Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการเรียนการสอนของดิดและแครี่ - Coggle Diagram
กระบวนการเรียนการสอนของดิดและแครี่
รูปแบบการสอนของดิค แอนด์แคเรย์(1990)
พัฒนามาจากวิธีการระบบ
โดยมีส่วนคล้ายกับรูปแบบการสอน ADDIE
การประเมินความต้องการ
จะเป็นการพิจารณาความต้องการของผู้เรียน
เป้าหมายของการ เรียนรู้ และข้อจำกัดต่าง ๆ
รวมทั้งส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การวิเคราะห์ส่วนหน้า จะเป็นการพิจารณาสถานการณ์การวิเคราะห์งานหรือภารกิจ การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ การวิเคราะห์สื่อ และส่วนอื่นๆ สำหรับ ขั้นตอนที่ 2 ถึง ขั้นตอนสุด ท้าย จะมีรายละเอียดคล้ายกับรูปแบบการสอน ADDIE
ดิค แอนด์ แคเรย์ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่ในปี คศ. 1996โดยมี
รายละเอียดมากขึ้น
พัฒนาเกณฑ์อ้างอิงเพื่อใช้ทดสอบ (Develop Criterion Reference Tests)
เป็นการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานของบทเรียนที่ผู้เรียนจะต้องทำได้หลังจากจบบทเรียนแล้ว ในที่นี้ก็คือเกณฑ์ที่ใช้วัดผลจากแบบฝึกหัดหรือ แบบทดสอบต่างๆ ที่ใช้ในบทเรียน
พัฒนากลยุทธ์ด้านการเรียนการสอน (Develop Instructional Strategy)
เป็นการออกแบบและพัฒนารายละเอียดต่าง ๆ ของบทเรียน ให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้รวมทั้งการพิจารณารูปแบบการนำเสนอบทเรียนด้วย เช่น ระบบเรียนรู้ร่วมกัน ระบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางหรือ ระบบผู้สอนเป็นผู้นำเป็นต้น ซึ่งผลลัพธ์ของกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นในขั้นตอนนี้จะอยู่ในรูปของบทดำเนินเรื่องของบทเรียน ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
กิจกรรมการเรียนการสอน
แบบฝึกหัดและการตรวจปรับ
การนำเสนอเนื้อหาบทเรียน
การทดสอบ
การติดตามผลกิจกรรมการเรียนการสอน
พัฒนาและเลือกวัสดุการเรียนการสอน (Develop & Select Instructional Materials)
เป็นขั้นตอนของการพัฒนาบทเรียนจากบทดำเนินเรื่องในขั้น ตอนที่ผ่านมา รวมทั้งการเลือกใช้วัสดุการเรียนที่สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของบทเรียน ได้แก่ สื่อการเรียนทั้งที่มีอยู่เดิมหรือสื่อที่ต้องสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ ผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนนี้ มีดังนี้
คู่มือการใช้บทเรียนของผู้เรียนและผู้สอน
บทเรียนที่พัฒนาขึ้น ซึ่งอยู่ในรูปแบบต่างๆ ดัง นี้
ระบบสนับสนุนการกระทำด้วยอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EPSS
บทเรียนสำหรับผู้สอน ในกรณีที่เป็นระบบผู้สอนเป็นผู้นำ
บทเรียนคอมพิวเตอร์แบบใช้งานโดยลำพัง เช่น CAI, CBT
บทเรียนคอมพิวเตอร์แบบใช้งานบนเครือข่าย เช่น WBI, WBT
e-Learning
พัฒนาและดำเนินการประเมินผลระหว่างดำเนินการ (Develop & Conduct Formative Evaluation)
เป็นการประเมินผลการดำเนินการของกระบวนการออกแบบบทเรียนทั้งหมด เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงบทเรียนให้มีคุณภาพดีขึ้น ในขั้นตอนนี้ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย ดังนี้
การประเมินผลแบบกลุ่มย่อย
การประเมินผลภาคสนาม
การประเมินผลแบบตัวต่อตัว
พัฒนาและดำเนินการประเมินผลสรุป (Develop & Conduct Summative Evaluation)
เป็นการประเมินผลสรุปเกี่ยวกับบทเรียนที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ การหาคุณภาพและประสิทธิภาพของบทเรียนซึ่ง จำแนกออกเป็น2 ระยะ ดังนี้
การประเมินผลระยะสั้น
การประเมินผลระยะยาว
เขียนวัตถุประสงค์ของการกระทำ (Write Performance Objectives)
การเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่สามารถวัดได้หรือสังเกตได้ของบทเรียนแต่ละหน่วย ซึ่งผู้เรียนจะต้องแสดงออกในรูปของงานหรือภารกิจหลังจากสิ้นสุดบทเรียนแล้ว โดยนำผลลัพธ์ที่ได้จาก 3ขั้นตอนแรกมาพิจารณา ซึ่งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
เงื่อนไข ประกอบงานหรือภารกิจนั้น ๆ
เกณฑ์ ของงานหรือภารกิจของผู้เรียนที่กระทำได้
งาน ที่ผู้เรียนแสดงออกในรูปของการกระทำหลังจบบทเรียนแล้วซึ่งสามารถวัดหรือสังเกตได้
กำหนดพฤติกรรมของผู้เรียนที่จะเข้าเรียน (Identify Entry Behaviors)
เป็นขั้นตอนที่จะพิจารณาว่าพฤติกรรมใดที่จำเป็น ของผู้เรียนก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
การกำหนดความรู้พื้นฐานและทักษะที่จำเป็น สำหรับ ผู้เรียน
คุณลักษณะที่สำคัญของผู้เรียนในการดำเนินกิจกรรมทางการเรียนของบทเรียน
วิเคราะห์การเรียน (Conduct Instructional Analysis)
หลังจากได้เป้าหมายของการเรียนแล้ว
ขั้นต่อไปจะเป็นการวิเคราะห์เนื้อหาบทเรียน
และวิเคราะห์ผู้เรียนเพื่อตัดสินว่าความรู้และทักษะใด
ที่จะทำให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดั้ง นี้
กำหนดขั้นตอนการนำเสนอบทเรียน
กำหนดสมรรถนะของผู้เรียนหลัง จากที่เรียนจบแล้ว
แยกแยะเป้าหมายของการเรียน (Identify Instructional Goals)
ขั้นตอนแรกเป็นการแยกแยะเป้าหมายของบทเรียน
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่ต้องการ
กำหนดเป้าหมายของการเรียน โดยพิจารณาจากส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ผลจากการวิเคราะห์ผู้เรียนคนอื่นๆ ที่เรียนจบแล้ว
ข้อจำกัดหรืออุปสรรคต่าง ๆ ในการเรียน
ผลจากการวิเคราะห์ความต้องการ
รายละเอียดของเป้าหมายของการเรียนที่มีอยู่
ปรับปรุงการเรียนการสอน (Revise Instruction)
เป็นการปรับปรุงและแก้ไขบทเรียนที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ เนื้อหา การสื่อความหมาย การพัฒนากลยุทธ์ การทดสอบ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และส่วนประกอบต่าง ๆ ขอบทเรียน โดยพิจารณาจากผลลัพธ์ที่ได้