Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลตามพฤติกรรมที่ผิดปกติ - Coggle Diagram
การพยาบาลตามพฤติกรรมที่ผิดปกติ
Delusion
การประเมิน
อาการและความรู้สึกหวาดระแวง ทำให้ผู้ป่วยจำกัดขอบเขตตนเอง
ความคิดหลงผิดที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
พฤติกรรมแปลกๆหรืออาการของจิตเภท
ซักประวัติจากผู้ป่วยและครอบครัว
ความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่เกี่ยวกับการศึกษา ฐานะและวัฒนธรรม
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การทำกิจวัตรประจำวันบกพร่อง
สัมพันธภาพบกพร่อง
โภชนาการบกพร่อง
การเผชิญปัญหาไม่มีประสิทธิภาพ
มีความแปรปรวนด้านกระบวนความคิด การแปรความหมายไม่ถูกต้อง
ความภาคภูมิใจในตัวเองแปรปรวน เนื่องจากอาการหลงผิดว่าตนเองเป็นคนยิ่งใหญ่
มีความแปรปรวนด้านการรับรู้ (การมองเห็น การได้ยิน)
เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
มีความแปรปรวนด้านเอกลักษณ์
การแก้ปัญหาของครอบครัวไม่มีประสิทธิภาพ
วิตกกังวลเกี่ยวกับสถานที่ ไม่วางใจผู้อื่น รู้สึกไม่ปลอดภัย
กิจกรรมการพยาบาล
ชี้ให้เห็นความเป็นจริง แต่ไม่ท้าทายอาการหลงผิดของผู้รับบริการ
อธิบายให้ผู้รับบริการเข้าใจว่าพยาบาลกำลังทำอะไรและเพราะเหตุผลใด
ไม่สัมผัสผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น ไม่ควรใช้ภาษาหรือกิริยาที่ก่อให้เกิดความสงสัยหรือตีความได้ไม่ชัดเจน
สังเกตการปฏิเสธยา หรืออาหาร กรณีที่ผู้ป่วยกลัวการถูกวางยาพิษหรือปองร้าย
สร้างสัมพันธภาพเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
ติดตามอาการข้างเคียงของยาด้านระบบประสาท
ยอมรับในความคิดหลงผิดของผู้ป่วย โดยพยาบาลไม่ควรโต้แย้ง หรือท้าทายว่าที่ผู้ป่วยเล่าให้ฟังนั้นไม่จริง และพยาบาลไม่ต้องปฏิบัติตามที่ผู้ป่วยเชื่อ และไม่ควรนำคำพูดของผู้ป่วยไปพูดล้อเล่น
จัดให้เข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมบำบัด พยายามมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับผู้บริการ
ต้องตระหนักว่า ความคิดของผู้ป่วยเป็นความคิดที่ยึดแน่นและผู้ป่วยเชื่อว่าเป็นจริงตามนั้น
กระตุ้นให้ผู้ป่วยใช้เทคนิคการผ่อนคลาย
ประเมินความคิดของผู้ป่วยว่ามีผลอย่างไรต่อพฤติกรรมและการกระทำของผู้ป่วย
การปฏิบัติต่อผู้ป่วยต้องคงเส้นคงวา เมื่อมีข้อตกลงต่อกันแล้วจะต้องปฏิบัติตาม ข้อตกลง
Hallucination
อาการประสาทหลอน
Gustatory hallucination
Tactile hallucination
Visual hallucination
Olfactory hallucination
Auditory hallucination
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
การรับรู้เปลี่ยนแปลงเนื่องจากอาการประสาทหลอน
สัมพันธภาพบกพร่อง
เสี่ยงต่อพฤติกรรมรุนแรงในการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่นเนื่องจากอาการประสาทหลอน
การประเมินสภาพ
พฤติกรรม บุคคลตอบสนองต่ออาการประสาทหลอน
แหล่งช่วยในการเผชิญปัญหา
ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการ
การเผชิญปัญหา
ปัจจัยนำหรือปัจจัยเสี่ยง
กิจกรรมการพยาบาล
ช่วยให้ผู้ป่วยรับรู้และยอมรับความสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์นำ และการเกิดอาการประสาทหลอน
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยพูดถึงอาการประสาทหลอน และหาวิธีที่จะให้ผู้ป่วยเผชิญอาการประสาทหลอนของเขาอย่างเหมาะสม
ยอมรับอาการประสาทหลอนของผู้ป่วย
ให้ผู้ป่วยแยกแยะว่าอาการประสาทหลอนที่เกิดขึ้นนั้น เขารู้สึกอย่างไร อาการเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด หรือมีเหตุการณ์อะไรนำมาก่อน
ผู้ป่วยที่กำลังแสดงอาการประสาทหลอน พยาบาลควรบอกสิ่งที่เป็นจริงกับผู้ป่วยในขณะนั้น
หลีกเลี่ยงการเกิดภาวะประสาทหลอนโดย
ให้เข้ากลุ่มกิจกรรมบำบัดที่เหมาะสม
มอบหมายงานของตึกที่ผู้ป่วยสามารถช่วยทำได้
ให้ผู้ป่วยได้พบปะพูดคุยกับผู้ป่วยอื่น
ให้ผู้ป่วยได้รับประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้วิธีการเผชิญความวิตกกังวล
ประเมินอาการประสาทหลอน
เกิดขึ้นอย่างไร เวลาไหน ความถี่
พฤติกรรมตอบสนองต่ออาการประสาทหลอน
ระบบรับสัมผัสใด
Dependence
ความหมาย
บุคคลจะอาศัยผู้อื่นทางด้านร่างกาย ความตั้งใจ ความคิด การตัดสินใจและอื่นๆ
มีความต้องการรุนแรงที่จะได้รับความสนใจ การยินยอมและความรัก การยอมรับจากบุคคลอื่น
เป็นพฤติกรรมของบุคคลที่เชื่อมั่นถึงความช่วยเหลือและสนับสนุนจากผู้อื่น
การประเมินปัญหา
ด้านสติปัญญา
ด้านสังคม
ด้านร่างกาย
ด้านจิตวิญญาณ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
รู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่ำ
แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับบทบาทและสภาพแวดล้อม
มีพฤติกรรมในการเผชิญปัญหาบกพร่อง
กิจกรรมการพยาบาล
ฝึกให้แสดงบทบาทสมมติ (Role play) เกี่ยวกับทักษะที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิต
ชมเชยและให้แรงเสริมทางบวกในทุกๆ พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
ให้เลือกวิธีการผ่อนคลายความเครียดที่เหมาะสมกับตนเอง
แนะนำว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควรกำหนดเป้าหมายที่ทำได้ไม่ยากและสามารถ
ที่จะทำได้สาเร็จในระยะเวลาสั้นๆ
ให้เลือกและทดลองใช้เทคนิคการแก้ปัญหาแบบใช้เหตุผลโดยแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา
แนะนาผู้ป่วยและครอบครัว ในการฝึกทักษะทางสังคมอย่างเหมาะสมกับผู้อื่น
แนะนำการแสดงความคิดเห็นต่อผู้อื่นด้วยวิธีการที่เป็นที่ยอมรับได้ในสังคม
แนะนำครอบครัวในการฝึกผู้ป่วยให้ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ด้วยตนเอง
การให้เรียนรู้จากแบบอย่างของพฤติกรรมที่กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
(Assertive behavior)
แนะนำครอบครัวให้เข้าใจและให้กำลังใจผู้ป่วย
Manipulate
ความหมาย
เป็นวิธีการควบคุมเพื่อป้องกันความล้มเหลวหรือความคับข้องใจของตนเอง
เป็นพฤติกรรมที่ทำให้ตนเองมีอำนาจเหนือกว่าผู้อื่น แสดงการควบคุมโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง หรือความเดือดร้อนของผู้อื่น
การประเมินพฤติกรรม
พฤติกรรม
แสดงพฤติกรรมรุนแรง ขาดการยับยั้ง
ทำตนเป็นหัวหน้ากลุ่ม หรือเป็นผู้ควบคุมผู้อื่น
ขอมีอภิสิทธิ์เหนือผู้ป่วยอื่น
ให้ผู้อื่นกระทำในทางที่ผิด ขัดขืน ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของหอผู้ป่วย
ชอบยุแหย่ให้บุคคลอื่นเข้าใจผิดต่อกัน
การดูแลสุขภาพ
มักพบว่าติดสุรา สารเสพติด
แสดงพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติ
ไม่รักตนเอง
อารมณ์
อารมณ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
อาจมีอารมณ์เศร้า แต่ไม่ใช่ความรู้สึกผิด
ทนต่อความผิดหวังไม่ได้
อารมณ์ขันมักจะเกิดจากการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
ควบคุมอารมณ์โกรธไม่ได้
สัมพันธภาพ
แสดงพฤติกรรมเจ้ากี้เจ้าการเพิ่มขึ้นถ้าถูกปฏิเสธ หรือทำโทษ
พอใจเมื่อสามารถบงการผู้อื่นได้
มีสัมพันธภาพกับผู้อื่นยาก
ชอบการทะเลาะวิวาท
กิจกรรมการพยาบาล
ให้กำลังใจเมื่อผู้ป่วยสื่อถึงความต้องการของตนเองได้อย่างตรงไปตรงมา
กรณีผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมต่อต้านกฎระเบียบของหอผู้ป่วยปฐมนิเทศกฎระเบียบของหอผู้ป่วยให้ผู้ป่วยทราบ
ช่วยให้ผู้ป่วยรับรู้ และเข้าใจพฤติกรรมของตนเอง และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง
กรณีผู้ป่วยขอใช้อภิสิทธิ์ไม่อนุญาตให้ผู้ป่วยคนใดขอสิทธิพิเศษ พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผล
พยาบาลต้องไม่ทำตนให้เป็นที่ชื่นชอบแก่ผู้ป่วยเป็นพิเศษ
กรณีผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมเสมือนเป็นเจ้าหน้าที่ไม่มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบของตนให้กับผู้ป่วยทำแทน
พยาบาลต้องไม่ทำตนให้เป็นที่ชื่นชอบแก่ผู้ป่วยเป็นพิเศษ
จำกัดขอบเขต และพฤติกรรมของผู้ป่วย (Limit Setting) และบอกเหตุผลที่ต้องใช้วิธีการนี้
สร้างสัมพันธภาพ ในบรรยากาศที่เป็นมิตร แต่ต้องอยู่ในรูปแบบของการบำบัด
จัดกลุ่ม Patient - Staff meeting เพื่อเปิดโอกาสให้
ผู้ป่วยได้ระบายความคับข้องใจออกมา
เสมอต้นเสมอปลาย เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ
ให้กำลังใจเมื่อผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้
ยอมรับผู้ป่วย และคิดเสมอว่าพฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออกมามีความหมาย