Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ - Coggle Diagram
ปัญหาสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์
ปัญหาสุขภาพในระบบสืบพันธุ์
อาการนําของระบบสืบพันธุ์ที่พบบ่อย
คัน ตุ่ม แผล ตกขาว หนอง/เลือด
การซักประวัติเมื่อมีอาการผิดปกติทางระบบสืบพันธุ์
อาการปัจจุบัน
มีสารคัดหลั่ง (Discharge) ลักษณะ สีจํานวน และกลิ่นผิดปกติจากช่องคลอดหรือไม่อาการแสดงร่วมเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งอาจแสดงถึงการติดเชื้อ
มีอาการปวด (Pain) ผื่นแดงบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก คือ ปากช่องคลอด ช่องคลอดท่อปัสสาวะ ปากมดลูก หรือบริเวณขาหนีบหรือไม่
มีก้อน (Lump) การบวม บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์หรือไม่อาจบ่งชี้ถึงการติดเชื้อมะเร็ง
มีอาการปัสสาวะลําบาก (Difficult urination) หรือไม่สีและกลิ่นของปัสสาวะผิดปกติไปจากเดิม อาการปัสสาวะบ่อย แสบขัด อาจติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือจากเพศสัมพันธ์ก็ได้
มีปัญหาการปฏิบัติกิจกรรมทางเพศหรือไม่ อย่างไร เช่น มีอาการเจ็บปวดขณะร่วมเพศหรือไม่ หลังร่วมเพศมีเลือดออกหรือไม่ อย่างไร เป็นต้น ถ้าผู้รับบริการมีความกังวลกลัวติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ให้ถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยหรือไม่ กับผู้หญิงหรือว่าผู้ชาย หรือ ทั้งสองเพศ
การตรวจ
การตรวจภายใน ตรวจปัสสาวะ เพาะเชื้อ การตรวจพิเศษ
การวินิจฉัยแยกโรคกลุ่มอาการระบบสืบพันธุ์
ตกขาว (Leukorrhea)
ตกขาวปกติ (Physiologic leukorrhea) เป็นตกขาวที่พบในภาวะปกติ ลักษณะคล้ายแป้งเปียก มีปริมาณไม่มาก ไม่เหม็น ไม่คัน และมีระดับความเป็นกรดด่างน้อยกว่า 4.5
ตกขาวผิดปกติ (Pathological leukorrhea) มักมีปริมาณมาก หรือมีกลิ่น และมีลักษณะผิดปกติ เช่น มีลักษณะเป็นหนอง มูกปนหนอง หรือเป็นฟอง และมักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คัน แสบร้อนบริเวณปากช่องคลอด
ช่องคลอดอักเสบติดเชื้อ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของตกขาวผิดปกติ คือ Bacterial vaginosis, Vulvovaginal candidiasis, Trichomoniasis พบร่วมกับ Bacterial vaginosis ได้
ช่องคลอดอักเสบจากสาเหตุที่ไม่ติดเชื้อ สาเหตุจากแพ้สารระคายเคือง หรือ Atrophic vaginitis จากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
ปากมดลูกอักเสบ สาเหตุจาก ติดเชื้อหนองใน ติดเชื้อ Chlamydia หรือการติดเชื้อเริม
พยาธิสภาพอื่น ๆ บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์เช่น ปากมดลูกมีติ่งเนื้องอก (polyp) หูดหงอนไก่ เนื้องอกหรือมะเร็งของมดลูก
ภาวะรูรั่ว (Fistula) เช่น รูรั่วระหว่างช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ (vesicovaginal fistula) หรือ รูรั่วระหว่างช่องคลอดและลําไส้ตรง (rectovaginal fistula)
การตรวจร่างกายและการตรวจภายใน
ควรตรวจร่างกายทั่วไปอย่างเป็นระบบก่อนที่จะตรวจภายใน อาจจะได้ข้อมูลบางอย่าง เช่น เบาหวานซึ่งพบร่วมกับการติดเชื้อราได้
การตรวจอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก รวมทั้งฝีเย็บทวารหนัก และท่อปัสสาวะ โดยการดูลักษณะและปริมาณของตกขาวที่ติดบริเวณปากช่องคลอดหรือสังเกตอาการอักเสบ รอยเกาบริเวณปากช่องคลอด
การตรวจอวัยวะในอุ้งเชิงกราน และการตรวจทางทวารหนัก เพื่อตรวจว่ามีพยาธิสภาพอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เช่น เนื้องอกของมดลูกหรือรังไข่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
KOH test หยด 10% KOH ลงไปแล้ว นําไปส่องดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ถ้าเป็นการอักเสบจากเชื้อราจะพบ mycelia และ conidia เนื่องจาก KOH จะไปสลายเซลล์อื่น ๆ ให้แตกทําลายหมดไป
ตรวจ pH ในช่องคลอดปกติมีภาวะเป็นกรด 3.5-4.5 ถ้า pH > 5.0 บ่งชี้ถึง Bacterial vaginosis หรือ Trichomoniasis แต่ถ้า pH < 4.5 อาจเป็น Physiologic discharge หรือการติดเชื้อรา
Wet Smear เอาตกขาวมาผสมกับ 0.9 % NSS นําไปส่องดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์
Whiff test (amine test) โดยหยด 10% KOH ลงไปบนตกขาว จะเกิดกลิ่นเหม็นคาวปลา (fishy odor) ขึ้น เนื่องจากมีการปลดปล่อยสาร amine ออกมา การทดสอบนี้ให้ผลบวกในภาวะ Bacterial vaginosis และ Trichomoniasis
การย้อม Gram stain, การเพาะเชื้อ
สาเหตุ
Bacterial vaginosis (BV)
บางรายอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการตกขาวผิดปกติ มีอาการคัน มีกลิ่นเหม็นเหมือนคาวปลาหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ส่วนอาการปัสสาวะแสบขัด เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ การอักเสบในช่องคลอดหรืออาการแสบร้อนบริเวณปากช่องคลอดพบได้น้อย
การวินิจฉัย : อาศัยลักษณะทางคลินิกและการตรวจ wet smear เป็นส่วนใหญ่ เกณฑ์การวินิจฉัย ได้แก่ (Amsel criteria) (ต้องการ 3 ใน 4 ข้อ) 1. ตกขาวมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน (homogeneous) thin and grayish-white 2. Vaginal pH > 4.5 3. Positive Whiff test 4. > 20% clue cells on wet mount
การรักษา : ยาที่แนะนําให้ใช้ในการรักษาภาวะ BV ที่แนะนําโดย The Centers for Disease Control (CDC) มีดังนี้ Metronidazole 500 mg รับประทานวันละ 2 ครั้ง 7 วัน หรือ 0.75% Metronidazole gel ทาในช่องคลอดวันละครั้ง 5 วัน หรือ 2 % Clindamycin cream ทาในช่องคลอด วันละครั้งก่อนนอน 7 วัน
Trichomoniasis vaginalis (TV)
อาการ : ผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยอาการตกขาวมีลักษณะคล้ายหนอง มีกลิ่นเหม็น ร่วมกับอาการแสบร้อนและคันบริเวณปากช่องคลอดและช่องคลอด ปัสสาวะแสบขัด การเจ็บปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ (dyspareunia) หรือเลือดออกหลังร่วมเพศ อาการที่มีลักษณะจําเพาะของการติดเชื้อชนิดนี้ คือ ตกขาวมีสีเขียวเป็นฟองและมีกลิ่นเหม็น
การวินิจฉัย : จากการซักประวัติ การตรวจภายในร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจ wet smear พบ trichomonads มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดขาวเล็กน้อยร่วมกับมีเม็ดเลือดขาวปริมาณมาก การตรวจความเป็นกรด-ด่างในช่องคลอดที่มีค่า pH > 4.5 การตรวจ Whiff test ได้ผลบวก
การรักษา : ยาที่แนะนําให้ใช้รักษาการติดเชื้อ TV โดย The Centers for Disease Control (CDC) มีดังนี้ Metronidazole 500 mg รับประทานวันละ 2 ครั้ง 7 วัน หรือ Metronidazole 2 กรัม รับประทานครั้งเดียว หรือTinidazole 2 กรัม รับประทานครั้งเดียว
Vulvovaginal candidiasis (VVC)
อาการ : ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการคันบริเวณปากช่องคลอด แต่อาจมีอาการแสบร้อนในช่องคลอด ปัสสาวะแสบขัดหรือเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ไม่มีอาการจําเพาะสําหรับการติดเชื้อ VVC การตรวจภายในมี การบวมแดงบริเวณปากช่องคลอดและช่องคลอด ตกขาวมีลักษณะจําเพาะ คือ เหมือนแป้งเปียก (curd– like หรือ cottage cheese - like)
การวินิจฉัย
การตรวจ wet smear ร่วมกับการใช้ 10% KOH ซึ่งทําให้มีการสลายของเซลล์อื่น ๆ ทําให้มองเห็น budding yeast และ pseudohyphae ได้ง่ายมากขึ้น แต่การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อาจไม่พบ budding yeast หรือ pseudohyphae ได้ถึงร้อยละ 50 และถ้าเป็นเชื้อ C. albican พบมี budding filament แต่ C. glabrata มีเพียงสปอร์
การตรวจ Whiff test ให้ผลลบ
การตรวจความเป็นกรด-ด่างในช่องคลอดที่มีค่า pH น้อยกว่า 4.5
การย้อมกรัม พบยีสต์หรือ pseudohyphae
การเพาะเชื้อ มักทําในผู้ป่วยที่มีการกลับเป็นซ้ําของโรคหลายครั้งและดื้อต่อการรักษาหรือผู้ป่วยที่สงสัยมีการติดเชื้อ VVC แต่การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ไม่พบ budding yeast หรือ pseudohyphae
การรักษา
ยาที่ใช้ในช่องคลอด เช่น Clotrimazole 100 mg สอดในช่องคลอดวันละครั้ง 7 วัน หรือ Clotrimazole 100 mg สอดในช่องคลอดครั้งละ 2 เม็ด 3 วัน หรือ1% Clotrimazole ทาในช่องคลอดวันละครั้ง 7 - 14 วัน
ยารับประทาน Fluconazole 150 mg รับประทาน 1 เม็ดครั้งเดียว
ภาวะเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
สาเหตุจําแนกตามช่วงวัย
ทารกแรกคลอด ภาวะขาดเอสโตรเจน (estrogen withdrawal)
วัยเด็กและวัยเพิ่งมีระดูบริเวณปากช่องคลอด เช่น บาดเจ็บ ปากช่องคลอดอักเสบ การติดเชื้อเช่น หูดหงอนไก่ บริเวณช่องคลอด เช่น ช่องคลอดอักเสบ การบาดเจ็บ สิ่งแปลกปลอม เนื้องอกช่องคลอด บริเวณมดลูก เช่น ภาวะการเป็นสาวก่อนกําหนด (precocious puberty) บริเวณรังไข่ เช่น ภาวะไม่ตกไข่ เนื้องอกรังไข่กลุ่ม granulosa cell tumor หรือ germ cell tumor การได้รับฮอร์โมนจากภายนอก ความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด เครียด
วัยเจริญพันธุ์ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์การอักเสบของช่องคลอด ปากมดลูก และเยื่อบุโพรงมดลูก เนื้องอกของระบบสืบพันธุ์การบาดเจ็บหรือวัสดุแปลกปลอม
วัยกําลังหมดระดู (perimenopause) ภาวะไม่ตกไข่ เนื้องอกมดลูก มะเร็งทางนรีเวช เช่นมะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
วัยหลังหมดระดู (menopause) ภาวะฝ่อ เสื่อมสภาพ (atrophy) ความผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูก เช่น การหนาตัวผิดปกติ (endometrial hyperplasia) มะเร็งทางนรีเวช เช่น มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เป็นต้น การได้รับฮอร์โมนทดแทน
การวินิจฉัย
การตรวจเลือด เพื่อตรวจความเข้มข้นของเลือด เม็ดเลือดขาวหรือเกล็ดเลือด
การทดสอบการตั้งครรภ์ เพื่อแยกปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ เช่น แท้งคุกคาม ครรภ์นอกมดลูก หรือครรภ์ไข่ปลาอุก
การตรวจอัลตราซาวน์ในอุ้งเชิงกราน เพื่อช่วยในการวินิจฉัยการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติต่าง ๆ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก ภาวะแท้งคุกคาม ครรภ์ไข่ปลาอุก หรือ เพื่อดูพยาธิสภาพของมดลูก ปีกมดลูกและรังไข่ เช่น เนื้องอกมดลูก เนื้องอกรังไข่ เหล่านี้
การส่องกล้องตรวจภายในโพรงมดลูก (Hysteroscopy) เพื่อดูพยาธิสภาพภายในโพรงมดลูก เช่น endometrial polyp
การตัดชิ้นเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูก (endometrial biopsy) พิจารณาทําในรายที่อายุ > 35 ถึง 40 ปีขึ้นไป หรือรายที่เลือดออกต่อเนื่องไม่หยุด สําหรับวัยหลังหมดระดูมักจะแนะนําให้ทําในรายที่อัลตราซาวด์พบเยื่อบุโพรงมดลูกหนา > 5 มม.
การขูดมดลูก เพื่อตรวจทางพยาธิวิทยาของเยื่อบุโพรงมดลูก
การทดสอบการแข็งตัวของเลือด ที่พบได้บ่อย คือ ITP, Von Willebrand disease โดยเฉพาะรายที่ไม่พบสาเหตุทางกายภาพอื่น ๆ ร่วมกับการมีเลือดประจําเดือนออกมากเป็นรอบ
Pelvic pain and Dysmenorrhea
การวินิจฉัยแยกโรคที่มาด้วย Acute pelvic pain
อาการปวดที่เกิดจากระบบสืบพันธุ์
การตั้งครรภ์ผิดปกติ
การแตกของถุงน้ำ (cyst)
การบิดขั้วของปีกมดลูก
ปีกมดลูกอักเสบ (Salpingitis) และ Tobo-ovarian abscess
Myoma
Endometriosis
อาการปวดที่เกิดจากทางเดินอาหาร
Appendicitis
Intestinal obstruction
อาการปวดประจําเดือน (dysmenorrhea)
Primary dysmenorrhea
Secondary dysmenorrhea
การวินิจฉัยแยกโรคที่มาด้วย Chronic pelvic pain อาการปวดท้องน้อยเรื้อรังที่เป็นมานานเกิน 6 เดือน ที่พบบ่อยคือ endometriosis และ adhesion
ปัญหาสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ
การวินิจฉัยแยกโรคกลุ่มอาการระบบทางเดินปัสสาวะ
ปัสสาวะผิดปกติ (Abnormal urination)/ปัสสาวะลําบาก (Dysuria)
ปัสสาวะบ่อย (Frequent urination) หมายถึง จํานวนครั้งของปัสสาวะมากกว่าค่าปกติของแต่ละช่วงอายุ เช่น ในเด็กเล็กปัสสาวะปกติ 8-14 ครั้ง เด็กโต 6-12 ครั้ง ผู้ใหญ่ 4-6 ครั้งต่อวัน ในผู้ใหญ่อาจใช้เกณฑ์กลางวันปัสสาวะบ่อยมากกว่าทุก 2 ชม. (daytime voiding frequency) และตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน (nocturia) ในตอนกลางคืนคนปกติจะตื่นมาปัสสาวะไม่เกินคืนละ 1 ครั้ง
กลั้นปัสสาวะไม่ได้ (Urinary incontinence) เกิดจากการทํางานของหูรูดผิดปกติในส่วนของกระเพาะปัสสาวะที่ต่อกับท่อปัสสาวะ ทําให้ความสามารถในการเก็บปัสสาวะผิดปกติ จนเกิดปัสสาวะเล็ดราดได้
ปัสสาวะลําบาก (Dysuria, Painful urination) อาการปัสสาวะลําบาก ปัสสาวะขัดร่วมกับปวดขณะปัสสาวะ โดยปวดในท่อปัสสาวะหรือบริเวณเหนือหัวหน่าว
การรักษา
เนื่องจากปัสสาวะขัด ไม่ใช่โรคแต่เป็นอาการซึ่งเกิดได้จากโรคหลายชนิด หลักการรักษาคือรักษาที่ต้นเหตุที่ทําให้เกิดปัสสาวะขัด เช่น ให้ยาปฏิชีวนะในรายที่เกิดการติดเชื้อ ดื่มน้ํามาก ๆ เพื่อลดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
โรคที่พบบ่อยในระบบทางเดินปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
สาเหตุ: เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแกรมลบ เช่น อีโคไล (E.coli) เคล็บซิลลา (Klebsiella) สูโดโมแนส (Pseudomonas) เอนเทอโรแบกเตอร์ (Enterobacter) เชื้อโรคเหล่านี้มีมากบริเวณทวารหนัก และปนเปื้อนเข้าท่อปัสสาวะสู่กระเพาะปัสสาวะ
อาการ : ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ปวดขัดหรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ อาจมีปวดท้องน้อยร่วมด้วย ปัสสาวะอาจมีกลิ่นเหม็น สีมักจะใส บางรายอาจขุ่นหรือมีเลือดปน
การรักษา : ขณะที่มีอาการให้ดื่มน้ํามาก ๆ ถ้าปวดให้ยาแก้ปวดและให้ยาปฏิชีวนะ เช่น Norfloxacin (400) 1 tab oral bid.ac., Cotrimoxazole 1 tab oral bid.pc. หรือ Amoxycillin (500) 1 cap oral tid.pc นาน 3 วัน ถ้าไม่ดีขึ้นหรือเป็นซ้ำมากกว่า 2-3 ครั้ง ควรส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุ
กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis)
กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute Pyelonephritis)
สาเหตุ : ติดเชื้ออักเสบเฉียบพลันบริเวณกรวยไต เชื้อที่พบได้บ่อย เป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ ได้แก่ E.coli, Klebsiella, Pseudomonas บางรายเชื้อโรคอาจแพร่กระจายจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกายโดยทางกระแสเลือดได้
อาการ : ปวดบริเวณสีข้างฉับพลัน โดยจะปวดมากที่ข้างใดข้างหนึ่ง และอาจปวดร้าวลงที่ขาหนีบพร้อมกับมีไข้สูง หนาวสั่นมากเป็นพัก (คล้ายไข้มาลาเรีย) อาจมีปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ขัดเบาร่วมด้วย ปัสสาวะมักมีลักษณะขุ่น บางครั้งอาจเป็นหนอง
สิ่งที่ตรวจพบ : ไข้สูง 39-40๐C ใช้กําปั้นทุบเบา ๆ ที่สีข้างตรงที่ปวด (CVA) ผู้ป่วยจะเจ็บจนสะดุ้ง (Kidney punch +ve) หน้าท้องอาจมีกดเจ็บ/ท้องเกร็งแข็งเล็กน้อย ปัสสาวะขุ่น U/A พบเม็ดเลือดขาวอยู่กันเดี่ยวๆ และเกาะกันเป็นแพ (white blood cell cast) จํานวนมาก CBC พบ WBC > 10,000 /mm3
การรักษา : ถ้าอาการไม่รุนแรงมีไข้ให้ยาลดไข้ Paracetamal (500) 1 tab oral q 4-6 hrs และยาปฏิชีวนะ เช่น Norfloxacin (400) 1 tab oral bid.ac. Cotrimoxazole 1 tab oral bid.pc. หรือ Amoxycillin (500) 1 cap oral tid.pc นาน 14 วัน ถ้ารับประทานยาไม่ได้ให้ Gentamicin 40 – 80 mg IV q 8-12 hrs. หากมีอาการรุนแรง หรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ช็อค ความดันโลหิตสูง ปัสสาวะน้อย ซีด เหลือง หรือสงสัยโลหิตเป็นพิษ ควรส่งโรงพยาบาล เมื่อรักษาจนอาการหายดีแล้ว ควรทําการตรวจปัสสาวะให้แน่ใจว่าไม่มีอาการอักเสบเรื้อรัง มิเช่นนั้นอาจกลายเป็นกรวยไตอักเสบเรื้อรัง ซึ่งเป็นอันตรายในระยะยาวได้
กรวยไตอักเสบเรื้อรัง (Chronic Pyelonephritis)
สาเหตุ : จากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณกรวยไต เนื่องจากมีการอุดกั้นหรือมีความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ
ปัสสาวะน้อยหรือไม่ออก Oliguria/Anuria
สาเหตุ
Benign Prostatic Hyperplasia (BPH) ผู้ชายสูงอายุ มีประวัติปัสสาวะลําบากมานาน
Recurrent BPH, Stricture Urethra, Contracture Bladder Neck (CBN)
Urethra Calculi ผู้ชายที่เคยมีอาการของนิ่วในไตหรือในท่อไต มีอาการปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลัน
การซักประวัติและการตรวจร่างกาย
ประวัติปัสสาวะขัด ไม่พุ่ง ปวดปัสสาวะแต่ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะเป็นเลือด ประวัตินิ่ว ประวัติมะเร็งในอุ้งเชิงกราน ตรวจพบ full bladder ตรวจทางทวารหนักพบต่อมลูกหมากโต
การรักษา : กรณีมี full bladder ให้สวนปัสสาวะและคาสายสวนไว้จนกว่าจะแก้ไขสาเหตุการอุดกั้นได้ บางรายอาจตรวจ ultrasonography ซึ่งช่วยให้การวินิจฉัยโรคและให้การรักษาได้รวดเร็ว
ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria)
ชนิดของ Hematuria
Macroscopic หรือ Gross Hematuria ปัสสาวะเป็นเลือดที่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งจะเห็นปัสสาวะเป็นสีแดงสด สีน้ําล้างเนื้อหรือสีชมพู หรือหากเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะแตกจะเห็นเป็นสีน้ําตาลเข้มเหมือนสีน้ําปลาหรือสีโคล่า
Microscopic Hematuria ปัสสาวะเป็นเลือดที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ตรวจพบด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยพบเม็ดเลือดแดงมากกว่า 3 ตัว/High Power Field (HPF) ในปัสสาวะที่ปั่นแล้ว
สาเหตุ :สามารถเกิดได้จากตัวของไตเอง (Glomerular Hematuria) เช่น หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน นิ่วในไต หรืออาจจะออกมาจากส่วนใดส่วนหนึ่งของทางเดินปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ต่อมลูกหมากโต มะเร็งต่อมลูกหมาก
โรคที่พบบ่อยในระบบทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการปัสสาวะเป็นเลือด
หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute glomerulonephritis/AGN)
อาการ : ปัสสาวะเป็นสีแดงเหมือนน้ําล้างเนื้อหรือน้ําหมาก จํานวนปัสสาวะมักออกน้อยกว่าปกติอาจพบอาการบวมที่หน้า หนังตา เท้า และท้อง มีปวดศีรษะ ไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ถ้าเป็นรุนแรงอาจมีปัสสาวะออกน้อย หอบเหนื่อย หรือชัก
การรักษา : ให้การรักษาโดยให้พักผ่อน งดอาหารรสเค็ม ให้ยาขับปัสสาวะ และยาลดความดัน ถ้ามีประวัติทอนซิลอักเสบ หรือการติดเชื้อที่ผิวหนัง ให้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ Amoxicillin หรือ Erythromycin ถ้ามีชัก ให้ฉีด Diazepam และ Furosemide ลดบวม แล้วส่งโรงพยาบาลทันที
บวม (edema)
สาเหตุ
มีการคั่งของน้ําและเกลือ เช่น ไตวายเรื้อรัง (Chronic kidney disease), ไตอักเสบ (Acute glomerulonephritis: AGN) และ โรคไตเนโฟรติก (Nephrotic syndrome) เป็นต้น
มีการเพิ่มของแรงดันระบบหลอดเลือดดํา เช่น Congestive heart failure (CHF) และ Right side heart failure เป็นต้น
แรงดัน Oncotic ลดลง (อัลบูมินในเลือดลดลง)
ท่อน้ําเหลืองอุดตัน มักเป็นการบวมเฉพาะที่ (มักบวมกดไม่บุ๋ม ผิวหนังตึง เป็นลักษณะรูขุมขนได้ชัดเจนเหมือนเปือกส้ม)
การเพิ่มขึ้นของสภาพทําให้ซึมผ่านได้ของหลอดเลือด (Increase capillary wall permeability) มักเกิดจากการอักเสบ เช่น การติดเชื้อที่ผิวหนัง (Cellulitis) และถูกพิษสัตว์กัดต่อย
โรคที่พบบ่อยในระบบทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการบวม
โรคไตเนโฟรติก (Nephrotic syndrome)
ภาวะไตวาย (Renal Failure)
ปวดสีข้าง ปวดหลังบริเวณเอว
นิ่วในไต (Renal calculus/Kidney stone)
อาการ : ปวดเอว ปวดหลังข้างใดข้างหนึ่ง ปวดแบบเสียด ๆ หรือปวดบิดเป็นพัก ๆ อาจมีคลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะอาจขุ่นแดงหรือมีเม็ดทราย ถ้าก้อนนิ่วมีขนาดเล็ก อาจตกลงมาที่ท่อไต ทําให้เกิดการปวดบิดในท้องอย่างรุนแรง บางรายอาจไม่มีอาการเลยก็ได้
การรักษา : นิ่วก้อนเล็กอาจหลุดออกมาได้เอง แต่ถ้าก้อนใหญ่อาจต้องผ่าตัดเอาออก หรือใช้เครื่องสลายนิ่ว ถ้าปวดให้ยาแก้ปวด หรือแอนติสปาสโมดิก (Antispasmodics) เช่น ไฮออสซีน (Hyoscine) ถ้ามีการติดเชื้อให้ยาปฏิชีวนะ เช่น Norfloxacin , Amoxicillin หรือ Cotrimoxazole
นิ่วท่อไต (Ureteric stone/Ureteral stone)
อาการ : ปวดท้องรุนแรง มีลักษณะปวดบิดเป็นพัก ๆ บริเวณท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียว นานเป็นชั่วโมง ๆ หรือเป็นวัน ๆ ลักษณะเฉพาะของโรคนี้คือ มีอาการปวดมากจนมีเหงื่อออก มักปวดจนดิ้นไปมา หรือใช้มือกดไว้จะรู้สึกดีขึ้น
การรักษา : ให้แอนติสปาสโมดิก เช่น Hyoscine ถ้าให้ยาแล้วไม่ทุเลาใน 6 ชั่วโมง หรือกลับปวดซ้ำอีก ควรส่งโรงพยาบาล
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Vesical calculus/Bladder stone)
อาการ : ก้อนนิ่วลงไปอุดกั้นท่อปัสสาวะ ทําให้มีอาการขัดเบา ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ปวดเบ่ง คล้ายว่ายังถ่ายไม่สุด ปัสสาวะสะดุดและออกเป็นหยด บางรายอาจปัสสาวะเป็นเลือด/สีน้ําล้างเนื้อหรืออาจถ่ายเป็นก้อนนิ่ว หรือเม็ดกรวยทรายเล็ก ๆ หรือปัสสาวะขุ่นขาวเหมือนมีผงแป้งปน ถ้าก้อนนิ่วตกลงไปอุดกั้นท่อปัสสาวะ จะมีอาการปวดท้องน้อยมาก ปัสสาวะไม่ออก และมีปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
การรักษา : หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องเอ็กซเรย์ อัลตราซาวด์ ใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะ อาจใช้เครื่องมือคีบออกหรือผ่าตัด เมื่อหายแล้วส่วนใหญ่มักไม่เป็นซ้ําใหม่
อาการนําของระบบทางเดินปัสสาวะที่พบบ่อย
ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะ
น้อยหรือไม่ออก ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดสีข้าง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การส่งตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจดูลักษณะและส่วนประกอบของน้ำปัสสาวะ เช่น Urinalysis (U/A) และ Urine culture (U/C)
การส่งตรวจเลือด เพื่อตรวจหาความผิดปกติหรือการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือความผิดปกติของเกลือแร่ เช่น Blood urea nitrogen (BUN), Creatinine (Cr), Complete Blood Count (CBC), Calcium และ Phosphate
การตรวจพิเศษ เช่น Ultrasound, renal scan, Intravenous pyelogram (IVP), Plain KUB cystoscope และ CT