Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ - Coggle…
บทที่ 3กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์สำหรับพยาบาลและการกระทำความผิดที่พบบ่อย
ความหมายและลักษณะของกฎหมายแพ่ง
กฎหมายแพ่งเป็นส่วนหนึ่งในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ปพพ.) ที่กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
กฎหมายพาณิชย์:เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการค้าขายหรือกิจการใดๆ ที่ได้กระทำในเรื่องหุ้นส่วนบริษัท ประกันภัยตั๋วเงิน เป็นต้น
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง:เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีการดำเนินพิจารณาพิพากษาคดีในกรณีที่เกิดข้อพิพาทในทางแพ่งขึ้น เช่น วิธีฟ้อง ศาลที่ฟ้อง วิธีพิจารณาของศาลตลอดจนการบังคับให้ฝ่ายที่ผิดปฏิบัติตามคำพิพากษา เป็นต้น
ประเภทของนิติกรรม
1.นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามจ านวนคู่กรณี
2.นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามการมีผลของนิติกรรม
3.นิติกรรมที่พิจารณาแบ่งตามค่าตอบแทน
ความรับผิดทางแพ่งที่เกี่ยวกับ การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
1.การกระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายหมายถึง การประทุษกรรม หรือกระทำต่อผู้อื่นโดยผิดกฎหมายด้วยการฝ่าฝืนข้อห้าม
2.การกระทำโดยจงใจหรือประมาทการกระทำโดยจงใจหมายถึง การกระทำที่ตั้งใจหรือเจตนาโดยผิดกฎหมาย ไม่มีสิทธิหรือใช้สิทธิเกินขอบเขต ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
3.ทำให้บุคคลอื่นเสียหายหมายถึง การกระทำที่ทำให้บุคคลอื่นขาดประโยชน์ที่เคยได้รับ หรือได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินและสิทธิต่างๆ
กฎหมายอาญาสำหรับพยาบาลและการกระทำความผิดที่พบบ่อย
ประเภทของความรับผิดทางอาญา
1.ความผิดต่อแผ่นดินเป็นความผิดที่สำคัญและร้ายแรง มีผลกระทบต่อผู้เสียหายและสังคมส่วนรวม
2.ความผิดต่อส่วนตัวเป็นความผิดที่ไม่ร้ายแรงมีผลกระทบต่อผู้เสียหายฝ่ายเดียว และกฎหมายบัญญัติประเภทไว้ชัดเจน
ลักษณะสำคัญของความรับผิดทางอาญา
1.ต้องมีบทบัญญัติความผิด และกำหนดโทษไว้โดยชัดแจ้งกล่าวคือ ในขณะที่กระทำผิด ต้องมีกฎหมายบัญญัติความผิดและโทษเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน
2.ต้องตีความเคร่งครัดตามตัวอักษรการตีความ หมายถึง การถอดความหมายของข้อความหรือศัพท์ต่างๆ ในบทบัญญัติออกมา เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น โดยใช้ภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจ
3.ไม่มีผลย้อนหลังที่เป็นโทษหมายถึงจะไม่มีผลในการเพิ่มโทษแก่บุคคลหากขณะกระท ายังไม่มีกฏหมายบัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังมีกฎหมายบัญญัติว่าการการกระทำอย่างเดียวกันนั้นจะเป็นความผิด ศาลหรือผู้พิพากษาจะนำกฎหมายใหม่มาใช้บังคับลงโทษผู้กระทำผิดไม่ได้อย่างไรก็ตาม ถ้ากฏหมายใหม่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด กฏหมายให้ย้อนหลังได้
ความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาล
1.ความประมาทในการประกอบวิชาชีพ(Malpractice / Professional negligence / Professional misconduct)หมายถึง การกระทำหรือการพยาบาลโดยขาดความระมัดระวัง หรือไม่ได้ใช้ความระมัดระวังเพียงพอตามวิสัยของวิชาชีพ จนเกิดความเสียหายอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิตแก่ผู้ใช้บริการ
2.การทอดทิ้งหรือละเลยผู้ป่วยความผิดฐานนี้เกี่ยวกับผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายหรือสัญญาที่ต้องดูแลผู้ซึ่งพึ่งตนเองไม่ได้ เพราะอายุ ความเจ็บป่วย กายพิการ หรือจิตพิการ ทอดทิ้งบุคคลที่ตนเองรับผิดชอบตามหน้าที่หรือตามสัญญา เป็นเหตุให้อันตรายแก่ชีวิต
3.การเปิดเผยความลับของผู้ป่วย(Confidential disclosure)การเปิดเผยความลับตามมาตรานี้ เป็นความผิดเกี่ยวกับชื่อเสียงและศักดิ์ศรีของบุคคล พยาบาลมีหน้าที่รักษาความลับของผู้ป่วย ซึ่งครอบคลุมถึงข้อมูลการรักษาโดยตรง หรือข้อมูลที่ได้มาจากบุคลากรสุขภาพคนอื่นๆ ที่รักษาผู้ป่วย ตัวอย่างการเปิดเผยความลับจากการประกอบวิชาชีพ
4.การปฏิเสธความช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายต่อชีวิตการไม่ช่วยเหลือหรือปฏิเสธการช่วยเหลือผู้อื่นที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ทั้งๆ ที่ตนอาจช่วยได้
5.ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร: การปลอมเอกสารและการทำหรือรับรองเอกสารเท็จ
6.การทำให้หญิงแท้งลูก(Induced abortion)