Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนาการคิดด้วย การทำโครงงานบูรณาการ - Coggle Diagram
การพัฒนาการคิดด้วย
การทำโครงงานบูรณาการ
ความหมายของโครงงานบูรณาการ
โครงงาน บูรณาการ หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้เลือกศึกษาหรือทำโครงงานตาม ความสนใจและตามความถนัด และสามารถนำความรู้จากกลุ่มสาระการ เรียนรู้ต่างๆมาใช้ในการศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ที่และประสบการณ์ที่ได้รับจากการศึกษาไป ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง
ประเภทของ
โครงงานบูรณาการ
โครงงานประเภทสำรวจ
โครงงานประเภททดลอง
3.โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
4.โครงงานประเภทสร้างทฤษฏี
5.โครงงานประเภทค้นคว้าและรวบรวมความรู้
6.โครงงานประเภทวิเคราะห์และวิจารณ์
7.โครงงานประเภทสร้างสรรค์เชิงวรรณศิลป์
ขั้นตอนการทำโครงงาน
คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ
ศึกษาค้นคว้าข้อมูล
จัดทำข้อเสนอโครงงาน
ลงมือทำโครงงาน
เขียนรายงาน
นำเสนอผลงาน
ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน
การเลือกประเด็นการศึกษา
นักเรียนจะมีบทบาทในการสำรวจความสนใจของตนเอง สังเกตุจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวหรือเรื่องที่เรียนและคัดเลือกเพื่อนร่วมงานในกรณีที่เป็นการทำงานกลุ่มซึ่งควรเป็นผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันเพื่ให้การดำเนินงานมีความ ราบรื่นและประสบความสำเร็จโดยง่าย
การวางแผน
นักเรียนจะมีบทบาทในการเป็นผู้วางแผนการทำงานโดยปรึกษากับเพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับประเด็นปัญหา และขอบเขตของการศึกษาทำการกำหนดวัตถุประสงค์การศึกษา ค้นคว้าข้อมูลเบื้องต้นเพื่อให้เกิดความรอบรู้ ตั้งสมมุติฐานที่เหมาะสมและมีความเป็นไปได้
การดำเนินการทำโครงงาน
นักเรียนจะมีบทบาทในการเป็นผู้ทำการศึกษา โดยสร้างหรือจัดหาเครื่องมือสำหรับใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามแผนที่กำหนด จดบันทึกข้อมูล และร่วมปรึกษาเกี่ยวกับการทำงานกับกลุ่มหรือครูเป็นระยะเพื่อการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
การเขียนรายงานผลการศึกษา
นักเรียนจะมีบทบาทในการนำเสนอผลการศึกษา โดย ศึกษารูปแบบการเขียนรายงาน และเลือกรูปแบบที่เหมาะสมจัดทำเป็นรายงานโครงงาน นำเสนอต่อครูที่ปรึกษาโครงงาน ครูผู้สอน และคณะกรรมการประเมินโครงงาน
การนำเสนอผลงาน
นักเรียนจะมีบทบาทในการเป็นผู้นำเสนอผลการศึกษา โดยศึกษา วิธีการนำเสนอผลงาน และเลือกรูปแบบการนำเสนอผลงานที่เหมาะสม มีการเตรียมการนำเสนอผลงาน และ นำเสนอผลงานในหัวข้อ กระบวนการศึกษา และผลที่ได้จากการศึกษา และทำการประเมินผลการทำ โครงงานด้วยตนเอง
ประโยชน์ของโครงงาน
ส่งผลอันก่อเกิดประโยชน์สูงสุดให้กับนักเรียนที่ได้ฝึกทักษะ อย่างหลากหลาย
และสร้างองค์ความรู้ตามความสนใจของตนเอง