Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจน - Coggle Diagram
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจน
ระบบทางเดินหายใจและกลไกการทำงาน
เป็นระบบสำคัญระบบหนึ่งในร่างกายในการรักษาสมดุลก๊าซในกระแสเลือดโดยมีการทำงานสอดคล้องกับระบบหัวใจและหลอดเลือด
ระบบทางเดินหายใจมีหน้าที่ในการ เติมก๊าซที่สำคัญ เช่น ออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือด และกำจัดก๊าซของเสียจากร่างกาย
ถุงลม มีหลอดเลือดฝอยที่มีผนังบางทำหน้าที่เป็นเยื่อเลือก
ผ่านล้อมรอบถุงลมนี้อยู่
ทางเดินหายใจจะผ่านอวัยวะหลายอย่าง ที่มีหน้าที่แตกต่างกันดังนี้
จมูก
ใช้เพื่อเป็นทางเข้าของอากาศ มีหน้าที่ในการดักจับฝุนละออง และเพิ่มความชุ่มชื้นของอากาศ
โพรงจมูกและช่องคอ
ทำหน้าที่ เพิ่มอุณหภูมิ ดักจับเชื้อโรค และเพิ่มความชุ่มชื้นของอากาศ
ฝาปิดกล่องเสียง
ทำหน้าที่ กันไม่ให้อาหารที่เรากลืนตกลงสู่ ระบบทางเดินหายใจ
กล่องเสียง
ใช้ในการสร้างเสียง และเป็นทางเดินหายใจ
หลอดคอ หลอดลม และ หลอดลมฝอย
ทำหน้าที่ลำเลียงอากาศ ดักจับเชื้อโรค และกำจัดเชื้อโรค
ถุงลม
ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส ระหว่างอากาศที่ลำเลียงมากับเส้นเลือดฝอยที่ล้อมรอบ
กลไกการหายใจของมนุษย์
การหายใจเข้า (Inspiration)
จะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อที่ยึดซี่โครงหดตัว ซึ่งจะทำให้กระดูกซี่โครง
เลื่อนสูงขึ้น กระบังลมก็จะหดตัวและเลื่อนต่ำลง
ทำให้ปริมาตรของช่องอกมีมากขึ้นความดันภายในช่องอกจะลดต่ำลง ดังนั้น อากาศจากภายนอกจึงสามารถผ่านเข้าสู่ปอดได้
การหายใจออก (Expiration)
จะเกิดขึ้นหลังจากการหายใจเข้า แล้วทำให้กล้ามเนื้อที่ยึดซี่โครง
มีการคลายตัว จึงทำให้กระดูกซี่โครงเลื่อนต่ำลง โดยกระบังลมที่เลื่อนต่ำลงก็จะกลับเลื่อนตัวสูงขึ้น
จึงสามารถดันให้อากาศจากภายในปอดออกสู่ภายนอกได้ โดยทางหลอดลมสู่จมูกเป็นการหายใจออก ปัจจัยที่เป็นตัวกาหนดอัตราการหายใจเข้าและอัตราการหายใจออก คือ ความเข้มข้นของก๊าคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด
การหายใจในระดับเซลล์
เป็นกระบวนการทางเคมีที่เกิดขึ้นระหว่างก๊าซออกซิเจนกับสารอาหารภายในเซลล์ทาำให้เกิด (adenosine triphosphate: ATP) ขึ้นเพื่อไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น
กลไกควบคุมการหายใจ
การควบคุมแบบอัตโนมัติ
ซึ่งเป็นการหายใจที่ไม่สามารถบังคับได้ โดยสมองส่วน pons และ medulla เป็นตัวสร้างและส่งสัญญาณประสาทไปกระตุ้นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ
ทำให้การหายใจเข้า-ออกเกิดขึ้นได้อย่างเป็นจังหวะสม่ำเสมอทั้งในยามหลับและยามตื่น โดยไม่จำเป็นต้องพะวงกับการสั่งการให้มีการหายใจ
การควบคุมภายใต้อานาจจิตใจ
ซึ่งเป็นการหายใจที่สามารถบังคับได้ โดยสมองส่วนหน้า เรียกว่า
cerebral cortex hypothalamus สมองส่วนหลัง เรียกว่า cerebellum
ความสำคัญของก๊าซออกซิเจนที่มีต่อร่างกายการแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ความดันออกซิเจน
ทำให้เกิดการขนส่งออกซิเจนสู่เนื้อเยื่อ
ความดันออกซิเจนและการขนส่งสู่เนื้อเยื่อ หลังจากเลือดที่ออกจากปอดมีความดันออกซิเจนในเลือดสูงอยู่ เม็ดเลือดแดงจะปล่อยออกซิเจนจานวนน้อยสู่กระแสเลือดเพื่อส่งไปหาเซลล์ต่างๆ
เลือดเป็นตัวกลางการส่งผ่านออกซิเจนสู่เซลล์ ส่วน เม็ดเลือดแดงเป็นถังเก็บออกซิเจนที่จะค่อยๆ
การหมุนเวียน
เพื่อกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
กลไกการขนส่งมี 2 อย่างที่เป็นหลัก
การขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์โดย hemoglobin ในเม็ดเลือดแดง
คาร์บอนไดออกไซด์ไปรวมกับน้ำ เพื่อเกิดสารประกอบ กรดคาร์บอนิก (H2CO3) และแตกตัวเป็นไฮโดรเจนไออน (H+) กับไบคาร์บอเนต (HCO3)
การทำงานของเม็ดเลือดแดง
มีหน้าที่ขนส่งก๊าซ เม็ดเลือดแดง เป็นเซลล์เม็ดเลือดชนิดหนึ่ง มีหน้าที่
หลักในการขนและส่งก๊าซในระบบหมุนเวียน มีอายุขัยประมาณ 120 วัน
ร่างกายเรามีการทำลายและการสร้างเม็ดเลือดใหม่ตลอดเวลา แต่ละเซลล์เม็ดเลือดแดง จะมีส่วนประกอบที่เป็น Hemoglobin อยู่ถึง 97 % ซึ่งตัว Hemoglobin (ฮีโมโกลบิน) นี้ ทำหน้าที่ในการ“จับกับก๊าซเพื่อการขนส่ง”
Hemoglobin (ฮีโมโกลบิน) แต่ละตัว สามารถจับกับแก๊สได้ 4 โมเลกุล มีการศึกษาพบว่า ในเม็ดเลือดแดงในแต่ละเซลล์นั้นมี Hemoglobin (ฮีโมโกลบิน) มากมายถึง 50 ล้านหน่วย
ปัจจัยที่มีผลตอการได้รับออกซิเจนของบุคคล
ระบบทางเดินหายใจเปนระบบเปดของรางกายที่ติดตอกับสิ่งแวดล้อมภายนอก โดยมีการนำอากาศจากภายนอกผ่านโครงสร้างของทางเดินหายใจภายนอก (conducting airway) และภายใน (respiratory unit) เข้าสูปอด
ภาวะที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย อาจเนื่องมาจากสภาวะต่างๆ ได้แก่
การเดินทางหรืออาศัยในที่สูง ภาวะดังกล่าวจะมีความหนาแน่นของอากาศลดลง มีผลให้ออกซิเจนมีระดับต่ำกว่าปกติ ทำให้ร่างกายได้ออกซิเจนน้อยกว่าปกติ ถ้าร่างกายปรับตัวไม่ได้กับภาวะพร่องออกซิเจน ทำให้เกิดการภาวะพร่องออกซิเจน
อยู่ในที่ที่มีมลพิษสูง ภาวะดังกล่าวทำให้อากาศบริเวณนั้นมีออกซิเจนลดลง การที่ร่างกายได้รับสารพิษจากอากาศ ทำให้ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ในขบวนการขจัดสารพิษ
การเล่นกีฬาหรือออกกาลังกายหนัก ๆ ขณะออกกาลังกาย ร่างกายต้องการออกซิเจนมากกว่าปกติอาจทำให้ได้รับออกซิเจนไม่ทั่วถึงและเพียงพอ เป็นสาเหตุทำให้เหนื่อยเร็ว และอ่อนล้า
ความเครียด ทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับ การหายใจถี่ขึ้น ต้องกาออกซิเจนมากขึ้น
อาหารที่มีไขมันมาก จะมีปริมาณออกซิเจนน้อย เวลารับประทานอาหารที่มีไขมันมากจะทำให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำลง
ผู้สูงอายุ ร่างกายของคนเราจะเสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ความเสื่อมเกิดขึ้นได้ทุกระบบในร่างกาย
การสูบบุหรี่ มีผลเสียต่อร่างกายในหลาย ๆ ระบบ
การดื่มสุราและเครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์ การดื่มในปริมาณมากเกินควรจะส่งผลให้ร่างกายเกิดผลเสียแบบเฉียบพลับและเรื้อรัง ซึ่งส่งผลต่อตับ สมอง หรือหัวใจและหลอดเลือด
การประเมินภาวะพร่องออกซิเจน
การประเมินสภาพร่างกาย
ใช้เทคนิคการสังเกต และการประเมินสัญญาณชีพ
ประกอบด้วย
ชีพจร (Pulse: P)
การหายใจ (Respiration: R)
อุณหภูมิร่างกาย (Temperature: T)
ความดันโลหิต (Blood pressure: BP)
เทคนิคการสังเกตลักษณะทั่วไป
ระบบประสาทส่วนกลาง
สังเกตและประเมินพบ ความรู้สึกตัวของผู้ปุวยเปลี่ยนแปลงกระสับกระส่าย สับสน มึนศีรษะ ปวดศีรษะ เพ้อ หมดสติ หรือชัก
ระบบผิวหนัง
ระยะแรก พบว่า ผิวหนังผู้ปุวยเย็น ซีด เพราะร่างกายจะตอบสนองต่อภาวะ
พร่องออกซิเจน ต่อมาพบอาการเขียวคล้า โดยเห็นชัดบริเวณริมฝีปาก เล็บมือเล็บเท้า และเสียชีวิตในที่สุด
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ประเมินพบ ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นในระยะแรก เพื่อปรับชดเชย ระยะต่อมาหัวใจเต้นผิดจังหวะ บีบตัวช้าลง เจ็บหน้าอก และหัวใจหยุดเต้นในระยะสุดท้าย
ระบบทางเดินอาหาร
ประเมินและสังเกตพบมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนในระยะแรก
ระบบทางเดินหายใจ
ระยะแรกของเซลล์พร่องออกซิเจนอย่างอ่อน สังเกตพบ ผู้ป่วยมีอาการ
หายใจไม่สะดวก หายใจลำบากเมื่อนอนราบมีอาการกระสับกระส่าย การหายใจไม่สม่าเสมอเวลาหายใจเข้าจะลึกกว่าเวลาหายใจออก เมื่อหายใจเข้ามีเสียงดัง และแสดงอาการหายใจหอบสังเกตจากปีก
การประเมินการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เป็นการเจาะเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อประเมินการทำงานของระบบทางเดินหายใจ หัวใจ และหลอดเลือด
การแปลผล ดังนี้
ระดับค่าก๊าซในหลอดเลือดแดง (Arterial blood gas: ABG)
เป็นการตรวจเพื่อหาประสิทธิภาพการทางานของปอด เพื่อประเมินความสามารถในการแลกเปลี่ยนก๊าซ และการหายใจ ค่าเหล่านี้บอกถึงความสามารถของ Hemoglobin (ฮีโมโกลบิน) ในการจับออกซิเจนเข้าสู่เซลล์
ประกอบด้วย
PaCO2 เป็นการวัดความดันของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในเลือด ถ้าระดับของ CO2 ในเลือดสูงเพิ่มขึ้นอัตราการหายใจจะเร็วขึ้นเพื่อให้ปอดสามารถขับ CO2 ที่คั่งออก ค่าปกติอยู่ระหว่าง 35-45 mmHg
PaO2 เป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบถึงปริมาณของออกซิเจน (O2) ในเลือดที่จับกับ Hemoglobin ค่าปกติอยู่ระหว่าง 80-100 mmHg
การแปลผลภาวะขาดออกซิเจน แปลผล 3 ระดับ
Moderate hypoxemia : PaO2 มีค่าระหว่าง 40 - 60 mmHg
Severe hypoxemia : PaO2 มีค่าน้อยกว่า 40 mmHg
Mild hypoxemia : PaO2 มีค่าระหว่าง 60 – 80 mmHg
pH เป็นตัวชี้วัดภาวะความเป็นกรดด่างของร่างกาย ค่าปกติ อยู่ระหว่าง 7.35-7.45 ถ้าค่าต่ำกว่า7.35 แสดงว่าเกิดภาวะเป็นกรด และถ้าค่าสูงกว่า 7.45 แสดงว่าเกิดภาวะเป็นด่าง
HCO3 เป็นการวัดค่าความเข้มข้นไฮโดรเจนไอออน (HCO3-) ในเลือดที่ช่วยบอกการทำงานของไต หรือความเป็นกรดด่างในร่างกายได้ ค่าปกติอยู่ระหว่าง 18-25 mEg/L
SaO2 เป็นค่าเปรียบเทียบระหว่าง Hemoglobin ที่มี O2 ที่อิ่มตัวกับความสามารถสูงสุดของ Hemoglobin ที่จะจับกับ O2 ได้ ค่าปกติอยู่ระหว่าง 97-100 %
การแปลผลภาวะระบบทางเดินหายใจเป็นกรดเฉียบพลัน (Acute respiratory acidosis)
ค่า pH ต่ากว่าปกติ ค่า PaCO2 สูงกว่าปกติ ส่วนค่า HCO3 ปกติ
อาการและอาการแสดงที่พบ
hypoventilation จะมีอาการง่วงเหงาหาวนอน ประสาทสัมผัสเปลี่ยนแปลงไป ระดับความรู้สึกลดลงจนไม่รู้สึกตัว หัวใจเต้นเร็วไม่เป็นจังหวะ
การแปลผลภาวะระบบทางเดินหายใจเป็นด่างเฉียบพลัน (Acute respiratory alkalosis)
ค่า pH สูงกว่าปกติ ค่าPaCO2 ต่ากว่าปกติ ส่วนค่า HCO3 ปกติ
อาการและอาการแสดงที่พบ
Hyperventilation หัวใจเต้นเร็ว ประสาทสัมผัสเปลี่ยนแปลงไป ชา หมดความรู้สึก มีอาการชาตามมือตามหน้า ระดับความรู้สึกลดลงจนไม่รู้สึกตัว ไม่เป็นจังหวะ
การแปลผลภาวะการเผาผลาญเป็นกรดเฉียบพลัน (Acute metabolic acidosis)
ค่า pH และค่าHCO3 ต่ากว่าปกติ ส่วนค่า PaCO2 ปกติ
อาการและอาการแสดงที่พบ
อาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ประสาทสัมผัส เปลี่ยนไป มีอาการสั่นกระตุก (tremor) ชัก (convulsion)
การแปลผลภาวะการเผาผลาญเป็นด่างเฉียบพลัน (Acute metabolic alkalosis)
ค่า pH และค่า HCO3 สูงกว่าปกติ ส่วนค่า PaCO2 ปกติ
อาการและอาการแสดงที่พบ
คล้ายกับ metabolic acidosis แต่ไม่มีอาการปวดศีรษะ
ค่าการอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Arterial oxygen saturation)
ใช้ pulse oximeter เป็นอุปกรณ์ที่วัดร้อยละของฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจน (oxyhemoglobin) ต่อปริมาณฮีโมโกลบินทั้งหมดในเลือด
ค่าการอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดปกติอยู่ระหว่าง 98 - 99% หากวัด SPO2ได้น้อยกว่า 90% จาเป็นต้องได้รับการรักษา ยกเว้นผู้ปุวยโรคปอดอุดตันเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD)
การตรวจหาระดับฮีโมโกลบิน (Hemoglobin: Hb)
ในเลือดค่าฮีโมโกลบินปกติในผู้หญิง 11.5 – 16.5 gm % (กรัมเปอร์เซนต์) และในผู้ชาย 13.0 - 18 gm % (กรัมเปอร์เซนต์)
สาเหตุของ hypoxia และหรือ hypoxemia ผู้ปุวยที่จำเป็น
ต้องได้รับการรักษาด้วยออกซิเจน ดังนี้
ระบบทางเดินหายใจ
การอุดกั้น การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ การมีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง การบาดเจ็บที่ทรวงอก หรือการหายใจล้มเหลว
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
โรคหัวใจชนิดต่าง ๆ หรือภาวะช็อกจากสาเหตุต่าง ๆ
โรคเลือดโดยเฉพาะเม็ดเลือดแดงน้อย
ภาวะโลหิตจาง
ระบบเผาผลาญเมตาบอลิซึมผิดปกติต่าง ๆ
ระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย
ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ การบาดเจ็บของสมอง และได้รับยาที่กดการหายใจ
ผู้ปุวยที่ได้รับการผ่าตัดโดยเฉพาะการผ่าตัดส่วนอกและช่องท้อง
สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ
อาการไอ (Cough)
เป็นกลไกการตอบสนองของรางกายอย่างหนึ่งตอสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจ และเป็นกลไก
เริ่มจากการที่มีสิ่งกระตุนตัวรับสัญญาณการไอ หรือมีสารระคายเคืองในบริเวณทางเดินหายใจ สวนบนและล่าง
สาเหตุของการไอ
การอักเสบหรือการบวมบริเวณทางเดินหายใจ
อาการไอน้อยกว่า 2 สัปดาห์ อาจเกิดจากไข้หวัด การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง
ไอมากกว่า 2 สัปดาห์ อาจเกิดจากหลอดลมอักเสบ จมูกและไซนัสอักเสบเรื้อรัง หอบหืด หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ปอดอักเสบเรื้อรัง จากการติดเชื้อ หรือมะเร็งหลอดลม
ฝุน ควัน สารเคมี อาหาร หรือน้าที่สำลักเข้าไป
ความร้อน - เย็นของอากาศ จะทาให้การไอมากขึ้น
ลักษณะของอาการไอ
ไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ เช่น ไอเนื่องจากมีฝุนละอองมาก เป็นต้น
ไอมีเสมหะ ซึ่งเสมหะที่เป็นหนอง มักเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินลมหายใจ เช่น โรคปอดบวม และวัณโรคปอด เป็นต้น และเสมหะที่ไม่เป็นหนอง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการไอ
ประเมินประสิทธิภาพการไอ ลักษณะไอแห้ง ๆ หรือไอแบบมีเสมหะ โดยการฟังเสียงไอ
สังเกตและบันทึกลักษณะ เสียง ความถี่ และระยะเวลาของการไอ
ถ้าไอมีเสมหะให้สังเกต บันทึกจำนวน ลักษณะ สี และกลิ่นของเสมหะด้วย
ดูแลความสะอาดของปาก ฟัน และสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร
กระตุ้นให้ดื่มน้าอุ่นบ่อย ๆ และปริมาณมาก เพื่อให้เสมหะอ่อนตัว
กระตุ้นให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เพื่อให้เสมหะที่ค้างในปอดเคลื่อนออกมาได้ง่าย จากการเปลี่ยนท่าหรืออิริยาบถ
สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ (effective cough) โดยการให้ผู้ปุวยนั่งหรือนอนยกศีรษะสูง (Fowler’s position) และหายใจเข้าลึก ๆ เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง กลั้นหายใจสักครู่ แล้วไอออกมาอย่างแรงโดยเฉพาะผู้ปุวยหลังผ่าตัดที่มักกลัวเจ็บต้องอธิบายให้ทราบถึงความจาเป็น
ดูแลให้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการไอตามแผนการรักษาของแพทย์
Hemoptysis อาการไอเป็นเลือด
หมายถึง การมีเลือดออกจากทางเดินหายใจตั้งแต่กล่องเสียง
ลงไป ไม่รวมเลือดกำเดา (epistaxis)
มีปริมาณเลือดเห็นได้ชัดเจน คือ มากกว่า 2 มิลลิลิตรขึ้นไป และต้อง
แยกออกจากการอาเจียนเป็นเลือด (hematemesis)
อาการไอเป็นเลือดที่ถือว่ารุนแรง คือ การมีเลือดออกครั้งละเกิน 200 มิลลิลิตรหรือ 800 – 1,000 มิลลิลิตรในระยะเวลา 24 –48 ชั่วโมง
ชนิดของการไอเป็นเลือด
ไอจนมีเลือดสดออกมา พบในวัณโรคปอด
ไอจนมีเลือดปนออกมา
คือ มีเสมหะและเลือดปนเป็นเนื้อเดียวกัน พบในโรคมะเร็งของ
หลอดลม หรือวัณโรคปอด
ไอจนมีเลือดออกเป็นสาย มีเลือดเป็นสายปนกับเสมหะแต่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน พบในโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง หรือมะเร็งหลอดลม
ไอจนมีเสมหะสีคล้ายสนิม จากมีเลือดเก่า ๆ ปนออกมาด้วย พบในวัณโรคปอด
สาเหตุของการไอเป็นเลือด
อุบัติเหตุ
การอักเสบ ทำให้เกิดอาการไออย่างรุนแรง หรือมีแผลในคอ กล่องเสียง หลอดลมใหญ่ และในเนื้อปอด
เนื้องอก และมะเร็ง
ความผิดปกติของหลอดเลือดและโรคปอดต่าง ๆ ทำให้เกิดการไอเป็นเลือดได้
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการไอเป็นเลือด
ให้ผู้ป่วยพักผ่อนและให้การหายใจเคลื่อนไหวน้อยที่สุด
ประเมินชีพจร หายใจ และความดันโลหิต เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงและความรุนแรงของการเสียเลือด
ถ้าเสียเลือดมาก อาจต้องให้เลือด และพยาบาลจะต้องเฝูาระวังการแพ้เลือดที่อาจเกิดขึ้นได้
ผู้ปุวยอาจตกใจมาก ทำให้มีอาการหายใจเร็วขึ้น (hyperventilation) พยาบาลต้องคอยปลอบโยน ให้กำลังใจ และให้การดูแลจนผู้ป่วยควบคุมตนเองได้ เพื่อช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นและลดความตกใจ
Hiccup การสะอึก
เป็นอาการที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อกระบังลมที่อยู่ตรงรอยต่อ
ระหว่างช่องปอดและช่องท้อง ที่เกิดขึ้นเองโดยไม่สามารถควบคุมได้
สาเหตุของอาการสะอึก
อาการสะอึกเป็นอาการปกติทั่วไป ไม่ได้เกิดจากโรค
การสะอึกต่อเนื่อง หรือ อาการสะอึกที่ควบคุมรักษายาก
มักเป็นอาการสะอึกที่เกิดจากพยาธิสภาพของโรค
โรคที่พบบ่อย
โรคทางสมอง โรคกรดไหลย้อน โรคไตวาย โรคตับวาย ภาวะหลังผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือในช่องท้อง หรือหลังจากการใช้ยาสลบ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการสะอึก
อาการสะอึกส่วนใหญ่เป็นอาการชั่วคราว โดยทั่วไปอาการสะอึกจะหายได้เอง ไม่ต้องรักษาแต่มีวิธีการทางภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อาจช่วยให้สะอึกหายเร็วขึ้น
Dyspnea อาการหายใจลำบาก
หมายถึง อาการซึ่งผู้ปุวยต้องใช้ความพยายามหรือใช้แรงในการหายใจ การหายใจลำบากไม่มีความสัมพันธ์กับความเร็วของการหายใจ อาจเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยหายใจถี่ หรือ หายใจช้าก็ได้
สาเหตุของการหายใจลำบาก
สาเหตุเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น ทางเดินหายใจอุดกั้น หรือปอดถูกทำลาย
สาเหตุเกี่ยวกับหัวใจ เช่น การทางานของหัวใจไม่ดี เนื่องจากกล้ามเนื้อบางส่วนของหัวใจตายหรือลิ้นหัวใจรั่ว ในผู้ปุวยที่มีอาการซีกซ้ายของหัวใจวายอาการหายใจลาบากอาจเกิดขึ้นในเวลากลางคืนหรือเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ
สาเหตุเกี่ยวกับประสาท ทำให้การควบคุมการหายใจไม่ดี เช่น โรคไขสันหลังอักเสบ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบาก
ดูแลให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง และให้ออกซิเจนร่วมด้วย
ดูแลประคับประคองด้านจิตใจ และประเมินสัญญาณชีพตามความเหมาะสม ทุก 1 - 2ชั่วโมง
เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ สาหรับช่วยเหลือผู้ปุวยฉุกเฉิน เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ (endotracheal tube: ET)
ดูแลให้ยาขยายหลอดลม หรือยาขับเสมหะ ตามแผนการรักษา
ดูแลให้ออกซิเจนชนิดละอองฝอย (nebulizer) เพื่อให้หายใจสะดวก
Chest pain อาการเจ็บหน้าอก
มีลักษณะแตกต่างกันตามสาเหตุ
กล้ามเนื้ออักเสบ มักมีอาการเจ็บเฉพาะที่ และเจ็บเมื่อใช้มือกดที่บริเวณนั้น
เยื่อหุ้มปอดอักเสบ มักเจ็บตรงบริเวณที่มีอาการอักเสบ และมักเจ็บมากเมื่อเวลาหายใจเข้าลึก ๆ หรือเวลาไอ ทาให้ผู้ปุวยต้องหายใจตื้น ๆ
เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมักเป็นตรงบริเวณหัวใจ และเจ็บตลอดเวลา อาจมีลักษณะในข้อ 2 ร่วมด้วย ถ้าการอักเสบลุกลามถึงเยื่อหุ้มปอด
ภาวะหลอดเลือดแดงหัวใจโคโรนารี (coronary artery) ตีบแคบ มักมีอาการแน่นหน้าอกบริเวณกระดูก sternum โดยเฉพาะจะเจ็บหรือปวดมากเมื่อเวลาออกกาลังกาย
หลอดลมอักเสบ มักมีอาการแน่นหน้าอกบริเวณหลังกระดูกอาจเจ็บตลอดเวลา และเจ็บมากเมื่อเวลาไอ
โรครากประสาทสันหลัง (posterior nerveroot) จะปวดร้าวไปตามแขนงของประสาท intercostal nerve ซึ่งอยู่ตามแนวกระดูกซี่โครง และปวดตลอดเวลา พบในโรคงูสวัด (herpes zoster)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก
สังเกตอาการ ถ้าผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดที่เยื่อหุ้มปอด ควรแนะนำให้นอนตะแคงทับด้านที่เป็น ถ้าอาการไม่ดีขึ้น อาจต้องให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
ประเมินหาสาเหตุของอาการว่า อาการเจ็บหน้าอกเกิดจากหัวใจหรือ ปอด ถ้าเป็นอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจ
จัดเตรีมอุปกรณ์การให้ออกซิเจนและพิจารณาให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วย
เทคนิคการพยาบาลที่เกี่ยวข้องในการให้ออกซิเจนแบบต่าง ๆ
ระบบการให้ออกซิเจน ได้แก่
ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดต่e (Low flow system)
ผู้ปุวยจะได้รับออกซิเจนเพียงบางส่วน และได้จากการหายใจเอาออกซิเจนในบรรยากาศไปผสม
การให้ออกซิเจนชนิดเขี้ยว (nasal cannula) หรือ nasal prongs
การให้ออกซิเจนทางหน้ากาก (mask)
Simple mask เป็นชนิดที่ให้ออกซิเจนความเข้มข้นร้อยละ 40-50 การปรับอัตราไหลของออกซิเจน 5 – 8 ลิตร/ นาที
Reservoir bag (partial rebreathing mask) ให้ความเข้มข้นสูงกว่าร้อยละ 60–90 ซึ่งสูงกว่าชนิดไม่มีถุงชนิดนี้ ออกซิเจนจากเครื่องจะไหลเข้าถุง การหายใจครั้งแรกจะเป็นออกซิเจนบริสุทธิ์
Non rebreathing mask ลักษณะคล้าย partial rebreathing ยกเว้นรูระบายอากาศส่วนหน้ากากลักษณะเป็นลิ้นไหลทางเดียว (unidirectional valve) ทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้อากาศไหลออกสู่ภายนอกอย่างเดียวไหลเข้าไม่ได้
ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดสูง (High flow system)
ผู้ป่วยจะได้รับออกซิเจนทั้งหมดจากอุปกรณ์โดยไม่ต้องดึงอากาศไปผสม ความเข้มข้นของออกซิเจนกำหนดได้จากอุปกรณ์
การให้ออกซิเจนชนิดT- piece เป็นอุปกรณ์ให้ออกซิเจนผู้ปุวยที่มีท่อทางเดินหายใจ ทำด้วยพลาสติกเบา เพื่อไม่ให้ดึงรั้งท่อเจาะหลอดลมคอ
การให้ออกซิเจนทางท่อหลอดลม (tracheostomy collar) เป็นอุปกรณ์คล้ายหน้ากากคล้องไว้กับคอ ครอบบนท่อเจาะหลอดลมคอ ออกซิเจนจะไหลเข้าทางรูเปิดขณะหายใจเข้า
การให้ออกซิเจนชนิด croupette tent เป็นอุปกรณ์ให้ออกซิเจนที่ครอบตัวผู้ปุวยลักษณะคล้ายเต็นท์ ประกอบด้วยมุ้งพลาสติก มีซิบเปิด-ปิด ครอบบนโครงโลหะ ด้านหลังกล่องใส่น้าแข็ง ทาให้อากาศในมุ้งมีความชื้นสูง
การให้ออกซิเจนชนิด hood หรือ oxygen box เป็นอุปกรณ์ใช้ครอบศีรษะและไหล่ผู้ปุวยเด็ก ลักษณะเป็นกระโจมหรือกล่องพลาสติกให้ออกซิเจนมีท่อนาออกซิเจนเข้าภายใน
การให้ออกซิเจนทางท่อช่วยหายใจ (endotracheal tube: ET) เป็นท่อช่วยหายใจซึ่งแพทย์จะใส่ท่อนี้เข้าไปในหลอดลมของผู้ปุวย
ระบบให้ความชื้น (Humidification)
ชนิดละอองโต (Bubble)
ให้ความชื้นในส่วนต้นของทางเดินหายใจ 30 – 40 % สายให้ก๊าซมีขนาดเล็ก น้าจะปุดเป็นฟองเมื่อเปิดให้กับผู้ปุวย มักใช้กับ oxygen cannula, simple face mask, และ partial rebreathing mask
ชนิดละอองฝอย (Jet)
ให้ความชื้นในทางเดินหายใจที่อยู่ลึกเหมาะกับผู้ปุวยที่มีเสมหะเหนียว มักเห็นเป็นหมอก สายให้ออกซิเจนมักมีขนาดใหญ่และเป็นลูกฟูก (corrugated)
แหล่งให้ออกซิเจน (Oxygen source)
ถังบรรจุออกซิเจน (Oxygen tank)
ก่อนใช้ออกซิเจนจากถังบรรจุออกซิเจน ต้องมีอุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลของก๊าซ (regulation of gas flow) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการไหลของออกซิเจนออกจากแหล่งจัดเก็บออกซิเจน
ระบบท่อ (Oxygen pipeline)
ก่อนใช้ออกซิเจนจากระบบท่อ ต้องมีอุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลของก๊าซ (regulation of gas flow)เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการไหลของออกซิเจนออกจากแหล่งจัดเก็บออกซิเจนมาตามระบบท่อ
บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
การให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา (Oxygen therapy)
ในภาวะที่ระบบการหายใจทางานเป็นปกติ ร่างกายจะได้รับออกซิเจนเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย แต่เมื่อร่างกายเกิดภาวะพร่องออกซิเจนจนกลายเป็นเกิดภาวะขาดออกซิเจน
อาการและอาการแสดงของภาวะขาดออกซิเจน
ระดับการมีสมาธิลดลง (decreased ability to concentrate)
ระดับความรู้สึกตัวลดลง (decreased level of consciousness)
วิตกกังวล (anxiety) กระสับกระส่าย (restlessness)
มีอาการวิงเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน (vertigo)
อัตราการเต้นของชีพจรเร็วขึ้น (increase pulse rate) ขั้นรุนแรง และพบ bradycardia
ในช่วงแรกอัตราการหายใจเร็วและลึก (increase rate and depth respiration) ระยะต่อมาจะเปลี่ยนเป็นหายใจสั้นและตื้น (shallow and slow respiration)
มีภาวะซีด (pallor)
ความอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าเพิ่มขึ้น (increased fatigue)
มีอาการเขียวคล้ำ (cyanosis)
หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ (cardiac dysthymias)
กรณีเป็นภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง พบนิ้วปุูม (clubbing)
ความดันโลหิตลดลง (blood pressure will decrease)
อาการหายใจลำบาก (dyspnea)
แสดงพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป (behavior changes)
วัตถุประสงค์ของการให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา
เป็นการลดอาการขาดออกซิเจนเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งฟอง
เป็นการช่วยการทำงานของระบบทางเดินหายใจ หัวใจ และระบบการไหลเวียนโลหิตและหลอดเลือดจากภาวะพร่องออกซิเจน
เป็นการรักษาภาวะพร่องออกซิเจนทาให้ออกซิเจนในเลือดต่า โดยวิธีการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในถุงลมปอด และกระแสเลือด
ข้อชี้บ่งของการให้ออกซิเจน
เกิดภาวะบาดเจ็บขั้นรุนแรง (severe trauma)
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดเฉียบพลัน (acute myocardial infarction: MI)
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ hypoxemia ตามมาหลังได้รับการรักษาเบื้องต้นแล้ว
การให้ออกซิเจนเป็นเวลาช่วงสั้น ๆ ในการทำผ่าตัด
มีภาวะขาดออกซิเจนในเลือด คือ มีภาวะPaO2 < 60 mmHg หรือ SaO2 < 90 % เมื่อหายใจเข้าในบรรยากาศปกติ
ข้อควรระวังและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ออกซิเจน
อาจเกิดภาวะกดการหายใจผู้ปุวยที่หายใจเอง เมื่อค่า PaO2 ≥ 60 มม.ปรอท โดยที่ค่าPaCO2 สูงกว่าภาวะปกติ
อาจเกิดภาวะปอดแฟบ (lung atelectasis) ออกซิเจนเป็นพิษ (oxygen toxicity) หรือกดการทางานของ cilia ที่กาลังพัดโบกกาจัดสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ และระบบภูมิคุ้มกันเม็ดเลือดขาวเพื่อให้ความเข้มข้นของออกซิเจนขณะหายใจเข้า (FiO2) ≥ 0.5
ควรระวังการให้ออกซิเจนในผู้ปุวยที่ได้รับพิษจาก paraquat อาจทาให้เสริมฤทธิ์ของสารพิษที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายเร็วขึ้น
ขณะทำผ่าตัดด้วยวิธีเลเซอร์ในทางเดินหายใจ ควรจากัดความเข้มข้นของออกซิเจนที่ใช้ในต่ำที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการติดไฟ ด้วยคุณสมบัติเคมีของออกซิเจนเอง
ควรระวังการให้ความชื้นร่วมกับออกซิเจนโดยเฉพาะการให้ความชื้นแบบ nebulizer สามารถเพิ่มภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินหายใจได้ เนื่องจากการสูดดมโดยตรง
การมีความเข้มข้นระดับสูงของออกซิเจน บริเวณที่เกิดไฟไหม้จะทำให้ขบวนการติดไฟเพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้น
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจน
การดูแลผู้ป่วยขณะที่ให้ออกซิเจน จำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเน้นที่การดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ซึ่งสามารถประเมินได้จากอาการผู้ป่วย และการหมั่นตรวจดูอุปกรณ์ ที่ให้ออกซิเจน
มีการปฏิบัติการพยาบาลดังนี้
หมั่นสังเกตและประเมินภาวะของผู้ป่วยเกี่ยวกับ
ตรวจวัดสัญญาณชีพ ดูลักษณะ และอัตราเร็วของการหายใจ ความดันโลหิตและชีพจร
ความผิดปกติของสีผิว ดูลักษณะบริเวณริมฝีปาก เล็บมือ เล็บเท้า ผิวหนังว่ามีอาการเขียวหรือไม่ ในรายที่ให้ออกซิเจนทางกระโจมสังเกตอาการหนาวสั่นด้วย
ระดับความรู้สึกตัว
วัดปริมาตรหายใจเข้า-ออกต่อครั้ง (Tridal Volume) ในกรณีที่ผู้ป่วยอาการหนักและมีเครื่องมือวัดโดยเฉพาะ
ติดตามผลค่าก๊าซให้ออกซิเจน (Blood gas)
หมั่นตรวจดูอุปกรณ์ที่ให้ออกซิเจน
ออกซิเจนไม่รั่วจากขวดทำน้ำกลั่นที่ทำความชื้น
ถ้าเป็นออกซิเจนถัง จะต้องให้มีออกซิเจนอยู่เสมอ โดยดูจากที่หน้าปัดบอกระดับของออกซิเจน ถ้าเหลือ 1/3 ของถัง ควรเตรียมถังใหม่เพื่อเปลี่ยนได้ทันทีและต้องตั้งถังอย่าล้มถังในขณะให้
ขวดทำความชื้นมีน้ำอยู่พอเหมาะไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
เปลี่ยนและนำอุปกรณ์การใช้ออกซิเจน ไปทำความสะอาดและทำให้ปลอดเชื้อ
ตรวจดูสายยาง ให้อยู่ในตาแหน่งที่ถูกต้อง ไม่เลื่อนหลุดจากที่รอยต่อต่างๆ ต้องคงที่ไม่บิดงอ ไม่อุดตัน
ถ้าให้ออกซิเจนจากระบบ pipeline ที่มีรูเปิด (outlet) สาหรับเสียบ flow meterจะต้องดูให้ flow meter เสียบเข้าที่
ดูแลทางเดินหายใจโดยท่าทางเดินหายใจ(Clear air way)
ดูดเสมหะที่ค้างตามท่าทางเดินหายใจเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันการอุดตัน
สอนการไออย่างถูกวิธี เพื่อให้ระบายเสมหะออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดท่านอน ท่านั่ง ให้ผู้ปุวยรู้สึกสบาย และปอดขยายได้เต็มที่โดยให้อยู่ในท่าศีรษะสูง
กระตุ้นให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เพื่อให้น้ำช่วยละลายเสมหะให้ขับออกได้ง่าย
ดูแลความสะอาดของจมูกและปากบ่อยๆ หรือ ทุก 2 - 3 ชั่วโมง
ให้จิบน้ำบ่อยๆ
ถ้าเจ็บคอ ให้ล้างปากด้วยน้ายา หรือบ้วนด้วยน้ำสะอาดบ่อยๆ
ทาริมฝีปากด้วย กลีเซอรีน บอแรกซ์
ทำความสะอาดช่องจมูก
ดูแลความสะอาดบริเวณหน้า โดยเฉพาะในผู้ปุวยที่ได้รับ Oxygen mask จะมีเหงื่อออกมาก ควรเช็ด mask และทาแปูงให้บ่อยๆ หรือทุก 2 - 3 ชั่วโมง เพื่อให้สบายขึ้น
ดูแลด้านจิตใจ เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติ ควรดูแลดังนี้
แนะนา อธิบายให้ผู้ปุวยรู้จักเครื่องมือต่างๆได้ง่าย
ดูแลควบคุมอัตราการไหของออกซิเจนให้เพียงพอ ไม่ให้ผู้ปุวยอึดอัด
พยาบาลควรมีความชานาญในการใช้เครื่องมือ
สนใจ รับฟังความต้องการของผู้ปุวยอย่างจิงจัง
บอกประโยชน์ของการได้รับออกซิเจน
ให้เวลาผู้ป่วยในการพูดคุย สัมผัสผู้ป่วยบ้างและรีบไปดูแลทันทีเมื่อผู้ป่วยขอความช่วยเหลือ
บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
การจัดท่าผู้ป่วย
ผู้ปุวยที่อยู่ในภาวะที่มีออกซิเจนในเซลล์ต่ำ (hypoxia)
ควรจัดอยู่ในท่าศีรษะสูง (high fowler’s position) ในท่านี้จะช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น โดยกระบังลมจะหย่อนลง ทาให้ปอดขยายตัวเต็มที่และมีปริมาณอากาศเพิ่มมากขึ้น
ผู้ปุวยที่หายใจลาบากทาให้นอนราบไม่ได้ ควรจัดท่า orthopnea position เป็นท่าศีรษะสูงต้องอยู่ในท่านั่งหรือฟุบหลับบนเก้าอี้ โดยใช้หมอน 3 – 4 ใบ
การบริหารการหายใจ
วิธีการหายใจจะช่วยให้การระบายอากาศหายใจดีขึ้น มีประโยชน์ทั้งในผู้ป่วยที่มีปัญหาการหายใจชนิดปอดถูกกาจัด และชนิดปอดถูกอุดกั้น
การหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องหรือกระบังลม (diaphragmatic breathing)
สามารถทำได้ในผู้ปุวยที่มีความผิดปกติของการหายใจเรื้อรังและเฉียบพลัน
วิธีการปฏิบัติ
แนะนำให้ผู้ปุวยหยุดหายใจช้าๆ หลังหายใจเข้าลึกเต็มที่แล้วเป่าลมออกทางปากช้า ๆโดยการห่อปาก (purse – lips)
กระตุ้นให้ผู้ป่วยหดเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องไล่อากาศออกจากปอดให้มากที่สุด
สอนผู้ป่วยให้หายใจเข้าลึกๆ ทางจมูก (ปิดปากให้สนิท) ขณะผู้ป่วยสูดหายใจให้ดันกระบังลมลงให้ต่าและใช้แรงดันผนังหน้าท้องให้ขยายออก
อธิบายให้ผู้ป่วยเป่าลมออกทางปากช้า ๆ ประมาณ 2 – 3 เท่า ของระบบการหายใจเข้า
ช่วยเหลือผู้ป่วยจัดท่าให้อยู่ในท่าที่สบาย อาจอยู่ในท่านั่งหรือนอนศีรษะสูงเล็กน้อยทำให้หน้าท้องหย่อน งอเข่า และกระดูกข้อตะโพก
หลังจากฝึกปฏิบัติจนชานาญแล้ว อาจใช้ของหนักประมาณ 5 ปอนด์ (อาจเป็นหนังสือเล่มโต ๆ หรือหมอนทราย) วางบนหน้าท้องเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง
ตรวจดูให้แน่ใจว่าจมูก หลอดลม ไม่มีน้ามูก หรือเสมหะ และไม่มีอาการบวมคั่ง
ให้ผู้ป่วยฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องหรือกระบังลมหายใจครั้งละ 10 – 20นาที ทุกชั่วโมง จนเกิดความเคยชิน
การหายใจโดยการห่อปาก (pursed - lip breathing)
การหายใจวิธีนี้จะช่วยลดการคั่งของอากาศในถุงลม โดยการรักษาความดันบวกในการหายใจ ทาให้หลอดลมขยายตัวนานกว่าปกติ ช่วยให้อากาศออกจากถุงลมปอดได้มากขึ้น
วิธีการปฏิบัติ
แนะนำผู้ป่วยให้หายใจออกทางปากช้า ๆ โดยการห่อปาก
อธิบายให้ผู้ป่วยตั้งใจเป่าลมออกทางปากช้า ๆ
แนะนำผู้ป่วยให้หายใจเข้าลึกๆ ทางจมูก (ปิดปากให้สนิท) และค่อย ๆ หยุดหายใจช้า ๆเมื่อหายใจเข้าเต็มที่ ทำติดต่อกัน 3 ครั้ง
ใช้วิธีการหายใจ เมื่อผู้ป่วยมีการหายใจสั้น และฝึกการหายใจ 5-10 นาที วันละ 4 ครั้ง
ช่วยเหลือผู้ป่วยจัดท่าให้อยู่ในท่าที่สบาย
เนื่องจากหายใจลำบาก ถ้าผู้ป่วยฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จะช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย
การหายใจเข้าลึกๆ (deep breathing)
การหายใจเข้าลึก ๆ ช่วยขยายหลอดลม กระตุ้นการสร้างสารเคลือบภายในปอด และช่วยขยายพื้นที่การแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ปอด
วิธีการปฏิบัติ
แนะนำให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึก ๆ อย่างช้า ๆ ในกรณีผู้ปุวยหลังการผ่าตัด ควรให้ยาระงับปวดก่อน 20 – 30 นาที
แนะนำผู้ป่วยให้กลั้นหายใจและไอออกแรงๆ
รวบตรึงบริเวณผ่าตัดด้วยหมอน โดยใช้มือกอดหมอน หรือรวบหมอนกดให้แน่น
เตรียมกระดาษเยื่อและชามรูปไต หรือกระโถนให้ผู้ป่วย
จัดท่าให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึก ๆ และไอได้สะดวก
การดูดเสมหะ (suction)
การช่วยทำให้ทางเดินหายใจโล่ง
การเพิ่มความสามารถในการขยายตัวของทรวงอกและปอด
การเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่เข้าปอด โดยอาจมีการให้ออกซิเจน อาจให้ออกซิเจนชนิดเขี้ยว(nasal cannula) หรือทางหน้ากาก (oxygen mask) หรือทางเต้นท์ (oxygen tents)
การลดความต้องการปริมาณออกซิเจนในร่างกาย เมื่อการเผาผลาญสารอาหารภายในเซลล์มากขึ้นร่างกายจะต้องการออกซิเจนมากขึ้น เพื่อใช้ในการเผาผลาญสารอาหาร
การผ่อนคลายความวิตกกังวล โดยแนะนาการทาสมาธิ หรือการนอนใส่หูฟัง ให้ฟังเพลง
วิธีการดูดเสมหะ
การดูดเสมหะทางจมูก (Nasopharygeal) หรือปาก (oropharyngeal suction)
เป็นการดูดเสมหะผ่านทางจมูก หรือ nasal airway ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อยาวภายในกลวง ลักษณะของท่อโค้ง และมีความยืดหยุ่นให้สามารถสอดใส่เข้าทางรูจมูกผ่านไปถึงโพรงจมูกด้านหลัง
การดูดเสมหะทางท่อช่วยหายใจ (Endotracheal) หรือทางท่อหลอดคอ
(tracheostomy suction)
เป็นการดูดเสมหะผ่านท่อช่วยหายใจ Endotracheal หรือทางท่อเจาะคอที่เจาะผ่านหลอดลมออกมาภายนอก (tracheostomy tube) ซึ่งเป็นหัตถการโดยแพทย์
ช่วยให้สามารถดูดเสมหะที่อยู่ในทางเดินหายใจส่วนล่างออกมาได้ง่าย
อาการแทรกซ้อน
แรงกด หรือการระคายเคืองบริเวณรูจมูกและริมฝีปากอาจทาให้เกิดแผล หรือเกิดแผลจากการดูดเสมหะหลาย ๆ ครั้ง
มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายต้องทำความสะอาดช่องปากทุกครั้งหลังดูดเสมหะ และเปลี่ยน airway ทุกวัน
เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินหายใจ ในขณะดูดเสมหะ ต้องทำการดูดเสมหะอย่างเบามือและนุ่มนวล
อาจเกิดการสาลักจากการกระตุ้น gag reflex หรือจัดท่าผู้ปุวยไม่ถูกต้อง
ริมฝีปากแห้งเกิดเป็นแผลได้ง่าย ให้ทาครีมทุกครั้งหลังทำความสะอาดปาก
อาจเกิดความผิดปกติในผู้ปุวยโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และเกิดภาวะความดันในสมองสูง
ความปลอดภัยขณะผู้ป่วยได้รับออกซิเจน
อาจเกิดการติดเชื้อโรคแทรกซ้อน การให้ออกซิเจนอุปกรณ์ที่ใช้มีโอกาสก่อให้เกิดการติดเชื้อได้
อาจทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจแห้งและเกิดการระคายเคืองได้ เนื่องจากออกซิเจนเป็นก๊าซแห้งเกิดความบกพร่องในหน้าที่ของเซลล์ขนกวัด(cilia) ทำให้มีน้าคัดหลั่งหนา และเกิดการอุดตันของทางเดินหายใจ
อาจเกิดการทาลายเนื้อเยื่อในปอด ออกซิเจนจะก่อพิษในปอดได้หากได้รับในระยะเวลานานคือ 24 – 48 ชั่วโมง และความเข้มข้นของก๊าซ มากกว่าร้อยละ 60
อาจเกิดอันตรายกับดวงตา (retrolental fibroplasias)
การได้รับออกซิเจนความเข้มข้นสูงเป็นระยะเวลานาน ๆ จะเกิดกับหลอดเลือดหลังเลนส์เปลี่ยนแปลง
อาจเกิดการหยุดหายใจ ในผู้ปุวยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
อาจเกิดอุบัติเหตุจาการเกิดไฟไหม้หรือการระเบิด เพราะการสันดาป (combustion) เป็นขบวนการที่เชื้อเพลิงทาปฏิกิริยากับออกซิเจนจนเกิดเป็น oxide มีความร้อนและพลังงาน เกิดขึ้น