Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การตรวจประเมินร่างกายทุกระบบ - Coggle Diagram
บทที่ 3 การตรวจประเมินร่างกายทุกระบบ
การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกาย เป็นการประเมินโครงสร้างและหน้าที่หรือลักษณะทางกายภาพ และหน้าที่ของร่างกาย โดยใช้
เทคนิคการดู คล า เคาะ ฟัง ในการตรวจร่างกาย
เทคนิคการตรวจร่างกาย
การดู (Inspection) เป็นการสังเกตโดยใช้สายตาสังเกตภาวะสุขภาพ
ส ารวจอวัยวะต่างๆของร่างกายว่าผิดปกติหรือไม่
การคลำ (Palpation) คลำก้อนเพื่อดูลักษณะผิดปกติ คลำอวัยวะที่คิดว่าถูกดันหรือดึงให้ผิดตำแหน่ง เพื่อตรวจสอบอวัยวะที่อยู่ภายใต้ว่าคืออะไร คลำเพื่อดูว่าอวัยวะนั้นใหญ่หรือเล็กลง คลำเพื่อดูหลอดเลือดต่างๆ เช่น ชีพจรที่ข้อมือ
การเคาะ (Percussion) เป็นการใช้ปลายนิ้ว ฝ่ามือ สันมือหรือก าปั้นทุบ เพื่อตรวจดูว่ามีความเจ็บปวดหรือไม่ และฟังเสียงของการเคาะเพื่อจะหาตำแหน่ง ขนาด และความหนาแน่นของโครงสร้างของอวัยวะนั้นๆ
การฟัง (Auscultation) เป็นการตรวจโดยอาศัยการได้ยิน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว จะมีเครื่องช่วยฟัง เพื่อให้ชัดเจนขึ้นเรียกว่า หูฟัง (Stethoscope)
ลักษณะทั่วไป
-การรู้สติและสภาวะทางด้านจิตใจ
-ภาวะสุขภาพที่ปรากฎ
-อาการแสดงของภาวะผิดปกติไม่สุขสบาย
-การเจริญเติบโตและพัฒนาการิริยา
-อารมณ์และความร่วมมือในการตรวจ
-เสียงและการพูด ท่าทาง การเคลื่อนไหว และท่าเดิน
-การแต่งตัวและสุขวิทยาส่วนบุคคล
-กลิ่นลมหายใจและกลิ่นตัว
-สีหน้าที่แสดงออก
ผิวหนัง
สีผิว (skin color) ผิวสีแดง (erythema) บริเวณที่ตรวจ คือ ใบหน้า หน้าอกส่วนบน หรือบริเวณที่มีอันตรายจนเกิดการอักเสบ เกิดจากเส้นเลือดขยายตัว พบ
ใน ภาวะไข้ อาย ดื่มสุรา มีการอักเสบ
ผิวสีอื่นๆ จากการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสี เช่น ผู้สูงอายุ
ลักษณะผิว (skin texture) เป็นความรู้สึกในการคล าผิวหนัง ผิวปกติจะเรียบ เกลี้ยง ไม่หยาบหรือขรุขระ เคลื่อนที่ได้ และเป็นไปตามอายุ
ความตึงตัว (skin turgor) ตรวจโดยใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ หยิบผิวหนังและไขมันใต้ผิวหนังขึ้นมาแล้วปล่อย สังเกตดูว่าจีบหายไปเร็วหรือช้า บริเวณที่นิยมตรวจ ได้แก่ หน้าผาก ข้างแก้ม ใต้กระดูกไหปลาร้า หลังมือ
ภาวะปกติ ผิวหนังกลับสภาพเดิมทันที
ภาวะผิดปกติ ผิวหนังตั้งอยู่นานเกิน2-3 วินาที เรียกว่า poor skin turgor
อุณหภูมิของผิวหนัง (temperature)
ภาวะปกติ ผิวหนังจะอุ่นทั่วกาย
ภาวะผิดปกติ ผิวหนังร้อน ในรายมีไข้
ความชุ่มชืน (moisture)
ภาวะปกติ ผิวจะแห้ง ชุ่มชื้น
ภาวะผิดปกติ เหงื่อออกมาก เหงื่อขึ้นทั่วร่างกาย ผิวแห้งมากการ
ไหลเวียนไม่ด
เม็ดผื่นหรือตุ่ม (skin lesion) ใช้การดูและคล าผิว เมื่อพบเม็ดผื่นต่างๆ ให้ตรวจดู สี ชนิดหรือประเภทรูปร่างหรือการรวมกัน ต าแหน่งและการกระจาย เป็นการกระจายทั่วไปหรือเฉพาะ สิ่งที่พบร่วมกับเม็ดผื่นและตุ่มนั้นๆ
จุดเลือดออก เป็นการตรวจจุดเลือด หรือจ้ าเลือดที่เกิดจากการขยายของหลอดเลือดชั้นตื้น การตรวจเริ่มด้วยการดู และการใช้คลำเพิ่มเติม
การบวม (edema) ใช้เทคนิคการดูและการคลำ โดยใช้นิ้วมืออาจใช้นิ้วหัวแม่มือ หรือนิ้วชี้นิ้วเดียว หรือนิ้วชี้ กลาง และนิ้วนาง กดลงบนผิวหนังที่ด้านหลังมีกระดูก
การตรวจผมและขน
การตรวจผม ใช้เทคนิคการดู คล า และดมกลิ่น ร่วมกัน มีจุดมุ่งหมาย
เพื่อดูปริมาณ
ภาวะปกติ สีผมจะเป็นธรรมชาติของเชื้อชาติและเผ่าพันธ์ุ
ภาวะผิดปกติ ผมเปลี่ยนสีไป (โดยไม่ย้อม) ผมร่วงมาก ผมหยาบ
การตรวจเล็บ
การตรวจเล็บใช้การดูและคลำมีจุดมุ่งหมาย ดูสี รูปร่าง ลักษณะ
เล็บ และค้นหาความผิดปกติ
ศีรษะ ใบหน้า คอ และต่อมน้ำเหลือง
การตรวจศีรษะ ใช้เทคนิคการดูและการคลำ
การดู ผู้ตรวจยืนเผชิญหน้ากับผู้ใช้บริการ สังเกตดูสิ่งต่อไปนี้คือ
รูปร่างและขนาดของศีรษะ ผม หนังศีรษะ
การคลำ ผู้ตรวจยืนเผชิญหน้ากับผู้ใช้บริการ ใช้ปลายนิ้ววนเป็น
วงกลมและเบาๆไปทั่วศีรษะโดยเริ่มส่วนหน้าของศีรษะ ด้านข้าง ไล่ไป
ส่วนบนและท้ายทอย เพื่อค้นหาก้อนผิดปกติและบริเวณท้ายทอยจะคลำ
หาต่อมน้ำเหลืองด้วย (occipital lymphnode)
การตรวจใบหน้า ใช้เทคนิค การดูและการคลำ
การดู ผู้ตรวจยืนเผชิญหน้ากับผู้ใช้บริการ สังเกตความ
สมมาตรของใบหน้า การเคลื่อนไหวต่างๆบนใบหน้าการกระจาย
ของขนคิ้ว ขนตา หนวดเครา สีผิว และลักษณะของผิวหน้า
การตรวจคอ ใช้เทคนิค การดูและการคลำ
การดู กล้ามเนื้อ sternocleidomastoid ให้ผู้ใช้บริการก้มหน้าจน
คางชิดอก เอียงศีรษะไปด้านซ้ายและขวา หมุนศีรษะไปด้านซ้ายและขวา
การคลำ กล้ามเนื้อ sternocleidomastoid ให้ผู้ใช้บริการหันศีรษะไป
ด้านตรงข้ามผู้ตรวจวางมือบริเวณคางและแก้ม
การตรวจต่อมน้ำเหลือง (lymphnode) ใช้เทคนิคการดูและ
การคลำ
การดู สังเกตสามเหลี่ยมบริเวณคอ ทั้งสามเหลี่ยมด้านหน้า(anterior triangel) และ สามเหลี่ยมด้านหลัง (posteriortriangel) ว่ามีก้อน นูนโตหรือไม
การคล า ผู้ตรวจยืนเผชิญหน้ากับผู้ใช้บริการ และให้ก้มศีรษะเล็กน้อย
ตา หู จมูก ปาก
การตรวจตา ใช้เทคนิค การดู การคลำ
ตรวจความสามารถในการมองเห็น ตรวจง่ายๆ โดยให้ผู้ใช้บริการนั่งเก้าอี้หรือเตียงตรวจ อ่านนิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ ระยะห่าง 36 ซ.ม. หรือ 12 นิ้ว
ตรวจลานตา เป็นการตรวจอาณาเขตหรือบริเวณโดยรอบที่ตาสามารถมองเห็นได้ตรวจง่ายๆ โดยนั่งหันหน้าเข้าหากัน ห่างกัน 2 ฟุต
ตรวจเคลื่อนไหวของลูกตา ลูกตาสามารถเคลื่อนไหวมองขึ้น-ลง มองข้าง มองใกล้ ด้วยกล้ามเนื้อลูกตา 6 มัด
ตรวจต้าแหน่งตา ลูกตา และบริเวณรอบตา ผู้ตรวจยืนเผชิญหน้ากับผู้ใช้บริการ สังเกตต าแหน่งของตา ลูกตาม่านตา และเปลือกตา ดูความชุ่มชื้น การกระพริบตา
ตรวจรูม่านตา เป็นการตรวจขนาดของรูม่านตา รูปร่าง การตอบสนองต่อแสงและเปรียบเทียบการเท่ากันทั้งสองข้าง
ตรวจความใสของของกระจกตา ตรวจโดยใช้ไฟฉายส่องไฟจากด้านข้าง ให้ล าแสงฉายผ่านกระจกตาโดยเข้าทางด้านข้าง ผู้ตรวจมองกระจกตาจากทางด้านหน้า
ตรวจตาขาวและเยื่อบุลูกตา ตรวจโดยวางนิ้วหัวแม่มือไว้บนเปลือกตาบน ดึงเปลือกตาขึ้นข้างบน ให้ผู้ใช้บริการมองล่าง กรอกตาไปซ้ายและขวา ดูตาขาวและเยื่อบุตาจากนั้นตรวจเปลือกตาล่างโดยดึงเปลือกตาล่างและตรวจเหมือนกัน
การตรวจหู ใช้เทคนิค การดู การคล า
การดู ดูขนาดระดับใบหู 2 ข้าง ลักษณะใบหู ใช้ไฟฉายส่องในรูหูจนถึง
เยื่อแก้วหู (ear drum)
การคลำ ใช้ปลายนิ้วคลำใบหู สอบถามอาการเจ็บในรูหูและบริเวณ
ใบหู
การตรวจปากและช่องปาก
ใช้เทคนิค การดู สังเกตริมฝีปาก สี
ลักษณะ แผล หรือความผิดปกติ ให้ผู้ใช้บริการอ้าปากเงยหน้าขึ้นใช้ไฟฉายและไม้กดลิ้นช่วยให้เห็นชัดขึ้น ตรวจฟัน เหงือก ลิ้น
กระพุ้งแก้ม เพดานปาก ลิ้นไก่ ทอนซิล และผนังคอหอย
การตรวจเต้านม และรักแร
การตรวจเต้านม (Breast) ใช้เทคนิค การดู การคลำ
การดู จัดให้ผู้ใช้บริการนั่ง เปลื้องเสื้อออกจนถึงเอวสังเกตขนาดเต้านมทั้งสองข้าง ดูสีผิวเส้นเลือด และลักษณะการบวม ค้นหาสิ่งผิดปกติอื่นๆ
การคลำ จัดท่านั่งหรือนอนหงาย วางหมอนเล็กๆใต้ไหล่ที่ตรวจ
แขนวางข้างลำตัว คลำทุกส่วนของเต้านม
การตรวจรักแร้ ใช้เทคนิค การดู การคลำ
การดู สังเกตสีผิวและก้อนบริเวณรักแร
การคลำ อาจตรวจในท่านั่งหรือนอน นิยมในท่านั่ง
ภาวะปกติ ไม่พบก้อน คลำไม่พบต่อมน้ำเหลือง
ภาวะผิดปกติ พบก้อน หรือต่อมน้ำเหลืองใหญ่กว่าปกติ