Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system), ระบบประสาทซิมพาเทติก…
ระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system)
ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic nervous system)
ระบบประสาทซิมพาเทติก จะมี preganglionic fibers เริ่มมาจากเซลล์ประสาทไขสันหลังบริเวณปีกข้างเนื้อสีเทาโดย preganglionic neuron อยู่บริเวณที่ intermediolateral cell column ของไขสันหลังในระดับ T1 - L2
ระบบซิมพาเทติก เซลล์ประสาทนำคำสั่งตัวที่ 1 อยู่ที่บริเวณไขสันหลังระดับส่วนอกกับส่วนเอว เรียกว่า "ทอราโคลัมบาร์เอาต์โฟล์ว" ใยประสาทจะไม่ยาวมากไปไซแนปส์กับเซลล์ประสาทนำคำสั่งตัวที่ 2 ที่ปมประสาท
ปมประสาทของ Sympathetic nervous system
อยู่ส่วนด้านข้างของกระดูกสันหลัง ท าการฟอร์มเป็น sympathetic trunk (chain) ตั้งแต่ระดับคอจนถึงอุ้งเชิงกราน
ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic nervous system)
ระบบพาราซิมพาเทติก เซลล์ประสาทนำคำสั่งตัวที่ 1 จะอยู่ในบริเวณที่ก้านสมองกับไขสันหลังระดับกระเบนเหน็บ เรียกว่า "เครนิโอเซครัลเอาต์โฟล์ว" ใยประสาทจะค่อนข้างยาวไปไซแนปส์ กับเซลล์ประสาทนำคำสั่งตัวที่ 2 ที่ผนังของบริเวณอวัยวะเป้าหมาย
ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก มีศูนย์กลางอยู่ที่ก้านสมองและไฮโปทาลามัส ระบบนี้จะทำงานควบคู่กับระบบซิมพาเทติก ระบบนี้จะช่วยทำให้ร่างกายกลับคืนสู่สภาวะปกติ ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกมีศูนย์ควบคุมอยู่ในสมองส่วนกลางและเมดัลลาออบลองกาตา เส้นประสาทก่อนไซแนปส์จะออกไปกับเส้นประสาทสมอง คู่ที่ 3, 7, 9 และ 10 กับส่วนไขสันหลังบริเวณกระเบนเหน็บ
หน้าที่ของระบบประสาทอัตโนมัติ
:red_flag: ระบบประสาทซิมพาเทติก จะมีการเตรียมความพร้อมของร่างกายเพื่อการต่อสู้ เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และมีการหายใจที่เร็วขึ้น อีกทั้งลดการทำงานของระบบทางเดินอาหาร เกิดการขยายตัวของหลอดลมและม่านตาขยาย เป็นต้น
:red_flag: ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก มีการทำงานที่ตรงกันข้ามกับระบบประสาทซิมพาเทติก เช่น อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง มีการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบในระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น
สารสื่อประสาท (Neurotransmitter)
ระบบประสาทซิมพาเทติก
preganglionic fiber จะหลั่งอะซีติลโคลีน ส่วน postganglionic fiber หลั่งนอร์อิพิเนฟริน เรียกระบบประสาทซิมพาเทติกว่า "ระบบประสาทอะดรีเนอร์จิก" ยกเว้นบริเวณหลอดเลือดของกล้ามเนื้อลายและต่อมเหงื่อที่ postganglionic fiber จะหลั่งอะซีติลโคลีน ส่วนบริเวณของต่อมหมวกไตชั้นใน จะไม่หลั่งอะซีติลโคลีนเเต่จะหลั่งอะดรีนาลีนถึงร้อยละ 80
ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก
ทั้ง preganglionic fiber และ
postganglionic fiber จะหลั่งสารสื่อประสาทชนิดอะซีติลโคลีน มีผลกระตุ้นหรือยับยั้งอวัยวะเป้าหมาย เรียกระบบประสาทพาราซิมพาเทติกว่า "ระบบประสาทโคลิเนอร์จิค"
ตัวรับสารสื่อประสาท (Receptor)
ตัวรับสารสื่อประสาทอะซีติลโคลีน
อะซีติลโคลีนอยู่ตำแหน่งที่เยื่อหุ้มชั้นนอกของเซลล์เป้าหมาย
มี 2 ชนิด คือ ตัวรับนิโคทินิคเเละตัวรับมัสคารินิก ตัวรับนิโคทินิคจะชอบจับกับนิโคทินิคมากกว่า จะจับได้ไหว ถ้าจับกับมัสคารินิกจะช้า
ตัวรับสารสื่อประสาทซิมพาเทติก
ประกอบด้วย alpha-1 และ alpha-2
beta-1 พบที่หัวใจ และ beta-2 พบมากที่ปอดและหลอดลม
อาการแสดงของความผิดปกติระบบประสาทอัตโนมัติที่พบบ่อยๆ
Orthostatic hypotension มีการยืนนานหรือลุกยืนจากท่านั่งทันทีทันใดจะทำให้มีอาการหน้ามืดเป็นลม
Horner's syndrome มีสภาวะหนังตาตกหนังตาตก ลูกตาถูกตึงเข้าเบ้าตา ม่านตาเล็ก ผิวหนังแห้ง
Hirschsprung's disease ความผิดปกติของลำไส้ ลำไส้มีการขยายตัวมากเกินไป เป็นความผิดปกติของระบบประสาทซิมพาเทติก
Raynaud's disease อาการซีดของปลายมือปลายเท้า เป็นการทำงานของหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น เลยทำให้หลอดเลือดของอวัยวะส่วนปลายมีการหดตัว
:<3:
นางสาวจุฬารัตน์ ภูขันเขียว รหัสนักศึกษา 634991085
:<3: