Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การตรวจประเมินร่างกายทุกระบบ - Coggle Diagram
บทที่ 3 การตรวจประเมินร่างกายทุกระบบ
การตรวจร่างกาย
เทคนิคการตรวจร่างกาย
การดู (Inspection)
การอักเสบเป็นฝี บริเวณที่เป็นจะมีลักษณะ บวม แดง ร้อน หรือมีหนอง
การคลำ (Palpation)
1) คลำก้อนเพื่อดูลักษณะผิดปกติ
2) คลำอวัยวะที่คิดว่าถูกดันหรือดึงให้ผิดตำแหน่ง
3) เพื่อตรวจสอบอวัยวะที่อยู่ภายใต้ว่าคืออะไร
4) คลำเพื่อดูว่าอวัยวะนั้นใหญ่หรือเล็กลง
5) คลำเพื่อดูหลอดเลือดต่างๆ เช่น ชีพจรที่ข้อมือ
การเคาะ (Percussion)
เป็นการใช้ปลายนิ้ว ฝ่ามือ สันมือหรือกำปั้นทุบ เพื่อ ตรวจดูว่ามีความเจ็บปวดหรือไม่ และฟังเสียงของการเคาะ เพื่อจะหา ตำแหน่ง ขนาด และความหนาแน่นของโครงสร้างของอวัยวะนั้นๆโดย ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของเสียงไปกระทบอวัยวะที่ต้องการตรวจ แล้วเกิดเสียงสะท้อนกลับคืนมา
การฟัง (Auscultation)
เป็นการตรวจโดยอาศัยการได้ยิน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว จะมีเครื่องช่วยฟัง เพื่อให้ชัดเจนขึ้นเรียกว่า หูฟัง (Stethoscope) การฟังเป็นการตรวจแยกโรคในระบบหัวใจ หลอดเลือด ระบบหายใจ และระบบทางเดินอาหาร
ลักษณะทั่วไป ผิวหนัง ผม ขน เล็บ
การตรวจผิวหนัง
ลักษณะผิว (skin texture)
ความตึงตัว (skin turgor)
สีผิว (skin color)
อุณหภูมิของผิวหนัง (temperature)
ความชุ่มชื้น (moisture)
เม็ดผื่นหรือตุ่ม (skin lesion)
จุดเลือดออก
การบวม (edema)
การตรวจผมและขน
เพื่อดูปริมาณ การกระจายของผมและขน ลักษณะ และสุขวิทยาของผม และขน การตรวจผมร่วงทำโดยหยิบผมมาส่วนหนึ่งแล้วดึง ถ้าผมร่วงติด มือออกมาทุกครั้งเกิน 5 เส้น เรียกว่า ผมร่วง
ภาวะปกติ สีผมจะเป็นธรรมชาติของเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ ปริมาณผม มากในวัยรุ่น ผมควรนุ่ม ไม่หยาบและหักง่าย หนังศีรษะควรสะอาด
ภาวะผิดปกติ ผมเปลี่ยนสีไป (โดยไม่ย้อม) ผมร่วงมาก ผมหยาบ เปราะ แตกง่าย ผมสกปรก มีรังแค เหา มีกลิ่น มีบาดแผลและตุ่ม
การตรวจเล็บ
ภาวะปกติ โคนเล็บจะนุ่มหยุ่นเล็กน้อย มุมระหว่างฐานเล็บ (nail base) กับผิวหนังโคนเล็บ ประมาณ 160องศา เล็บเป็นสีชมพู ผิวเล็บ เรียบแนบสนิทกับเนื้อเยื่อด้านล่าง
ภาวะผิดปกติ เล็บไม่เรียบ นูนบางไม่เท่ากัน หรือมีลักษณะ เล็บรูปช้อน (spooning finger) มีลักษณะโค้งเว้าตรงกลาง ส่วน ปลายกระดกขึ้นทุกเล็บ (เล็บแอ่น) มักพบในผู้ที่โลหิตจาง จากการ ขาดธาตุเหล็ก นิ้วปุ้ม (clubbing finger) เนื้อเยื่อโคนเล็บจะนุ่มและหยุ่นมาก มุม ระหว่างเล็บและโคนเล็บมากกว่า 160 เล็บมีความโค้งนูนมากกว่า ปกติ มักพบในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ
ศีรษะ ใบหน้า คอ และต่อมน้ำเหลือง
การตรวจศีรษะ
การดู ผู้ตรวจยืนเผชิญหน้ากับผู้ใช้บริการ สังเกตดูสิ่งต่อไปนี้ คือ รูปร่างและขนาดของศีรษะ ผม หนังศีรษะ
การคลำ ผู้ตรวจยืนเผชิญหน้ากับผู้ใช้บริการ ใช้ปลายนิ้ววนเป็น วงกลมและเบาๆไปทั่วศีรษะ โดยเริ่มส่วนหน้าของศีรษะ ด้านข้าง ไล่ไป ส่วนบนและท้ายทอย เพื่อค้นหาก้อนผิดปกติและบริเวณท้ายทอยจะคลำหาต่อมน้ำเหลืองด้วย (occipital lymphnode)
การตรวจใบหน้า
การดู ผู้ตรวจยืนเผชิญหน้ากับผู้ใช้บริการ สังเกตความ สมมาตรของใบหน้า การเคลื่อนไหวต่างๆบนใบหน้า การกระจาย ของขนคิ้ว ขนตา หนวดเครา สีผิว และลักษณะของผิวหน้า ค้นหา รอยโรค สังเกตมุมปาก การแสดงออกของใบหน้า การทำงานของ กล้ามเนื้อใบหน้า โดยจะให้เลิกคิ้ว หลับตาปี๋ ยิงฟัน ท าปากจู๋ เป่า ลมแก้มป่อง
ภาวะปกติ ใบหน้าทั้ง 2 ซีกสมมาตรกัน ไม่บิดเบี้ยว ไม่มีการเคลื่อนไหว ผิดปกติ ขนคิ้วขนตากระจายปกติ สม่ำเสมอ ใบหน้าไม่บวม ไม่มีรอยโรค หลับตาได้สนิท รอยย่นเมื่อเลิกคิ้วสมมาตรกัน ยิงฟันได้ มุมปากยกเท่ากัน ทำปากจู๋และเป่าแก้มได้
ภาวะผิดปกติ หน้าบิดเบี้ยว ไม่สมมาตร มีการกระตุก เคลื่อนไหวผิดปกติ บนใบหน้า ใบหน้าบวม มีรอยโรค หลับตาไม่ได้ รอยย่นหน้าผากไม่ สมมาตรกัน ยิงฟันแล้วมีมุมปากตก ทำปากจู๋และเป่าแก้มไม่ได้ พบผื่น แดงที่ใบหน้า
การตรวจคอ
การดู กล้ามเนื้อ sternocleidomastoid ให้ผู้ใช้บริการก้มหน้าจน คางชิดอก เอียงศีรษะไปด้านซ้ายและขวา หมุนศีรษะไปด้านซ้ายและขวา
ภาวะปกติ สามารถเคลื่อนไหวได้ตามที่ให้ทำและเห็น พื้นที่หรือขอบเขตของคอ
ภาวะผิดปกติ คอเอียง คอแข็ง ไม่สามารถก้มคอ เอียงคอ หมุนคอ แหงนหน้า ยืดคอได้ หรือทำได้แต่ไม่สุด หรือมีอาการเจ็บปวดขณะทำ
2.การคลำกล้ามเนื้อ sternocleidomastoid ให้ผู้ใช้บริการหันศีรษะไป ด้านตรงข้ามผู้ตรวจวางมือบริเวณคางและแก้ม บอกให้ผู้ใช้บริการหัน ศีรษะกลับ
ภาวะปกติ สามารถต้านแรงผู้ตรวจได้
ภาวะผิดปกติ ไม่สามารถต้านแรงได้ หรือ เคลื่อนไหวได้อ่อนแรงหรือเจ็บ
การตรวจหลอดลมคอ
ใช้เทคนิค การคลำให้ผู้ใช้บริการ อยู่ในท่านั่งหรือนอนหงาย หน้าตรง ก้มคอลงเล็กน้อย
ภาวะปกติ หลอดลมอยู่ตรงกลางคอ คือ นิ้วทั้งสองแยงได้สะดวก เท่ากัน คลำได้เนื้อนุ่มๆเท่ากันทั้งสองข้าง
ภาวะผิดปกติ หลอดลมเฉไปทางใด นิ้วที่แยงของฝั่งตรงข้ามจะแยง ได้สะดวกกว่าและอาจคลำพบวงกระดูกอ่อนของหลอดลมได้
การตรวจต่อมไทรอยด์
การดู ผู้ตรวจยืนด้านหน้ากับ ผู้ใช้บริการ ให้แหงนหน้าและกลืนน้ำลาย จะ เห็นตำแหน่งไทรอยด์
การคล้า คลำจากด้านหน้า หรือ ด้านหลัง ก็ได้การคลำจากด้านหน้า วางปลายนิ้วชี้และนิ้วกลางของผู้ตรวจตรง บริเวณหลอดลมคอระดับต่อมไทรอยด์ บอกให้ผู้ใช้บริการกลืนน้ำลาย สังเกตว่ามีก้อนเคลื่อนผ่านนิ้วมือ
ภาวะปกติ ส่วน isthmus ของไทรอยด์จะ เคลื่อนที่ข้างบนขณะกลืน ซึ่งตรวจได้จาก การคล าพบก้อนเคลื่อนขึ้น ต่อมไทรอยด์ ทั้งกลีบซ้ายและขวาจะนุ่ม คลำหารูปร่าง และขอบเขตได้ไม่ชัดเจน
ภาวะผิดปกติ มองเห็นต่อมไทรอยด์โต
การตรวจต่อมน้ำเหลือง
การดู สังเกตสามเหลี่ยมบริเวณคอ ทั้งสามเหลี่ยมด้านหน้า (anterior triangel) และ สามเหลี่ยมด้านหลัง (posterior triangel) ว่ามีก้อนนูนโตหรือไม่
ภาวะปกติ ไม่พบก้อน
ภาวะผิดปกติ พบก้อน นูน โต ซึ่งยืนยันโดยการคลำ
การคลำผู้ตรวจยืนเผชิญหน้า กับผู้ใช้บริการ และให้ก้มศีรษะ เล็กน้อย เอียงศีรษะไปด้านที่ ต้องการตรวจ
ภาวะปกติ คลำไม่พบก้อน
ภาวะผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองโตมากกว่า 50 ม.ม. แดงและเจ็บ
การตรวจต่อมน้ำลาย parotid grand
อาจตรวจพร้อมกับการคลำต่อมน้ำเหลือง การตรวจจะสังเกต รูปร่าง ขนาด ความหนาแน่น การกดเจ็บ การเคลื่อนไหว
ตา หู จมูก ปาก
การตรวจตา
ตรวจความสามารถในการมองเห็น (visual acuity)
ตรวจลานตา (visual field)
ตรวจเคลื่อนไหวของลูกตา (extraocular movement)
ตรวจรูม่านตา (pupils)
ตรวจความใสของของกระจกตา (cornea)
ตรวจตำแหน่งตา ลูกตา และบริเวณรอบตา
ตรวจตาขาวและเยื่อบุลูกตา (sclera and conjunctiva)
การตรวจหู
การดู ดูขนาดระดับใบหู 2 ข้าง ลักษณะใบหู ใช้ไฟฉายส่องในรูหูจนถึง เยื่อแก้วหู
ภาวะปกติ ใบหูทั้ง 2 ข้างอยู่ระดับกับตา และเอียง 10องศา ในแนวตั้ง
ในรูหูพบขี้หู เยื่อ บุปกติ ไม่มีสิ่งผิดปกต
ภาวะผิดปกติ ใบหูสูงหรือต่ ากว่าระดับมุม ตา พบในผู้ป่วยสมอง ใบหูเล็กเกินอาจมี ผลต่อการได้ยิน เยื่อบุในรูหูบวมแด
การคล า ใช้ปลายนิ้วคล าใบหู สอบถามอาการเจ็บในรูหูและบริเวณ ใบห
ภาวะปกติ ในตำแหน่งปกติจะไม่เจ็บ ทั้งนอกและในรูหู แต่อาจเจ็บ เมื่อดึง
ภาวะผิดปกติ มีอาการกดเจ็บ บวมแดง มีก้อน มีตุ่มหรือรอยโรค
การตรวจการได้ยิน ตรวจง่ายๆโดยให้ฟังเสียงนาฬิกาเดิน โดยวาง ห่างจากหู 2-3 ซ.ม. หรือกระซิบในระยะห่าง 1-2 ฟุต
การตรวจจมูกและโพรงอากาศ
การดู ดูจมูกและปีกจมูกภายนอกว่าพิการหรืออักเสบหรือไม่
ภาวะปกติ ปีกจมูกและจมูกมีขนาดเหมาะสมเท่ากัน ไม่หุบบานมาก ขณะหายใจ ไม่มีการอักเสบ
ภาวะผิดปกติ ปีกจมูกทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน มีบวมแดง หุบบานไม่ เท่ากันขณะหายใจ
การคลำใช้นิ้วมือคลำบริเวณสันจมูก ปีกจมูก และบริเวณข้างเคีย
ภาวะปกติ จมูก ปีกจมูก บริเวณข้างเคียงและโพรงอากาศ กดไม่เจ็บ
ภาวะผิดปกติ กดเจ็บ
การตรวจการได้กลิ่น ให้ผู้ใช้บริการหลับตา เอาสบู่ให้ดม และให้บอกว่า กลิ่นอะไร
การตรวจปากและช่องปาก
ภาวะปกติ ริมฝีปากสีชมพู ชุ่มชื้น ไม่มี แผล ตุ่ม บวม เยื่อบุช่องปาก เพดานปาก สีชมพู ไม่ซีด ไม่มีตุ่มเม็ดผื่น ไม่มีรอยช้ำ ห้อเลือด
ภาวะผิดปกติ ริมฝีปากคล้ำ เขียวหรือซีดมาก บวมแดง มีแผล หรือตุ่ม เยื่อบุช่องปากซีดมีตุ่ม เหงือกซีดหรือบวมแดง ลิ้นแตก ลิ้นเลี่ยน เป็นฝ้า ลิ้นไก่เฉเอียง ทอนซิลโตเกิน
การตรวจเต้านมและรักแร้
การตรวจเต้านม
การดู จัดให้ผู้ใช้บริการนั่ง เปลื้องเสื้อออกจนถึงเอว แขนปล่อย ไว้ข้างลำตัวหรือให้เท้าเอว
ภาวะปกติ เต้านมทั้ง 2 ข้างไม่ควรแตกต่างกันมาก สีผิวอ่อนกว่า ผิวกาย ไม่มีก้อน
ภาวะผิดปกติ เต้านมขนาดใหญ่มากกว่าปกติหรือไม่เท่ากัน แตกต่างกันมาก ผิวหนังเป็นสีแดง มีลักษณะเหมือนผิวส้ม
การคลำ จัดท่านั่งหรือนอนหงาย วางหมอนเล็กๆใต้ไหล่ที่ตรวจ แขนวางข้างลำตัว
ภาวะปกติ เต้านมจะยืดหยุ่น กดไม่เจ็บหรืออาจเจ็บได้เล็กน้อย
ไม่พบก้อน หัวนมกดไม่เจ็บ
ภาวะผิดปกติ บวมแดง กดเจ็บเต้านมหรือหัวนม คลำพบก้อน มีแผล
ผิวเต้านมไม่นุ่ม หัวนมมีสิ่งคัดหลั่ง
การตรวจรักแร้
การดู สังเกตสีผิวและก้อนบริเวณรักแร้
การคลำ อาจตรวจในท่านั่งหรือนอน นิยมในท่านั่ง แขนอยู่ข้าง ลำตัว
ภาวะปกติ ไม่พบก้อน คลำไม่พบต่อมน้ำเหลือง
ภาวะผิดปกติ พบก้อน หรือต่อมน้ำเหลืองใหญ่กว่าปกติ