Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Primary Medical Care for Emergency Condition: Animal Bites and Poisoning -…
Primary Medical Care for Emergency Condition: Animal Bites and Poisoning
การได้รับพิษจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือน
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือน ได้แก่ ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ
การรักษา
ห้ามทำให้อาเจียน เพราะอาจทำให้สารพิษกัดกร่อนเนื้อเยื่อในรับบทางเดินอาหารเพิ่มได้
ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหรือนม เพื่อช่วยเจือจางและดูดซับสารพิษ
เพิ่มการดูดซับและขับถ่ายสารพิษโดยให้ผงถ่าน (Activated charcoal) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งหรือลดการดูดซึมสารพิษที่ผู้ป่วยรับประทานเข้าไป โดยให้หลังจากผ่านการล้างท้อง (Gastric larvage) การให้ผงถ่านซ้ำๆ จะช่วยเพิ่มการขับถ่ายสารพิษออกจากร่างกาย
พิษจากเห็ด
การรักษา เป็นการรักษาแบบประคับประคองให้ผู้ป่วยพ้นขีดอันตราย การลดปริมาณสารพิษที่ผู้ป่วยได้รับ และเร่งขับสารพิษออกจากร่างกาย ดังนั้นถ้าผู้ป่วยยังไม่อาเจียนควรกระตุ้นให้อาเจียน หรือใช้สายยางสวนล้างกระเพาะอาหารในกรณีที่ทำให้อาเจียนไม่ได้พิจารณาให้ผงถ่านแก่ผู้ป่วยทุกราย
ภาวะพิษจากสารเคมี
Organophosphates และ carbamates
อาการ
ระยะเฉียบพลัน (Acute) เกิดในช่วง 2-3 วันแรก ผู้ป่วยจะมีหลอดลมตีบ หายใจลำบาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้องบิด เหงื่อออก น้ำลายไหล น้ำตาไหล ชีพจรเต้นช้า ความดันโลหิตต่ำ ม่านตาเล็ก ตามัว ปัสสาวะบ่อยกลั้นไม่ได้เกิดภายใน 24 ชั่วโมง และอาจมีอาการมากภายใน 2-3 วัน
ระยะกึ่งเฉียบพลัน (subacute) เกิดในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก ผู้ป่วยจะมีอาการกระวนกระวายค่อยๆ ซึมลงจน coma ได้
ระยะ chronic อาการจะเกิด 2-4 สัปดาห์ลักษณะที่สำคัญคือมี แขนขาอ่อนแรง ชาปลายมือปลายเท้า
การรักษา
Parenteral: Pralidoxime chloride (2-PAM) 1 gm./vial
Atropine sulphate 0.6 mg/ml (1 ml/ampule)
ภาวะพิษจาก Paraquat
อาการ : มักมีอาการอาเจียน มีอาการของระบบทางเดินอาหารส่วนต้น เนื่องจากฤทธิ์ระคายเคือง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย นอกจากนี้จะมีแผลบวมแดงในปาก มีอาการแทรกซ้อนคือ Pneumothorax และ Subcutaneous emphysema ในรายที่ได้รับสารเคมีชนิดนี้มากกว่า 60 ml ระยะเวลาการเกิดอาการเหล่านี้จะเร็วภายในไม่กี่ชั่วโมง และผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 24-48 ชั่วโมง
การรักษา
ให้ดินเหนียวหรือ Fuller's earth (60 gm/bottle) 150 gm ผสมน้ำ 1 ลิตร ให้ทางปาก
7.5% bentonite 100-150 gm
Activated charcoal 100-150 g (2 gm/1kg) และให้ร่วมกับยาระบาย MOM 30 ml ทุก 4-6 ชั่วโมงจนผู้ป่วยถ่ายอุจจาระ
ภาวะพิษจากการได้รับยาเกินขนาด (Drug overdose)
Paracetamol
อาการ
ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผู้ป่วยได้รับยาเกินขนาด จะมีอาการของระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หลังจาก 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะมีอาการทางตับ คือ อาเจียน ปวดท้องบริเวณ right upper quadrant อ่อนเพลีย มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ในรายที่เป็นมากจะมีอาการซึมและมีอาการ coma หรือ hepatic encephalopathy
การรักษา
N-acetylcysteine (Fluimucil) 100 -200 mg หรือ 5 gm ชนิดผง granules สำหรับละลายน้ำดื่ม
N-acetylcysteine (Fluimucil) 300 mg/3 ml ชนิดละลายสำหรับฉีด
Benzodiazepines
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการง่วงซึม ภายใน 30 นาที - 2 ชั่วโมง ในระยะแรกอาจจะมีอาการตื่นเต้นร่วมด้วย จากนั้นจะค่อยๆ ซึมลง พูดจาวกวน ถ้าเป็นมากจะซึมจนหมดสติได้
การรักษา
Flumazenil (Anexate) 0.5 mg/5 ml สารละลายสำหรับฉีด
สัตว์กัด (Animal bite)
การถูกสุนัข หรือแมวกัด
การดูแลบาดแผล : ล้างแผลด้วยน้ำเปล่า ฟอกสบู่หลายๆครั้งทันที ควรล้างทุกแผลและล้างให้ลึกถึงก้นแผลนานอย่างน้อย 15 นาที ระมัดระวังอย่าให้แผลช้ำ จากนั้นเช็ดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น Providone iodine หรือ Hibitane in water ถ้าไม่มีให้ใช้ 70% alcohol
การให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
การให้อิมมูโนโกลบุลินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
ชนิดผลิตจากซีรั่มม้า (Equine Rabies Immunoglobulin: ERIG) ขนาดบรรจุ 5 ml. (1000 IU) ขนาดที่ใช้ 40 IU/Kg.
ชนิดผลิตจากซีรั่มคน (Human Rabies Immunoglobulin: HRIG) ขนาดบรรจุ 2 ml. (300 IU) และ 5 ml. (750 IU) ขนาดที่ใช้ 20 IU/Kg
การให้วัคซีนป้องกันบาดทะยัก
กรณีเคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาแล้วอย่างน้อย 3 ครั้ง และฉีดเข็มสุดท้ายนานกว่า 5 ปี ให้ใช้ Td (Tetanus-diphtheria toxoid) 1 เข็ม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
กรณีไม่เคยได้รับวัคซีนหรือเคยได้วัคซีนป้องกันบาดทะยักน้อยกว่า 3 ครั้ง ให้วัคซีน Td เข้ากล้าม 3 ครั้ง คือวันที่ 0, 1 เดือน และ 6 เดือน
การให้ยาปฏิชีวนะ
การให้ยาบรรเทาปวด
ในผู้ใหญ่ Ibuprofen 400 mg. 1 tab oral t.i.d. pc. หลังอาหารทันที
ในเด็ก Ibuprofen syrup 5-10 mg./kg./dose oral t.i.d. pc. หรือ q.i.d. pc
งูกัด
อาการเฉพาะที่
ปวดตรงตำแหน่งที่ถูกกัด บางชนิดทำให้บวมและเลือดออก บางชนิดทำให้เกิดตุ่มน้ำพุพอง อาจมีไข้ปวดเมื่อยตามร่างกายด้วย
อาการแสดงตามระบบ
พิษต่อระบบประสาท (Neurotoxicity) อาการเริ่มแรกคือ ตาพร่า เห็นภาพซ้อน หนังตาตก กล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นอัมพาต ขากรรไกรแข็งพูดไม่ได้ กลืนน้ำลายไม่ได้ อึดอัด แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกและเสียชีวิตจากหัวใจล้มเหลว
พิษต่อระบบโลหิต (Hematotoxin) ผู้ป่วยจะมีอาการปวด บวม บริเวณที่ถูกกัด เลือดไหลออกจากแผล มีจ้ำเลือด เลือดออกไม่หยุด กระสับกระส่าย ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำ ปวดท้อง แน่นหน้าอก และหมดสติ
พิษต่อระบบกล้ามเนื้อ (Myotocxin) จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อทั่วทั้งตัว ปัสสาวะมีสีเข้มจนถึงสีดำ อาจมีอัมพาตบางส่วนหรือทั้งหมด ปัสสาวะออกน้อยเนื่องจากมีภาวะไตวายเฉียบพลัน อาจมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย
การรรักษาเบื้องต้นผู้ป่วยที่ถูกงูกัด
การรักษาทั่วไป
ให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวบริเวณที่ถูกงูกัดน้อยที่สุด โดยการดามบริเวณที่ถูกงูกัดด้วยแผ่นไม้หรือวัสดุแข็ง แล้วใช้ผ้ายืด (Elastic bandage) รัดให้แน่น ไม่ควรขันชะเนาะ (Tourniquet)
ประเมินการหายใจ และการไหลเวียนของเลือด เพื่อให้การช่วยเหลือเบื้องต้นได้ทันท่วงที ผู้ป่วยที่มีระดับความดันโลหิตต่ำต้องรีบให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำก่อน หรือการเกิด Anaphylactic shock ต่อพิษงู
การให้เซรุ่มต้านพิษง
Monovalent antivenom เป็นเซรุ่มชนิดต้านพิษงูได้ชนิดเดียว ใช้ในกรณีที่ทราบชนิดงูค่อนข้างแน่นอน ได้แก่ เซรุ่มต่อพิษงูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา งูแมวเซา งูกะปะ และงูเขียวหางไหม
Polyvalent antivenom ต้านพิษงูได้หลายชนิด ใช้กรณีที่ไม่ทราบชนิดของงูที่กัด เซรุ่มนี้มี 2 ชนิดคือสำหรับงูพิษต่อระบบโลหิต และงูพิษต่อระบบประสาท
การให้วัคซีนป้องกันบาดทะยัก พิจารณาเช่นเดียวกับการดูแลผู้ป่วยที่ถูกสุนัขกัด
การได้รับพิษจากแมงกะพรุน (Jelly fish)
เมื่อสัมผัสแมงกะพรุนจะมีอาการเจ็บปวดบริเวณบาดแผลอย่างรุนแรงภายในระยะเวลา 2-3 นาที ผิวหนังมีแนวผื่นแดงหรือรอยไหม้ตามรอยหนวด ปวดแสบปวดร้อน บวม แดง จากการอักเสบ และอาจเป็นหนองจากการติดเชื้อแทรกซ้อน อาการบวมแดงอาจหายไปได้ในเวลาไม่นาน แต่รอยไหม้และรอยแผลเป็นที่เกิดขึ้นจะต้องใช้เวลารักษานานหลายปี หรือเป็นแผลเป็น นอกจากนี้อาจมีอาการข้างเคียง เช่น ไอ น้ำมูก น้ำตาไหล เหงื่อออกมาก กล้ามเนื้อเป็นตะคริว อ่อนเพลีย อาเจียน หมดสติ
การรักษาพยาบาลเบื้องต้นผู้ที่ได้รับพิษจากแมงกะพรุน : รีบล้างบริเวณที่สัมผัสกับหนวดแมงกะพรุนด้วยน้ำทะเลหรือน้ำเกลือ ไม่ควรทำการทุบ หรือขยี้ ถ้ายังมีหนวดแมงกะพรุนติดอยู่ให้รีบนำออกอย่างระมัดระวัง โดยใช้คีมคีบหรือผ้าห่อมือก่อนสัมผัส ห้ามใช้มือเปล่าจับหนวดแมงกะพรุน จากนั้นล้างทำความสะอาดแผล รักษาตามอาการด้วยยาแก้ปวด ยาแก้แพ้ หรือหากมีอาการแพ้รุนแรงให้การดูแลเช่นเดียวกับการได้รับพิษจากแมลงกัด/ต่อย