Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4.1 พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์, นางสาวสุดธิดา…
บทที่ 4.1 พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
หมวด ๑ สภาการพยาบาล
มาตรา ๖ ให้มีสภาการพยาบาล มีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้สภาการพยาบาลเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๗ สภาการพยาบาลมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
ควบคุมความประพฤติของผปู้ระกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์หรือการพยาบาล และการผดุงครรภ์ ให้ถูกต้องตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ส่งเสริมการศึกษา การบริการ การวิจัย และความก้าวหน้าในวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก
ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับ การพยาบาล การผดุงครรภ์และการสาธารณสุข
ให้คำปรึกษา หรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการพยาบาล การผดุงครรภ์และ การสาธารณสุข
เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ในประเทศไทย
ผดุงความเป็นธรรมและส่งเสริมสวัสดิการให้แก่สมาชิก
มาตรา ๘ สภาการพยาบาลมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
สั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผูป้ระกอบวิชาชีพการพยาบาล การ ผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในระดับ อุดมศึกษาของสถาบันการศึกษาที่จะทำการสอนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ เพื่อเสนอต่อ ทบวงมหาวิทยาลัย
รับรองหลักสูตรต่างๆ สำหรับการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรของสถาบันที่จะทำการ สอนวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
รับรองหลักสูตรต่างๆ สำหรับการฝึกอบรมในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของ สถาบนัการศึกษาที่จะทำการฝึกอบรมในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุง
รับรองวิทยฐานะของสถาบันที่ทำการสอนและฝึกอบรมตาม
รับรองปริญญา ประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของสถาบันต่าง ๆ
ออกหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรเกี่ยวกับความรู้หรือความชำนาญเฉพาะทาง และหนังสือ แสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาการพยาบาล
มาตรา ๙ สภาการพยาบาลอาจมีรายได้ดังต่อไปนี้
ผลประโยชน์จากกิจกรรมอื่นของสภาการพยาบาลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในมาตรา ๗
เงินและทรัพสิ้นซึ่งมีผู้ให้แก่สภาการพยาบาล
ค่าจดทะเบียนสมาชิกสามัญ ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
ดอกผลของเงินและทรัพย์สินอื่นตาม
เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน
มาตรา ๑๐ ให้รัฐมนตรีดำรงตำแหน่งสภานายกพิเศษแห่งสภาการพยาบาลและมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๒ สมาชิก
มาตรา ๑๒ สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสามัญมีดังต่อไปนี้
(๓) เลือกตั้ง รับเลือกตั้ง หรือรับเลือกเป็นกรรมการ
(๔) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพและปฎิบัติตนตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) แสดงความเห็นเป็นหนังสือเกี่ยวกับกิจการของสภาการพยาบาลส่งไปยังคณะกรรมการเพื่อพิจารณา
(๑) ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผูป้ระกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ และขอหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรเกี่ยวกับความรู้หรือความช านาญ เฉพาะทางหรือหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ โดยปฏิบัติตามข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการนั้น
มาตรา ๑๑ สภาการพยาบาลประกอบด้วยสมาชิกสองประเภท
(๑) สมาชิกสามัญ ได้แก่ ผู้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(ค) ไม่เป็นผู้ประพฤติเสียหาย ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสีย เกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(ง) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุกในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
(ข) มีความรู้ในวิชาชีพการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์โดยได้รับปริญญา ประกาศนียบตัร เทียบเท่าปริญญา หรือประกาศนียบัตรในสาขาการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ ที่สภาการพยาบาลรับรอง
จ) ไม่เป็นผู้มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือไม่เป็นโรคที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการพยาบาล
(ก) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
(๒) สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งสภาการพยาบาลเชิญให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
มาตรา ๑๓ สมาชิกภาพของสมาชิกสามัญสิ้นสุดลงเมื่อ
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๑ (๑)
(๑) ตาย
หมวด ๓ คณะกรรมการ
มาตรา ๑๔ ให้มีคณะกรรมการสภาการพยาบาลประกอบด้วย
ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ห้าคน
ผู้แทนกระทรวงกลาโหม สามคน
ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย หนึ่งคน
ผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย สี่คน
ผู้แทนกรุงเทพมหานครหนึ่งคน
ผู้แทนสภากาชาดไทยหนึ่งคน
นายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมาชิกสามัญสภาการพยาบาลอีกสิบ หกคนซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยสมาชิกสามัญของสภาการพยาบาลเป็นกรรมการ และให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๑๕
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งสมาชิกกิตติมศักดิ์หรือสมาชิกสามัญเป็นกรรมการที่ปรึกษาได้
ตรา ๑๖ ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการเพื่อดำรงตำแหน่งนายกสภาการพยาบาล อุปนายก สภาการพยาบาลคนที่หนึ่ง และอุปนายกสภาการพยาบาลคนที่สองตำแหน่งละหนึ่งคน
มาตรา ๑๗ การเลือกตั้งกรรมการตามมาตรา ๑๔ การแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษาตามมาตรา ๑๕ และการเลือกกรรมการเพื่อด ารงต าแหน่งต่างๆ ตามมาตรา ๑๖ ให้เป็นไปตามขอ้บงัคบัสภาการพยาบาล
มาตรา ๑๘ กรรมการนอกจากปลัดกระทรวงสาธารณสุขและกรรมการที่ปรึกษาตอ้งมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ไม่เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
มาตรา ๑๙ ให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งและรับเลือกตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปีและอาจได้รับแต่งตั้งหรือรับเลือกตั้งใหม่ได้แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองคราวติดต่อกันไม่ได้
มาตรา ๒๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งและรับเลือกตั้ง พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๘
ลาออก
สมาชิกภาพสิ้นสุดลงตามมาตรา ๑๓
มาตรา ๒๑ ในกรณีตำแหน่งกรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งว่างลงไม่เกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการ ดังกล่าวทั้งหมดก่อนครบวาระให้คณะกรรมการเลือกสมาชิกสามัญผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๘ เป็น กรรมการแทนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งกรรมการนั้นว่างลง
มาตรา ๒๒ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) บริหารกิจการสภาการพยาบาลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดตามมาตรา ๗
(๒) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจริยธรรม คณะอนุกรรมการสอบสวนและคณะอนุกรรมการอื่นเพื่อทำกิจการหรือพิจารณาเรื่องต่างๆ
(๓) ออกข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วย
การเป็นสมาชิก
การกำหนดโรคตามมาตรา ๑๑
การกำหนดค่าจดทะเบียนสมาชิกสามัญ ค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมอื่นนอกจากที่ กำหนดไว้ในอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัตินี้
การเลือกและการเลือกตั้งกรรมการ และการแต่งตั้งกรรมการที่ปรึกษาตามมาตรา ๑๗
หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนและการออกใบอนุญาตแบบ และประเภทใบอนุญาต
หลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติ หรือวุฒิบัตรเกี่ยวกับความรู้หรือความชำนาญเฉพาะทาง และหนังสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
การรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
การประชุมคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ
หลักเกณฑ์การรับรองสถาบนัการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์
หลักเกณฑ์ว่าด้วยการสอบความรู้ตามอำนาจหน้าที่ของสภาการพยาบาล
หลักเกณฑ์ว่าด้วยการสืบสวนหรือสอบสวนในกรณีมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษว่ามี ผู้ประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
เรื่องอื่นๆ ที่อยู่ภายในวัตถุประสงค์ของสภาการพยาบาลหรืออยู่ภายในอำนาจหน้าที่ ของสภาการพยาบาลตามกฎหมายอื่น
หมวด ๔ การดำเนินกิจการของคณะกรรมการ
มาตรา ๒๔ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน กรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
มาตรา ๒๕ สภานายกพิเศษจะเข้าฟังการประชุมชี้แจงแสดงความเห็นในที่ประชุมคณะกรรมการ หรือจะส่งความเห็นเป็นหนังสือไปยังคณะกรรมการในเรื่องใดๆ ก็ได้
มาตรา ๒๖ มติของที่ประชุมคณะกรรมการในเรื่องต่อไปนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากสภานายกพิเศษก่อน จึงจะดำเนินการตามมตินั้นได้
(๑) การออกข้อบังคับ
(๒) การกำหนดงบประมาณของสภาการพยาบาล
(๓) การให้สมาชิกสามัญพ้นจากสมาชิกภาพตามมาตรา ๒๔ วรรคสาม
(๔) การวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา ๔๑ วรรคสาม (๔) และ (๕)
หมวด ๕ การควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
มาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งมิไดเ้ป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือมิได้เป็นผู้ประกอบ วิชาชีพการผดุงครรภ์ หรือมิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ กระทำการพยาบาล หรือการผดุงครรภ์ หรือแสดงด้วยวิธีใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพดังกล่าว
(๑) การพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ที่กระทำต่อตนเอง
(๒) การช่วยเหลือหรือเยียวยาแก่ผู้ป่วยตามหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามธรรมจรรยาโดยมิได้ รับประโยชน์ตอบแทน
(๓) นักเรียน นักศึกษาหรือผู้รับการฝึกอบรม ในความควบคุมของสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ของรัฐ หรือที่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้จัดตั้ง
(๔) บุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือ สภากาชาดไทยมอบหมายให้กระทา การพยาบาลหรือการผดุงครรภ์
๕) ผู้ประกอบโรคศิลปะ ผู้ประกอบวชิาชีพเวชกรรม หรือผู้ประกอบวชิาชีพอื่นตามข้อจำกัด และเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพนั้น
(๘) บุคคลซึ่งช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยในสถานพยาบาลในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ตามระเบียบซึ่งรัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๖) การพยาบาลหรือการผดุงครรภข์องที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญของทางราชการ หรือผู้สอน ในสถาบันการศึกษา ซึ่งมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาล และการผดุงครรภ์ของต่างประเทศทั้งนี้ ให้เป็นไปตามขอ้บงัคบัของสภาการพยาบาล
(๗) บุคคลซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพยาบาลหรือการผดุงครรภ์ เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ในกรณีที่มีสาธารณภยั หรือเกิดภัยพิบัติอย่างร้ายแรง
มาตรา ๒๘ การขึ้นทะเบียน การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การออกหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรเกี่ยวกับความรู้หรือความชำนาญเฉพาะทาง และหนงัสือแสดงวุฒิอื่นในวิชาชีพการ พยาบาลและการผดุงครรภ์ ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาการพยาบาล
มาตรา ๒๙ การขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แบ่งเป็นสามประเภทคือ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์และผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
มาตรา ๓๐ ผู้มีสิทธิขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามมาตรา ๒๙ ต้องมีความรู้ดังนี้คือ
(๑) ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์หรือผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งต้อง
(ก) ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาในสาขาการพยาบาลการผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(ข) ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาในสาขาการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
(๒) ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์หรือ ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นสอง ต้อง
(ก) ได้รับประกาศนียบัตรในสาขาการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการ ผดุงครรภ์ ระดับต้นจากสถาบันการศึกษาในประเทศไทยที่คณะกรรมการรับรองและสอบความรู้แล้ว
(ข) ได้ร้บประกาศนียบตัรในสาขาการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการ ผดุงครรภ์ จากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศและได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพในประเทศที่ ตนได้รับประกาศนียบัตร
มาตรา ๓๑ ผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตต้องเป็นสมาชิกสามัญแห่งสภาการพยาบาลและ มีคุณสมบัติอื่นตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการพยาบาล
มาตรา ๓๒ ผู้ประกอบวชิาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ต้องรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับสภาการพยาบาล
มาตรา ๓๓ บุคคลผู้ซึ้งได้รับความเสียหายเพราะผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์มีสิทธิกล่าวหาผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น
มาตรา ๓๔ เมื่อสภาการพยาบาลได้รับเรื่องการกล่าวหา หรือการกล่าวโทษตามมาตรา ๓๓ หรือในกรณีที่คณะกรรมการมีมติว่ามีพฤติการณ์อันสมควรให้มีการพิจารณาเกี่ยวกับจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ของผปู้ระกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์
มาตรา ๓๕ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจริยธรรมจากสมาชิกสามัญประกอบ ดว้ยประธานคนหนึ่ง และอนุกรรมการมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าสามคนมีหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริงในเรื่องที่ได้รับตามมาตรา ๓๔
มาตรา ๓๖ เมื่อคณะกรรมการได้รับรายงานและความเห็นของคณะอนุกรรมการจริยธรรมแล้ว ให้คณะกรรมการพิจารณารายงานและความเห็นดังกล่าวแล้วมีมติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(๑) ให้คณะอนุกรรมการจริยธรรมแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา
(๒)ให้คณะอนุกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนในกรณีที่เห็นว่าข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษนั้นมีมูล
(๓) ให้ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ ในกรณีที่เห็นว่าข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษนั้นไม่มีมูล
มาตรา ๓๗ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนจากสมาชิกสามัญ ประกอบด้วยประธานคนหนึ่ง และอนุกรรมการมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าสามคนมีหน้าที่สอบสวน
มาตรา ๓๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการจริยธรรมและของคณะอนุกรรมการ สอบสวนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อนุกรรมการจริยธรรมและอนุกรรมการสอบสวนเป็นเจ้าพนักงานตาม ประมวลกฎหมายอาญามีอำนาจเรียกบุคคลใดๆ
มาตรา ๓๙ ให้ประธานอนุกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหา หรือข้อกล่าวโทษพร้อมทั้งส่ง สำเนาเรื่องที่กล่าวหาหรือกล่าวโทษให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันเริ่มทำการสอบสวน
มาตรา ๔๐ เมื่อคณะอนุกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้วให้เสนอสำนวนการ สอบสวนพร้อมทั้งความเห็นต่อคณะกรรมการโดยไม่ชักช้าเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด
มาตรา ๔๑ เมื่อคณะกรรมการได้รับสำนวนการสอบสวนและความเห็นของคณะอนุกรรมการสอบสวนแล้วให้คณะกรรมการพิจารณาสำนวนการสอบสวนและความเห็นดังกล่าว
(๑) ยกข้อกล่าวหาหรือข้อกล่าวโทษ
(๒) ว่ากล่าวตักเตือน
(๓) ภาคทัณฑ์
(๔) พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดเวลาตามที่เห็นสมควร แต่ไม่เกินสองปี
(๕) เพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา ๔๒ ให้เลขาธิการแจ้งคำสั่งสภาการพยาบาลตามมาตรา ๔๑ ไปยังผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวโทษเพื่อทราบโดยไม่ชักช้าและให้บันทึกข้อความตามคำสั่งนั้นไว้ในทะเบียนผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ด้วย
มาตรา ๔๓ ภายใต้บังคับมาตรา ๒๗ ห้ามมิให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพดังกล่าวหรือแสดงดว้ยวิธีใด ๆ
มาตรา ๔๔ ผู้ประกอบวชิาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ซึ่งอยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต ผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ และถูกลงโทษจำคุกตาม มาตรา ๔๖ โดยคำพิพากษาถึงที่สุด ให้คณะกรรมการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้นตั้งแต่วันที่ศาลมี คำพิพากษาถึงที่สุด
มาตรา ๔๕ ผู้ประกอบวชิาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ซึ่งถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตอาจขอรับใบอนุญาตอีกได้เมื่อพ้นสองปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
หมวด ๕ ทวิ พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๔๕ ตรี ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่แก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
มาตรา ๔๕ ทวิ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ต่อไปนี้ เพื่อตรวจสอบใบอนุญาตค้นหรือยึดเอกสารหลักฐาน
(๑) สถานที่ประกอบการที่มีผู้ประกอบวชิาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและ การผดุงครรภ์ปฏิบัติงานอยู่
(๒) สถานที่ที่มีเหตุสมควรเชื่อว่ามีการประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการ พยาบาลผดุงครรภ์
(๓) สถานที่ที่ทำการสอนหรือเชื่อว่าทำการสอนวิชาการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการ พยาบาลและการผดุงครรภ์
มาตรา ๔๕ จัตวา ในการปฏิบัติหน้าที่ให้พนกังานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวล กฎหมายอาญา
มาตรา ๔๕ เบญจ ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ผู้รับผิดชอบหรือปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ตามมาตรา ๔๕ ทวิ อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่
หมวด ๖ บทกำหนดโทษ
มาตรา ๔๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๑ วรรคสามต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา ๔๘ ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำหรือไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใดๆ ตามที่เรียกหรือแจ้งให้ส่งตามมาตรา ๓๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๖ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ หรือมาตรา ๔๓ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๔๘ ทวิ ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามความในมาตรา ๔๕ เบญจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๕๒ ในระหว่างที่ยังมิได้ออกระเบียบหรือข้อบังคับเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำกฎกระทรวง ระเบียบหรือประกาศที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบโรคศิลปะใน ส่วนที่เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๕๑ ในระยะเริ่มแรกที่ยังมิได้เลือกตั้งสมาชิกสามัญของสภาการพยาบาลเป็นกรรมการ ให้คณะกรรมการประกอบดว้ยปลดักระทรวงสาธารณสุขเป็นนายกสภาการพยาบาล
มาตรา ๕๐ ผู้ใดได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผปู้ระกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบนั ในสาขา การพยาบาล สาขาการผดุงครรภ์ หรือสาขาการพยาบาลและผดุงครรภ์ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุม การประกอบโรคศิลปะ
มาตรา ๒๐ ให้คณะกรรมการสภาการพยาบาลตามมาตรา ๑๔ และกรรมการท่ีปรึกษาตาม มาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. ๒๕๒๘
มาตรา ๔๙ ผู้ใดได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันในสาขา การพยาบาล สาขาการผดุงครรภ์ หรือสาขาการพยาบาลและการผดุงครรภ์
มาตรา ๒๑ ให้ใบอนุญาตเป็นผปู้ระกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบนัในสาขาการพยาบาล สาขาการผดุงครรภ์ และสาขาการพยาบาลและผดุงครรภ์
มาตรา ๒๒ ผู้ที่ได้รับอนุปริญญาที่มีหลักสูตรการศึกษาไม่น้อยกว่าสามปี หรือประกาศนียบัตร เทียบเท่าอนุปริญญาในสาขาการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
มาตรา ๒๓ให้ยกเลิกอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ และให้ใช้อัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา ๒๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
นางสาวสุดธิดา สิงหาอรุณ รหัส 6001210514 เลขที่ 25 Sec B