไห้แหบผิดปกติ (abnormal cry)
อาการและอาการแสดง
มีรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่ ขนาดแตกต่างกัน มักเกิดบริเวณอับชื้น เช่น ปากช่องคลอด หรือในช่องคลอด เป็นต้น การติดเชื้อขณะตั้งครรภ์รอยโรคจะขยายใหญ่ มีผิวขรุขระคล้ายดอกกะหล่ำและยุ่ยมาก
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย จะพบรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่ ผิวขรุขระคล้ายดอกกะหล่ำบริเวณปากช่องคลอด ในช่องคลอด หรือบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ควรวินิจฉัยแยกโรคออกจากซิฟิลิสและ genital cancer (CA vulva)
การซักประวัติ ประวัติเคยติดเชื้อหูดหงอนไก่มาก่อน หรือเคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นหูดหงอนไก่ รวมถึงอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อหูดหงอนไก่
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ human papilloma virus (HPV) มีระยะฟักตัว
นาน 2-3 เดือน ติดต่อจากการสัมผัสรอยโรคโดยเฉพาะทางเพศสัมพันธ์
แนวทางการรักษา
ใช้ยาท่าร่วมกับการจี้ laser หรือ cryosurgery หรือ electrocoagulation with curettage
แนะนำการรักษาความสะอาด หลีกเลี่ยงการอับชื้นบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ทาบริเวณรอยโรคด้วย 85% trichlorracetic acid หรือ bichloroacetic acid
ระยะคลอดหากหูดหงอนไก่มีขนาดใหญ่ อาจพิจารณาผ่าตัดคลอด
2. ซิฟิลิส (Syphilis)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่ออักเสบ คลอดก่อนกำหนด และแท้งบุตร
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกคลอดก่อนกำหนด ตายคลอด ทารกแรกเกิดติดเชื้อซิฟิลิส (neonatal syphilis) ทารกพิการแต่กำเนิด
อาการและอาการแสดง
ซิฟิลิสระยะที่สอง ขณะที่แผลกำลังจะหาย หรือหลังจากแผลหายจะพบผื่นกระจายทั่วร่างกาย ฝ่ามือฝ่าเท้า เยื่อบุรวมทั้งอวัยวะสืบพันธุ์ โดยผื่นที่พบบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์จะยกนูน
ระยะแฝง ระยะนี้จะไม่มีอาการใด ๆ แต่กระบวนการติดเชื้อยังดำเนินอยู่และสามารถแพร่กระจายเชื้อได้
ซิฟิลิสระยะแรก ประมาณ 3สัปดาห์ จะเกิดแผล กลม นิ่ม ขอบนูนแข็ง ไม่เจ็บ เรียว่าแผล chancre
ซิฟิลิสระยะที่ 3 หรือระยะท้ายของโรคซิฟิลิส ระยะนี้เชื้อจะเข้าไปทำลายระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิด aortic aneurysm และ aortic insufficiency ถ้าเชื้อเข้าสู่ระบบประสาทจะเกิดผิวหนังอักเสบ กระดูกผุ เยื่อบุสมองอักเสบ และเสียชีวิตในที่สุด
การประเมินและวินิจฉัย
2.การตรวจร่างกาย กรณีที่มีอาการและอาการแสดงอาจตรวจพบไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว ตรวจอวัยวะสืบพันธ์ภายนอกพบแผลที่มีลักษณะขอบแข็ง กดไม่เจ็บ อาจพบผื่นบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ระยะที่เป็นแผลสามารถวินิจฉัยโดยการตรวจหาเชื้อ T. Pallidum
การตรวจหา antibody ที่ไม่จำเพาะต่อเชื้อ (nontreponemal test)
การตรวจหา antibody เพื่อยืนยันการติดเชื้อซิฟิลิส
การคัดกรองส่วนใหญ่นิยมใช้การตรวจด้วยวิธี VDRL
1.การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อซิฟิลิส หรือมีประวัติเคยป่วยด้วยโรคซิฟิลิสมาก่อน หรือมีประวัติผลการตรวจซิฟิลิสได้ผลบวก รวมถึงประวัติเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อซิฟิลิส
พยาธิสรีรภาพ
ภายหลังได้รับเชื้อสู่ร่างกายทางผิวหนังที่เป็นแผลถลอก หรือทางเยื่อบุต่างๆ ของร่างกาย ร่างกายจะสร้าง antibody ต่อเชื้อชนิด IgM และ IgG ขึ้นมา ทำให้บริเวณผิวหนังหรือบริเวณเนื้อเยื่อที่เชื้อผ่านเข้าไปจะเกิดการระคายเคือง เกิดปฏิกิริยา lymphocyte และplasma cell reaction ส่งผลให้เนื้อเยื่อที่มีการอักเสบมีเลือดมาเลี้ยงลดลง เกิดการขาดเลือดกลายเป็นเนื้อตาย และกลายเป็นแผลที่มีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง กดไม่เจ็บ
แนวทางการรักษา
ให้ยา Penicillin G
การรักษาในระยะ primary, secondary และ early latent syphilis รักษาด้วยBenzathine PenicillinG Sodium
การรักษาเป็นแนวทางเดียวกับสตรีที่ติดเชื้อซิฟิลิสขณะไม่ตั้งครรภ์
การรักษาในระยะ late latent syphilis จะรักษาด้วย Benzathine Penicillin G Sodium
สาเหตุ
โรคซิฟิลิส (syphilis) เกิดจากการติดเชื้อ Treponema pallidum (T. Pallidum) สามารถติดจากคนสู่คนโดยการสัมผัสโดยตรงกับแผลหรือ
เยื่อบุที่มีรอยถลอกเล็ก ๆ ที่ตาเปล่ามองไม่เห็น และสตรีตั้งครรภ์สามารถผ่านเชื้อนี้ไปให้ทารกที่อยู่ในครรภ์ได้
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส หนองใน เริม และหูดหงอนไก่
ระยะคลอด
หลีกเลี่ยงการทำหัตถการทางช่องคลอด
ดูแลให้ผู้คลอดและทารกได้รับยาตามแผนการรักษา
ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution
หากไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้ เตรียมผู้คลอดให้พร้อมสำหรับการผ่าตัดนำทารกออกทางหน้าท้องทั้งทางร่างกาย จิตใจ และกฎหมาย
ระยะหลังคลอด
ประเมินอาการติดเชื้อของทารกแรกเกิด
แนะนำการเลี้ยงบุตร โดยล้างมือให้สะอาดก่อนจับทารกทุกครั้ง
แนะนำมารดาหลังคลอดเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย เครื่องใช้ส่วนตัว การกำจัดสิ่งปนเปื้อนสารคัดหลั่งอย่างถูกต้อง
ดูแลให้มารดาหลังคลอดและทารกได้รับยาป้องกันการติดเชื้อตามแผนการรักษา
ให้การพยาบาลมารดาหลังคลอดโดยยึดหลัก universal precaution
แนะนำและดูแลมารดาหลังคลอดปกติ หรือหลังการผ่าตัดคลอด
ระยะตั้งครรภ์
อธิบายให้เข้าใจถึงการดำเนินของโรค อันตรายของโรคต่อการตั้งครรภ์ แผนการรักษาพยาบาล การป้องกันสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
แนะนำการปฏิบัติตัวของสตรีตั้งครรภ์และสามีดังนี้
4.3 หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลและหนอง และล้างมือให้สะอาด
4.4 กรณีมีแผลที่อวัยวะสืบพันธุ์แนะนำให้ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้ง
4.2 หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางอนามัย
4.5 แนะนำเกี่ยวกับความสำคัญของการมาตรวจตามนัด การสังเกตอาการผิดปกติ
4.1 รับประทานยา ฉีดยา หรือทายาตามแผนการรักษา
แนะนำให้นำสามีมารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค และหากมีการติดเชื้อแนะนำให้รักษาพร้อมกัน
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และผลการรักษาของสตรีตั้งครรภ์และสามีอย่างสม่ำเสมอ
คัดกรองและประเมินภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ โดยการซักประวัติโดยละเอียด ตรวจร่างกาย
1. การตกขาวผิดปกติ
1.1 การตกขาวจากการติดเชื้อรา (Vulvovaginal candidiasis)
ปัจจัยเสี่ยง
การรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาบางชนิดอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการทำลายเชื้อแบคทีเรีย Lactobacillus
การได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์ และได้รับยากดภูมิต้านทานทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง
การรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดที่มีปริมาณฮอร์โมนมาก
ภูมิต้านทานของร่างกายถูกกดจากการเป็นโรคเอดส์ หรือการได้รับเคมีบำบัด
การควบคุมภาวะเบาหวานไม่ดี มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
การับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมาก
การสวมใส่ชุดชั้นในที่แน่นเกินไป
การใช้น้ำยาล้างทำความสะอาดช่องคลอด และปากช่องคลอดบ่อยๆ
การใส่แผ่นอนามัยโดยไม่เปลี่ยนระหว่างวัน หรือไม่สะอาด
ความเครียด การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ
การตั้งครรภ์
ขบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตขณะตั้งครรภ์ ภาวะความเป็นกรด-ด่าง
อาการและอาการแสดง
มีอาการคันและระคายเคืองมากในช่องคลอดและปากช่องคลอด ปากช่องคลอดเป็นผื่นแดง ช่องคลอดอักเสบ และบวมแดงแต่ปากมดลูกปกติ ตกขาวมีลักษณะสีขาวขุ่น อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเหมือนนมตกตะกอน
อาจมีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ
ประมาณร้อยละ 20 ของผู้ติดเชื้อราจะไม่มีอาการ
มีอาการปัสสาวะลำบาก และแสบขัดตอนสุด
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อรากลุ่ม candida albicans ี่พบได้ในร่างกายมนุษย์ในช่องปาก ทางเดินอาหาร และอวัยวะสืบพันธุ์ เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดที่ทำให้ช่องคลอดอักเสบ (vaginitis) หรือเรียกว่า vulvovaginal candidiasis
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มีความระคายเคือง คันช่องคลอดมากขึ้น การติดเชื้อราในช่องคลอดทั้งแบบไม่มีอาการและมีอาการ ไม่มีผลเสียต่อการตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
เชื้อราในช่องปาก (oral thrush) ได้มากกว่าปกติ 2-35 เท่า
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย การตรวจภายในพบช่องคลอดบวมแดง และตกขาวมีลักษณะขุ่นรวมตัวกันเป็นก้อนเหมือนนมตกตะกอน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจด้วยวิธี wet mount smear จะพบเซลล์ของยีสต์ (yeast cell) และเส้นใยของเซลล์เชื้อรา(mycelium) pH น้อยกว่า 4.5
การตรวจด้วยวิธีแกรมสเตน (gram stain) จะพบลักษณะเป็นเหมือนเส้นด้าย
การซักประวัติ ประวัติอาการและอาการแสดง ระยะเวลาที่แสดงอาการ ประวัติอาการตกขาวผิดปกติและ การรักษา
การพยาบาล
ระยะคลอด
สามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
เน้นการดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาดและแห้งเสมอ ชุดชั้นในต้องสะอาดและแห้ง ไม่อับชื้น
สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยต้องล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
การดูแลมารดาหลังคลอดเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
ทารกแรกเกิดอาจมีการติดเชื้อในช่องปาก ซึ่งจะพบมีฝ้าขาวในช่องปาก ให้ปรึกษากุมารแพทย
ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเทอโรนลดลง อาการของการติดเชื้อราในช่องคลอดจะดีขึ้น
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำการใช้ยาทา และยาเหน็บช่องคลอดตามแพทย์สั่ง
การทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และการทำความสะอาดชุดชั้น
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ เข้าใจสาเหตุของการติดเชื้อ และการดูแลตนเองให้มีอาการสุขสบายขึ้นจากอาการคันในช่องคลอด และปากช่องคลอด
หากอาการติดเชื้อเป็นซ้ำๆ หรือสามีมีอาการแสดง ควรพาสามีให้มารักษาพร้อมกัน
แนวทางการรักษา
ใช้ยารักษาภายนอกเฉพาะที่ ซึ่งไม่มีผลเสียทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์ ได้แก่ 2% Miconazole cream 5 กรัม ทาช่องคลอด 7 วัน หรือMiconazole 100 มิลลิกรัม 1 เม็ด เหน็บช่องคลอดก่อนนอนเป็นเวลา 7 วัน
1.2 การตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิ(vaginal trichomoniasis)
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกคลอดก่อนกำหนด และทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อย
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย การตรวจภายในช่องคลอด พบตกขาวเป็นฟองสีเหลือเขียว อาจพบจุดเลือดออกเป็นหย่อมๆ ที่ผิวปากมดลูก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วย wet mount smear จะพบเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก อาจพบตัวเชื้อพยาธิเคลื่อนไหวไปมา ตกขาวมีฤทธิ์เป็นด่าง ค่า pH มากกว่า 4.5
การซักประวัติ ได้แก่ประวัติการมีตกขาวจำนวนมาก เป็นฟอง มีกลิ่นเหม็น ร่วมกับอาการคัน ประวัติการตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิและการรักษา
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด มีความสัมพันธ์กับภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
แนวทางการรักษา
หลังไตรมาสแรกไปแล้ว จะรักษาด้วย metronidazole โดยให้รับประทาน 2 กรัม ครั้งเดียว
ให้การรักษาสามีไปด้วย โดยให้ metronidazole หรือ tinidazole รับประทาน 2 กรัม ครั้งเดียว หรือ ornidazole 1.5 กรัม ครั้งเดียว
ยาที่สามารถใช้ในไตรมาสแรกได้อย่างปลอดภัยคือ clotriamazole 100 มิลลิกรัม สอดเข้าช่องคลอดก่อนนอนเป็นเวลา 6 วัน
อาการและอาการแสดง
มีอาการระคายเคืองที่ปากช่องคลอด ในช่องคลอด ปากช่องคลอดบวมแดง และอาจทำให้ปากมดลูกอักเสบมีจุดเลือดออกเป็นหย่อม ๆ
อาจมีอาการปัสสาวะแสบขัดหรือบ่อย ปวดแสบปวดร้อนบริเวณต้นขาด้านใน
ลักษณะของตกขาวมีสีขาวปนเทา หรือสีเหลืองเขียว ตกขาวเป็นฟอง มีกลิ่นเหม็น
เจ็บขณะมีเพศสัมพันธุ์
ผู้ติดเชื้อร้อยละ 10 ไม่แสดงอาการ ผู้ติดเชื้อร้อยละ 50 มักจะพบโรคคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นร่วมด้วย
การพยาบาล
ระยะคลอด
ให้การพยาบาลผู้คลอดในระยะคลอด โดยให้คลอดทางช่อคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
แนะนำให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
หากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้พบแพทย์และดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเสมอ
ให้การพยาบาลเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
การติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด ต้องได้รับการรักษาทั้งสามีและภรรยาให้หาย
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำการเหน็บยา หรือการรับประทานยาตามแผนการรักษาอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ
แนะนำให้สามีมารับการรักษาพร้อมกัน
ให้คำแนะนำและการดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
แนะนำการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยการสวมถุงยางอนามัย
แนะนำการรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้แห้งสะอาดเสมอ และซักชุดชั้นในให้สะอาดตากแดดให้แห้ง
สาเหตุ
การตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิ หรือเชื้อโปรโตซัวชื่อ trichomonas vaginalis การติดต่อมีได้ 2 ทางคือ ทางเพศสัมพันธ์ และอวัยวะเพศสัมผัสเชื้อโดยตรง มีระยะฟักตัว 5-28 วัน
1.3การตกขาวจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (bacterial vaginosis)
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย และทารกคลอดก่อนกำหนด ซึ่งอาจตรวจพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียในหลอดลมทำให้มีภาวะหายใจลำบาก มีแบคทีเรียในเลือด
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย การตรวจทางช่องคลอดและการทำ pap smear จะพบเชื้อแบคทีเรีย ตรวจความเป็นกรด-ด่างในช่องคลอด จะได้ผลมีฤทธิ์เป็นด่าง ค่า pH มากกว่า 4.5
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 ตรวจ Wet smear พบ clue cells
3.2 การเพาะเชื้อ (culture) ตกขาวใน columbia agar ที่มีเลือดเป็นส่วนผสมหรือมี 5%CO2 ใช้เวลา 3วันเชื้อแบคทีเรียจะโตขึ้นเป็นกลุ่มเล็ก
การซักประวัติ ได้แก่ ประวัติการมีตกขาวจำนวนมาก ปวดแสบปวดร้อนบริเวณปากช่องคลอดและในช่องคลอด ถ่ายปัสสาวะลำบาก เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
อาจทำให้เกิดการแท้งติดเชื้อ (septic abortion)ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด และเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
มารดาหลังคลอดอาจมีไข้ ปวดท้องมากและมีอาการแสดงของเยื่อบุมดลูกอักเสบ
ถ้าไม่ได้รักษา อาจทำให้มีการติดเชื้อราได้ง่ายขึ้น
แนวทางการรักษา
ให้ยา metronidazole
ให้ ampicillin
อาการและอาการแสดง
มีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อนปากช่องคลอด ในช่องคลอด ถ่ายปัสสาวะลำบาก แสบขัด เจ็บขณะร่วมเพศ ตกขาวสีขาว สีเทา หรือสีเหลือง ข้นเหนียว มีกลิ่นเหม็นเน่าเหมือนคาวปลา
การพยาบาล
ระยะคลอด
ผู้คลอดสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ โดยให้การพยาบาลเหมือนผู้คลอดทั่วไป
ระยะหลังคลอด
สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยเน้นเรื่องการล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
เน้นการทำความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ให้สะอาดและแห้งเสมอ
ให้การดูแลเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
หากมีอาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์ทันที
ระยะตั้งครรภ์
รักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
แนะนำให้พาสามีไปตรวจและรักษาโรคพร้อมกัน
รับประทานยาตามแพทย์สั่งให้ครบ และเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการมาตรวจตามนัด
แนะนำการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
ให้คำแนะนำและการดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้อง ท้องแข็งบ่อย มีเลือดออกทางช่องคลอด ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
สาเหตุ
นช่องคลอดโดยปกติจะมีแบคทีเรียประจำถิ่น lactobacillus ซึ่งเป็นแบคทีเรียดีทำหน้าที่ป้องกันการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียชนิดอื่นและเชื้อรา ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์เป็นส่วนใหญ่ อาจพบการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้จากการใช้สบู่ หรือเจลอาบน้ำที่มีสารระคายเคือง การใช้ห่วงคุมกำเนิด การนั่งโถสุขภัณฑ์ การลงสระว่ายน้ำ การสวนล้างช่องคลอดบ่อยๆ
6. การติดเชื้อเอชไอวีในสตรีตั้งครรภ์ (Human Immunodeficiency Virus [HIV] during pregnancy)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV และมีปริมาณ CD4 ต่ำ มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่ายขึ้น
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
มีโอกาสที่ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ทารกมีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์ และทารกตายคลอด
อาการและอาการแสดง
ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ ระยะนี้ร่างกายจะแข็งแรงเป็นปกติเหมือนคนทั่วไป แต่หากตรวจเลือดจะพบเชื้อ HIV และ antibody ต่อเชื้อ HIV และสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได
ระยะติดเชื้อที่มีอาการ อาจพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ มีอุณหภูมิร่างกายสูงมากกว่า 37.8 C เป็นพักๆ หรือติดต่อกันทุกวัน ท้องเดินเรื้อรัง หรืออุจจาระร่วงเรื้อรัง พบเชื้อราในปากหรือฝ้าขาว
ระยะเริ่มแรกของการติดเชื้อ HIV จะเริ่มมีไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้น ต่อมน้ำเหลืองโต บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว หรือมีฝ้าขาวในช่องปาก
ระยะป่วยเป็นเอดส์จะมีอาการดังต่อไปนี้ คือ ไข้ ผอม ต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่ง ซีด อาจพบลิ้นหรือช่องปากเป็นฝ้าขาวจากเชื้อรา แผลเริมเรื้อรัง ผิวหนังเป็นแผลพุพอง โรคฉวยโอกาสเข้ามาในร่างกาย และอาจมีความผิดปกติของสมอง
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย โดยการตรวจร่างกายทั่วไป ซึ่งหากเป็นระยะที่แสดงอาการอาจพบว่ามีไข้ ไอ ต่อมน้ำเหลืองโต มีแผลในปาก มีฝ้าในปาก ติดเชื้อราในช่องคลอด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การตรวจเชื้อ HIV (HIV viral testing)
3.2 การตรวจหา antibody ต่อเชื้อ HIV
3.3 การตรวจนับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 lymphocyte และการตรวจวัดปริมาณ viral load
การซักประวัติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ หรือสงสัยว่าจะติดเชื้อ ประวัติการใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ รวมทั้งซักประวัติอาการและอาการแสดงของโรคเอดส์
การตรวจพิเศษ การตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น ตรวจเสมหะและเอกซเรย์
พยาธิสรีรภาพ
ภายหลังการติดเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกาย เชื้อ HIV จะใช้ส่วน GP120 ที่ผิวของเชื้อ HIV จับกับ CD4 receptor ของเซลล์เม็ดเลือดขาว แล้วใช้ enzyme reverse transcriptaseสร้าง viral DNA ส่งผลให้เม็ดเลือดขาวในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง เกิดภาวะ seroconversion เมื่อเม็ดเลือดขาวต่ำมากเท่าใดแสดงถึง
ภาวะที่ร่างกายมีความเสี่ยงในการติดเชื้อฉวยโอกาสมากขึ้น
การป้องกันและการรักษา
หลังคลอดหลีกเลี่ยงการให้ยากลุ่ม ergotamine
หลีกเลี่ยงการใส่สายยางสวนอาหารในกระเพาะทารกโดยไม่จำเป็น
พิจารณาระยะเวลาที่จะให้คลอดและวิธีการคลอด
3.2 การผ่าตัดคลอดก่อนการเจ็บครรภ์ (scheduled cesarean delivery)
3.3 การผ่าตัดคลอดกรณีฉุกเฉิน ในสตรีตั้งครรภที่มีปริมาณ viral load ≥ 1,000 copies/mL หรือไม่ทราบปริมาณ viral load ในระยะเจ็บครรภ์คลอด
3.1 การพิจารณาให้คลอดทางช่องคลอด
การพิจารณาเจาะถุงน้ำคร่ำเพื่อชักนำการคลอด พิจารณาปริมาณ viral load ต้อง ≤ 50
copies/ml
หลีกเลี่ยงการโกนขนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และหลีกเลี่ยงการืทำหัตถการที่จะทำให้ได้รับบาดเจ็บ หรือทารกมีโอกาสสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งจากมารดา
การคลอดทางช่องคลอดจะพิจารณาสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่มีปริมาณ viral load อยู่ในระดับต่ำ
หลีกเลี่ยงการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
การให้ยาเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสระหว่างตั้งครรภ์ โดยให้ยา TMP-SMX (80/400 mg)
ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อ HIV ทุกรายควรได้รับการดูแลรักษาโดยกุมารแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการให้ยาต้านไวรัส
การให้ยาต้านไวรัสแก่สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV เพื่อลดปริมาณของเชื้อ HIV ในเลือดให้ต่ำที่สุด
1.2 กรณีที่สตรีตั้งครรภ์เคยได้รับยาต้านไวรัสมาก่อน
ระยะตั้งครรภ์ ให้ยาสูตรใดก็ได้ที่ทำให้ ค่า viral load < 50 copies/mL
ระยะคลอด ให้ยาเดิม + AZT 300
mg.
ระยะคลอด ในมารดา ใช้ยาสูตรเดิมหรืออาจปรับสูตรตามแนวการรักษา ในเด็ก AZT syrup 4mg/kg ทุก 12 ชั่วโมง ให ้นาน 4 สัปดาห์
1.3 กรณีที่ไม่ได้มาฝากครรภ์ และไม่ได้รับยาต้านไวรัส หรือมีความเสี่ยงสูง
ระยะตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด คาดว่าจะคลอดใน 2
ชั่วโมง AZT 600 mg. ครั้งเดียว คาดว่าจะไม่คลอดใน 2
ชั่วโมง AZT 300 mg ทุก 3ชั่วโมง
ระยะหลังคลอด
มารดา ในผู้ป่วยที่สมัครใจกินยา ต่อหลังคลอดให้ยาตามแนวทางการรักษาผู้ใหญ่
ทารก AZT syrup 4mg/kg ทุก12 ชั่วโมง + 3TC (syr) 2mg/kg ทุก 12 ชั่วโมง +NPV (syr) 4 mg/kg ทุก24 ชั่วโมง ให้นาน 6สัปดาห์ (เริ่มภายใน 1ชั่วโมงหลังคลอด)
1.1 กรณีที่สตรีตั้งครรภ์ไม่เคยได้รับยาต้านไวรัสมาก่อน ให้ยาต้านไวรัสทันทีเมื่อมาฝากครรภ์โดยไม่คำนึงถึงค่า CD4 ให้ยาต้านไวรัส 3 ตัว (HAART regimen) และรับประทานไปจนการคลอดสิ้นสุด
1.4 การหยุดยาหลังคลอด กรณีที่จำเป็นต้องหยุดยาหลังคลอดให้ปฏิบัติดังนี้ หากได้ยา LVP/r-based HAART ก่อนคลอดสามารถหยุดยาทุกชนิดพร้อมกันได้เลย
การแพร่เชื้อจากมารดาสู่ทารก
การติดเชื้อ HIV ระหว่างคลอด ระหว่างคลอดทารกจะสัมผัสกับเลือดของมารดา น้ำคร่ำ และสารคัดหลั่งในช่องคลอดของมารดา
การติดเชื้อ HIV ระยะหลังคลอด ภายหลังคลอดทารกจะติดเชื้อได้จากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของมารดาแต่ส่วนใหญ่มักจะติดเชื้อจากน้ำนมมารดา
การติดเชื้อ HIV ระหว่างตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสสามารถผ่านทางรก โดยผ่านเซลล์ trophoblast และ macrophages เข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดของทารกในครรภ์
การพยาบาล
ระยะคลอด
ทำคลอดด้วยวิธีที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อผู้คลอดกและทารกน้อยที่สุด และหลีกเลี่ยงการใช้สูติศาสตร์หัตถการที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
ดูแลให้ผู้คลอดและทารกได้รับยาต้านไวรัสตามแผนการรักษา
หากปริมาณ viral load ≤ 50 copies/mL แพทย์อาจพิจารณาเจาะถุงน้ำคร่ำเพื่อชักนำการคลอดก่อนเจาะ ขณะเจาะ และหลังเจาะถุงน้ำคร่ำ
เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการช่วยเหลือทารกแรกเกิด และรายงานกุมารแพทย์เพื่อเตรียมช่วยเหลือทารกที่มีภาวะแทรกซ้อน
ให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป
ประเมินอาการเปลี่ยนแปลงและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution
ระยะหลังคลอด
ดูแลมารดาหลังคลอดโดยยึดหลัก universal precaution
ให้คำแนะนำแก่มารดาหลังคลอด เพื่อป้งอกันการแพร่กระจายเชื้อ ดังนี้
2.3 แนะนำวิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่น การกำจัดสารคัดหลั่งอย่างถูกวิธี
2.4 อธิบายให้มารดาหลังคลอดเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเองและการมาตรวจ
ตามนัด
2.5 แนะนำการวางแผนครอบครัว โดยสามารถใช้วิธีคุมกำเนิดได้ทุกวิธีโดยต้องใช้ร่วมกับการใช้ถุงยางอนามัยเสมอ (dual protection) โดยมีข้อแนะนำเพิ่มเติม คือ
2.5.1 การใช้ห่วงอนามัยไม่เหมาะสำหรับรายที่ CD4 ต่ำ และ viral load ในเลือดสูง
2.5.2 ในมารดาหลังคลอดที่ได้รับยาต้านไวรัส EFV และ LPV/r
2.5.3 ไม่แนะนำให้ใช้ยาฆ่าอสุจิ (spermicides)
2.5.4 หากมีบุตรเพียงพอแล้ว แนะนำให้ทำหมันชายหรือหญิง
2.2 แนะนำให้ใส่เสื้อชั้นในที่คับเพื่อยับยั้งการสร้างและหลั่งน้ำนม
2.6 อธิบายให้มารดาหลังคลอดเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการนำทารกมาตรวจเลือด
2.1 หลีกเลี่ยงเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
2.7 จัดให้บริการปรึกษาแก่มารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อ HIV อย่างต่อเนื่อง ภายหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลแล้ว
ระยะตั้งครรภ์
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ประเมินภาวะแทรกซ้อนจากการได้รัยยาต้านไวรัส
ให้ความรู้แก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับหลักมาตรฐานในการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
แนะนำการปฏิบัติตัวของสตรีตั้งครรภ์ ดังนี้
รับประทานยาตามแผนการรักษา
รักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์
หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับบุคคลที่ติดเชื้อ
หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอ
แนะนำเกี่ยวกับความสำคัญของการมาตรวจตามนัด การสังเกตอาการผิดปกติ รวมถึงอาการผิดปกติที่ต้องมาตรวจก่อนวันนัด
แนะนำให้มาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง
ประเมินระดับความวิตกกังวล ความกลัวของสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV และเปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก หรือความไม่สบายใจ
ให้ข้อมูลแก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับการดำเนินของโรค ความแตกต่างระหว่างการติดเชื้อHIV กับการเป็นเอดส์
ให้การพยาบาลด้วยท่าทีที่ปราศจากความรังเกียจ ให้กำลังใจ และช่วยเหลือให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวสามารถเผชิญปัญหาและสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสม
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์และสามีที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ